เทคโนโลยี การจัดการ โล จิ สติ ก ส์

การจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Management) คือ การจัดการในการขนส่งสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยมีการวางแผน ควบคุม จัดเก็บข้อมูลสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวของเพื่อให้ไปถึงยังจุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบโลจิสติกส์นี้ช่วยให้การบริหารงานด้านธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปด้วย


กิจกรรมทางด้านการจัดการโลจิสติกส์

          กิจกรรมทางด้านการจัดการโลจิสติกส์สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย การบริหารจัดการการผลิต การตลาดและการบริการลูกค้า การจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ การจัดการสินค้าคงคลังและการกระจายสินค้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

เทคโนโลยี การจัดการ โล จิ สติ ก ส์


การเปลี่ยนแปลงของการจัดการโลจิสติกส์

          ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการจัดการโลจิสติกส์ คือความต้องการของมนุษย์และการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ทำให้มนุษย์ต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยมาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

เทคโนโลยี การจัดการ โล จิ สติ ก ส์


ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการโลจิสติกส์กับศาสตร์อื่น

ความรู้การยศาสตร์ : ออกแบบกระบวนการทำงาน และเครื่องใช้สำนักงานที่เหมาะสมกับสรีระของแรงงาน เพื่อทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความรู้เศรษฐศาสตร์ เรื่องการหาความคุ้มค่าและจุดคุ้มทุน : ของการสั่งซื้อวัตถุดิบการควบคุมปริมาณวัตถุดิบที่เก็บไว้ไม่ให้มีอยู่มากหรือน้อยจนเกินไป

ความรู้เกษตรศาสตร์ เรื่องการเลือกวัตถุดิบและแหล่งผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพ

ความรู้วิศวกรรมศาสตร์ เรื่องกระบวนการผลิต : นำมาใช้ในการดูแลรักษาและควบคุมเครื่องจักรในกระบวนการผลิตสินค้า ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุด

ความรู้เศรษฐศาสตร์ เรื่องการบริหารจัดการ : วางแผนการขนส่งสินค้าให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ความรู้สังคมศาสตร์และจิตวิทยา เรื่องความต้องการของแต่ละวัยแต่ละสังคม : เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตภาวะทางการเงินรสนิยมเพื่อที่จะผลิตสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า


ผลกระทบของการใช้การจัดการโลจิสติกส์

ด้านเศรษฐกิจ
ด้านบวก : เริ่มรายได้ให้กับประชาชนเนื่องจากสามารถขายสินค้า และขนส่งสินค้าในพื้นที่ห่างไกลได้ สามารถลดต้นทุนในการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ และการขนส่ง การวางแผนจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้มูลค่าความเสียหายของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการผลิตและการขนส่งมีจำนวนลดลง

ด้านลบ : มีการสื่อสารติดต่อในหลายหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์ต้องใช้งบประมาณลงทุนจำนวนมากในการวางโครงสร้างพื้นฐาน

ด้านสังคม
ด้านบวก : ผู้ประกอบการสามารถขายสินค้าได้สะดวกรวดเร็วและเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย ช่วยลดจำนวนอุบัติเหตุในการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี เพราะมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน

ด้านลบ : ลดการใช้แรงงานในการผลิตและการขนส่งทำให้เกิดการว่างงาน มีการประสานงานในหลายหน่วยงานซึ่งหลายครั้งก่อให้เกิดความขัดแย้ง

ด้านสิ่งแวดล้อม
ด้านบวก : เกิดของเสียจากกระบวนการน้อย

ด้านลบ : มีความต้องการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น






อ้างอิง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี(การออกแบบและเทคโนโลยี), พิมพ์ครั้งที่ 1, สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว, ปีที่พิมพ์ 2563

prosoftgps, “Logistics Management เพื่อประโยชน์สูงสุดของการขนส่ง”, https://www.prosoftgps.com/Article/Detail/70852 สืบค้นวันที่ 3 มิ.ย. 63

SURIYA ANJUMOHAN, “Global Logistics Industry: Grappling with Supply Shocks Across Markets Amid COVID-19”, https://ww2.frost.com/frost-perspectives/global-logistics-industry-grappling-with-supply-shocks-across-markets-amid-covid-19/ สืบค้นวันที่ 3 มิ.ย. 63

Logistics คืองานบริการขนส่งสินค้า มีเป้าหมายเพื่อขนส่งสินค้าไปยังจุดหมายปลายทางด้วยวิธีการขนส่งทางน้ำ ทางบกหรือทางอากาศ รวมไปถึงการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดการบรรจุหีบห่อ เพื่อนำส่งไปถึงมือผู้รับอย่างปลอดภัย โลจิสติกส์เป็นธุรกิจหนึ่งที่มีความสำคัญต่อ Supply Chain เป็นอย่างมาก อาจจะดูเหมือนเป็นงานที่ง่าย แต่ในความเป็นจริงกระบวนการจัดส่งสินค้านั้นต้องใช้เงินทุน จึงจำเป็นต้องใช้ความสามารถในการจัดการเพื่อขนส่งสินค้าในต้นทุนที่ต่ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการจำนวนมากมักเลือกใช้บริการโลจิสติกส์เพื่อให้เป็นสื่อกลางในส่งสินค้าของตนไปยังลูกค้าแทนที่จะบริหารจัดการด้านการขนส่งเอง

Logistics Management

4 ปัจจัยหลักที่ทำให้การจัดการด้านโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ ได้แก่

1.       การเคลื่อนย้าย (Movement)

การเคลื่อนย้ายสินค้า เป็นกระบวนการสำคัญและจำเป็นต้องจัดการให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้พนักงานขนส่งทำงานได้ง่าย ใช้พื้นที่บนรถขนส่งอย่างคุ้มค่า ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

2.       การจัดเก็บ (Storage)

การจัดเก็บคือการวางแผนการเก็บรักษาสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยรวบรวมสินค้าที่ได้จากการขนส่งจำนวนน้อยหลายๆ ครั้งเข้าด้วยกัน เพื่อรวมเป็นสินค้าขนาดใหญ่ หรือการแยกสินค้าให้มีจำนวนที่เล็กลง(break bulk) เป็นต้น การจัดเก็บสินค้าได้ดี จะช่วยลดต้นทุนขององค์กรด้านค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ(storage cost)

3.       การรวบรวม (Consolidation)

เป็นการขนส่งแบบรวมสินค้าหลายประเภท และหลายลูกค้าไว้ในรถขนส่งคันเดียวกัน เมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ผู้ให้บริการขนส่งจะไปรับสินค้าที่ต้นทางหลายๆ แห่ง แล้วนำมารวมไว้ที่ศูนย์กระจายสินค้า หลังจากนั้นจะจัดเส้นทางการขนส่ง และเติมสินค้าให้เต็มรถ เพื่อนำไปส่งตามลำดับเส้นทางที่วางแผนไว้

4.       การกระจาย (Distribution)

การกระจายสินค้าเป็นกิจกรรมที่ต้องวางแผนให้ดีเพื่อให้ส่งสินค้าได้ถูกต้อง (right product) ตรงตามจำนวน (right quantity) เวลา (right time) สถานที่ (right place) และเงื่อนไข (right condition) ที่ลูกค้ากำหนด

 ทำไมโลจิสติกส์จึงเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ

การเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ทำให้มีผู้ประกอบการรายย่อยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปสั่งสินค้าทางออนไลน์มีมากขึ้น จึงเริ่มมีผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์เข้ามาแข่งขันในตลาดกันมากขึ้น ทั้งนี้ ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องของตัวสินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการให้บริการ ความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ และความรวดเร็วในการจัดส่งอีกด้วย การมีระบบโลจิสติกส์ที่ดีจึงช่วยสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้

เทคโนโลยีและบริการที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจโลจิสติกส์

Routing Management

เป็นระบบที่ช่วยวางแผนเพื่อคำนวณสินค้าที่จะนำขึ้นรถขนส่ง และคำนวณเส้นทางขนส่ง ทำให้ใช้พื้นที่บนรถขนส่งได้อย่างคุ้มค่า ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่าย เช่น ลดจำนวนเที่ยวที่ไม่จำเป็นลง ช่วยให้สามารถส่งสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทางได้อย่างรวดเร็ว

GPS Tracking / Monitoring

ใช้เทคโนโลยี GPS (Global Positioning System) ซึ่งเป็นระบบติดตามตำแหน่งด้วยดาวเทียม โดยติดตั้งอุปกรณ์ติดตาม (Tracker) ไว้ที่ยานพาหนะ สินค้า หรือตัวบุคคล แล้วใช้ระบบ GPS คำนวณหาตำแหน่งบนพื้นโลก โดยใช้ตำแหน่งของดาวเทียมในการอ้างอิง ซึ่งมีความแม่นยำสูง จึงช่วยระบุพิกัดของยานพาหนะ สินค้า หรือบุคคลได้ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดเส้นทาง และระยะเวลาในการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่มเติม “ระบบวางแผนและควบคุมการขนส่ง”

Fulfillment Service

Fulfillment คือบริการให้เช่าพื้นที่คลังสินค้า พร้อมทั้งแพ็คสินค้าและจัดส่งไปยังปลายทาง โดยใช้ระบบออนไลน์คำนวณและบันทึกสินค้า ช่วยให้ตรวจสอบสถานะสินค้าและติดตามการจัดส่งได้ตลอดเวลา เหมาะกับผู้ประกอบการที่ต้องการประหยัดเวลาในการบริหารคลังสินค้าและการขนส่ง และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานได้อีกด้วย

Ultrafast delivery

เป็นระบบการส่งสินค้าอย่างรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง หรือ 30 นาที ริเริ่มโดยบริษัท Amazon ซึ่งมีคลังสินค้าของตัวเองอยู่ในตึกกลางเมืองนิวยอร์ก สามารถให้บริการจัดส่งสินค้าอย่างรวดเร็วไปยังเมืองใกล้เคียงได้ พนักงานของ Amazon สามารถค้นหาและหยิบสินค้าในคลังมาบรรจุหีบห่อได้อย่างรวดเร็ว แล้วส่งต่อให้ผู้ให้บริการขนส่งเพื่อนำไปจัดส่งให้ลูกค้าด้วยช่องทางที่รวดเร็วที่สุด ซึ่งอาจจะเป็นการเดิน การส่งด้วยรถจักรยาน รถโดยสารสาธารณะ หรือรถยนต์ ลูกค้าที่สั่งสินค้าจึงได้รับสินค้าที่ถูกต้องและรวดเร็ว

เทคโนโลยีการจัดการโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง

เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด.
RFID. ... .
Digital Sensors. ... .
Smart Warehouse : คลังสินค้าอัจฉริยะ ... .
Warehouse Management System (WMS) ... .
โดรน ... .
Delivery Robots. ... .
ระบบขับขี่อัตโนมัติ และรถบรรทุกไร้คนขับ.

เทคโนโลยี โล จิ สติ ก ส์ คืออะไร

เทคโนโลยีสารสนเทศสาหรับโลจิสติกส์อาจกล่าวได้ว่าเป็นการนาระบบเทคโนโลยีที่ประกอบไปด้วย วิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทางด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้สามารถบริหาร จัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการน าระบบสารสนเทศมาใช้ในงานด้านโลจิสติกส์นั้นต้องสามารถช่วยให้ เป้าหมายที่วางไว้ดีขึ้นจากเดิมทั้งในเรื่อง 1 ...

เทคโนโลยีใดที่นักการจัดการโลจิสติกส์นำมาใช้ในการวางแผนและการจัดการขนส่งสินค้า

Warehouse Management System: WMS เป็นระบบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยบริหารการจัดการโลจิสติกส์ระบบคลังสินค้า ที่ครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในคลังสินค้า ได้แก่ การรับสินค้า (Receiving) การจัดเก็บ (Putaway) และการจัดและการเติมสินค้า (Picking & Replenishment)

ประเภทของการจัดการโลจิสติกส์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

08/05/2020 ความรู้โลจิสติกส์.
การขนส่งทางบก (Road or Motor Transportation).
การขนส่งทางน้ำ (Water Transportation).
การขนส่งทางอากาศ (Air Transportation).
การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ (Container System).
การขนส่งทางท่อ (Pipeline Transportation).