คํา ถามสัมภาษณ์ มหา ลัย แปลก ๆ

ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

เตรียมก่อน พร้อมกว่า กับการเตรียมตัวการสอบสัมภาษณ์

หลังจากการประกาศผลรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์ มีชื่อเรา น้อง ๆ แถบจะกระโดด กรี้ดลั่นบ้าน แน่ ๆ 

ผ่านไปแล้วหนึ่งเปาะ กับการสอบ และที่แน่ ๆ ต้องตื่นเต้นกับการจะไปพบกับอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกแน่ ๆ กับการสอบสัมภาษณ์ 

ซึ่งรุ่นพี่มักจะให้กำลังใจว่า "แหม่ ๆ สอบติดแล้ว สัมภาษณ์ยังไง ๆ อาจารย์ก็ไม่คัดออกหรอก" แต่มีค่ะ มีเคสที่ตกสัมภาษณ์ก็มี หรือตกมาเป็นตัวสำรองก็มี หรือบางคนกำลังมองว่า ที่นั่งในมหาวิทยาลัยมีมากมาย ยังไงก็สอบติด เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องค่ะ เพราะ ที่นั่งที่เราอยากนั่งก็ยังมีอีกหลาย ๆ คนก็อยากนั่งเก้าอี้นั่นเหมือนกัน จริงไหม?? 

การแข่งขันในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นเพียงจุดเริ่มต้นในวัยที่น้อง ๆ จะเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ ที่จะต้องมีความรับผิดชอบชีวิตตัวเองมากขึ้น 

พี่แอดมิน ก็อยากให้น้อง ๆ ทุกคนตั้งใจ เลยนำเทคนิคการเตรียมตัวการสอบสัมภาษณ์มาให้น้อง ๆ ได้ฝึก เตรียมตัวกันจ้า 

ตัวอย่าง 12 คำถามเตรียมสอบสัมภาษณ์ 

กรรมการจะถามอะไรมั้งค่ะ/ ครับ ?? 

เดินเข้ามาในห้องสอบสัมภาษณ์มันจะเย็น ๆ หน่อย น้องพยายาม ตั้งสติ อย่าตื่นเต้น ล้น นิ่ง ๆ เข้าไว้ เข้ามาอาจารย์จะให้น้อง ๆ แนะนำตัวเอง 

อาจารย์จะดูไหวพริบ การสร้างความประทับใจเมื่อแรกเห็น อาจารย์เขาก็มีข้อมูลน้อง ๆ อยู่ในมือแระ ว่าเป็นมาจากไหน 

มาเตรียมตัวกับ คำถามสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย 

1. แนะนำตัวเอง 

เริ่มต้นโดยการสร้างความประทับใจจากการไหว้ คณะกรรมการ สวัสดีค่ะ/ครับ ดิฉัน หนู ฉัน ผม ชื่อ ..... มาจากโรงเรียน..... โดยกล่าวประวัติพอสังเขป อาจจะกล่าวถึง คุณพ่อ คุณแม่ทำงานอะไร.... เหตุผลที่อยากเรียนคณะนี้... มีเป้าหมายอย่างไร.... 

2. เป้าหมาย เหตุผลทำไมถึงเลือกเรียน สาขานี้ คณะนี้ ล่ะ 

หลังจากแนะนำตัวเองแล้วต่อด้วย เหตุผลที่อยากเรียนคณะนี้เพราะอะไร บอกเลยคำถามนี้น้อง ๆ ควรตอบ ตามความเป็นจริงว่า เหตุผลทำไมถึงเลือกเรียนสาขานี้ ไม่ใช่ตอบว่า พ่อแม่บังคับเรียน เรียนตามเพื่อน คำถามควรตอบแบบเชิงบวก โดยคำถามนี้น้อง ๆ ควรหาข้อมูลเกี่ยวกับสถาบัน มหาวิทยาลัย หรือสาขานั้น ๆ ไว้เพื่อการเตรียมตัวด้วยนะคะ เพราะอาจารย์ก็อยากทราบเป้าหมาย หรือทักษะเหตุผล ทั่ว ๆไปค่ะ เคยมีเคสหนึ่งนักเรียนสอบติดแพทย์แต่เหตุผลตอบว่า พ่อแม่บังคับเรียน จนอาจารย์ถามเข้า ๆ จนได้คุยกับผู้ปกครองให้ ซึ่งจริงเขาชอบงานบริหารธุรกิจ ถ้าบังคับไปเรียนแพทย์ อาจจะไม่มีความสุขสำหรับเด็กคนนั้นไปเลย อาจารย์เลยคุยกับผู้ปกครอง พบว่าที่บ้านทำธุรกิจ เขาชอบงานบริหารที่พ่อแม่ทำ แต่พ่อแม่อยากมีหน้ามีตาทางสังคมว่าลูกเรียนเก่ง บังคับเรียนมาตลอด จนน้องเขาสอบติดแพทย์ แต่หารู้ไม่ น้องชอบเรียนอะไรกันแน่ จนอาจารย์หมอได้คุยกับพ่อแม่ และคุยกับนักเรียน จนในที่สุดเขาก็ได้ไปเรียนบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งเติบโตไว้มาก เพราะเขาชอบพูดชอบคุยกับคน เรียนรู้จากบุคคลอื่น ๆ ทุกวันนี้ก็ประสบความสำเร็จทางสายงานบริหาร มีธุรกิจเป็นของตัวเอง เคสนี้เลยอาจารย์หมอเลยให้ นักเรียนคนนี้ตกสัมภาษณ์ ก็ตอบว่าพ่อแม่บังคับมาเรียนนี่น๊า  

4. รู้หรือไหมว่าสาขา คณะนี้มีสาขาอะไรบ้าง 

ต่อจากคำถาม เหตุผลที่เลือกเรียนคณะ อาจารย์จะยิงคำถามความรู้พื้นฐานของสาขาวิชานั้น ๆ หรือถามเกี่ยวกับความสนใจ คณะสาขานั้น ๆ คำถามนี้แนวการตอบอาจจะตอบ "เท่าที่ทราบข้อมูลมา... สาขานี้เรียนเกี่ยวกับ.... " ว่าไป เพื่อให้เห็นว่าเราเองก็ทำการบ้านมานะ 

ไม่ควรตอบแบบ "ไม่ทราบค่ะ" "ไม่รู้ครับ" อาจารย์อาจจะเคืองเบา ๆ ไม่เตรียมตัว ทำการบ้านอะไรมาเลย แล้วมาสัมภาษณ์ถูกคณะสาขาไหมเนี่ย 

5. เรียนหนักนะ จะไหวเหรอ?

คำถามต่อไป เรียนหนักนะ จะไหวหรอ อุ้ย ! สอบเข้าก็ยากแล้ว มาเจอคำถามอาจารย์ อาจจะสตั้นเบา ๆ สอบเข้าได้ก็เรียนได้ คำถามนี้ไว้เป็น คำถามเพื่อการันตี ความหนักแน่นของเราเท่านั้น เพื่อความมั่นใจว่าจะมาเรียนที่นี่ คำแนะนำ ไม่ควรตอบแบบ "ไม่มั่นใจค่ะ" "ไม่รู้สิครับ ลองดู" "ก็คงจะไหว มั้งครับ" ควรจะตอบแบบมั่นใจ ในการที่จะเข้าเรียน ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่นจ๊ะ

6.แล้วถ้าไม่ได้ที่นี่จะทำอย่างไร / ถ้าตกสัมภาษณ์จะทำอย่างไร

ถ้าเจอคำถามนี้ ก็มีสตั้น อีกเช่นเคย เอ้า อาจารย์นิก็ถามแปลก ก็อยากเรียนที่นี่ จะให้ตกหรืออย่างไร น้อง ๆ ไม่ต้องสตั้น ตั้งสติพอลูกเอ่ย อาจารย์ไม่ได้ต้องขู่ เข็น อะไรหรอกค่ะ อาจารย์ต้องการจะดู EQ และไหวพริบของน้อง ๆ ว่าจะมีการจัดการอย่างไร แนวการตอบ ก็ตอบเชิงบวกเช่นเคย ถ้าหากไม่ได้ ก็จะสอบให้ได้ค่ะ สมมุติติดรอบสอง หนูก็จะสอบรอบสามให้ได้ รอบสี่ให้ได้ หรือมองส่วนของภาคพิเศษ แต่หนูพยายามอยู่แล้วค่ะ

7. ถามเกี่ยวกับกิจกรรมที่เข้าร่วม

คำถามนี้ก็ตอบไปตรง ๆ เลยจ้า ว่าเคยทำอะไรมาบ้าง อาจารย์ก็จะดู ว่างานอดิเรก การทำกิจกรรมของเราสอดคล้องกับคณะ สาขาที่เรียนมากน้อยขนาดไหน ก็ให้ตอบเป็นสาระ กิจกรรมที่เข้าร่วม ตามความเป็นจริงของเราได้เลยจ้า 

8. เวลาว่างทำอะไร/ งานอดิเรก มาต่อกับคำถาม กิจกรรมที่เข้าร่วม แล้วอาจารย์อาจจะถามถึง งานอดิเรก เวลาว่างชอบทำอะไร ให้ตอบคำถามแบบมีสาระจ้า เพราะว่ากิจกรรมมหาวิทยาลัยก็เยอะ อาจารย์ก็จะดูว่า น้อง ๆ ได้เข้าร่วม เวลาว่างทำงาน ทำกิจกรรมอะไรมาบ้าง

9. ข้อดี / ข้อเสีย ของคุณคืออะไร

แน่นอนว่า เรามีจุดขายในการพรีเซนตัวเอง ข้อดี ข้อเสียของตัวเอง เป็นคำถามแนวจิตวิทยาเล็ก ๆ อยากให้น้อง ๆ ตอบตามความเป็นจริง แต่ไม่ใช่ตอบแบบข้อเสีย ฉันคือ "ขี้เกียจค่ะ" เอ้า แล้วจะเรียนรอดไหมเนี่ย อาจจะเป็นข้อบกพร่องของหนู คือ หัวช้า แต่หนูมีิวิทยาการแก้ไขโดยการฝึกทำโจทย์ทบทวนความรู้ตลอดเวลา หรือการอ่านเตรียมตัวก่อนเข้าเรียน ตัวอย่าง ข้อเสีย ผม เป็นคนสะเพร่าครับ แต่ความสะเพร่า คือทำให้ผมทำงานได้เร็ว ผมก็พยายามอ่านทบทวนก่อนส่งงาน เพื่อจะได้ตรวจสอบความสะเพร่าของผมครับ และพยายามปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอ

ข้อดี ให้ตอบไปเลยว่า ข้อดีของเราคืออะไร แล้วข้อดีส่งผลต่อคนอื่น ๆ ได้อย่างไรบ้าง

10. ถามการเดินทางมาเรียนเป็นอย่างไร

การเดินทางเนี่ย อาจารย์ก็ถามทั่ว ๆ ไป เพื่อพูดคุยให้รู้จักกับเรามากขึ้น แนวการตอบก็ให้ตอบตามความเป็นจริง ไปแระค่ะ เพื่อจะได้ทราบถึงการวางแผนการเดินทางอย่างไรของเรา

11. คำถามเชิงจิตวิทยาตามสาขา เช่น สายแพทย์ ถ้าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะเลือกช่วยเหลือใครก่อนเพราะอะไร

คำถามนี้ อาจจะมีการถามเชิงจิตวิทยา หลังจากที่น้อง ๆ บอกเป้าหมาย อยากเป็นนักกฏหมาย อยากเป็นพยาบาล หรืออยากเป็นครูต่าง ๆ อาจารย์จะถามต่อโดยการยกสถานการณ์มาให้ แล้วในเลือกตอบ ถ้าน้อง ๆ เตรียมตัวเรื่องของคณะสาขามา น้อง ๆ จะตอบคำถามนี้ได้สบาย ๆ เป็นคำถามที่จะดูความรู้ทั่วไป และจิตวิทยาการให้เหตุผล บางคำถามไม่มีคำตอบที่ถูกผิด แต่อาจารย์ต้องการฟังการให้เหตุผล ตรรกกะ ทางความคิดของน้อง ๆ นั่นเอง 

12. มีข้อมูลสอบถามเพิ่มเติมหรือไม่

อุ้ย อาจารย์ให้ถามคืนค่ะ คำถามนี้ไม่ได้ต้องการคำตอบที่จะบอกว่า "ไม่มีค่ะ" "ไม่มีครับ" แต่ก็ไม่มีคำตอบที่ตายตัวนะ ว่าจะต้องถามกลับอาจารย์แบบไหน เอาเป็นว่าน้อง ๆ สงสัยอะไรก็สอบถามอาจารย์ไปเลยจ้า ถามเรื่องทุนการศึกษา คำแนะนำ การเข้ารับน้อง หรือการเรียนต่าง ๆ

มาดูการสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ (English) กันบ้างจ้า

1.Please introduce yourself. / Could you please introduce yourself briefly? (กรุณาแนะนำตัวเอง)

แนวการตอบ การแนะนำตัวเองภาษาอังกฤษก็เพียงแสดงให้ผู้สัมภาษณ์รู้ว่าเราเป็นใคร มาจากไหน ไม่จำเป็นต้องบอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเรามากจนเกินไป

2. Why do you choose to study this major? / What’s your reason why you choose to study this major? / Why have you decided to study in this faculty? (ทำไมถึงเลือกเรียนสาขานี้)

แนวการตอบ จะต้องสอดคล้องกับข้อมูลที่เราได้ตระเตรียมมา ถ้าหากเราไม่ได้เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรมาก่อนว่า มีสาขาที่เปิดสอนอะไรบ้าง และจะต้องเรียนอย่างไร อาจจะทำให้การตอบคำถามในข้อนี้เกิดความผิดพลาดได้ ผู้สัมภาษณ์จะเห็นว่าเราไม่มีความพร้อมที่จะเรียนในหลักสูตรนี้ ทั้งๆที่เราจะเข้าเรียนในสาขานี้ในอนาคตอันใกล้นี้แล้ว ดังนั้น เราควรตอบให้สอดคล้องกับคำถามในเรื่องการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ และแรงจูงใจที่จะศึกษาในสาขาดังกล่าว

3. How do you know ______________ University? And why do you want to study in this institute? (รู้จักมหาวิทยาลัย………. ได้อย่างไร และทำไมถึงต้องการศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้)

แนวการตอบ คำถามนี้ต้องการคำตอบที่แสดงให้เห็นถึงทัศนคติเกี่ยวกับหลักสูตรและสถาบันในเชิงบวก นั่นหมายความว่า หลักสูตรหรือสาขาที่จะเข้าศึกษาต่อนั้นดีและมีประโยชน์อย่างไร มหาวิทยาลัยที่เราสอบนั้นดี และมีชื่อเสียงด้านใดบ้าง ทั้งนี้ เราควรตอบในเชิงยกย่องสถาบันนั้นๆ

4. After your graduation, what would you like to be / do in the future? (เมื่อจบปริญญาตรีสาขานี้ไปแล้ว คิดว่าจะทำงานด้านใด)

แนวการตอบ จะต้องตอบในทางที่สามารถนำเอาความรู้ที่ได้จากที่เรียนไปใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด ต้องเตรียมเหตุผลมาสนับสนุนให้กลมกลืนกันระหว่างการปฏิบัติงาน กับการนำความรู้ที่เรียนมาไปประยุกต์ใช้ ถึงแม้ว่า อนาคตเราอาจจะไม่ได้ทำงานตามที่เราได้เรียนมาก็ตาม หรือว่าเราอาจยังไม่มีอาชีพที่เราอยากทำ ณ ตอนนี้ก็ตาม

5. How will you apply what you have learned from the university to help you with your career after graduation? (จะนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปใช้ประโยชน์ในงานที่จะเข้าทำได้หรือไม่อย่างไร)

6. What is your special ability, your interest, and your personality? (นักเรียนมีความสามารถพิเศษ ความสนใจ ตลอดจนบุคลิก ลักษณะส่วนตัวเช่นไร)

7. Do you know anything about this major / faculty? And how? (นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับคณะ หรือสาขาที่เรียนหรือไม่ อย่างไร)

8. Have you ever studied in any academic tutorial institutes? (นักเรียนเคยไปเรียนติวกับสถาบันต่างๆ ก่อนเข้าสอบหรือไม่)

9. How did you prepare yourself for the examination? (นักเรียนมีการเตรียมตัวในการสอบเข้าอย่างไรบ้าง)

10. Do you have any financial problems?

11. Due to the long distance, do you think you are able to study here?

12. What is your weakness / strength or good point?

พอได้ไอเดียในการตอบคำถามบางรึเปล่าค่ะ

สิ่งที่น้อง ๆ ควรเตรียมตัวคือ การศึกษาข้อมูลคณะสาขานั้น ๆ การตั้งสติ พูดจาฉะฉาน ถ้าอาจารย์ให้แสดงความสามารถพิเศษ ก็ไม่ต้องเขินค่ะ เพราะนั่นเป็นเวทีที่อาจารย์จะได้เห็นว่าเรามีความสามารถด้านนั้น ๆ อยู่จริง พยายามสบตาผู้สัมภาษณ์ ตอบให้เป็นธรรมชาติ ตอบตามความจริง และ Postive Thinking กริยามารยาทอ่อนหวาน อ่อนน้อม ถ่อมตนด้วยนะจ๊ะ

ขอให้น้อง ๆ ประสบความสำเร็จในการสอบสัมภาษณ์นะคะ สู้ ๆ

#แอดมินพี่ฟาง

GRIT Education Consultancy Co.,Ltd.