หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า form a

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ของกรมศุลกากร การใช้งานข้อมูลใด ๆ บนเว็บไซต์ ให้ใช้ได้ตามที่เว็บไซต์จัดรูปแบบไว้ให้เท่านั้น
ลิขสิทธิ์ 2015 กรมศุลกากร สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนนวัตกรรมและวิเคราะห์ระบบ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร

หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้ามีกี่ประเภท

15 February 2020

หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า form a

เป็นหนังสือรับรองถิ่นกำเนิด/สัญชาติของสินค้าว่ามีการผลิตที่แท้จริงในประเทศใด เพื่อใช้รับรองการขอใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้า ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีต่างๆ รวมถึงอาเซียน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของแต่ละความตกลง   ซึ่งหน่วยงานภาครัฐของไทยที่มีอำนาจในการออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าหรือสัญชาติของสินค้า คือ กรมการค้าต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานภาครัฐของไทยที่ทำหน้าที่ตรวจสอบใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อพิจารณาการให้สิทธิพิเศษ/การลดภาษีศุลกากรนำเข้าคือ กรมศุลกากรและกระทรวงการคลัง
      ปัจจุบันอาเซียนได้ริเริ่มใช้ระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง(Self-Certification) คือ การอนุญาตให้ผู้ทำการค้า/ผู้ส่งออกที่ได้รับความไว้วางใจ (Trusted trader/exporter) รับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองในใบกำกับราคาสินค้า (Invoice) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในมาตรการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้าในภูมิภาค หนังสือรับรองถิ่นกำเนิด มีทั้งหมด 7 ประเภท ดังนี้

1. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

แบบเอ 

(Certificate of Origin Form A)  เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป โดยจะได้รับสิทธิลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีขาเข้าสำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษ GSP  ได้แก่   สหภาพยุโรป  สหรัฐอเมริกา (ผู้นำเข้าเป็นผู้แสดงความจำนงนำเข้าสินค้าโดยขอใช้สิทธิ GSP ต่อศุลกากรขาเข้า)   ญี่ปุ่น แคนาดา รัสเซียและเครือรัฐอิสระ 10 ประเทศ (กลุ่ม CIS)  ตุรกี   สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์
2. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

แบบจี.เอส.ที.พี  

เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางการค้าสำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศกำลังพัฒนารวม 43 ประเทศที่ได้ลงนามและให้สัตยาบันข้อตกลงแล้ว ได้แก่ แอลจีเรีย,อาร์เจนตินา,บังกลาเทศ,เบนิน, โบลิเวีย,บราซิล,แคเมอรูน,ชิลี,โคลัมเบีย,คิวบา, เกาหลีเหนือ,เอกวาดอร์,อียิปต์,กานา,กินี,กายอานา,อินเดีย,อินโดนีเซีย,อิหร่าน,อิรัก,ลิเบีย,มาเลเซีย, เมอร์โคซูร์,เม็กซิโก,โมร็อกโก,เมียนมาร์,โมซัมบิก,นิการากัว,ไนจีเรีย,ปากีสถาน,เปรู,ฟิลิปปินส์,เกาหลีใต้, สิงคโปร์,ศรีลังกา,ซูดาน,ไทย,ตรินิแดด,โตเบโก,ตูนิเซีย แทนซาเนีย,เวเนซูเอลา, เวียดนาม และซิมบับเว (ดูรายละเอียดได้ที่ www.unctadxi.org/gstp)
3. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

แบบดี 

(Certificate of Origin Form D) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN  Trade  In Goods Agreement : ATIGA)  สำหรับสินค้าที่ส่งไปประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย,เมียนมาร์,สปป.ลาว,เวียดนาม,ฟิลิปปินส์,กัมพูชา,มาเลเซีย, สิงคโปร์,บรูไน  และอินโดนีเซีย
4. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

การใช้สิทธิพิเศษทางการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีต่างๆ 

เป็นหนังสือรับรองฯ  ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีต่างๆ ได้แก่
         

ความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน               ใช้ Form E
ความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย         ใช้ Form FTA
ความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย   ใช้ Form AI
ความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย   ใช้ Form FTA
ความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์  Invoice
ความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์          ใช้ Form AANZ
ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น       ใช้ Form JTEPA
ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ใช้ Form AJ
ความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี         ใช้ Form AK
ความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-เปรู ใช้ Form TP

5. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าหัตถกรรม (Certificate in Regard to Certain Handicraft Products) เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกสินค้าหัตถกรรมไปยังสหภาพยุโรปตามรายการที่กำหนดไว้
6. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับ

สินค้าผ้าไหมและผ้าฝ้ายทอด้วยมือ 

(Certificate Relating to Silk or Cotton Handloom Products) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกสำหรับสินค้าผ้าไหมและผ้า ฝ้ายที่ทอด้วยมือ ตามระเบียบการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรป ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า
7. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับ

สินค้าหัตถกรรมทั่วไป (

Certificate of Origin Handicraft or Handloom Products)  เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ใช้สำหรับการส่งออก สินค้าหัตถกรรมภายใต้สิทธิพิเศษฯ ไปยังประเทศญี่ปุ่นและแคนาดา
ระยะเวลาในการขอและขอย้อนหลังของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

  • การขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสามารถขอล่วงหน้าก่อนการส่งออกได้ 3 วันทำการ  (ยกเว้นการขอฟอร์ม D  ไปประเทศอินโดนีเซีย ไม่สามารถขอล่วงหน้าได้)
  • การขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสามารถขอย้อนหลังได้โดยขึ้นอยู่กับระเบียบปฏิบัติ (Operational Certification Procedure: OCP) ของแต่ละระบบสิทธิพิเศษทางการค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าย้อนหลังได้ไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่สินค้าออกจากประเทศไทย

หน่วยงานที่สามารถออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

สถานที่ให้บริการ
(หมายเหตุ: (โทรศัพท์ 0 2547 4832 โทรสาร 0 2547 4890))
กลุ่มงานหนังสือสำคัญฯ 2  กรมการค้าต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์  563  ถนนนนทบุรีต.บางกระสออ.เมืองจ.นนทบุรี  11000/ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน
ระยะเวลาเปิดให้บริการ เปิดให้บริการวัน จันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:30 - 16:30 น. (มีพักเที่ยง)
สถานที่ให้บริการ
(หมายเหตุ: (โทรศัพท์ 0 2134 0944 โทรสาร 0 2134 0946))
กลุ่มงานหนังสือสำคัญฯ 3  (ท่าอากาศยานสุุวรรณภูมิ) อาคารศุลกากรตรวจสินค้าขาออก ตึก CE1 ชั้น 1 อ.บาลพลี จ.สมุทรปราการ/ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน
ระยะเวลาเปิดให้บริการ เปิดให้บริการวัน จันทร์ ถึง วันเสาร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:30 - 16:30 น. (มีพักเที่ยง)
 สถานที่ให้บริการ
(หมายเหตุ: (โทรศัพท์ 0 2249 2106 โทรสาร 0 2240 2232))
กลุ่มงานหนังสือสำคัญฯ 4  (ท่าเรือกรุงเทพ)   อาคารตรวจสินค้าขาออก ชั้น 1 อาคารริมน้ำ เขตคลองเตย แขวงคลองเตย กรุงเทพฯ /ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน
ระยะเวลาเปิดให้บริการ เปิดให้บริการวัน จันทร์ ถึง วันเสาร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:30 - 16:30 น. (มีพักเที่ยง)
สถานที่ให้บริการ
(หมายเหตุ: (โทรศัพท์  0 2512 0123 ต่อ 818-20 โทรสาร 0 2512 5748))
กลุ่มงานหนังสือสำคัญฯ 5 (กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รัชดา) 22/77, อาคารกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  ถนนรัชดาภิเษก, แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร/ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน
ระยะเวลาเปิดให้บริการ เปิดให้บริการวัน จันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:30 - 16:30 น. (มีพักเที่ยง)
สถานที่ให้บริการ
(หมายเหตุ: -)
สำนักงานการค้าต่างประเทศเขต 1-6 และ 8-9/ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน
ระยะเวลาเปิดให้บริการ เปิดให้บริการวัน จันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:30 - 16:30 น. (มีพักเที่ยง)
 สถานที่ให้บริการ
(หมายเหตุ: (ให้บริการในจังหวัดต่อไปนี้ จังหวัดยะลา นราธิวาส สตูล ภูเก็ต นครพนม ))
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดที่ได้รับมอบหมาย/ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน
ระยะเวลาเปิดให้บริการ เปิดให้บริการวัน จันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:30 - 16:30 น. (มีพักเที่ยง)

ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ