ข้อใด มีความสำคัญ มาก ที่ผู้ซื้อทาง อินเตอร์เน็ต จะซื้อ หรือ ไม่ซื้อ

9.5 รูปแบบการทำธุรกิจของ E-Commerce


1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business: B2B) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน ตัวอย่างเช่นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ หรือผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้าผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีความสำคัญมากที่สุด ตัวอย่าง Website เช่น
บริษัทไมโครซอฟต์เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ (www.micorsoft.com) บริษัทซิสโกเป็นบริษัทขายอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ทางด้านเครือข่ายอื่นๆ โดยขายผ่านเว็บแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (www.cisco.com) ขายส่งสินค้าอุปโภคบริโภค (http://www.tesco.co.th/th/index.html) ขายสินค้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(http://www.value.co.th/th/main.asp) และ ตลาดซื้อขายออนไลน์ (http://www.b2bthai.com/) เป็นต้น


2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer: B2C) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (electronic retailing) เราสามารถแบ่งระดับของกิจกรรมของ คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 5 ระดับดังต่อไปนี้คือ การโฆษณาและแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic showcase) เพียงอย่างเดียว, การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic ordering) สามารถสั่งซื้อได้, การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic payment) สามารถชำระเงินได้, การจัดส่งและบริการหลังการขายด้วยอินเทอร์เน็ต (Electronic delivery and service) สามารถจัดส่งและบริการหลังการขายได้ และ การทำธุรกรรมและการแลกเปลี่ยนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic transaction) สามารถทำการแลกเปลี่ยนได้ ตัวอย่าง Website เช่น
บริการผู้ขายปลีกสินค้าผ่านเว็บไซต์โดยทำการขายหนังสือไปทั่วโลก (www.amazon.com) บริการการจองตั๋วเครื่องบินของบริษัทการบินไทยผ่านเว็บไซต์ (www.thaiair.com) ขายเครื่องประดับ (http://www.abcjewelry.com/) และ ขายอาหาร(http://www.pizza.co.th/) ขายหนังสือ (http://www.se-ed.com)เป็นต้น


3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government: B2G) หมายถึง ธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศเพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ข้อมูลเพื่อการเปิดประมูลผ่านทางเครือข่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ (government procurement), การจดทะเบียนการค้า, การรายงานผลการประกอบการประจำปี, การสืบค้นเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิบัตรผ่านทางเครือข่าย เป็นต้น ตัวอย่าง Website เช่น
การประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ (www.mahadthai.com) และ ระบบอีดีไอในพิธีการกรมศุลกากร (www.customs.go.th)


4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer: C2C) หมายถึง ธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ตัวอย่าง Website เช่น
เป็นแหล่งที่ผู้ขายมาเสนอขายและผู้ซื้อประมูลซื้อแข่งกันผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันผ่านอีเมล์ (www.ebay.com) ประกาศขายสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ มีการลงทะเบียนเป็นสมาชิก สามารถจัดส่งสินค้าได้ (www.pantipmarket.com) และขายของมือสอง (http://www.thaisecondhand.com) เป็นต้น

                ประโยชน์ของ E-Commerce

                1. ต่อบุคคล

                   - มีสินค้าและบริการราคาถูกจำหน่าย

                   - ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง

                   - ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ในเวลาที่รวดเร็ว

                   - ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าตรงตามความต้องการมากที่สุด

                   - สนับสนุนการประมูลเสมือนจริง

                   - ทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับลูกค้ารายอื่นได้

                   - ทำให้เกิดการเชื่อมโยงการดำเนินงานภายในโซ่มูลค่า (Value Chain Integration)

             2. ต่อองค์กรธุรกิจ

                   - ขยายตลาดในระดับประเทศและระดับโลก

                   - ทำให้บริการลูกค้าได้จำนวนมากทั่วโลกด้วยต้นทุนที่ต่ำ

                   - ลดปริมาณเอกสารเกี่ยวกับการสร้าง การประมวล การกระจายการเก็บและการดึงข้อมูลได้ถึงร้อยละ 90

                   - ลดต้นทุนการสื่อสารโทรคมนาคม เพราะ อินเทอร์เน็ตราคาถูกกว่าโทรศัพท์

                   - ช่วยให้บริษัทขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ได้

                   - ทำให้การจัดการผลิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

                3. ต่อสังคม

                   - ทำให้คนสามารถทำงานที่บ้านได้ ทำให้มีการเดินทางน้อยลง ทำให้การจราจรไม่ติดขัด ลดปัญหามลพิษทางอากาศ

                   - ทำให้มีการซื้อขายสินค้าราคาถูกลง คนที่มีฐานะไม่รวยก็สามารถยกระดับมาตรฐานการขายสินค้าและบริการได้

                4. ต่อระบบเศรษฐกิจ

                   - กิจการ SMEs ในประเทศกำลังพัฒนา อาจได้ประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดที่กว้างขวางในระดับโลก

                   - ทำให้กิจการในประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้

                   - บทบาทของพ่อค้าคนกลางลดลง ทำให้ต้นทุนการซื้อขายลดลง ทำให้อุปสรรคการเข้าสู่ตลาดลดลงด้วย

                   - ทำให้ประชาชนในชนบทได้หาสินค้าหรือบริการได้เช่นเดียวกับในเมือง

                   - เพิ่มความเข้มข้นของการแข่งขัน ทำให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค

             สรุปประโยชน์ของ E-Commerce

                1. เป็นการค้าที่ไร้พรมแดน ไม่มีการแบ่งทวีปหรือประเทศ ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระยะทาง และการเดินทาง ท่านสามารถที่จะซื้อสินค้าจากร้านหนึ่ง และเดินทางไปซื้อสินค้าจากร้านอีกร้านหนึ่งซึ่งอยู่คนละทวีปกันได้ ในเวลาเพียงไม่กี่นาที

                2. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายขนาดใหญ่ทั่วโลก ฐานผู้ซื้อขยายกว้างขึ้น

                3. คุณสามารถทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงและเปิดได้ทุกวันโดยไม่วันหยุด

                4. คุณไม่มีความจำเป็นต้องจ้างพนักงานขายเพราะเจ้า E-Commerce จะทำการค้าแบบอัตโนมัติให้คุณ ไม่ต้องมีสินค้าคงคลังหรือมีก็น้อยมาก

                5. คุณไม่มีความจำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างตึกแถว เพื่อใช้เป็นร้านค้า เพียงแค่สร้าง Web Site ก็เปรียบเสมือนร้านค้าของคุณแล้ว ไม่ต้องเสี่ยงกับทำเลที่ตั้งของร้านค้า

                6. E-Commerce สามารถเก็บเงิน และนำเงินฝากเข้าบัญชี ให้คุณโดยอัตโนมัติ

                ข้อจำกัดของ E-Commerce

            1. ข้อจำกัดด้านเทคนิค

                   - ขาดมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ

                   - ความกว้างของช่องทางการสื่อสารมีจำกัด

                   - ซอร์ฟแวร์ยังกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา

                   - ปัญหาความเข้ากันได้ระหว่างอินเทอร์เน็ตและซอร์ฟแวร์ของ E-Commerce กับแอพพลิเคชั่น

                   - ต้องการ Web Server และ Network Server ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ

                   - การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตยังมีราคาแพงและไม่สะดวก

                2. ข้อจำกัดด้านกฎหมาย

                   - กฎหมายที่สามารถคุ้มครองการทำธุรกรรมข้ามรัฐหรือข้ามประเทศ ไม่มีมาตรฐานที่เหมือนกัน และมีลักษณะที่แตกต่างกัน

                   - การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะมีผลทางกฎหมายหรือไม่

                   - ปัญหาเกิดจากการทาธุรกรรม เช่น การส่งสินค้ามีลักษณะแตกต่างจากที่โฆษณาบนอินเทอร์เน็ต จะมีการเรียกร้องค่าเสียหายได้หรือไม่

                3. ข้อจำกัดด้านธุรกิจ

                   - วงจรผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) จะสั้นลง เพราะการเข้าถึงข้อมูลทำได้ง่ายและรวดเร็ว การลอกเลียนผลิตภัณฑ์จึงทำได้รวดเร็ว เกิดคู่แข่งเข้ามาในตลาดได้ง่าย จะต้องมีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เสมอ

                   - ความพร้อมของภูมิภาคต่าง ๆในการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของ E-Commerce มีไม่เท่ากัน

                   - ภาษีและค่าธรรมเนียม จาก E-Commerce จัดเก็บได้ยาก ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง

                   - ต้นทุนในการสร้าง E-Commerce ครบวงจรค่อนข้างสูง เพราะรวมถึงค่า Hardware, Software ที่มีประสิทธิภาพ ระบบความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ การจัดการระบบเครือข่าย ตลอดจนค่าจ้างบุคลากร

                   - ประเทศกำลังพัฒนาต้องลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสูงมาก ในโครงสร้างพื้นฐาน

                   - เงินสดอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดการฟอกเงินได้ง่าย เนื่องจากการใช้เงินสดอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้การตรวจสอบที่มาของเงินทำได้ยาก

                4. ข้อจากัดอื่นๆ

                   - การให้ข้อมูลที่เป็นเท็จบนอินเทอร์เน็ต มีมาก และมีการขยายตัวเร็วมากกว่าการพัฒนาของอินเทอร์เน็ตเสียอีก

                   - สิทธิส่วนบุคคล (Privacy) ระบบการจ่ายเงิน หรือการให้ข้อมูลของลูกค้าทางอินเทอร์เน็ตทำให้ผู้ขายทราบว่าผู้ซื้อเป็นใคร และสามารถใช้ซอร์ฟแวร์ติดตามกิจกรรมต่าง ๆ หรือส่ง Spam ไปรบกวนได้

                   -E-Commerce เหมาะกับระบบเศรษฐกิจที่สามารถเชื่อถือและไว้ใจได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                   - ยังไม่มีการประเมินผลการดำเนินงาน หรือวิธีการที่ดีของ E-Commerce เช่น การโฆษณาผ่านทาง E-Commerce ว่าได้ผลเป็นอย่างไร

                   - จำนวนผู้ซื้อ / ขาย ที่ได้กำไรหรือประโยชน์จาก E-Commerce ยังมีจำกัด โดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งสัดส่วนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากรต่างกันมาก และการใช้ E-Commerce ในการซื้อ/ขายสินค้า มีน้อยมาก

                สรุปข้อจำกัดของ E-commerce

                1. ความเสี่ยงจากการที่ยังไม่มีกฎหมายมารองรับการค้าแบบ E-Commerce เพราะฉะนั้นเราควรเขียนคำบรรยายถึงขอบเขตในการรับผิดชอบของเราทีมีต่อลูกค้าให้ชัดเจน เช่น ซื้อสินค้าแล้วไม่รับคืนก็ต้องแจ้งลูกค้าให้เข้าใจ

                2. ไม่มีการกำหนดมาตรฐานในด้านภาษีเนื่องจากยังไม่มีกฎหมายมารองรับ

                3. ปัญหาในการจัดส่งสินค้าที่ไม่สะดวกรวดเร็ว หรือสินค้าชำรุดเสียหาย ซึ่งได้แก่ พวกสินค้าที่เป็นของสด เช่น อาหาร หรือดอกไม้ สินค้าเหล่านี้ อาจเสียหาย หรือเสื่อมสภาพ เน่าเสีย จากระยะเวลา ในการขนส่งได้

                4. ปัญหาจากการขนส่งสินค้าที่มีมูลค่าสูงเช่น อัญมณีต่างๆ บริษัทขนส่งมักจะไม่ยินดีที่จะรับส่งของเหล่านี้ เนื่องจากโอกาสสูญหายได้ง่าย

                5. การทุจริตฉ้อโกง เช่น การปลอมบัตรเครดิต

                6. ไม่แน่ใจผู้ขายเป็นผู้ประกอบการที่ปฏิบัติธุรกิจถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และน่าเชื่อถือเพียงใด           

                7. ทำสัญญาซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจะถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

                8. ผู้ขายยังไม่มั่นใจว่าตัวตนจริงของลูกค้าจะเป็นบุคคลคนเดียวกับที่แจ้งสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ นั่นคือผู้ขายไม่มั่นใจว่า ผู้ซื้อมีความสามารถจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการหรือไม่

          ที่มา : หนังสือก้าวสู่ความเป็นผู้ประกอบการโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

จุดสำคัญของการขายสินค้าออนไลน์คือข้อใด

ขายสินค้าเหมือนๆกับคนอื่น นำเสนอเรื่องเหมือนกันกับคนอื่น ขาดการนำเสนอ Brand Story / Brand Concept ที่ดีพอให้ลูกค้าจดจำได้ ส่วนใหญ่จะเน้นขายสรรพคุณของสินค้าว่าทำอะไรได้บ้าง โดยเป็นการสื่อสารจุดที่เหมือนๆกันกับคู่แข่งไปหมด จนแบรนด์ไม่มีความแตกต่างพอให้ลูกค้าจดจำ

ข้อใดเป็นประโยชน์ของการขายออนไลน์ที่สำคัญมากที่สุด

10 ประโยชน์ของการมีเว็บไซต์ธุรกิจและเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์.
1. สร้างความน่าเชื่อให้แบรนด์หรือธุรกิจของคุณ ... .
2. ใช้งบประมาณน้อย ... .
3. ลดปัญหาเรื่องคน ... .
4. ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ Social Media. ... .
5. สามารถให้บริการต่าง ๆ ที่สะดวกสบายและรวดเร็วที่สุดกับลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง.

ข้อใดคือสิ่งสำคัญในการเริ่มต้นเกี่ยวกับการขายสินค้าออนไลน์

7 ข้อเบื้องต้น เตรียมตัวเป็น “พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์”.
1. กำหนดงบลงทุน และเลือกสินค้าที่จะขาย.
2. ช่องทางการขายสินค้า เลือกให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย.
3. ทำการตลาดบนโซเชียลมีเดีย.
5. ช่องทางการชำระเงิน ต้องให้ลูกค้าสะดวกที่สุด.
6. เข้าใจการยื่นภาษีของ “ร้านค้าออนไลน์”.
7. จัดส่งสินค้าต้องเร็ว ราคาไม่แพง.
บทความที่เกี่ยวข้อง.

รูปเเบบการขายของออนไลน์มีกี่เเบบ

ประเภทธุรกิจออนไลน์.
1.เว็บไซต์ขายสินค้า ... .
2.เว็บไซต์เพื่อการโฆษณา ... .
3.เว็บไซต์ข่าวสาร ... .
4.การทำ Blog. ... .
5.เว็บตลาดประกาศขาย ... .
1.ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน ... .
2.ประหยัดค่าใช้จ่าย ... .
3.เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทั่วโลก.