โครงเรื่อง เรื่องสั้น ตัวอย่าง

จากการเรียนภาษาไทย เรามักจะได้อ่านเรื่องสั้นจากบทเรียนอยู่เสมอ โดยส่วนมากจะเป็นเรื่องที่ได้ยินมาบ่อยครั้งหรืออาจจะเขียนอ่านมาบ้างแล้ว และท้ายบทเรียนเรื่องสั้นก็จะมีการวิเคราะห์ถึงตัวละคร เนื้อเรื่อง วิธีการแต่ง ข้อคิดต่างๆให้เราได้แสดงความคิดเห็นเสมอ

พวกเราจึงได้คิดจัดทำโครงงานวิเคราะห์ตัวละครในเรื่องสั้นไว้ เพื่อให้ผู้คนที่สนใจได้ศึกษาและรับรู้เรื่องราวต่างๆไม่ว่าจะเป็นตัวละครหรือข้อคิดของเรื่องนั้นๆ

๒. วัตถุประสงค์ในการศึกษา

.เพื่อให้รู้จักเรื่องสั้นมากขึ้น

.เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

.เพื่อเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจ

.เพื่อวิเคราะห์ตัวละครจากเรื่องสั้น

๓.  ขอบเขตของการศึกษา

เนื้อหา    ศึกษาจากหนังสือเรื่องสั้น เรื่อง เจ้าหงิญ

แหล่งศึกษา   ห้องสมุดภาษาไทย โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

ระยะเวลา   ใช้เวลาในการศึกษาระหว่างวันที่  ๖ ๒๗ มกราคม พ..๒๕๕๘  เป็นเวลา ๓ สัปดาห์

๔.  สมมุติฐานในการศึกษา

การศึกษาวิเคราะห์ตัวละครจากเรื่องนี้เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเพื่อเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่มีความสนใจ

๕.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

.เรื่องสั้นเรื่อง เจ้าหงิญ ได้เป็นที่รู้จักของเพื่อนๆมากขึ้น


.ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

บทที่ ๒

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาเรื่องการวิเคราะห์ตัวละครในเรื่องสั้น ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสาร ดังต่อไปนี้

๑.ความหมายของเรื่องสั้น

๒.บินหลา สันกาลาคีรี

๓.รางวัลซีไรต์

๔.เจ้าหงิญ

ความหมายของเรื่องสั้น

เรื่องสั้น คือ บันเทิงคดีร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยาย แต่สั้นกว่า โดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย มักจบแบบพลิกความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งให้คิด เป็นต้น การดำเนินเรื่องจะมุ่งเข้าสู่ประเด็นหลักอย่างรวดเร็ว ต้นกำเนิดของเรื่องสั้นมาจากประเพณีการเล่านิทาน ซึ่งมักจะปูโครงเรื่องอย่างคร่าวๆ แล้วเข้าสู่จุดสำคัญของเรื่องอย่างรวดเร็ว

ลักษณะเด่นของเรื่องสั้นคือ มักมีเหตุการณ์หลักเพียงเหตุการณ์เดียว โครงเรื่องเดียว ฉากเดียว จำนวนตัวละครเพียงไม่กี่ตัว และมีระยะเวลาตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องไม่นานนัก

ชนิดของเรื่องสั้น

เรื่องสั้นชนิดเน้นการผูกเรื่อง คือผู้เขียนมักสร้างปมขัดแย้งขึ้นมา ทำให้เกิดความซับซ้อน และมักจบลงด้วยการพลิกความคาดหมายของผู้อ่าน

เรื่องสั้นชนิดเน้นการสร้างตัวละคร คือ เรื่องสั้นที่เน้นพฤติกรรมของตัวละคร โดยใช้ตัวละครเป็นตัวดำเนินเรื่องเป็นส่วนใหญ่ โดยมักบรรยายเพื่อแสดงลักษณะของตัวละครอย่างใดอย่างหนึ่งให้เด่นชัด

เรื่องสั้นชนิดเน้นการสร้างบรรยากาศหรือฉากเป็นสำคัญ คือ เรื่องสั้นที่มุ่งเน้นและให้ความสำคัญของฉากและบรรยากาศ เพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตาม

เรื่องสั้นชนิดเน้นแนวคิดหรือความคิดเห็น คือ เรื่องสั้นที่ผู้เขียนต้องการเสนอแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้อ่าน ได้ไตร่ตรองไปพร้อมๆกับเรื่องในขณะที่อ่าน โดยใช้สัญลักษณ์ กล่าวโดยนัย หรือมุ่งเน้นให้เห็นสัจธรรมของชีวิต

องค์ประกอบของเรื่องสั้น

๑.โครงเรื่อง(Plot)

โครงเรื่อง คือ เหตุการณ์เรื่องราวที่ผู้เขียนร่างขึ้นคร่าวๆ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินเรื่อง ให้น่าสนใจ ชวนติดตามสมเหตุสมผลเรื่อยๆจนถึงจุดสุดยอดของเรื่อง(Climax) และคลี่คลายจบลงด้วยดี หรือคาดไม่ถึงก็ได้

๒. แก่นของเรื่องหรือแนวคิดของเรื่อง(Theme)

แก่นของเรื่องคือ แนวคิดสำคัญหรือแนวคิดหลักที่ปรากฏตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นตัวเชื่อมโยงเรื่องเข้าด้วยกัน ผู้เขียนสามารถเสนอได้หลักๆดังนี้

แก่นที่แสดงพฤติกรรม คือ เน้นที่จะเสนอพฤติกรรมของตัวละครให้เด่นชัดว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาเรื่อง ทั้งด้านดีและไม่ดี เพื่อให้ผู้อ่านควรยึดถือพฤติกรรมใดเป็นแบบอย่างหรือไม่ควรยึดถือพฤติกรรมใดเป็นแบบอย่าง เช่น ความอดทนของตัวละคร หรือการยึดมั่นในอุดมการณ์

แก่นที่แสดงอารมณ์ คือ เรื่องที่ผู้เขียนมุ่งเน้นที่จะแสดงอารมณ์ ความรู้สึกของตัวละครเพื่อให้ผู้อ่านรับรู้ เช่น ความรัก ความเหงา ความเศร้า ความอิจฉา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ และกลวิธีการของผู้เขียนด้วย

แก่นที่แสดงสภาพและเหตุการณ์ คือ แก่นที่มุ้งเน้นแสดงให้เห็นภาพของชีวิต สังคมของตัวละคร

แก่นทัศนะ คือ เป็นแก่นที่มุ่งเน้นที่จะเสนอความคิดเห็นต่อสิ่งหนึ่ง เช่น ค่านิยมในสังคม ความซื่อสัตย์ รวมถึงสิ่งตรงกันข้ามโดยใช้ตัวละครเป็นสื่อกลาง

๓.ตัวละคร (Character)

                ในเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งนั้น ต้องมีตัวละคร ประมาณ1-5 ตัวเท่านั้น หากมีมากเกินไปจะทำให้โครงเรื่องซับซ้อน และสบสน ตัวละครควรมีตัวเอกเพียงตัวเดียว และควรกล่าวให้เด่นชัดที่สุด ส่วนตัวประกอบนั้นอาจกล่าวให้เห็นบ้างไม่ควรเด่นชัดเกินไป คือให้เป็นลักษณะเดียวกันกับฉาก โดยอาจกล่าวเป็นหมู่หรือคณะ ตัวละครอาจไม่จำเป็นต้องเป็นมนุษย์ อาจเป็นพืช สัตว์ สิ่งของ หากเป็นมนุษย์ต้องมีความสมจริงทางด้านพฤติกรรม และการพูดจาที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอย่างมาเหตุสมผล

๔.บทสนทนา (Dialogue)


บทสนทนา คือ ถ้อยคำที่ตัวละครพูดโต้ตอบกันในเนื้อเรื่อง ซึ่งเขียนอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ บทสนทนามีส่วนช่วยให้การดำเนินเรื่องและสร้างบรรยากาศให้เรื่องราวดูสมจริงมากขึ้น ทั้งยังทำให้ผู้อ่านรู้สึกเหมือนได้ฟังผู้อื่นพูดคุยสนทนากัน

๕.ฉาก (Setting)

ฉาก คือ สถานที่ เวลา และบรรยากาศในเรื่องที่ผู้แต่งสร้างขึ้นเพื่อบอกให้รู้ว่าเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นเมื่อไหร่ โดยส่วนมากเรื่องสั้นทั่วไปไม่นิยมบรรยายฉากมากเพียงแค่บรรยายอย่างคร่าวๆ กล่าวอย่างตรงไปตรงมาเน้นความกระชับ และฉากยังเป็นส่วนที่ทำให้ผู้อ่านทราบถึงบรรยากาศในท้องเรื่องอีกด้วย

บินหลา สันกาลาคีรี

บินหลา สันกาลาคีรี เป็นนามปากกาของ วุฒิชาติ ชุ่มสนิท เป็นนักประพันธ์ไทยได้รับรางวัลซีไรต์

ประวัติ

วุฒิชาติเกิดที่จังหวัดชุมพรเมื่อพ.ศ. 2508 จบชั้นมัธยมจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา เข้าเรียนที่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ไม่จบการศึกษา เขาทำงานหนังสือมาตลอด เป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ หัวหน้ากองบรรณาธิการ และเป็นนักเขียนเต็มเวลา เขียนเรื่องสั้น นิยาย วรรณกรรมเยาวชน และสารคดีท่องเที่ยว เรื่องราวส่วนใหญ่ของเขาเป็นเรื่องที่เก็บเกี่ยวจากการเดินทาง (หลายครั้งมีจักรยานเป็นพาหนะ) ด้วยความที่อยู่ไม่เป็นที่เขาจึงนิยามตนเองว่าเป็นเกสต์ไรเตอร์ (guest writer - นักเขียนรับเชิญ) ซึ่งพักอาศัยอยู่ตามเกสต์เฮาส์ (guest house) ปัจจุบันเป็นบรรณาธิการนิตยสารไรเตอร์ นิตยสารวรรณกรรมรายเดือน ร่วมกับวรพจน์ พันธุ์พงศ์

ผลงาน

 ผลงานรวมเล่ม

               ๑. ฉันดื่มดวงอาทิตย์ พ.ศ ๒๕๓๓

               ๒. ดวงจันทร์ที่จากไป  พ.ศ ๒๕๓๖

               ๓. หลังอาน  พ.ศ ๒๕๔๐

               ๔. คิดถึงทุกปี พ.ศ ๒๕๔๑

               ๕. ปลาฉลามฟันหลอ พ.ศ  ๒๕๔๒

               ๖. บินทีละหลา พ.ศ  ๒๕๔๓

               ๗. ดื่มทะเลสาบ อาบทะเลทราย พ.ศ  ๒๕๔๔

               ๘. ทางกันดาร พ.ศ ๒๕๔๕ (นามปากกา "กันดาร กุมารแพนด้า")

               ๙. เจ้าหงิญ พ.ศ ๒๕๔๖

              ๑๐. คนรักกับจักรยาน พ.ศ ๒๕๔๗

              ๑๑. รอยย่ำที่นำเราไป พ.ศ ๒๕๔๘

              ๑๒. ปุชิตา พ.ศ ๒๕๔๘

เจ้าหงิญ

เจ้าหงิญ เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นทั้ง 8 เรื่อง ของบินหลา สันกาลาคีรี ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2548 เรื่องสั้นในเล่มจะนำโลกของจินตนาการมาผสานกับโลกของความจริงโดยใช้รูปแบบนิทาน เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ประสบการณ์ทางอารมณ์ การเผชิญกับปัญหาและอุปสรรค การแสวงหาความหมายและความสุขของชีวิต แต่ด้วยความเขลา มนุษย์จึงดิ้นรนและหลงอยู่ในมายา ในที่สุด ผู้อ่านจะรับรู้ได้ว่าในโลกของความเป็นจริงนั้น โลกมีหลากหลายทางเลือกที่จะไปสู่วิถีชีวิตที่เรียบง่ายและพอดี อาจอ่านแยกกันเป็นเรื่อง ๆ แต่ด้วยการเรียงร้อยเข้าด้วยกัน ทำให้เรื่องสั้นแต่ละเรื่องกลายเป็นเรื่องสั้นในเรื่องยาว เป็นนิทานซ้อนนิทาน ที่เรื่องต้นกับเรื่องท้ายมาบรรจบกันอย่างแนบเนียน ผู้ประพันธ์สร้างตัวละครหลากหลาย ทั้งคน สัตว์ สิ่งของแบบนิทานเปรียบเทียบที่อุดมด้วยสีสัน รวมทั้งการเล่นคำ โดยเฉพาะชื่อ เจ้าหงิญ ที่สื่อความหลายนัยและอารมณ์ขัน มีลีลาภาษาที่รุ่มรวยด้วยโวหารเร้าจินตนาการและความคิด

เจ้าหงิญเล่าเรื่องด้วยน้ำเสียงอ่อนหวานและอ่อนโยน ให้เรารู้ว่าในโลกความเป็นจริง ชีวิตไม่ได้เป็นไปดังหวัง หากดำรงอยู่ได้อย่างสันติ ก็ด้วยพลังของความดีงาม ซึ่งกระตุ้นจิตใต้สำนึกของผู้อ่านให้มองโลกในแง่ดี เข้าใจและรักเพื่อนมนุษย์

รางวัลซีไรต์

รางวัลซีไรต์ (S.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (Southeast Asian Writers Award) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 เป็นรางวัลประจำปีที่มอบให้แก่กวีและนักเขียนใน 10 ประเทศรัฐสมาชิกแห่งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน

โดยงานเขียนที่ได้รับรางวัลเป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง และมีงานเขียนหลากหลายรูปแบบที่ได้รับรางวัล อย่างเช่น กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย ละครเวที คติชนวิทยา รวมไปถึงงานเขียนด้านสารคดีและงานเขียนทางด้านศาสนา พิธีจะถูกจัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเป็นประธานในพิธี

นับตั้งแต่มีการก่อตั้งรางวัลซีไรต์ขึ้น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงประกอบด้วยรัฐสมาชิกเพียง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา ในปี พ.ศ. 2527 บรูไนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าร่วมหลังสุดในปี พ.ศ. 2542

ตัวอย่างผลงานที่ได้รับรางวัลซีไรต์

วัชระ สัจจะสารสิน. (2551). เราหลงลืมอะไรบางอย่าง

อุทิศ เหมะมูล. (2552). ลับแลแก่งคอย.

ซะการีย์ยา อมตยา. (2553). ไม่มีหญิงสาวในบทกวี.

จเด็จ กำจรเดช. (2554). แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ.

วิภาส ศรีทอง. (2555). คนแคระ.

อังคาร จันทาทิพย์. (2556). หัวใจห้องที่ห้า.


แดนอรัญ แสงทอง. (2557). อสรพิษและเรื่องอื่นๆ.


บทที่ ๓

วิธีดำเนินการศึกษา

การศึกษาเรื่องปริศนาคำทายในท้องถิ่น   ผู้จัดทำได้กำหนดขั้นตอนในการดำเนินการตามลำดับขั้นตอน  ดังนี้

.เครื่องมือที่ใช้

- ปากกา

- แบบบันทึก

- หนังสือเรื่องสั้น

.แหล่งศึกษาค้นคว้า

- ห้องสมุดภาษาไทย โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

- ห้องสมุดโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

.วิธีการศึกษา

ขั้นที่ ๑ ขั้นศึกษา

- ประชุมสมาชิกในกลุ่มเพื่อเลือกหัวข้อโครงงาน

-  เสนอโครงสร้างโครงงานต่อคุณครูที่ปรึกษา

- สำรวจหนังสือเรื่องสั้นในห้องสมุดภาษาไทยโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

- เลือกเรื่องที่สนใจ

- วิเคราะห์เรื่องสั้น

- จัดทำเป็นรูปเล่ม นำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อแก้ไงส่วนที่บกพร่อง

   ขั้นที่ ๒ ขั้นนำเสนอผลงาน

- แนะนำและชี้แจงการจัดทำโครงงาน


- เสนอผลงาน

บทที่ ๔

ผลการศึกษา


จากการศึกษาเรื่องสั้นเรื่อง เจ้าหงิญ แบ่งออกเป็น ๖ เรื่อง ดังนี้

๑.  ชายเดียวดายแห่งภูเขาภาคเหนือ

๒. แดฟโฟดิลแดนไกล

๓.  เจ้าหญิงแสนเศร้าแห่งดวงดาวที่สี่

๔.  เก้าอี้ดนตรี

๕.  สีที่แปดของรุ้งกินน้ำ

๖.  นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่















ชายเดียวดายแห่งภูเขาภาคเหนือ

ผู้แต่ง : บินหลา สันกาลาคีรี

เรื่องย่อ

เรื่องราวของกระต่ายที่เล่านิทานให้นกฟังเกี่ยวกับ ชายผู้โดดเดี่ยวคนหนึ่งที่อาศัยอยู่บนภูเขาภาคเหนือที่กำลังจะไปงานวันเกิดของหลานสาว ที่อาศัยทางภาคใต้ โดยในการเดินทาง ชายผู้นี้ก็นำเอาดอกต้อยติ่งไปด้วย โดยให้เมล็ดดอกต้อยติ่งแตกไปตามทาง จนมาทันวันเกิดของหลานสาวซึ่งหลานสาวได้โตเป็นหญิงสาวมีลูกมีสามีที่ดีและชายผู้นั้นจากที่ผมเป็นสีดำก็กลายเป็นสีขาว ซึ่งในหลายปีต่อมา ชายคนนี้ก็ไม่อยู่อย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไป เพราะมีลูกหลานทางภาคใต้แวะมาเยี่ยมเยียนอยู่บ่อยๆ และหลานๆไม่มีทางหลงทางแน่นอน เพราะ ทางไปยังที่อยู่ของชายผู้นี้มีดอกต้อยติ่งบานขึ้นอยู่เต็มทั้งสองข้างทาง

บทวิเคราะห์

๑.รูปแบบ

เป็นการเล่านิทานซ้อนนิทาน

๒.แนวคิด

แก่นของเรื่อง เรื่องชายเดียวดายแห่งภูเขาภาคเหนือ มีสาระสำคัญที่เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการแสวงหาความสุขของชีวิต

๓.โครงเรื่อง

๓.๑ การเริ่มเรื่อง เรื่องชายเดียวดายแห่งภูเขาภาคเหนือ เริ่มเรื่องเหมือนการเล่านิทาน คือ“ กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ”

๓.๒ การดำเนินเรื่อง  เป็นการเล่านิทานซ้อนนิทาน ที่เรื่องต้นกับเรื่องท้ายมาบรรจบกันอย่างแนบเนียน

๓.๓ การจบเรื่อง เรื่องชายเดียวดายแห่งภูเขาภาคเหนือ จบเรื่องโดยการสรุปว่า ชายเดียวดายยังคงออกเดินทางตามหาความสุขของชีวิตต่อไป



๔.ตัวละคร

๔.๑ การสร้างตัวละคร ผู้เขียนสร้างตัวละครมีลักษณะนิสัยเป็นไปตามธรรมชาติ โดยตัวละครทุกตัวมีบทบาทสอดคล้องสัมพันธ์กันกับเนื้อเรื่อง

๔.๒ลักษณะนิสัยของตัวละคร

กระต่าย : เป็นกระต่ายหนุ่มโสดที่แข็งแรงขยันทำงานแม้นกจะชวนคุยแต่กระต่ายก็พูดโดยที่ขาทั้งสี่ก็ทำงานไม่หยุดทีเดียว

นก : ช่างถามช่างสงสัยอยากรู้อยากเห็นเรื่องกระต่าย

ชายเดียวดาย : เป็นคนมีความพยายามและตั้งใจที่จะไปงานวันเกิดเจ้าหญิงน้อยแม้ต้องใช้เวลานานในการเดินทางแต่ก็ไม่ละความพยายามที่จะไปให้ถึงเขายิ่งก้มหน้าก้มตาสาวเท้าไม่หยุดยั้งแม้ระยะทางจะไกลก็ตาม มีนัยต์ตาที่เหงาเดียวดายแต่ก็มีความสุขกับชีวิตประจำวันและเขาก็ชอบร้องเพลงให้ตัวเองฟัง

๕.บทสนทนา

ผู้เขียนใช้บทสนทนาในเรื่องไม่มาก มีความเป็นธรรมชาติเหมือนข้อความที่คนทั่วไปใช้พูดกัน  มีการเลือกสรรคำที่มีความหมายกับเนื้อเรื่องและช่วยในการดำเนินเรื่อง  ตัวละครพูดจาโต้ตอบกัน  ทำให้เรื่องมีชีวิตชีวามากขึ้น  เช่น

“เธอไม่คิดว่าโพรงมันเล็กไปหน่อยหรือจ๊ะ”

“ไม่หรอกครับ”

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๑๙)

๖.ฉากและบรรยากาศ

ในเรื่องผู้เขียนบรรยายภาพของสถานที่ต่าง ๆ มีการใช้คำบอกให้ผู้อ่านทราบสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ของเรื่อง  เช่น

ในวันที่ฤดูร้อนกำลังจะสิ้นสุด ขณะกระต่ายภูเขาตัวหนึ่งขุดโพรงใต้โคนไม้อย่างขะมักเขม้น นกน้อยซึ่งเกาะกิ่งไม้เฝ้ามองร้องถามอย่างแปลกใจว่า

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๑๙)

๗.กลวิธีในการเขียน

กลวิธีการเล่าเรื่อง  ในเรื่องชายเดียวดายแห่งภูเขาภาคเหนือ ผู้เขียนเล่าเรื่องแบบมุมมองของบุคคลที่สาม เช่น

“ดูนี่ซีจ๊ะ ลูก คุณตามีของวิเศษอะไรมาให้หนูเอ่ย” เธอพูดกับเจ้าเด็กน้อย

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๒๖)

๘.สำนวนภาษา

๘.๑ การใช้ถ้อยคำ   ในเรื่องชายเดียวดายแห่งภูเขาภาคเหนือเล่าเรื่องด้วยน้ำเสียงอ่อนหวานและอ่อนโยน เช่น

“ไม่หรอกครับ ตอนจบที่แท้จริงก็คือ ชายผู้นั้นได้เดินทางกลับคืนสู่ภูเขาภาคเหนืออีกครั้ง กลับไปอยู่คนเดียวในกระท่อมอันเคยเดียวดายหลังนั้น”

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๒๗)

๘.๒ การเรียงประโยค ประโยคที่ใช้ส่วนใหญ่ผู้เขียนเรียบเรียงอย่างประณีต  มีความไพเราะในด้านของเสียง  แต่ก็ไม่ละทิ้งการสื่อความหมายแบบตรงไปตรงมา  ได้ความ  เช่น

เด็กตัวเล็กๆ วิ่งสุดฝีเท้ากลับบ้านในวันที่ครูใหญ่ประกาศปิดเทอม สายฝนพร่างพรายราวสายทองในแสงสีเงิน

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๒๑)

๘.๓ ระดับภาษา   ในเรื่องชายเดียวดายแห่งภูเขาภาคเหนือมีการใช้ภาษาแบบไม่เป็นทางการ  เป็นภาษาแบบที่คนทั่วไปใช้พูดกัน  ทำให้ผู้อ่านเข้าใจภาษาได้ง่าย เช่น

“ขอน้ำกินหน่อยสิ คอแห้งจัง”

“ปล่อยเรานะ ปล่อยเราเดี๋ยวนี้”

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๒๓)



ข้อคิด

ถึงแม้สิ่งไหนจะยากแค่ไหนแต่เมื่อมีความพยายามแล้วก็จะชนะอุปสรรคทุกอย่าง เหมือนการเดินทางของชายเดียวดายที่จะต้องเดินจากภาคเหนือมายังภาคใต้เพื่อมาให้ทันวันเกิดของหลานสาว

แดฟโฟดิลแดนไกล

ผู้แต่ง : บินหลา สันกาลาคีรี

เรื่องย่อ

เด็กชายกับเจ้าหญิงเป็นเพื่อนกัน เจ้าหญิงต้องไปศึกษาต่อที่ดินแดนโพ้นทะเล เลยไม่ได้กลับมาทั้งที่สัญญากับเด็กชายไว้แล้ว แต่ส่งดอกไม้มาแทน เด็กชายได้รับดอกไม้สีเหลืองจากเจ้าหญิง ซึ่งเจ้าหญิงบอกว่าเป็นต้นแดฟโฟดิลจากฟากทะเลอันไกลโพ้น เด็กชายได้ดูแลต้นแดฟโฟดิลโดยปลูกไม่ที่ทุ่งร้างที่ไม่มีอะไร แต่แท้จริงแล้วต้นแดฟโฟดิลที่นำมาปลูกเป็นเพียงวัชพืชเท่านั้น เด็กชายปลูกดอกไม้ดอกนี้กลางทุ่ง และมีคนมาดู หลายคนต่างหัวเราะเด็กชาย และเรื่องของเขาก็กลายเป็นเรื่องที่พูดกันในโต๊ะอาหาร เพราะดอกไม้ไม้ใช่ต้นแดฟโฟดิล หลายปีต่อมาไม่มีใครจำชื่อของเด็กชายได้เลย ล้วนแต่เรียก เจ้าหนูแดฟโฟดิลเด็กชายเติบโตขึ้นเป็นเด็กหนุ่ม เขาออกตามหาเจ้าหญิง โดยเหลือทิ้งไว้แต่เพียงท้องทุ่งที่เต็มไปด้วยดอกวัชพืชสีเหลืองเหล่านั้น

บทวิเคราะห์

๑.รูปแบบ

เป็นการเล่านิทานซ้อนนิทาน

๒.แนวคิด

แก่นของเรื่อง เรื่องแดฟโฟดิลแดนไกล มีสาระสำคัญที่เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ประสบการณ์ทางอารมณ์ การเผชิญกับความอับอาย

๓.โครงเรื่อง

๓.๑ การเริ่มเรื่อง เรื่องแดฟโฟดิลแดนไกล เริ่มเรื่องเหมือนการเล่านิทาน คือ กาลครั้งนั้น

๓.๒ การดำเนินเรื่อง  เรื่องเรื่องแดฟโฟดิลแดนไกล ผู้เขียนใช้กลวิธีในการดำเนินเรื่อง โดยการลำดับเรื่องแบบย้อนกลับ   เป็นการเล่าเรื่องย้อนหลังจากตอนจบเรื่องแล้วเริ่มเล่าเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้น ที่เกี่ยวพันกับปัญหาความขัดแย้งซึ่งเป็นจุดสำคัญของเรื่อง ซึ่งกล่าวถึง ชีวิตของเด็กคนหนึ่งที่เฝ้ารดน้ำพรวนดิน ดูแลต้นไม้ของเขาเป็นอย่างดี ด้วยคิดว่าเป็นต้นแดฟโฟดิลที่เจ้าหญิงส่งให้ ซึ่งแท้จริงแล้วคือวัชพืชพันธุ์หนึ่งเท่านั้น

๓.๓ การจบเรื่อง เรื่องแดฟโฟดิลแดนไกล ผู้เขียนจบเรื่องแบบชีวิตจริงหรือแบบที่ให้ผู้อ่านคาดเดาเหตุการณ์เอง  เป็นการจบเรื่องโดยที่ผู้เขียนไม่ได้สรุปหรือบอกกล่าวโดยตรง  แต่ผู้อ่านจะต้องคิดเองตามทัศนะของแต่ละบุคคล  ตอนจบมีการเน้นคนพูด ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ตื่นเต้นและเข้มข้นสะเทือนใจในตอนจบเรื่อง

๔.ตัวละคร

๔.๑ การสร้างตัวละคร ผู้เขียนสร้างตัวละครมีลักษณะนิสัยเป็นไปตามธรรมชาติ โดยตัวละครทุกตัวมีบทบาทสอดคล้องสัมพันธ์กันกับเนื้อเรื่อง

๔.๒ลักษณะนิสัยของตัวละคร

เด็กชาย : เชื่อในคำพูดของเจ้าหญิง ตั้งใจรอคอยจนกระทั้งดอกไม้โต ถึงสุดท้ายจะรู้ว่าดอกไม้นั้น

เป็นแค่วัชพืชก็ไม่ได้โกรธ และยังออกเดินทางตามหาเข้าหญิง

เจ้าหญิง : รักษาสัญญาที่เคยให้ไว้กับเด็กชายแม้เวลาจะผ่านไปนาน ถึงแม้สิ่งที่ส่งมาจะเป็นแค่วัชพืช

๕.บทสนทนา

ผู้เขียนใช้บทสนทนาในเรื่องไม่มาก มีความเป็นธรรมชาติเหมือนข้อความที่คนทั่วไปใช้พูดกัน  มีการเลือกสรรคำที่มีความหมายกับเนื้อเรื่องและช่วยในการดำเนินเรื่อง  ตัวละครพูดจาโต้ตอบกัน  ทำให้เรื่องมีชีวิตชีวามากขึ้น เช่น    

นั่นต้นอะไรน่ะ

เด็กชายตอบอย่างภูมิใจ

ต้นแดฟโฟดิลไงมันเดินทางมาจากแดนไกล ข้ามทะเลมาเชียวนะ

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๓๑)

๖.ฉากและบรรยากาศ

ในเรื่องผู้เขียนบรรยายภาพของสถานที่ต่าง ๆ มีการใช้คำบอกให้ผู้อ่านทราบสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ของเรื่อง เช่น

เย็นย่ำลง ที่สุด ณ ทุ่งแห่งนั้นก็เหลือเพียงลำพังเด็กชายกับต้นไม้สองต้น เด็กชายบีบบดมืออย่างรุนแรงราวต้องการขยี้ของในมือให้แหลกสลาย แต่เมื่อทำไม่ได้ เขาจึงตัดสินใจขุดดินให้ลึกยิ่งกว่าตอนเขานำหัวกลมๆของต้นไม้ลงลูก

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๓๓)

๗.กลวิธีในการเขียน

กลวิธีการเล่าเรื่อง  ในเรื่องแดฟโฟดิลแดนไกล ผู้เขียนเล่าเรื่องแบบมุมมองของบุคคลที่สาม เช่น

ไม่ห่วงสักหน่อย”  เด็กชายปากแข็ง  แต่กลับมาบ่อยๆจริงๆนะ

จริงสิเธอยืนยัน

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๓๕)

๘.สำนวนภาษา

๘.๑ การใช้ถ้อยคำ   ในเรื่องแดฟโฟดิลแดนไกล เล่าเรื่องด้วยน้ำเสียงอ่อนหวานและอ่อนโยน เช่น

ไม่ต้องห่วงหรอก ฉันจะกลับมาบ่อยๆ ทุกปิดเทอมเลย

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๓๕ )

๘.๒ การเรียงประโยค ประโยคที่ใช้ส่วนใหญ่ผู้เขียนเรียบเรียงอย่างประณีต  มีความไพเราะในด้านของเสียง  แต่ก็ไม่ละทิ้งการสื่อความหมายแบบตรงไปตรงมา  ได้ความ  เช่น

ไม่เคยถามสักครั้ง ว่าทำไมเจ้าหญิงถึงส่งดอกอะไรก็ไม่รู้

ไม่เคยถามสักคำ ว่าทำไมถึงยังไม่กลับมา

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๓๖ )

.การใช้โวหาร   ในเรื่องบ้านเกดมีการใช้โวหารภาพพจน์หลายชนิดทำให้สำนวนภาษามีความไพเราะ  นอกจากนี้ยังทำให้ผู้อ่านเกิดภาพและอารมณ์คล้อยตาม

อุปลักษณ์ เช่น

วันหนึ่งเจ้าหญิงบอกว่า ในอีกไม่กี่วันข้างหน้าเธอจะถูกส่งตัวไปศึกษา ณ ดินแดนแสนไกลโพ้นทะเล อีกฟากฝั่งของโลก

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๓๔ )

ข้อคิด

คนเราเมื่อให้สัญญากับใครไว้ก็ควรที่จะรักษาสัญญา    






















เจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดวงดาวที่สี่

ผู้แต่ง : บินหลา สันกาลาคีรี

เรื่องย่อ

เจ้าชายได้พบนกบันทึกเสียงได้บันทึกเสียงของเจ้าหญิงแสนเศร้าจากดวงดาวแสนไกล ทำให้เจ้าชายต้องการตามหาเจ้าหญิง ซึ่งเจ้าชายก็ไปที่ดวงดาวดวงที่สี่ของระบบสุริยะ (ดาวอังคาร) ซึ่งมีชายหนุ่มจากทั่วแว่นแคว้นมาถึงก่อนพระองค์ ซึ่งทุกคนไม่พบเจ้าหญิงเลย ชายหนุ่มคนอื่นถอดใจกลับโลกไป แต่เจ้าชายยังคงตามหาต่อไป จนพบเจ้าหญิงที่ดวงดาว(ที่สี่) ดวงอื่นๆ เจ้าหญิงอยู่บนดวงดาวที่สี่เพียงองค์เดียวที่เธอมีเสียงเศร้าก็เพราะว่าเธอติดมาจากพระราชาบิดาของตนซึ่งเสียใจที่พระราชินีสิ้นพระชนม์ เจ้าหญิงกับพระราชาได้ออกเดินทางตามหาดวงดาวเพื่อตั้งอาณาจักรจนมาถึงดวงดาวแห่งนี้เป็นแห่งที่สี่และพระราชาก็สิ้นพระชนม์ลง ที่เจ้าหญิงบันทึกเสียงจากนกตัวนั้นก็เพราะเธอแค่ต้องการให้ทุกคนรู้ว่าเธอยังมีชีวิตอยู่ อยู่ที่ดวงดาวที่สี่ และจากนั้นเจ้าชายก็พาเจ้าหญิง กลับมายังโลกด้วยกัน

บทวิเคราะห์

๑.รูปแบบ

เป็นการเล่านิทานซ้อนนิทาน

๒.แนวคิด

แก่นของเรื่อง เรื่องเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดวงดาวที่สี่ มีสาระสำคัญที่เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ สะท้อนความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ของคนแต่ละคน

๓.โครงเรื่อง

๓.๑ การเริ่มเรื่อง เรื่องเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดวงดาวที่สี่ เริ่มโดยเป็นการตั้งคำถาม

๓.๒ การดำเนินเรื่อง เป็นการเล่านิทานซ้อนนิทาน ที่เรื่องต้นกับเรื่องท้ายมาบรรจบกันอย่างแนบเนียน

๓.๓ การจบเรื่อง เรื่องเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดวงดาวที่สี่ เรื่องบ้านเกิดผู้เขียนจบเรื่องแบบชีวิตจริงหรือแบบที่ให้ผู้อ่านคาดเดาเหตุการณ์เอง  เป็นการจบเรื่องโดยที่ผู้เขียนไม่ได้สรุปหรือบอกกล่าวโดยตรง  แต่ผู้อ่านจะต้องคิดเองตามทัศนะของแต่ละบุคคล  มีการใช้คำพูดเชิงเปรียบเปรย คือ ผมละเสียดายแทนพระองค์ท่านจริงๆ เพียงแต่ยกกล้องในมือขึ้นส่อง พระราชาก็จะพบสัจธรรมข้อหนึ่งว่า  จักรยานที่มีคนซ้อนท้ายนั้น มันก็ต้องหนักขึ้นเป็นธรรมดา ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ตื่นเต้นและเข้มข้นสะเทือนใจในตอนจบเรื่อง  

.ตัวละคร

๔.๑ การสร้างตัวละคร ผู้เขียนสร้างตัวละครมีลักษณะนิสัยเป็นไปตามธรรมชาติ โดยตัวละครทุกตัวมีบทบาทสอดคล้องสัมพันธ์กันกับเนื้อเรื่อง

๔.๒ลักษณะนิสัยของตัวละคร

เจ้าชาย  : เป็นคนที่มีความเป็นสุภาพบุรุษ ออกไปช่วยเจ้าหญิงที่ไม่เคยเห็นหน้าไม่รู้จักมาก่อน มีความพยายามแม้จะไม่ได้เจอเจ้าหญิงที่ดาวอังคาร แต่ก็ยังพยายามที่จะตามหาต่อไป

เจ้าหญิงเสียงเศร้า  :  ไม่รู้ว่าตัวเองมีชีวิตอยู่เพื่ออะไรไม่เข้าใจในการมีอยู่ของตัวเอง

พระราชา : เป็นพ่อที่ตามใจลูกชายให้ทำตามสิ่งที่ต้องการ แต่ก็ยังเป็นห่วงอยู่ลึกๆ

๕.บทสนทนา

ในเรื่องเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดวงดาวที่สี่ผู้เขียนสื่อแนวความคิดหรือทัศนคติที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ผ่านทางบทสนทนของตัวละคร  เป็นบทสนทนาที่คมคาย  แฝงแง่คิด  ทำให้เรื่องมีความน่าสนใจสนุกสนาน  และมีชีวิตชีวาดูสมจริงมากยิ่งขึ้นของเรื่อง  โดยผู้เขียนใช้บทสนทนาในเรื่องไม่มาก  แต่มีความกระชับรัดกุม  มีความเป็นธรรมชาติเหมือนข้อความที่คนทั่วไปใช้พูดกัน  มีการใช้คำราชาศัพท์และเลือกสรรคำที่มีความหมายกับเนื้อเรื่องและช่วยในการดำเนินเรื่อง  ตัวละครพูดจาโต้ตอบกัน  ทำให้เรื่องมีชีวิตชีวามากขึ้น

เช่น พระราชาเงยพักตร์มองฟ้าราตรี เป็นเวลานาน

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๔๑)

ถ้าเป็นดังนั้น กระผมใคร่จะขออาสา

ท่านจะไปด้วยหรือเจ้าชายตรัสอย่างลิงโลด ดีสิ ฉันต้องการเพื่อน

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๕๐)

๖.ฉากและบรรยากาศ

ในเรื่องผู้เขียนบรรยายภาพของสถานที่ต่าง ๆ มีการใช้คำบอกให้ผู้อ่านทราบสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ของเรื่อง เช่น

“…ฉันอยู่ที่นี่ ที่ดวงดาวที่สี่เจ้าชายพึมพำบัดนี้ฉันก็อยู่ที่นี่ ที่ดวงดาวที่สี่

เจ้าชายหยัดกายยืน เดินระโหยแรง ย่ำผืนทรายสีแดงลึกเข้าไปสู่ใจกลางดวงดาว

(คัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๔๓)

๗.กลวิธีในการเขียน

กลวิธีการเล่าเรื่อง  ในเรื่องเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดวงดาวที่สี่ ผู้เขียนเล่าเรื่องแบบมุมมองของบุคคลที่สาม เช่น

เจ้าชายเพ่งดาวดวงสีแดงด้วยพระทัยมุ่งมั่น พระราชา ถามว่า

ยังยืนยันจะไปให้ได้หรือ ลูกพ่อ

ลูกจะไป”  เจ้าชายตอบด้วยน้ำเสียงมั่นคง

(คัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๔๑)

๘.สำนวนภาษา

๘.๑ การใช้ถ้อยคำ   ในเรื่องเจ้าหญิงเสียงเศร้าแห่งดวงดาวที่สี่ เล่าเรื่องด้วยน้ำเสียงอ่อนหวานและอ่อนโยน เช่น

นกน้อยงดงามน่ารัก ปลายปีกแยกแฉกด้วยการตัดเล็มอย่างประณีต สองตาสดใสดังประกายดาวร่างจ้อยมีสีฟ้ามีรอยด่างเป็นดงตรงปลายแพนหาง ราวถูกเจ้าของสัมผัสเป็นครั้งสุดท้ายด้วยหยาดน้ำตา

(คัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๓๙)

 . การเรียบเรียงประโยค  ประโยคที่ใช้ส่วนใหญ่ผู้เขียนเรียบเรียงอย่างประณีต  มีความไพเราะในด้านของเสียง  แต่ก็ไม่ละทิ้งการสื่อความหมายแบบตรงไปตรงมา  ได้ความ  เช่น

เพลานั้น ดาวศุกร์สว่างสดใส ดาวศุกร์คือดาวดวงใกล้โลกที่สุด ขณะบนห้วงฟ้าอีกฟากฝั่งหนึ่ง ดาวสีแดงลอยดวงเลือนรางในท่ามดาราระยิบฟ้า

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๔๑)

ข้อคิด

แสดงให้เห็นถึงความมานะพยายามของคนๆ หนึ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้แล้วทำให้สำเร็จได้


เก้าอี้ดนตรี

ผู้แต่ง : บินหลา สันกาลาคีรี

เรื่องย่อ

เรื่องราวของเก้าอี้ไม้ตัวหนึ่งที่สวยที่สุดในเมืองและผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งซื้อไปเพื่อนำไปเล่นเก้าอี้ดนตรี ซึ่งเก้าอี้ไม้ไม่ชอบการเล่นนี้ เพราะทุกคนต่างกระแทกเก้าอี้ไม้ ดังนั้นเก้าอี้ไม้ก็เลยแกล้งสารพัด ทำให้ไม่มีคนชอบเก้าอี้ไม้ และโยนเก้าอี้ไม้ทิ้ง แต่มีเด็กผู้หญิงนำเก้าอี้ไม้กลับบ้าน และนั่งลงที่เก้าอี้ไม้อย่างเบา พร้อมร้องเพลงอย่างนิ่มนวล ทำให้เก้าอี้ไม้มีความสุขและอยากที่จะอยู่กับเจ้าหญิงของเขาตลอดไป

บทวิเคราะห์

๑.รูปแบบ

เป็นการเล่านิทานซ้อนนิทาน

๒.แนวคิด

แก่นของเรื่อง เรื่องเก้าอี้ดนตรี มีสาระสำคัญที่เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ประสบการณ์ทางอารมณ์ การดูแลสิ่งรอบข้าง

๓.โครงเรื่อง

๓.๑ การเริ่มเรื่อง เรื่องเก้าอี้ดนตรี  เริ่มโดยเป็นการตั้งคำถาม

๓.๒ การดำเนินเรื่อง  เป็นการเล่านิทานซ้อนนิทาน ที่เรื่องต้นกับเรื่องท้ายมาบรรจบกันอย่างแนบเนียน

๓.๓ การจบเรื่อง เรื่องเก้าอี้ดนตรี จบเรื่องโดยการสรุปว่า  เก้าอี้ดนตรีพอใจที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อให้เจ้าหญิงได้นั่งบนตักของมัน

.ตัวละคร

๔.๑ การสร้างตัวละคร ผู้เขียนสร้างตัวละครมีลักษณะนิสัยเป็นไปตามธรรมชาติ โดยตัวละครทุกตัวมีบทบาทสอดคล้องสัมพันธ์กันกับเนื้อเรื่อง

๔.๒ลักษณะนิสัยของตัวละคร

เก้าอี้ไม้ : รักในเสียงเพลง คิดว่าการเป็นเก้าอี้ดนตรีจะทำให้ตัวเองมีความสุข เพราะได้อยู่กับเสียงดนตรีตลอดเวลา แต่ก็พบว่าการเล่นเก้าอี้ดนตรีของเด็กทำให้เขาไม่มีความสุข มีแต่คนทำรุนแรงใส่ เก้าอี้ตัวนี้จริงไม่ชอบเสียงเพลงอีก จนได้มาพบกับเด็กผู้หญิง

เด็กผู้หญิง : ใช้ประโยชน์ของสิ่งของอย่างถูกต้อง ดูแล ทำความสะอาดเป็นอย่างดี

๕.บทสนทนา

ผู้เขียนใช้บทสนทนาในเรื่องไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ตัวละครพูดกับตัวเอง เช่น

เก้าอี้สวยๆ อย่างนี้แหละที่เราหามานานแล้ว

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๖๐)

๖.ฉากและบรรยากาศ

ในเรื่องผู้เขียนบรรยายภาพของสถานที่ต่าง ๆ มีการใช้คำบอกให้ผู้อ่านทราบสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ของเรื่อง เช่น

เก้าอี้แสนสวยถูกนำมาแสดงตรงหน้าร้าน ผู้คนที่ผ่านไปมาไม่มีใครเลยจะอดใจไม่กล่าวชมความงามของมันได้

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๕๙)

๗.กลวิธีในการเขียน

กลวิธีการเล่าเรื่อง  ในเรื่องเก้าอี้ดนตรี ผู้เขียนเล่าเรื่องแบบมุมมองของบุคคลที่สาม เช่น

“…เก้าอี้ดนตรี…!!!” เก้าอี้แอบอุทานอย่างยินดีเพราะมันชอบดนตรีเป็นอย่างยิ่ง

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๖๐)

๘.สำนวนภาษา

๘.๑ การใช้ถ้อยคำ   ในเรื่องเก้าอี้ดนตรี เล่าเรื่องด้วยน้ำเสียงอ่อนหวานและอ่อนโยน

๘.๒ การเรียงประโยค ประโยคที่ใช้ส่วนใหญ่ผู้เขียนเรียบเรียงอย่างประณีต  มีความไพเราะในด้านของเสียง  แต่ก็ไม่ละทิ้งการสื่อความหมายแบบตรงไปตรงมา  ได้ความ  เช่น


เดิมทีชายชราคิดจะทาสีเก้าอี้ให้เป็นสีฟ้าเหมือนท้องฟ้าหรือไม่ก็ทาสีเขียวเหมือนใบไม้ผลิ ทาสีแดงแบบดวงอาทิตย์รวมทั้งจะทาสีทองเหมือนแสงแดด แต่ที่สุดเขาก็คิดว่าสีเนื้อไม้นั่นแหละเหมาะกับเก้าอี้ที่สุดแล้ว

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๕๙)

ข้อคิด

สิ่งที่คิดอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริงเสมอไป





















สีที่แปดของรุ้งกินน้ำ

ผู้แต่ง : บินหลา สันกาลาคีรี

เรื่องย่อ

เรื่องราวของเจ้าหญิงเอาแต่ใจที่พระราชาและพระราชินีแยกปราสาทกันอยู่ ซึ่งในแต่ละวัน เจ้าหญิงต้องข้ามฝั่งแม่น้ำ เพื่อไปอยู่กับพระราชาในตอนเช้า และกลับมาอยู่กับพระราชินีในตอนเย็น เจ้าหญิงเอาแต่ใจมาก ถึงขนาดอยากได้รุ้งกินน้ำ ทรงอ้อนวอนให้พระราชบิดาและพระราชมารดา ทรงเอารุ้งมาให้ พระราชาและพระราชินี ต่างหาวิธีจับรุ้งกินน้ำ หลายปีต่อมา เจ้าหญิงเริ่มรู้ด้วยตนเองว่า ถึงอย่างไรก็ไม่มีทางเอารุ้งมาได้ ดังนั้น จึงอยากให้พระราชบิดาและพระราชมารดาทรงคืนดีกัน แต่ท่านทั้งสองก็บอกว่า "รอให้รุ้งมีแปดสีก่อนจึงจะคืนดีกัน" เจ้าหญิงสามารถทำให้รุ้งมีแปดสีได้และสีที่แปดของรุ้งกินน้ำคือสีชมพูที่มาจากแก้มของเจ้าหญิง

บทวิเคราะห์

๑.รูปแบบ

เป็นการเล่านิทานซ้อนนิทาน

๒.แนวคิด

แก่นของเรื่อง เรื่องสีที่แปดของรุ้งกินน้ำ มีสาระสำคัญที่เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อารมณ์เหนือเหตุผล อยากได้อะไรก็ต้องได้

๓.โครงเรื่อง

๓.๑ การเริ่มเรื่อง เรื่องสีที่แปดของรุ้งกินน้ำ  เริ่มโดยเป็นคำพูดของผู้เล่า

๓.๒ การดำเนินเรื่อง  เป็นการเล่านิทานซ้อนนิทาน ที่เรื่องต้นกับเรื่องท้ายมาบรรจบกันอย่างแนบเนียน

๓.๓ การจบเรื่อง เรื่องสีที่แปดของรุ้งกินน้ำ จบเรื่องโดยการสรุปว่า  พระราชาและพระราชินีกลับมารักกันเหมือนเดิม แบบไม่เปิดเผย

.ตัวละคร

๔.๑ การสร้างตัวละคร ผู้เขียนสร้างตัวละครมีลักษณะนิสัยเป็นไปตามธรรมชาติ โดยตัวละครทุกตัวมีบทบาทสอดคล้องสัมพันธ์กันกับเนื้อเรื่อง

๔.๒ลักษณะนิสัยของตัวละคร

เจ้าหญิง : เอาแต่ใจตัวเอง อยากได้อะไรก็จะต้องได้แม้จะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลยก็ตาม

พระราชา : รักลูกมาก ตามใจลูก เจ้าหญิงอยากได้อะไรก็จะหามาให้ ทะนงในศักดิ์ศรีของตน

พระราชินี : ตามใจลูก ทิฐิสูง

๕.บทสนทนา

ผู้เขียนใช้บทสนทนาในเรื่องไม่มาก มีความเป็นธรรมชาติเหมือนข้อความที่คนทั่วไปใช้พูดกัน  มีการเลือกสรรคำที่มีความหมายกับเนื้อเรื่องและช่วยในการดำเนินเรื่อง  ตัวละครพูดจาโต้ตอบกัน  ทำให้เรื่องมีชีวิตชีวามากขึ้น  เช่น

มาแล้ว มาแล้ว

อะไรมาหรือจ๊ะลูก รถขายไอศกรีมเหรอ

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๗๗)

๖.ฉากและบรรยากาศ

ในเรื่องผู้เขียนบรรยายภาพของสถานที่ต่าง ๆ มีการใช้คำบอกให้ผู้อ่านทราบสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ของเรื่อง เช่น

แม้ร่างกายยังไม่แข็งแรงนัก เจ้าหญิงโรยตัวลงจากหอคอยพระราชวัง

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๘๕)

๗.กลวิธีในการเขียน

กลวิธีการเล่าเรื่อง  ในเรื่องสีที่แปดของรุ้งกินน้ำ ผู้เขียนเล่าเรื่องแบบมุมมองของบุคคลที่สาม เช่น

โอ้โห พ่อขาพระธิดาชี้พระหัตถ์ นั่นอะไรคะ สวยจังเลย

อ๋อ พระราชามองตามไป อีกาน่ะลูก

ไม่ใช่ค่ะพ่อ ไม่ใช่ทรงสะบัดหน้าอย่างขุ่นใจ ไม่ใช่ตัวดำๆแต่เป็นตัที่มีหลายสี

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๗๔)

๘.สำนวนภาษา

๘.๑ การใช้ถ้อยคำ   ในเรื่องสีที่แปดของรุ้งกินน้ำ เล่าเรื่องด้วยน้ำเสียงอ่อนหวานและอ่อนโยน เช่น

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ดเจ็ดสี ไชโย รุ้งมีเจ็ดสีค่ะคุณพ่อ

ใช่จ้ะ ลูก รุ้งมีทั้งหมดเจ็ดสี

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๗๕)

๘.๒ การเรียงประโยค ประโยคที่ใช้ส่วนใหญ่ผู้เขียนเรียบเรียงอย่างประณีต  มีความไพเราะในด้านของเสียง  แต่ก็ไม่ละทิ้งการสื่อความหมายแบบตรงไปตรงมา  ได้ความ  เช่น

น้ำเสียงของพระองค์เข้มขึ้นอย่างน่าชื่นชม จะมีก็แต่ในพระทัยเท่านั้นที่ขมเกินจะบรรยาย พระราชาทรงมองออกนอกหน้าต่าง ทอดสายตาข้ามแม่น้ำไป ทรงมองหารุ้ง แต่ที่เห็นชัดถนัดกว่ากลับกลายเป็นอีกาฝูงใหญ่ และพราะราชวังครึ่งหลังของพระราชินี ซึ่งปลูกเดียวดายริมฝั่งแม่น้ำ

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๗๗)

ข้อคิด

ไม่ควรเป็นคนเอาแต่ใจตัวเองเพราะไม่มีทางที่เราจะได้ไปหมดทุกอย่าง














นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่

ผู้แต่ง : บินหลา สันกาลาคีรี

เรื่องย่อ

เจ้าปลาน้อยต้องการเดินทางไปตามหาเจ้าหญิง โดยปลาน้อยกลัวโลกภายนอกจึงต้องหาเกราะไว้คุมกันภัย เกราะที่ว่านั่นก็คือ เปลือกของสัตว์แต่ละชนิด เช่นเปลือกกุ้ง กระดองปู เปลือกหอย กระดองเต่า ปลาน้อยตามหาเกราะเหล่านั้นจนกระทั่งหลายปีต่อมาปลาน้อยก็ยังออกไม่ได้เดินทางตามที่คิดเอาไว้

บทวิเคราะห์

๑.รูปแบบ

เป็นการเล่านิทานซ้อนนิทาน

๒.แนวคิด

แก่นของเรื่อง เรื่องนักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ มีสาระสำคัญที่เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการแสวงหาความสุขของชีวิต

๓.โครงเรื่อง

๓.๑ การเริ่มเรื่อง เรื่องนักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ กล่าวเปิดเรื่องเกี่ยวกับความฝันของปลาน้อย

๓.๒ การดำเนินเรื่อง  เป็นการเล่านิทานซ้อนนิทาน ที่เรื่องต้นกับเรื่องท้ายมาบรรจบกันอย่างแนบเนียน

๓.๓ การจบเรื่อง เรื่องนักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ จบเรื่องโดยการที่ลูกปลาน้อยยังพยายามหาสิ่งป้องกันตัวเอง ยังไม่เชื่อมั่นในตัวเอง

.ตัวละคร

๔.๑ การสร้างตัวละคร ผู้เขียนสร้างตัวละครมีลักษณะนิสัยเป็นไปตามธรรมชาติ โดยตัวละครทุกตัวมีบทบาทสอดคล้องสัมพันธ์กันกับเนื้อเรื่อง

๔.๒ลักษณะนิสัยของตัวละคร

เจ้าปลาน้อย : ไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองมี ยังตามหาเปลือกสัตว์ที่แข็งแรงกว่าอันเดิม จนสุดท้ายไม่ได้ทำตามเป้าหมาย

๕.ฉากและบรรยากาศ

ในเรื่องผู้เขียนบรรยายภาพของสถานที่ต่าง ๆ มีการใช้คำบอกให้ผู้อ่านทราบสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ของเรื่อง เช่น

อาณาจักรสีครามคือแหล่งกำเนิดของลูกปลาน้อย กินอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล มากมีสิงสาราสัตว์ มีสิ่งละอัน พันละน้อย น่าตื่นตา

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๙๑)

๖.กลวิธีในการเขียน

กลวิธีการเล่าเรื่อง  ในเรื่องนักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เขียนเล่าเรื่องแบบมุมมองของบุคคลที่สาม เช่น

แต่ก็นั่นแหละ การมัวตระเวนหาเสื้อเกราะก็ทำให้เขาต้องเสียเวลาไปเล็กน้อย ลูกปลาน้อยจึงเลื่อนกำหนดการเดินทางออกไปเป็นวันรุ่งขึ้น

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๙๓)

๗.สำนวนภาษา

๗.๑ การใช้ถ้อยคำ   ในเรื่องนักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่เล่าเรื่องด้วยน้ำเสียงอ่อนหวานและอ่อนโยน เช่น

ขอเพียงวันพรุ่งนี้เท่านั้น เจ้าหญิง

เธอยังคงรอคอยใช่ไหม

พรุ่งนี้ ฉันจะออกเดินทาง

(ตัดตอนมาจากเรื่องเจ้าหงิญ หน้า ๙๕)

๗.๒ การเรียงประโยค ประโยคที่ใช้ส่วนใหญ่ผู้เขียนเรียบเรียงอย่างประณีต  มีความไพเราะในด้านของเสียง  แต่ก็ไม่ละทิ้งการสื่อความหมายแบบตรงไปตรงมา  ได้ความ  เช่น

ลูกปลาน้อยในเกราะอ่อน เกราะอ่อนในเกราะเหล็ก เกราะเหล็กในเกราะปูน เกราะปูนในเกราะหิน อุปกรณ์เสริมความปลอดภัยล่าสุดของเขาคือกระดองเต่าดึกดำบรรพ์ เขาได้ความคิดอันสุดยอดปลอดภัยนี้ตอนเห็นเต่าตัวหนึ่งซึ่งยืนนิ่งราวอนุสาวรีย์