การวิจารณ์ศิลปะให้เข้าใจง่าย ควรใช้วิธีใด

การวิเคราะห์งานศิลปะ คือ การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเพื่อศึกษางานศิลปะซึ่งมีการแบ่งออกเป็นส่วนๆ ไม่ว่าจะทางด้านทัศนธาตุ , องค์ประกอบศิลป์ รวมทั้งความสัมพันธ์ต่างๆ โดยนำข้อมูลในหลายปัจจัย ในหลายองค์ประกอบ มาประเมินผลงานทางด้านศิลปะว่ามีคุณค่าทางด้านใดบ้าง

การวิจารณ์งานศิลปะ คือ การแสดงความคิดเห็นทางด้านศิลปะ ที่ศิลปินได้รังสรรค์ขึ้นมา เป็นการแสดงทัศนะทางด้านสุนทรียศาสตร์ รวมทั้งสาระอื่นๆ เพื่อให้ได้นำไปปรับปรุงในผลงานชิ้นต่อไป หรือ ใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินผลงาน อีกทั้งยังเป็นการฝึกวิธีวิเคราะห์ ให้เห็นความแตกต่างทางด้านคุณค่าในผลงานชิ้นนั้นๆ

คุณสมบัติที่นักวิจารณ์พึงมี

  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะแบบกว้างขว้าง ในหลายด้าน
  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศิลปะ
  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์
  • ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างขวาง มั่นใจในตนเอง
  • กล้าแสดงออกตามหลักวิชาการและตามความรู้สึกที่สั่งสมมาจากประสบการณ์

ทฤษฎีการสร้างงานศิลปะ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่…

  • เลียนแบบ – เกิดจากการประจักษ์ในความงามในธรรมชาติ ศิลปินจึงได้ลอกเลียนแบบมา ให้มีความเหมือนทั้งรูปร่าง , รูปทรง และสีสัน
  • สร้างรูปทรงสวยงาม – คือ การสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ ให้เกิดความสวยงาม และประกอบไปด้วยทัศนธาตุ ได้แก่ เส้น , รูปทรง , สี , น้ำหนัก , บริเวณว่าง รวมทั้งเทคนิคสร้างสรรค์ผลงาน
  • แสดงอารมณ์ – คือ สร้างงานให้มีความรู้สึก
  • แสดงจินตนาการ – คือ แสดงภาพจินตนาการให้ผู้ชมได้สัมผัส

แนวทางประเมินคุณค่าของงานศิลปะ

สำหรับการประเมินคุณค่างานศิลปะ จะมีการวิเคราะห์จาก 3 ด้าน ได้แก่…

ด้านความงาม

คือ การวิเคราะห์รวมทั้งประเมินคุณค่าทางด้านทักษะฝีมือ รวมทั้งการใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ ตลอดจนการจัดองค์ประกอบศิลป์ เป็นการวิเคราะห์ว่าผลงานชิ้นนี้ มีการเปล่งประกายทางด้านความงดงามของศิลปะได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งทำให้ผู้ดูเกิดความเข้าใจในในสุนทรียภาพ โดยลักษณะของการแสดงออกทางด้านความงามในศิลปะ จะเต็มไปด้วยความหลากหลายซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่รูปแบบของยุคสมัย เพราะฉะนั้นเมื่อสรุปการวิเคราะห์ ตลอดจนการวิเคราะห์งานศิลปะทางด้านความงาม ซึ่งก็จะมีการตัดสินในเรื่องรูปแบบต่างๆ

ด้านสาระ

คือ การวิเคราะห์ เพื่อพิจารณาคุณค่าของผลงานศิลปะว่า มีคุณธรรม , จริยธรรม รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงจุดประสงค์ทางด้านจิตวิทยารวมทั้งให้สิ่งใดต่อผู้ชมบ้าง โดยจะเป็นสาระที่เกี่ยวกับสิ่งใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็น ธรรมชาติ , สังคม , ศาสนา , การเมือง , ความฝัน และอื่นๆ อีกมากมาย

 ด้านอารมณ์ความรู้สึก

คือ การประเมินคุณค่าทางด้านคุณสมบัติ ซึ่งเป็นการกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก อีกทั้งยังเป็นการสื่อความหมายได้อย่างมีนัยยะสำคัญซ่อนอยู่ โดยเป็นผลของการใช้เทคนิคซึ่งแสดงออกให้เห็นถึงความคิด , พลัง ตลอดจนความรู้สึกที่ปรากฏอยู่ในผลงาน

          แฟ้มสะสมงาน คือ การรวบรวมผลงานของตัวเอง ที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนด ออกมาเป็นรูปเล่ม มีรายละเอียด เกี่ยวกับผลงาน เพื่อสะท้อนความคิดเห็น ภาพแห่งความสำเร็จ และรูปแบบงานของตนเอง

            จิตรกรมีทักษะและความสามารถในการเขียนภ่าพเหมือนจริง และพัฒนากรรมวิธีการแก้ปัญหาระยะตื้นลึกของภาพโดยใช้เทคนิคภาพสีหม่น  (Sfumato) ทำให้ฉากหลังดูนุ่มเบา และใช้โทนสีหนักกับตัวนางแบบ นอกจากนี้จิตรกรยังนำหลัก ทัศนมิติเชิงอากาศ (Aerial Perspective) มาใช้ในการแก้ปัญหาระยะตื้นลึก คือการทำให้ภาพดูเหมือนกับมองผ่านปริมาณอากาศ สีของสิ่งที่อยู่ในระยะไกลดูจางลงเป็นลำดับ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นในอากาศ สีและเส้นรอบนอกของสิ่งที่อยู่ระยะไกลในภาพทิวทัศน์จะมีความชัดเจนน้อยกว่าสิ่งที่อยู่ในระยะใกล้ ทำให้ภาพดูมีระยะตื้นลึก ซึ่งปรากฏในส่วนฉากหลังของโมนาลิซา จัดเป็นภาพที่แสดงระยะตื้นลึกและบรรยากาศยามหมอกลงจัดได้อย่างน่าชม

การให้คำปรึกษา เป็นการช่วยเหลือรูปแบบหนึ่ง ที่อาศัยความสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับการ ปรึกษา เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาเกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา ได้ความรู้และทางเลือกในการแก้ปัญหานั้นอย่างเพียงพอมีสภาพอารมณ์และจิตใจ ที่พร้อมจะคิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง

หลักการที่สำคัญในการให้คำปรึกษา

เนื่องจากการให้คำปรึกษาเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นทั้งผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา ต้องมีระบบระเบียบ มีเทคนิควิธีในการเข้าใจ การสร้างมนุษยสัมพันธ์ การช่วยเหลือ การวางแผน การตัดสินใจ การเปลี่ยนแปลงในหลายด้านในตัวผู้รับคำปรึกษา ดังนั้นในการให้คำปรึกษาจึงจำเป็นต้องมีหลักการที่สำคัญ (สวัสดิ์ บรรเทิงสุข .2542) ดังนี้
1. การให้คำปรึกษาตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้รับคำปรึกษาต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตน
2. การให้คำปรึกษาตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้ให้คำปรึกษาต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อความชำนาญงานมาก่อน
3. การให้คำปรึกษาเป็นการช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาสามารถพิจารณาตนเองได้ดีเช่นเดียวกับความสามารถในการพิจารณาสิ่งแวดล้อมของตน จนเกิดการตัดสินใจได้ในที่สุด
4. การให้คำปรึกษา ยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล
5. การให้คำปรึกษาเป็นทั้งศาสตร์ (Science) และศิลปะ (Art) เป็นทั้งงานวิชาการ และวิชาชีพที่ต้องอาศัยการฝึกฝนจนชำนาญมากกว่าการใช้สามัญสำนึก
6. การให้คำปรึกษา เป็นความร่วมมืออันดีสำหรับผู้ให้คำปรึกษา และผู้รับคำปรึกษา
ในอันที่จะช่วยกันค้นหาปัญหาหรือทางออกที่เหมาะสมแท้จริงทั้งนี้โดยที่ต่างฝ่ายอาจจะไม่เข้าใจมาก่อนว่า “แท้ที่จริงแล้วความยากลำบากหรือปัญหาของสิ่งนั้นคืออะไร ซึ่งแตกต่างไปจากการสอนซึ่งผู้สอนรู้ข้อเท็จจริงมาก่อนหน้านี้แล้ว”
7. การให้คำปรึกษาเน้นถึงจรรยาบรรณ และบรรยากาศที่ปกปิดหรือความเป็นส่วนตัว เพื่อสนับสนุนการได้มาซึ่งข้อเท็จจริงสำหรับช่วยเหลือ และรักษาผลประโยชน์ของผู้รับคำปรึกษาเป็นสำคัญ
8. การให้คำปรึกษาจะเกิดขึ้นต่อเมื่อสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้คำปรึกษา และผู้รับคำปรึกษา มีระดับสูงมากพอที่ผู้รับคำปรึกษาเต็มใจที่จะเปิดเผย ความรู้สึกที่แท้จริงของตน โดยไม่ปกปิดหรือซ่อนเร้น

ประเภทของการให้คำปรึกษา

การให้คำปรึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

1. การให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล (Individual Counseling)

การให้คำปรึกษาประเภทนี้เป็นแบบที่ได้รับความนิยม และถูกนำมาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ การให้คำปรึกษาจะเป็นการพบกัน ระหว่างผู้ให้คำปรึกษา 1 คน กับผู้ขอคำปรึกษา 1 คน โดยร่วมมือกัน การให้คำปรึกษาแบบนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้ผู้ขอรับคำปรึกษาให้สามารถเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา และสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง หรือเพื่อให้สมาชิกในองค์การ เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้สูงขึ้น ทำให้คนในองค์การได้ตระหนักถึง ความรู้สึกเกี่ยวกับปฏิกิริยาและการแสดงออกของอารมณ์ของตนและผู้อื่น เข้าใจความสำคัญของทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม แรงจูงใจ พฤติกรรมต่าง ๆของบุคคล เข้าใจความสำคัญของการเสริมแรงและการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง คนสามารถกำหนดเป้าหมายและการประพฤติปฏิบัติของตนเองได้
เป็นกระบวนการช่วยเหลือโดยมีการพบปะเป็น การส่วนตัว ระหว่างผู้ให้คำปรึกษากับผู้รับบริการ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ผู้รับบริการ ได้เข้าใจตนเอง และสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น สามารถวางโครงการในอนาคตได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่งมิใช่เฉพาะจะสามารถแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่เท่านั้น แต่ จะช่วยให้มีทักษะในการแก้ปัญหาอื่น ๆ ได้ด้วยตนเอง

กระบวนการให้คำปรึกษา

กระบวนการให้คำปรึกษา อาจสรุปได้ 5 ขั้นตอนดังนี้คือ

ขั้นตอนที่ 1 การสร้างสัมพันธภาพ ผู้ให้คำปรึกษาต้องทำให้ผู้รับคำปรึกษาเกิด ความอบอุ่น สบายใจ และไว้วางใจ
ขั้นตอนที่ 2 สำรวจปัญหา ผู้ให้คำปรึกษาช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาได้สำรวจปัญหา และปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาด้วยตัวของเขาเอง
ขั้นตอนที่ 3 เข้าใจปัญหา สาเหตุ ความต้องการ ผู้ให้คำปรึกษาช่วยให้ผู้รับ คำปรึกษาเข้าใจปัญหา สาเหตุ และความต้องการของตนเอง
ขั้นตอนที่ 4 วางแผน แก้ปัญหา ผู้ให้คำปรึกษาช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาพิจารณาวิธี แก้ปัญหาและตัดสินใจเลือกสิ่งที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง
ขั้นตอนที่ 5 ยุติการให้คำปรึกษา ผู้ให้คำปรึกษาย้ำความเข้าใจที่เกิดขึ้นระหว่าง ที่ให้คำปรึกษา และช่วยให้ผู้รับคำปรึกษา มีแรงจูงใจและกำลังใจ ที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง
2. การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (Group Counseling)

หลักพื้นฐานของการให้คำปรึกษากลุ่ม

  1. สมาชิกกลุ่มทุกคนมีสิทธิในความรู้สึกของตน คือรู้สึกอย่างที่ตนรู้สึก ไม่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ผู้ให้คำปรึกษาจะสนับสนุนให้สมาชิกแสดงความรู้สึกของตนออกมา และให้เคารพในอารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่นด้วย
  2. สมาชิกกลุ่มแต่ละคนต้องตัดสินใจว่า ตนต้องการจะพัฒนาอะไรเกี่ยวกับตนเองด้วยตนเอง
  3. สมาชิกกลุ่มแต่ละคน ต้องมุ่งแก้ปัญหาให้ตนเองไม่ใช่มุ่งแก้ปัญหาให้คนอื่น เพราะการที่สมาชิกเข้ากลุ่มก็เพราะต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดีขึ้นให้กับตนเอง
  4. ในการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ความรู้สึกของสมาชิกกลุ่มที่มีต่อสถานการณ์ เป็นจุดที่สำคัญยิ่งกว่าสถานการณ์ เพราะความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้น อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาได้
  5. การเปิดเผยตนเองของสมาชิกช่วยให้การให้คำปรึกษามีประสิทธิภาพ ถ้าสมาชิกกลุ่มไม่มีการป้องกันตนเองก็ย่อมพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ในบรรยากาศที่มีความไว้เนื้อเชื่อใจ มีความหวังดี มีการยอมรับและมีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ
  6. สมาชิกกลุ่มต้องมีความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของตน นั่นคือ ยอมรับผลที่ตามมาจากพฤติกรรมที่ตนได้กระทำไป ซึ่งทำให้สมาชิกพึ่งพิงคนอื่นน้อยลง
  7. การลงมือกระทำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ซึ่งจะมีได้ในบรรยากาศของการยอมรับและความเข้าใจ ดังนั้นผู้ให้คำปรึกษาจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศของการยอมรับและความเข้าใจ ให้เกิดขึ้นในกลุ่ม และรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ตลอดไป
  8. ในการเผชิญปัญหา แก้ปัญหา มีวิธีการหรือทางเลือกหลายวิธี ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องช่วยให้สมาชิกสามารถเลือกแนวทางแก้ปัญหาจากทางเลือกต่าง ๆ ที่ได้มีการนำเสนอในกลุ่มด้วยตนเอง
  9. สมาชิกกลุ่มจะต้องมีคำมั่นสัญญาให้กับตนเองในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ดังนั้นการให้การเสริมแรงจึงถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องคำนึงถึง
  10. ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องกระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มได้นำประสบการณ์ใหม่หรือสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ดังนั้นประสบการณ์ในกลุ่มจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสมาชิก
  11. การที่สมาชิกรู้จักตนเองอย่างลึกซึ้ง และยอมรับตนเอง ทำให้มีการป้องกันตนเองน้อยลง และทนต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆที่เกี่ยวกับตน
  12. สมาชิกกลุ่มจะเกิดความเข้าใจตนเอง มีความรับผิดชอบ และสามารถควบคุมตนเองได้มากขึ้น หลังจากได้เข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม

ลำดับขั้นของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม

ขั้นที่ 1 ขั้นก่อตั้งกลุ่ม ในขั้นนี้สมาชิกที่เข้ากลุ่มยังไม่กล้าเปิดเผยตนเอง เพราะยังไม่ไว้วางใจในกลุ่ม ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องชี้แจงวัตถุประสงค์ของการให้คำปรึกษา และสร้างสัมพันธภาพที่ดี ให้เกิดขึ้นในกลุ่ม และต้องให้เวลาแก่สมาชิกกลุ่มพอสมควรอย่ารีบเร่ง
ขั้นที่ 2 ขั้นการเปลี่ยนแปลงลักษณะของสมาชิก เป็นขั้นตอนต่อจากขั้นแรกกลุ่มเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการขึ้นบ้าง สมาชิกเริ่มรู้จักไว้วางใจกันแต่ก็ยังมีความวิตกกังวล มีความตึงเครียดอยู่บ้าง ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องพยายามชี้แจงให้สมาชิกกล้า อภิปรายปัญหาตัวเอง อย่างเปิดเผย
ขั้นที่ 3 ขั้นดำเนินการ ขั้นนี้สัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในกลุ่มจะดีขึ้นมาก กล้าเปิดเผยตนเอง อภิปรายปัญหาตามความเป็นจริง ร่วมกันแก้ปัญหาของสมาชิก ทุกคนได้สำรวจตัวเอง เข้าใจปัญหาและพร้อมจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตน
ขั้นที่ 4 ขั้นยุติการให้คำปรึกษา เมื่อสมาชิกเข้าใจปัญหาอย่างกระจ่างแจ้ง รู้จักแก้และเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตน นำไปปฏิบัติด้วยความพอใจ ไม่มีข้อข้องใจตกค้าง ก็ให้ยุติการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มได้

ขนาดของกลุ่ม

ในการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ขนาดของกลุ่มที่ดีที่สุดจะอยู่ระหว่าง 4-8 คน เพราะถ้ากลุ่มมีขนาดใหญ่เกินจำนวน 8 คน การถ่ายโยงจะค่อย ๆอ่อนลงจนกระทั่งสมาชิกแทบ จะไม่มีความหมาย และแทบจะไม่มีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน กลุ่มทำหน้าที่เสมือนการรวมกลุ่มย่อยหลาย ๆกลุ่ม และผู้ให้คำปรึกษาจะมีความยากลำบากในการชักจูงให้สมาชิกแต่ละคน สนใจกลุ่ม แต่ถ้ากลุ่มเป็นกลุ่มขนาดเล็กสมาชิก จะมีโอกาสสื่อความหมายซึ่งกันและกันได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าขนาดของกลุ่มใหญ่ขึ้น สมาชิกจะได้รับประสบการณ์ตรงและมีส่วนร่วมในกลุ่มน้อยมาก สมาชิกจะพัฒนาความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับผู้นำ ผู้พูด และผู้แสดงเท่านั้น และสมาชิกจะปฏิบัติหน้าที่เหมือนกับอยู่ในชั้นเรียน และคอยพึ่งพิงผู้นำมากขึ้น

เวลาและจำนวนครั้งในการให้คำปรึกษากลุ่ม

ในการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ผู้ให้คำปรึกษาควรจัดให้มีการให้คำปรึกษาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ถ้ามีเวลาอันจำกัด อาจจัดให้มีการให้คำปรึกษา สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งได้ ส่วนจำนวนในการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มทั้งหมดควรประมาณ 6-10 ครั้ง ส่วนเวลาที่ใช้ในการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม จะเป็นเวลานานเท่าใดนั้น จะแตกต่างกันไปตามวัยผู้มาขอรับคำปรึกษา ถ้าเป็น นักเรียนระดับประถมศึกษา ควรใช้เวลาครั้งละ 1 ชั่วโมง ส่วนนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ควรใช้เวลาประมาณ 1-1 ½ ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือผู้ใหญ่ควรใช้เวลาประมาณ 1 ½ - 2 ชั่วโมง ทั้งนี้หมายความว่าในการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มนั้น เวลาที่ใช้ในการให้คำปรึกษาแต่ ละครั้งอย่างมากที่สุดไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง

ลักษณะของกลุ่มในการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม

ในการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ลักษณะของกลุ่มควรเป็นกลุ่มแบบปิด ( Closed Groups) หมายถึง เป็นกลุ่มที่ประกอบด้วย สมาชิกที่เป็นคนเดิมตั้งแต่เริ่มต้น การให้คำปรึกษา จนกระทั่งถึงขั้นยุติการให้คำปรึกษา ไม่ควรเป็นกลุ่มแบบเปิด ( Opened Groups ) เพราะกลุ่มลักษณะนี้จะมีการเข้าออกของ สมาชิกกลุ่มอยู่ตลอดเวลา คือสมาชิกเก่าออกไปสมาชิกใหม่เข้า มาแทนที่ ทำให้การให้คำปรึกษาขาดความต่อเนื่อง การที่กลุ่มจะมีพัฒนาการไปถึง ขั้นการวางแผนแก้ปัญหา จะทำได้ยากและความรู้สึกปลอดภัยจะลดลง เพราะสมาชิกกลุ่มจะต้องคอยปรับตัวต่อสถานการณ์ ที่มีสมาชิกใหม่เข้ามาอยู่ตลอดเวลา ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญงอกงามของกลุ่มได้

การวิจารณ์ศิลปะให้เข้าใจง่าย ควรใช้วิธีใด *

การวิจารณ์ศิลปะเพื่อที่จะให้เกิดการเข้าใจง่าย ควรใช้วิธีใด นักวิจารณ์ต้องยึดหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ นักวิจารณ์ต้องมีความตระหนักและฝึกฝนการวิจารณ์ นักวิจารณ์ต้องมีวิธีการพูด การเขียนบรรยายให้เข้าใจง่าย

ลําดับขั้นตอนการวิจารณ์งานศิลปะคือข้อใด

1.ขั้นการบรรยาย (Description) 2.ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis) 3.ขั้นการตีความหมาย (Interpretation) 4.ขั้นการตัดสิน (Judgment)

การวิจารณ์งานศิลปะที่ดีควรคำนึงถึงเรื่องใด

1. ควรมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะทั้งศิลปะประจำชาติและศิลปะสากล 2. ควรมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะ 3. ควรมีความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ ช่วยให้รู้แง่มุมของความงาม 4. ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างขวาง และไม่คล้อยตามคนอื่น

การวิจารณ์งานศิลปะหมายถึงอะไร

การวิจารณ์ งานศิลปะ การวิจารณ์งานศิลปะ หมายถึง การแสดงความคิดเห็นต่อผลงานศิลปะ ในรูปแบบต่าง ๆ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อย่างมีหลักการ มีข้อมูล และข้อเสนอแนะปรับปรุง โดยสุจริตใจ ทั้งนี้เพื่อยกระดับมาตรฐานของผลงาน และเจ้าของผลงานนั้น ๆ ในทุก ๆ ด้าน