รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

..........ส่วนขยาย คือ ส่วนที่มาชยายใจความสำคัญให้ชัดเจน โดย การยกตัวอย่าง อธิบาย เพื่อให้ได้เรื่องราวครบถ้วน สมบูรณ์

Show

ย่อหน้าที่ดีมีลักษณะสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. ความสมบูรณ์ ในแต่ละย่อหน้าต้องเขียนให้มีจุดหมาย เนื้อหา สาระสำคัญ รายละเอียด ส่วนขยายชัดเจน ไม่ออกนอกเรื่อง ไม่ยกตัวอย่างมาก เกินความจำเป็น เมื่ออ่านจบแล้ว ต้องได้ความบริบูรณ์ เหมือนอ่านเรียงความสั้นเพียง ๑ เรื่อง เพราะย่อหน้าก็คือ ความเรียงอย่างย่อเรื่องหนึ่ง
๒. เอกภาพ หมายความว่า ข้อความแต่ละย่อหน้า จะต้องเขียนให้มีความคิด หรือใจความสำคัญเพียงประการเดียว ไม่เปลี่ยนความคิด หรือจุดมุ่งหมาย เป็นหลายอย่างใน ย่อหน้าเดียว
๓. สัมพันธภาพ คือ การเรียบเรียงข้อความในย่อหน้าให้เกี่ยวโยง ต่อเนื่องกัน เกิดความสัมพันธ์กัน เมื่ออ่านแล้วสละสลวยรื่นหู ทำให้แนวความคิด ติดต่อกัน ผู้อ่านสามารถติดตามได้ง่าย
๔. สารัตถภาพ คือ มีการเน้นย้ำใจความสำคัญ กล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างได้เนื้อหาสาระ ได้ใจความที่ชัดเจนเพียงพอ การเน้นย้ำใจความสำคัญนั้น อาจทำได้โดยการวางตำแหน่งของประโยคใจความสำคัญ ไว้ตอนต้นย่อหน้า หรือท้ายย่อหน้า ทั้งนี้เพราะผู้อ่านมักจะให้ความสนใจกับ ประโยคเริ่มต้น และประโยคลงท้าย
ฉะนั้น ย่อหน้าที่ดีจึงควรมีทั้งความสมบูรณ์ เอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตถภาพ ซึ่งจะช่วยให้งานเขียนนั้นเป็นงานเขียน ที่มีความต่อเนื่อง ชัดเจน และสมบูรณ์ขึ้น

...........สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ผู้เขียนจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะเขียนเป็นอย่างดี ไม่นั่งเทียนเขียนจนงานเขียนขาดความน่าเชื่อถือ ใช้ถ้อยคำให้กระชับ ไม่ซ้ำซ้อน เพราะการใช้คำที่ความหมายซ้ำซ้อน จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อได้ง่าย และเมื่อเขียนเสร็จจะต้องอ่านซ้ำเพื่อตัดคำที่เป็นคำฟุ่มเฟือย ซึ่งผู้เขียนสามารถปรับแก้คำที่พิมพ์ผิดหรือเขียนผิดไปในตัว อีกด้วย

      4. สารัตถภาพ คือ มีการเน้นย้ำใจความสำคัญ กล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างได้เนื้อหาสาระ ได้ใจความที่ชัดเจนเพียงพอ การเน้นย้ำใจความสำคัญนั้น อาจทำได้โดยการวางตำแหน่งของประโยคใจความสำคัญ ไว้ตอนต้นย่อหน้า หรือท้ายย่อหน้า ทั้งนี้เพราะผู้อ่านมักจะให้ความสนใจกับ ประโยคเริ่มต้น และประโยคลงท้าย

หนังสือราชการแต่ละเรื่องย่อมประกอบด้วยย่อหน้าหลายย่อหน้า เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานราชการจึงควรรู้แนวทางในการเขียนย่อหน้าที่ดีไว้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ย่อหน้าคือข้อความตอนหนึ่งที่มีสาระหรือความคิดสำคัญเพียงประการเดียว และมีประโยคหรือข้อความสนับสนุนสาระสำคัญนั้นให้กระจ่างชัดเจนขึ้น ตามหลักภาษาไทยย่อหน้าเป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่งที่ช่วยทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน โดยผู้อ่านจะจับใจความได้ง่ายขึ้นเพราะทราบว่าแต่ละย่อหน้ามีความสำคัญเพียงประการเดียว นอกจากนี้ผู้อ่านยังมีโอกาสได้พักสายตาด้วย ส่วนผู้เขียนจะเขียนได้ง่ายขึ้นโดยจะเสนอความคิดสำคัญเพียงหนึ่งอย่างในแต่ละย่อหน้าย่อหน้าแบ่งเป็น 4 ชนิด คือ ย่อหน้านำความคิด ย่อหน้าโยงความคิด ย่อหน้าแสดงความคิด        และย่อหน้าสรุปความคิด

1) ย่อหน้านำความคิด เป็นย่อหน้าที่เขียนขึ้นเพื่อบอกจุดประสงค์ของการเขียนหรือสร้างความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนั้น หรืออาจจะบอกถึงลักษณะของเนื้อหาที่จะเขียนก็ได้

2) ย่อหน้าแสดงความคิด เป็นย่อหน้าที่ผู้เขียนใช้แสดงความคิด ข้อมูล ความต้องการของตน เป็นย่อหน้าที่มีบทบาทสำคัญและใช้มากในการเขียนทุกประเภทโดยเฉพาะการเขียนเอกสารราชการ ในย่อหน้าแสดงความคิดแต่ละย่อหน้าควรจะมีความคิดสำคัญเพียงหนึ่งอย่างและมีส่วนขยายความคิดนั้นให้เด่นชัดขึ้นมา

3) ย่อหน้าโยงความคิด เป็นย่อหน้าที่ใช้เชื่อมระหว่างย่อหน้าที่ไม่เกี่ยวข้องกัน หรือเป็นคนละประเด็นกัน ย่อหน้าชนิดนี้จึงเป็นย่อหน้าสั้น ๆ

4) ย่อหน้าสรุปความคิด เป็นย่อหน้าที่ใช้สรุปเรื่องที่เขียน

การเขียนย่อหน้านอกจากจะมีความคิดสำคัญเพียงประการเดียวแล้ว ยังต้องมีประโยคที่ช่วยเน้นความคิดสำคัญและให้ความเข้าใจอย่างชัดเจนกับผู้อ่าน ประโยคและข้อความในย่อหน้าแต่ละย่อหน้าต้องต่อเนื่องสัมพันธ์กันโดยผู้เขียนจะต้องเรียบเรียงอย่างสละสลวยอีกด้วยนอกจากความสัมพันธ์ภายในย่อหน้าแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างย่อหน้าต่าง ๆ ในเรื่องก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ผู้เขียนจะต้องเรียงลำดับเรื่องราวหรือเรียงลำดับย่อหน้าให้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกันอย่างเหมาะสม มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการเขียนย่อหน้าคือ ความยาวของย่อหน้าแต่ละย่อหน้าไม่จำเป็นจะต้องยาวเท่ากันเพราะความยาวของย่อหน้านั้นขึ้นอยู่กับความคิด และจุดประสงค์ของผู้เขียน ผู้เขียนควรระลึกไว้เสมอว่า ย่อหน้าที่ยาวเกินไปจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่อยากอ่าน

หากคุณต้องการจะศึกษาเรื่อง SEO แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร อ่านคู่มือ SEO สำหรับผู้เริ่มต้นนี้ และเรียนรู้ทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เพื่อทำ SEO ด้วยตัวคุณเอง!

บทที่ 1

SEO basics (พื้นฐาน SEO)

ก่อนที่เราจะเจาะลึกถึงเทคนิคเฉพาะและแง่มุมต่างๆ ของ SEO เรามาพูดถึงคำจำกัดความพื้นฐาน คำศัพท์ SEO เบื้องต้น และคำถามที่พบบ่อยกันก่อน คุณพร้อมไหม? เริ่มกันเลย!

หัวข้อในบทเรียนนี้

  • SEO คืออะไร?
  • ภาพรวม SEO แบบสรุป
  • คำศัพท์ที่ควรรู้
  • คำถามที่พบบ่อย

SEO คืออะไร?

Search engine optimization (SEO) คือ กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงอันดับเว็บของคุณบน Google และเพิ่มปริมาณคนเข้าเว็บแบบออร์แกนิก (ไม่จ่ายเงิน) ให้มากขึ้น

การเริ่มต้นทำ  SEO มีมาตั้งแต่ยุค 90 เมื่อ search engines ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก ปัจจุบันนี้ถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญและเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง

เราทำ SEO เพื่อการทำเว็บให้ติดอันดับหน้าแรกแบบธรรมชาติเท่านั้น ไม่ใช่การเพิ่มประสิทธิภาพการติดอันดับแบบลงโฆษณา (PPC) แต่ทั้ง SEO และ PPC เป็นส่วนหนึ่งของการตลาดบน Search Engine

*PPC ย่อมาจาก Pay Per Click คือ การทำโฆษณาบน Google ที่จะมีการคิดเงินจากการที่มีคนคลิกโฆษณาของเรา 

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

Search engines (เครื่องมือค้นหาข้อมูล) สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตค้นบางสิ่งบางอย่างที่เขาอยากรู้

และพวกเราทุกคนก็อยากให้เว็บของเราเป็นคำตอบในสิ่งนั้น ดังนั้นไม่สำคัญว่าคุณจะขายผลิตภัณฑ์หรือบริการ เขียนบล็อก หรืออย่างอื่น การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับบน Search engines เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเจ้าของเว็บไซต์ทุกคน

อธิบายแบบง่ายๆ:

SEO คือ การกระทำทั้งหมดที่คุณต้องทำเพื่อให้ Google พิจารณาเว็บไซต์ของคุณว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณภาพและจัดอันดับให้สูงขึ้นสำหรับคำค้นหาที่คุณต้องการ

Note:

แม้ว่า SEO ย่อมาจาก “Search Engine Optimization” ซึ่งในความจริงแล้วบนโลกนี้มี Search Engine อยู่หลายตัว แต่ในปัจจุบัน Google คืออันดับ 1 เราสามารถใช้คำว่า “Google Optimization” แทนก็ได้

นั่นเป็นเหตุผลที่เคล็ดลับและเทคนิคทั้งหมดในคู่มือนี้จะเป็นเรื่องของการทำ Google SEO เป็นหลัก แม้ว่าจะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นสากลและนำไปใช้กับการเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับเครื่องมือค้นหาอื่นๆ ได้อีกด้วย

ภาพรวม SEO แบบสรุป

คุณไม่จำเป็นต้องรู้ปัจจัยทั้งหมดและอัลกอริทึมทุกอย่างที่ Google ใช้ในการจัดอันดับเว็บไซต์ แต่คุณต้องปรับแต่งเว็บให้ครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญของ SEO เพื่อให้ประสบความสำเร็จ

วิธีง่ายๆ ในการทำความเข้าใจ 3 ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือการจินตนาการถึงซุปชามหนึ่ง – the SEO soup.

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

3 ปัจจัยสำคัญสำหรับการทำ SEO:

  1. Technical stuff (การปรับแต่งทางเทคนิค) – เปรียบเหมือน ชาม ใส่ซุป คือการปรับแต่งทางเทคนิคทั้งหมดในตัวเว็บต้องทำให้ครอบคลุม (คนทำ SEO บางครั้งก็เรียกสิ่งนี้ว่า on-page SEO) หากไม่มีชามที่เหมาะสม ก็ไม่มีทีให้ใส่ซุปแสนอร่อยได้
  2. Great content (เนื้อหาที่มีคุณภาพ) – น้ำซุปแสดงถึงเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เนื้อหาคุณภาพต่ำ = ไม่ติดอันดับ ไม่มีอะไรซับซ้อน ซุปไม่อร่อย ก็ไม่มีคนต้องการ
  3. Quality backlinks ( Backlink ที่มีคุณภาพ) – เครื่องปรุงเพิ่มรสชาติของซุปให้ดียิ่งขึ้น Backlinks ก็เปรียบเหมือนเครื่องปรุงรสเพิ่มรสชาติให้กับซุปให้อร่อยสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น เพื่อให้มีคนติดใจแวะมาชิมซุปของเราบ่อยๆ แต่การเพิ่มเครื่องปรุง คุณต้องเพิ่มแต่พอดี และเลือกใช้เฉพาะเครื่องปรุงที่มีคุณภาพเท่านั้น การทำ Backlink ก็เช่นเดียวกันต้องทำอย่างมีคุณภาพ ถึงจะช่วยให้ ซุป SEO ของคุณเพอเฟกต์

 

คำศัพท์ SEO ที่ควรรู้

เมื่อเริ่มเจาะลึกลงไปเกี่ยวกับการทำ SEO คุณจะพบคำศัพท์ต่างๆ หรือคำที่ใช้เปรียบเทียบแนวทางการทำ SEO ต่างๆ ได้แก่

  • On-page SEO & off-page SEO
  • Black hat SEO & white hat SEO

เป็นการดีที่เราควรจะรู้ความหมายของแนวทางการทำ SEO ประเภทต่างๆ ก่อน เพื่อจะได้วางแผนหรือเอาไว้คุยกับทีมงาน หรือคนในวงการ SEO ให้เข้าใจตรงกันได้

On-page SEO & off-page SEO

คำว่า on-page และ off-page SEO เป็นการแบ่งประเภทพของการทำ SEO ที่ขึ้นอยู่กับว่าคุณได้ปรับแต่งสิ่งต่างๆ ในเว็บตัวหรือปรับแต่งนอกเว็บ

On-page SEO คือ ทุกสิ่งที่คุณสามารถทำได้บนเว็บไซต์ ตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหาไปจนถึงด้านเทคนิค เช่น

  • Keyword research (การค้นหา Keyword)
  • Content optimization (ปรับแต่งเนื้อหา)
  • Title tag optimization (ปรับแต่งส่วน Title)
  • Page performance optimization (ปรับปรุงประสิทธิภาพของหน้าเว็บ เช่น ความเร็วในการเปิดเว็บ)
  • Internal linking (การทำลิงก์เชื่อมโยงภายในเว็บ)

เป้าหมาย คือ ทำให้ทั้งเนื้อหาบนเว็บมีคุณภาพและ UX ของหน้าเว็บในขณะที่แสดงผลบน Search engines ว่าหน้าเว็บนั้นเกี่ยวกับอะไร

Note:

คำว่า on-page SEO และ technical SEO แท้จริงแล้วก็คือเรื่องเดียว แต่บางครั้งเราเรียกต่างกัน เพื่อใช้แยกแยะวิธีการปรับแต่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา (เช่น การเขียน Title) กับการปรับแต่งทางเทคนิค (เช่น ปรับความเร็วของหน้าเว็บ)

Off-page SEO ความหมายโดยทั่วไป เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำ Backlink ที่มีคุณภาพ เพื่อเอาไว้แสดงให้ Search engines ได้รับรู้ว่าข้อมูลบนเว็บของเรามีความน่าเชื่อถือ และมีคุณค่า การทำลิงก์ อาจเกี่ยวกับข้องกับเทคนิคต่างๆ เช่น:

  • Guest blogging (การเขียนบทความและเผยแพร่บนเว็บไซต์อื่นๆ)
  • Email outreach (ทำให้คนเข้าถึงเว็บเราผ่านอีเมล)
  • Broken link building (การมีลิงก์เสีย หรือลิงก์ที่ไม่ดี)

Off-page SEO ยังเชื่อมโยงถึงการทำการตลาดออนไลน์ บนช่องทาง Social Media ต่างๆ ( เช่น Facebook, YouTube) รวมถึงการสร้าง Branding ซึ่งมีผลทางอ้อมต่อการทำ SEO ช่วยเพิ่มความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือบนเว็บไซต์ของคุณได้

โปรดจำไว้ว่ากลยุทธ์ SEO ที่ประสบความสำเร็จคุณจำเป็นต้องลงมือทำให้ครอบคลุมทั้งเรื่อง on-page และ off-page SEO  ทำอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้

White hat SEO vs. black hat SEO

หมวกสีดำและหมวกสีขาวมีต้นกำเนิดในภาพยนตร์ตะวันตก พวกเขาเป็นตัวแทนของคนเลวและคนดี

ในบริบท SEO คำนี้ใช้เพื่ออธิบายการทำ SEO สองกลุ่ม – กลุ่มแรกคือ คนทำ SEO ปฏิบัติตามกฎที่กำหนดโดยหลักเกณฑ์สำหรับผู้ดูแลเว็บของ Google (Google’s Webmaster Guidelines) และ อีกกลุ่มคือผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎของ Google

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

Black Hat SEO (SEO สายดำ) คือ การทำ SEO ที่มักไม่ใช่วิธีการเป็นไปตามกฎกติกาของ Google อาศัยช่องโหว่ของการประมวลผลของ Search Engine ต่างๆ (และมักจะเป็นสแปม) เพื่อปรับปรุงการจัดอันดับของเว็บไซต์

เทคนิคเหล่านี้สามารถนำเว็บของคุณไปสู่อันดับต้น ๆ ของผลการค้นหาในเวลาอันสั้น อย่างไรก็ตาม Search Engine เมื่อเวลาผ่านไปเขาจะเรียนรู้และจะตรวจจับสิ่งที่เป็นแสปมได้ เว็บของคุณก็จะโดนแบนออกไปจ้างหน้าผลการค้นหาไม่ช้าก็เร็ว

White hat SEO (SEO สายขาว) คือ หมายถึงเทคนิค SEO ปกติทั้งหมดที่ยึดตามหลักเกณฑ์และกฎเกณฑ์ ของ Google เป็นกลยุทธ์ระยะยาว โฟกัสไปที่การทำเนื้อหาเว็บให้มีคุณภาพ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ใช้งานจริงเป็นหลัก เมื่อเราทำเว็บให้มีคุณภาพ การทำอันดับบนหน้า Google ก็จะดีขึ้นตามมาด้วย

ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ส่วนใหญ่ เห็นด้วยว่า “White Hat SEO” เป็นวิธีที่เราควรยึดถือ แต่ก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการยอมรับเทคนิคการสร้างลิงก์ต่างๆ (รวมถึงการซื้อลิงก์)

คำถามที่พบบ่อย

เราสามารถทำ SEO ด้วยตนเองได้หรือไม่?

SEO ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากเกินกว่าที่เราจะเรียนรู้และเข้าใจมันได้

มีบางสิ่งที่คุณสามารถเรียนรู้และนำไปใช้ได้ทันที และมีบางอย่างที่คุณจะต้องใช้เวลาและความพยายามมากขึ้นในการทำความเข้าใจและลงมือทำ และแน่นอนคุณสามารถทำ SEO ได้ด้วยตัวเองครับ

แต่การทำ SEO นั้นก็ไม่มีทางลัด มีคำถามเดียวที่คุณต้องตอบ คือ คุณเต็มใจที่จะลงทุนเวลาบางส่วนเพื่อเรียนรู้ทุกแง่มุมของ SEO หรือไม่ หรือคุณจะจ้างมืออาชีพและใช้เวลาไปกับอย่างอื่น

เราจะเรียนรู้ SEO ได้อย่างไร?

มีสิ่งที่คุณควรทำเพื่อเรียนรู้ SEO ดังนี้

  • อ่านความรู้ SEO จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
  • ลงมือทำเพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรง
  • อย่ากลัวการลองผิด ลองถูก
  • มีความอดทนสูง (SEO คือ การวิ่งมาราธอน ไม่ใช่การวิ่งระยะสั้น)

การนำสิ่งต่าง ๆ จากคู่มือนี้ไปใช้เป็นวิธีที่ดีในการเริ่มต้น ?

ใช้เวลานานแค่ไหนในการเรียนรู้ SEO?

เรียนรู้เพื่อให้เข้าใจหลักการพื้นฐานอาจจะใช้เวลาไม่นาน คือ ไม่เกิน 2 สัปดาห์ แต่หากคุณต้องการเป็นผู้เชียวชาญด้าน SEO ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ลงมือทำที่มากพอ จุดนี้อาจต้องใช้เวลาเป็นเดือน หรือไม่ก็เป็นปี

แต่การเรียนรู้ SEO ไม่มีจุดสินสุด เพราะ SEO มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา คุณควรเรียนรู้และติดตามข่าวสารล่าสุด การทดลอง เพื่อค้นหาคำตอบใหม่ๆ อยู่เสมอ

จำเป็นต้องใช้ SEO Tool หรือไม่?

หากคุณจริงจังกับ SEO คุณจำเป็นต้องมีข้อมูลเชิงลึก และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในหลายๆ ส่วน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เราจะได้จากการใช้ SEO Tool ต่างๆ เท่านั้น ได้นั้นการใช้เครื่องมือ SEO จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการแข่งขัน SEO และช่วยคุณประหยัดเวลาได้อย่างมาก

ต่อไปนี้คือเครื่องมือ SEO ที่สำคัญที่เจ้าของเว็บไซต์ทุกคนควรใช้:

  • Google Search Console
  • เครื่องมือวิเคราะห์สถิติคนเข้าเว็บ (เช่น Google Analytics)
  • เครื่องมือค้นหา Keyword (เช่น KWFinder)
  • เครื่องมือวิเคราะห์ Backlink (เช่น LinkMiner)
  • เครื่องมือเช็คอันดับเว็บ (เช่น SERPWatcher)

SEO ตายแล้วจริงหรือไม่?

คนที่พูดว่า “SEO ตายแล้ว” พวกเขามักจะหมายความว่า “ความพยายามในการทำสแปมเพื่อโกงหรือหลอก Google ที่ใช้เมื่อ 10 ปีที่แล้วนั้นตายไปแล้ว”

นอกเหนือจากนั้น การทำ SEO (search engine optimization) ยังเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญและเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

บทที่ 2

Search engines

ในบทที่ 2 ของคู่มือ SEO นี้ คุณจะได้เรียนรู้ว่า Search engines คืออะไร ทำงานอย่างไร และอะไรคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการจัดอันดับ SEO ใน Google

หัวข้อในบทเรียนนี้

  • Search engines คืออะไร?
  • Search engines ทำงานอย่างไร?
  • Google algorithm 
  • Ranking factors (ปัจจัยการจัดอันดับ)

Search engines คืออะไร?

Search engines เป็นเครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยให้ผู้คนค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างของ Search engines ที่คนรู้จักเช่น Google, Bing

และความจริงก็คือ Google อาจเป็น Search Engine เดียวที่คุณต้องรู้ ดูแผนภูมิส่วนแบ่งการตลาดของเครื่องมือค้นหาทั่วโลก (ข้อมูลโดย Statcounter):

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ดังนั้น เมื่อเราพูดถึง Search engines ในบทเรียนนี้ เราก็จะหมายถึง Google เครื่องมือค้นหาอื่นๆ ทำงานบนหลักการที่คล้ายคลึงกัน และตราบใดที่เว็บไซต์ของคุณได้รับการปรับให้เหมาะสมสำหรับ Google ก็ถือว่าสามารถไปใช้งานบน Search engines ตัวอื่นๆ เช่นเดียวกัน

Note:

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Search engines ที่ได้รับความนิยมสูงสุดตัวอื่นๆ ในบทความ SEOpedia นี้แทนครับ Most popular Search Engines

Search engines ทำงานอย่างไร?

กระบวนการทำงานของ Search engines ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก ดังนี้:

  1. การเก็บข้อมูลเว็บไซต์ (Crawling)
  2. การจัดทำดัชนี (Indexing)
  3. การจัดอันดับ (Ranking) และแสดงผล (Results)

…และสุดท้าย จึงแสดงผลการค้นหาให้ผู้ใช้เห็น

ดูรูปภาพกระบวนการทำงานนี้ประกอบนะ

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

การเก็บข้อมูลเว็บไซต์ (Crawling)

การรวบรวมข้อมูลเป็นกระบวนการที่ Search engines สแกนหน้าเว็บบนอินเทอร์เน็ตทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง

พวกเขาใช้โปรแกรมชิ้นเล็กๆ (เรียกว่าโปรแกรมรวบรวมข้อมูลหรือบอท (bot) เพื่อติดตามลิงก์ที่เชื่อมโยง(hyperlink) ทั้งหมดและค้นพบหน้าใหม่ (รวมถึงการอัปเดตหน้าที่ค้นพบก่อนหน้านี้)

Martin Splitt, Google Webmaster Trend Analyst อธิบายกระบวนการรวบรวมข้อมูลอย่างง่ายๆไว้ว่า:

“เราเริ่มต้นที่ไหนสักแห่งด้วย URL บางส่วน จากนั้น เราจะตามลิงก์จากที่นั่นเก็บข้อมูลไปเรื่อยๆ ดังนั้นเราจึงรวบรวมข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต ไปทีละหน้าๆ”

การจัดทำดัชนี (Indexing)

เมื่อรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์แล้ว ข้อมูลจะถูกจัดทำดัชนี Search engines จะพยายามวิเคราะห์และทำความเข้าใจหน้า จัดหมวดหมู่ และจัดเก็บไว้ในดัชนี

ดัชนีข้อมูล บน Search engines เป็นเหมือนห้องสมุดขนาดมหึมาที่รวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ทั้งหมด โดยมีวัตถุประสงค์เดียว – เพื่อทำความเข้าใจและทำให้ข้อมูลเหล่านั้นพร้อมใช้งาน เมื่อมีคนค้นหา

Note:

หากคุณต้องการทราบว่าหน้าเว็บของคุณได้รับการรวบรวมข้อมูลและจัดทำดัชนีหรือไม่ ให้ไปที่ Google Search Console และใช้เครื่องมือตรวจสอบ URL

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

คุณจะเห็นว่า Google bot เข้ามารวบรวมข้อมูลหน้าเว็บครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ ตลอดจนคำเตือนต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาการรวบรวมข้อมูลและการจัดทำดัชนีที่อาจเกิดขึ้นของหน้าเว็บนั้นบน Google

อ่านเพิ่มเติมในโพสต์โดยละเอียดเกี่ยวกับ Crawling & Indexing

การจัดอันดับ (Ranking) และแสดงผล (Results)

เมื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตพิมพ์คำค้นหาที่ต้องการลงไป เครื่องมือค้นหา (Search engines) จะขุดเข้าไปในดัชนีและดึงผลลัพธ์ที่ดีที่สุดออกมา รายการผลลัพธ์เรียกว่า SERP (หน้าแสดงผลลัพธ์ของเครื่องมือค้นหา)

ในย่อหน้าถัดไปนี้ เราจะทำความเข้าใจอัลกอริทึมการค้นหาของ Google อย่างละเอียดยิ่งขึ้น

Google algorithm

อัลกอริทึมการค้นหาของ Google ถูกใช้เป็นคำเรียกเพื่ออ้างถึงอัลกอริทึม ระบบ machine learning และเทคโนโลยีทั้งหมดที่ Google ใช้ในการจัดอันดับเว็บไซต์

เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด Google ใช้ ปัจจัยต่างๆ มากมาย  ในการคัดเลือกเนื้อหา ปัจจัยหลักๆ อาทิเช่น

  • ความหมายของข้อความค้นหา – Search engines จำเป็นต้องเข้าใจว่าผู้ใช้ค้นหาอะไรกันแน่
  • ความเกี่ยวข้องของหน้าเว็บ – หน้าเว็บนั้นต้องมีความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา
  • คุณภาพของเนื้อหา – Search engines พยายามเลือกผลลัพธ์ที่ดีที่สุด โดยดูจากคุณภาพของเนื้อหาเสมอ
  • ความสามารถการใช้งานของหน้า – หน้าต่างๆ ควรใช้งานได้ (เข้าถึงข้อมูลได้เร็ว เนื้อหาอ่านง่าย มีความปลอดภัย ฯลฯ)
  • บริบทและการตั้งค่าต่างๆ – ตำแหน่ง (location) ของผู้ใช้ การตั้งค่า และประวัติการค้นหาจะถูกพิจารณาประกอบด้วย เพื่อแสดงผลลัพธ์ให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานให้มากที่สุด

เช่นเดียวกับระบบที่ซับซ้อนอื่นๆ อัลกอริทึมของ Google จำเป็นต้องได้รับการอัปเดตและปรับแต่งอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากการอัปเดตอัลกอริทึมเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นทุกวันแล้ว Google มักจะอัปเดตอัลกอริทึมหลักสองสามรายการต่อปี 

เมื่อมีการอัปดทอัลกอริทึม Google จะประกาศอย่างเป็นทางการ และสร้างความปวดหัวให้กับคนทำ SEO อยู่เป็นประจำ

Later today, we are releasing a broad core update, as we do several times per year. It is called the June 2021 Core Update. Our guidance about such updates is here:https://t.co/e5ZQUA3RC6

This will be followed by the July 2021 Core update. Here’s more information about that…

— Google SearchLiaison (@searchliaison) June 2, 2021

การทำความเข้าใจอัลกอริทึมหลักๆที่สำคัญ (เช่น Panda, Penguin, Hummingbird,…) อาจเป็นวิธีที่ดีในการดูภาพรวมโดยย่อว่า Google Search และ SEO พัฒนาขึ้นอย่างไรในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม โดยละเอียดเกี่ยวกับอัลกอริทึมของ Google อ่านต่อที่นี่ the Google algorithm.

Note:

ผู้ประเมินคุณภาพการค้นหา (Search Quality Raters)

นอกจากอัลกอริทึม Google ยังมีการใช้มนุษย์ในการป้อนข้อมูลต่างๆ อีกด้วย

Google มีพนักงานกหลายพันคนที่ชื่อว่า Search Quality Raters ประเมินผลการค้นหาจริงและให้คะแนนคุณภาพของหน้าที่จัดอันดับ ซึ่งทุกคนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เข้มงวด (ตรวจสอบได้)

ตัวอย่างทั่วไปของการใช้ Search Quality Raters มาประเมิณหน้าเว็บอย่างเข้มงวด หากหน้าเว็บนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เป็น YMYL (Your Money or Your Life) ซึ่งเป็นหน้าที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อสำคัญที่อาจส่งผลต่อความสุข สุขภาพ ความปลอดภัย หรือสวัสดิภาพทางการเงินของใครบางคน

ผู้ประเมินคุณภาพ (Search Quality Raters) ไม่ได้มีอิทธิพลต่อการจัดอันดับโดยตรง แต่มีการใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงอัลกอริทึมการค้นหาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

Ranking factors (ปัจจัยการจัดอันดับ)

แน่นอนว่า Search engines จะเก็บวิธีการคำนวณอัลกอริทึมที่แน่นอนไว้เป็นความลับ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านการจัดอันดับหลายอย่างก็ที่เป็นที่รู้จักกันดี เราสามารถคาดเดาได้

ปัจจัยด้านการจัดอันดับเป็นหัวข้อที่มีการพูดคุยกันมากในโลกของ SEO

หลายๆ ปัจจัยได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจาก Google แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ ปัจจัยยังคงอยู่ในขอบเขตของการคาดเดาและเป็นแค่ทฤษฎี แต่ในการลงมือทำ สิ่งสำคัญคือต้องโฟกัสไปที่ปัจจัยที่พิสูจน์แล้วผลกระทบต่อการติดอันดับ และเราต้องพยายามรักษา “คะแนนที่ดี” ในทุกๆปัจจัย

Cyrus Shepard จาก Zyppy ได้ลิสต์ปัจจัยสำคัญๆ ที่ทำให้เว็บไซต์ประสบความสำเร็จในการติดอันดับบน Google (ปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับเว็บที่ติดอันดับต้นๆ) นี่คือ 10 สิ่งสำคัญ:

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

  • เนื้อหาที่ตรงเป้าหมาย – คุณต้องระบุสิ่งที่ผู้คนค้นหาและสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพซึ่งปรับให้เข้ากับความต้องการของพวกเขา
  • เว็บที่ถูกรวบรวมข้อมูลได้ง่าย – หากคุณต้องการทำอันดับ เว็บไซต์ของคุณจะต้องมีโครงสร้างและการใช้งานที่เข้าใจง่ายๆ เพื่อให้ Search engines เข้าถึงข้อมูลบนเว็บเราได้
  • คุณภาพและปริมาณของลิงก์ – ยิ่งมีหน้าเว็บที่มีคุณภาพ ทำลิงค์เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของคุณมากเท่าใด เว็บของคุณก็จะมีความน่าเชื่อถือในสายตาของ Google มากขึ้นเท่านั้น
  • เนื้อหาโฟกัสไปที่เจตนาของผู้ใช้ (user intent) – SEO ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับKeyword ที่คุณใช้เพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวกับรูปแบบของเนื้อที่ปรับปรุงประสบการณ์ให้เหมาะกับคนค้นหา – เราควรทำให้ผู้เยี่ยมชมเว็บของคุณมีความสุข และ Google ชอบ ไปพร้อมๆ กัน
  • เนื้อหาที่ไม่ซ้ำ – ระวังให้มากเกี่ยวกับการใช้เนื้อหาที่ซ้ำกันบนเว็บไซต์ของคุณ
  • EAT: ความเชี่ยวชาญ อำนาจ ความน่าเชื่อถือ – EAT คือเกณฑ์ประเมินเว็บที่มีคุณภาพของ Google – อย่าลืมสร้างและพิสูจน์ความเชี่ยวชาญในเรื่องๆ นั้นและเพิ่มความน่าเชื่อถือของเว็บคุณ และเขียนเฉพาะเนื้อหาเกี่ยวกับข้องกับเรื่องนั้นลงไปในเนื้อหาเท่านั้น
  • เนื้อหาสดใหม่ – บางเรื่องต้องการความสดมากกว่าเรื่องอื่น แต่อย่างไรก็ตาม คุณควรอัปเดตเนื้อหาของบนเว็บของคุณเป็นประจำ เพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันมากที่สุด
  • อัตราการคลิกต่อจำนวนการมองเห็น (CTR) – เขียนหัวข้อเรื่อง (Title tag) และ คำเกริ่นนำเนื้อหา (meta descriptions) ให้โดดเด่น เพื่อเพิ่ม CTR ของหน้าเว็บของคุณ
  • ความเร็วของเว็บไซต์ – ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้เยี่ยมชมเว็บของคุณไม่ต้องรอนานเกินไปในการโหลดหน้าเว็บ มิฉะนั้น มีโอกาสสูงที่พวกเขาจะออกไปก่อนที่จะเข้าชมเว็บจริง
  • ใช้งานได้กับทุกอุปกรณ์ – เว็บไซต์ของคุณต้องทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบบนทุกอุปกรณ์และทุกขนาดหน้าจอใดๆ (จำไว้ว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่มาจากมือถือเป็นหลัก!)

Note:

คุณภาพของเนื้อหาเป็นปัจจัย SEO ที่สำคัญที่สุดอย่างปฏิเสธไม่ได้ (สังเกตว่า 5 ใน 10 ปัจจัยสำคัญเกี่ยวข้องกับเนื้อหา) หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหาสำหรับ SEO ให้ข้ามไปที่บทที่ 4

ปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่อาจส่งผลดีต่อการจัดอันดับเว็บของคุณ:

  • ความลึกของเนื้อหา
  • การปรับแต่งรูปภาพ
  • ความเป็นศูนย์กลางของข้อมูลเรื่องๆ นั้น
  • โครงสร้างเว็บที่ดี
  • มีการแชร์ข้อมูล บน social media)
  • เว็บต้องมีการทำ HTTPS

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญโดย Kevin Indig
ผู้อำนวยการฝ่าย SEO ที่ Shopify, Kevin-Indig.com

มี Search engines อยู่มากมาย แต่มีเพียง Google เท่านั้นที่ก้าวหน้าที่สุดในด้านการดึงข้อมูล ความเข้าใจธรรมชาติภาษา และการประมวลผลตามธรรมชาติของภาษาในแต่ชาติ

ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา Search engines  เปลี่ยนจากการประเมินแบบข้อความล้วนๆ เป็นการเรียนรู้ผ่าน machine learning โดยนำพฤติกรรมของผู้ใช้มาใช้ในการประมวลผลด้วย

ทุกวันนี้ Google ตามดูเจตนาและพฤติกรรมของผู้ใช้งานทุกเดือน และสามารถตรวจพบความแตกต่างในความต้องการที่แท้จริงของผู้ค้นหาแต่ละคนได้: คุณภาพเนื้อหาในหน้าผลการค้นหา การนำเสนอผลิตภัณฑ์ การออกแบบ ประสบการณ์ผู้ใช้ ไม่มีข้อ จำกัดจริงๆ

ด้วยเหตุนี้การทำ SEO จึงเปลี่ยนไปจากการจาก Search Engine Optimization สู่ Searcher Experience Optimization คือ การสร้างประสบการณ์ใช้งานบนเว็บให้เหมาะกับคนค้นหา เราไม่ได้ทำ SEO เพื่อเอาใจ search engine แต่ทำ SEO เพื่อเอาใจคนอ่านด้วย

นักทำ SEO มืออาชีพเข้าใจดีว่าพวกเขาต้องไปไกลกว่าทำแต่ Backlink หรือเขียนแต่เนื้อหาให้ละเอียดๆแต่พวกเขาต้องเข้าใจความต้องการของผู้ค้นหาในบริบทของของคำค้นหานั้นๆ ด้วย ว่าพวกเขาอยากรู้ สนใจ หรือมองหาคำตอบแบบไหนอยู่

บทที่ 3

Keyword research

การวิเคราะห์ Keyword เป็นหนึ่งในงาน SEO พื้นฐาน ในบทนี้ คุณจะได้เรียนรู้วิธีค้นหาคำเฉพาะเจาะจงและวิธีค้นหาคำหลักที่เป็นคำทำเงิน ซึ่งเป็นคำที่เราควรหยิบมาทำอันดับ

หัวข้อในบทเรียนนี้

  • ค้นหา Keyword ได้จากที่ไหนบ้าง?
  • ตัวชี้วัด Keyword ต่างๆ
    • ปริมาณการค้นหา (Search volume)
    • ความยากง่ายของ Keyword
    • ความเกี่ยวข้องของ Keyword

การวิเคราะห์ Keyword ควรเป็นขั้นตอนแรกในการเริ่มต้นทำSEO ของคุณ เราต้องวิเคราะห์ keyword เพื่อเป้าหมาย 2 ลักษณะดังต่อไปนี้

ค้นหาคำที่เฉพาะเจาะจงกับธุรกิจของเรา – เมื่อเริ่มต้นเว็บไซต์ใหม่ การวิเคราะห์ Keyword สามารถทำให้เราเห็นภาพรวมเกี่ยวกับ คำต่างๆ ที่น่าสนใจของกลุ่มลูกค้า ที่สนใจในธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมที่คุณกำลังทำอยู่

การค้นหาไอเดียใหม่ๆ เพื่อมาทำคอนเทนต์เพิ่ม  – การวิเคราะห์ Keyword ช่วยคุณค้นหาเจอคำที่ใหม่ ที่มีโอกาสในการเพิ่มยอดขายมากขึ้น และเพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาวางกลยุทธ์ในเนื้อหาบนเว็บของคุณ

ค้นหา Keyword ได้จากที่ไหนบ้าง?

มีหลายวิธีในการค้นหา Keyword

ขั้นตอนแรก คือ ให้คุณนึกถึงคำตั้งต้น (seed keywords) ซึ่งจะเป็นคำที่จะทำให้คุณแตกประเด็นไปเจอ คำอื่นๆ อีกมากมาย หากคุณกำลังทำคอนเทนต์เกี่ยวกับกาแฟ คำหรือวลี ง่ายที่คุณนึกถึง เช่น “เมล็ดกาแฟ” “เครื่องชงกาแฟ” หรือ “เอสเพรสโซ” คำเหล่านี้ก็เป็นคำเริ่มต้นที่ดี

Google suggestions (คำที่ Google แนะนำอัตโนมัติ)

Google มีการแนะนำ Keyword จำนวนมาก และปรากฎใน SERP โดยตรง โดยมีลักษณะของการแนะนำหลายรูปแบบ เช่น การเติมข้อความอัตโนมัติ (Google suggestions), คำถามที่คนถามถึงบ่อย (People Also Ask) หรือการค้นหาที่เกี่ยวข้อง เป็นแหล่งหา keyword ที่ดีได้ ที่คุณสามารถหยิบคำเหล่านั้นไปใช้ต่อได้

ด้วยคุณสมบัติเติมการเติมข้อความให้แบบอัตโนมัติ คุณเพียงแค่ต้องเขียน Keyword ตั้งต้นของคุณลงในการค้นหาของ Google สัก 1 คำ แล้วคำแนะนำอื่นๆ จะปรากฏขึ้นโดยอัตโนมัติ

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

คุณสามารถรวม Keyword ตั้งต้นกับตัวอักษรต่างๆ เพื่อค้นหาไอเดีย การเติมข้อความอัตโนมัติเพิ่มเติม (เช่น email marketing a, email marketing b, ร้านอาหาร ก, ร้านอาหาร ข…)

นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งวิธีสำหรับการค้นหา Keyword ที่คุณสามารถพบได้ในหน้าผลลัพธ์ของ Google จะแสดงอยู่ด้านล่างของหน้า SERP

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

คำ Keyword แนะนำเหล่านี้รวบรวมมาจากคำค้นหาจริง ที่ผู้คนทั่วโลกใช้ค้นหาข้อมูลบน Google

Note:

นอกจากหา Keyword บน Google ตรงๆ ยังมีแพลตฟอร์มอื่นๆ อีกมากมายที่สามารถช่วยคุณค้นหา Keyword ใหม่ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์ ที่คนในกลุ่มๆ ใช้เพื่อถามคำถาม สื่อสาร และแบ่งปันความคิด อาทิเช่น Reddit, Quora, YouTube, forums, กลุ่ม Facebook…

เครื่องมือค้นหา Keyword (Keyword tools)

มีเครื่องมือหา Keyword ฟรีๆ มากมาย ที่สามารถให้คุณใส่คำตั้งต้นไป 1 คำ แล้วเครื่องมือเหล่านั้น ค้นหา Keyword ที่น่าสนใจให้คุณเพิ่มได้อีกเป็นร้อยๆ คำ แต่ปัญหาของเครื่องมือฟรี มักจะมีมีข้อจำกัด เช่น จำกัดจำนวนครั้งในการใช้งานต่อ 1 วัน หรือแสดงข้อมูลที่สำคัญให้ไม่ครบ

ดังนั้น หากคุณสร้างเว็บไซต์เพื่อให้มันทำเงิน การลงทุนซื้อโปรแกรมค้นหา Keyword คือ การลงทุนที่ยอดเยี่ยมที่จะให้ผลตอบแทนไม่ช้าก็เร็ว

นอกจากการค้นหา Keyword เครื่องมือระดับมืออาชีพยังมีตัวชี้วัด SEO และข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์อื่นๆ เพื่อประเมินคีย์เวิร์ดและเลือกคำที่ดีที่สุด ดังนั้นพวกเขาจึงสามารถประหยัดเวลาได้มากและสร้างได้เปรียบทางการแข่งขันแก่คุณ

มีสองวิธีในการเริ่มต้นการวิเคราะห์ Keyword ด้วย Keyword tools:

  • เริ่มด้วยคำตั้งต้น (seed keyword)
  • เริ่มด้วยการเอาเว็บคู่แข่งมาวิเคราะห์

รูปด้านล่าง คือ การค้นหา Keyword จากโปรแกรม KWFinder ใส่คำตั้งต้นลงไป 1 คำ เดี๋ยวโปรแกรมเขาจะลิสต์รายการ Keyword ที่น่าสนใจขึ้นมาแสดงเอง

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

นอกจากนี้คุณยังสามารถแกะ Keyword ของคุณที่มีการติดอันดับ โดยแค่พิมพ์โดเมน หรือวาง URL ลงไปแค่นั้น

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

Note:

ลองใช้ KWFinder พร้อมทดลองใช้ฟรี 10 วัน โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต ในการสมัครเพื่อทดลองใช้งาน

นอกจากค้นหา Keyword ต่างๆ เครื่องมือนี้ยังคำนวณความยากในการจัดอันดับ Keyword และช่วยให้คุณวิเคราะห์ SERP ของแต่ละเว็บที่ติดอันดับได้อีกด้วย

ข้อมูลต่างๆ ที่เราได้จะนำเราไปสู่ส่วนสำคัญต่อไป:

ตัวชี้วัด Keyword (Keyword metrics)

เป้าหมายของการค้นหา Keyword คือ การหาคำที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ มีปริมาณค้นหาสูง และมีค่าความยากอยู่ในระดับต่ำ – ส่วนผสมที่ลงตัวของทั้งสามปัจจัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการวิเคราะห์ Keyword

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

เราเรียกหลักการนี้ว่า กฎของขาตั้งกล้อง 3 ขา (The Keyword Tripod Rule) และปัจจัยทั้งสามเป็นตัวแทนของขาทั้งสามนั้นเอง

หากคุณตั้งกล้องข้างเดียว ขาตั้งที่เหลือจะยุบลง

ปริมาณการค้นหา (Search volume)

ในอดีต คนทำคอนเทนต์ มักจะค้นหา keyword ที่มีปริมาณการค้นหาสูงเท่านั้น

แล้วพวกเขาก็เขียนคำนั้นซ้ำๆ ลงไปในเนื้อหา เพื่อหลอกอัลกอริทึ่มของ Search Engines และประกันได้เลยว่า เว็บของพวกเขาจะติดอันดับ แต่การยุคปัจจุบัน การวิเคราะห์ Keyword นั้นซับซ้อน และใช้วิธีการทำ SEO แบบในอดีตไม่ได้แล้ว

คำ keyword แบบยาว vs คำที่มีปริมาณค้นหา(Long-tail keywords vs. search volumes)

คู่มือ หา keyword หลายๆแห่งแนะนำให้เน้นไปที่คีย์เวิร์ดแบบยาว ซึ่งเป็นคำที่เจาะจงกว่าและมักจะประกอบด้วยคำหลายๆ คำรวมกัน

เพราะอะไร สิ่งนี้คือเหตุผล:

คำ keyword แบบยาว (Long-tail keywords) เป็นคำที่การแข่งขันต่ำและเป็นคำที่กระตุ้นให้เกิดการตอบสนองของผู้เข้าชมหน้าเว็บสูง เนื่องจากข้อความค้นหามีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ดังนั้นจึงมีโอกาสสูงที่ผู้เข้าชมเว็บจะกลายเป็นผู้ซื้อต่อไป

ประมาณการว่าประมาณ 70% ของการเข้าชมหน้าเว็บ มาจากคำ keyword แบบยาว

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

แน่นอน ข้อเสียคือปริมาณการค้นหาที่ต่ำกว่า ดังนั้นคุณต้องพิจารณาทุกด้านและหาจุดสมดุลระหว่างการใช้ความพยายามและความคุ้มค่าที่อาจเกิดขึ้น

นอกจากนี้ ในบาง Keyword ที่มีปริมาณการค้นหาสูงๆ เราอาจไม่สามารถทำให้ติดอันดับได้เสมอไป การเลือกทำ keyword ที่เฉพาะเจาะจง จึงเป็นทางเลือกที่ควรทำ

ความจริงก็คือ ถ้าเว็บไซต์ของคุณยังเป็นใหม่ คุณจะไม่สามารถจัดอันดับสู้ใน Keyword ที่มีปริมาณค้นหาสูงและการแข่งขันสูงได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ควรลองทำนะ คุณสามารถทำได้ทุก Keyword นั้นเอง แต่ต้องยอมรับความยากในการทำ

ตัวชี้วัด Keyword ที่เรียกว่าความยากของ Keyword จึงเป็นสิ่งที่คุณต้องนำมาประเมิณด้วย ในการเลือกทำ Keyword ต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ

ความยากของ Keyword (Keyword difficulty)

เมื่อคุณพบ Keyword ที่คุณต้องการทำอันดับแล้ว คุณจะต้องค้นหาต่อว่ามันยากเพียงใดในการแข่งขัน มันมักจะแสดงด้วยตัวชี้วัดที่เรียกว่า ความยากของ Keyword (Keyword difficult)

ในเครื่องมือวิเคราะห์ Keyword ส่วนใหญ่ ค่าความยากของ Keyword จะถูกระบุในระดับตั้งแต่ 0 ถึง 100 ยิ่งคะแนนสูงเท่าใด การทำอันดับเป็นที่ 1 ในหน้า SERP สำหรับ keyword ก็ยิ่งยากขึ้นเท่านั้น

ขึ้นอยู่กับหน้าเชื่อถือ (authority) ของหน้าเว็บนั้นที่เราเอามาทำอันดับ (Ranking)

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ดูที่ช่อง keyword difficulty (ความยากของ keyword):

  • คุณจะเห็นปริมาณการค้นหาของ Keyword และเห็นด้วยว่า มีเว็บใครที่ติดหน้าแรกอยู่บ้าง
  • คุณจะสามารถเลือกได้เองว่า จะเลือก Keyword ไหนมาทำแล้วมีโอกาสนในการติดอันดับได้
  • คุณจะสามารถประหยัดเวลาได้มาก จะได้เลือกทำเฉพาะ Keyword ที่การแข่งขันไม่สูงนัก เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี แม้ว่าเว็บเรายังไม่ได้มีความน่าเชื่อถือยังไม่สูงมาก

Note:

ค่าความยากของ keyword บนโปรแกรม SEO แต่ละเจ้า อาจจะมีความแตกต่างกัน – บางโปรแกรมอาจจะให้ค่าความยาก 30 คะแนน บางโปรแกรม SEO อาจจะมีค่าความยาก 50 คะแนนน แม้จะเป็น Keyword เดียวกันก็ตาม

นั่นเป็นเพราะแต่ละโปรแกรม SEO มีรูปแบบและวิธีวัดผล ด้วยหน่วยวัดและอัลกอริธึมที่แตกต่างกัน ดังนั้น สิ่งสำคัญก็คือ คุณจะใช้โปรแกรม SEO อะไรก็ได้ แต่คุณต้องเข้าใจค่าต่างๆ ที่เครื่องมือเหล่านั้นแสดงว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

อ่านเพิ่มเติม: ความยากของ Keyword คืออะไร และสำคัญต่อการทำ SEO อย่างไร

ความเกี่ยวข้องของ Keyword

คำหลักของคุณต้องมีความเกี่ยวข้อง วิธีที่ง่ายที่สุด คือ เข้าไปดูที่หน้าผลลัพธ์ของ Keyword (SERP) นั้นบน Google

  • อันดับแรกเช็คก่อนว่าเว็บที่ติดอันดับ 1 บน keyword นั้นคือเว็บใคร เราสามารถแข่งขันกับเขาได้ใหม่ โดยให้กลับไปดูค่าความยากของ Keyword จากหัวข้อที่ผ่านมา
  • ดูเจตนาของผู้ใช้งาน (search intent) ว่าเขาค้นหา Keyword นี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

อ่านเพิ่มเติม: หน้าผลการค้นหา (SERP) คืออะไร ดูข้อมูลอย่างไรให้ได้ประโยชน์

เมื่อคุณเข้าไปดูที่หน้าผลการค้นหา คุณก็จะสามารถวิเคราะห์จุดประสงค์ของผู้ค้นหา Keyword นั้นได้ ว่าเขาต้องการข้อมูลอะไร แล้วดูว่าสิ่งเหล่านี้ มันตรงกับหน้าเว็บที่คุณทำไว้หรือไม่

ดูที่ SERP คุณสามารถระบุจุดประสงค์ในการค้นหาที่อยู่เบื้องหลังข้อความค้นหาและดูว่าตรงกับเนื้อหาของคุณหรือไม่

เจตนาของผู้ใช้งาน (Search Intent) แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ

  • Navigational (หาทางเข้า) – ค้นหาเชื่อเว็บที่เฉพาะเจาะจง/หรือค้นหาชื่อ brand ตรงๆ
  • Informational (หาข้อมูล) – ค้นหาข้อมูลทั่วไป เพื่อค้นหาคำตอบบางอย่าง
  • Transactional (หาที่ซื้อของ) – ผู้ใช้งานหาสิ่งของที่ต้องการจะซื้อ (พร้อมจะซื้อแล้ว ขอให้ได้เจอเว็บเหอะ)
  • Commercial (หาตัวเลือก) – ค้นหาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ ดูรีวิวสินค้าหรือบริการต่างๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ

ดูรูปภาพด้านล่างประกอบนะ เพื่อเพิ่มความเข้าใจ

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

สมมติว่าคุณเปิดร้านอุปกรณ์ออกกำลังกาย คุณต้องการเพิ่มประสิทธิภาพหน้า รองเท้าวิ่ง และเมื่อคุณวิเคราะห์ Keyword คุณจะเจอคำว่า “รองเท้าวิ่ง ยี่ห้ออะไรดี” เป็นคำที่มีปริมาณค้นและความยากของ Keyword ไม่มากเกินไป

อย่างไรก็ตาม หากคุณดูผลการค้นหา คุณจะสังเกตเห็นว่าหน้าเว็บทั้งหมดที่ติดอันดับบนคำว่า “รองเท้าวิ่ง ยี่ห้ออะไรดี” เป็นบทความริวิวหรือและคำแนะนำในการเลือกซื้อ ไม่ใช่หน้าผลิตภัณฑ์โดยตรง กล่าวอีกนัยหนึ่ง Google ถือว่า Keyword นั้น Search intent เป็น Commercial (หาตัวเลือก) ไม่ใช่เป็น Transactional (หาที่ซื้อของ)

การเข้าไปดูแล้วสังเกตเว็บที่ติดอันดับ มีลักษณะของเนื้อหาเป็นรูปแบบใด คุณก็จะได้รับคำตอบเอง ว่าสำหรับ Keyword นี้ คุณจะวางแผนทำเนื้อหาในรูปแบบใด

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญโดย Gael Breton
SEO expert, founder of Authority Hacker

หนึ่งในข้อผิดพลาดที่ใหญ่ที่สุดที่ผู้คนในการวิเคราะห์ Keyword คือ พวกเขาดูเฉพาะตัวเลขที่เห็นในเครื่องมือหา Keyword เท่านั้น

พวกเขาไม่ค่อยคำนึงถึงเจตนาของผู้ใช้งานที่ใช้สำหรับการค้นหาข้อมูล ซึ่งในความเป็นจริง มันสำคัญกว่าปริมาณการค้นหา

ทำไมมันจึงสำคัญ?

อยากแรกเลย Google รู้ว่า จริงๆแล้วพวกเขาต้องการดูเนื้อหาประเภทใดสำหรับแต่ละข้อความค้นหา และหากคุณเข้าไปดูเว็บที่ติดอันดับต้นๆ คุณมักจะเห็นผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันของเนื้อหา

ดังนั้น หากคุณไม่ได้ทำเนื้อหาในรูปแบบที่ Google หรือ USER ต้องการดู โอกาสในการจัดอันดับหน้าเว็บคุณก็จะมีน้อยมาก แม้ว่าคุณจะปรับแต่งทุกอย่างบนเว็บอย่างเต็มทีแล้วก็ตาม

ประการที่สอง แม้ว่าคุณจะได้คนเว็บจาก Google แต่หากสิ่งที่แสดงบนเว็บไม่ได้สอดคล้องกับเจตนาของผู้ค้นหา ความสนใจของเขาก็จะน้อยลง โอกาสในการตัดสินใจซื้อของกับคุณก็น้อยลงไปด้วย

ตัวอย่างเช่น

หากคุณเช็คคำว่า “vacuum cleaners” ผู้คนจำนวนมากกำลังค้นหาคำนี้ (ปริมาณการค้นหาเฉลี่ย 223,000 ต่อเดือน)

แต่ผู้คนมักจะมองหาผลลัพธ์ของแบรนด์ดังๆของเครื่องดูดฝุ่น และหน้าเว็บอีคอมเมิร์ซที่เขารู้จักอยู่แล้ว จึงเป็นเหตุผลที่ Google แสดงผลลัพธ์เป็นหน้าเว็บของ Amazon, Dyson และ Walmart

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

และคุณไม่น่าจะขายอะไรเลย (เพราะมีโอกาสน้อยมากที่คุณจะทำอันดับสู้กับเว็บเหล่านั้นได้)

ในขณะที่คำว่า “best vacuum cleaners” มีปริมาณการค้นหาน้อยกว่ามาก (ปริมาณการค้นหาเฉลี่ยต่อเดือน 13,000ครั้ง) แต่คำถามนี้มีลักษณะ Commercial (หาตัวเลือก) มากกว่า และเมื่อคนค้นหาข้อมูลจนเจอตัวเลือกที่เขาชอบ โอกาสที่เขาจะเข้าไปซื้อสินค้าต่อบนเว็บนั้นมีได้แน่นอน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ Google แสดงคู่มือการซื้อแทนหน้าผลิตภัณฑ์ของ Walmart

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ดังนั้นอย่าเน้นที่ปริมาณการค้นหาเพียงอย่างเดียว ให้ดูเจตนาของ USER ด้วย

Tip:

หากคุณต้องการเจาะลึกวิธีการหาและวิเคราะห์ Keyword แบบละเอียดคุณควรอ่านคู่มือนี้ครับ สูตรหา Keyword เพื่อทำ SEO ?

บทที่ 4

Content optimization

นักการตลาดจำนวนมากมักจะคิดว่า Content (เนื้อหา)และการทำ SEO เป็นสิ่งที่แยกจากกัน แต่สิ่งที่คนส่วนใหญ่คิดนั้นยังไม่ถูกต้องนัก มาดูกันว่าคุณจะได้รับประโยชน์จากการทำคอนเทนต์และทำ SEO ร่วมกันได้อย่างไร?

หัวข้อในบทเรียนนี้

  • การเลือกหัวข้อ Topic
  • การปรับแต่ง Focus Keyword
  • คุณภาพของเนื้อหา
  • ความยาวของเนื้อหา
  • การอัพเดทเนื้อหา

ผู้คนมักจะพูดว่า Content is King

คุณคงได้ยินอยู่บ่อยๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การทำ SEO and และการทำ Content เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน ต้องทำงานร่วมกัน

(กล่าวอีกนัยหนึ่ง: การทำ SEO นั้นไม่มีประโยชน์หากเนื้อหาของคุณเป็นขยะ)

นั่นเป็นเหตุผลที่เราตัดสินใจแบ่งปันเคล็ดลับที่เป็นประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ในการทำ Content ให้ประสบความสำเร็จในคู่มือ SEO นี้

การเลือกหัวข้อ Topic

การทำ Content ที่ดี ต้องเลือกทำในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ และเป็นสิ่งที่ผู้คนต้องการด้วย

ขั้นตอนแรกของการทำ Content คือ การค้นหา Keyword ที่เหมาะสม ซึ่งได้อธิบายไว้ในบทเรียนที่แล้ว สำหรับขั้นตอนที่สอง คือ การเลือกหัวข้อ Topic

หลายคนอาจตั้งชื่อหัวข้อเรื่องเป็น Keyword แยกเป็น 1 หน้า 1 คำ แต่ในความเป็นจริงเราไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้นเสมอไป

ดูรูปภาพประกอบเพื่อเพิ่มความเข้าใจ

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

สมมุติว่าคุณทำ online marketing blog (เขียนบทความให้ความรู้ด้านการตลาด) และคุณอาจจะค้นเจอ Keyword ที่เกี่ยวข้องมากมาย เช่น:

  • how to start a blog
  • how to create a blog
  • how do you start a blog
  • how to start your own blog

คุณอาจสังเกตเห็นว่า ถึงแม้คำจะดูต่างกัน แต่ก็เป็นเรื่องเดียวกัน นั่นคือ creating a blog (การสร้างบล็อก)

เราไม่จำเป็นต้องสร้างบทความแยกกันสำหรับแต่ละ Keyword แต่เราจัดกลุ่มพวกเขาเป็น Topic เดียวกันได้ – how to create a blog – และทำเนื้อหาให้คลอบคลุมทุก Keyword เหล่านั้น เพื่อทำอันดับได้ (ทำคอนเทนต์ 1 หน้า สามารถติดอันดับหลาย keyword ได้)

(หากคุณเข้าไปวิเคราะห์หน้าผลการค้นหา (SERP) คุณจะสังเกตเห็นว่าผลการค้นหาเกือบจะเหมือนกันสำหรับแต่ละ keyword)

เมื่อคุณได้ Topic ที่ต้องการเขียนแล้ว  ในชุดของ keyword ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ให้คุณมาเลือกมา 1คำ ที่แสดงถึง Topic ที่คุณต้องการทำคอนเทนต์ แล้วทำ Keyword นั้นให้เด่นที่สุด (บางทีเราก็เรียกคำนั้นว่า Focus Keyword)

หลักการพื้นฐานที่เป็นกลยุทธ์ในการทำคอนเทนต์สำหรับ SEO นั้นเรียบง่ายมาก:

1 หน้า = 1 topic = 1 focus keyword

ในการเลือก Focus keyword ให้ทำตามคำแนะนำในบทที่แล้วแบบละเอียด คือ ให้พิจารณาปริมาณการค้นหา ความยาก และความเกี่ยวข้อง

เราจะจัดระเบียบของ Topic ได้อย่างไร

วิธีการที่ดีในการวางแผนและจัดระเบียบ Topic ของคุณ คือ การทำสิ่งทีเรียกว่า content hubs

Content hubs คือ หน้าเว็บหลายๆ หน้าที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน กับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งที่เป็น Topic หลักบนเว็บของคุณ

หน้าต่างๆ จะมีลิงค์เชื่อมโยงส่งไปมาหากัน และเนื้อหาต่างๆ ของหน้าเหล่านั้น จะแสดงบนหน้าที่เป็น topic หลักด้วย แต่ก็จะพาผู้เข้าชมเว็บ เข้าไปสู่หน้าที่เป็นข้อมูลเชิงลึก บนหน้าหัวข้อรอง (sub-topics) ที่แยกออกมาต่างหากได้อีก

ดังนั้น จะมีเนื้อหาอยู่ 2 ประเภท หากจะใช้กลยุทธ์นี้:

Pillar content (หน้าหลัก) – Pillar page จะเป็นหน้าที่อธิบายภาพรวมของหัวข้อแบบกว้างๆ มักจะเลือกใช้ keyword ที่เป็นคำสั้นๆ แต่ขอบเขตกว้าง (เช่น การวิ่ง)

Cluster content (หน้าสนับสนุน) – หน้าสนับสนุน จะเป็นหน้าที่เจาะลึกลงรายละเอียดที่เป็นประเด่นย่อยของหน้าหลัก เช่น หากหน้าหลักของคุณ คือ เรื่องการวิ่ง ประเด็นย่อยก็จะได้แก่ ประโยชน์ของการวิ่ง, รองเท้าวิ่ง, ข้อควรระวังในการวิ่ง เป็นต้น

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

กลยุทธ์นี้มีประโยชน์หลายประการ:

  • คุณได้มอบคุณค่าให้กับผู้อ่านของคุณมากขึ้น ด้วยการทำเนื้อหาแบบละเอียด และพวกเขาก็ไม่จำเป็นต้องค้นหาจากเว็บอื่น เพื่อเรียนรู้เรื่องใด เรื่องนึง เพราะทุกเรื่องเราได้เตรียมคำตอบแบบอย่างละเอียดรอไว้แล้ว
  • เป็นการบังคับให้คุณได้วางแผนและจัดโครงสร้างเนื้อหาบนเว็บ ให้คลอบคลุมทำ Keyword สำคัญ ทั้งคำสั้นและคำยาวๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณอย่างเป็นระบบ
  • เป็นการเพิ่มพลัง (authority) ให้กลับหน้ารองต่างๆ จากการเชื่อมโยงลิงค์ส่งไปมาหากัน เพิ่มโอกาสในการทำอันดับได้มากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม: Content Hub: กลยุทธ์ SEO เพิ่มคนเข้าเว็บและเพิ่มพลังของ Link

วางเป้าหมายการทำคอนเทนต์ให้ครอบคลุมทุก Search Intent

หัวข้อ Topic ที่คุณจะเลือกมาทำคอนเทนต์ โปรจำไว้เสมอว่า ควรสร้าง Topic ให้ครอบคลุม Search Intent

ทุกประเภท ไม่จะเป็น Navigational (หาทางเข้า), Informational (หาข้อมูล), Commercial (หาตัวเลือก) และ Transactional (หาที่ซื้อของ) หากคุณยังไม่เข้าเรื่อง Search intent ให้กลับไปดูบทเรียนที่ผ่านมาอีกรอบ

คุณไม่จำเป็นต้องทำคอนเทนต์ “ขายของ” ในทุกบทความ แต่ให้เน้นทำให้มันหลากหลายตามความสนใจของผู้ใช้งาน และคุณก็จะสามารถกำหนดเส้นทางของผู้ซื้อได้ ว่าจะพาคนเข้าเว็บเราไปซื้อของที่หน้าไหน (the buyer’s journey)

ประโยชน์อื่นๆ จากการทำคอนเทนต์

  • ช่วยสร้างให้คุณเป็นผู้นำในวงการธุรกิจของคุณ
  • ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ และสร้าง Brand Awareness
  • ช่วยสร้างผู้เข้าชมเว็บรายใหม่ (และเขาก็จะกลายเป็นลูกค้าของคุณในภายหลัง)

การปรับแต่ง Focus Keyword

เมื่อคุณมี Focus Keyword ที่ต้องการแล้ว คุณต้องนำคำนั้นไปปรับแต่งลงหน้าเว็บในส่วนต่างๆ เพื่อให้สอดรับกับหัวข้อ Topic

สิ่งนี้คือลิสต์ตำแหน่งที่เป็นไปได้ ที่คุณควรนำ Focus Keyword ไปใส่

(บางอย่างผมจำเป็นต้องเขียนเป็นคำทับศัพท์ เพราะมันสื่อความหมายได้เข้าใจตรงประเด็นมากกว่าคำไทย)

  • Title tag and meta description
  • URL
  • Heading and subheadings
  • Body text
  • Image alt text
  • Anchor text of the internal links

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

Title tag and meta description

ควรมีคำ Fucus keyword ปรากฏอยู่ใน Title tag และ Meta description จุดนี้สำคัญมาก ไม่ใส่ไม่ได้ และ Focus keyword ที่ title tag ควรวางตำแหน่งไว้ต้นๆ ของประโยคเสมอ (ถ้าเป็นไปได้ ให้วางคำแรกได้เลย)

นี่คือตัวอย่างการวาง focus keyword คำว่า “SEO Strategy” บน title tag และใน Meta description

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

เดี๋ยวในบทเรียนถัดไป จะมีการอธิบายแบบละเอียด สำหรับวิธีปรับแต่ง title tag และ meta description optimization ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดครับ

URL

URL บนเว็บของคุณในแต่ละหน้า ควรเขียนให้เข้าใจง่าย และสั้นที่สุด และมี focus keyword ประกอบอยู่ด้วย จุดนี้ไม่ใช่ปัจจัย SEO ที่สำคัญ แต่ก็พอช่วยได้บ้าง

ปล. แต่สำหรับเว็บของคุณที่ทำ Keyword ภาษาไทย ผมแนะนำให้คุณเขียน URL เป็นภาษาอังกฤษไปเลย แม้ว่ามันจะได้ตรงกับ Focus keyword แบบเปะๆ ก็ตาม

Headings and body text (หัวข้อเรื่องและเนื้อหา)

ตามหลักการ หัวข้อเรื่องบนหน้าเว็บของคุณ ควรใช้หัวข้อประเภท H1 และต้องมี Focus Keyword ปรากฏอยู่ด้วย และบนหัวข้อย่อย (subheadings) ก็ควรมีบางหัวข้อ ก็ควรใส่ Focus Keyword ลงไปด้วย แต่ต้องทำให้ดูเหมาะสม อย่าตั้งใจมากเกินไป

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

อย่าถามว่า 1 หน้าเว็บต้องใส่ Focus Keyword ลงไปกี่ครั้ง จุดนี้ไม่มีคำตอบ ว่าต้องใส่กี่ครั้งจึงจะเหมาะสม หัวใจของ SEO คือ ความเป็นธรรมชาติของเนื้อหา ดังนั้น เขียนเนื้อหาของคุณลงไปได้เลย มันจะปรากฏ Focus keyword กี่ครั้ง ก็ไม่ไช่ปัญหา

อ่านเพิ่มเติมเรื่องความถี่ของ Keyword ที่นี่: Keyword density

การตั้งใจใส่คำ Focus keyword มากเกินไป โดยมากมักจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีครับ

Image metadata (ข้อมูลหลังรูป)

คุณสามารถใส่ Focus keyword หลังรูปได้หลายตำแหน่ง

  • ใส่ที่ชื่อรูป (ชื่อรูปบนคอม)
  • ใส่ที่ title (ชื่อรูปบนเว็บ)
  • คำ Caption
  • คำ Alt text (คำหลังรูป)

Alt text คือตำแหน่งที่สำคัญที่สุดในการทำ SEO บนรูปภาพ – Alt text คือ คำอธิบายรูปภาพ ที่ Google ใช้ทำความเข้าใจว่ารูปภาพนั้นเกี่ยวกับอะไร โดยคำอธิบายนี้จะไม่ถูกแสดงบนหน้าเว็บ

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

แต่คุณไม่จำเป็นต้องใส่ Focus keyword ไว้ครบทุกตำแหน่งก็ได้ โฟกัสที่ช่อง Alt เป็นหลักครับ และไม่จำเป็นต้องใส่ alt ลงในรูปภาพทุกใบด้วย อะไรที่มากเกินไปมักเป็นสแปมเสมอ

อ่านเพิ่มเติม: ใส่ Alt text อย่างไรให้ถูกหลัก SEO (ดูหัวข้อที่ 10 ในบทความนี้)

คุณควรนำคำ Focus keyword มาทำเป็นข้อความใส่ลิงก์ (Anchor text) แล้วให้ปรากฏในบทความต่างๆ เพื่อทำลิงก์เชื่อมโยงภายในเว็บของคุณเอง

Anchor text คือ ข้อความที่เราใส่ลิงก์ หากมี Focus Keyword อยู่ในนั้นด้วย ก็จะเป็นการทำให้ Google เข้าใจว่าหน้าเว็บที่คุณทำลิงก์ไปหา มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง

ตัวอย่างการทำ Anchor text: สอน SEO ?

Note:

เช่นเดี่ยวกับการทำลิงก์ภายนอก (external links) คำ Keyword ที่เราใส่ลิงก์ กับหน้าที่ออกไปต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน แต่ทั้งนี้ เราไม่สามารถควบคุม Anchor text จากเว็บอื่นๆ ที่เขาใส่ลิงก์ ส่งกลับมาให้เราได้

อันที่จริง เมื่อเวลาผ่านไปเว็บของคุณจะได้รับ anchor text จาก Backlink จำนวนมาก ซึ่งบางทีมันก็เป็น spam คือเป็นคำที่เราไม่ได้ต้องการให้ส่งกลับมา แบบนี้ก็ไม่ดี แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบด้าน SEO มากนัก (ในมุมของ Google นั้นการโดนแกล้งทำ spam link ใส่ นั้นไม่ใช่ไม่ใช่ปัญหาใหญ่)

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำลิงก์ในบทเรียนถัดไป

จำไว้เสมอ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการใส่ Focus keyword ลงบนหน้าเว็บ: อย่าตั้งใจทำมากเกินไป

หาก Focus keyword ของคุณ คือ “best content marketing strategy for small businesses” มันคงดูแปลกมาก ถ้าเราใส่คำนี้ลงไปในทุกส่วนบนเนื้อหา

ให้เขียนเนื้อหาให้เป็นธรรมชาติอ่านแล้วรู้เรื่องเป็นหลัก

LSI keywords คืออะไร?

ผู้เชี่ยวชาญ SEO มักจะแนะนำให้เขียนเนื้อหาให้เป็นธรรมชาติ ด้วยการใส่ LSI keywords

ความหมายก็คือ คุณควรหาคำที่มีความหมาย คล้ายคลึง กับ Focus Keyword เช่น คำทับศัพท์, คำที่มีความหมายเดียวกัน แต่เขียนแตกต่างกัน, คำที่คนชอบสะกดผิด แล้วเขียนคำเหล่านั้น ให้กระจายให้ทั่วไปเนื้อหา เพื่อให้ Google ได้เข้าใจบริบทของเนื้อหาทั้งหมดว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร

แต่ก็อีกแหละ อย่าไปพยายามหาคำที่เกี่ยวข้องมาใส่บนเนื้อหา แต่จงเขียนเนื้อหาให้มันเกี่ยวข้องกันเองแบบธรรมชาติ

แกะรอยคำที่เกี่ยวข้อง จากเว็บคู่แข่งของคุณ แล้วสังเกตว่า ในหน้านั้นมี keyword ใดที่ติดอันดับบ้าง แล้วเราก็หยิบคำเหล่านั้น ไปเขียนลงบนเว็บให้เป็นธรรมชาติ

คุณภาพของเนื้อหา

ทุกวันนี้ การทำอันดับเกือบทุก Keyword ที่สำคัญนั้น ยากกว่าที่เคยเป็นมามาก แต่ละ Keyword มีเนื้อหาที่แทบจะถึงจุดอิ่มตัวแล้ว

แต่มีกลยุทธ์หนึ่งที่ใช้งานได้อยู่เสมอ นั่นคือ การสร้างเนื้อหาที่ดีกว่าคู่แข่งของคุณถึง 10 เท่า หรือที่เรียกว่ากลยุทธ์ “10x content”

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

หลักการทำมีดังต่อไปนี้:

ทำเนื้อหาให้มีคุณภาพดีกว่า

  • ดูเนื้อหาของเว็บคู่แข่งที่ติดอันดับหน้าแรก 1 หน้าเขามีประเด่นอะไรบ้าง เราทำให้ครอบคลุมให้ได้มากกว่าเขา
  • เขียนข้อมูลที่เป็นล่าสุด และใช้ข้อความที่สดใหม่
  • สร้างความเป็นผู้เชี่ยวชาญให้มากขึ้น เขียนข้อมูลให้ลึกกว่า พร้อมทั้งอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
  • มีความเป็นต้นฉบับ ห้ามคัดลอก เขียนด้วยภาษาของเราเองให้เข้าใจง่ายๆ
  • ใส่ลิงก์เชื่อมโยงไปยังข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

การมีลิงค์ส่งออก (External link) ส่งผลดีต่อ SEO หรือไม่?

หลายๆคน ไม่ชอบทำลิงค์ส่งออกไปยังเว็บคนอื่นๆ เพราะกลัวว่าจะเป็นการทำให้ผู้เข้าชมเว็บออกไปเว็บคนอื่นๆ ซึ่งจุดนี้เป็นความเชื่อถือผิด

เนื้อหาที่ดีนั้น ต้องมีการอ้างอิงบางอย่าง ไปยังหน้าเว็บที่เกี่ยวข้องที่มีข้อมูลเรื่องนั้นอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ดังนั้นการทำ External link ไม่ได้มีผลเสีย แต่เป็นผลดีในการทำ SEO

การเชื่อมโยงเนื้อหาไปยังเนื้อหาที่เกี่ยวข้องบนเว็บอื่นๆ จะสามารถช่วย Google ให้เข้าใจบริบทหน้าเว็บไซต์คุณได้ดีขึ้น และสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับคนที่เข้ามาอ่านข้อมูลบนเว็บของเราครับ

การดีไซน์ที่สวยกว่า

  • ออกแบบ layout เนื้อหาให้มีความเฉพาะสื่อถึง Branding ของธุรกิจคุณ โทนสี ตัวอักษร ต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้มันน่าจดจำ
  • เพิ่มสื่อ (media) ประเภทต่างๆ เข้าไปด้วย เช่น รูปภาพสวยๆ, ภาพ infographics, ตาราง, วีดีโอ หรือภาพเคลื่อนไหว (ภาพ GIF)
  • เลือกใช้ภาพประกอบที่คุณถ่ายเอง หรือตัดเอง ไม่ควรใช้ภาพที่ซื้อจาก stock photos

การใช้งานที่ดีกว่า (Better UX)

  • เช็คให้ดีว่าตัวอักษรมีขนาดและรูปแบบที่อ่านง่าย และเขียนอย่างถูกต้อง ไม่สะกดคำผิด
  • เขียนแต่ละย่อหน้าให้สั้น แบ่งเนื้อหาให้ชัดเจน
  • ควรมีเครื่องมือนำทาง ให้ผู้ใช้งานค้นเจอสิ่งที่เขาอยากรู้ไว้ๆ เช่น การทำสารบัญ
  • ควรมีการเน้นถ้อยคำ เช่น ทำตัวหน้า หรือ กล่องคำคม หรือการทำหัวข้อย่อย (bulleted lists)
  • เพิ่มประสิทธิภาพด้านเทคนิค (เดี๋ยวจะมีพูดถึงในบทถัดไป)

ความยาวของเนื้อหา

หลายคนคิดว่าความยาวของเนื้อหาเป็นปัจจัยหนึ่งในการจัดอันดับ โดย Backlinko ทำรวบรวมสถิติเอาไว้หน้าเว็บที่มีคำศัพท์ประมาณ 2,000 คำอยู่ในอันดับที่ดีกว่าใน Google

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

แม้ว่าเนื้อหาที่มีขนายาวจะทำอันดับได้ดีกว่าบน Google แต่ไม่ใช้เพราะจำนวนคำที่ทำให้เว็บเรานั้นติดอันดับ แต่ในความจริงก็คือ เนื้อหาขนาดยาว มักจะครอบคลุมประเด่นต่างๆ ได้มากขึ้น จุดนี้จึงสำคัญกว่าการมีจำนวนคำจำนวนมากเพียงอย่างเดียว

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญโดย Julia McCoy
Content marketer, founder of Express Writers

ปัจจุบันนี้ ฉันไม่เคยเขียนบทความที่สั้นกว่า 2000 คำเลย ถ้าเป้าหมายคือการทำให้ Focus keyword ติดอันดับ

เพื่อพิสูจน์สิ่งนี้ด้วยตัวเอง ฉันจึงเปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ล่าสุดที่ชื่อว่า “Content Hacker” เป็นการทดลอง “ความยาวเนื้อหา” ของฉัน ด้วยการเขียน 11 บทความซึ่งแต่ละบทความเขียนยาว 5000 คำ เพื่อทดสอบว่าจะสามารถติดอันดับ keyword ได้อย่างน้อยสัก 2-3 โหล ได้มั้ย

ในเวลา 3 เดือน เว็บไซต์ของมีคำ Keyword ที่ติดอันดับ 2500 คำ (organic keyword) จากการเขียนบทความเพียง 11 บทความ ซึ่งมันบ้ามาก!

ประเด็นก็คือ ในฐานะนักเขียน คุณไม่สามารถเขียนแบบขอไปทีได้ เพราะคุณต้องเขียนเนื้อหาระดับ 2000-5000 คำ ให้อ่านรู้เรื่อง แบ่งประเด็นให้น่าสนใจด้วย คุณต้องแสดงความ เชี่ยวชาญ และน่าเชื่อถือ ให้ปรากฎออกมา ให้ Google เข้ามาคัดเลือกบทความของคุณ

ความยาวของเนื้อหา และการเขียนมีประเด็นที่ครอบคลุม คือ สิ่งบ่งชี้ว่าคุณคือ “ผู้เชียวชาญ” ขอพูดย้ำอีกครั้งว่าเรื่อง SEO นั้นไม่มีทางลัด คุณต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่คุณกำลังเขียน และคุณต้องพิสูจน์มันออกมาเมื่อคุณเขียนเนื้อหา

แล้วเราจะเขียนเนื้อหาให้ยาวๆ อย่างไรดี?

  • ดูค่าเฉลี่ยจำนวนคำของเว็บที่ติดอันดับหน้าแรก ใน Keyword ที่คุณต้องการทำอันดับ ถ้าค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ เขียนกันประมาณ 2000 คำ เว็บไซต์คุณมาทีหลัง ย่อมไม่สามารถติดอันดับ keyword คำนั้น ด้วยการเขียนเนื้อหา 800 คำ
  • เขียนให้ครอบคลุมทุกประเด็นที่คนอ่านจำเป็นต้องรู้ของเรื่องๆ นั้น
  • พึงระลึกไว้เสมอ จำนวนคำเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถช่วยให้เว็บคุณติดอันดับได้ คุณต้องทำบทความขนาดยาวของคุณ ให้มีคุณภาพด้วย

Note:

แต่การทำ SEO นั้นซับซ้อน ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ปัจจัยบางอย่างที่สัมพันธ์กัน อาจไม่ได้ส่งผลต่อการทำอันดับเสมอไป เช่น โพสที่ยาวกว่า จะชนะ ซึ่งสิ่งนี้ก็ไม่ใช่ เสมอไป

การอัปเดทเนื้อหา

คอนเทนต์ที่คุณทำจะค่อยๆ หมดค่าลงเมื่อเวลาผ่านไป สิ่งนี้คือเรื่องจริง

ไม่ว่าเนื้อหาของคุณจะประสบความสำเร็จเพียงใด ก็มีโอกาสสูงที่การเข้าชมจะค่อยๆ ลดลง เมื่อเวลาผ่านไป เว้นแต่คุณจะรักษาความสดใหม่และอัปเดตอยู่เสมอ

Andrew Tate สังเกตเห็นว่า blog post ที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากมีเส้นโค้งของวงจรการรับรู้ข้อมูลเหมือน และอธิบายปรากฏการณ์นี้เป็น 5 ขั้นตอนของวงจรชีวิตเนื้อหา ลองเข้าไปอ่านเพิ่มเติมดูนะ 5 phases of the content lifecycle

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ทำยังไงไม่ให้โพสของคุณถูกลืมเมื่อเวลาผ่านไป?

คำตอบก็ คือ ค่อยอัปเดทเนื้อหาอยู่เป็นประจำ

การอัปเดตเนื้อหาเป็นประจำเป็นเทคนิค SEO ที่สำคัญ (แต่มักถูกมองข้าม)

สาเหตุหนึ่งที่การอัปเดตเนื้อหาอาจส่งผลดีต่อการจัดอันดับเว็บของคุณ ก็คือ Google สังเกตเห็นความถี่ของการเปลี่ยนแปลงของเนื้อหา และมีแนวโน้มที่เขาจะชอบหน้าที่มีการอัปเดตบ่อยครั้งสำหรับบาง Keyword

หมายความว่าไม่ใช่ทุก Topic หรือทุก Keyword ต้องการความสดใหม่ แต่หลายๆ Keyword นั้นต้องการ

แม้บางเรื่อง คุณอาจจะคิดว่าข้อมูลที่เราเคยทำไว้ มันก็ยังใช้ได้อยู่นะ แต่ยังไงเสียการอัปเดทเนื้อหาบ้าง ก็เป็นสิ่งที่ควรทำอยู่ดี

Note:

มีเครื่องมือฟรีที่มีประโยชน์จาก Animalz ที่สามารถเชื่อมต่อกับบัญชี Google Analytics ของคุณและระบุหน้าเว็บที่อาจต้องอัปเดตตามจำนวน Traffic ที่ลดลง

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

การอัพเดทเนื้อหา VS การเผยแพร่ซ้ำ (Updating vs. republishing)

การอัพเดทเนื้อหาเล็กๆ น้อยๆ คุณไม่จำเป็นต้องเอามาเผยแพร่ซ้ำ หากหน้าเนื้อหาคุณมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเยอะ แบบนี้คุณควรนำบทความนั้นมาเผยแพร่ซ้ำ เพื่อให้บทความนั้นแสดงอยู่ด้านบน Blog ล่าสุดของคุณ (โดยทั่วไป ระบบ Blog ของเว็บไซต์ บทความใหม่จะถูกจัดเรียงไว้ด้านบนเสมอ) เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บของคุณ พบเจอบทความชิ้นใหม่นี้

หลักเกณฑ์พิจารณาว่าบทความแบบไหน ถึงจะควรนำมาเผยแพร่ซ้ำ

  • มีการปรับปรุงเนื้อหาเกิน 50%
  • มีการเพิ่มเนื้อหาใหม่เข้าไปเป็นจำนวนมาก
  • มีการรวมเนื้อหา 2 เรื่องเข้าไว้ด้วยกัน

การเผยแพร่ซ้ำ ยังเป็นโอกาสดีในการโปรโมทบทความของคุณอีกครั้งบน Social media หรือเป็นการเพิ่มโอกาสในการทำ Link Building รอบใหม่เกิดขึ้นมา

แนะนำให้อ่าน: อย่าเอาแต่เขียนให้ครบ 1000 บทความ แต่ให้มุ่งทำ 100 บทความที่ดีที่สุดแทน

บทที่ 5

On-page & technical SEO

ในบทที่แล้ว เราได้พูดถึงการปรับ on-page SEO ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา แต่ในบทเรียนนี้ เราจะมาพูดถึงเรื่องทางเทคนิคที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น

หัวข้อในบทเรียนนี้

  • Internal linking
  • Sitemaps
  • HTTPS
  • Mobile-friendliness
  • Page speed
  • Image alt texts
  • Title tags and meta descriptions

Internal linking

การทำลิงค์เชื่อมโยงภายใน (Internal linking) เป็นหลักการพื้นฐานของ SEO ที่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม

แน่นอน การทำ Backlink (ลิงก์ส่งกลับจากภายนอก) เป็นสิ่งสำคัญในการทำ SEO (จะมีพูดถึงเรื่องนี้ในบทถัดไป) แต่การสร้างลิงก์เชื่อมโยงภายในที่เหมาะสม ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

เหตุผลมีดังนี้

  • Internal Link ช่วยให้เว็บของคุณถูกรวบรวมข้อมูลได้ง่ายขึ้น – หากหน้าเว็บของคุณมีลิงก์ภายในเชื่อมโยงกันอย่างดี โปรแกรมรวบรวมข้อมูลของ Google จะค้นหาและจัดทำดัชนีหน้าเว็บของคุณทั้งหมดได้ง่ายขึ้น
  • Internal Link ช่วยปรับปรุงเรื่อง UX และเพิ่มการมีส่วนรวมของผู้ใช้งานได้ – หากคุณวางลิงก์เพื่อนำทางอย่างชัดเจน ผู้เข้าชมเว็บของคุณ จะพบสิ่งที่พวกเขาต้องการหรืออยากรู้ง่ายขึ้น ซึ่งเขาจะพบเจอสิ่งเหล่านั้นภายลิงก์ที่เราใส่เอาไว้ พวกเขาจะใช้เวลาอยู่บนเว็บไซต์ของคุณมากขึ้น แทนที่เขาจะออกจากเว็บเพื่อค้นหาคำตอบจากที่อื่น
  • Internal Link ช่วยปรับปรุงการทำอันดับเว็บของคุณได้ – แน่นอนการทำลิงก์ภายในช่วยให้เว็บของคุณมีคุณภาพเพิ่มขึ้น หากเว็บของคุณมีการวางลิงก์อย่างเหมาะสม Google จะเข้าใจความเชื่อมโยงว่าสิ่งไหนสำคัญ ส่งผลให้หน้าที่ลิงก์เชื่อมโยงไปหา ทำอันดับของได้ดีขึ้นตามไปด้วย

กฎเกณฑ์สำคัญของการทำ Internal Link ที่ดี คือ ทุกหน้าควรอยู่ห่างจากหน้าแรกของคุณไม่เกิน 3 คลิก

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ข้อได้เปรียบที่สุดของการทำ internal linking คือ คุณเป็นผู้กำหนดได้เองว่าแต่ละหน้าเราจะวางลิงก์อะไร ผ่านข้อความว่าอะไร ซึ่งแตกต่างจาก Backlink ที่บางครั้งเรากำหนดเองไม่ได้

การเชื่อมโยงลิงก์ภายในที่ดี ต้องทำอย่างไร?

วางองค์ประกอบการนำทางของลิงค์ให้ชัดเจน

กุญแจสำคัญของการทำลิงก์เชื่อมโยงที่ดี คือ ต้องมีโครสร้างการนำทางที่เหมาะสม

ผู้ใช้งานมักจะมีสิ่งที่เขาคุ้นเคย เมื่อเข้าเว็บไซต์ใดๆ ก็ตาม คุณต้องทำกระบวนการนี้ให้ง่ายและชัดเจนที่สุดสำหรับพวกเขา โครงสร้างการนำทางบนเว็บจะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ

  • Menu – เมนูนำทางที่เป็นตัวหลักปรากฎชัดเจนอยู่บนหัวเว็บ
  • Breadcrumbs – เมนูนำทางย่อยสำหรับหน้าที่โครงสร้างซ้อนกัน
  • Categories – หมวดหมู่ของ Content ช่วยให้ผู้ใช้งานค้นเจอสิ่งที่เขาอยากรู้ได้ง่ายขึ้น

แนะนำให้อ่าน: Website Navigation: 7 Best Practices

ลิงก์ที่อยู่ภายในเนื้อหา

ลิงก์ที่เป็นข้อความที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหา รวมถึงลิงก์ที่เป็นคำกระตุ้น เช่น “อ่านเพิ่มเติม”  ช่วยให้คนที่เข้าเว็บสามารถเชื่อมโยงไปยังหน้าอื่นๆ ในเรื่องที่เขาอ่านสนใจได้

มีหลักในการทำลิงก์อยู่ 2 อย่าง:

  • ทุกครั้งที่คุณกำลังจะทำบทความใหม่ ให้นึกถึงเนื้อหาหน้าอื่นๆ บนเว็บของคุณ ที่คิดว่ามีประโยชน์เพิ่มเติม และเกี่ยวข้องกับเนื้อเนื้อหาที่คุณกำลังทำ
  • ทุกเนื้อหา หรือบทความใหม่ๆ ควรมีลิงก์เชื่อมโยงภายในที่เกี่ยวข้องกัน 2-3 ลิงค์ เป็นอย่างน้อยเสมอ

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญโดย Glen Allsopp
SEO specialist, founder of Detailed

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ผมได้ตรวจสอบเว็บไซต์มากกว่า 1,000 แห่ง “ข้อผิดพลาด” ที่พบบ่อยที่สุดอย่างหนึ่งที่ผมเห็น คือ ผู้เข้าชมเว็บไม่สามารถคลิกที่ หัวข้อเรื่องได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึงเว็บ blog

ด้วยเหตุนี้ เว็บต่างๆ เรานั้นก็จะเพิ่มปุ่มกระตุ้นการคลิก ด้วยการเขียนคำว่า “คลิกที่นี่” “อ่านเพิ่มเติม” ซึ่งทั้งเว็บก็จะมีลิงก์รูปแบบ “อ่านเพิ่มเติม” อย่างเดียว

แต่การทำแบบนี้ ยังไม่ได้ช่วยให้ผู้เข้าชมเว็บ เกิดประสบการณ์ใช้งานที่ดีที่สุด (user experience) เพราะผู้คนมักจะคลิกที่หรือภาพ หรือหัวข้อพาดหัว เพื่อเข้าไปอ่านบางสิ่งด้านใน – และคุณคงไม่ต้องการให้ลิงก์ภายในที่ส่งไปยังบทความ มีเพียงแค่คำว่า “อ่านเพิ่มเติม”

ดังนั้น คำแนะนำก็คือ คุณควรทำหัวข้อบทความของคุณ หรือรูปภาพหน้าปก สามารถคลิกเป็นลิงก์เพื่อไปต่อหน้าอื่นๆ ได้ด้วย

Sitemaps

แผนผังเว็บไซต์ (Sitemaps) คือ รายการโครงสร้างหน้าเว็บทั้งหมดของคุณ ที่ช่วยให้ Search Engines เข้ามารวบรวมข้อมูลได้ง่ายขึ้น

เว็บไซต์ประเภทใดบ้าง ที่จะได้ประโยชน์จากการทำ Sitemap (ตามคำอธิบายจาก Google)

  • เว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่มีเนื้อหาหลายร้อย หรือหลายพันหน้า
  • เว็บไซต์ใหม่ๆ ที่มี Backlink เล็กน้อย หรือยังไม่มีเลย
  • เว็บไซต์ที่มีลิงก์ภายในไม่มาก (เช่น มีหน้าเว็บที่ไม่มีลิงก์ภายในปรากฎอยู่หลายหน้า)

คุณต้องทำ Sitemap เสมอหรือไม่?

ไม่จำเป็นถ้าคุณเป็นเว็บเล็กๆ และมีหน้าเว็บเพียงไม่กี่หน้า

แต่ในทางกลับกัน การทำ Sitemap ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมูลจาก Sitemap ยังมีข้อมูลอื่นๆ ที่ช่วยให้ Google bot เข้าใจสิ่งต่างๆ บนเว็บคุณได้ง่ายขึ้น เช่น วันที่อัปเดทล่าสุด Bot ก็จะทำความเข้าใจว่าหน้านั้นจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลใหม่หรือไม่

อ่านเพิ่มเติมสำหรับวิธีการสร้าแผนผังเว็บไซต์: การสร้าง Sitemap

หากคุณไม่แน่ใจว่าจะสร้างแผนผังเว็บไซต์อย่างไรและหากคุณสร้างเว็บด้วย WordPress (ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะเป็นเช่นนั้น) เราแนะนำให้สร้างแผนผังเว็บไซต์ด้วยปลั๊กอิน Yoast SEO

มันจะมีลักษณะดังนี้

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

เมื่อเราสร้าง Sitemap เรียบร้อยแล้ว คุณต้องไปแจ้งให้ Google รับรู้ ด้วยการส่ง Sitemap ตัวนั้นไปยัง Google Search Console

ไปที่ Google Search Console > คลิกหัวข้อSitemaps และวาง sitemap ที่ช่อง  Add a new sitemap:

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

HTTPS

เรื่องนี้ไม่บอกไม่ได้ เพราะทุกเว็บต้องทำ SSL certificate ซึ่งปัจจุบันคุณสามารถทำได้ฟรี ผ่าน Let’s encrypt

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

การเข้าชมเว็บไซต์อย่างมีความปลอดภัย เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำเว็บในปัจจุบัน

ไม่เพียงเฉพาะเหตุผลด้านความปลอดภัย การใช้งานโปรโตคอล HTTPS เป็นปัจจัยสำคัญในการทำ SEO ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา เว็บไซต์คุณจะทำอันดับได้ไม่ดี หากเว็บของคุณไม่ได้ทำ HTTPS

อ่านเพิ่มเติม ขั้นตอนการทำ HTTPS

Mobile-friendliness

ตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา Google จะจัดทำดัชนีเว็บ บนอุปกรณ์มือถือเป็นอันดับแรก หมายความว่า Google เว็บส่วนใหญ่ เมื่อถูกจัดทำดัชนี จะเป็นการจัดทำดัชนีบนเวอร์ชั่นมือมือ แทนเวอร์ชั่นบน Desktop

การทำเว็บให้ mobile-friendly เป็นเงื่อนไขสำคัญของ SEO มีหลักการดังนี้:

  • เปิดเข้าชมเว็บได้ในทุกอุปกรณ์ (responsive layout)
  • มีเมนูการนำทางต่างๆ ที่ใช้งานง่ายบนมือถือ
  • รูปภาพต้องมีขนาดไฟล์ที่เล็ก
  • ไม่มี pop-up รบกวนการใช้งาน
  • ตัวหนังสือต้องอ่านง่าย

หากคุณไม่แน่ใจว่าเว็บไซต์ของคุณเหมาะสมกับอุปกรณ์มือถือหรือไม่ คุณสามารถเข้าไปทดสอบบนเครื่องมือของ Google โดยตรงที่นี่ Mobile-friendly Test หากมีทดสอบแล้วไม่ผ่าน คุณก็จะสามารถตรวจสอบจุดที่มีปัญหาได้

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ซึ่งเป็นเรื่องโชคดี ที่ในปัจจุบันนี้นักพัฒนาโปรแกรมต่างๆ คำนึงถึงการใช้งานที่เป็นมิตรบนอุปรกรณ์มือถือ ดังนั้น หากคุณสร้างเว็บด้วย WordPress เว็บส่วนใหญ่ก็จะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้

แต่ปัจจัย SEO บนมือถือที่คุณควรใส่ใจเป็นพิเศษ คือความเร็วในการโหลดหน้าเว็บบนอุปกรณ์มือถือ

Page speed

ความเร็วของการเปิดหน้าเว็บ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของ SEO และยังเป็นปัจจัยในด้านของประสบการณ์ผู้ใช้งานเว็บเราด้วย (UX)

ความเร็วของหน้าเว็บเป็นปัยจัยในการจัดอันดับ ซึ่งได้รับการยืนยันจาก Google แล้ว อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม a confirmed ranking factor.

เครื่องมือที่เอาไว้ทดสอบความเร็วการเปิดหน้าเว็บมีอยู่มากมาก แต่เครื่องที่เราแนะนำมีดังนี้

  • Google PageSpeed Insights
  • GTMetrix
  • Pingdom

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

หลักการพื้นฐานสำหรับการทำเว็บให้โหลดเร็วมีดังนี้

1. เลือกโฮสติ้งที่ดี

เว็บโฮสติ้งที่คุณเลือกใช้ เป็นสิ่งแรกที่ส่งผลต่อความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ

หากโฮสติ้งที่คุณเลือกใช้มีเวลาการตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์ที่ไม่ดี คุณไม่สามารถที่จะปรับแต่งอะไรเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการปรับความเร็วได้เลย

อย่าคาดหวังประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมจากโฮสติ้งราคาถูกเกินไป

Note:

สำหรับผู้เริ่มต้น คุณจำเป็นต้องลงทุนกับโฮส แต่ก็ยังไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นที่ราคาแพงเกินไป ให้เลือกใช้แชร์โฮสที่ราคาไม่สูงมาก แต่มีคุณภาพดีไปก่อน แล้วอนาคตคุณค่อยอัพเกรดให้มันดีขึ้นได้

หากยังไม่รู้จะเลือกใช้โฮสติ้งเจ้าไหนดี อ่านบทความนี้ครับ Hosting ที่ไหนดี แนะนำหลักการเลือกโฮสติ้งสำหรับ WordPress

และตอนที่คุณเลือกใช้บริการโฮสติ้ง ควรเลือกตำแหน่งที่ตั้งของ Server ให้อยู่ใกล้กับกลุ่มเป้าหมายของคุณให้มากที่สุด เช่น หากคุณกำหนดเป้าหมายลูกค้าว่าอยู่ประเทศไทย อย่าเลือก Server ที่ตั้งอยู่อเมริกา เป็นต้น

2. ทำ Page Caching

Cache คือ ส่วนของข้อมูลที่ถูกเก็บซ้ำไว้ในคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการใช้งานครั้งต่อไปโดยไม่ต้องเรียกข้อมูลจากแหล่งกำเนิดอีกครั้ง เมื่อแคชถูกสร้างขึ้น การเรียกใช้ข้อมูลในครั้งต่อไปจะถูกอ่านข้อมูลจากแคช แทนที่จะอ่านข้อมูลจากต้นฉบับเพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย รวมถึงการเพิ่มความเร็วในการเรียกใช้งาน

การทำ Cache มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท

  • Browser caching – การทำแคชในฝั่งผู้ใช้ (ทำบน Browser) หากคุณใช้ WordPress คุณสามารถเลือกใช้ปลั๊กอินตัวใดตัวหนึ่งในการทำได้ เช่น Wp-Rocket หรือ W3 Total Cache (เลือกใช้เพียงตัวเดียวเสมอ!)
  • Server-side caching – การทำแคชบนฝั่ง Server โดยมากจะเป็นบริการที่มีอยู่แล้วบนโฮสติ้งที่คุณเลือกใช้

3. ใช้ script ที่เป็น third party ให้น้อยที่สุด

สิ่งที่ทำให้เว็บโหลดช้า คือ มีการเรียก Script จากเว็บอื่นบนเว็บของเรา อาทิเช่น การนำ Social media ทั้งหลาย หรือ คลิป YouTube มาวางบนเว็บ บางครั้งก็จะมี script ติดมากจากสิ่งเหล่านี้

  • WordPress plugins
  • Analytics and remarketing scripts
  • Commenting services (e.g. Disqus)
  • Chat widgets

แต่ไม่ได้หมายความว่า คุณไม่ควรใช้เลย บางอย่างก็จำเป็นต้องใช้ แต่ให้ยึดแนวทางนี้

  • ใช้เฉพาะสิ่งที่จำเป็นจริงๆ – อย่าใช้ปลั๊กอินไปกับสิ่งเล็กๆ น้อยที่ไม่สำคัญ จงจำไว้ว่า ยิ่งใส่ปลั๊กอินมากเท่าไหร่ เว็บไซต์ของคุณก็จะยิ่งช้าลงเท่านั้น
  • ถ้าทำได้ ให้ตั้งค่า Delay (หน่วงเวลาการทำงาน) ของพวก Script ต่างๆ – ให้หน่วงเวลาไว้สัก 2-3 วินาที หรือเมื่อผู้ใช้งานเลื่อนหน้าลงมา เราค่อยให้ Script เหล่านั้นทำงาน เช่น ใช้กับพวกฟังชั่นการแชท หรือคอมเมนต์ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่ a great guide on analyzing third-party performance by Kinsta.

4. ปรับแต่งขนาดไฟล์รูปภาพ

ไฟล์รูปภาพขนาดใหญ่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ที่ทำให้เว็บโหลดช้า

แนวทางการปรับแต่งรูปภาพ ที่คุณควรทำตาม เพื่อให้แน่ใจว่ารูปภาพของคุณจะไม่ใหญ่เกินไป

ก) เลือกใช้รูปภาพให้ถูกประเภท

รูปภาพมีรูปแบบไฟล์หลายประเภท เลือกประเภทให้เหมาะสม คุณจะได้ภาพที่ดีขึ้นและมีขนาดไฟล์ที่เล็กได้

  • JPEG – photos
  • PNG – line drawings, screenshots, images that contain text
  • GIF – animated images
  • SVG – logos, icons, simple illustrations

รูปภาพ รูปแบบใหม่ (Next-gen formats)

สำหรับทางออกของปัญหานี้ คือ การใช้รูปภาพแบบใหม่ที่เรียกว่า Next-gen format เช่น WebP, JPEG 2000 and JPEG XR ซึ่งรูปแบบดังกล่าวออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการลดขนาดไฟล์ไซส์

อย่างไรก็ตาม รูปภาพประเภทใหม่เหล่านั้น บาง Browser อาจจะยังไม่รองรับ ดังนั้น คุณจะเลือกรูปภาพแบบใหม่ หรือจะรอไปก่อนจนกว่าจะมีการรองรับให้ใช้งานได้ในทุกอุปกรณ์

ไกด์ไลน์ สำหรับการเลือกประเภทของภาพให้เหมาะสม

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ข) ปรับขนาดรูปภาพให้เหมาะสม (กว้างxยาว)

คนส่วนใหญ่มักอัปโหลดภาพขึ้นเว็บในขนาดที่ใหญ่เกินไป เช่น หากความกว้างของ layout content ของคุณคือ 800px การใช้รูปที่มีความกว้าง 2500px นั้นถือว่าใหญ่เกินความจำเป็น

ดังนั้นก่อนจะอัปโหลดรูปภาพขึ้นเว็บ ควรปรับขนาดรูปภาพให้พอดีกับความกว้างของเว็บไซต์ของุณ อาจจะกว้างกว่าเล็กน้อยนิดหน่อยได้ แต่ไม่ใช่ใส่ภาพขนาดเต็มลงไป

ค) บีบอัดรูปภาพ

รูปภาพทุกใบที่เราตัดต่อจากบนคอมพิวเตอร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ยังสามารถบีบอัดให้มีขนาดไฟล์เล็กลงได้อีก โดยที่ไม่ทำให้เสียรายละเอียดความคมชัด

คุณสามารถบีบอัดเองที่ละรูปแบบเมนนวล หรือใช้ปลั๊กอินเหล่านี้ในการบีบอัดไฟล์รูป Imagify, ShortPixel, Tiny PNG แบบอัตโนมัติบนเว็บก็ได้

ง) ทำ lazyload

Lazy load คือ การเรียกข้อมูลให้แสดงที่ละช่วง ไม่ต้องโหลดข้อมูลพร้อมกันทั้งหมดในครั้งเดียว การทำให้ข้อมูลปรากฎที่ละส่วน ช่วยให้เว็บของเราโหลดเร็วขึ้นได้นั้นเอง สำหรับเว็บไซต์ที่มีรูปภาพเยอะๆ ใน 1 หน้า จำเป็นต้องเปิดใช้งาน Image Lazy Load ซึ่งฟังชั่นนี้ทุกเว็บควรทำครับ

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

หากเว็บของคุณใช้ WordPress การทำ Lazy load เราสามารถตั้งค่าจาก option ที่มากับธีม หรือใช้ปลั๊กอิน Wp-Rocket ในการทำได้ครับ

อ่านเพิ่มเติม: ทำเว็บ WordPress ให้โหลดเร็ว 100/100

 

Image alt texts

Image alt text คือ ข้อความแสดงแทนรูปภาพ ซึ่งเป็นข้อความที่เขียนด้วย HTML ที่ไว้ใช้อธิบายรูปภพ และจะปรากฏขึ้นหากเกิดปัญหาไม่สามารถโหลดรูปภาพใบนั้นมาแสดงได้

ความสำคัญของ Image alt text

  • ในแง่ของประสบการใช้งาน – โปรแกรมอ่านหน้าจอจะสามารถอ่านข้อความบน alt text แทนได้ สำหรับให้ผู้พิการทางสายตาได้อ่านข้อมูลบนหน้าเว็บของเรา
  • ในแง่การทำ SEO – ข้อความ alt text คือสิ่งที่ช่วยให้ Google bot เข้าใจว่ารูปภาพนี้คือรูปอะไร เนื่องจากโปรแกรมรวมรวมข้อมูลไม่สามารถมองเห็นรูปภาพได้

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

Note:

คุณไม่จำเป็นต้องใส่ alt text ในทุกรูปภาพบนเว็บของคุณ ให้เลือกใส่เฉพาะรูปภาพที่มีความหมายก็พอ ดูคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใส่ข้อความ Alt text ที่บทความนี้: 100 คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับการทำ SEO ที่พบบ่อย

วิธีการเขียน alt text ทีดี

  • อธิบายภาพให้เข้าใจง่ายที่สุด
  • เขียนให้สั้น – เขียนเป็นคำสั้นๆ รูปวลี
  • หลีกเหลี่ยงการทำ spam keyword คือ ทุกรูปใส่คำเดียว หรือรูปใบเดียว ใส่หลาย keyword

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

Title tags และ meta descriptions

Title tags และ meta descriptions เป็นคำที่สร้างจาก HTML ที่เอาไว้แสดงชื่อหัวข้อและคำอธิบายของหน้าเว็บ และจะแสดงในหน้าผลการค้นหา หรือแสดงเวลาที่เราแชร์หน้าเว็บไปบน social media ต่าง

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

จุดนี้มีความสำคัญมากในการทำ SEO หากเราเขียนชื่อเรื่อง และคำอธิบายหน้า มาอย่างดี จะเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้ผู้ที่คำคั้นหาข้อมูลคลิกเข้าไปยังเว็บของคุณ

เทคนิคสำหรับการเขียน title tag และ meta description ที่ดี

  • มี Focus keyword ประกอบใน title กับ meta desc
  • ที่ Title ต้องวาง Focus keyword ไว้ช่วงต้นของประโยค หน้าสุดได้ก็ดี หรือวางเป็นคำที่ 2 ก็ได้
  • Title ต้องเขียนให้เด่นแค่เรื่องเดียว อย่าให้มี Keyword คำอื่นมารบกวน
  • แต่ละหน้าให้โฟกัสที่ Keyword เดียว อย่าเขียนแบบหว่านกะว่าจะติดอันดับทุก Keyword ในหน้าเดียว โอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ดังนั้นจงเขียนให้เด่นแค่เรื่องเดียว
  • ที่ Meta desc ไม่จำเป็นต้องเอา Focus keyword วางไว้ต้นประโยค ขอแค่ให้มีประกอบในประโยคก็พอ

อ่านเพิ่มเติมแนวทางการเขียนแบบละเอียดที่นี่ เขียน SEO title กับ Meta description อย่างไรให้ถูกต้อง

ระมัดระวังเรื่องความสั้นยาวของ title tag และ meta description ด้วย เรามีเครื่องมือตรวจสอบความสั้นยาวของสิ่งที่เขียนชื่อว่า SERP Simulator.

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ลองทดสอบด้วยการเขียนข้อมูลลงไป โดยเขียนให้อยู่ในเกณฑ์เส้นสีเขียวเป็นหลัก

หาคุณต้องการเจาะลึก เกี่ยวกับการปรับแต่ง on-page optimization ให้เข้าไปศึกษาเพิ่มเติมบนคู่มือนี้ on-page SEO guide เนื้อหาจะครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับปรับแต่งบนหน้าเว็บ ไปจนถึงวิธีการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 6

ในบทที่ 6 ของคู่มือ SEO สำหรับผู้เริ่มต้นนี้ เราจะพูดถึง Backlinkซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญของการทำ SEO

หัวข้อในบทเรียนนี้

  • Backlink คืออะไร?
  • ประเภทของ Backlink
  • Link profile
  • ลักษณะของ Backlink ที่ดี
  • ควรทำ Link Building หรือไม่?
  • กลยุทธ์ทำ Link Building

Backlink คือ ลิงก์ที่ส่งจากหน้าเว็บหนึ่งไปยังอีกหน้าเว็บหนึ่ง หากหน้า A ทำลิงก์ไปหา หน้า B เราจะเรียกว่า หน้า B ได้ Backlink กลับมาจากหน้า A

Backlink เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญในการทำ SEO จำนวนของ Backlink และคุณภาพของ Backlink มีผลต่อการจัดอันดับบน Google

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

Backlink เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัลกอริทึ่มของ Search engine มาตั้งแต่ยุคเริ่มต้น

Backlink ถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงความน่าเชื่อถือของข้อมูล หากมีเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลจำนวนมาก ทำลิงก์เชื่อมโยงหน้าใดหน้าหนึ่ง แสดงว่าหน้าเว็บนั้นมีค่าและน่าเชื่อถือ

Google PageRank

ในตอนเริ่มต้น Google ได้สร้างอัลกอริทึ่มที่เรียกว่า PageRank เพื่อทำหน้าที่รวบรวมปริมาณและคุณภาพของ Backlink ทั้งหมด เข้ามาเก็บในระบบจัดอันดับ และใช้ดูความสัมพันธ์กับหน้าเว็บที่แสดงในหน้าผลการค้นหา

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ PageRank ของหน้าเว็บนั้นๆ

  • จำนวนของ Backlink – ยิ่งมีเยอะก็ยิ่งดี
  • จำนวนของลิงก์ บนหน้าที่ทำลิงก์ – ค่าของลิงก์ทั้งหมด (บางครั้งก็จะถูกเรียกว่า link juice) ของหน้าเว็บที่ทำลิงก์ (หมายความว่า ถ้าหน้าเว็บที่เป็นตัวส่ง Backlink มาหาเว็บคุณ หากในหน้าเว็บนั้นมีการทำลิงก์อยู่หลายอัน ค่า Backlink ที่เว็บคุณได้รับ จะมีสัดส่วนมากน้อยต่างกันด้วย)
  • ค่า PageRank ของหน้าเว็บที่ทำลิงก์ – Backlink ที่มาจากเว็บที่มีความหน้าเชื่อถือสูง ค่าพลังของลิงก์ที่ส่งผ่านมาหาเราก็มีสูงด้วย

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง PageRank ได้จากบทความนี้ detailed post about Google PageRank

 

ประเภทของลิงก์

เราสามารถจัดประเภทของลิงก์ได้หลายหมวดหมู่ แต่สิ่งนี้คือการแบ่งประเภทลิงก์แบบพื้นฐานที่คุณจำเป็นต้องรู้ก่อน

internal link คือลิงก์จากหน้าหนึ่งไปยังอีกหน้าหนึ่งซึ่งอยู่ในเว็บไซต์เดียวกัน ในขณะที่ external link คือลิงก์ส่งไปหาหน้าเว็บหนึ่งที่อยู่ภายนอกเว็บไซต์ของคุณ

“โนฟอลโลว์ ลิงก์” เป็นลิงค์ที่กำหนดโดยการใส่แท็ก rel=”nofollow” ใน HTML Link

  • ใช้เพื่อบอกให้ Bot ของ Search Engine “ไม่ต้องตามไปเก็บข้อมูลในหน้าเว็บปลายทาง”
  • ใช้เพื่อบอกให้ Bot ของ Search Engine “ละเว้นการส่งต่อคะแนนทาง SEO ไปยังหน้าเว็บปลายทาง”

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

Google เริ่มมีการใช้ Nofollow links ครั้งแรกในปี 2005 เพื่อบอกให้ Search Engine ไม่ส่งค่าพลัง (link equity) ของลิงก์ออกไปยังหน้าปลายทาง ลิงก์บนเว็บที่เราควรทำเป็น Nofollow links มีดังนี้

  • Links in comments – เพื่อลดปัญหาการทำ spam comment
  • Affiliate and sponsored links – เพื่อป้องกันการใช้เงินซื้อลิงค์ แบบผิดธรรมชาติ
  • ลิงก์ที่คุณไม่อยากส่งค่าพลังออกไปให้ – เพราะบางครั้งเราก็ไม่อยากส่งค่าคะแนนของลิงก์ออกไปให้อีกเว็บที่เราไม่ต้องการ

Note:

ในทางเทคนิค จะไม่มีลิงก์ที่เรียกว่า “dofollow link” เพราะไม่ได้มีการแทนค่า HTML ลงไปตอนทำลิงก์  แต่ในความเคยชิน คนทำ SEO มักเรียกลิงก์ปกติ ที่เราใส่บนเว็บว่า dofollow link

Link profile เป็นอีกคำศัพท์ SEO ที่สำคัญที่คุณควรรู้ ใช้เพื่ออธิบายถึงลิงค์ทั้งหมดที่ชี้กลับมาบนเว็บไซต์ของคุณ 

คุณภาพของ Link profile มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการจัดอันดับของ Google

Link profile ที่ดีมีลักษณะดังนี้

  • มีความหลากหลาย – ลิงก์ที่ส่งกลับมายังเว็บของคุณต้องมีความหลากหลาย มีทั้งลิงก์ทั่วไป ลิงก์ Nofollow และมีการทำ anchor text ที่เป็นธรรมชาติ
  • คุณภาพของลิงก์ – Link profile ต้องได้ Backlink จากเว็บที่มีคุณภาพ และมีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบนเว็บของคุณ

ในทางตรงกันข้าม หากคุณมี Backlink จากเว็บไซต์คุณภาพต่ำมากเกินไป Google จะไม่สนใจสัญญาณจากลิงก์เหล่านั้น และหากโชคร้าย สแปมลิงก์เหล่านั้นอาจะเป็นตัวทำร้ายเว็บคุณเอง

Anchor text

Anchor Text คือ ตัวอักษรที่ตามองเห็นและสามารถคลิกได้ (hyperlink) เป็นตัวช่วยให้ Google bot เข้ามาเก็บข้อมูลและเชื่อมโยงข้อมูลว่าหน้าที่เว็บต่างๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรบ้าง

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

Anchor Text ยังสามารถแบ่งได้หลายประเภท ดังนี้

Brand name – “Padvee”, “Shopee”

Exact match – “สอน SEO”, “ร้านขายยา”

Partial match – “เรียน SEO ที่ไหนดี”

Generic – “อ่านเพิ่มเติม”

Naked URL – “https://padveewebschool.com/seo-basics/”

หากมีเว็บไซต์อื่นๆ ทำลิงก์ส่งกลับมายังเว็บของคุณผ่าน Anchor Text ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบนหน้าเว็บ จะยิ่งส่งผลดีต่อการจัดอันดับของ Google

แต่คุณอย่าพยามแสปม Anchor Text กลับมาที่เว็บของตัวเองมาเกินไป ให้ทำ  Anchor Text ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อความเป็นธรรมชาตินั้นเอง

อะไรก็ตามที่ทำอย่างมากเกินไป หรือผิดธรรมชาติ สุดท้ายเว็บคุณอาจโดนลงโทษจาก Google ได้

 

Backlink ที่ส่งกลับมาแต่ละลิงก์นั้นมีคุณภาพไม่เท่ากัน โดยมีปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย

ลักษณของ Backlink ทีดี มีดังนี้

1. มีความเกี่ยวข้อง

หน้าเว็บที่ส่ง backlink กับหน้าเว็บที่ลิงก์เชื่อมโยงไปหา ต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน อยู่ในประเด็นเดียวกัน

ตัวอย่าง

หากคุณทำคอนเทนต์เกี่ยวกับ “hiking tips (เทคนิกการเดินป่า)” และคุณได้รับ Backlink มา 2 รายการ ลิงก์หนึ่งมากจากคอนเทนต์เกี่ยวกับ “outdoor sports (กีฬากลางแจ้ง)” และอีกลิงก์หนึ่งมาจากคอนเทนต์เกี่ยวกับ “politics (การเมือง)” Backlink จากเว็บแรกจะมีค่ามากกว่า

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

2. มากจากเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง และน่าเชื่อถือ

หากคุณได้รับ Backlink จากเว็บที่คุณรู้จักอยู่แล้วนั้นเอง หรือหากเป็นเว็บที่คุณไม่รู้จัก ให้คุณดูภาพรวมของเว็บ คือคลิกดูเนื้อหาในแต่ละหน้าเว็บ เว็บที่มีความเชื่อถือ มักจะมีความสวยงาม และเขียนเนื้อหามาอย่างดี คือ อ่านง่าย มีภาพประกอบสวยงาม

ยิ่งคุณได้รับ Backlink จากเว็บต้นทางทีมีความเชื่อถือมากเท่าไหร่ เว็บคุณก็จะมีค่ามากขึ้นตามไปด้วย

ในความเป็นจริงนั้น การวัดความน่าเชื่อถือ (authority) ยังไม่ได้มีเครื่องมือวัดแบบเป็นทางการจาก Google แต่ก็มีเครื่องมือ SEO มากมาย ที่เขาจะมีสูตรการคำนวณเรื่องความน่าเชื่อถือ ซึ่งคุณสามารถนำมาใช้ประมาณการได้

ค่าความน่าเชื่อถือ ที่มีชื่อเสียง คือค่า Domain Authority โดย Page Authority โดย Moz

3) ความมีเอกลักษณ์/ความเฉพาะเจาะจง  (Unique)

Backlink ที่ส่งกลับมายังเว็บของคุณ Google ไม่ได้ดูแต่ในเรื่องของปริมาณเพียงอย่างเดียว แต่เขายังดูสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ทีมีความเฉพาะเจาะจง ซึ่งอธิบายได้อีกหลายระดับ

ก) Website level

Backlink จากเว็บไซต์ ที่ไม่เคยส่งลิงก์เชื่อมโยงถึงเว็บคุณมาก่อน จะมีค่ามากกว่าลิงก์จากเว็บไซต์ที่เคยส่งลิงก์เชื่อมโยงมาหาคุณก่อน

ควรมี 10 Backlink จาก 10 เว็บไซต์ที่แตกต่างกัน ดีกว่ามี 50 Backlink จากเว็บไซต์เดียวกัน

Note:

ไม่ได้หมายความว่า การมี backlink จากเว็บเดียวกันมากขึ้นจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี หากมันเป็นลิงก์ที่เกิดขึ้นเองอย่างเป็นธรรมชาติ แต่ค่าของลิงก์ที่ส่งกลับมาหาเว็บของคุณอาจจะได้ไม่เยอะ

ข) Page level

หากมี 2 backlink จากหน้าเดียวกัน ลิงก์ที่ปรากฏก่อนจะมีค่ามากกว่าลิงก์ที่สอง

ค) จำนวนลิงก์ บนหน้าที่ทำลิงก์

ค่า PageRank ของลิงก์จะถูกกระจายอย่างเท่าเทียมกันใน 1 หน้า

ดังนั้น จึงมีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่าง หน้าเว็บที่เป็นฝ่ายทำลิงก์ หากหน้าเว็บนั้นมี 3 ลิงก์ กับหน้าเว็บที่ 1 หน้ามี 30 ลิงก์ เว็บปลายทาง ที่ได้รับ Backlink ก็จะได้ค่าน้อยลงไปด้วย

4 ตำแหน่งการวางลิงก์

ลิงก์ที่มีคุณภาพ คือ ลิงก์ที่สามารถนำทราฟฟิกมาให้คุณได้

Google ได้ใช้โมเดลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า Reasonable Surfer Model เอาไว้คาดการณ์ว่าผู้ใช้จะคลิกลิงก์มากน้อยเพียงใด “ค่าของ PageRank ที่ส่งมาให้เว็บคุณ ขึ้นอยู่กับปริมาณของลิงก์ที่ถูกคลิกด้วย”

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

Matt Cutts อดีต head of webspam ของ Google ให้พูดไว้อย่างเจาะจงว่า “ใส่ลิงก์ที่มีค่าไว้ตำแหน่งด้นาบนของโพสต์เสมอ”

และหากคุณวาง ตำแหน่งหรือลักษณะของ Backlink ไว้อย่างชัดเจน Google ยิ่งให้น้ำหนักมากขึ้นเท่านั้น

หากจะพูดอีกแบบ ก็คือ การวาง Backlink ไว้ด้านบนของบทความดีกว่า วาง Backlink ไว้ด้านล่าง และ Backlink จากด้านล่าง ก็ดีกว่า Backlink จาก Footer (ส่วนท้ายเว็บ) หรือ Sidebar (ส่วนด้านข้างเว็บ)

5. ความเกี่ยวข้องของ anchor text

Anchor Text มีความสำคัญอย่างมากในการทำ link building

Anchor Text หรือคำที่อยู่ใน link ต้องมีความเกี่ยวข้องกับหน้าเนื้อหาของหน้าที่ส่งลิงก์ออกไปหา รวมถึงบริบทของความข้อความที่อยู่รอบๆ ลิงก์เหล่านั้นด้วย ต้องมีความเกี่ยวข้องกับหน้าเว็บที่อยู่ปลายทาง

ในโลกอุดมคติ เราจะได้ Backlink แบบธรรมชาติ ด้วยการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ แล้วเดี๋ยวจะมีคนให้เครดิต ทำ Backlink ส่งกลับมาเว็บคุณเอง

แต่ในความเป็นจริงมันมักไม่ได้เป็นแบบนั้น:

  • มันยากมาก (แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้) โดยเฉพาะเว็บไซต์ใหม่ๆ ที่อยู่เฉยๆ แล้วจะมีคนส่ง Backlink กลับมาให้
  • มันยากมาก (แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้) สำหรับเว็บใหม่ๆ ที่จะติดอันดับโดยไม่มี Backlink

สิ่งนี่แหละคือเหตุผล ว่าทำไมการสร้าง Link building เป็นส่วนสำคัญในการทำ SEO แม้ว่าบางอย่างมันดูเหมือนรู้สึกว่าขัดแย้งอยู่บ้าง

Google ไม่ได้สนปริมาณของ Backlink นี่คือหลักการพื้นฐานที่เขาได้ระบุไว้ในการทำเว็บให้มีคุณภาพ ดูต่อที่นี่ Quality Guidelines

“ลิงก์ใดที่สร้างขึ้นมาเพื่อหลอก PageRank หรือเพื่อเอาไว้ทำอันดับในหน้าผลการค้นของ Google อาจะถือว่าเป็นลิงก์ที่ละเมิดหลักเกณฑ์สำหรับผู้ดูแลเว็บของ Google”

นั้นหมายความว่า คุณไม่ควรใช้ความพยายามในการเพิ่มจำนวนลิงก์และคุณภาพของลิงก์ ในทางใดทางนึงใช่หรือไม่?

ผมไม่คิดแบบนั้น เพราะไม่ใช่ทุกรูปแบบที่เราสร้างลิงก์ขึ้นมาเอง จะเป็นแสปมหรือเป็นลิงก์ที่เอาไว้หลอก Google ทั้งหมด

มีเทคนิคมากมาย ที่จะสามารถช่วยให้คุณได้รับ Backlink ทีมีคุณภาพ แม้ว่ามันจะไม่รวดเร็วเหมือนการทำแสปมลิงก์ผ่านพวกคอมเมนต์ หรือการไปซื้อลิงก์จำนวนมากจากเว็บ Fiverr

ในปัจจุบัน การซื้อ Backlink เป็นกลยุทธ์ที่เราควบคุมผลลัพธ์ไม่ได้ ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ส่วนใหญ่จะบอกคุณว่าไม่คุ้มค่า

ข้อเสียหลัก 2 ประมากรเกี่ยวกับการซื้อลิงก์มีดังนี้

  • มีความเสี่ยง – การซื้อ Backlink เป็นเรื่องใหญ่ที่ Google พยายามจัดการ และหากเขาเช็คได้ เว็บของคุณอาจโดนลงโทษ และอาจทำเว็บนั้นไม่ติดอันดับใดๆ เลย
  • มีราคาแพง – Backlink ที่มีคุณภาพจะมีราคาแพงมาก (เริ่มต้นที่ประมาณ 100us ขึ้นไป) และแน่นอน การซื้อแค่ลิงก์เดียวไม่ได้ทำให้เว็บคุณติดอันดับ ดังนั้น คุณต้องใช้เงินจำมากในการซื้อลิงก์ที่มากพอ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์

แต่ในความเป็น อุตสาหกรรมการซื้อขายลิงก์ เป็นธุรกิจที่เติบโตมาก และการซื้อ Backlink ก็เป็นเรื่องปกติในการทำ SEO

ดังนั้นทุกอย่างขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกของคุณเอง คุณสามารถให้เงินซื้อ Backlink ได้ไม่มีปัญหา แต่ให้พึงระลึกไว้เสมอว่าการซื้อ Backlink เป็นกลยุทธ์ SEO ที่มีความเสี่ยง ดังนั้นอาจจะได้ผล หรือไม่ได้ผลก็ได้นั้นเอง

มีเทคนิคการสร้างลิงก์ อยู่มากมายหลายวิธี (คุณอาจจะเข้าไปดูแนวทางการสร้างลิงค์ มากกว่า 60 วิธี เพื่อดูไว้เป็นไอเดียมาทำบนเว็บตัวเองที่บทความนี้ครับ 60+ link building techniques)

แต่ในคู่มือ SEO นี่ ผมจะแนะนำ 3 วิธีการสร้างลิงค์แบบทั่วไป ที่ใช้ได้ผลเป็นอย่างดี

Linkable assets

เทคนิคการได้รับ Backlink ที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด คือ การสร้างเนื้อหาบนเว็บ ให้เป็นเนื้อหาทีมีความเฉพาะเจาะจง และมีคุณค่ามากที่สุด ซึ่งเราจะเรียกหน้าที่ทำเนื้อประเภทนี้ว่า Linkable assets หน้าเนื้อหาเหล่านี้ จะเป็นตัวดึงดูดให้เว็บคนอื่นทำลิงก์ส่งกลับมาเว็บของคุณ

Linkable assets สร้างเป็นเนื้อหาแบบใดก็ได้ แต่ก็จะมีเนื้อหาบางประเภทที่เหมาะกับการทำเป็น Linkable assets เช่น

  • บทความประเภท Ultimate Guides เช่น คู่มือสร้างเว็บขายของฉบับสมบูรณ์
  • เขียนบทความประเภท “Best X” List Mentions เช่น 7 เว็บเรียน SEO ระดับโลก
  • ข้อมูลงานวิจัยเฉพาะทาง เช่น จำนวนคนใช้งาน WordPress ทั่วโลก 
  • บรรณานุกรวบรวมข้อมูล (resource directories) เช่น 500+ Miami Vacation Rentals
  • รวมเครื่องมือฟรี ในแต่ละอุตสาหกรรม เช่น โปรแกรมทำ SEO ที่ดีสุด 2021

แน่นอนหากคุณอยู่เฉยๆ โอกาสที่คุณจะได้ backlink มีน้อยมาก ดังนั้น บางครั้งเราก็จำเป็นมองหาดูว่ามีเว็บไซต์ที่ต้องการข้อมูลเหล่านี้บ้าง เราอาจต้องติดต่อเสนอพวกเขาในบางครั้ง เพราะบางทีเขาก็อาจจะยังไม่รู้ว่ามีคนทำข้อมูลแบบนี้ไว้แล้ว

Tip:

บางครั้งคุณไม่จำเป็นต้องไปติดต่อเขาเพื่อขอทำ Backlink โดยตรง แต่ให้คุณสามารถติดต่อเว็บ หรือ ผู้มีอิทธิพลในอุตสาหกรรมของคุณ โดยขอให้เขาช่วยให้ออกความคิดเห็น กับเนื้อหาที่คุณกำลังทำอยู่ก็ได้

เพราะหากเนื้อหาที่คุณทำมันดีเยี่ยมหรือหน้าสนใจ เขาจะทำลิงก์อ้างอิงส่งกลับมาให้คุณเอง หรือเขาจะแชร์ขอมูลนั้นบน Social media ให้คุณเอง

เมื่อคุณได้รับ Backlink ไปยังหน้าเนื้อหาที่เป็น Linkable assets คุณก็จะสามารถเปลี่ยนเส้นทาง “link juice” ส่งไปยังหน้าทำเงิน (money pages) ผ่านลิงก์ภายในบทความนั้นได้อีกด้วย

รูปแบบการเขียนย่อหน้ามีกี่รูปแบบ

รูปแบบของย่อหน้าจะพิจารณาจากตำแหน่งของประโยคใจความสำคัญว่าปรากฏอยู่ที่ใดในย่อหน้า แบ่งได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้ 1. ประโยคใจความสำคัญ อยู่ตอนต้นย่อหน้า การเขียนย่อหน้าวิธีนี้เป็นการเขียนที่ง่ายที่สุด ผู้อ่านสามารถจับประเด็นสำคัญของเรื่องได้ เหมาะสาหรับการเขียนอธิบายให้ความรู้

การเขียนย่อหน้ามีความสําคัญอย่างไร

๓. ประโยชน์ของย่อหน้ามี ๔ ประการ คือ ๑) ช่วยให้ผู้อ่านจับประเด็น หรือใจความ สําคัญของเรื่องได้ง่ายขึ้น ๒) ทําให้ผู้อ่านได้พักสายตาในการอ่าน ๓) ทําให้ผู้อ่านได้มีโอกาส คิดทบทวนเนื้อหาของย่อหน้าที่ได้อ่าน ๔) ทําให้เนื้อหาของเรื่องที่เขียนมีลักษณะสวยงาม

เขียนย่อหน้า อย่างไร

การเขียนย่อหน้า ย่อหน้าประกอบด้วยส่วนส าคัญ ๒ ส่วน คือ ใจความส าคัญ และส่วนขยาย ย่อ หน้าที่ดี จะต้องมีเอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตถภาพ การเขียนย่อหน้ามีขั้นตอนการเขียน คือ คิดเรื่องที่จะ เขียน เขียนประโยคใจความสาคัญ เขียนโครงเรื่อง เรียบเรียงเป็นย่อหน้า ทบทวน ตรวจทาน และแก้ไข

ย่อหน้าที่ดีมีอะไรบ้าง

ย่อหน้าที่ดีจะต้องประกอบด้วย เนื้อหาที่ดี และมีวิธีการเขียนที่ดี คือ เนื้อหาที่ดี 1. มีเอกภาพ คือ แต่ละย่อหน้ามีใจความสำคัญเพียงประการเดียว ส่วนข้อความอื่น ๆ เป็นส่วนขยายรายละเอียด ได้แก่ การอธิบาย ชี้แจง ยกตัวอย่าง หรือสนับสนุน