ระเบียบการ ถ่ายสำเนาบัตรประชาชน

สำหรับช่วงเวลานี้ข้อมูลบนบัตรประชาชนถูกนำมาใช้รับสิทธิต่างๆ หรือการส่งข้อมูลเพื่อทำธุรกรรมออนไลน์หลากหลายรูปแบบหลากหลายช่องทาง ดังนั้น เราจึงควรพึงระมัดระวัง และรอบคอบให้มากขึ้น ด้วย 5 วิธีดังนี้

  1. ถ่ายหน้าบัตรประชาชนเพียงด้านเดียว และไม่ถ่ายหลังบัตร
  2. ขีด 2 เส้น ทับสำเนาบัตรประชาชน แต่ห้ามขีดทับใบหน้า
  3. ระหว่างเส้นให้เขียนว่า “ใช้เพื่อ…(เรื่องที่ทำ)…เท่านั้น” พร้อมเขียนสัญลักษณ์ # หรือ * ปิดหัว-ท้าย เพื่อป้องกันการเพิ่มเติมข้อความ

    ทนายเตือน ถ่ายสำเนาบัตรประชาชน ไม่ควรถ่ายด้านหลัง อย่าเปิดเลข Laser ID จะทำให้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวทั้งหมด แนะหน่วยงานที่ยังไม่เข้าใจ เจ้าของบัตรต้องปิดเลข

    ระเบียบการ ถ่ายสำเนาบัตรประชาชน

    เพจ  ลุงทนายใจดี ปรึกษากฎหมายฟรี เตือน สำเนาบัตรประชาชนรุ่นปัจจุบัน ไม่ควรถ่ายด้านหลังบัตรไปพร้อมกับด้านหน้า โดยระบุข้อความว่า “หลังบัตรจะมีชุดตัวเลขอยู่ เรียกว่า Laser ID ซึ่งปัจจุบันภาครัฐ เช่นสรรพากร, ตำรวจ, กระทรวงต่างๆ, กรมต่างๆ ฯ รวมถึงภาคการเงินบังคับใช้ Laser ID นี้ในการทำธุรกรรม ตรวจสอบ ยืนยันตัวตน ควบคู่กับเลขบัตรประชาชน 13 หลัก

    เรียกว่า e-KYC(Electronic – Known Your Client) App. ที่เกี่ยวข้องกับเงินหรือกระเป๋าเงินอิเลคทรอนิกค์(Wallet) ต้องใช้ทั้งหมด(แบงค์ชาติควบคุม)

    หากข้อมูลหน้าบัตรประชาชนหลุดไปก็อันตรายมากพอแล้ว ยิ่งข้อมูล Laser ID หลุดไปด้วย ยิ่งอันตรายเป็นทวีคูณ เหมือนเลขบัตรเครดิตหลุดไปพร้อมกับ CVV หลังบัตร

    หากสถานที่ไหนไม่เข้าใจ ยืนยันว่าต้องถ่ายบัตรหน้าหลัง ให้เราถ่ายจากบัตรคนละใบให้เขาครับ ด้านหน้าบัตรเรา ด้านหลังบัตรคนอื่นครับ หรืออย่างน้อยปิดเลขตอนถ่าย

    ส่วนเว็ปหรือ App. ไหนให้กรอก Laser ID ก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน ถ้าเป็นสถานที่ที่เชื่อถือได้ เช่นหน่วยงานราชการ, สถาบันการเงิน, Wallet ของบริษัทใหญ่น่าเชื่อถือ ก็ใส่ได้ครับ ระวังเจอเว็ปปลอม App. ปลอม หรือฟิชชิ่งครับ ดูให้แน่ใจว่าใช่หน่วยงานนั้นแท้ๆ

    นอกจากนี้ ยังให้ความรู้ ว่า

    – สมัยก่อนวันหมดอายุบัตรประชาชนจะอยู่ด้านหลังบัตร จึงต้องถ่ายทั้งหน้าและหลัง

    – สมัยนี้จริงๆไม่ควรใช้สำเนาแล้ว ควรดึงข้อมูลจากชิพการ์ดหน้าบัตร แต่ยังไม่แพร่หลาย ก็ยังใช้สำเนากันอยู่ แต่ด้านหลังไม่ควรต้องถ่ายแล้ว

    – กรมการปกครองประกาศตั้งแต่ 22 มีนาคม 2556 ว่าหน่วยงานของรัฐ, รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ที่ยังจำเป็นต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชน ควรถ่ายสำเนาบัตรด้านหน้าเพียงด้านเดียว (ประกาศที่ มท ๐๓๐๙.๒/ว ๖๘๕๓)

    จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2561 เรื่อง มาตรการอำนวยความสะดวกและลดภาระแก่ประชาชน โดยการไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้จากประชาชน อาทิ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน โดยเริ่มมาตรการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่ามาตรการนี้เกิดประโยชน์โดยตรงแก่ประชาชน ถือเป็นการอำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นการลดขั้นตอน ลดระยะเวลา และลดค่าใช้จ่ายของประชาชน ซึ่งเป็นไปตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

    สิ่งสำคัญที่ต้องระวัง ในการใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน กับงานบริการต่างๆ จากภาครัฐและเอกชน แม้มีการยกเลิกการใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนในการบริการภาครัฐ และภาคเอกชนบ้างแห่งแล้ว แต่ยังคงมีงานบริการบ้างประเภทที่ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อเป็นเอกสารยืนยันตัวตนอยู่ เช่น การรับมอบอำนาจระหว่างบุคคลเป็นต้น ดังนั้น เมื่อต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนสิ่งสำคัญที่ต้องพึงระมัดระวัง มีดังนี้

    1. อย่านำบัตรประจำตัวประชาชนของตนเองให้ผู้อื่นใช้โดยเด็ดขาด
    2. หากบัตรประจำตัวประชาชนสูญหาย ต้องรีบแจ้งความบัตรหายและทำใหม่โดยเร็ว เพื่อ...ป้องกันการนำบัตรที่สูญหายไปใช้
    3. เมื่อมีการรับรอง “สำเนาถูกต้อง” ควรดำเนินการ ดังนี้
    3.1 ขีดเส้นคู่ขนานจากมุมล่างซ้ายไปมุมบนขวา
    3.2 เขียนข้อความใช้ “เพื่ออะไร...” ลงท้ายด้วยคำว่า “เท่านั้น” พร้อมเครื่องหมาย “#” ปิดหัวท้ายข้อความ เพื่อ...ป้องกันการตามข้อความ
    3.3 ระบุ วัน เดือน ปี กำกับทุกครั้ง เพื่อ..ยืนยันวันที่ใช้งาน
    3.4 รับรองสำเนาถูกต้อง พร้อม ลงลายมือชื่อทับรูปถ่าย เพื่อ..ป้องกันการเปลี่ยนรูปถ่าย
    3.5 ควรใช้ปากกาหมึกสีดำลงลายมือชื่อ เพื่อ...ป้องกันการดูดสี
    3.6 ให้ถ่ายสำเนาบัตรที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลขณะขอมีบัตรของผู้ถือบัตร เฉพาะที่ปรากฏอยู่บนหน้าบัตรเพียงด้านเดียวเท่านั้น เพื่อ...ลดภาระค่าใช้จ่าย
    4. ถ่ายสำเนาเพียงหน้าบัตรด้านเดียว ไม่ต้องถ่ายหลังบัตร ซึ่งมีข้อมูลที่สำคัญครบถ้วนแล้ว เนื่องจากด้านหลังบัตรเป็นข้อมูลรหัสกำกับบัตร สำหรับควบคุมการจ่ายบัตรให้กับหน่วยบริการของกรมการปกครองเท่านั้น มิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับหมายเลข CVV (Card Verification Value) ด้านหลังบัตรแต่อย่างใด

    บัตรประจำตัวประชาชนที่มีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ชื่อตัวชื่อสกุล เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ แถบบาร์โค้ด และหมายเลขคำขอ (เลขใต้รูป) เป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการยืนยันตัวบุคคลเบื้องต้น หากข้อมูลดังกล่าวนี้ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลและนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบได้ อีกทั้งไม่สามารถเข้าระบบเพื่อทำ E-Banking ได้แต่อย่างใด เพราะการตรวจสอบต้องได้รับการยืนยันจากเครื่องอ่านบัตรโดยเฉพาะ

    ทั้งนี้ ในปัจจุบันหน่วยงานรัฐ และเอกชนบางแห่งได้ทำการยกเลิกการใช้สำเนาบัตรแล้ว หากมีความจำเป็นต้องใช้สำเนาบัตรในบางบริการ เจ้าหน้าที่ต้องอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้รับบริการ เพื่อลดภาระแก่ประชาชน อันได้แก่ ค่าใช้จ่าย เวลา เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วและความพึงพอใจในการรับบริการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1548

    เซ็นสำเนาบัตรประชาชนยังไงให้ถูกต้อง

    วิธีเซ็นสำเนาบัตรประชาชน ให้ปลอดภัย ไม่ถูกสวมรอย.
    ถ่ายหน้าบัตรประชาชนเพียงด้านเดียว และไม่ถ่ายหลังบัตร.
    ขีด 2 เส้น ทับสำเนาบัตรประชาชน แต่ห้ามขีดทับใบหน้า.
    ระหว่างเส้นให้เขียนว่า “ใช้เพื่อ… (เรื่องที่ทำ)… ... .
    เขียน วัน/เดือน/ปี ที่ใช้ สำเนาบัตรประชาชน.
    เขียน “สำเนาถูกต้อง” พร้อม “เซ็นชื่อรับรอง” เพื่อป้องกันการลบ.

    ทำบัตรประชาชนต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

    หลักฐาน.
    สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน.
    บัตรประจำตัวประชาชนเดิม (ถ้ามี).
    หากไม่ปรากฏข้อมูลการทำบัตร หรือบัตรเดิมได้หมดอายุนานมากแล้ว ต้องนำเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้มาแสดง พร้อมทั้งนำเจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรอง.

    ถ่ายบัตรปชช ต้องปิดอะไรบ้าง

    ปิดบริเวณบาร์โค้ดที่อยู่ด้านข้างบัตรประชาชนเอาไว้ เพราะบาร์โค้ดนั้นอาจถูกนำไปสแกนเพื่อเข้าถึงข้อมูลบางอย่างของคุณได้ ไม่ถ่ายหลังบัตรประชาชนส่งให้เด็ดขาด เพราะด้านหลังของบัตรจะมีรหัส ที่สามารถใช้ในการยืนยันตัวตนได้ หากไปอยู่ในมือมิจฉาชีพแล้ว คุณอาจถูกขโมยตัวตนไปใช้ทำธุรกรรมบางอย่างโดยที่คุณไม่ยินยอม

    เซ็นสำเนาถูกต้องทะเบียนบ้านยังไง

    วิธีเซ็นสำเนาถูกต้อง และทะเบียนบ้าน สำหรับการสมัครสอบ.
    ขีดเส้นทับบนเอกสาร ขีด2 เส้น คล่อมที่รูปเพื่อป้องกันการตัดต่อภาพ และไม่ควรขีดทับใบหน้า.
    เขียน "สำเนาถูกต้อง" เขียน "สำเนาถูกต้อง" ในทุกกรณี.
    เซ็นชื่อ สกุล เมื่อลงลายเซ็นแล้ว ต้องเขียนตัวบรรจงกำกับด้วย.
    ใช้สำหรับสมัครสอบ (โครงการ+มหาวิทยาลัย) เท่านั้น.