ข้อจํากัดของคนเมา อบรมใบขับขี่

ขับรถในอเมริกา …ขอมีใบขับขี่สหรัฐฯ “Obtain a Driver’s License in America”

ข้อจํากัดของคนเมา อบรมใบขับขี่
                                                                  Photo Credit: www.patch.com/DMV

“สอบใบขับขี่” คงเป็นโมเม้นที่ใครๆก็คงจะตื่นเต้น ตุ๊มๆต่อมๆ ทั้งสอบข้อเขียน แล้วก็สอบปฏิบัตินะคะ ผู้เขียนเองก็เคยมีประสบการณ์ทั้งการสอบในประเทศไทย และสอบในสหรัฐอเมริกา วันนี้เราขอหยิบยกหัวข้อการเตรียมตัวก่อนที่จะยื่นขอสมัครสอบใบขับขี่ในสหรัฐอเมริกา มาฝากทุกคนค่ะ เอกสารตัวนี้นอกจากคนที่เคยมีใบขับขี่ประเทศไทยมาก่อน หรือไม่เคยมีใบขับขี่ไทยมาเลย ก็ลองอ่านดูเป็นข้อมูลได้ค่ะ ทั้งนี้ผู้เขียนขอนำเสนอขั้นตอนเกี่ยวกับการขอมีใบขับขี่ ในเขตมลรัฐวอชิงตัน ดีซี ซึ่งรวมถึงเขตแมรีแลนด์ และเวอร์จิเนียเท่านั้นนะคะ ส่วนผู้อ่านที่สนใจในมลรัฐอื่นๆ ต้องขออภัยด้วยค่ะ อาจใช้ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบได้ ขอแนะนำว่าก่อนท่านจะยื่นเอกสารตัวใดที่ต้องผ่านฝ่ายกงสุล แผนกงานนิติกรณ์ เพื่อรับรองก่อนนำไปยื่นกับกรมการขนส่งของสหรัฐฯ ท่านควรติดต่อสอบถามกับทางเจ้าหน้าที่สถานทูตไทย ที่ดูแลมลรัฐของคุณให้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาของท่านค่ะ

ในเขตมลรัฐวอชิงตัน ดีซี เขตที่อยู่ในพื้นที่นั้นรวมถึงแมรีแลนด์ และเวอร์จิเนียด้วย ซึ่งหลายๆ ท่านคุ้นเคยอยู่แล้วค่ะ อธิบายง่ายๆ แบบนี้….ใครอาศัยอยู่เขตวอชิงตัน ดีซี รวมถึงเวอร์จิเนีย ให้ติดต่อขอมีใบขับขี่สหรัฐฯ กับ Department of Motor Vehicles (DMV.) http://www.dmv.org/va-virginia/ ส่วนใครอาศัยอยู่ในเขตแมรีแลนด์ ให้ติดต่อขอมีใบขับขี่สหรัฐฯ กับ Motor Vehicle Administration (MVA.) http://www.mva.maryland.gov/ การสอบใบขับขี่ที่นี่ก็จะแบ่งเป็นการสอบข้อเขียน กับสอบปฏิบัติเหมือนในบ้านเรา แค่เพียงไม่ต้องมีอบรมเท่านั้นค่ะ ทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการขับรถ มี 25 ข้อ ผิดได้ไม่เกิน 4 ข้อ

First Time Drivers:
สอบใบขับขี่ครั้งแรกในอเมริกา
– ก่อนอื่นเลยคุณต้องเป็นผู้พำนักอาศัยอยู่ในเขตของมลรัฐฯของท่าน เอกสารยืนยันตัวบุคคล หรือยืนยันที่พำนักให้อิงตามเว็บไซต์ของหน่วยงานที่คุณจะยื่นขอมีใบขับขี่ค่ะ
– ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี 3 เดือน (สำหรับการขอใบขับขี่ของมลรัฐเวอร์จิเนีย Driver’s License )
– หรือ มีอายุอย่างต่ำ 15 ปี 6 เดือน (เพื่อขอเอกสาร Learner’s permit)
ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ในกรณีของอายุผู้ขอมีใบขับขี่ในสหรัฐฯ นะคะ หากท่านอายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องมีใบยินยอมจากผู้ปกครองด้วย (Letter of Consent) ยกเว้นให้ในกรณีที่ท่านสมรสแล้ว และมีเอกสารยืนยันการสมรสค่ะ
– หากท่านอายุต่ำกว่า 18 ปี ท่านจะต้องผ่านคอร์สเรียนขับรถ จากโรงเรียนสอนขับรถที่ได้รับอนุญาตจากมลรัฐฯ
– หากท่านอายุ 18 ปี หรือมากกว่า และ ท่านไม่เคยมีใบขับขี่สหรัฐฯ หรือ ไม่เคยมีใบขับขี่จากต่างประเทศ
มาก่อน หรือท่านไม่สามารถแสดงด้วยเอกสารได้ว่า ท่านเคยมีใบอนุญาตขับขี่มาก่อนเลย ท่านจำเป็นต้องแสดงเอกสาร ดังนี้:
• หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันที่มีอายุใช้งาน (Passport)
• มีวีซ่าพำนักถูกต้องตามกฏหมายสหรัฐฯ (Valid U.S. Visa and permit to stay)
• สำหรับวีซ่านักเรียน (F1) ท่านจำเป็นต้องมีเอกสาร I-20 ยื่นร่วมด้วย
• เลข Social Security Number (SSN.)
• เอกสารยืนยันที่อยู่บุคคลนั้นเป็นหลักแหล่ง (เอกสารจากธนาคาร / เอกสารจากการจ่ายค่าสาธารณูปโภค)
• เอกสารแสดงว่า ท่านผ่านการเรียนคอร์สสอนขับรถ จากโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตจากมลรัฐฯ แล้ว
• เอกสารยืนยันการผ่านการอบรมจากคอร์สการใช้แอลกอฮอลล์
• เอกสารแสดงว่า ท่านได้รับอนุญาตให้ถือเอกสาร Learner’s permit อย่างต่ำ 60 วัน ก่อนการขอสอบปฏิบัติขับรถ (Rod Skills Test)
สำหรับท่านที่เคยถือใบอนุญาตขับขี่ประเทศไทยมาก่อนแล้ว ท่านสามารถนำใบขับขี่ไทยที่มีอยู่ นำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อนำมายื่นกับทางสถานทูตไทยฯ ฝ่ายกงสุล งานนิติกรณ์ เพื่อรับรองคำแปล และนำไปใช้ยื่นร่วมกับเอกสารข้างต้นได้ค่ะ
http://thaiembdc.org/th/บริการกงสุล/นิติกรณ์ (ขั้นตอนการรับรองคำแปล)
การแปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษนั้นก็ไม่ซับซ้อนค่ะ เพียงท่านแปลตามแบบเอกสารต้นฉบับเดิม แปลเสร็จพร้อมส่งมาทางฝ่ายกงสุล แผนกงานนิติกรณ์ เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจทานคำแปล หากติดขัดอย่างไรทางเจ้าหน้าที่จะติดตามกับท่านจนแล้วเสร็จค่ะ

ข้อจํากัดของคนเมา อบรมใบขับขี่
ตัวอย่าง :
ใบอนุญาตขับรถ (รุ่นใหม่) ประเทศไทย (ด้านหน้า)

ข้อจํากัดของคนเมา อบรมใบขับขี่
  ตัวอย่าง :
ใบอนุญาตขับรถ (รุ่นใหม่) ประเทศไทย (ด้านหลัง)

ข้อจํากัดของคนเมา อบรมใบขับขี่

ตัวอย่าง :
แบบฟอร์มแปลใบขับขี่ไทย (รุ่นใหม่)
www.thaiembdc.org/th/บริการกงสุล/แบบฟอร์มกงสุล

ในการรับรองคำแปล ผู้ร้องจะต้องจัดทำคำแปลภาษาอังกฤษด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นที่มีความรู้เป็นผู้แปลก็ได้ โดยต้องพิมพ์มาให้เรียบร้อย และผู้แปลต้องลงชื่อรับรองคำแปลถูกต้อง ผู้ร้องสามารถดาวน์โหลดและพิมพ์ลงในแบบฟอร์มได้จากเวปไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตฯ ในหัวข้อ “แบบฟอร์มเอกสารแปล”
• เอกสารราชการที่นำมารับรองคำแปลจะต้องเป็นเอกสารต้นฉบับเท่านั้น หากต้นฉบับเป็นสำเนา ต้องเป็นสำเนาที่ได้รับรองความถูกต้องจากหน่วยราชการไทย เช่น สำนักงานเขต/อำเภอ แล้ว เท่านั้น

• สถานเอกอัครราชทูตฯ จะประทับตรา “certified correct translation” ในการรับรองคำแปลเอกสารที่กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้แปลเท่านั้น
• สถานเอกอัครราชทูตฯ จะประทับตรา “seen at the Royal Thai Embassy” ในการรับรองคำแปลที่ไม่ได้แปลโดยกระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่รับรองข้อความใดๆ ที่ปรากฎในเอกสาร

คำแนะนำในการแปล
• การแปลเอกสารต้องถูกต้องและครบถ้วนตามแบบฟอร์มของต้นฉบับ ดูรายละเอียดได้ในหัวข้อ “แบบฟอร์มกงสุล” ห้ามแปลสรุป หรือรวบรัด ตัดตอน
• ชื่อและนามสกุลที่ปรากฎในเอกสารจะต้องสะกดให้ถูกต้องตามหนังสือเดินทาง
• หากผู้แปลไม่สามารถอ่านลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ลงนามได้ ให้ใช้คำว่า “Signed”
• หากเอกสารมีการบันทึก หรือแก้ไขเพิ่มเติม จะต้องแปลส่วนที่บันทึกหรือแก้ไขนั้นลงไว้ด้วย เช่น การแก้ไขชื่อเด็กซึ่งบันทึกไว้ด้านหลังสูติบัตร
• คำแปลต้องพิมพ์ให้เรียบร้อย ห้ามเขียนด้วยลายมือ และผู้แปลต้องลงชื่อรับรองคำแปลถูกต้อง ดังตัวอย่าง

Certified correct translation
…… (Signature of translator) ……
(…… (Name in print) )

เอกสารที่ใช้
• กรอกคำร้องนิติกรณ์ (Download ได้จาก “แบบฟอร์มกงสุล”) จำนวน 1 ชุด
• ต้นฉบับเอกสารที่ต้องการให้รับรองคำแปล (เอกสารราชการไทยเท่านั้น)
• เอกสารคำแปลที่พิมพ์เรียบร้อยแล้ว ครบถ้วนถูกต้องตามคำแนะนำในการแปล
• หนังสือเดินทาง หรือ บัตรประชาชน ฉบับจริงที่ยังมีอายุใช้งาน
สำเนาหนังสือเดินทาง หน้าที่มีรูปถ่ายจนถึงหน้าที่ประทับตราวันต่ออายุและวันหมดอายุ หรือ สำเนาบัตรประชาชน จำนวน
1 ชุด
หมายเหตุ ในการยื่นคำร้องทางไปรษณีย์ หากผู้ร้องไม่ต้องการส่งหนังสือเดินทางฉบับจริง ต้องส่งสำเนาที่ให้เจ้าหน้าที่ Notary Public รับรองว่าเป็นสำเนาที่ถ่ายจากต้นฉบับจริง
ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมในการรับรองคำแปล ฉบับละ 15.00 ดอลลาร์สหรัฐ Money Order / Cashier Check สั่งจ่าย“The Royal Thai Embassy”

ข้อจํากัดของคนเมา อบรมใบขับขี่

Q: สามารถขับรถในอเมริกาโดยไม่ต้องสอบใบขับขี่อเมริกาได้หรือไม่?
A: หลายท่านไม่มีใบขับขี่อเมริกา ก็สามารถขับรถที่อเมริกาได้ค่ะ (ข้อยกเว้นนี้ สำหรับบางมลรัฐฯเท่านั้น เช่น มลรัฐ Illinois, Chicago คุณสามารถใช้ขับรถได้ประมาณ 90 วัน หรือระหว่างที่คุณท่องเที่ยวอยู่ในสหรัฐฯ เท่านั้นค่ะ มลรัฐ California, LA, San Diego, San Francisco สามารถใช้ขับรถได้จนกว่าใบขับขี่ไทยของคุณจะหมดอายุการใช้งานตามหน้าบัตร) และคุณต้องไม่เป็นผู้พำนักถาวรในสหรัฐฯ เพียงแค่คุณมีใบขับขี่ไทย ตัวที่มีภาษาอังกฤษ ใบขับขี่สากลไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะเป็นแค่ตัวแปลเอกสารเท่านั้นเองค่ะ

Q: แล้วถ้าใบขับขี่ไทยขับรถได้ ….แล้วทำไมคุณถึงต้องไปสอบใบขับขี่อเมริกาอีก?
A: ถ้าคุณไม่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ เป็นเวลานาน คุณสามารถใช้ใบขับขี่ไทยได้เลย ข้อเสียคือ คุณจะต้องจ่ายประกันในเรทแพงกว่าคนที่ใช้ใบขับขี่สหรัฐฯ ของรัฐนั้นๆ และบางรัฐก็มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาที่ใช้ได้

Q: ข้อดีของใบขี่สหรัฐฯ เป็นอย่างไร?
A: นอกจากค่าประกันจะเรทถูกกว่า คุณยังสามารถใช้ใบขับขี่แทน ID หรือพาสปอร์ตได้ เดินทางโดยเครื่องบิน ภายในประเทศก็สามารถใช้แทนพาสปอร์ตได้ค่ะ
Q: ใบขับขี่สากลต้องใช้หรือไม่?
A: ที่อเมริกา จะยึดถือตัว Driver License มากกว่าใบขับขี่สากล ขอให้เป็นตัวที่มีภาษาอังกฤษกำกับนะคะ แบบใบขับขี่รุ่นใหม่ของไทยสามารถใช้ได้ค่ะ หากจะใช้ใบขับขี่สากล คุณยังจะต้องมีใบขับขี่ไทยตัวจริงแนบด้วย ไม่อย่างนั้นจะใช้ไม่ได้ค่ะ

Q: มีใบขับขี่ไทยมาแล้ว …ไม่จำเป็นต้องสอบขับรถจริงหรือไม่?
A: ไม่จริง / การที่คุณยังมีใบขับขี่ไทยที่ยังมีอายุใช้งานติดตัวมา เพื่อใช้ยื่นประกอบขอมีใบขับขี่ในสหรัฐฯนั้น จริงๆ แล้วคุณยังจำเป็นต้องสอบปฏิบัติขับรถ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณไม่จำเป็นต้องถือเอกสาร Learner’s permit แต่คุณสามารถยื่นขอมี Driver License ได้เลย

Q: เอกสาร Learner’s permit คืออะไร?
A: เอกสาร Learner’s permit คือสำหรับคนที่จะเรียนขับรถที่อเมริกา(อย่างถูกกฏหมาย) กฏหมายบังคับว่า คุณต้องมีใบอนุญาตสำหรับผู้เรียนขับขี่ ซึ่งต่างจากใบขับขี่นิดหน่อยค่ะ
คุณต้องสอบเพื่อขอใบ Learner’s Permit ก่อน คุณถึงจะมีสิทธิ์ขับขี่รถยนต์ได้ และตราบใดที่คุณยังถือบัตร Learner’s Permit อยู่นั้น คุณไม่ได้รับอนุญาตให้ขับขี่ยานพาหนะโดยลำพัง คุณจะต้องนั่งคู่กับผู้ที่มีใบขับขี่ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปนะคะ (หรือแล้วแต่กฏหมายของแต่ล่ะรัฐกำหนด ซึ่งจะแตกต่างกันไม่มากเท่าไหร่) จนกว่าคุณจะสอบ Road Test ผ่าน และได้ใบอนุญาติขับขี่มาถืออย่างเป็นทางการค่ะ ถึงจะสามารถขับรถได้โดยลำพัง

สามารถคลิกลิงค์เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมตามเว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบก (สหรัฐฯ) ตามมลรัฐฯ ที่ท่านสนใจ
Maryland Department of Transportation : http://www.mva.maryland.gov/
Virginia Department of Motor Vehicles : https://www.dmv.virginia.gov/onlineServices/
DC. Department of Motor Vehicles : https://dmv.dc.gov/

คราวนี้เมื่อความมั่นใจเต็มร้อย …พร้อมลุย …เตรียมเอกสาร แล้วออกไปสอบกันเลยค่ะ
หวังใจให้โชคดีทุกท่าน แล้วกลับมาพบกับสาระกงสุลน่ารู้ฉบับต่อไปเร็วๆนี้ค่ะ

ณัฐพร ซิมเมอร์แมน – รายงาน

3 เมษายน 2560