ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า

 

ปัจจุบันไฟฟ้ามีการจำเป็นต่อชีวิตประจำวันมาก ซึ่งไม่มีใครปฏิเสธถึงความสะดวกสบายที่ได้รับจากการใช้ไฟฟ้ารวมถึง
งานอุตสาหกรรมและธุรกิจต้องใช้ไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญ ไฟฟ้ามีประโยชน์มากมายก็จริงแต่ในเวลาเดียวกันก็มีอันตรายอยู่
ในตัวของมันเองถ้ารู้จักใช้ก็จะได้ประโยชน์มหาศาล  ถ้าใช้ผิดวิธีก็อาจจะได้รับอันตรายถึงชีวิต จึงควรเข้าใจและรู้พื้นฐาน
ทางด้านความปลอดภัยในการใช้ไว้บ้างเพราะความประมาทหรือเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยก็อาจนำมาสู่ความหาย
นะและการสูญเสียต่างๆในชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่เช้าขึ้นมาไฟฟ้าเข้ามามีส่วนพัวพันกับการดำเนินชีวิตตลอดทั้งวันจน
กระทั่งเข้านอนก็ยังใช้ไฟฟ้าแต่ทว่า    มาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในบ้านผู้ใช้ยังไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร
ดังนั้นความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าจึงเป็นเรื่องที่ควรได้รับความสนใจ ในการศึกษาไฟฟ้าทำอันตรายให้แก่ร่างกายได้ผู้ที่
จะได้รับอันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเนื่องจากส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายบังเอิญไปแตะและต่อเป็นส่วนหนึ่งในวงจร
ไฟฟ้าหรือสัมผัสถูกสายสองเส้นหรือเพียงเส้นเดียวหรืออาจจะไปสัมผัสถูกวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลแต่เพียงจุดเดียวใน
ขณะที่ร่างกายส่วนอื่นสัมผัสอยู่กับพื้นดินครบวงจรทำให้เกิดอันตรายเเก่ร่างกายขึ้น
ไฟฟ้าให้โทษแก่มนุษย์ สามารถแบ่งออกได้เป็น    1.เป็นอันตรายแก่ชีวิต
       สิ่งที่ทำให้เสียชีวิตหรือได้รับอันตรายเพียงบาดเจ็บ คือ การไหลของกระแสไฟฟ้า(วัดเป็นจำนวนแอมแปร์) ซึ่งจะมี
ปริมาณ เพียงเล็กน้อย   ถ้าเป็นกระแสไฟสลับก็สามารถจะทำอันตรายถึงเสียชีวิตได้ถ้าหากว่ากระแสไฟฟ้านั้นได้ไหลผ่าน
อวัยวะที่สำคัญ ๆ เช่น หัวใจ อันตรายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายมีอาการ 4 อย่าง คือ

              1.1 กล้ามเนื้อแข็งตัว
              1.2 หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ และหยุดทำงาน
              1.3 เซลล์ภายในร่างกายถูกทำลาย
              1.4 ระบบประสาทชะงัก

    2.เป็นอันตรายต่อทรัพย์สิน
       อันตรายต่อทรัพย์สิน ได้แก่ การเกิดเพลิงไหม้และระเบิด ทำให้ทรัพย์สินเสียหายปีละมากๆ เนื่องจากความประมาท
หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า

         โดยปกติแล้ว สภาพร่างกายแต่ละส่วนของคนเราจะมีความต้านทานกระแสมากน้อยไม่เท่ากัน ในขณะที่ผิวหนังแห้ง
สนิทจะมีความต้านทานประมาท 100,000-600,000 โอห์ม แต่ถ้าเกิดมีความชื้นหรือเหงื่อ เพียงเล็กน้อย ความต้านทาน
จะลดลงเหลือเพียง 800-1,000 โอห์ม เท่านั้นดังนั้นกระเเสไฟฟ้าจึงสามารถผ่านร่างกายได้โดยง่ายอันตรายที่จะได้รับนั้น
ขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย ถ้ามีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านน้อยก็ได้รับอันตรายน้อย ถ้าไหลผ่านมากอันตรายที่ได้
้รับก็มีเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ     ซึ่งพอสรุปปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่มีผลต่อร่างกายได้ดังน
ี้

จำนวนกระแสไฟฟ้า

อาการหรืออันตรายที่เกิดขึ้นเเก่ร่างกาย

1-3 มิลลิแอมแปร์

กล้ามเนื้อกระตุกเลกน้อย ไม่ถึงขั้นอันตรายแต่ก็อาจดิ้นไม่ยอมหลุด

8 มิลลิแอมแปร์

กล้ามเนื้อกระตุกรุนเเรง เป็นเหตุให้ล้มฟาด หรือตกจากที่สูง

10 มิลลิแอมแปร์

กล้ามเนื้อกระตุกรุนเเรงยิ่งขึ้น และอาจได้รับบาดแผล ไหม้ พองด้วย

      เนื่องจากผู้ที่ถูกไฟฟ้าช๊อต ส่วนมากไม่สามารถบังคับตัวเองให้หลุดพ้นจากไฟฟ้าจึงถูกกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย
เป็นเวลานาน ดังนั้น ถ้าไม่มีบุคคลอื่นช่วยเหลืออย่างทันท่วงที อันตรายที่ได้รับก็จะสาหัสมากขึ้น คือหัวใจเต้นรัวเร็วหรือ
ช้าซึ่งอาจได้รับอันตรายถึงชีวิต ถ้าระยะเวลานานกว่ากำหนด ดังนี้

15 มิลลิแอมแปร์ นานกว่า

2 นาที

20 มิลลิแอมแปร์ นานกว่า

1 นาที

30 มิลลิแอมแปร์ นานกว่า

35 วินาที

100 มิลลิแอมแปร์ นานกว่า

3 วินาที

500 มิลลิแอมแปร์ นานกว่า

11/100 วินาที

* 1,000 มิลลิแอมแปร์นานกว่า

1/100 วินาที

      * กล้ามเนื้อบริเวณทรวงอกขยายตัวมากถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลื อย่างทันท่วงที นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีองค์
ประกอบอื่นๆ อีก เช่น ตำแหน่งที่สัมผัส กล่าวคือ ถ้ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายบริเวณอวัยวะสำคัญ เช่น บริเวณศีรษะ
หรือทรวงอก อันตรายที่ได้รับจะมีมากกว่ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านส่วนอื่นของร่างกาย และถ้าร่างกายถูกกระแสไฟฟ้าเป็น
บริเวณกว้าง อันตรายก็อาจจะสาหัสมากขึ้นด้วย

วิธีช่วยเหลือผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด

ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า

      ข้อควรระวังในขณะช่วยเหลือผู้ถูกกระเเสไฟฟ้าดูดติดอยู่ อย่าใช้อวัยวะร่างกายของท่านแตะต้องร่างหรือเสื้อผ้าที่
เปียกชื้นของผู้ถูกไฟฟ้าดูดติดอยู่เป็นอันขาด มิฉะนั้นท่านอาจดูดไปด้วย การช่วยเหลือให้พ้นจากกระแสไฟฟ้าให้เลือกใช้วิธี
ใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

      1. ตัดกระแสไฟฟ้าโดยปลดสวิตช์หรือคัทเอาท์ หรือเต้าเสียบออก
      2. หากตัดกระแสไฟฟ้าไม่ได้ ให้ใช้ไม้แห้ง หรือวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าเขี่ยสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าออกไปให้พ้น
      3. ให้ใช้ผ้าหรือเชือกเเห้งคล้องแขน ขา หรือลำตัว ผู้ถูกไฟฟ้าดูดชักลากออกไปให้พ้นสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าหากผู้ถูก
         ไฟดูดสลบหมดสติให้ทำการปฐมพยาบาลให้ฟื้นต่อไป

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้า      1. อย่าใช้สวิทช์ปิด-เปิดไฟฟ้าบนเตียงนอน เพราะอาจพลิกตัวนอนทับแตก จะถูกไฟฟ้าดูดได้
      2. อย่าเปิดวิทยุหรือใช้ไฟฟ้าในห้องน้ำที่ชื้นแฉะ ถ้ากระแสไฟฟ้ารั่วอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
      3. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่แตกชำรุด ควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนให้เรียบร้อย
      4. อย่าใช้ข้อต่อแยก เสียบปลั๊กหลายทาง เป็นการใช้กระแสไฟเกินกำลัง อาจทำให้สายร้อนและเกิดไฟไหม้ได้
      5. อย่าใช้วัสดุอื่นแทนฟิวส์ หรือใช้ฟิวส์เกินขนาด
      6. อย่าปล่อยให้สายเครื่องไฟฟ้า เช่น พัดลม ลอดใต้เสื่อหรือพรม เปลือกหุ้มหรือฉนวนอาจแตกเกิดไฟช๊อตได้ง่าย
      7. อย่าเดินสายไฟชั่วคราวอย่างลวก ๆ อาจเกิดอันตรายได้
      8. อย่าแก้ไฟฟ้าเองโดยไม่มีความรู้
      9. อย่าเดินสายไฟติดรั้วสังกะสีหรือเหล็กโดยไม่ใช้วิธีร้อยในท่อ ไฟฟ้าอาจรั่วเป็นอันตรายได้
    10. อย่าปล่อยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ เพราะน้ำจะเป็นสะพานให้ไฟฟ้ารั่วไหลออกมาได้
    11. อย่าใช้เครื่องมือไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนหุ้มเป็นที่จับ เช่น ไขควง หัวแร้ง เครื่องวัดไฟฟ้า ฯลฯ
    12. อย่านำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กระแสตรงไปใช้กับไฟกระแสสลับ ควรตรวจสอบให้ดีเสียก่อน
    13. สวิทช์และสะพานไฟ (Cut Out) ทุกแห่งต้องปิด-เปิดได้สะดวก
    14. อย่ายืนบนพื้นคอนกรีตด้วยเท้าเปล่าขณะปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ควรใช้ผ้ายางหรือสวมใส่รองเท้า

ความปลอดภัยในปฏิบัติงานไฟฟ้า
      1. ก่อนปฏิบัติงานต้องตรวจดูเสียก่อนว่า เครื่องมือ และอุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่ใช้ในงานไฟฟ้า ชำรุด  แตก หัก หรือเปล่า
      2. ก่อนปฏิบัติงาน เช่น การต่อสายไฟ ควรยกสะพานไฟ (Cut Out) ออกเสียก่อน
      3. ขณะทำงานไม่ควรหยอกล้อกันเป็นอันขาด
      4. ไม่ควรเสี่ยงอันตรายเมื่อไม่มีความแน่ใจ
      5. ขณะทำงานมือ เท้า ต้องแห้ง หรือสวมรองเท้า
      6. ก่อนปฏิบัติงาน ควรจะเขียนวงจรดูเสียก่อนเพื่อความไม่ประมาท
      7. เมื่อเสร็จงาน ก่อนจ่ายกระแสไฟฟ้า ควรตรวจสอบวงจรไฟฟ้าให้ละเอียดและถูกต้องเสียก่อน
      8. เมื่อจะจ่ายกระแสไฟฟ้าต้องดูให้แน่ใจ ว่าไม่มีใครปฏิบัติงานไฟฟ้าอยู่
      9. ไม่ควรนำฟิวส์ที่โตกว่าขนาดที่ใช้ หรือวัสดุอื่น ๆ เช่น ลวดทองแดงแทนฟิวส์
    10. รอยต่อสายไฟฟ้า ต้องใช้ผ้าเทปพันสายให้เรียบร้อยเสียก่อน
    11. ต่อวงจรให้เสร็จเสียก่อน จึงนำปลายสายทั้งคู่เข้าแผงสวิทช์
    12. สายเครื่องมือไฟฟ้าต้องใช้ชนิดหุ้มฉนวน 2 ชั้น ถ้าขาดต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งเส้น

เราจะป้องกันอันตรายได้อย่างไร      กระแสไฟฟ้าที่ไหลไปตามทางเดินไฟฟ้านั้น ถ้ามีทางไหลของกระแสมากกว่าหนึ่งทางแล้ว กระแสไฟฟ้าจะไหลไปใน
ทางที่มีความต้านทานน้อยที่สุด ดังนั้น เพื่อให้ร่างกาย มีความต้านทาน มากมีกระแสไฟฟ้าผ่านน้อย หรือไม่ไหลผ่านเลย
จึงพอจำแนกวิธีป้องกันได้ดังนี้

      1.การต่อสายดิน (Ground)

เครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างภายนอกเป็นโลหะ เช่น เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เตารีด ปั๊มน้ำ สว่าน เป็นต้น
อุปกรณ์ ไฟฟ้าเหล่านี้ เมื่อมีการชำรุดของไฟฟ้า เช่น ฉนวนเสี่อมสภาพ หรือมีการแตกหักของฉนวน ทำให้สายไฟไปสัมผัส
กับโครงโลหะของเครื่องไฟฟ้านั้น ๆ กระแสไฟฟ้าก็สามารถรั่วไหล มายังโครงสร้างนั้นได้และเมื่อมีผู้นำอุปกรณ์ไฟฟ้า
ชนิดนั้นๆ ในขณะที่ทำงานอยู่ กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านตัวผู้ทำงาน หรือผู้สัมผัสอุปกรณ์นั้นลงสู่ดินทำให้ได้รับอันตรายได้
วิธีป้องกันอุบัติเหตุดังกล่าวคือ การต่อสายดินโดยใช้สายไฟฟ้าต่อกับโครงสร้างส่วนที่เป็นโลหะของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้
ไฟฟ้าเหล่านั้นลงดิน เพื่อเป็นทางให้กระแสไฟฟ้าที่อาจจะรั่วไหลออกมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้น  (เพราะเหตุเนื่องจาก
ฉนวนเสื่อมสภาพหรือฉีกขาด)ไหลลงสู่ดินโดยผ่านทางสายดินที่ได้ต่อไว้ แทนที่จะไหลผ่านตัวผู้ใช้งานหรือผู้ที่ไปสัมผัส
อุปกรณ์เหล่านั้น ซึ่งวิธีการป้องกันโดยใช้สายดินนี้เป็นวิธีมาตรฐานที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป

                                             

ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า

          อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดมีสายเดินต่อให้เรียบร้อยแล้ว ปลั๊กไฟที่ใช้งานจึงมี 3 ขาดังนั้น การนำมาใช้งานจึงควรจัด
เตรียมเต้าเสียบที่มีสายดินพร้อมอยู่แล้ว คือ เดินสายไฟไว้ 3 เส้น โดยใช้เส้นหนึ่งเป็นสายเชื่อมต่อลงดินหรือเดินสายร้อยท่อ
โลหะและใช้ท่อโลหะเป็นสายดินหรือถ้าเดินสายไฟฟ้าไว้เป็นชนิด 2 เส้น อยู่แล้ว ก็ให้เดินสายเพิ่มอีกเส้นหนึ่งเพื่อใช้เป็นสาย
ดิน โดยที่สายดินที่ใช้จะต้องโตไม่น้อยกว่า 1/3 ของสายไฟฟ้าทั้งสองเส้นที่ใช้งานอยู่ หรือถ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดที่ไม่มี
สายดินผู้ใช้งานก็ควรจะต่อสายดินจากโครงโลหะของเครื่องไฟฟ้านั้นลงดินโดยตรง ซึ่งอาจจะต่อสายดินเข้ากับท่อประปา
ที่เป็นโลหะหรือต่อเข้ากับแท่งโลหะไร้สนิม (Ground Rod) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซ.ม ยาวไม่น้อยกว่า 150 ซ.มและ
ฝังลึกจากผิวดินอย่างน้อย 30 ซ.ม ก็จะได้ระบบสายดินที่สมบูรณ์ อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นก็จะไม่มี

        2. การใช้ฉนวนป้องกันไฟฟ้า (Insulation)


         ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าหรือหุ้มสายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ นั้น เป็นสิ่งที่ชำรุดฉีกขาดได้ และฉนวนหุ้มสายจะชำรุดง่าย
ยิ่งขึ้นถ้าผู้ใช้งานใช้อย่างขาดการทะนุถนอมและไม่เอาใจใส่ เช่น การดึงหรือกระชากผ่าน ของมีคมหรือวัตถุที่มีขอบหรือ
มุมแข็ง การวางไว้ในทางที่มีการเหยียบไปมา หรือมีวัตถุหนัก ๆ เคลื่อนทับอยู่เสมอ ก็เป็นเหตุให้ฉนวนชำรุดเสียหายได้
นอกจากนี้การต่อสายไฟฟ้าใช้งานอย่างชั่วคราวมักจะใช้ตะปูตอกกดทับไว้ ทำให้ฉนวนชำรุด กลายเป็นสายเปลือยไปจุดต่อ
ต่าง ๆ ที่ต่อไว้มิได้มีการพันฉนวนป้องกันซึ่งจะกลายเป็นจุดอันตรายไปด้วยสิ่งเหล่านี้ถ้าผู้ใช้งานละเลยไม่ให้ความเอาใจใส่
ก็จะนำอันตรายมาสู่ตัวผู้ใช้งานได

                                

ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า

         เพื่อเป็นการป้องกัน จึงควรหมั่นตรวจสภาพฉนวนของสายไฟฟ้าหรือสายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อหารอยแตกปริ หรือ
ฉีกขาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงขั้วต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ขั้วหลอด ปลั๊ก ถ้าพบว่ามีการชำรุดอย่าปล่อยทิ้งไว้ควรรีบซ่อม
แซมหรือเปลี่ยนทันที

     

ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า

       3. การใช้สวิตช์ตัดวงจรอัตโนมัติ (Earth leakage circuitbreaker)        อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนี้ เป็นอุปกรณ์ที่สามารถตัดวงจรไฟฟ้าทันทีที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลออกจากวงจรการทำงาน
อุปกรณ์ชนิดนี้คือ ปกติในวงจรไฟฟ้าจะมีกระแสไฟฟ้าไหลในสายไฟทั้ง 2 สายเท่ากัน แต่เมื่อเกิดมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหล
ลงดิน โดยผ่านร่างกายหรือผ่านตัวนำอื่น ๆ ก็ตาม กระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายทั้งสองจะไม่เท่ากัน เมื่อเกิดภาวะดังกล่าว อุปกรณ์ตรวจสอบการรั่วของกระแสไฟฟ้าจะส่งสัญญาณไปยังสวิตช์อัตโนมัติ ซึ่งทำหน้าที่ตัดวงจรทันทีก่อนที่จะมีผู้ได้
รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้านับว่าเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ดังกล่าวยังมีราคา
แพงอยู่มาก

                          
ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า

การเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า        ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะต้องพิจารณาเลือกใช้ชนิดและขนาดของสายไฟฟ้าให้ถูกต้องตามมาตรฐานและข้อกำหนดของ
การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบ้านเรือนตั้งอยู่บริเวณใด โดยมีช่างผู้มีความรู้ ความ
ชำนาญ รวมทั้งเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้เอง

อุปกรณ์ไฟฟ้า

        อุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะนำไปติดตั้งใช้งาน เช่น สายไฟฟ้า สวิตช์ตัดตอน คาร์ทริดจ์ฟิวส์ สวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติ
หลอดไฟฟ้า หลอดฟลูออเรสเซนต์ บัลลาสต์ สตาร์เตอร์ ควรเลือกใช้แต่ชนิดที่มีคุณภาพดีและมีเครื่องหมายมาตรฐาน
หรือ ม.อ.ก. แสดงไว้จากกระทรวงอุตสาหกรรมเท่านั้นหากอุปกรณ์ใดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังมิได้มีผู้ได้รับใบอนุญาตให้
แสดงเครื่องหมายมาตรฐานจากกระทรวงอุตสาหกรรม ก็ให้เลือกใช้อุปกรณ์ ที่มีคุณภาพเชื่อถือได้ ข้อกำหนดต่างๆ
นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น โปรดสอบถามและขอคำแนะนำได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าในพื้นที่นั้น

การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับอันตรายจากไฟฟ้า       การช่วยเหลือให้พ้นจากกระแสไฟฟ้า ให้เลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
       1. ตัดกระแสไฟฟ้าโดยปลดสวิตช์หรือคัทเอาท์ หรือเต้าเสียบออก
       2. หากตัดกระแสไฟฟ้าไม่ได้ ให้ใช้ไม้แห้ง หรือวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าเขี่ยสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าออกไปให้พ้น
       3. ให้ใช้ผ้าหรือเชือกเเห้งคล้องแขน ขา หรือลำตัว ผู้ถูกไฟฟ้าดูดชักลากออกไปให้พ้นสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้า หากผู้ถูก
          ไฟดูดสลบหมดสติให้ทำการปฐมพยาบาลให้ฟื้นต่อไป

       การช่วยเหลือด้วยวิธีปฐมพยาบาล
       1. หากหัวใจหยุดเต้น (ตรวจโดยเอาหูฟังที่หน้าอกหรือจับชีพจร) ให้ใช้วิธี "นวดหัวใจภายนอก " โดยเอามือกดตรง
ที่ตั้งหัวใจให้ยุบลงไป 3 - 4 เซนติเมตร เป็นจังหวะ ๆ เท่าจังหวะการเต้นของหัวใจ(ผู้ใหญ่วินาทีละ 1 ครั้ง เด็กเล็กวินาที
ละ 2 ครั้ง) นวด 10 - 15 ครั้ง เอาหูแนบฟังครั้งหนึ่ง
       2. หากไม่หายใจ (ตรวจโดยดูการขยายของซี่โครงและหน้าอก) ให้ใช้วิธีเป่าลมเข้าทางปากหรือทางจมูกของผู้ป่วย
ดังนี้คือ

        การเป่าปาก จับผู้ป่วยนอนหงาย ใช้หัวแม่มือง้างปลายคางผู้ป่วยให้ปากอ้าออก หากมีเศษอาหารหรือวัสดุใดๆ  ให้
ล้วงออกให้หมด แล้วจับศีรษะให้เงยหน้ามาก ๆ ผู้ช่วยเหลืออ้าปากแล้วประกบกับปากผู้ป่วยให้สนิท และเป่าลมเข้าไปอย่าง
แรงจนปอดผู้ป่วยขยายออก (ซี่โครงและหน้าอกพองขึ้น) แล้วปล่อยให้ลมหายใจของผู้ป่วยออกเอง แล้วเป่าอีก ทำเช่นนี้เป็น
จังหวะ ๆ เท่ากับจังหวะหายใจปกติ (ผู้ใหญ่นาทีละ 12 - 15 ครั้ง เด็กเล็กนาทีละ 20 - 30 ครั้ง)    ถ้าเป่าปากไม่ได้ให้ปิด
ปากผู้ป่วยแล้วเป่าเข้าทางจมูกแทน  ถ้าผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นและไม่หายใจด้วย ให้นวดหัวใจสลับกับการเป่าปาก ถ้ามีผู้ช่วย
เหลือเพียงคนเดียวก็ให้เป่าปาก 2 ครั้ง สลับกับการนวดหัวใจ 15 ครั้ง หรือถ้ามีผู้ช่วยเหลือสองคน ก็ให้นวดหัวใจสลับกับ
การเป่าปากเป็นทำนองเดียวกัน โดยเป่าปาก 1 ครั้ง นวดหัวใจ 5 ครั้ง การปฐมพยาบาลนี้ ต้องรีบทำทันที  หากช้าเกินกว่า
4 - 6 นาที โอกาสที่จะฟื้นมีน้อย ขณะพาส่งแพทย์ก็ควรทำการปฐมพยาบาลไปด้วยตลอดเวลา



ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า

ที่มา:http://www.kroolert.site90.com/electric/safty1.html