หลักการจัดการสิ่งแวดล้อม principle of environmental management

Toggle the table of contents

การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หลักการจัดการสิ่งแวดล้อม principle of environmental management

การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม (อังกฤษ: environmental resource management) คือการจัดการเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์และผลกระทบของสังคมมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้มั่นใจว่าบริการของระบบนิเวศจะได้รับการคุ้มครองและบำรุงรักษาสำหรับมนุษย์รุ่นต่อไปในอนาคต รวมทั้งรักษาความสมบูรณ์ของระบบนิเวศไว้โดยพิจารณาจากตัวแปรทางจริยธรรม เศรษฐกิจ และวิทยาศาสตร์ (นิเวศวิทยา)[1] การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมพยายามที่จะระบุปัจจัยที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการตอบสนองความต้องการและการปกป้องทรัพยากร[2] การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับการปกป้องสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และการจัดการภูมิทัศน์แบบบูรณาการ

ดูเพิ่ม[แก้]

  • การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

อ้างอิง[แก้]

  1. Pahl-Wost, C. (May 2007). "The implications of complexity for integrated resource management". Environmental Modelling and Software. 22 (5): 561–9. CiteSeerX 10.1.1.196.1136. doi:10.1016/j.envsoft.2005.12.024.:561
  2. Uehara, Thiago Hector Kanashiro; Otero, Gabriela Gomes Prol; Martins, Euder Glendes Andrade; Philippi Jr, Arlindo; Mantovani, Waldir (June 2010). "Pesquisas em gestão ambiental: análise de sua evolução na Universidade de São Paulo". Ambiente & Sociedade. 13 (1): 165–185. doi:10.1590/s1414-753x2010000100011. ISSN 1414-753X.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Schaltegger, Stefan; Burritt, Roger; Petersen, Holger (2003). An Introduction to Corporate Environmental Management: Striving for Sustainability. Greenleaf. ISBN 978-1-874719-65-6.
  • Low Hock Heng (2003). "Globalisation, Business and Environmental Management: to Correct the Broken Compass?". Jurnal Kemanusiaan. ISSN 1675-1930. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-01-24. สืบค้นเมื่อ 2019-01-12.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Economic Costs & Benefits of Environmental Management เก็บถาวร 2010-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน NOAA Economics
  • business.gov เก็บถาวร 2009-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน — provides businesses with environmental management tips, as well as tips for green business owners (United States)
  • Nonprofit research on managing the environment

ความหมายและความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม

ความหมายของการจัดการสิ่งแวดล้อม
การจัดการสิ่งแวดล้อม หมายถึง กระบวนการแผ่กระจายทรัพยากรที่สำคัญทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสนองความพอใจในการนำไปใช้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ต้องเป็นการดำเนินการอย่างมีระบบในการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ โดยไม่มีผลกระทบต่อระบบสิ่งแวดล้อม เพื่อจะมีทรัพยากรใช้ได้ตลอดไป

ความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม
ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาเป็นแนวทางวางแผนการจัดการ และปฏิบัติโดยสามารถพยากรณ์สภาพปัญหาและวางแผนแก้ไขปัญหาก่อนการลงมือปฏิบัติดำเนินโครงการพัฒนาหรือเตรียมแผนไว้ใช้ระหว่างและหลังการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาระบบ โดยไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด ทั้งนี้สามารถคาดคะเนทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมได้ด้วย

หลักการและแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม
มีวัตถุประสงค์เพื่อ
- มุ่งการใช้ทรัพยากรให้ยั่งยืนยาวนาน
- ใช้ทรัพยากรโดยเพิ่มจำนวน และรักษาจำนวนที่มีอยู่
- รู้จักการหมุนเวียนทรัพยากรนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
- ควบคุมของเสียและมลพิษที่เกิดขึ้น
- รักษา , สงวน , ปรับปรุง , ซ่อมแซม , พัฒนาการใช้ทรัพยากร
- ควบคุมระบบนิเวศให้อยู่ในสมดุลธรรมชาติ
- ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดี
หลักเกณฑ์ในการวางแผนการจัดการยึดหลักอนุรักษ์วิทยาโดยมีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
- การใช้อย่างสมเหตุสมผล ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามีผลเสียน้อยที่สุด
- การปรับปรุงซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอหรือสูญหาย
- การประหยัดในส่วนที่ควรสงวนไว้
คำนึงถึงการใช้ เช่น กรณีการสร้างเขื่อนในพื้นที่ป่า
- ทรัพยากรที่นำออกจากระบบ คือ ทรัพยากรที่เป็นสิ่งนำออก (Output) หลังจากมีโครงสร้างการพัฒนาเข้าสู่ระบบ เช่น คน, ต้นไม้ ฯลฯ
- ทรัพยากรที่นำเข้ามาใช้ในระบบ คือ ทรัพยากรที่เป็นสิ่งนำเข้า (Input) นำเข้าสู่ระบบ เช่น เครื่องจักร ฯลฯ
- ทรัพยากรที่ใช้ในระบบ คือ ทรัพยากรที่มีใช้อยู่เดิมในระบบ เช่น คน, บ้านเรือน, ต้นไม้ ฯลฯ
- ทรัพยากรที่ใช้นอกระบบ คือ ทรัพยากรที่อยู่นอกระบบแต่มีความเกี่ยวข้องหรือมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบและการทำงานในระบบ เช่น ความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าของชุมชน

ขั้นตอนการจัดการสิ่งแวดล้อม
ตั้งจุดประสงค์สุดยอด (Goal)
3.1) วัตถุประสงค์ : ความต้องการ
3.2) เป้าหมาย : บอกขนาดและทิศทาง ให้เห็นรูปธรรม
3.3) นโยบาย : หลักการ แผนงาน แนวทางการดำเนินงาน
3.4) มาตรการ : แนวทางการควบคุม
3.5) แผนงาน : การกำหนดงานหรือสิ่งที่ต้องทำ
3.6) แผนปฏิบัติการหรือโครงการ : กำหนดกิจกรรมของงานและขั้นตอนการดำเนินงาน ระบุผู้รับผิดชอบงบประมาณ เวลา สถานที่ โดยละเอียด

การจัดการสิ่งแวดล้อมในประเทสไทย
มีข้อจำกัดหลายประการดังรวบรวมได้เป็นปัญหาในการจัดการสิ่งแวดล้อมของรัฐดังนี้
1. ประชาชนขาดความรู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. หน่วยงานขาดการประสานงานที่ดี
3. ขาดการวางแผนการใช้ทรัพยากรฯ แบบผสมผสาน
4. มีการใช้ทรัพยากรฯ มากเกินไป จนไม่สามารถฟื้นคืนสภาพได้
5. ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการกันไม่ให้เกิดมลพิษ
6. ขาดแคลนบุคลากรและงบประมาณในการแก้ปัญหา
7. ระบบบริหารทรัพยากรฯ ในประเทศไทยขาดประสิทธิภาพ
8. ขาดความศักดิ์สิทธิทางกฎหมาย
ฯลฯ

หน่วยงานที่เกียวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม
ภาครัฐบาล ได้แก่
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ป่าไม้ คือ กรมอุทยานแห่งชาติ-สัตว์ป่า และพันธุ์พืชและกรมป่าไม้
- กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ภาคเอกชน ได้แก่
- สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
- มูลนิธิต่าง ๆ เช่น ตาวิเศษ , ช้าง , สัตว์ป่าพรรณพืช ฯลฯ
- ชมรมอนุรักษ์ ฯ ในสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นต้น
หน่วยงานและองค์กรทางสิ่งแวดล้อมต่างประเทศ
- UNEP หรือองค์กรสิ่งแวดล้อมโลก (UNITED NATIONS ENVIRONMENT PROGRAMME) ขึ้นกับ UNESCO มีประเทศสมาชิกทั่วโลกกว่า 150 ประเทศ มีการจัดประชุมสิ่งแวดล้อมโลกครั้งแรกที่กรุงริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล และกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี
- NETTLAP (NETWORD FOR ENVIRONMENTAL TRAINING AT TERITARY LEVEL IN ASIA AND THE PACIFIC) เป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือในด้านทุนวิจัยสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

ว่าที่ร้อยตรีหญิงยุวดี กวาตระกูล. สังคมกับสิ่งแวดล้อม.

สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.