ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ม. 5 สรุป

การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

Show

ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ของจำนวนประชากร ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ในปริมาณที่มากและรวดเร็วเกินความพอเพียง ทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดเป็นปัญหาตามมา เช่น การหมดไป การร่อยหรอ และความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้ทุกประเทศในโลกหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ซึ่งจะต้องมีการร่วมมือกันของทุก ๆ ฝ่ายในการร่วมกันแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่คำนึงถึงความเสียหาย มีการป้องกันปัญหาที่เกิดแก่สิ่งแวดล้อม หรือเกิดความเสียหายน้อยที่สุด โดยคำนึงถึงความต้องการพื้นฐานของประชากรในประเทศด้วย

ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ม. 5 สรุป

1. แนวทางการแก้ปัญหาและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

จะต้องอาศัยความพร้อมของชุมชนและความร่วมมือกันทุก ๆ ฝ่าย ทั้งคนในชุมชน หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

1.1 ควบคุมการเพิ่มจำนวนประชากร การเพิ่มจำนวนประชากรทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างกว้างขวาง จึงต้องมีการผลิตอาหารและจัดสรรที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากร เกิดสารพิษในสิ่งแวดล้อม และทำให้ธรรมชาติขาดความสมดุลในที่สุด การหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนประชากรมนุษย์เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติลงได้

1.2 วางแผนการใช้ที่ดินและน้ำ ที่ดินทั้งในชนบทและในเมืองต้องมีการจัดสรรการใช้ให้เหมาะสมกับสมรรถนะของดิน ไม่ว่าเพื่อประโยชน์ทางการเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการใช้เป็นชุมชนที่อยู่อาศัย หรือการใช้เพื่อการสาธารณูปโภค ให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด ส่วนน้ำที่ใช้ในกิจการต่าง ๆ ก็ต้องมีการวางแผนการใช้ให้เกิดความเป็นธรรม เหมาะสมกับฤดูกาลและวัตถุประสงค์การใช้ รวมถึงต้องมีการป้องกันสารพิษหรือน้ำเสียแพร่กระจายลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติด้วย

1.3 ป้องกันและกำจัดสารพิษ สารพิษที่แพร่กระจายในอากาศ แหล่งน้ำ และในวงจรอาหารจะต้องกำจัดออกไป โดยการป้องกันและควบคุมการใช้สารพิษเหล่านั้นทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และการใช้ในบ้านเรือน โดยมีแหล่งรวบรวมจัดการและขจัดสารพิษเหล่านั้นมิให้แพร่กระจายออกไป

1.4 ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในสภาพเสื่อมโทรม เช่น ป่าไม้ แหล่งน้ำ การพังทลายของหน้าดิน ต้องได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่การปลูกป่าโดยเร็ว การขุดลอกแหล่งน้ำอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งการใช้ที่ดินเพื่อกิจการต่าง ๆ ต้องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เช่น พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ก็ควรใช้ในการเพาะปลูก ไม่ใช้พื้นที่เพื่อทำการก่อสร้างอาคาร โรงงานต่าง ๆ ไม่ทำเป็นบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เช่น เลี้ยงกุ้งกุลาดำ ปู หอย เพราะจะทำให้ดินเค็ม พื้นที่ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีก

ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ม. 5 สรุป

ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ม. 5 สรุป

1.5 ประหยัดการใช้ทรัพยากร การใช้ทรัพยากรทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นน้ำ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ๆ การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ควรเป็นไปอย่างประหยัดและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ามากที่สุด

1.6 พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม เทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ทั้งในการเกษตร อุตสาหกรรม การสื่อสารคมนาคม และในครัวเรือน จะต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งจะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขฟื้นฟูสภาพแวดล้อม

1.7 ปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมที่เหมาะสม ค่านิยมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต และการใช้ปัจจัยในการดำรงชีวิต จะต้องเป็นไปอย่างพอเหมาะกับกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศ

1.8 จัดการศึกษา การจัดการศึกษาเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในชีวิตและธรรมชาติเพื่อให้ประชาชนเกิดทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติได้อย่างแท้จริง

2. การดำเนินชีวิตเพื่อการพัฒนาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

การดำเนินชีวิตของมนุษย์มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะปัจจัยในการดำรงชีวิตทุกอย่างล้วนต้องได้มาจากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ รวมทั้งสิ่งปฏิกูล ของเหลือใช้ต่าง ๆ ก็จะเป็นขยะและมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ถ้าทุกคนได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในการดำรงชีวิตก็จะช่วยพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนได้ ดังนี้

ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ม. 5 สรุป

2.1 คำนึงถึงผลการกระทำของตนที่จะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม มีความเข้าใจและตระหนักอยู่เสมอว่า ไม่ว่าการกระทำใด ๆ ของตนย่อมมีผลต่อสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งที่อยู่โดยรอบเสมอ และหากการกระทำนั้นมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมตนเองก็จะได้รับผลเสียนั้นด้วย

ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ม. 5 สรุป

2.2 เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่โดยรอบตัวเอง โดยการสังเกตและเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัว และเหตุการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกวัน วิเคราะห์ถึงเหตุและปัจจัยที่เกิดขึ้น พยายามเรียนรู้และเข้าไปศึกษาด้วยประสบการณ์ตรงและอาศัยผู้รู้บอกเล่า และการค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าถึงองค์ความรู้และความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น

ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ม. 5 สรุป

2.3 ดำรงชีวิตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการดำรงชีวิตอย่างเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อผู้อื่นและต่อสิ่งแวดล้อมให้คงสภาพสมดุล และท้ายสุดเอื้อต่อการดำรงชีวิตของตนเองและผู้อื่นรู้จักรับผิดชอบต่อการดำรงรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งเพื่อคนในรุ่นปัจจุบันและคนรุ่นต่อไป

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญที่ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม การเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งพบได้เกือบทุกประทศ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ประสบกับปัญหาดังกล่าว เนื่องจากให้ความสำคัญกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ซึ่งหากไม่มีแผนการดำเนินงานที่เหมาะสมแล้ว จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่มีสภาพเสื่อมโทรมลง และก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นประเทศไทยจึงได้น้อมนำโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีแนวทางเป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือการนำทรัพยากรหรือวัสดุต่าง ๆ ที่สามารถหาได้ง่ายในชุมชนมาใช้ประโยชน์ เพื่อบำบัดน้ำเสียและใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดกับมลพิษทางน้ำของประเทศ โดยแต่ละโครงการมีหลักการและสาระสำคัญ ดังนี้

3.1 การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา โครงการปรับปรุงแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ โครงการบึงมักกะสันอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีหลักการบำบัดน้ำเสียตามแนวทฤษฎีการพัฒนาโดยอาศัยผักตบชวาช่วยดูดซับสิ่งสกปรก โลหะหนัก และสารพิษต่าง ๆ ในแหล่งน้ำ

3.2 การบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศ เกิดขึ้นที่อำเภอหนองหาน จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นแหล่งรองรับน้ำเสียจากครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร เมื่อชุมชนเมืองมีการขยายตัว จนทำให้หนองหานไม่สามารถรองรับน้ำเสียได้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่การบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชและระบบเติมอากาศ เป็นระบบบำบัดน้ำโดยอาศัยธรรมชาติร่วมกับเทคโนโลยีแบบประหยัดเข้ามาช่วยในการบำบัดน้ำ คือ การสร้างบ่อกรวดสำหรับดักสารแขวนลอย จากนั้นส่งผ่านน้ำไปยังบ่อต่อ ๆ ไปซึ่งมีการปลูกต้นกกอียิปต์เพื่อดับกลิ่น การปลูกผักตบชวาเพื่อดูดซับสิ่งสกปรก โลหะหนัก และสารพิษต่าง ๆ ในแหล่งน้ำ สุดท้ายจึงส่งน้ำเข้าสู่บ่อเติมออกซิเจน โดยอาศัยกังหันน้ำชัยพัฒนาและแผงท่อเติมอากาศช่วยเติมออกซิเจนลงในน้ำ

ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ม. 5 สรุป

3.4 กังหันชัยพัฒนา เป็นเครื่องกลเติมอากาศโดยเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำเพื่อบำบัดน้ำเสีย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงคิดค้นทฤษฎีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ กังหันชัยพัฒนาเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย ประหยัด และสามารถผลิตขึ้นเองภายในประเทศ

3.5 การกำจัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาทดลองวิจัยว่ามีปลาชนิดใดที่จะช่วยกินสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำเสีย ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดน้ำเสียได้ โดยพบว่าปลาบางชนิดมีอวัยวะพิเศษในการหายใจ เช่น ปลากระดี่ และปลาสลิด เหมาะแก่การเพาะเลี้ยงในแหล่งน้ำ เพื่อให้ช่วยกินสารอินทรีย์และลดมลภาวะในแหล่งน้ำได้ วิธีนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำจัดน้ำเสียได้ดี มีต้นทุนต่ำ และสามารถเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำได้อีกทางหนึ่ง

ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ม. 5 สรุป

จึงกล่าวได้ว่า ในธรรมชาติรอบตัวเรามีทรัพยากรต่าง ๆ อยู่มากมาย ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดอาจใช้แล้วหมดไป บางชนิดอาจเกิดขึ้นใหม่ได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัว และบางชนิดอาจเป็นทรัพยากรที่ใช้ได้ไม่มีวันหมด แต่หากขาดการจัดการอย่างเหมาะสมก็อาจทำให้ทรัพยากรเสื่อมโทรม จนเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้ ดังนั้น การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจึงจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมแก้ไขฟื้นฟู การอนุรักษ์ และการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้ใช้ทรัพยากรได้อย่างเกิดประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุด และก่อให้เกิดผลเสียต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ม. 5 สรุป

ตัวอย่าง ข้อสอบ O-Net ปี 2561

เลือกตำตอบที่ถูกต้อง 2 ตัวเลือก

กิจกรรมใดเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่ชุ่มน้ำของผืนป่าแอมะซอนที่ป่าถูกตัดโค่นไปแล้ว

1. การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

2. การทำฟาร์มปศุสัตว์โดยเฉพาะเลี้ยงวัว

3. การทำประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

4. การปลูกป่าในบริเวณที่ป่าถูกตัดไปแล้ว

5. การทำนาข้าวเนื่องจากป่าที่ถูกตัดไปแล้วเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง

ข้อนี้นักเรียนต้องวิเคราะห์สภาพป่าแอมะซอนก่อน ซึ่งมีลักษณะเป็นป่าดิบชื้น ก่อนผืนป่าจะถูกทำลาย อุดมไปด้วยพันธุ์ไม้นานาพันธุ์ สัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ จนได้ชื่อว่าเป็นปอดของโลก ดังนั้นเมื่อป่าถูกทำลายวิธีที่จะช่วยให้ป่ากลับมาสมบูรณ์ใกล้เคียงกับสภาพเดิมมากที่สุด กิจกรรมที่ทำก็ต้องเหมาะสมกับสภาพป่าที่เคยเป็น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ 3 และ ข้อ 4 ค่ะ

ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ม. 5 สรุป