การ ควบคุม กลยุทธ์ สมัยใหม่ คือ

การ ควบคุม กลยุทธ์ สมัยใหม่ คือ

ผู้เขียนได้ศึกษาเรื่องการจัดการเชิงกลยุทธ์จากผลงานของท่าน ผอ.พงศ์พันธุ์ ไชยวัณณ์ อดีตผอ.สพป. ชม. 4 ที่ได้จัดทำเอกสารเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงกลยุทธ์ เห็นว่ามีประโยชน์จึงได้นำมาขยายผลให้ผู้อ่านที่ชื่นชอบการจัดการเรียนรู้เชิงกลยุทธ์ได้ศึกษาเพิ่มเติม โดยการจัดการเชิงกลยุทธ์ มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้

การ ควบคุม กลยุทธ์ สมัยใหม่ คือ
ผอ.พงศ์พันธุ์ ไชยวัณณ์
  • Wheelen  และ Hunger (2006)  ให้ความหมายของการจัดการเชิงกลยุทธ์ว่า  หมายถึง  การตัดสินใจในการปฏิบัติการเพื่อให้องค์การประสบผลสำเร็จในการดำเนินการในระยะยาว
  • Pearce  และ Robinson (2009)  ให้ความหมายการจัดการเชิงกลยุทธ์ว่า คือชุดการตัดสินใจของการกระทำที่ส่งผลให้เกิดการทำแผนและการปฏิบัติตามแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
  • วรางคณา   ผลประเสริฐ (2556:6) ได้ให้ความหมายไว้ว่าการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการบริหารอย่างมีระบบที่ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ผู้ของผู้นำและอาศัยการวางแผนอย่างมีขั้นตอน โดยผ่านการตัดสินใจและการประเมินแล้วว่าเหมาะสมกับองค์การและสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง อันจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์การ

สรุป การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการจัดการอย่างเป็นระบบจากวิสัยทัศน์ที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์และประเมินอย่างเป็นระบบเพื่อการวางแผนดำเนินการให้เหมาะสมกับสถานการณ์สู่ความสำเร็จ


ความสำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์

การจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้นักบริหารกำหนดทิศทางขององศ์กร โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์กร เพื่อที่จะนำกลยุทธ์เหล่านั้นไปประยุกต์ปฏิบัติและควบคุมประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรได้ กลยุทธ์การบริหารที่ทรงคุณภาพนี้ จะต้องดีพร้อมสมบูรณ์ตามความหมายทั้ง 2 อย่างคือ การมีประสิทธิผล(Effectiveness) ที่สามารถบรรลุผลสำเร็จในเป้าหมายนั้นๆได้ และมีประสิทธิภาพ (Efficiency) ที่สำเร็จในเป้าหมายเหล่านั้นโดยมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย

วรางคณา ผลประเสริฐ (2556:9) ได้จำแนกความสำคัญของการจดการเชิงกลยุทธ์ไว้ 6 ประการ ดังนี้

  1. ช่วยให้องค์การมีกรอบและทิศทางที่ชัดเจน
  2. ช่วยให้ผู้บริหารคิดอย่างเป็นระบบ
  3. ช่วยสร้างความพร้อมให้แก่องค์กร
  4. ช่วยสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขั้น
  5. ช่วยให้การทำงานเกิดความสอดคล้องในการปฏิบัติหน้าที่
  6. ช่วยให้องค์การที่มีมุมมองที่ครอบคลุม

ลักษณะสำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์

วรางคณา ผลประเสริฐ (2556:11-13) ได้จำแนกลักษณะสำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์ไว้ดังนี้

  1. เป็นการบริหารที่มุ่งถึงอนาคต (Future-Oriented)โดยการสร้าง วิสัยทัศน์ พันธะกิจ และเป้าประสงค์ขององค์การ
  2. เป็นการมุ่งเน้นการจัดการต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กร (Change-Oriented) ทั้งระบบ   ซึ่ง ครอบคลุมโครงสร้าง เทคโนโลยี บุคลากรและทรัพยากรต่างๆ
  3. เป็นการบริหารองค์การแบบองค์รวม (Holistic  Approach)  มุ่งเน้นภาพรวมทั้งหมดขององค์การมากกว่าการแยกส่วนการจัดการของทุกภาคส่วน  มุ่งสู่ทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน
  4. การบริหารองค์การที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ ในการดำเนินการ (Result based  Focus)  ที่มีการระบุตัวชี้วัดที่ชัดเจน ตลอดจนเป้าหมายและวัตถุประสงค์
  5. การบริหารที่ให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียกับองค์การทุกภาคส่วน (Stakeholder-Oriented)
  6. การเป็นองค์การที่มุ่งเน้นการวางแผนระยะยาว(Long-Range Planning)

กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์

ประกอบด้วยขั้นตอนพื้นฐานดังต่อไปนี้

  1. การวิเคราะห์กลยุทธ์ (Strategic Analysis)
  2. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategic Formulation)
  3. การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation)
  4. การประควบคุมกลยุทธ์ (Strategic Evaluation and Control)

งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 7 การควบคุมเชิงกลยุทธ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 7 การควบคุมเชิงกลยุทธ์
บทที่ 7 การควบคุมเชิงกลยุทธ์ หมายถึง..... การตรวจสอบถึงความก้าวหน้าของ องค์กรในการดำเนินกลยุทธ์ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ตาม แผนงานที่วางไว้ และเป็นการกระตุ้นจูงใจบุคลากรให้ ปฏิบัติตามกลยุทธ์ เพื่อบรรลุเป้าประสงค์ตามที่ได้กำหนด ไว้ STRATEGIC MANAGEMENT : A. Yingchai Kaseamsolos.

2 องค์ประกอบกระบวนการควบคุมเชิงกลยุทธ์
กำหนดสิ่งที่จะควบคุมและประเมิน กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการเปรียบเทียบตัวชี้วัดความสำเร็จ ประเมินผลการปฏิบัติงานตามช่วงเวลา เช่น การเงิน การตลาด การผลิต ฯ เปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้ กับเกณฑ์มาตรฐานที่องค์กร กำหนดไว้ และหาวิธีแก้ไขปรับปรุงกลยุทธ์ STRATEGIC MANAGEMENT : A. Yingchai Kaseamsolos.

3 การควบคุมเชิงกลยุทธ์
จะใช้การควบคุมประเมินผล 4 ระดับ 1. การติดตามผลการปฏิบัติงาน (Monitoring) ตามกลยุทธ์ 2. การประเมินผลการปฏิบัติงานของงาน/โครงการ และ ประเมินผลสำเร็จขององค์กร 3. การทบทวนการกำหนดทิศทางขององค์กร และวางแผน แม่บทหรือระยะยาว/VMOG 4. การทบทวนสถานภาพขององค์กร/SWOT STRATEGIC MANAGEMENT : A. Yingchai Kaseamsolos.

4 1. การติดตามผลการปฏิบัติงาน (Monitoring)
การเฝ้าระวังและตรวจสอบความคลาดเคลื่อนจาก แผนที่วางไว้ให้เร็วที่สุด เพื่อการแก้ไขและจัดกระบวนการ ขององค์กร STRATEGIC MANAGEMENT : A. Yingchai Kaseamsolos.

5 ขั้นตอนในการติดตามผลการปฏิบัติงาน
1. กำหนดกิจกรรมและขั้นตอนของกิจกรรม (Work Breakdown Structure) 1.1 การจำแนกกิจกรรมโดยยึดเป้าประสงค์ของแผนงานเป็นหลัก จำแนก เป็นโครงการ (Project) 1.2 การจำแนกกิจกรรมโดยยึดวัตถุประสงค์ย่อยของโครงการเป็นหลัก จำแนกออกเป็นผลผลิต (Output) 1.3 การจำแนกโดยยึดผลผลิตสุดท้ายที่เกิดจากขั้นตอนในกระบวนการผลิต/ จำแนกเป็นกิจกรรม (Activity) STRATEGIC MANAGEMENT : A. Yingchai Kaseamsolos.

6 STRATEGIC MANAGEMENT : A. Yingchai Kaseamsolos.
2. การกำหนดตารางเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด การทำกิจกรรม (Bar Chart and Milestone) เป็นเครื่องมือสื่อสารถึงสถานะของแผน ใช้ในการ เปรียบเทียบความก้าวหน้าของกิจกรรมระหว่างแผนงานกับผล การปฏิบัติงาน STRATEGIC MANAGEMENT : A. Yingchai Kaseamsolos.

7 STRATEGIC MANAGEMENT : A. Yingchai Kaseamsolos.
2. การประเมินผลการปฏิบัติงานของงาน/โครงการ และ ประเมินผลสำเร็จขององค์กร 2.1) การประเมินผลการปฏิบัติงานของงาน/ โครงการ การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานของงาน/ โครงการ กับเป้าหมายขององค์กรซึ่งกำหนดไว้ในรูปของ ผลลัพธ์ (Outcome) และผลผลิต (Output) STRATEGIC MANAGEMENT : A. Yingchai Kaseamsolos.

8 การประเมินผลการปฏิบัติงานทำได้ 3 รูปแบบ
1) ประเมินผลเชิงคุณลักษณะ (Qualitative Measurements) เป็นการพิจารณาถึงผลการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ เช่น คุณภาพการผลิต/ ปัจจัยด้านบุคคล/การขาดงาน/ลาออก 2) การประเมินผลเชิงปริมาณ (Quantitative Measurements) การเปรียบเทียบมูลค่าของผลงานที่ได้รับกับค่าใช้จ่ายในเชิงประมาณ เช่น ค่า ROI ผลตอบแทน/กำไรต่อหุ้น/ยอดขาย 3) การตรวจสอบโดยผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder, s Audit) พิจารณาสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร ผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วน ร่วมลงทุนในกิจการขององค์กร STRATEGIC MANAGEMENT : A. Yingchai Kaseamsolos.

9 2.2 ประเมินผลสำเร็จขององค์กร
2.2 ประเมินผลสำเร็จขององค์กร การวัดและประเมินผลความสามารถขององค์กรโดยการ เปรียบเทียบผลที่ค่าว่าจะได้รับกับผลแท้จริงที่เกิดขึ้นจากการ ปฏิบัติงาน องค์กรนำไปเปรียบเทียบกับธุรกิจประเภทเดียวกันหรือ อุตสาหกรรมเดียวกัน การเปรียบเทียบ (Benchmarking) วัดได้ จากผลตอบแทนภายในองค์กร/ผลตอบแทนที่ได้รับ STRATEGIC MANAGEMENT : A. Yingchai Kaseamsolos.

10 3. การทบทวนทิศทางองค์กร
3. การทบทวนทิศทางองค์กร เป็นการทบทวนถึงแผนแม่บท หรือ แผนระยะยาวที่องค์กรได้วางไว้ องค์กรจะทบทวนในเรื่องของ วิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์และ เป้าหมาย (VMOG) 4. การทบทวนสถานภาพขององค์กร เป็นการศึกษาวิเคราะห์เงื่อนไขที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายในและ ภายนอกองค์กร ที่มีผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อกาดำเนินงาน ขององค์กร STRATEGIC MANAGEMENT : A. Yingchai Kaseamsolos.

11 การปฏิบัติการแก้ไข และ แผนฉุกเฉิน
เป็นการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาทุกเรื่องที่เป็นอุปสรรคต่อการ ดำเนินกลยุทธ์ เช่น การปรับโครงสร้างองค์กร ปรับเปลี่ยน ภารกิจ จัดสรรทรัพยากรใหม่ หรืออาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ คาดหวังขึ้นทั้งในทางบวกและทางลบ แผนฉุกเฉินมีไว้สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดหวังในทางลบมี ไว้สำหรับเป็นฐานะแผนทางเลือกสำหรับ STRATEGIC MANAGEMENT : A. Yingchai Kaseamsolos.

12 สารสนเทศในการควบคุมเชิงกลยุทธ์
ข้อมูลการชี้วัดความสำเร็จของการปฏิบัติงาน ข้อมูลการประมาณรายรับ-รายจ่ายจริง/ข้อมูลสถานการณ์เงินขององค์กร ข้อมูลเปรียบเทียบความก้าวหน้าของแผนงาน และผลการปฏิบัติงาน ข้อมูลทรัพยากรที่มีอยู่ภายในองค์กรเป็นเช่นใด ข้อมูลรายงานถึงปัญหา / อุปสรรคในกระบวนการปฏิบัติงาน ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายนอกบอกถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับองค์กร STRATEGIC MANAGEMENT : A. Yingchai Kaseamsolos.

13 ปัญหาการควบคุมเชิงกลยุทธ์
เกิดการต่อต้านของบุคลากรในองค์กร ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญของการควบคุมเชิงกลยุทธ์ การมอบอำนาจหน้าที่ให้กับบุคคลที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การควบคุมและการประเมินผลเป็นผู้ควบคุม องค์กรนำเรื่องการควบคุมและประเมินผลไปรวมกับการประเมินผล การปฏิบัติงานเพื่อการให้รางวัลและเลื่อนขั้น ปัญหาเรื่องสารสนเทศ อาทิ ข้อมูลไม่ถูกต้อง เกิดการผิดพลาดใน การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล STRATEGIC MANAGEMENT : A. Yingchai Kaseamsolos.