ข้อใดเป็นการปฏิบัติตนตามเมตตามโนกรรมต่อประเทศเพื่อนบ้านตามหลักสาราณียธรรม 6

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ชื่อวิชาสังคมศึกษา    ส 22101   กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

รายวิชา พื้นฐาน    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2    ภาคเรียนที่ 1        เวลา 3  ชั่วโมง

เรื่อง   ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่เสริมสร้างสิ่งดีงามกับเพื่อนบ้าน

1.  สาระสำคัญ

          หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ หลักสาราณียธรรม 6 และหลักสังคหวัตถุ 4

2.  มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้  

ส 1.1  รู้และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนา  

          ที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม

         เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

       ตัวชี้วัด

1.1 ม.2/2 วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน

จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด

1. อธิบายการวิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับ 

    ประเทศเพื่อนบ้าน (K)

2. ศึกษาและจำแนกหลักธรรมที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน (P)

3. เห็นคุณค่าในการนำหลักธรรมเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติตนและต่อบุคคลอื่นในการ

                 ดำเนินชีวิตประจำวัน (A)

3.  สาระการเรียนรู้

(k)ความรู้

1.  สาราณียธรรม 6

          2.  สังคหวัตถุ 4

(p)ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด

การจำแนก    การให้เหตุผล   การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ    การสรุปความรู้   การตอบคำถาม

(A)คุณลักษณะอันพึงประสงค์

รักชาติ   ศาสน์   กษัตริย์   มีวินัย   ใฝ่เรียนรู้  มีจิตสาธารณะ

          สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

                   - ความสามารถในการสื่อสาร

                   - ความสามารถในการคิด

                   - ความสามารถในการแก้ปัญหา

                   - ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

บูรณาการ

       ภาษาไทย          Æ     ฟัง พูด อ่าน และเขียนเกี่ยวกับความสำคัญของพระพุทธศาสนาในด้าน

                                                      ต่าง ๆ

       การงานอาชีพฯ  Æ      ออกแบบแผ่นพับเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของพระพุทธ-

                                                      ศาสนาในด้านต่าง ๆ

4.  กระบวนการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนเวลา                             (3ชั่วโมง)          

           ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1. ครูนำข่าวพระราชกรณียกิจสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราช-ดำเนินเยือนประเทศพม่า เพื่อติดตามโครงการพระราชทานความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุนาร์กีสมาอ่านให้นักเรียนฟัง เพื่อเป็นพื้นฐานแนวคิดก่อนนำเข้าสู่บทเรียน จากนั้น ครูให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ โดยครูใช้คำถาม

ขั้นสอน

2. ครูให้นักเรียนศึกษาหลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยครูเขียนหลักธรรมสาราณียธรรม 6 ให้นักเรียนนำเสนอแนวทางการปฏิบัติตนบันทึกนำเสนอครู

3. ครูให้นักเรียนศึกษาหลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยครูเขียนหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ให้นักเรียนนำเสนอแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน แล้วครูสรุปแนวคิดการนำเสนอของนักเรียนเขียนอธิบายเป็นแผนภาพบนกระดาน

ขั้นสรุป

4. ให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ ดังนี้

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ หลักสาราณียธรรม 6 และหลักสังคหวัตถุ 4

          5. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้

การที่ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศยังมีความขัดแย้งกัน นักเรียนคิดว่า

เป็นเพราะสาเหตุใด

          6. ให้นักเรียนทำใบงานที่ 2 การปฏิบัติตามหลักธรรมที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน

          7. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน  (Post-Test) เพื่อประเมินผลการเรียน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

5.  แหล่งการเรียนรู้ /  สื่อการเรียนรู้

1. หนังสือแบบเรียน

2.  อินเตอร์เน็ต

3.  ข่าวพระราชกรณียกิจสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

4.  ใบงานที่ 2 การปฏิบัติตามหลักธรรมที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน

6.  การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้

1. วิธีการวัดและประเมินผล

-  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม

-  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

              2. เครื่องมือ

          -    แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม

 -   แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

 -   แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

-   แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล

           -   แบบประเมินกิจกรรม/ใบงานรายบุคคล

   -  แบบประเมินผลงานกลุ่ม

  -   แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

3. เกณฑ์การประเมิน

     3.1 การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน

                        ผ่าน 1 รายการ ถือว่า ไม่ผ่าน

     3.2 การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

                    คะแนน      9-10         ระดับ   ดีมาก

                   คะแนน      7-8 ระดับ   ดี

                   คะแนน      5-6 ระดับ   พอใช้

                                คะแนน      0-4 ระดับ   ควรปรับปรุง

กิจกรรมเสริมการเรียนรู้

1.       แนะนำหนังสือให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหรืออินเตอร์เน็ต ห้องสมุดโรงเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre - Test)

ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ×  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง

1. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของหลักธรรม สาราณียธรรม

          ก. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความปรารถนาดีต่อกัน          ข. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสามัคคี

          ค. ธรรมเป็นที่ตั้งหลักการอยู่ร่วมกัน      ง. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งการประกอบความเพียร

2. ข้อใดเป็นความหมายสาธารณโภคิตา ตามความหมายของสาราณียธรรม 6 ที่ปฏิบัติต่อประเทศ    

    เพื่อนบ้าน

ก. พูดจาสร้างสรรค์เป็นมิตรไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน

          ข. แบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศอย่างเป็นธรรม

          ค. มีหลักความประพฤติเสมอกับมิตรประเทศ

          ง. มีความคิดเห็นเป็นไปในแนวเดียวกันระหว่างประเทศ

3. การบริจาคทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุนาร์กีสในประเทศพม่า เป็นการปฏิบัติตาม

    หลักสาราณียธรรม 6 ในข้อใด

ก. เมตตากายกรรม                           ข. เมตตาวจีกรรม

          ค. เมตตามโนกรรม                           ง. สีลสามัญญตา

4. ข้อใดเป็นการปฏิบัติตนตามเมตตามโนกรรมต่อประเทศเพื่อนบ้านตามหลักสาราณียธรรม 6

ก. ไม่ให้ร้ายต่อมิตรประเทศ                            ข. มีจิตปรารถนาดีต่อมิตรประเทศ

          ค. ปฏิบัติตนเคารพกฎหมายประเทศเพื่อนบ้าน       ง. แก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยวิธีการทูต

5. การเคารพกฎหมาย กฎระเบียบระหว่างประเทศ มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นความหมาย

    ของสาราณียธรรม 6 ในข้อใด

ก. เมตตามโนกรรม                           ข. สาธารณโภคิตา

          ค. ทิฏฐิสามัญญตา                            ง. สีลสามัญญตา

6. หลักธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น เป็นการผูกไมตรีเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน

    เป็นความหมายของหลักธรรมในข้อใด

ก. อปริหานิยธรรม 7                         ข. ปาปณิกธรรม 3

          ค. ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกรรม 4            ง. สังคหวัตถุ 4

7. การอยู่ร่วมสังคมหมู่มาก หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ในข้อใดที่ควรปฏิบัติมากที่สุดเพื่อรักษาน้ำใจ

    ของผู้อื่น

ก. ทาน                                        ข. ปิยวาจา

          ค. อัตถจริยา                                  ง. สมานัตตตา

8. หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 กับสาราณียธรรม 6 ในข้อใดไม่สอดคล้องกัน

ก. ทาน : เมตตากายกรรม                   ข. ปิยวาจา : เมตตาวจีกรรม

          ค. อัตถจริยา : สาธารณโภคิตา               ง. สมานัตตตา : เมตตามโนกรรม

9. การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมีความหมายสอดคล้องกับหลักธรรม

    สังคหวัตถุ 4 ในข้อใด

ก. ทาน                                        ข. ปิยวาจา

          ค. อัตถจริยา                                  ง. สมานัตตตา

10. สมานัตตตา หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนในลักษณะใด

ก. การรู้จักให้ความช่วยเหลือแบ่งปันแก่ผู้อื่น

          ข. การวางตนให้เหมาะกับภาวะของตนเอง

          ค. การประพฤติตนให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคลอื่น

          ง. การรู้จักพูดจารักษาน้ำใจต่อบุคคลอื่น

แบบทดสอบหลังเรียน (Post - Test)

1. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของหลักธรรมสาราณียธรรม

          ก. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความปรารถนาดีต่อกัน          ข. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสามัคคี

          ค. ธรรมเป็นที่ตั้งหลักการอยู่ร่วมกัน                   ง. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งการประกอบความเพียร

2. การบริจาคทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุนาร์กีสในประเทศพม่า เป็นการปฏิบัติ

    ตามหลักสาราณียธรรม 6 ในข้อใด

ก. เมตตากายกรรม                                     ข. เมตตาวจีกรรม

          ค. เมตตามโนกรรม                                     ง. สีลสามัญญตา

3. ข้อใดเป็นความหมายสาธารณโภคิตา ตามความหมายของสาราณียธรรม 6 ที่ปฏิบัติต่อประเทศ   

    เพื่อนบ้าน

ก. พูดจาสร้างสรรค์เป็นมิตรไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน

          ข. แบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศอย่างเป็นธรรม

          ค. มีหลักความประพฤติเสมอกับมิตรประเทศ

          ง. มีความคิดเห็นเป็นไปในแนวเดียวกันระหว่างประเทศ

4. การเคารพกฎหมาย กฎระเบียบระหว่างประเทศ มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นความหมาย

    ของสาราณียธรรม 6 ในข้อใด

ก. เมตตามโนกรรม                                     ข. สาธารณโภคิตา

          ค. ทิฏฐิสามัญญตา                                     ง. สีลสามัญญตา

5. ข้อใดเป็นการปฏิบัติตนตามเมตตามโนกรรมต่อประเทศเพื่อนบ้านตามหลักสาราณียธรรม 6

ก. ไม่ให้ร้ายต่อมิตรประเทศ                            ข. มีจิตปรารถนาดีต่อมิตรประเทศ

          ค. ปฏิบัติตนเคารพกฎหมายประเทศเพื่อนบ้าน       ง. แก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยวิธีการทูต

6. หลักธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น เป็นการผูกไมตรีเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน

    เป็นความหมายของหลักธรรมในข้อใด

ก. อปริหานิยธรรม 7                                   ข. ปาปณิกธรรม 3

          ค. ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกรรม 4                     ง. สังคหวัตถุ 4

7. หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 กับสาราณียธรรม 6 ในข้อใดไม่สอดคล้องกัน

ก. ทาน : เมตตากายกรรม                             ข. ปิยวาจา : เมตตาวจีกรรม

          ค. อัตถจริยา : สาธารณโภคิตา                        ง. สมานัตตตา : เมตตามโนกรรม

8. การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมีความหมายสอดคล้องกับหลักธรรม

    สังคหวัตถุ 4 ในข้อใด

ก. ทาน                                                 ข. ปิยวาจา

          ค. อัตถจริยา                                            ง. สมานัตตตา

9. สมานัตตตา หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนในลักษณะใด

ก. การรู้จักให้ความช่วยเหลือแบ่งปันแก่ผู้อื่น

          ข. การวางตนให้เหมาะกับภาวะของตนเอง

          ค. การประพฤติตนให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคลอื่น

          ง. การรู้จักพูดจารักษาน้ำใจต่อบุคคลอื่น

10. การอยู่ร่วมสังคมหมู่มาก หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ในข้อใดที่ควรใช้ปฏิบัติมากที่สุดเพื่อรักษา

      น้ำใจของผู้อื่น

ก. ทาน                                                 ข. ปิยวาจา

          ค. อัตถจริยา                                            ง. สมานัตตตา


เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน  (Pre-Test)

1. ง                   2. ข                   3. ก                   4. ข                   5. ค

6. ง                   7. ข                   8. ง                   9. ค                   10. ข

 


เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน  (Post-Test)

1. ง                   2. ก                   3. ข                   4. ค                   5. ข

6. ง                   7. ง                   8. ค                   9. ข                   10. ข

 

ข้อใดเป็นความหมายสาธารณโภคี ตามความหมายของสาราณียธรรม 6 ที่ปฏิบัติต่อประเทศเพื่อนบ้าน

4. สาธารณโภคี หมายถึง ได้สิ่งของใดมาก็แบ่งปันกัน คือ ได้ลาภอันชอบธรรม เฉลี่ยเจือจานให้ ได้มีส่วนร่วมทั่วกัน แม้จะเป็นของเล็กน้อย ไม่รู้สึกว่าหวงแหน แต่นามาแบ่งปัน ไม่เก็บไว้บริโภคใช้สอย แต่เพียงผู้เดียว (จรัส พยัคราชศักดิ์และคณะ.

หลักธรรมสาราณียธรรม 6 ประกอบด้วยอะไรบ้าง

หลักสาราณียธรรม 6 กับการบริหารจัดการวัดของพระสังฆาธิการ 1. เมตตากายกรรม คือ การแสดงออกซึ่งความเป็นมิตรทางกาย 2. เมตตาวจีกรรม คือ มีการกระทำทางวาจาที่แสดงออกถึงความปรารถนาดีต่อกัน 3. เมตตามโนกรรม คือ มีจิตใจปรารถนาดีกับมิตรประเทศ ปราศจากอกุศลจิต ไม่หวาดระแวง 4. สาธารณโภคี คือ การจัดสรรผลประประโยชน์ที่เหมาะสม

คำว่า “เมตตาวจีกรรม” ในสาราณียธรรม 6 หมายถึงอะไร

2. เมตตาวจีกรรม ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลังคือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำตักเตือน ด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือทั้งต่อหน้า และลับหลัง

สาราณียธรรม หมายถึงข้อใด

สาราณียธรรม คือ ธรรมที่ท าให้ระลึกถึงกัน ท าให้เป็นที่รัก ท าให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความ สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มี6 ประการ ได้แก่