แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ป 4

จำนวนผู้เยี่ยมชม

หน้าที่พลเมือง

แหล่งเรียนรู้

หน้าที่พลเมือง สาระเพิ่ม ม.1 (วพ)

แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ป 4

เรื่องที่ 2 การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพึ่งพาอาศัยกัน

เรื่องที่ 2 

การอยู่ร่วมกันในพหุวัฒนธรรม

การอยู่ร่วมกันในพหุวัฒนธรรม

        การอยู่ร่วมกันในสังคม ที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม จะต้องมีการศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศต่างๆ เพื่อความเข้าใจอันดีต่อกัน

การปฎิบัติตนต่อกันอย่างเหมาะสม มีดังนี้

  • การเคารพซึ่งกันและกัน
  • เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนูาย์ ยอมรับความแตกต่างด้านความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา และเชื้อชาติ
  • เคารพในสิทธิของกันและกัน
  • เคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น
  • ไม่แสดงกิริยาและวาจาดูหมิ่นผู้อื่น
  • แสดงกิริยา วาจา สุภาพ
  • ไม่กล่าวลบหลู่ในสิ่งที่เขาเคารพศรัทธา
  • ไม่พูดจาล้อเลียน เยาะเย้ยคนที่มีวัฒนธรรมต่างจากเรา
  • ช่วยเหลือซึ่งกันและกันและมีการแบ่งปัน
  • มีน้ำใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
  • เปิดโอกาสให้คนต่างเชื้อชาติต่างวัฒนธรรม เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม
  • ให้ความช่วยเหลือ และเข้าร่วมกิจกรรมที่ดี ที่ชาวต่างชาติจัดขึ้น

เรื่องที่ 2 

การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพึ่งพาอาศัยกัน

การปฎิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อกัน คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยเฉพาะสังคมที่มีลักษณะเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เช่นสังคมไทยนั้น สมาชิกในสังคม ยิ่งจำเป็นต้องเรียนรู้การปฎิบัติตน ให้กลมกลืนไปกับความแตกต่าง เพื่อป้องกันความแตกแยกที่อาจเกิดขึ้นตามมา

        คุณค่าของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและพึ่งพาอาศัยกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติและพึ่งพาอาศัยกัน ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านต่างๆ ดังนี้

ประโยชน์ต่อตนเอง 

  • ทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และรู้สึกปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ
  • มีผู้คอยให้ความช่วยเหลือเมื่อตกยาก หรือประสบกับความยากลำบากจากเหตุการณ์ต่างๆ และทำให้ไม่รู้สึกโดเดี่ยว หรือไร้ที่พึ่งเมื่อเจอปัญหา
  • ประสบความสำเร็จในการประกอบหน้าที่การงาน เพราะได้รับความช่วยเหลือเกื้อกูลจากบุคคลรอบข้าง

ประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

  • สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข ปราศจากปัญหาความแตกแยกขัดแย้งใดๆ
  • เกิดการพัฒนาที่รวดเร็วและยั่งยืน เพราะความสงบสุขในสังคม จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศชาติมีรายได้เพิ่มขึ้น เพียงพอต่อการนำมาปรับปรุงโครงสร้างทางสังคมให้มีประสิทธิภาพ และพร้อมรับมือกับความเสี่ยงหรือการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์
  • ความสุขของคนในชาติเพิ่มมากขึ้น เพราะมีความอยู่ดีกินดี รู้สึกปลอดภัยในการดำเนินชีวิต มีหน้าที่การงานและรายได้ที่มั่นคง

แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพึ่งพาอาศัยกัน 

        การเรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกันในสังคมที่เต็มไปด้วยความหลากหลายและแตกต่าง เพื่อปรับตัวให้เข้ากับบุคคลรอบข้าง จะก่อให้เกิดความสุขในการอาศัยอยู่ร่วมกัน ซึ่งการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของสมาชิกทุกคน โดยยึดแนวทางการปฎิบัติ ดังนี้

เคารพซึ่งกันและกัน

  • แสดงกิริยาที่นอบน้อมต่อกัน
  • พูดดีต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
  • ยอมรับในความแตกต่างทั้งความเชื่อ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม เชื้อชาติ ผิวพรรณ เป็นต้น

รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

  • เมตตาต่อกัน
  • เอาใจเขามาใส่ใจเรา คิดถึงจิตใจของผู้อื่น
  • แสดงความห่วงใยต่อบุคคลรอบข้าง ไม่ซ้ำเติมให้ผู้อื่นได้รับความทุกข์ยากมากขึ้น
  • ฝึกใจให้รักในการให้ มากกว่าการรับ
  • เสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม

ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

  • บริจาคทรัพย์สิน หรือสิ่งของช่วยเหลือผู้อื่นที่ยากลำบากหรือประสบภัยต่างๆ
  • ช่วยเหลือผู้อื่นทำงาน หรือช่วยงานตามความสามารถของตนด้วยความทุ่มเทและเต็มใจ
  • ให้ความร่วมมือในการปฎิบัติตามข้อกำหนด หรือระเบียบของสังคม

มีความซื่อสัตย์ต่อกัน

  • แสดงความจริงใจต่อกันทั้งทางกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้าและรับหลัง
  • รักษาสัจจะวาจา ต้องทำให้ได้ตามที่รับปากไว้
  • ไม่ทุจริต หรือเอาเปรียบผู้อื่นด้วยกลอุบายต่างๆ
  • ไว้วางใจกัน ไม่ระแวงผู้อื่นจนเกิดความเป็นความบาดหมาง
  • ฝึกความมีระเบียบวินัยในตนเองให้กลายเป็นนิสัย

ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นกัน

  • ไม่ดูถูกการกระทำ คำพูด หรือความคิดของผู้อื่น
  • ไม่แสดงกิริยาหรือวาจาดูถูกศรัทธาความเชื่อ วัฒนธรรม เชื้อชาติ หรือชาติพันธุ์ของผู้อื่น
  • เคารพสิทธิมนุษยชน ด้วยการปฎิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียม

แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ป 4
แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ป 4
แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ป 4

ตอนที่ 8.1 การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตามวิถีประชาธิปไตย

ส 2.1 ป.4/1  

  • 8.1.1 การเข้าร่วมกิจกรรมประชาธิปไตยของชุมชน
  • 8.1.2 แนวทางการปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน

ตอนที่ 8.2 ปฏิบัติตนในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

ส 2.1 ป.4/2 

  • 8.2.1 บทบาทและความรับผิดชอบของผู้นำ
  • 8.2.2 บทบาทและความรับผิดชอบของผู้ตามหรือสมาชิก
  • 8.2.3 การทำงานกลุ่มให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ และประโยชน์ของการทำงานเป็นกลุ่ม

ตอนที่ 8.3 เสนอวิธีการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในชีวิตประจำวัน

ส 2.1 ป.4/5  

  • 8.3.1 ปัญหาและสาเหตุของการเกิดความขัดแย้งในชีวิตประจำวัน
  • 8.3.2 แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ป 4

ตัวชี้วัด
     ส 2.1 ป.4/1             ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในฐานะสมาชิกที่ดีของชุมชน
     ส 2.1 ป.4/2            ปฏิบัติตนในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
     ส 2.1 ป.4/5            เสนอวิธีการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในชีวิตประจำวัน

แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ป 4