ข้อสอบความถนัดทางนิติศาสตร์

รีวิวการเตรียมตัวเเละเเนวข้อสอบเฉพาะนิติศาสตร์ มธ ฉบับเด็กวิทย์กลับใจ

ตั้งกระทู้ใหม่

ตั้งกระทู้ใหม่

  • ·
  • ·
  • ·
  • ·
  • ·
  • ·

การเตรียมตัวสอบวิชาเฉพาะนิติศาสตร์ธรรมศาสตร์
สวัสดีครับน้อง ๆ ในที่สุดเราก็มาถึงตอนที่ 2 แล้ว ใครยังไม่ได้อ่านกระทู้เตรียมสอบ GAT,  PAT,  O-net,  สามัญ    ในตอนแรก คลิกเข้าไปที่ลิงค์นี้เลยย (   https://www.dek-d.com/board/tcas/4018842/     ) สำหรับตอนที่ 2 นี้ พี่ปั้น จาก รร.ระยองวิทยาคม จะรีวิวการเตรียมตัว และเนื้อหาในข้อสอบตรงของคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ของปีล่าสุด (2564) นะคร้าบบ มาเริ่มกันเล๊ยย
ในการสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในรอบ Admission 1 มีคะแนนเต็ม คือ 100 คะแนน โดยจะคิดคะแนนวิชา GAT 30 % และ วิชาเฉพาะทางกฎหมาย 70 % นะครับ โดยข้อสอบตรงของคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์จะมี 70 ข้อ สามารถแบ่งได้ 3 ส่วน คือ
  1. การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ         จำนวน 10 ข้อ  
  2. การอ่านเพื่อความเข้าใจ          จำนวน 25 ข้อ ( แบ่งเป็น 5บทความ บทความ ละ 5ข้อ )
  3. การใช้เหตุผลทางกฎหมาย       จำนวน 35 ข้อ
ซึ่งเราจะมีเวลาในการทำข้อสอบ 180 นาที (3 ชั่วโมง) ดูเหมือนเยอะ แต่ในห้องสอบจริง น้อง ๆ จะไม่รู้สึกแบบนั้นอย่างแน่นอน หุหุ
 
การเตรียมตัวสอบตรง
แนะนำก่อนว่าในตอนสอบให้ทำเรียงไปจากพาร์ท การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ -> การให้เหตุผลทางกฎหมาย
-> การอ่านเพื่อความเข้าใจ ถ้าทำเรียงตรง ๆ อาจจะทำไม่ทันเอาได้ ทั้งนี้แล้วแต่ด้วยว่าน้อง ๆ ถนัดพาร์ทไหน บริหารเวลายังไง ซึ่งพี่จะแนะนำการเตรียมตัวแต่ละพาร์ทแยกอย่างละเอียดเลยนะครับ
 
  • พาร์ทที่ 1 การให้เหตุผลทางกฎหมาย
          พี่เริ่มอ่านหนังสือตอนปิดเทอม ม.5 เทอม2 (ถ้าเริ่มได้เร็วกว่านี้จะดีมาก)โดยส่วนมากพี่จะเน้นอ่านพาร์ทการใช้เหตุผลทางกฎหมาย เพราะว่าเป็นส่วนที่มีคะแนนเยอะสุด โดยข้อสอบส่วนนี้จะแบ่งเป็นพาร์ท
A B C
แบบ A จะมีตัวบทกฎหมายมาให้แล้วมีคำถามประมาณว่าถ้าทำแบบนี้ขัดหรือไม่ขัดตัวบท
แบบ B จะมีหลักกฎหมายและเหตุการณ์สมมติมาให้ แล้วมีคำถามเกี่ยวกับการใช้หลักกฎหมายในเหตุการณ์ที่ให้มา ว่าสามารถนำมาปรับใช้กับเหตุการณ์นี้ได้ไหม ได้เพราะอะไร ไม่ได้เพราะอะไร
แบบ C จะมีเหตุการณ์มาให้และถามว่าตัวบทกฎหมายใดสามารถใช้กำเหตุการณ์ในคำถามได้
โดยพี่เตรียมตัวด้วยการฝึกทำโจทย์จากแบบฝึกหัด 2 เล่มนี้ คือ
 
 
  1. คัมภีร์สอบตรงนิติศาสตร์ของ Themizlaw
  2. แบบฝึกหัดเตรียมสอบเข้านิติศาสตร์ ฉบับปรับปรุงใหม่ของ BTS
ข้อสอบความถนัดทางนิติศาสตร์
ข้อสอบความถนัดทางนิติศาสตร์

2 เล่มนี้มีโจทย์ที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกับขอสอบจริงทั้งในด้านความยากและแนวที่ชอบออก
          พี่ทำโจทย์ของ 2 เล่มนี้ทุกวันในเริ่มแรกอาจทำแค่ 5-10 ข้อก่อนก็ได้ให้ชินโจทย์แล้วค่อยเพิ่มจำนวนข้อไปเรื่อยจนประมาณ 30 ข้อ พอถึงช่วงนี้พยายามจับเวลาทำข้อสอบให้ได้ภายใน 1 ชั่วโมง พยายามฝึกทำทุกวันจนถึงวันที่สอบเลย บางครั้งอาจลองเอาเซตโจทย์เดิมที่ทำมานานแล้ วมาทำใหม่อีกทีก็ได้ จะได้ดูพัฒนาการของตัวเองและดูว่ายังต้องเพิ่มตรงไหนอีกบ้าง
เคล็ดลับในการทำคือ พอพี่ทำข้อสอบเสร็จ พี่มักจะอ่านการอธิบายคำตอบท้ายเล่มด้วยไม่ว่าจะตอบถูกหรือตอบผิดข้อนั้นก็ตาม เพราะในส่วนนี้จะมีการอธิบายว่าทำไมถึงตอบแบบนี้อย่างละเอียดที่จะช่วยฝึกในเรื่อง “ตรรกะของนักกฎหมาย” ที่จะช่วยเสริมแนวคิดในการข้อสอบแนวนี้ได้ง่ายขึ้นและระวังเรื่องการเล่นคำ อย่างคำว่า และ หรือ เล่นบ่อยมาก
 
  • พาร์ทที่ 2 การให้เหตุผลเชิงตรระ
ในส่วนนี้พี่ทำเรื่อย ๆ ประมาณอาทิตย์ละครั้งจะมีโจทย์อยู่ 3 แบบ คือ
แบบที่ 1 แบบรูปภาพ ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบ Pattern ว่าภาพต่อไปควรเป็นภาพอะไร โจทย์แบบนี้สามารถหาพวกแบบทดสอบ IQ มาทำก็ได้จะได้รูปแบบคล้าย ๆ กันอยู่
แบบที่ 2 จะเป็นบทความสมมุติขึ้นโดยให้หาความขัดแย้ง หรือหาความข้อความที่สนับสนุนเป็นไปได้มากที่สุด
แบบที่ 3 จะเป็นเหตุการ์สมมุติขึ้นมาแล้วกำหนด กฎ บางอย่างไว้ให้พี่แก้ไขเหตุการณ์สมมุติโดยให้อยู่ภายใต้โจทย์นั้น
ส่วนนี้พยายามจับเวลาทำให้เสร็จภายใน 30 นาทีเพราะเป็นส่วนที่อ่านน้อยสุดและเวลาที่เหลือสามมารถเอาไปใช้ในส่วนการอ่านเพื่อความเข้าใจที่ต้องอ่านเยอะ+ทำความเข้าใจคำถามด้วย เวลาทำถ้าจะเน้นคำหรืออะไรต่าง ๆ ให้ใช้ปากกาปกติไม่ก็ดินสอสอบจริงกรรมการไม่ให้นำเอาปากกาไฮไลต์เข้าห้องสอบ
          สำหรับข้อสอบในส่วนนี้พี่ยอมรับเลยมาหายากมว๊ากกก แนะนำให้หาแนวข้อสอบจาก
เพจ LegendLaw : ติวสอบตรงนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
 
  • พาร์ทที่ 3 การอ่านเพื่อความเข้าใจ
ส่วนนี้พี่ใช้เทคนิคในการทำเดียวกันกับการทำข้อสอบ GAT เชื่อมโยงและ GAT ENG เลย (คล้ายกับพาร์ท Reading GAT ENG ) ของส่วนนี้จะมีบทความมาให้ 5 บทความความยาวประมาณบทความของ GAT เชื่อมโยงเลย แล้วคำถามจะถามพวก ใจความสำคัญต่าง ๆ, บทความนี้ควรตั้งชื่อว่าอะไร, ใจความสำคัญที่บทความนี้ต้องการจะสื่อ โดยเตรียมตัวจากข้อสอบอ่านจับใจความของ PISA ก็ได้ มานั่งทำฝึกไปเรื่อย ๆ หรือไปหาบทความในอินเตอร์เน็ตมาลองจับใจความสำคัญ, คิดชื่อบทความ หรือลองหารายละเอียดปลีกย่อยในบทความดูก็ได้ เนื่องจากพาร์ทนี้ใช้เวลาทำนาน พี่เลยอ่านตอนวันหยุดเป็นหลัก จับเวลาทำอย่าให้เกิน 1 ชั่วโมง 15 นาที
 
บทความที่ออกในปีนี้ (เท่าที่พวกพี่จำได้นะ)
         ข่าวสรรพสามิตรื้อโครงสร้างภาษี  
https://www.prachachat.net/motoring/news-571126

         บทความความเหลื่อมล้ำในนิวยอร์กเนื่องจากสถานการณ์โควิด -19 http://www.thaihealthconsumer.org/news/covid19-new-york-inequality/

          วารสารนิติศาสตร์ มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการกระทบกระเทือนทางสมองจากการแข่งกีฬา (ถ้าจำไม่ผิดตอนสอบคัดมาเฉพาะบทนำ)
http://https://tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/download/114592/88809/

          การจัดการความเลื่อมล้ำโควิด – 19 ของไทย
 https://tdri.or.th/2020/10/inequalities-in-the-time-of-covid-19/

            ความมั่งคั่งกับสุขภาพ อันนี้พวกพี่ลืมสนิทเลยว่าบทความเป็นไง โทษทีนะ แหะๆ  

ลองฝึกอ่านข่าว บทความ บล็อกต่าง ๆ หรือถ้าเป็นไปได้ก็หาข้อสอบจับใจความมาทำดู ฝึกอ่านให้เร็วและจับใจความสำคัญให้ได้ เคล็ดลับคือ อ่านแบบผ่าน ๆ ก่อน 1 รอบให้รู้คร่าว ๆ ว่าบทความต้องการสื่ออะไร แล้วค่อยไปดูคำถาม พอดูเสร็จแล้วค่อยมาอ่านบทความอีกทีเพื่อเก็บรายละเอียดและหาคำตอบ (แนะนำให้หาอ่านกระทู้สอนเทคนิคการอ่านจับใจความควบคู่ไปด้วย มันจะช่วยให้เราทำข้อสอบพาร์ทการใช้เหตุผลทางกฎหมายได้ดีขึ้นด้วย)
 
          สุดท้ายก็อย่าลืมลองทำข้อสอบแบบเสมือนจริงกันด้วยนะ ซึ่งพี่ได้มาจากที่เรียนพิเศษ Themizlawประมาณ 1 เดือนก่อนสอบคือทำทั้ง 3 พาร์ทรวม 70 ข้อ จับเวลาทำให้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง (ถ้าทำเสร็จภายใน 2 ชั่วโมงได้จะดีมาก เพราะเวลาสอบจริงจะใช้เวลาทำข้อสอบนานกว่าที่ซ้อมไว้เสมอ ประเด็นนี้สำคัญมาก หลายคนทำข้อสอบได้ แต่ไม่ติด นิติ มธ. ก็เพราะทำข้อสอบไม่ทันนี่แหละ)
 
การเรียนพิเศษ
          พี่ลงเรียนกับ Themizlaw แบบ Online ที่นี่สอนดี สอนละเอียดโจทย์และข้อสอบต่าง ๆ ได้แนวคล้ายกับข้อสอบจริงเลย ตอน ม.5 เทอม 2 พี่ลงคอร์ส Basic Online คอร์สนี้จะปูพื้นฐานพวกแนวคิดทางกฎหมาย ความรู้พื้นฐานทางกฎหมายและเทคนิคสำหรับทำข้อสอบเฉพาะในแต่ละพาร์ท ซึ่งคอร์สนี้โจทย์ค่อนข้างให้มาน้อย แต่พี่ยูจะมีภารกิจมาให้ทำ ต้องขยันทำตาม ไม่งั้นก็จะแทบไม่มีโจทย์ฝึกทำเลย 555ส่วนตัวคิดว่าถ้าจะเริ่มเรียนแนะนำให้ลง คอร์ส Basic ก่อนแล้วค่อยไปอันที่ยากขึ้น พอเรียนจบแล้ว พี่ก็สมัครเรียนคอร์ส Advance ต่อ คอร์สนี้จะเน้นไปที่การทำแบบฝึกหัดกับข้อสอบมากกว่า ข้อสอบต่าง ๆ จะยากขึ้นกว่าคอร์สที่ผ่านมาและจะมีความใกล้เคียงกับข้อสอบจริงมากยิ่งขึ้น คอร์สสุดท้ายที่พี่ลงคือ คอร์ส Final คอร์สนี้ข้อสอบจะใกล้เคียงกับข้อสอบจริงมาก อัพเดทล่าสุด และยากสุดด้วยเหมาะสำหรับคนที่มีพื้นฐานเรื่องแนวคิดทางกฎหมายอยู่แล้ว

อันนี้คะเเนนวิชาสอบตรงของพี่นะ
ข้อสอบความถนัดทางนิติศาสตร์

 

ข้อสอบความถนัดทางนิติศาสตร์

pun289 4 มิ.ย. 64 เวลา 15:46 น.

1

like

11,795

views

Facebook Twitter

รายชื่อผู้ถูกใจกระทู้นี้ คน

ยกเลิก