หลักและวิธีการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์มีกี่ข้อ

    การเข้าใช้งานระบบ SRRU e-Learning Platform Moodle
    คือ User/Password สำหรับเข้าระบบอินเทอร์เน็ตชุดเดียวกัน   

  • บุคลากร
    User (ชื่อผู้ใช้) คือ ชื่อภาษาอังกฤษ.นามสกุลตัวแรกหรือสองตัว เช่น kullaphut.th
    Password (รหัสผ่าน) คือ เลขบัตรประชาชน (13 หลัก)
  • นักศึกษา
    User (รหัสผู้ใช้)  คือ รหัสนักศึกษา (11 หลัก)
    Password (รหัสผ่าน) คือ เลขบัตรประชาชน (13 หลัก)

เว็บบราวเซอร์ที่คุณใช้ต้องอนุญาตให้รับ cookies

บุคคลทั่วไปสามารถเข้าชมได้เฉพาะรายวิชาที่มี สัญลักษณ์หน้าคนติดอยู่ นั่นคือ อนุญาตให้บุคคลทั่วไปเข้าศึกษาได้ นอกนั้น สำหรับท่านที่เป็นสมาชิกเท่านั้น

องค์ประกอบนาฏศิลป์ไทย

            นาฏศิลป์ไทยเป็นศิลปะการแสดงที่มีความงดงาม อ่อนช้อย และเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยที่อยู่คู่ชาติไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันการแสดงนาฏศิลป์ไทยแต่ละประเภทที่มีความงดงามนั้นจะต้องมีองค์ประกอบนาศิลป์ที่ช่วยให้การแสดงมีความงดงามและสมบูรณ์ ดังนี้

1.      การฟ้อนรำหรือลีลาการใช้ท่ารำ

การแสดงนาฏศิลป์ไทยเป็นการแสดงที่มีการร่ายรำสวยงาม โดยการประดิษฐ์คิดค้นท่ารำต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบแบบแผน ให้เหมาะสมกับการแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว และสื่อความหมายในการแสดง เช่น ระบำพรหมาสตร์ เป็นการร่ายรำของเทวดา นางฟ้า ที่มีความหมายสวยงาม ดูมีความสุข

2.     จังหวะที่ใช้ในการแสดง

จังหวะถือว่าเป็นพื้นฐานในการฝึกหัดการแสดงนาฏศิลป์ ผู้แสดงนาฏศิลป์ไทยจะต้องทำความเข้าใจกับจังหวะ

ดนตรี เพื่อให้สามารถร่ายรำ แสดงท่าทางได้ถูกต้องตามจังหวะ หากแสดงไม่ถูกต้องตามจังหวะ หรือที่เรียกว่า บอดจังหวะ จะทำให้การแสดงไม่สวยงามและไม่พร้อมเพรียง

3.     ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง

ในการแสดงนาฏศิลป์ไทย จะใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการแสดง บทเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยาของตัว

ละครแบ่งออกเป็น หน้าพาทย์ธรรมดาและหน้าพาทย์ชั้นสูง ส่วนมากบรรเลงโดยไม่มีเนื้อร้อง การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์จะบรรเลงตามความหมายและอารมณ์ของตัวละครที่แตกต่างกันไป

4.     คำร้องหรือเนื้อร้อง

การแสดงนาฏศิลป์ไทยมีทั้งชุดการแสดงที่มีบทร้องและไม่มีบทร้องประกอบการแสดงซึ่งในการแสดงที่มีเนื้อร้อง

ประกอบการแสดงจะทำให้ผู้ชมเข้าใจการแสดงมากขึ้น และผู้คิดค้นประดิษฐ์ท่ารำให้เหมาะสมกับคำร้องเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจการแสดงมากขึ้น และผู้คิดค้นประดิษฐ์ท่ารำให้เหมาะสมกับคำร้องเพื่อให้ผู้แสดงสามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้ถูกต้องและมีความสวยงาม เช่น ระบำดาวดึงส์ เป็นการแสดงที่มีบทร้องประกอบ มีท่าร่ายรำที่สื่อความหมายตามบทร้อง ที่มีความยินดีปรีดา

5.      การแต่งกาย การแต่งหน้า

การแต่งกายที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยจะมีความสวยงามวิจิตรและบ่งบอกถึงความเป็นไทยทำให้การแสดงมี

เอกลักษณ์ เช่น การแสดงโขนที่มีการแต่งกายที่งดงาม มีศีรษะโขนที่ตกแต่งลวดลายประดิษฐ์ขึ้นอย่างวิจิตร ซึ่งศีรษะโขนก็จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของตัวละครทำให้ผู้ชมเข้าใจการแสดงได้มากขึ้น 
          การแต่งหน้าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ผู้แสดงสวยงาม และอำพรางข้อบกพร่องของใบหน้าของผู้แสดงได้ นอกจากนี้ก็ยังสามารถใช้วิธีการแต่งหน้าเพื่อบอกวัยบอกลักษณะเฉพาะของตัวละครได้ เช่น แต่งหน้าคนหนุ่มให้เป็นคนแก่แต่งหน้าให้ผู้แสดงเป็นตัวตลก เป็นต้น

6.      อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการแสดง

อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทยเป็นองค์ประกอบนาฏศิลป์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้การแสดงมีความ

สวยงามและมีเอกลักษณ์ซึ่ง การแสดงนาฏศิลป์ไทยบางชุดอาจไม่มีอุปกรณ์ประกอบการแสดง แต่บางชุดก็มีอุปกรณ์ประกอบการแสดง ทำให้การแสดงน่าสนใจมากขึ้น เช่น ฟ้อนเทียนมีอุปกรณ์ คือ เทียน ซึ่งจะนิยมแสดงในเวลากลางคืน ทำให้การแสดงมีความงดงามมาก

หลักและวิธีการสร้างสรรค์การแสดงโดยใช้องค์ประกอบนาฏศิลป์

          นอกจากการแสดงนาฏศิลป์ที่สวยงามจะต้องใช้องค์ประกอบนาฏศิลป์แล้ว ยังต้องมีหลักและวิธีการสร้างสรรค์การแสดง โดยใช้องค์ประกอบนาฏศิลป์ ดังนี้

1.      การฟ้อนรำหรือลีลาการใช้ท่ารำ

การแสดงนาฏศิลป์ไทยที่มีการฟ้อนรำหรือใช้ท่ารำที่สวยงาม จะต้องใช้ภาษาท่าทางนาฏศิลป์และนาฏยศัพท์เข้า

มาสร้างสรรค์ท่าทางในการร่ายรำ ให้มีความสมบูรณ์ สวยงามและเหมาะสมซึ่งภาษาท่าทางนาฏศิลป์และนาฏยศัพท์ที่สามารถนำมาสร้างสรรค์การแสดงได้ มีดังนี้

1.1  ภาษาท่าทางนาฏศิลป์

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ คือ การใช้ลีลาท่ารำเพื่อสื่อความหมายแทนคำพูด กิริยา ท่าทางต่าง ๆ ให้ผู้ชมได้รับรู้ เช่น

ท่ารัก ท่าโกรธ ท่าดีใจ

1.2  นาฏยศัพท์

นาฏยศัพท์ คือ ศัพท์ที่ใช้เรียกท่าทางในการร่ายรำตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เช่น จีบ ส่ายมือ ยกเท้า

2.     จังหวะที่ใช้ในการแสดง

จังหวะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในการสร้างสรรค์การแสดง ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยมีทั้งการแสดงที่มีจังหวะ

ช้า เร็ว และปานกลาง ผู้แสดงต้องสามารถเข้าใจจังหวะ จับจังหวะในการแสดงได้ซึ่งจะทำให้การสร้างสรรค์การแสดงมีความหมายงาม พร้อมเพรียง เช่น ในการแสดงระบำหมู่ต่าง ๆ เมื่อผู้แสดงเข้าใจจังหวะก็จะสามารถสร้างสรรค์ให้พร้อมเพรียง สวยงามได้

3.     ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง

การแสดงนาฏศิลป์ไทยมีความจำเป็นอบ่างยิ่งที่ต้องใช้เครื่องดนตรีมาบรรเลงประกอบการแสดงเพื่อให้การแสดงมี

ความน่าสนใจ สมบูรณ์มากขึ้น ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยจะมีการบรรเลงบทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

          3.1 เพลงหน้าพาทย์

          เพลงหน้าพาทย์เป็นเพลงประเภทหนึ่งที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาของมนุษย์ สัตว์ วัตถุหรือธรรมชาติ เช่น ยืน เดิน กิน นอน เพลงหน้าพาทย์แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

          —เพลงหน้าพาทย์ธรรมดา ใช้กับตัวละครชั้นสามัญทั่วไปที่ไม่มีความสำคัญมากนัก เช่น เพลงเสมอ

          —เพลงหน้าพาทย์ชั้นกลาง ใช้กับตัวละครที่มีความสำคัญมากขึ้น เช่น เพลงเสมอข้ามสมุทร เพลงเสมอเถร

เพลงเสมอมาร

—เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ใช้กับตัวละครที่สูงศักดิ์ เช่น เพลงบาทสกุณี (เสมอตีนนก) เพลงดำเนินพราหมณ์

3.2  เพลงที่มีเนื้อร้อง

เพลงที่มีเนื้อร้อง คือ เพลงที่มีคำประพันธ์บทร้อง มีการขับร้องเพลงประกอบการแสดงเป็นบทเพลงที่ช่วยสร้างสรรค์การแสดงให้น่าสนใจ

3.3  เพลงภูมิหลัง

          เพลงภูมิหลัง คือ เพลงที่ให้อารมณ์และความรู้สึก ซึ่งอาจมีเนื้อร้องหรือไม่มีก็ได้ เป็นบทเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงเพื่อสื่ออารมณ์ความรู้สึกของตัวละครให้ผู้ชมได้เข้าใจและคล้อยตามไปกับการแสดง เช่น การแสดงที่ถึงตอนพลัดพรากจากกัน มีการบรรเลงบทเพลงช้า เศร้าสื่อถึงความอาลัยอาวรณ์ เสียใจ ทำให้ผู้ชมรู้สึกคล้อยตามไปกับการแสดง

4.     คำร้องหรือเนื้อร้อง

การสร้างสรรค์คำร้องหรือเนื้อร้องที่ใช้ในการแสดง ผู้ประพันธ์จะต้องสร้างสรรค์เนื้อร้องให้สอดคล้องกับการแสดง

มีจินตนาการสร้างสรรค์ในการประพันธ์บทเพลง เพื่อที่จะแต่งบทเพลงได้ถูกต้องและสื่ออารมณ์ของการแสดงมาสู่ผู้ชมได้เข้าใจและซาบซึ้ง

5.      การแต่งกาย การแต่งหน้า

ในการแสดงนาฏศิลป์จะต้องมีการสร้างสรรค์การแต่งกายให้มีความงดงามเหมาะสมกับผู้แสดง มีการประดับ

ประดา ตกแต่งลวดลายของเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายให้มีความงดงามวิจิตรตระการตาเพราะการแต่งกายในการแสดงยังเป็นสิ่งที่บ่งบอกยศฐานะบรรดาศักดิ์ของตัวละครด้วย เช่น การแสดงโขนเป็นหนุมานจะต้องแต่งกายชุดสีขาว มีลายปักทักษิณาวัตร (อ่านว่า ทัก-สิ-นา-วัด) สวมหัวลิงโล้นสีขาว ปากอ้า

          การแต่งหน้าในการแสดงนาฏศิลป์จะต้องมีเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ผู้แสดงสวยงาม และอำพรางข้อบกพร่องของใบหน้าของผู้แสดงได้ นอกจากนี้ก็ยังสามารถใช้วิธีการแต่งหน้าเพื่อบอกวัยบอกลักษณะเฉพาะของตัวละครได้

6.      อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการแสดง

ในการแสดงนาฏศิลป์บ้างชุดการแสดงอาจมีอุปกรณ์ประกอบการแสดง เพื่อให้การแสดงมีความสมบูรณ์สวยงาม

มากขึ้น ซึ่งการสร้างสรรค์อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการแสดงจะมีการออกแบบ ตกแต่งให้เหมาะสมกับชุดการแสดง เช่น การแสดงระบำตารีกีปัส มีการใช้พัดประกอบการแสดง ซึ่งมีการออกแบบพัดให้สวยงามเหมาะสมกับการแสดง


ใบงาน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง องค์ประกอบนาฏศิลป์ไทย

ประเมินผลตัวชี้วัดสร้างสรรค์การแสดงโดยใช้องค์ประกอบนาฏศิลป์และการละคร(ศ 3.1 ม.2/2)

ตอนที่ 1     ให้นักเรียนชมการแสดงนาฏศิลป์ไทย 1 ชุด ( การแสดงใดก็ได้) แล้วให้นักเรียนวิเคราะห์ว่าการแสดงที่ชมมี

                องค์ประกอบนาฏศิลป์อย่างไรบ้าง โดยบันทึกผลลงในแบบบันทึก (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)

แบบบันทึกการชมการแสดงนาฏศิลป์ไทย

          การแสดงที่ชม คือ การแสดงชุด___________________________________________________________

          การฟ้อนรำหรือลีลาการใช้ท่ารำในการแสดงนี้_________________________________________________

          __________________________________________________________________________________

ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง_____________________________________________________________

คำร้องหรือเนื้อร้องที่ใช้ในการแสดง_________________________________________________

_________________________________________________________________________

การแต่งกาย แต่งหน้า ในการแสดงนี้_________________________________________________

_________________________________________________________________________

อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการแสดง_____________________________________________________

_________________________________________________________________________

ให้นักเรียนสรุปองค์ความรู้เรื่องเพลงหน้าพาทย์ที่ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย (คะแนนเต็ม 5 คะแนน)

____________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________

ตอนที่ 2         ให้นักเรียนอธิบายประเภทขององค์ประกอบนาฏศิลป์ ลักษณะและความสำคัญขององค์ประกอบนาฏศิลป์นั้นที่มีต่อการแสดงนาฏศิลป์ไทย โดยเขียนลงในแผนภาพที่กำหนดให้(คะแนนเต็ม 10 คะแนน)

                                        ___________________________________

                _____________________________________________

                             _____________________________________________________

                      _____________________________________________________________

                  ____________________________________________________________________

               ________________________________________________________________________

            ____________________________________________________________________________

         _______________________________________________________________________________

       _________________________________________________________________________________

      ___________________________________________________________________________________

     ____________________________________________________________________________________

    _____________________________________________________________________________________         

____________________________________________________________________________________

     ____________________________________________________________________________________

      ___________________________________________________________________________________

__________________________________________________________________________________         ______________________________________________________________________________        ____________________________________________________________________________         ________________________________________________________________________

                  ____________________________________________________________________

                                ______________________________________________________________

                                     _______________________________________________________

                                            _______________________________________________

                                                    ___________________________________    

ให้นักเรียนสรุปองค์ความรู้เรื่อง องค์ประกอบนาฏศิลป์ไทย (คะแนนเต็ม 5 คะแนน)

___________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________

การบูรณาการศิลปะแขนงอื่นๆ กับการแสดงนาฏศิลป์

          การนำศิลปะแขนงอื่น ๆ มาบูรณาการกับการแสดงนาฏศิลป์ไทยจะทำให้การแสดงมีความสวยงามน่าสนใจ ซึ่งศิลปะแขนงอื่น ๆ ที่นำมาใช้กับการแสดงนาฏศิลป์ไทย มีดังนี้

1.      แสง สี เสียง

การแสดงนาฏศิลป์ไทยชุดต่าง ๆ จะมีการนำศิลปะด้าน แสง สี เสียงมาใช้ในการแสดงเพื่อให้การแสดงมีความ

สมบูรณ์สวยงามในด้านแสง สี ที่ใช้ในการแสดง ควรมีความเหมาะสมสัมพันธ์กับเครื่องแต่งกาย ทำให้การแต่งกายในการแสดงมีความสวยงามโดเด่น ในด้านเสียงควรมีความเหมาะสมกับสถานที่ที่ใช้ในการแสดง เสียงไม่ดังหรือเบาจนเกินไป มีการจัดระบบเสียงเพื่อให้ผู้ชมสามารถได้ยินเสียงชัดเจน เพื่อให้ผู้ชมได้รับความสุนทรีในการการชมการแสดงอย่างเต็มที่

2.      ฉาก

ฉากเป็นสิ่งที่ทำให้บทแสดงมีความสวยงามน่าสนใจ และ

ทำให้ผู้ชมเข้าใจการแสดงได้ง่ายขึ้นซึ่งในการสร้างสรรค์ฉาก

จะมีการนำศิลปะด้านสถาปัตยกรรม จิตกรรมหรือประติมากรรม

มามีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างฉาก ทำให้ฉากมีส่วนเกี่ยวข้อง

ในการสร้างฉาก ทำให้ฉากมีความโดดเด่น สมบูรณ์ สวยงาม เช่น

การแสดงระบำโบราณคดีที่มีฉากเป็นโบราณสถาน

3.      เครื่องแต่งกาย

การแสดงนาฏศิลป์ไทยแต่ละชุดการแสดง จะมีลักษณะการแต่งกายที่แตกต่างกันไป ซึ่งทำให้การแสดงมีความ

สวยงามและเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงลักษณะของตัวละคร ในการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงมีการผสมผสานกับศิลปะด้านจิตรกรรมในการออกแบบลวดลายของเครื่องกายให้เหมาะสมกับการแสดง เช่น การแต่งกายในการแสดงระบำลพบุรี มีลักษณะเครื่องแต่งกายที่บ่งบอกถึงสมัยลพบุรี แสดงให้เห็นถึงศิลปะลพบุรี

เครื่องแต่งกายสมัยลพบุรีมีลักษณะคล้ายการแต่งกายในสมัยลพบุรี

4.      อุปกรณ์การแสดง

อุปกรณ์การแสดงเป็นสิ่งที่ทำให้การแสดงมีความน่าสนใจมากขึ้น ในการสร้างสรรค์อุปกรณ์การแสดงสามารถ

นำความรู้ด้านจิตรกรรมมาใช้ในการออกแบบ ตกแต่งลวดลายอุปกรณ์การแสดงให้มีความสวยงาม เช่น การแสดงเซิ้งกระติบ อุปกรณ์การแสดง คือ กระติบข้าวที่มีการสานกระติบลวดลายสวยงาม

ฟ้อนผางเซิ้งกะโป๋(กะลา)

หลักและวิธีการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์

          การวิเคราะห์ และวิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์ ผู้ที่วิเคราะห์การแสดงจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์ มีความคิดและมีเหตุผลในการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดงซึ่งมีหลักและวิธีการวิเคราะห์การแสดงดังนี้

1.      ผู้วิจารณ์มีพื้นฐานทางนาฏศิลป์

หมายความว่า ผู้วิจารณ์ควรมีความรู้เกี่ยวกับหลักการแสดงนาฏศิลป์ องค์ประกอบนาฏศิลป์เพื่อให้สามารถ

วิเคราะห์และวิจารณ์การแสดงได้ถูกต้อง

2.      ผู้วิจารณ์มีความสามารถทางด้านดนตรีประกอบการแสดง

หมายความว่าผู้วิจารณ์นอกจากจะมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์ไทยแล้วยังต้องมีความรู้

ความสามารถด้านดนตรีประกอบการแสดงด้วย จะทำให้สามารถวิจารณ์การแสดงได้ถูกต้องว่าการแสดงนั้นใช้บทเพลงประกอบการแสดงได้ถูกต้องหรือไม่

3.      ผู้วิจารณ์ทราบเนื้อเรื่องที่ใช้แสดงเป็นอย่างดี

หมายความว่า ผู้วิจารณ์จะต้องมีความเข้าใจเนื้อเรื่องที่ใช้ในการแสดง สามารถวิเคราะห์และวิจารณ์ได้ว่า

ผู้แสดงถ่ายทอดอารมณ์ได้ถูกต้องตามเนื้อหาเรื่องหรือไม่

4.      ผู้วิจารณ์มีคุณธรรม จริยธรรมในการวิเคราะห์วิจารณ์การแสดง

หมายความว่า ผู้วิจารณ์ควรมีความยุติธรรมในการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดงไม่อคติ และไม่มีความลำเอียง

วิเคราะห์และวิจารณ์การแสดงอย่างเป็นกลางด้วยถ้อยคำที่สุภาพไม่ใช้ถ้อยคำรุนแรงมีเหตุผลในการวิเคราะห์ และวิจารณ์จะทำให้ผู้แสดงและผู้สร้างสรรค์การแสดงทราบข้อบกพร่องและนำไปปรับแก้ไขให้การแสดงขึ้น และมีกำลังใจในการสร้างผลงานต่อไป

ใบงาน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การบูรณาการศิลปะแขนงอื่นๆ กับการนาฏศิลป์

และหลักและวิธีการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์

ประเมินผลตัวชี้วัดอธิบายการบูรณาการศิลปะแขนงอื่น ๆ กับการแสดง(ศ 3.1 ม.2/1)

ตอนที่ 1     ให้นักเรียนชมการแสดงนาฏศิลป์ไทย 1 ชุด แล้วให้นักเรียนวิเคราะห์ว่าการแสดงนี้มีการบูรณาการศิลปะ แขนงใดบ้าง บูรณาการอย่างไร โดยบันทึกผลลงในแบบบันทึก (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)

แบบบันทึกการชมการแสดงนาฏศิลป์ไทย

1.       การแสดงที่ชม คือ_________________________________________________________________

2.       แสง สี เสียง ที่ใช้ในการแสดงเป็นอย่างไร_________________________________________________

     แสง____________________________________________________________________________

สี______________________________________________________________________________

               เสียง____________________________________________________________________________

3.       การแสดงนี้มีฉากประกอบการแสดงหรือไม่________________________________________________

มีลักษณะฉากเป็นอย่างไร_____________________________________________________

______________________________________________________________________

4.      เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงนี้เป็นอย่างไร_________________________________________

______________________________________________________________________

5.      การแสดงนี้มีอุปกรณ์ประกอบแสดงหรือไม่______________________________มีลักษณะอย่างไร

______________________________________________________________________

6.      การแสดงนี้มีการนำศิลปะด้านใดมาใช้ในการแสดงบ้าง ใช้อย่างไร____________________________

______________________________________________________________________

ประเมินผลตัวชี้วัด1. วิเคราะห์การแสดงของตนเองและผู้อื่น โดยใช้นาฏยศัพท์หรือสัพท์ทางการละครที่เหมาะสม(ศ 3.1 ม.2/3)

                        2.  เสนอข้อคิดเห็นในการปรับปรุงการแสดง (ศ 3.1 ม.2/4)

ตอนที่ 2     ให้นักเรียนชมการแสดงนาฏศิลป์ไทย 1 ชุดการแสดง แล้ววิเคราะห์การแสดงที่ชมโดยตอบคำถามลงใน

แบบบันทึก (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)

แบบบันทึกการชมการแสดงนาฏศิลป์ไทย

1.       การแสดงนี้ชื่อว่า……………………………………………………………………………………………………………………………………………..……

2.       การแสดงนี้มีลักษณะอย่างไร……………………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….........

3.       การแสดงนี้มีการใช้องค์ประกอบนาฏศิลป์อย่างไร

-          ภาษาท่าทาง……………………………………………………………………………………………………………………..……………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

-          นาฏศิลป์…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

-          นาฏยศัพท์………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

-          ดนตรีประกอบการแสดง……………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

-          คำร้องหรือเนื้อร้อง…………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

-          การแต่งกาย……………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

-          จังหวะในการแสดง………………………………………………………………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

-          อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง………………………………………………………………………………………………………………………………..

-          ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

4.      ผู้แสดงแสดงเป็นอย่างไร……………………………………………………………………………………………………………………………………..

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………...………….

5.      การแสดงนี้มีข้อควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไรบ้าง………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………...

ให้นักเรียนสรุปความรู้เรื่องการบูรณาการศิลปะแขนงอื่นๆ กับการนาฏศิลป์ไทย (คะแนนเต็ม 5 คะแนน)

_______________________________________________________________________________

_______________________________________________________________________________

_______________________________________________________________________________

_______________________________________________________________________________

แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด

หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านนาฏศิลป์ไทย

คำชี้แจง         ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย ทับ Xตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง

1.      ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทยทั้งหมด

ก.       ลีลาการใช้ท่ารำ จังหวะ

ข.       การแต่งกาย ผู้แสดง

ค.       อุปกรณ์การแสดง ดนตรี

ง.        ผู้จัดการแสดง สถานที่แสดง

2.      จังหวะที่ใช้ในการแสดงมีความสำคัญอย่างไร

ก.       เป็นสิ่งที่ทำให้ท่ารำมีความสมบูรณ์ สวยงาม

ข.       เป็นพื้นฐานในการแสดง ทำให้การแสดงสวยงาม พร้อมเพรียง

ค.       เป็นองค์ประกอบนาฏศิลป์ที่ทำให้ผู้แสดงมีความสวยงาม

ง.        เป็นสิ่งที่ใช้ประกอบการแสดงเพื่อทำให้ผู้ชมชื่นชอบประทับใจ

3.      เพลงดำเนินพราหมณ์เป็นเพลงหน้าพาทย์ประเภทใด

ก.       เพลงหน้าพาทย์ธรรมดา

ข.       เพลงหน้าพาทย์ชั้นกลาง

ค.       เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง

ง.        เพลงหน้าพาทย์ทั่วไป

4.      เพราะเหตุใดการสร้างสรรค์การแสดงจึงต้องใช้องค์ประกอบนาฏศิลป์

ก.       ทำให้การแสดงมีความสมบูรณ์ สวยงาม มีเอกลักษณ์

ข.       ทำให้การแสดงมีผู้สนใจเข้าร่วมจำนวนมาก

ค.       ทำให้การแสดงเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียง

ง.        ทำให้การแสดงมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

5.      แสง สี เสียง มีความสำคัญต่อการแสดงอย่างไร

ก.       ทำให้การแสดงมีความสวยงาม สมบูรณ์และมีผู้เข้าชมการแสดงจำนวนมาก

ข.       ทำให้การแสดงมีความสวยงาม โดดเด่น ผู้ชมเข้าใจและประทับใจในการแสดง

ค.       ทำให้การแสดงมีเอกลักษณ์ มีรูปแบบการแสดงที่แปลกใหม่กว่าการแสดงอื่น

ง.        ทำให้การแสดงมีความเหมาะสม สวยงามและเป็นที่รู้จักทั่วไป

6.      การสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงเกี่ยวข้องกับศิลปะแขนงใดมากที่สุด

ก.       สถาปัตยกรรม

ข.       ประติมากรรม

ค.       จิตรกรรม

ง.        วรรณกรรม

7.      ถ้าการแสดงนาฏศิลป์ไทยไม่มีการบูรณาการกับศิลปะแขนงอื่นๆ การแสดงจะเป็นอย่างไร

ก.       การแสดงไม่สมบูรณ์ ไม่สวยงาม มาน่าชม

ข.       การแสดงจะไม่มีความทันสมัย ผู้ชมไม่ชื่นชอบ

ค.       การแสดงจะมีความแปลกใหม่มากขึ้นกว่าเดิม

ง.        การแสดงจะมีเอกลักษณ์และความงามที่โดดเด่น

       ตัวชี้วัดวิเคราะห์การแสดงของตนเองและผู้อื่น โดยใช้นาฏศัพท์ หรือศัพท์ทางการละครที่เหมาะสม (ศ 3.1 ม.2/3)

8.      ผู้วิจารณ์การแสดงที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

ก.       มีความชื่นชอบเนื้อเรื่องและผู้ที่จะวิจารณ์

ข.       มีความตรงไปตรงมา วิจารณ์โดยใช้ความคิดส่วนตัว

ค.       มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับผู้แสดงและผู้แสดงและผู้จัดการแสดง

ง.        มีคุณธรรม จริยธรรม ไม่มีอคติ ไม่ลำเอียงในการวิจารณ์

9.      การวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดงมีประโยชน์อย่างไร

ก.       ทำให้ผู้สร้างสรรค์การแสดงมีความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงที่แปลกใหม่กว่าเดิม

ข.       ทำให้ทราบข้อบกพร่องของการแสดงและนำไปปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น

ค.       ทำให้การแสดงมีความสมบูรณ์ มีคุณภาพ ผู้แสดงแสดงได้ดี

ง.        ทำให้ผู้ชมการแสดงเข้าใจ และซาบซึ้งในการแสดงมากขึ้น

10.  ถ้าการแสดงไม่พร้อมเพรียงสวยงามควรปรับปรุงการแสดงในเรื่องใด

ก.       เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดง

ข.       อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการแสดง

ค.       จังหวะที่ใช้ในการแสดง

ง.        เนื้อร้องที่ใช้ในการแสดง