เส้นมีลักษณะ คงที่ วาด สร้าง ระยะ ใกล้ ไกล ด้วย วิธี ใช้เส้น ประ เป็น ลักษณะ เด่น ของ ปากกา ชนิด ใด

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

การวาดเส้น (อังกฤษ: Drawing) เป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และการออกแบบ โดยการสร้างภาพสองมิติโดยวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว ให้เกิดร่องรอยต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ถ่าน เศษไม้ หรือแม้แต่นิ้วมือของตนเอง แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ ดินสอ ปากกาและหมึก เครยอง ดินสอสี ดินสอถ่าน ชอล์ก ชอล์กสี ปากกามาร์กเกอร์ ปากกาหมึกซึม ซึ่งโดยมากจะเขียนลงบนกระดาษ หรือวัสดุอื่นอย่าง กระดาษแข็ง พลาสติก หนัง ผ้า กระดาน สำหรับการเขียนชั่วคราวอาจใช้กระดานดำหรือกระดานขาว หรือบนอะไรก็ได้

วาดเส้น เป็นคำผสม อาจแยกความหมายได้เป็น 2 คำ คือ
1. วาด เป็นการกระทำให้เกิดภาพ โดยใช้มือจับอุปกรณ์ ขีด เขียน ถู ไถ ฯลฯ มากกว่าการเขียนเป็นตัวอักษร หรือข้อความ
2. เส้น เป็นวัตถุ สิ่งของ หรือ รอย 

ธรรมชาติของเส้น
- มีขนาดต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุที่นำมาใช้ในการลากหรือวาด
- ตัวมันเองมีเพียงมิติเดียว แต่เมือวาดอย่างมีจุดประสงค์จะทำให้ได้ผลงาน หลายมิติ
- มีลักษณะของความยาวมากกว่าความหนา

ในการฝึกวาดเส้น ควรจะเริ่มจากการบังคับมือให้มีความสัมพันธ์กับสมองที่สั่งการ โดยมีตาเป็นส่วนที่เตือนสติในการลากเส้น ในการฝึกควรลากทั้งเส้น แนวดิ่ง แนวนอน แนวเฉียง และ สลับลากเส้นหลากหลายทิศทาง การฝึกในเรื่องของแสงเงา ควรใช้ดินสอดำ 2B-4B และ กระดาษด้านผิวเรียบ การวาดภาพโดยอาศัยองค์ประกอบ Foreground, Middle ground และ Background จะช่วยในการสร้างภาพที่มีความซับซ้อนได้ดี

เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการวาดเส้นที่จะกล่าวถึง คือ การวาดด้วยดินสอ

ดินสอ เป็นเครื่องมือหลัก หรือ เป็นเครื่องมือพื้นฐานของการฝึกที่จะได้ผลดีในระยะ เริ่มต้นในการจับเพื่อการวาดเส้น จะมีข้อแตกต่างจากการจับเพื่อการเขียนหนังสื่อ เพราะในบางเส้นอาจจะต้องออกแรงกด เพื่อการเน้นน้ำหนักของภาพ หรือ ยกเบาให้เกิดน้ำหนักอ่อน

ดินสอส่วนใหญ่ โดยเฉพาะดินสอที่ใช้ในงานศิลปะ จะระบุความเข้มของดินสอเอาไว้ด้วยตามระบบยุโรป โดยใช้อักษร "H" (hardness – ความแข็ง)  "B" (blackness – ความดำ) และ "F" (fine point – เนื้อละเอียด)

ดินสอสำหรับศิลปะจะมีความเข้มหลายขนาดให้เลือกใช้ เพื่อให้มีความเข้ม ความสวยงาม และให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน มีตั้งแต่ดินสอที่แข็งและสีอ่อน ไปจนถึงสีเข้มมาก โดยมักเรียงตามลำดับต่อไปนี้

                                       
9H 8H 7H 6H 5H 4H 3H 2H H F HB B 2B 3B 4B 5B 6B 7B/EB 8B/EE 9B
แข็งที่สุด ปานกลาง อ่อนที่สุด
 

ในการฝึกวาดเส้นพื้นฐาน การลากเส้นในลักษณะต่างๆ มีความจำเป็นมากในเบื้องต้น เพราะจะช่วยให้มีความคุ้นเคยกับการจับเครื่องมือในการวาด และมีทักษะในการบังคับทิศทางของการลากเส้น ซึ่งพอจะแบ่งในการฝึก ได้ดังนี้

- การลากเส้นตรงแนวดิ่ง

- การลากเส้นตรงแนวนอน

- การลากเส้นตรงแนวเฉียง

- การลากเส้นสลับไปมา 

- การลาดเส้นโค้ง หรือวงกลม

- การรวมเส้น ผสมหลายวิธี

หลักการของแสงเงา

การที่เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้  เพราะมีแสงสว่าง  ถ้าขาดแสงหรือไปอยู่ในที่ไม่มีแสง  เช่น  ในถ้ำ  ในห้องที่ปิดสนิท  เราก็จะไม่เห็นอะไรทั้งสิ้น  มีแสง จึงมีเงา  ในการวาดภาพจึงต้องมี  หลักการของแสงเงาเป็นพื้นฐาน  เพื่อให้เกิดความสมจริงของวัตถุนั้น ๆ  ในการถ่ายทอดเป็นรูปภาพในวัตถุแต่ละชิ้น  อาจมีทั้งจุดที่สว่างมาก และ สว่างน้อย  ส่วนเงาคือส่วนที่ไม่ถูกแสง  อาจจะเกิดจากส่วนตื้นลึก หรือถูกบังแสงก็ได้  เพราะทิศทางของแสง จะตรงกันข้ามกับเงาเสมอ  และ มีผลต่อความคมชัดของเงาด้วย

ในการวาดภาพเกี่ยวกับแสงเงา  การฝึกใส่น้ำหนัก  เป็นสิ่งที่ต้องฝึกปฏิบัติเป็นพื้นฐาน  โดยใช้ดินสอ  ระดับ  2B – 4B   ไล่น้ำหนักจากเข้มไปอ่อน   สลับกับอ่อนไปเข้มหรือดำ และ สลับทิศทางของเส้นแต่ก็คงน้ำหนักจากเข้มไปอ่อนหรืออ่อนไปเข้ม

ในการเขียนแสงเงาของวัตถุ ข้อสังเกตเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าส่วนใดที่ถูกแสงมาก เราเกือบไม่ต้องไล่เส้นดินสอเลย  ปล่อยให้เป็นจุดส่วน (High light) เอาไว้ ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนที่นูนของวัตถุ ส่วนที่เป็นพื้นผิวทั่วไปก็ไล่นำหนักของดินสอให้กลมกลืน จะเริ่มเน้นน้ำหนักก็ในส่วนที่เป็นส่วนลึก หรือ เว้าไม่ถูกแสง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุ หรือ พื้นผิวนั้น ๆ ลักษณะของรูปทรงกลม จะเป็นตัวอย่างได้ดี ทั้งในด้านของความกลมกลืนของแสงเงา และฝึกปฏิบัติ
ในการวาดเส้นบางภาพ อาจไม่แสดงแสงเงาที่ชัดเจน  คือ ไม่อิงกับเวลา  เช้า  เที่ยง  บ่าย  ซึ่งต้องแสดงเงาตกทอดตามกาลเวลา ซึ่งอาจเห็นได้จากแสงเงาต้นไม้ อาคาร แต่แสงเงาก็เกิดกับภาพได้  อันเนื่องมาจากวัตถุนั้น ๆ มีตื้นลึก ใกล้ ไกล  เพื่อแสดงมิติขอวัตถุนั้น ๆ  การใช้น้ำหนักอ่อน เข้มของการวาดเส้น  จะให้ความรู้สึกของภาพได้ดี

เมื่อฝึกเรื่องการลงแสงเงาได้แล้ว ก็เข้าสู่การประยุกต์ใช้ โดยมีการจัดองค์ประกอบเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการวาดเส้น

องค์ประกอบอาจแบ่งออกเป็น  3  ส่วน คือ
  1. เนื้อหา  หรือเรื่องราวของภาพที่อยู่ด้านหน้า  ที่เรียกว่า  Foreground   เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ตัวฉากหน้า จะแสดงรายละเอียดพอสมควร แต่รูปแบบอาจไม่ครบถ้วนทั้งหมดก็ได้
  2. เนื้อหา  หรือเรื่องราวของภาพที่อยู่ตำแหน่งกลาง  ซึ่งเป็นส่วนที่ส่วนใหญ่ ต้องการเน้น  หรือที่เรียกว่า   Middle ground   ในส่วนนี้มักจะมีความสมบรูณ์ของรูปร่าง
  3. เนื้อหา หรือภาพที่เป็นฉากหลัง ที่เรียกว่า Background จะเป็นภาพประกอบของ Middle ground และ Foreground ช่วยสร้างบรรยากาศให้ภาพดูดีได้ ภาพไม่เน้นรายระเอียดมาก      มีความสมบรูณ์ของภาพ แต่เล็กตามระยะที่เห็นไกล

การฝึกวาดเส้น สำหรับเตรียมสอบวิชาวาดเส้น นั้น  มีวิธีมาแนะนำดังนี้

1. ฝึกรูปร่างของหุ่น (โครงสร้าง) ซึ่งควรเป็นหุ่นจริง  หรือเมื่อเริ่มต้นอาจเป็นรูปถ่าย เพื่อเป็นแนวทาง  แต่ในการฝึกจริงๆแล้วควรเป็นหุ่น  เพื่อให้สามารถสังเกต รูปร่างลักษณะ แสงเงา และเลือกมุมมองที่จะวาดได้อย่างอิสระ  ตัวอย่างหุ่นสำหรับการฝึกวาดเส้น

- วัตถุสิ่งของทั่วไป  เช่น  ขวดแก้วใส  รองเท้าหนังหรือผ้าใบสีเรียบ  กระดาษยับ ช่อดอกไม้ หรืออุปกรณ์เครื่องเขียนที่เรามี  สามารถหยิบมาฝึกฝนวาดได้ทั้งหมด

- อวัยวะของเรา  เช่น  มือ เท้า ใบหน้า หรือ ร่างกายคนทั้งตัว  ซึ่งควรเรียนรู้เรื่องกายวิภาคด้วย

2. ฝึกสังเกต และวาดเส้นแสงเงา ให้เข้าใจ  ซึ่งการสังเกตเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการฝึกการวาดแสงและเงา

3. การจัดหุ่น หรือกำหนดองค์ประกอบที่จะวาดในกระดาษ  ลองสังเกตแสงเงาที่จกกระทบ และเงาที่เกิดตกทอดลงบนพื้น  เพื่อให้ภาพที่วาดมีมิติที่สวยงาม

4. จัดองค์ประกอบ  โดยลองใช้หลักการเรื่ององค์ประกอบเข้ามาช่วย  ทำให้มีการซ้อนหรือกระจายกันให้เกิดมิติหน้า-กลางและพื้นหลังของภาพ  จะได้มิติของภาพที่เพิ่มขึ้น

5. หลังจากฝึกเรื่องโครงสร้าง แสงเงา การจัดองค์ประกอบแล้ว  ต้องฝึกฝนเรื่องการวาดพื้นผิว (Texture) ของวัตถุที่แตกต่างด้วย  โดยหัดสังเกตและฝึกวาดให้รู้สึกว่าวัตถุที่วาดนั้น เป็นแก้วใส ไม้ โลหะ หรือว่าเนื้อคน  เพราะวัตถุที่มีพื้นผิวที่ต่างกัน  น้ำหนักแสงเงาก็จะแตกต่างกันด้วย  ในการฝึกนั้น  ควรมีหุ่นจริงตั้ง  เพื่อให้ฝึกสังเกตและวาดจากของจริง  อย่าเพิ่งนึกขึ้นเอง  โดยเฉพาะแสงเงา  เพื่อให้เราได้ศึกษาพื้นฐานเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่

6. ควรฝึกๆ ๆ และฝึกวาดเส้นอย่างสม่ำเสมอ  และแบ่งเวลาอย่างพอดี  ไม่ควรทำงานชิ้นหนึ่งๆเกินกว่า 3 ชั่วโมง  เพราะจะทำให้ไม่รู้ความเร็วในการทำงานของตัวเอง  และทำเหนื่อย+ล้าเกินไปด้วยนะ ^^  

ข้อมูลบางส่วนจาก 

หนังสือความถนัดทางสถาปัตยกรรม เรื่องการเตรียมตัวสอบวิชาวาดเส้น

http://th.wikipedia.org/wiki/การวาดเส้น

http://www.bspwit.ac.th  เรื่องวิชาศิลปะ

http://th.wikipedia.org/wiki/ดินสอ

ขอให้สนุกกับการวาดเส้นนะคะ