โครงการพระราชดําริทั้งหมด มีอะไรบ้าง

โครงการพระราชดําริทั้งหมด มีอะไรบ้าง

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงมีพระราชดําริและได้พระราชทานแนวคิด แนวทางการปฏิบิติ ต่างๆ ให้กับปวงชนชาวไทย เพื่อเปลี่ยนนการดำเนินชีวิต ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับชุมชน  ระดับองค์กร  ระดับรัฐ  ให้รอดพ้นจากวิกฤตและดําเนินอยู่ในสังคมได้อย่างสมดุล  มั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งได้มีการนําแนวพระราชดําริต่างๆ มาจัดทําเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อันมีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน  โดยเฉพาะการพัฒนาชนบท ตามแนวพระราชดําริที่เป็นต้นแบบของการนําแนวคิด  และวิธีการพัฒนาชนบทอย่างครบวงจร หรือที่เรียกว่า “บริการรวมที่จุดเดียว”(ONE  STOP  SERVICES)”  เพื่อยกระดับชีวิต  ความเป็นอยู่ของประชาชนผู้ยากไร้  ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเน้นการพัฒนาด้านแหล่งนํ้าการเกษตร สิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมอาชีพ ซึ่งเป็นแนวพระราชดําริที่สําคัญ  และที่ได้ทรงดําเนินการมาต้ังแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นต้นมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้ โดยที่ประเทศไทยได้มีการพัฒนาหลายรูปแบบผ่านมาเป็นระยะเวลายาวนาน มีการดําเนินการที่คอยเป็นคอยไปตามลําดับข้ันตอนตามความพร้อมของแต่ละท้องถิ่นเป็นหลัก  ท้ังนี้เพื่อให้ประชาชนพออยู่พอกินและอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองท้ังด้านเศรษฐกิจและสังคม ในขณะเดียวกันก็ให้ความสําคัญกับการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่พระองค์ได้พระราชทานแนวทางการดําเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อให้องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน สามารถสนองพระราชดําริได้ อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน สอดคล้องกับแนวคิดของสหประชาชาติ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๕  สหประชาชาติได้เน้นความสําคัญการพัฒนาในสามมติ ได้แก่ มิติทางสังคม มิติทางเศรษฐกิจ และมิติทางสิ่งแวดล้อม โดยได้กําหนดให้เป็นแผนแม่บทในระดบโลกในชื่อของแผนปฏิบิตัการ ๒๑ (AGENDA 21)

      การดําเนินงานของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้น้อมนําเอาพระราชดําริมาใช้ในการดําเนินงานช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆท้ังในสังคมเมือง และในสังคมชนบทห่างไกล ตามโครงการพระราชดาริ และโครงการตามพระราชประสงค์ต่างๆ ที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ มีส่วนรับผิดชอบหลายโครงการด้วยกัน ซึ่งหลายโครงการเป็นความรับผิดชอบโดยตรง และบางโครงการเป็นงานที่กรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการเข้าไปร่วมดำเนินการกับหน่วยงานอื่นๆ

โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับป่า

โครงการพระราชดําริทั้งหมด มีอะไรบ้าง

         

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ลดลงเป็นอย่างมาก จึงทรงพยายามค้นหาวิธีนานาประการที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้นอย่างมั่นคงและถาวร โดยมีวิธีการที่เรียบง่ายและประหยัดในการดำเนินงานตลอดจนเป็นการส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำริหลายวิธีการ

 :: ตัวอย่างโครงการ ::
โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา
โครงการศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร
โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี
โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว จังหวัดลำพูน
โครงการห้วยองคต จังหวัดกาญจนบุรี
โครงการพัฒนาปากน้ำปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน
โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่
โครงการศูนย์ศึกษาวิจัยธรรมชาติและป่าพรุสิรินทร
โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จ.นราธิวาส
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี

โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับดิน

โครงการพระราชดําริทั้งหมด มีอะไรบ้าง

            ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่เลี้ยงชีพโดยอาศัยความอุดมสมบูรณ์ของดินมาช้านาน แผ่นดินจึงเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง ด้วยพระปรีชาญาณอันยิ่งใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความเสื่อมโทรมของดิน อันเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ เช่น บางแห่งเป็นดินเปรี้ยว ดินด่าง ดินเค็ม และบางแห่งก็ไม่มีดินเลย ซึ่งทรงเรียกดินเหล่านี้ว่า "ดินแร้นแค้น" นอกจากนี้ ความเสื่อมโทรมของดินยังเกิดจากการกระทำอันรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของประชาชน เช่น การตัดไม้ทำลายป่า และการใช้พื้นที่โดยขาดการอนุรักษ์ จึงพระราชทานแนวพระราชดำริในการป้องกัน แก้ไข และพัฒนาทรัพยากรดินเป็นอเนกประการ ซึ่งล้วนแต่นำประโยชน์สุขมาสู่เกษตรกรทั่วประเทศ
 
:: ตัวอย่างโครงการ ::

โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา
โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี
โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว จังหวัดลำพูน
โครงการศึกษาฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี
โครงการทดลองแก้ปัญหาดินเปรี้ยว จังหวัดนครนายก
โครงการหญ้าแฝก
โครงการแกล้งดิน

โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับน้ำ

โครงการพระราชดําริทั้งหมด มีอะไรบ้าง

       

การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการ อีกทั้งความผันแปรเนื่องจากฝนตกไม่พอเหมาะกับความต้องการ เป็นผลให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น ทรงให้ความสำคัญในลักษณะ “น้ำคือชีวิต” ดังพระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙ ความตอนหนึ่งว่า

 “...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ไม่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้...”

 :: ตัวอย่างโครงการ ::
โครงการแก้มลิง
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
โครงการเขื่อนคลองท่าด่าน จังหวัดนครนายก
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว จังหวัดลำพูน
โครงการห้วยองคต จังหวัดกาญจนบุรี
โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เขื่อนขุนด่านปราการชล
โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย
การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา
โครงการฝนหลวง
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "คลองลัดโพธิ์"
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำทอน จังหวัดหนองคาย

โครงการทางด้านวิศวกรรม

โครงการพระราชดําริทั้งหมด มีอะไรบ้าง

         

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นต้นมา พระองค์ได้ทรงมุ่งมั่นประกอบพระราชกรณียกิจต่าง ๆ เป็นอันมาก เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยและความเจริญของประเทศไทย สมดังพระราชปณิธานที่ว่า“เราะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”  ที่น่าสังเกตก็คือพระราชกรณียกิจหลายเรื่อง ได้แสดงถึงความสนพระราชหฤทัยและพระปรีชาสามารถของพระองค์ในงานวิศวกรรมสาขาต่าง ๆ ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงพระราชประวัติและพระกรณียกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรม เพื่อเป็นการสดุดีพระเกียรติคุณ เนื่องในศุภมงคลวโรกาสที่พระองค์จะเจริญพระชนมายุครบ ๕ รอบพระชันษา ใน พ.ศ. ๒๕๓๐ นี้
 
พระราชประวัติการศึกษา

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเริ่มศึกษาวิชาการเบื้องต้น ณ โรงเรียนมาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต กรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นปีที่มีพระชนมายุได้ ๕ พรรษา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีนั้นแล้ว พระองค์ได้เสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำหนักวิลลาวัฒนา นครโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทรงเข้าศึกษาวิชาขั้นต้นที่โรงเรียนเมียร์มองต์ นครโลซานน์ ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ต่อมาได้ทรงย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนนูเวล เดลอลา สวิสโลมางค์ทรงสอบได้ประกาศนียบัตร บาเซอร์เลียร์เอส์ เลตรัส ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ในปีเดียวกันนั้น ได้ทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโลซานน์ สาขาวิทยาศาสตร์ และหลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ แห่งพระราชวงศ์จักรี ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ แล้ว ก็ทรงเปลี่ยนแนวการศึกษาไปเป็นทางด้านสังคมศาสตร์ สาขาวิชากฎหมายและการปกครอง เพื่อทรงเตรียมรับพระราชภารกิจในฐานะองค์พระมหากษัตริย์ต่อไป

  พระปรีชาสามารถทางช่างในปฐมวัย
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดงานทางช่างมาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ ขณะที่ประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น ทรงมีห้องปฏิบัติการทางช่างในพระตำหนักวิลลาวัฒนา นครโลซานน์ และทรงแสดงฝีพระหัตถ์ในงานช่างเป็นที่ประจักษ์หลายครั้ง เช่น เมื่อครั้งที่มีพระชนมายุได้ราว ๑๐ พรรษา ได้ทรงซ่อมจักรเย็บผ้าของพระพี่เลี้ยงจนใช้การได้ นอกจากนี้พระองค์ยังเคยทดลองระบบไฟฟ้าสายเดี่ยวกับรถไฟฟ้าของเล่น ทรงประกอบเครื่องรับวิทยุชนิดใช้แร่และชนิดใช้หลอดสุญญากาศ ซึ่งสามารถรับฟังสถานีวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแห่ง และทรงจำลองเรือรบหลวงศรีอยุธยาจนเป็นผลสำเร็จอีกด้วย
          พระปรีชาสามารถทางช่างของพระองค์นี้เป็นที่ประจักษ์ชัดตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ทั้งในงานส่วนพระองค์ เช่น การต่อเรือใบ และการถ่ายภาพ และในงานส่วนที่เป็นพระราชกรณียกิจเพื่อปวงชนดังที่จะกล่าวถึงต่อไป

  พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรม
          พระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบเป็นประจำ นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นต้นมาก็คือ การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ซึ่งได้ทำให้ทรงทราบถึงความเป็นอยู่ของราษฎร สภาพภูมิประเทศ รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ พระองค์ได้ทรงนำประสบการณ์และข้อมูลเหล่านี้มาประกอบพระราชดำริและพระราชวินิจฉัยในการพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่เหล่าราษฎร เป็นผลให้เกิดโครงการพัฒนาและกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องอาศัยความรู้ทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ ดังที่จะนำมากล่าวโดยสังเขปเป็นเรื่อง ๆ ไป คือ

 พระราชกรณียกิจด้านวิศวกรรมสำรวจและแผนที่
พระราชกรณียกิจด้านวิศวกรรมการต่อเรือ
พระราชกรณียกิจด้านวิศวกรรมการสื่อสาร
พระราชกรณียกิจด้านวิศวกรรมการเกษตร
พระราชกรณียกิจด้านวิศวกรรมแหล่งน้ำและชลประทาน
พระราชกรณียกิจด้านการคมนาคมและการขนส่ง
พระราชกรณียกิจด้านการพลังงาน
พระราชกรณียกิจด้านการศึกษาทางช่างและวิศวกรรมศาสตร์
ไบโอดีเซลและแก๊สโซฮอล์จากพืชของไทย
กังหันน้ำชัยพัฒนา
โครงการฝายชะลอน้ำ

โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

โครงการพระราชดําริทั้งหมด มีอะไรบ้าง

        โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เนื่องมาจากปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจโดยอุตสาหกรรมที่ไม่ได้วางแผนอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ดิน น้ำ และป่าไม้ งานส่วนใหญ่ของโครงการจึงเป็นการปรับปรุงสภาพทรัพยากรธรรมชาติมีและสิ่งแวดล้อม ได้แก่

๑. การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรดิน สนับสนุนให้เกษตรกรเรียนรู้และเข้าใจวิธีการอนุรักษ์และบำรุงดินให้สมบูรณ์อยู่เสมอ มีพระราชดำริว่า “... การปรับปรุงที่ดินนั้นต้องอนุรักษ์ผิวดิน ซึ่งมีความสมบูรณ์ไว้ ไม่ให้ไถหรือลอกหน้าดินทิ้งไป สงวนไม้ยืนต้นที่ยังเหลืออยู่เพื่อที่จะรักษาความชุมชื้นของผืนดิน...” นอกจากนี้มีโครงการจัดสรรและปฏิรูปที่ดิน พัฒนาที่ดินที่ว่างเปล่า แล้วจดสรรให้เกษตรกรผู้ไรที่ดินได้มีที่ทำกิน แต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ในการถือครอง จัดพื้นที่ทำกินให้ราษฎรชาวไทยภูเขา ให้มีการทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างได้ผล

๒. ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งน้ำ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อศึกษาค้นคว้ารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร โครงการอนุรักษ์แหล่งน้ำ ต้นน้ำลำธารมีอยู่ทั่วประเทศ ดังกล่าวแล้วในเรืองการพัฒนาแหล่งน้ำ

๓. ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เละทรัพยากรแหล่งน้ำเป็นสิ่งคู่กัน การทำลายป่าที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและซึมซับน้ำเก็บไว้ ทำให้แหล่งน้ำสูญหายไปด้วย นอกจากนั้น เมื่อไม่มีป่าซึมซับ น้ำฝนที่ตกลงมาก็สูญเปล่า บางแห่งก็หลั่งไหล ลงท่วมพื้นที่ทำกินและบ้านเรือนจึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการปลูกป่าทดแทนป่าที่เสื่อมโทรมโดยใช้วิธี ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ปลุกจิตสำนึกให้คนไทยรักป่า และช่วยกันปลูกป่ารักษาป่า “เพียงแต่อย่ารังแก และรบกวน” ป่าก็จะขึ้นเองโดยธรรมชาติ สร้างแหล่งน้ำให้เลี้ยงต้นไม้ และปลูกพันธุ์ไม้บางอย่างเสริมบ้าง
 

โครงการพัฒนาเกษตร

โครงการพระราชดําริทั้งหมด มีอะไรบ้าง

        โครงการพัฒนาเกษตรครอบคลุมสองพื้นที่และสองลักษณะ คือ การพัฒนาเกษตรในที่สูง ซึ่งส่วนหนึ่งคือโครงการพัฒนาชาวเขาอันเป็นโครงการหลวง กับโครงการพัฒนาเกษตรในชนบท

         โครงการหลวงเพื่อพัฒนาชาวเขาและเกษตรในที่สูง เป็นโครงการเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและหุบเขาเป็นส่วนมาก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๕๐๐ – ๕,๒๖๕ เมตร อากาศหนาวเย็น บางแห่งหนาวจัดจนน้ำกลายเป็นน้ำแข็งในฤดูหนาว ที่สูงมีความสำคัญมากเพราะเป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญ อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุที่พืชต้องการ มีอากาศเย็นเหมาะสำหรับปลูกพืชเมืองหนาวเป็นพืชเศรษฐกิจแต่เดิมชาวไทยภูเขามีถางป่า ทำไร่เลื่อนลอยและปลูกฝิ่น ยกเว้น พวกลัวะ และกะเหรี่ยง ซึ่งใช้ระบบทำไร่หมุนเวียน

        เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เพื่อปลูกพืชเมืองหนาวแทนการปลูกฝิ่น เพื่อช่วยให้ชาวไทยภูเขามีชีวิตที่ดีขึ้น ลดการทำลายป่าไม้และต้นน้ำลำธาร ในระยะแรก เริ่มด้วยการศึกษา วิจัย หาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกพืชในที่สูง วิธีการ ชนิดของพืชรวมทั้งการตลาด ขณะเดียวกันก็ช่วยเหลือชาวไทยภูเขาให้สามารถอ่านออกเขียนได้ และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้ สถานีวิจัยโนโครงการหลวงมีอยู่ ๓ แห่ง คือ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง สถานีเกษตรหลวงแม่สอด และสถานีเกษตรหลวงปางดะ เป็นสถานที่วิจัยพืชเมืองหนาวไม้ดอก ไม้ผล พืชไร่ และฝึกอบรมการปลูกการพัฒนาเกษตรในที่สูงนั้นมีลักษณะเบ็ดเสร็จคือ ศึกษาพื้นที่ซึ่งมีลักษณะต่างๆ ว่าเหมาะสมแก่การปลูกพืชชนิดใด บริรักษ์เนื้อที่และหน้าดินไม่ให้พังทลาย สร้างระบบระบายน้ำ ทำฝาย ท่อคลังน้ำและระบบหยดน้ำ สร้างถนนเพื่อการขนส่งพืชไปสู่ตลาด มีศูนย์พัฒนาพืชใหม่ๆ ๒๖ ศูนย์ ดูแลหมู่บ้าน ๒๑๙ หมู่บ้าน ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน พะเยา และลำพูน

         ในด้านการพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขา โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งธนาคารข้าวที่บ้านป่าเป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนเพราะชาวลัวะที่นั่นมักขาดแคลนพันธุ์ข้าว ในบางปีธนาคารข้าวคิดดอกเบี้ยต่ำ ผู้ปลูกสามารถชดใช้ข้าวคืนในฤดู เก็บเกี่ยวครั้งต่อไปได้ นอกจากนี้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนในสถานที่ซึ่งยังไม่มีโรงเรียน พร้อมทั้งจัดให้มีห้องสมุดเคลื่อนที่ เพื่อให้เด็กรักการอ่าน แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ตั้งศูนย์ศิลปหัตถกรรม ตั้งกลุ่มเฉพาะกิจเพื่อสร้างถนนและการประปา โดยชาวไทยภูเขาร่วมกันสร้างและร่วมกันออกเงิน บางครั้งโครงการหลวงก็ช่วยเหลือด้านทุนทรัพย์
 

โครงการพัฒนาเกษตรในชนบท

โครงการพระราชดําริทั้งหมด มีอะไรบ้าง

 โครงการพัฒนาเกษตรในชนบทมีสองลักษณะคือ

        หนึ่ง : โครงการส่วนพระองค์ ซึ่งทรงดำเนินการเพื่อเป็นแบบอย่าง และเผยแพร่สู่เกษตรกรในชนบท เป็นโครงการที่โปรดเกล้าฯ ให้มีขึ้นในบริเวณพระตำหนัก สวนจิตรลดา เริ่มตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๓ ได้แก่ โครงการป่าไม้สาธิต เพื่อปลูกพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ ในเนื้อที่ ๑๒๕ ไร่ โครงการนาข้าวทดลอง ได้เริ่มเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๐๕ โครงการเพื่อหาข้อมูลในการส่งเสริมอาชีพเกี่ยวกับโคนม เช่น ทำเป็นนมผง และนมผงชนิดเม็ด เริ่มทดลองในพุทธศักราช ๒๕๑๒ ในปีเดียวกันนี้ ทรงเริ่มผลิตนมสดวันละหลายพันถุง โครงการเลี้ยงปลานิล ซึ่งมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ทูลเกล้าฯ ถวาย ๕๐ ตัว เริ่มเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๘ เพื่อขยายพันธุ์ไปสู่เกษตรกร ปัจจุบันนี้ มีการเลี้ยงปลานิลทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังมีโรงสีข้าวทดลองเพื่อค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับการสีข้าว โครงการยุ้งฉางข้าว เพื่อทดลองการเก็บรักษาข้าวเปลือกไห้สูญเสียน้อยที่สุด และโครงการบดแกลบและอัดแท่งสำหรับนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง

        สอง : โครงการพัฒนาอาชีพเกษตรในชนบท เป็นโครงการซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการในพื้นที่ทุรกันดาร และมีปัญหาเกี่ยวกับที่ดินและน้ำ ทรงนำผลการค้นคว้าทดลอง ไปใช้ในพื้นที่ซึ่งเหมาะสมแก่การปลูกพืชพันธ์ใหม่ๆ เช่น หม่อน ยางพารา ปลูกพืชเพื่อการบำรุงดิน เช่น หญ้าแฝก พืชที่เป็นประโยชน์ต่อการบริโภคและใช้เป็นยา เช่น สมุนไพร นอกจากปลูกพืชแล้วยังมีการเลี้ยงสัตว์ โดยใช้พันธุ์สัตว์ที่เหมาะสม เช่น โคนม โคเนื้อ แพะ แกะ ปลา ทรงแนะนำวิธีปฏิบัติที่ไม่ซับซ้อน ราคาถูก เกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ โดยที่พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์และเทคนิคต่างๆ มีความเหมาะสมแก่ภูมิประเทศภูมิอากาศ และสภาพสังคมโดยทั่วไป ทรงเน้นให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ ขณะเดียวกันช่วยให้ผลิตก๊าซชีวภาพ ที่เป็นประโยชน์ทั้งในด้านเชื้อเพลิง และปุ๋ย เรื่องการหารายได้เสริมจากงานศิลปหัตถกรรม โดยสรุป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เกษตรกรสามารถ “ทำการเกษตรอย่างยั่งยืน” และพอมีกินมีใช้ มีความสุขในสภาพแวดล้อมของตนเอง

        เพื่อแก้ปัญหาในการที่ราษฎรส่วนหนึ่งไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิรูปที่ดินกว่าห้าหมื่นไร่ ในที่นาของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ในภาคกลางแปดจังหวัดพระราชทานให้เป็นที่ทำกิน ให้จัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนกิจการสหกรณ์ขึ้น

โครงการเสริมอาชีพ

โครงการพระราชดําริทั้งหมด มีอะไรบ้าง

 โครงการต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นโครงการส่งเสริมอาชีพด้านเกษตร นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่นๆ ที่มิใช่อาชีพเกษตร แต่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เช่น

        สหกรณ์ทางการเกษตร เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้รู้จักประกอบการพาณิชย์ด้วยตนเอง ไม่ต้องขายผลิตผลให้พ่อค้าคนกลางมีพระบรมราโชบายให้เกษตรกรรวมตัวกัน จัดตั้งหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตร เมือมีหมู่บ้านสหกรณ์แล้วก็มีการพัฒนาด้านอื่น ๆ ซึ่งราษฎรรวมกันจัดทำขึ้น เช่น สร้างถนน พัฒนาแหล่งน้ำ บำรุงดินฝึกอาชีพต่าง ๆ สร้างโรงงานสำหรับผลิตผลิตผลขึ้นในหมู่บ้าน สหกรณ์การเกษตรแห่งแรกคือสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จดทะเบียนเมื่อวันที่๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘ จัดเป็นศูนย์สาธิตสหกรณ์ หลังจากนั้นก็มีศูนย์สาธิตเกิดขึ้นอีกหลายแห่ง นอกจากทำการเกษตรแล้วสมาชิกสหกรณ์ยังได้ประกอบอุตสาหกรรมในครอบครัว ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยทรงตั้งมูลนิธิศิลปาชีพขึ้น เพื่อฝึกอบรม และจำหน่ายผลิตผล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

        โครงการพระดาบส เป็นโครงการฝึกอบรมอาชีพทางการช่างต่างๆ เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ เป็นการจัดการศึกษานอกระบบทำนองเดียวกับสำนักพระดาบสโนสมัยโบราณ สำนักพระดาบสปัจจุบันตั้งอยู่ที่ถนนสามเสน ตรงกันข้ามกับหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร เปิดสอนวิชาช่างวิทยุ ช่างไฟฟ้าขึ้นก่อน แล้วขยายเป็นช่างเครื่องยนต์ ช่างประปา ฯลฯ ผู้เข้าเรียนไม่จำกัดวัย เพศ วุฒิ และฐานะของครอบครัวครูเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งอาสาสมัครสอนโดยศรัทธาโนการให้ความรู้เป็นวิทยาทาน เมื่อนักเรียนเรียนจบหลักสูตรแล้ว ก็ได้เปิดรับงานช่างต่าง ๆ เป็นการหารายได้ให้แก่นักเรียนในรูปของสหกรณ์ โดยนักเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นค่าอาหาร ที่อยู่อาศัยเสื้อผ้า วัสดุอุปกรณ์การฝึกอบรม นักเรียนที่เรียนจบแล้ว สามารถประกอบอาชีพของตนเองได้

       โครงการอื่น ๆ ที่เป็นการส่งเสริมอาชีพโดยตรง นอกเหนือจากการฝึกอบรม ก็มีโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม โครงการศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอก ไม้ผลโครงการศิลปาชีพพิเศษทั่วประเทศ เป็นต้น

โครงการสวัสดิการสังคม

โครงการพระราชดําริทั้งหมด มีอะไรบ้าง

        โครงการสวัสดิการสังคมหรือสังคมสงเคราะห์ เป็นโครงการช่วยเหลือราษฎรให้มีที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และมีเครื่องอำนวยความสะดวกโนขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อชีวิต ขจัดความทุกข์เมื่อเกิดมหันตภัยทางธรรมชาติ อุบัติเหตุหรือเกิดโรคระบาดร้ายแรง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีทั้งภาครัฐบาล และภาคเอกชน โดยเฉพาะภาคเอกชนนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นสมาคมหรือมูลนิธิ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อยู่โนพระบรมราชูปถัมภ์ เช่น มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นต้น

มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เกิดขึ้นเนื่องจากวาตภัยและอุทกภัยในจังหวัดภาคใต้ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชักนำประชาชนให้ช่วยเหลือพี่น้องร่วมชาติผู้ประสบเคราะห์ภัย มีผู้โดยเสด็จพระราชกุศลมากมาย เฉพาะเงินสด มีจำนวนมากถึง ๑๑ ล้านบาท เมื่อพระราชทานความช่วยเหลือแล้ว ปรากฏว่ามีเงินเหลืออีก ๓ ล้านบาท จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นมูลนิธิ โดยมีวัตกุประสงค์ในการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยโดยฉับพลัน

มูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๘ มีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือทหาร ตำรวจพลเรือน และอาสาสมัคร ซึ่งยอมอุทิศชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศ และเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของชาวไทย

มูลนิธิราชประชาสมาสัย โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือบุตรของผู้ป่วยโรคเรื้อนไม่ให้ติดเชื้อจากพ่อแม่ มีการตั้งโรงเรียนเพื่อสอนเด็กเหล่านั้นโดยเฉพาะ ที่อำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อเด็กเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาแล้ว ก็สามารถเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาได้ และสามารถประกอบอาชีพได้โดยไม่เป็นภาระแก่สังคม
 

โครงการด้านคมนาคมและการสื่อสาร

โครงการพระราชดําริทั้งหมด มีอะไรบ้าง

       

โครงการด้านคมนาคมและการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นโครงการปรับปรุงเส้นทางเพื่อการเดินทาง และขนส่งผลิตผลได้สะดวก ทำให้ชนบทสามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้ง่ายขึ้นหลายๆ โครงการจะเริ่มจากการปรับปรุงถนน และโครงสร้างเพื่อการสื่อสาร เช่น สายโทรศัพท์การคมนาคมที่ศูนย์พัฒนาเกือบทุกแห่งมีความลำบากมาก โดยเฉพาะในที่ราบสูง ซึ่งชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่ ทางโครงการต้องจัดหารถบรรทุกนำผลิตผลไปยังโรงคัดเลือกที่เชียงใหม่ หรือโรงงานอาหารสำเร็จรูปของโครงการในบางพื้นที่ทรงแนะนำให้ชาวไทยภูเขาร่วมกันออกแรง และบริจาคเงินสร้างถนนเพื่อการติดต่อกับหมู่บ้านอื่นและในเมือง ซึ่งโครงการหลวงได้ให้เงินช่วยเหลือบ้างเป็นบางกรณี

 :::ตัวอย่างโครงการ:::
โครงการทางยกระดับลอยฟ้าบรมราชชนนี
โครงการพระราชดำริ สะพานพระราม 8
โครงการก่อสร้างถนนเลียบรถไฟสายใต้
โครงการด้านการจราจร เกี่ยวกับการขยายถนนคอขวดจุดต่างๆ
โครงการตำรวจจราจรในพระราชดำริ

โครงการสาธารณสุข

โครงการพระราชดําริทั้งหมด มีอะไรบ้าง

        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในสุขภาพอนามัยของราษฎรยิ่งนัก โดยเฉพาะผู้ที่ทุกข์ยากเจ็บป่วยแต่ไม่มีโอกาสจะได้รับการรักษาเนื่องจากไม่มีเงินและอยู่ห่างไกลโรงพยาบาลนอกจากนั้น ยังปรากฏว่า แม้แต่ในโรงพยาบาลบางแห่งก็ยังขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็น ตลอดจนความรู้ทางการแพทย์ในบางเรื่อง ได้ทรงริเริ่มพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณในด้านนี้ ตั้งแต่แรกเริ่มเสวยราชสมบัติ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๔ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสร้างอาคารสำหรับผลิตวัคซีน บี ซี จี เพื่อป้องกันวัณโรคให้แก่เด็ก เป็นอาคารที่มีลักษณะพิเศษ องค์การอนามัยโลกได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาตรวจการสร้างห้องปฏิบัติอย่างรอบคอบ ในเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๗ กองวิทยาศาสตร์สภากาชาดไทย ก็สามารถผลิตวัคซีน บี ซี จี ได้สำเร็จ

        เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๐ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยงานแพทย์พระราชทาน เพื่อช่วยรักษาพยาบาลราษฎรในท้องที่ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยม หน่วยแพทย์พระราชทานซึ่งเดิมมีเพียงคณะแพทย์ตามเสด็จ และแพทย์ประจำพระองค์ได้ขยายออกไป โดยมีแพทย์อาสามาจากหลายโรงพยาบาล และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโนสาขาต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ จักษุแพทย์ ทันตแพทย์ นอกจากคณะแพทย์พระราชทานจะตามเสด็จไปยังที่ต่างๆ แล้ว ยังได้จัดคณะแพทย์ทำงานตามโรงพยาบาลประจำจังหวัด ในจังหวัดที่พระราชนิเวศน์ตั้งอยู่ เช่น โรงพยาบาลสกลนครโรงพยาบาลนราธิวาส บริเวณที่ตรวจโรคหน้าพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ และพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์

        นอกจากโปรดเกล้าฯ ให้มีหน่วยแพทย์พระราชทานแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ชาวบ้านควรมีความรู้ทางการสาธารณสุขตามสมควร เพื่อช่วยเหลือตนเองในท้องถิ่นที่ขาดแคลนสถานพยาบาล เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการฝึกอบรม “หมอหมู่บ้าน” คัดเลือกอาสาสมัครมารับการฝึกอบรมสาธารณสุขมูลฐาน เช่น การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โภชนาการสำหรับแม่และเด็ก การป้องกันโรคอย่างง่ายๆ สถานที่ฝึกอบรม ได้แก่ โรงพยาบาลประจำจังหวัดในจังหวัดที่พระราชนิเวศน์ตั้งอยู่ คือ โรงพยาบาลสกลนคร โรงพยาบาลนราธิวาส และโรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่

YouTube Video


ชื่อโครงการพระราชดําริทั้งหมดกี่โครงการ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 5,151 โครงการ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ ดูโครงการทั้งหมด ค้นหาโครงการฯ แผนที่โครงการ โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริทั้งหมด จำนวน 5,151 โครงการ ภาค กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ ใต้ อื่นๆ รวมทั้งสิ้น จำนวนโครงการ 855 โครงการ 1,295 โครงการ 1,960 โครงการ 994 โครงการ 47 โครงการ ...

โครงการในพระราชดําริของรัชกาลที่ 9 มีทั้งหมดกี่โครงการ

: 17 ตุลาคม 2560. เป็นที่ทราบกันว่าตลอดการครองราชย์ 70 ปีของในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยพระอัจฉริยภาพและความสามารถ พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายในการประกอบพระราชกรณียกิจและก่อตั้งโครงการในพระราชดำริมามากกว่า 4,000 โครงการ ซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรของพระองค์ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

โครงการในพระราชดาริมีกี่ลักษณะ อะไรบ้าง

โครงการพระราชดำริในระยะแรกๆ นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ.
โครงการตามพระราชประสงค์ ... .
โครงการหลวง ... .
โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ ... .
โครงการตามพระราชดำริ.

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ มีกี่ภาค

จำนวนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.