การวางแผนมีประโยชน์ต่อการจัดลำดับงานอย่างไร

หลักสูตรพัฒนาทักษะด้านการวางแผน

หลักสูตรพัฒนาทักษะด้านการวางแผน

Planning

Scott, B.W. เขียนไว้ใน Long Range Planning in American Industry ว่าการวางแผน คือ กระบวนการวิเคราะห์ ซึ่งรวมถึงการประเมินอนาคตและพิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ที่พึงปรารถนา สภาวะแวดล้อมของอนาคต การพัฒนาทางเลือกเพื่อดำเนินการให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ และการเลือกแนวดำเนินการระหว่างทางเลือกทั้งหลาย กล่าวคือ ทักษะด้านการวางแผนเป็นทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบความคิด หรือความสามารถในการคิดวางแผนหรือคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย เช่น การจัดลำดับขั้นตอนความสำคัญ, การตัดสินใจที่ดี, การกำหนดหรือมอบหมายงานที่เหมาะสมกับทักษะ, การวางแผนการจัดการ เป็นต้น ซึ่งเป็นทักษะทางการคิดที่ทำให้สามารถทำงานสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะด้านการวางแผนเป็นทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบความคิด หรือความสามารถในการคิดวางแผนหรือคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย เช่น การจัดลำดับขั้นตอนความสำคัญ, การตัดสินใจที่ดี, การกำหนดหรือมอบหมายงานที่เหมาะสมกับทักษะ, การวางแผนการจัดการ เป็นต้น ซึ่งเป็นทักษะทางการคิดที่ทำให้สามารถทำงานสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แม้ว่าโดยปกติแล้วคนเราจะมีความสามารถในทักษะด้านการวางแผน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะทักษะด้านการวางแผน (Planning) ขึ้นอยู่กับการสร้างเซลล์ของสมองหรือที่เราเรียกว่า Brain Plasticity โดยสมองจะสร้างเส้นใยประสาทเมื่อมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ การที่จะใช้ทักษะด้านนี้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยการรับรู้ข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะวิเคราะห์ข้อมูลที่มีทั้งหมดได้อย่างเหมาะสม

ความบกพร่องในทักษะด้านการวางแผน (Planning) จะส่งผลให้การทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันยากขึ้น  เช่น การจัดลำดับความสำคัญของงาน, การจัดระบบความคิด, การทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ หรือแม้แต่การจัดกระเป๋าหรือการซื้อของ เป็นต้น

ความผิดปกติหรือพยาธิสภาพที่สัมพันธ์กับทักษะด้านการวางแผน

การที่มีความบกพร่องในทักษะด้านการวางแผน (Planning) มักเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า (โดยเฉพาะในบริเวณ Prefrontal Dorsal Lateral) ดังนั้น ผู้ที่มีความความผิดปกติจะไม่สามารถทำงานหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทักษะการวางแผนได้เลย เช่น การจัดระบบความคิด, การจัดลำดับข้อมูล, การจัดการเวลา และการคิดแบบยืดหยุ่น ผู้ที่บกพร่องทางทักษะด้านนี้จะอยู่ในกลุ่มอาการของโรค “ Dysexecutive syndrome” ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • เนื้องอกในสมอง
  • มีอาการบาดเจ็บทางสมอง
  • โรคพาร์กินสัน
  • โรคปลอกประสาทอักเสบ
  • กลุ่มอาการทูเรตต์
  • โรคจิตเภท
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • กลุ่มอาการ Autism (ASD)
  • มีความบกพร่องทางการอ่าน
  • มีความบกพร่องด้านการคำนวณ
  • สมาธิสั้น (ADHD)
  • กลุ่มอาการ Fetal Alcohol Syndrome (FAS)

การวางแผนมีประโยชน์ต่อการจัดลำดับงานอย่างไร

ทำไม? เด็กเล็กจึงต้องรู้จักวางแผน

การวางแผนเป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต การวางแผนอาจเกิดขึ้นด้วยกระบวนการคิดที่ซับซ้อน และมีหลายขั้นตอน การวางพื้นฐานกระบวนการคิดและการวางแผนขั้นต้นเป็นสิ่งสำคัญ เด็กที่ได้รับการฝึกฝนทักษะกระบวนการคิดและการวางแผนขั้นต้นตั้งแต่ยังเด็ก จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถจัดการสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตได้เป็นอย่างดี โดยการวางแผนสามารถช่วยพัฒนาทักษะได้ในหลายๆ ด้าน เช่น ช่วยพัฒนาทักษะการคิดและเชื่อมโยง การวางแผนจะช่วยให้ได้เรียนรู้การแก้ปัญหา ฝึกความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ที่สำคัญช่วยพัฒนาทักษะความคิดที่เป็นระบบ แยกแยะหมวดหมู่ เชื่อมโยงเหตุการณ์และการใช้เหตุผลได้ และยังช่วยเพิ่มพูนทักษะความจำ ส่งเสริมระเบียบและวินัยได้ หากสามารถวางแผนได้ดีก็จะสามารถสื่อสารผ่านคำพูดและการกระทำอย่างเป็นระเบียบแบบแผนได้ดีไปด้วย ทำให้สามารถแยกแยะข้อเท็จจริงที่ได้รับ และวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลในเรื่องสำคัญต่างๆ เมื่อโตขึ้นได้

5 วิธีปลูกฝังลูกให้เป็นนักวางแผนที่ดี

การสอนให้รู้จักวางแผนจะช่วยให้ลูกพัฒนาความสามารถในการคิด การแก้ปัญหา ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นทักษะในการจัดการชีวิตอย่างเป็นระบบได้ในอนาคต ซึ่งพ่อแม่สามารถชี้แนะ เป็นผู้ส่งเสริมให้เขาเข้าใจและฝึกฝนการวางแผนง่ายๆ ในชีวิตประจำวันได้

1. กิจวัตรประจำวันก่อนไปโรงเรียน โดยวันจันทร์-ศุกร์ให้จัดตารางสิ่งที่ลูกต้องทำให้เกิดเป็นความเคยชินและเป็นระบบระเบียบ

2. ทบทวนแผนก่อนนอน พูดคุยกับลูกสักครึ่งชั่วโมงก่อนนอน เช่น วันนี้หนูเรียนอะไรมาบ้าง เพื่อนที่โรงเรียนน่ารักมั้ย เพื่อเป็นการสร้างความรักความผูกพันกันก่อนนอน ที่สำคัญอย่าลืมชวนลูกทบทวนตารางเวลาที่เราต้องทำพรุ่งนี้

3. ฝึกวางแผนง่ายๆ ในครัว ชวนลูกทำในสิ่งที่ชอบหรือสนใจ และเรียนรู้ถึงองค์ประกอบและวิธีการของสิ่งที่จะทำเพื่อฝึกกระบวนการคิดและการวางแผนอย่างเป็นระบบ

4. วางแผนการออมเงิน โดยให้ลูกตั้งเป้าหมายในการออมเงินว่าจะออมเพื่ออะไร เช่น ให้ลูกเก็บเงินซื้อการ์ตูนเรื่องใหม่ด้วยตัวเอง เราก็จะได้ดูวิธีที่เขาใช้ในการเก็บเงิน ลูกอาจบอกว่าวันนี้จะไม่กินขนม ไม่ซื้อของเล่นอื่น เพื่อเป้าหมายใหญ่ หรือเป้าหมายที่ตัวเองต้องการในระยะยาว เมื่อลูกวางแผนเสร็จแล้ว พ่อแม่จะต้องติดตามผลของการกระทำของลูกด้วยว่าเขาสามารถทำได้จริงหรือไม่ ถ้าได้ก็ให้ชมเชยตามสมควร แต่ถ้าลูกทำไม่ได้ก็อย่าเพิ่งไปตำหนิ แต่ควรให้กำลังใจเพื่อให้เขาอยากทำให้ได้จนสำเร็จ เมื่อลูกเริ่มโตก็ลองให้โจทย์ที่ยากและท้าทายขึ้นเพื่อฝึกทักษะเชาว์ปัญญา การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น

5. แผนที่ดีก็ยืดหยุ่นได้ หากเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ ตารางกิจวัตรประจำวันของลูกอาจยืดหยุ่นได้มากขึ้น เช่น ตื่นสายได้มากขึ้น หรือเข้านอนช้ากว่าวันที่ต้องไปโรงเรียนได้ นอกจากนี้อาจเพิ่มกิจกรรมการออกกำลังกาย เช่น การขี่จักรยาน หรือชวนกันออกไปข้างนอกเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้ ซึ่งแผนเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความสนใจของลูก และตามความเหมาะสม

ตัวอย่างลักษณะของผู้ที่อ่อนทักษะด้านการวางแผน (Planning)

ในคนที่อ่อนทักษะด้านนี้มักจะไม่รู้ว่าตนเองจะต้องเริ่มทำอะไรก่อน เมื่อต้องจัดระบบความคิดหรือต้องทำงานที่ซับซ้อน มักจะเกิดความรู้สึกที่ไม่อยากทำหรือไม่เข้าใจขั้นตอนที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย โดยจะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

  • ตัดสินใจไม่ค่อยได้
  • ไม่สามารถวางแผนล่วงหน้าหรือเรียงลำดับความสำคัญของงานได้
  • ไม่สามารถที่จะกะเวลาในการทำงานได้
  • ถูกรบกวนได้ง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิ ความจำไม่ดี
  • ไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์
  • ทำงานรวดเร็วแต่ไม่รอบคอบ หรือในบางกลุ่มอาจทำงานช้าแต่ไม่เสร็จสมบูรณ์
  • ไม่สามารถคิดหรือทำงานมากกว่าหนึ่งอย่างไปพร้อม ๆ กันได้
  • ไม่สามารถรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด

วิธีการวางแผนเพื่ออนาคตที่ประสบความสำเร็จ

1.คิดถึงอนาคตเพื่อตัวเอง

  • ค้นหาสถานที่ที่คุณจะสามารถไปนั่งคิดได้โดยไม่ถูกรบกวน การอยู่ในที่เงียบ ๆ จะช่วยให้คุณคิดด้วยตัวเองเพราะคนอื่นไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจที่คุณรู้สึกสบายใจ ตั้งคำถามตัวเองเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองต้องการไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นต้องการให้คุณเป็น
  • สำรวจคำถามที่สำคัญเกี่ยวกับอนาคตที่คุณต้องการ
  • หยุดคิดถึงอดีตและมุ่งความสนใจไปที่ปัจจุบันและอนาคต

2. หาสิ่งที่ตนเองชอบ

  • ทบทวนชีวิตของคุณจนถึงตอนนี้และมองหาสิ่งที่เราชื่นชอบ
  • เริ่มรู้สึกภูมิใจในสิ่งที่คุณทำได้ดี
  • เชื่อสัญชาตญาณของคุณ

3. รักษาแรงจูงใจที่มีไว้

  • เขียนบันทึกประจำวันเพื่อให้คุณเห็นสิ่งที่คุณทำในแต่ละวันว่ายังคงเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่วางไว้
  • ทำให้เป้าหมายของคุณปรากฏอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง เช่น การเขียนเป้าหมายเอาไว้ในที่ที่สามารถมองเห็นได้ง่าย

4. การเริ่มต้นทำตามสิ่งที่วางแผนไว้

  • มีบัญชีออมทรัพย์และฝากเงิน
  • มองหาสิ่งจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับชีวิตของคุณ
  • ทำตามแผนที่วางไว้ให้ได้มากที่สุดในแต่ละวัน (Kaifesh Jennifer, 2020: ออนไลน์ )

การวางแผนให้ประสบผลสำเร็จอาจเริ่มต้นจากสิ่งเล็กน้อยในชีวิตประจำวัน เช่น วางแผนในการทำงานในวันนั้น และตั้งเป้าหมายที่ตนเองสามารถทำได้ แล้วจึงตั้งเป้าหมายใหม่ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการเริ่มจากเป้าหมายเล็ก ๆ เมื่อสามารถทำได้ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจและมีแรงผลักดันในการที่จะทำสิ่งใหม่ๆ เป้าหมายใหม่ ๆ ที่ใหญ่ขึ้น อย่างไรก็ตามการที่จะประสบผลสำเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยในชีวิต และวิธีการที่จะมุ่งสู่การประสบความสำเร็จก็ไม่มีวิธีการที่ตายตัว แต่การวางแผนก็จะช่วยให้บุคคลได้คิดและวิเคราะห์ถึงวิธีการ/กระบวนการที่จะนำไปสู่เป้าหมายเพื่อให้สามารถมองเห็นเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น การวางแผนยังช่วยให้บุคคลมีกระบวนการคิดที่มีลำดับขั้น สามารถจัดลำดับความสำคัญ รู้ว่าต้องทำอะไรก่อน-หลัง และมองเห็นอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น…เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ในอนาคต
การวิจัยแสดงให้เห็นว่าเรามีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายเมื่อเราทำสิ่งต่อไปนี้ทั้งหมด:

  • เขียนเป้าหมายลงไป
  • วางแผนขั้นตอน
  • บอกใครสักคนเกี่ยวกับเป้าหมายและแผนของเรา
  • รายงานความคืบหน้าของเราเป็นประจำกับคนที่เราไว้วางใจ

เมื่อเด็กมีแนวทางในการวางแผน รับรู้ถึงกระบวนการต่าง ๆ ในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นจะทำให้พวกเขาสามารถพัฒนาการมีเป้าหมาย สามารถตั้งเป้าหมายตลอดชีวิต และมีนิสัยการวางแผนที่ดี (MAZZONI MARY, 2012: ออนไลน์)

เราสามารถพัฒนาทักษะ Planning (ทักษะด้านการวางแผน) ได้อย่างไร?

ทักษะด้านการวางแผน (Planning) เป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน ทั้งด้านการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิต การมีทักษะการวางแผนที่ดีจะช่วยให้บุคคลสามารมองเห็นเป้าหมายในชีวิตได้อย่างชัดเจน ช่วยให้ประสบความสำเร็จได้ ทักษะด้านการวางแผนเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ด้วยการกระตุ้นการใช้ทักษะ ฝึกให้สมองเรียนรู้จากกิจกรรมที่เหมาะสม ได้ใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และรู้จักการนำความรู้ต่าง ๆ ที่มีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่ ่ Brain and Life Center ศูนย์พัฒนาสมองและศักยภาพ มีตัวช่วยในการที่จะฝึกฝนและส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้ทักษะในด้านต่าง ๆ รวมถึงทักษะด้านการวางแผนที่จะนำพาคุณไปสู้ความสำเร็จ

  • December 16, 2020