บทความ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

  • ชื่อเรื่อง :

    แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนในจังหวัดนครพนม

  • Article Title :

    Guidelines of developing health tourism management by communities in Nakhon Phanom province

  • ชื่อหนังสือ :

    เรื่องเต็มการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 13: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน

  • Book Title :

    Proceedings of the 13th KU-KPS Conference

  • ปีพิมพ์ :

    2559

  • ผู้แต่ง :

    ภคินี วัชรปรีดา

  • ISBN :

    978-616-278-348-7

  • หน่วยงานจัดพิมพ์ :

    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน กองบริหารวิชาการและนิสิต

  • ชื่อการประชุม :

    การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 13: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน

  • สถานที่ประชุม :

    นครปฐม

  • วันที่ประชุม :

    8-9 ธ.ค. 2559

  • สถานที่พิมพ์ :

    นครปฐม

  • หน้า :

    หน้า 2453-2461

  • จำนวนหน้า :

    2943 หน้า

  • ภาษา :

    ไทย

  • สถานที่จัดเก็บ :

    สำนักหอสมุดกำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

  • หมวดหลัก :

    E50-ชนบท

  • หมวดรอง :

    E20-การบริหาร/ธุรกิจเกษตร

  • อรรถาภิธาน-ไทย :

    ชุมชน;การบริการด้านสุขภาพ;การท่องเที่ยว;การมีส่วนร่วมของชุมชน;นันทนาการ;การพัฒนาชุมชน;การพัฒนาชนบท;ประเทศไทย

  • อรรถาภิธาน-อังกฤษ :

    Communes;Health services;Tourism;Community involvement;Recreation;Community development;Rural development;Thailand

  • คำสำคัญ-ไทย :

    ชุมชน;การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ;กระบวนการมีส่วนร่วม;การจัดการการท่องเที่ยว;ทรัพยากรธรรมชาติ;การบริการ;กิจกรรมการท่องเที่ยว;การพัฒนาการท่องเที่ยว;จ.นครพนม

  • คำสำคัญ-อังกฤษ :

    Community;Health tourism;Participation;Tourism management;Tourism resources;Tourism service;Tourism activities;Nakhon Phanom province

  • บทคัดย่อ :

    งานวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนในจังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยในด้านต่างๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนอย่างยั่งยืน 2. เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นอื่นต่อไป ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และการสังเกต (Observation) ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นมาและปัจจัยของการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนในจังหวัดนครพนม มาจากความต้องการของชุมชนในการที่จะรักษาภูมิปัญญาด้านอาหารและสมุนไพรของชุมชนเอาไว้และต้องการสร้างรายได้เสริม โดยในกระบวนการของการจัดการท่องเที่ยวประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) การจัดการด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว 2) การจัดการด้านการบริการการท่องเที่ยวในชุมชน และ 3) การจัดการด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว โดยมีระดับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นภาคีในการจัดการท่องเที่ยว 2 ระดับ ได้แก่ ภาคีในระดับชุมชน และภาคีในระดับจังหวัด ภาคีเหล่านี้เป็นที่มาขององค์ความรู้ในการจัดการการท่องเที่ยวและเป็นองค์กรหรือหน่วยงาน ที่สนับสนุนและส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน นอกจากนี้ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนในจังหวัดนครพนม ได้ส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในด้านดี

  • Abstract :

    The study of guidelines of developing health tourism management by communities in Nakhon Phanom Province aimed (1) to study the factors in all aspects that worked on sustainable health tourism management by communities and (2) to examine as the guidelines of community developing and cooperating in health tourism for different areas. Methodology used for the study was qualitative research which applied documentary research, in-depth interview, and observation. The result revealed that the background and factors of health tourism management by communities in Nakhon Phanom Province came from the needs of local food and herbs conservation and earning alternative income.There were 3 steps of tourism management including 1) the management of tourism resources 2) the management of tourism service in communities and 3) The management of tourism activities. The level of stakeholder divided in 2 groups which were the community level and the provincial level. These stakeholders served as supporting organizations or agencies in tourism management knowledge and promoting community based tourism. Moreover, the study found that the factors that stimulated health tourism management by communities in Nakhon Phanom Province has been worked on the aspects of economy, social, culture and natural resources and environment in positive result

  • ผู้แต่ง :

    [1] ภคินี วัชรปรีดา (มหาวิทยาลัยนครพนม วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ)

  • Author :

    [1] Pakkinee Watcharapreeda (Nakhon Phanom University, Nakhon Phanom (Thailand). College of Tourism and Service Industry)

บทความ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

158 2

  ค้นเพิ่มเติม

ภคินี วัชรปรีดา. (2559). แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนในจังหวัดนครพนม.  นครปฐม:
           มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน กองบริหารวิชาการและนิสิต
.


ภคินี วัชรปรีดา. "แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนในจังหวัดนครพนม".  นครปฐม:
           มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน กองบริหารวิชาการและนิสิต
. 2559.

ภคินี วัชรปรีดา. (2559). แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนในจังหวัดนครพนม.  นครปฐม:
           มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน กองบริหารวิชาการและนิสิต
.