หลักในการประเมินคุณค่าเรื่องสั้น

 เรื่องสั้น

เรื่องสั้นของไทยนั้นมีพัฒนาการมาจากงานเขียนประเภทนิทาน ขณะเดียวกันเรื่องสั้นของไทยได้รับแบบอย่างมาจากตะวันตก เรื่องสั้นจึงมีเนื้อเรื่องที่แตกต่างไปจากนิทานเดิมของไทยมาก กล่าวคือ เรื่องสั้นนั้นมีโครงเรื่อง เนื้อหา ฉาก บรรยากาศ บทสนทนา และตัวละครสมจริง  มีแก่นเรื่องสะท้อนปัญหาสังคม หรือแสดงความคิดเห็นของผู้แต่งที่กว้างขวางกว่าเดิม ทั้งยังเป็นการสื่อสารความคิดระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่านโดยตรง และผู้เขียนเองไม่ได้สรุปข้อคิดไว้ในตอนท้ายของเรื่องอย่างนิทาน

     เรื่องสั้นเรื่องแรกของไทยคือ "พระเปียให้ทานธรรม"  พ.ศ. 2430 และต่อมาเรื่องสั้น ชื่อ "สนุกนึก" พระนิพนธ์กรมหลวพิชิตปรีชากร จากนั้นมาเรื่องสั้นของไทยได้พัฒนาตนเองให้ก้าวพ้นจากเรื่องสั้นกึ่งนิทานและกึ่งเรื่องสั้นแบบฝรั่งมาเป็นแบบไทยแท้ การพัฒนาการที่เห็นได้ชัดเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 เป็นต้นมา

     ปัจจุบันเรื่องสั้นของไทยมีทั้งเรื่องสั้นแปลจาก และเรื่องสั้นของคนไทยเอง ซึ่งเป็นทั้งเรื่องสั้นแนว ทดลอง หรือที่เรียกว่า เรื่องสั้นabstrat  คือ เรื่องที่เป็นนามธรรม และ เรื่องสั้นแนว realism คือบรรยายภาพออกมาอย่างชัดเจน การตีความจะน้อยกว่างาน abstrat

องค์ประกอบของเรื่องสั้น

 องค์ประกอบของเรื่องสั้นนั้นเหมือนกับองค์ประกอบของนวนิยาย และองค์ประกอบของเรื่องบันเทิงคดี ดังต่อไปนี้

    1.แก่นเรื่อง  คือ แนวคิดหรือจุดสำคัญของเรืองที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านทราบ

    2.โครงเรื่อง คือ เค้าโครงเรื่องที่ผู้แต่งกำหนดไว้ก่อนว่าจะแต่งเรื่องไปทางใหน

    3.ตัวละคร คือบทบาทสมมุติที่ผูแต่งกำหนด และเพราะเป็นเรื่องที่เน้นเเนวคิดผู้เขียนจึงสร้างตัวละครน้อย

    4.บทสนทนา คือถ้อยคำที่ตัวละครใช้พูดจาโต้ตอบกัน

    4.ฉาก คือสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ในเรื่อง หมายรวมถึงเวลาสภาพสิ่งแวดล้อมนั้นๆ

    5.บรรยากาศ คืออารมณ์ต่างๆ ของตัวละครที่เกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5และมีอิทธิพลทำให้คล้อยตามไปด้วย

วิธีการอ่านและประเมินค่าเรื่องสั้น

         วิธีการอ่านและประเมินค่านั้น ใช้วิธีเดียวกับการประเมินค่าวรรณกรรมแนวบันเทิงคดีซึ่งการอ่านและประเมินค่านั้นสามารถทำใด้ดังนี้

     1.วิเคราะห์รูปแบบของนวนิยาย

     2.วิเคราะห์จุดมุ่งหมายในการแต่ง

     3.วิเคราะห์เนื้อเรื่อง 

     4.วิเคราะห์ศิลปะการแต่ง   

     5.วิเคราะห์คุณค่าของนวนิยาย

หลักในการประเมินคุณค่าเรื่องสั้น

เราเชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนที่เป็นนักอ่านน่าจะพอคุ้นหน้าคุ้นตากับเรื่องสั้นกันมาบ้าง แต่เรื่องสั้นที่ดีเป็นแบบไหน เรามีหลักเกณฑ์อะไรไว้ชี้วัดว่าเรื่องนี้ดี เรื่องนี้เฉย ๆ วันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ไปสวมวิญญาณนักอ่านขั้นแอดวานซ์กับแนวทางการประเมินคุณค่าเรื่องสั้นที่เรานำมาฝากทุกคนนั่นเอง สำหรับใครที่อยากดูวิดีโอเรื่องนี้ คลิกดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StartDee หรือคลิกแบนเนอร์ด้านล่างได้เลย

หลักในการประเมินคุณค่าเรื่องสั้น

ทำไมต้อง 'ประเมินคุณค่า' งานเขียน

งานเขียนต่าง ๆ นอกจากจะมอบความสนุกเพลิดเพลิน และความบันเทิงให้กับเราแล้ว งานเขียนยังมีคุณค่าด้านอื่น ๆ อีกมากไม่ว่าจะเป็นคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์หรือคุณค่าด้านสังคม การประเมินคุณค่างานเขียนจึงเป็นการตัดสินว่างานเขียนนั้นมีคุณค่ามากน้อยอย่างไร โดยผู้อ่านต้องวิเคราะห์ ตีความเนื้อหาของงานเขียน รวมทั้งบริบทสังคมและภูมิหลังของผู้แต่ง เพื่อแยกแยะรายละเอียดของเรื่องที่อ่านว่าดีหรือไม่ดี มีคุณค่าด้านใดบ้าง หรือน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดในที่นี้เราจะแบ่งการประเมินคุณค่างานเขียนออกเป็น 2 หัวข้อหลัก นั่นก็คือ 

  1. การประเมินคุณค่าเรื่องสั้น
  2. การประเมินคุณค่ากวีนิพนธ์

โดยวันนี้เราจะมาเรียนรู้แนวทางการประเมินคุณค่าเรื่องสั้นกันก่อน

แทรกรูปเป็นเด็กอ่านหนังสือก็ได้จ้า คิดภาพประกอบไม่ออกเลยเหมือนกัน

เรื่องสั้น คืออะไร

เรื่องสั้น คือ เรื่องแต่งร้อยแก้วประเภทบันเทิงคดี คล้ายนวนิยายแต่สั้นกว่า มีเหตุการณ์ไม่ซับซ้อน และมีตัวละครในเรื่องน้อย มักจบแบบพลิกความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งท้ายให้คิด

องค์ประกอบของเรื่องสั้นและหลักในการประเมินคุณค่าเรื่องสั้น

ถึงจะอ่านกันเพลินขนาดไหนแต่รู้ไหมว่าเรื่องสั้นก็มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่หลายข้อเหมือนกัน องค์ประกอบที่สำคัญของเรื่องสั้นที่เราใช้เป็นหลักในการประเมินคุณค่าของเรื่องสั้นมีอยู่ 8 ข้อ ดังนี้

หลักในการประเมินคุณค่าเรื่องสั้น

1. เรื่องย่อ

คือสรุปเนื้อหาและประเด็นทั้งหมดของงานเขียนเพื่อเป็นการปูพื้นฐานสำหรับการศึกษาเรื่อง และทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดได้ภายในเวลาสั้น ๆ 

2. แก่นเรื่อง

เป็นส่วนสำคัญที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอแก่ผู้อ่าน มักสรุปเป็นวลีหรือประโยคสั้น ๆ ให้กระชับ โดยการพิจารณาแก่นเรื่องต้องดูว่ามีความสมจริงต่อสภาพสังคมและมนุษย์เพียงใด ช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในมนุษย์และสังคมมากขึ้นอย่างไร

3. การเปิดเรื่อง

คือเหตุการณ์เบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจเรื่อง อาจเป็นการแนะนำตัวละครหลักและตัวละครรอง เนื่องจากเป็นฉากแรกที่จะปรากฏต่อสายตาผู้อ่าน การเปิดเรื่องจึงต้องดึงดูดความสนใจและกระตุ้นความรู้สึกของผู้อ่านให้อยากติดตามเรื่องไปจนจบ

4. ปมปัญหา

คือการสร้างปมความขัดแย้งต่าง ๆ ภายในเรื่องซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของตัวละครในเรื่อง โดยปมปัญหานั้นต้องมีเหตุผล สมจริง และน่าเชื่อถือ

5. จุดวิกฤต (Crisis) 

จุดวิกฤตหรือที่เราคุ้นหูกันว่า จุดหักเหของเรื่อง คือจุดที่เหตุการณ์ในเรื่องดำเนินไปจนถึงทางตัน โดยตัวละครจะต้องตัดสินใจทำสิ่งใดบางอย่างเพื่อให้เรื่องดำเนินไปต่อ

6. จุดคลี่คลาย

คือจุดที่เนื้อหาคลี่คลายลงหลังจากที่ตัวละครได้ตัดสินใจแล้วว่าจะให้เรื่องดำเนินไปในทางใด โดยจุดคลี่คลายมักอยู่ในตอนท้ายเรื่อง

7. การปิดเรื่อง

การสรุปประเด็นสาระสำคัญของเรื่องทิ้งท้ายเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องตรงตามความต้องการของผู้เขียน โดยเรื่องสั้นส่วนใหญ่มักปิดเรื่องอย่างพลิกความคาดหมาย หรือจบปลายเปิด ซึ่งเป็นการจบแบบทิ้งท้ายให้ผู้อ่านไปคิดต่อเอง

8. การดำเนินเรื่อง

คือวิธีการที่ผู้แต่งใช้เพื่อเล่าเหตุการณ์ แบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้

8.1 การดำเนินเรื่องตามเข็มนาฬิกา คือการดำเนินเรื่องตามลำดับเวลาหรือตามลำดับเหตุการณ์

8.2 การดำเนินเรื่องทวนเข็มนาฬิกา คือการเล่าเหตุการณ์ในปัจจุบันแล้วเล่าย้อนไปถึงเหตุการณ์ในอดีต

8.3 การดำเนินเรื่องราวแบบสลับไปมา คือการดำเนินเรื่องที่ใช้วิธีการทั้งสองแบบที่กล่าวไปข้างต้นมาเล่าสลับกันไปมา

นอกจากองค์ประกอบที่ได้กล่าวมาทั้งหมด “การสร้างฉากและตัวละคร” ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้การดำเนินเรื่องมีความน่าสนใจ

โดยการพิจารณาตัวละครในเรื่องผู้อ่านต้องดูว่าตัวละครเป็นตัวละครประเภทใด มีพฤติกรรมและลักษณะนิสัยสมจริงตามเนื้อเรื่องหรือไม่ ส่วนการสร้างฉากนั้น เราต้องพิจารณาว่าการจัดวางองค์ประกอบของสถานที่มีความสอดคล้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายในเรื่องหรือไม่

และเพื่อช่วยให้เพื่อน ๆ ประเมินคุณค่าเรื่องสั้นได้ง่ายและชัดเจนมากขึ้น

เพื่อน ๆ สามารถแยกประเด็นการศึกษาคุณค่าของเรื่องได้เป็น 2 กรณีหลัก ได้แก่

  1. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ เช่น กลวิธีการใช้ถ้อยคำ สำนวนโวหาร รวมทั้งรสวรรณคดี 
  2. คุณค่าด้านสังคม เช่น การศึกษาสภาพสังคม วัฒนธรรม ประเพณี รวมทั้งแนวคิดหลักที่ปรากฎภายในเรื่อง

หลักในการประเมินคุณค่าเรื่องสั้น

อาจจะดูซับซ้อนแต่ถ้าเพื่อน ๆ ลองนำไปใช้จริงเรารับรองว่าไม่ยากแน่นอน อ่านเรื่องสั้นครั้งต่อไปลองใช้เกณฑ์เหล่านี้ประเมินเรื่องสั้นในมือดูก็น่าสนุกไม่น้อยเลยนะ ! ส่วนใครที่อยากเรียนออนไลน์วิชาภาษาไทยเพิ่มเติม อ่านบทความอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง และภาษาถิ่นและคำซ้อนได้นะ

หลักในการประเมินคุณค่าสารดีอย่างไร

การประเมินค่าสาร เป็นการตัดสินความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง เที่ยงตรงและคุณค่าของสารที่ศึกษาว่าถูกต้อง ชัดเจนหรือไม่มีความน่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด มีคุณค่า หรือไม่ อย่างไร โดยพิจารณาข้อมูลหลาย ๆ ด้าน รวมทั้ง เนื้อหา วิธีการนําเสนอและการใช้ภาษา เป็นต้น

คุณค่าของเรื่องสั้นมีอะไรบ้าง

ความคิดของผู้เขียนจึงไม่หลีกหนีไปจากความเป็นจริงของสังคมได้ • เรื่องสั้นจึงไม่เพียงมีคุณค่าในการสร้างความเพลิดเพลินหรือสร้าง ความบันเทิงแก่ผู้อ่านเท่านั้น หากยังมีคุณค่าต่อสังคมอีกด้วย คุณค่าของเรื่องสั้น 1. การบันทึกความทรงจาของสังคม 2. การสะท้อนวิถีชีวิตของคนในสังคม 3. การให้สติและข้อคิด

สิ่งสำคัญในการประเมินคุณค่างานเขียนคืออะไร

การประเมินคุณค่างานเขียนคือการให้ความเห็นต่องานเขียนหนึ่งๆ ว่ามีคุณค่าหรือไม่ มากน้อยเพียงใด และอย่างไร ซึ่งต้องอาศัยการวิเคราะห์ออกเป็นส่วนๆ ทั้งในด้าน แนวคิดของเรื่อง การเรียบเรียงเนื้อเรื่อง การเลือกใช้ภาษา การใช้สำนวนโวหาร เป็นต้น การประเมินคุณค่างานเขียนของผู้อื่นจนเชี่ยวชาญ จะช่วยให้เราเห็นกลวิธีการเขียนที่ดี ...

หลักการประเมินค่าที่ดี มีอะไรบ้าง

1. ต้องรู้จักหนังสือหรืองานเขียนประเภทนั้นๆ​ 2. อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน พิจารณาเนื้อหาและส่วนประกอบเนื้อหา 3. ตีความเนื้อหา 4. ประเมินค่า เป็นการตัดสินว่าสิ่งที่อ่าน น่าเชื่อถือ มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง หรือไม่ โดยใช้เหตุผลประกอบ