เฉลย วิธีการทางประวัติศาสตร์

22/01/2013 · 1:16 am

:: ข้อสอบประวัติศาสตร์ ::

  1. ข้อใดไม่อยู่ในวิธีการทางประวัติศาสตร์
    1. การตั้งประเด็นคำถาม
    2.  การปรับแต่งข้อมูล
    3. การรวบรวมหลักฐาน
    4. การตีความหลักฐาน
  2. บุคคลในข้อใดใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในขั้นตอนการวิเคราะห์หลักฐาน
    1. เอก นำเสนอเรื่องที่ศึกษาอย่างมีเหตุผล
    2. โท ตอบคำถามที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
    3. ตรี  สืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์                                       
    4. จัตวา ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน 
  3. เพราะเหตุใด จึงกล่าวว่าการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลในวิธีการทางประวัติศาสตร์ เป็นสิ่ง ที่สำคัญที่สุด
    1. เป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงของหลักฐานที่หามาได้
    2. เป็นการตรวจสอบข้อมูลว่าให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์หรือไม่
    3.  เป็นการนำข้อมูลทั้งหมดมาแยกแยะ เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ตรงประเด็น
    4. เป็นหลักฐานหรือข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
  4. ข้อใดเป็นการตั้งประเด็นที่ไม่เหมาะสมในการศึกษาประวัติศาสตร์
    1. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการสร้างชาติไทย
    2. การเลิกทาสในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    3.  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา
    4. วีรกรรมของท้าวสุรนารีในประวัติศาสตร์ไทย
  5. ข้อใดจัดเป็นหลักฐานทางโบราณคดีทั้งหมด
    1.  โครงกระดูก เครื่องมือ-เครื่องใช้   
    2. ศิลาจารึก  ซุ้มใบเสมา
    3. พงศาวดารอยุธยา  ตำนานท้าวแสนปม
    4. วีดิทัศน์เรื่องจดหมายเหตุกรุงศรี  รอยไทย
  6. เพราะเหตุใดจึงต้องใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์
    1. เข้าใจขั้นตอนในการศึกษาประวัติศาสตร์                              
    2. หาความจริงจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
    3. จัดหมวดหมู่ข้อมูลจากหลักฐานประวัติศาสตร์
    4. หาจุดประสงค์ของผู้สร้างหลักฐานประวัติศาสตร์
  7. หลักฐานลายลักษณ์อักษรมีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไร
    1.  เป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลประวัติศาสตร์ดีที่สุด
    2. เป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลง่ายกว่าหลักฐานอื่น
    3. เป็นหลักฐานที่มีจำนวนมาก หาง่าย                                      
    4. เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุด 
  8. การกำหนดประเด็นมีประโยชน์อย่างไรต่อวิธีการทางประวัติศาสตร์
    1. บอกความสนใจของผู้ศึกษาค้นคว้า
    2. ป้องกันการศึกษาซ้ำกับผู้อื่น
    3.   กำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษา    
    4. ทำให้ทราบแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์
  9. การกำหนดหัวข้อหรือประเด็นที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
    1.  กำหนดช่วงเวลาและพื้นที่ที่จะศึกษาให้ชัดเจน   
    2. กำหนดหัวเรื่องกว้างๆ เพื่อศึกษาได้หลายประเด็น
    3. นำประเด็นที่มีผู้ศึกษามาก่อนและมีการยอมรับแล้ว
    4. กำหนดหัวเรื่องให้แคบจะได้ไม่เสียเวลาศึกษา
  10. วิธีการใดจะเกิดประโยชน์ในการประเมินคุณค่าของข้อมูล
    1. นำข้อมูลที่ได้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ                             
    2. นำข้อมูลที่กล่าวถึงเรื่องเดียวกันมาเทียบเคียงกัน
    3. ดูระยะเวลาในการสร้างหลักฐานยิ่งเก่ายิ่งน่าเชื่อถือ
    4. อ้างอิงจากหลักฐานชั้นรองจำนวนมากก็น่าเชื่อถือ
  11. เพราะเหตุใดจึงต้องศึกษาจากผลงานของผู้เชี่ยวชาญก่อนไปศึกษาในสถานที่จริง
    1. หาความน่าเชื่อถือของผู้เชี่ยวชาญ
    2.  ทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อน
    3. หากเข้าใจเรื่องแล้วไม่ต้องไปสถานที่จริง
    4. เปรียบเทียบผลงานจากผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน
  12. หลักฐานประวัติศาสตร์มีความสำคัญต่อวิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างไร
    1.  ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์        
    2. กำหนดวิธีการทางประวัติศาสตร์
    3. กำหนดหัวข้อหรือประเด็นทางประวัติศาสตร์
    4. ทำให้เกิดวิธีการทางประวัติศาสตร์
  13. เพื่อประโยชน์ในการตีความข้อมูลควรปฏิบัติอย่างไร
    1. รู้จักวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของข้อมูล         
    2. มีความอดทนในการอ่านเอกสารจำนวนมาก
    3. รู้จักนำแนวคิดในปัจจุบันมาพิจารณาอดีต
    4. มีจินตนาการเกี่ยวกับอดีต
  14. หลักฐานชั้นต้นมีความน่าเชื่อถือกว่าหลักฐานชั้นรอง เพราะเหตุใด
    1. หลักฐานชั้นรองใช้ข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้น                     
    2. หลักฐานชั้นต้นสร้างขึ้นปราศจากอคติ
    3. หลักฐานชั้นต้นไม่สอดแทรกความคิดเห็นของผู้สร้าง
    4. ผู้สร้างหลักฐานชั้นต้นทราบข้อมูลดีกว่า
  15. การกำหนดหัวเรื่องให้น่าสนใจจะเกิดประโยชน์อย่างไร
    1. สะดวกในการศึกษาค้นคว้า         
    2. ศึกษาเรื่องที่แตกต่างจากผู้อื่น
    3. เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่
    4. มีแรงกระตุ้นในการศึกษาอย่างต่อเนื่อง