สถิติศาสตร์ในชีวิตประจําวัน ตัวอย่าง

เมื่อ :

วันอังคาร, 22 มิถุนายน 2564

       มาถึงบทความเรื่องประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันตอนสุดท้ายกันแล้ว ในตอนที่ 8 สถิติ ในตอนสุดท้ายนี้ เรามาดูกันว่าสถิติอย่างง่ายที่เราพบเห็นกันได้บ่อย ๆ และเป็นพื้นฐานทางด้านการตัดสินใจจะมีอะไรบ้าง ติดตามกันได้เลย

สถิติศาสตร์ในชีวิตประจําวัน ตัวอย่าง

ภาพกราฟแสดงข้อมูลทางสถิติ
ที่มา https://pixabay.com/ , kreatikar

          รู้หรือไม่ว่าในชีวิตประจำวัน สถิติอยู่รอบตัวเราเสมอ เพราะส่วนใหญ่เราจะต้องได้พบกับข้อมูล ในช่องทางการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หนังสือ ข่าว การประชาสัมพันธ์ งานวิจัย เว็บไซต์ สื่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งช่องทางที่กล่าวไปนั้นจะมีวิธีการและข้อมูลทางสถิติเกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมอ ตัวอย่างคือ สถิติจำนวนประชากร สถิติการเกิดอุบัติเหตุ สถิติจำนวนผู้ป่วยโรคต่าง ๆ  เป็นต้น ซึ่งสถิติเหล่านี้ มักแสดงอยู่ในรูปของตาราง กราฟแท่ง กราฟเชิงเส้น แผนภาพ วงกลม รวมไปถึง ข้อมูลทางสถิติในการตอบแบบสอบถาม ข้อมูลการวิจัย การสัมภาษณ์

สถิติ

          สถิติคือข้อมูลหรือตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงในด้านต่าง ๆ มักเป็นข้อมูลที่แสดงจำนวน ปริมาณ เช่น ข้อมูลรายได้ ปริมาณน้ำฝน เป็นต้น การใช้ข้อมูลเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์จะต้องใช้หลักการทางคณิตศาสตร์และสถิติ โดยผ่านระเบียบวิธีการทางสถิติ 4 ขั้นตอนสำคัญคือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การน้ำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปรผลข้อมูล

ข้อมูลสำคัญทางสถิติพื้นฐานที่พบได้ในชีวิตประจำวัน

  1. ประชากร (population) กับ ตัวอย่าง (sample)

                   ประชากรคือสิ่งที่เรากำลังสนใจหรือข้อมูลทั้งหมด เช่น ลูกค้าทั้งหมด สินค้าทั้งหมด แต่ตัวอย่างคือข้อมูลส่วนหนึ่งจากประชากรทั้งหมดที่เราสนใจและนำมาวิเคราะห์

  1. ค่ากลาง

          2.1ค่าเฉลี่ย (Mean) คือผลรวมของค่าทั้งหมดหารด้วยจำนวนข้อมูล

                   ตัวอย่างเช่น   7,5,3,6,2,7  ค่าเฉลี่ย =  (7+5+3+6+2+7)/6 = 5

          2.2 ค่ามัธยฐาน (Median) คือ ตัวอย่างในตำแหน่งกลางของชุดข้อมูล จากการเรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก

                   ตัวอย่างเช่น การหาค่ามัธยฐานจากชุดข้อมูล  29,22,35,30,55,48,89,70

           เรียงชุดข้อมูลใหม่ได้ดังนี้ 22,29,30,35,48,55,70,89

                   ตำแหน่งของมัธยฐานคือ  (n+1)/2 = (8+1)/2 = 4.5

                   มัธยฐานคือข้อมูลในตำแหน่งที่ 4.5  ตำแหน่งที่ 4.5 มีค่าเท่ากับ (35+48) / 2 = 41.5

                   ดังนั้น ค่ามัธยฐานเท่ากับ  41.5

           2.3 ค่าฐานนิยม (Mode)  คือตัวเลขค่ากลางที่มีจำนวนมากที่สุด การหาฐานนิยม คือ หาตัวที่ซ้ำกันมากที่สุด

          ตัวอย่างเช่น   คะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนห้องหนึ่งมีดังนี้

ระดับคะแนน

ความถี่ ( * แทนจำนวน 10 คน

        4

      **

        3

      ****

        2

      **********

        1

       ***

                       จากตาราง ฐานนิยมคือ ระดับคะแนน 2

          2.4 พิสัย (Range) คือความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่มีค่าสูงสุด และ ต่ำสุด

                      ตัวอย่างเช่น อายุของพนักงานกลุ่มหนึ่งคือ

                             28      45      22      36      32      44      38

                             57      55      19      20      33      41      46

                   พิสัย = ข้อมูลที่มีค่าสูงสุด – ข้อมูลที่มีค่าต่ำ

                          = 57 – 19

                           = 38

             ในชีวิตประจำวันข้อมูลเหล่านี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ มากมายทั้งการวางแผนเพื่อการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม  ผลิตและจำหน่ายสินค้า ด้านเกษตรกรรม ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เป็นต้น

             จะเห็นได้ว่าสถิติเป็นข้อมูลรูปแบบหนึ่งที่ผ่านกระบวนการทาคณิตศาสตร์ ทำให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญคือการิวเคราะห์และการตัดสินใจเพื่อวางแผนต่าง ๆ  ทั้งการดำเนินชีวิต การบริหารงานต่าง ๆ ตั้งแต่ตัวเองไปจนถึงระดับประเทศ

แหล่งที่มา

คณิตศาสตร์ในชีวิตประจําวัน  Mathematics for Daily Life .  สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563. จาก https://reg2.crru.ac.th/reg/files/20150929020102_3aa31caba936b876645ada5b607be6ff.pdf

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐกาญจน์ ใจดี. แบบฝึกหัดเรื่อง สถิติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563. จาก http://1.179.148.84/obec-media/2555/manual/%a4%d9%e8%c1%d7%cd%a4%b3%d4%b5%c8%d2%ca%b5%c3%ec/%b5%cd%b9%b7%d5%e8%2064%20%e1%ba%ba%bd%d6%a1%cb%d1%b4%e0%c3%d7%e8%cd%a7%20%ca%b6%d4%b5%d4%20%b5%cd%b9%b7%d5%e8%202.pdf

อำนาจ วังจีน . สถิติกับชีวิตประจำวัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563. จาก http://sripatum-review.spu.ac.th/doc/51_19-09-2018_16-31-08.pdf

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

คณิตศาสตร์, สถิติ, คณิตศาสตร์,ข้อมูล

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันจันทร์, 15 มิถุนายน 2563

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

คณิตศาสตร์

ระดับชั้น

ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6

ช่วงชั้น

มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม

คุณอาจจะสนใจ

สถิติศาสตร์ในชีวิตประจําวัน ตัวอย่าง

Hits

สถิติศาสตร์ในชีวิตประจําวัน ตัวอย่าง
(20222)

สิ่งที่เราทุกคนที่เคยเรียนวิชาคณิตศาสตร์และคุ้นเคยเป็นอย่างดีก็คือ สัญลักษณ์ (symbolic) แต่ผู้เขียน ...

สถิติศาสตร์ในชีวิตประจําวัน ตัวอย่าง

Hits

สถิติศาสตร์ในชีวิตประจําวัน ตัวอย่าง
(13949)

เรื่องที่กำลังจะนำเสนอต่อไปนี้หลายคนอาจเคยรู้จัก และก็เดาว่าต้องเป็นคนที่ชื่นชอบและศึกษาเกี่ยวกับปร ...

สถิติศาสตร์ในชีวิตประจําวัน ตัวอย่าง

Hits

สถิติศาสตร์ในชีวิตประจําวัน ตัวอย่าง
(12650)

บทความเรื่องประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ในตอนที่ 6 นี้ ขอนำเสนอเรื่องสมการ ซึ่งเป็นการอธิบ ...

สถิติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของสถิติที่มีในชีวิตประจำวัน.
1.ใช้วางแผนในการเดินทางเรื่องที่ใกล้ตัว.
2.ช่วยในการวางแผนออกกำลังกายและลดน้ำหนัก.
3.ใช้เป็นข้อมูลในการโฆษณา.
4.นำสถิติมาใช้ในการเกษตร.
5.การใช้สถิติเพื่อพัฒนาวงการกีฬา.

ให้นักเรียนยกตัวอย่างประโยชน์ของสถิติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียนมาอย่างน้อย 3 ข้อ

"สถิติศาสตร์" มีประโยชน์อย่างไรในชีวิตประจำวันบ้าง?.
การตัดสินใจก็เป็นเรื่องของสถิติ ... .
สถิติช่วยวางแผนในเรื่องการลดน้ำหนัก ... .
ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วมากขึ้น ... .
ช่วยให้เรารับมือและป้องกันสถาณการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงทีมากขึ้น ... .
สามารถคาดเดาผลของกีฬาได้!.

สถิติศาสตร์ มีอะไรบ้าง

สถิติศาสตร์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และสถิติเชิงอนุมาน (Inference Statistics).
การนำเสนอข้อมูล (Presentation) ... .
การแจกแจงความถี่ (Frequency) ... .
การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Central of Tendency).

สถิติมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของนักศึกษาอย่างไร

สถิติเป็นเครื่องมือสำคัญที่ถูกใช้ในทุกองค์กร ครัวเรือนหรือแม้แต่ตัวเราเอง เพื่อจดเก็บหรือบันทึกข้อมูลต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบตัวเลข ไว้สำหรับใช้ในการเปรียบเทียบ การวัด การประมาณค่าต่างๆ หรือใช้สถิติมาเป็นเกณฑ์มาตรฐาน สถิติช่วยให้เราสามารถ “เห็น” ความเปลี่ยนแปลงของอดีตและปัจจุบันได้ชัดเจนยิ่งขึ้น