หัวข้อ ใน การ เขียน โครง งาน

TRICK การคิดหัวข้อโครงงานยังไง ให้ประสบความสำเร็จ :  ก่อนที่เราจะทำโครงงานให้สำเร็จได้นั้น อย่างแรกเลยที่เราต้องจำไว้สำคัญมากก็คือ “หัวข้อของโครงงาน” เพราะถ้าเราคิดหัวข้อโครงงานได้ไม่ดี งานที่ออกมาก็จะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรหรืออาจจะไม่สำเร็จเลยก็ได้ ดังนั้นต้องลองนำ 8 เทคนิคการคิดหัวข้อโครงงาน ยังไงให้ถูกใจอาจารย์และประสบความสำเร็จมากที่สุด นำไปปรับใช้ให้เข้ากับตัวเองและก็โครงงานกันได้เลยค่ะ

หัวข้อ ใน การ เขียน โครง งาน

1. ให้สังเกตสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่เป็นปัญหา

ในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทั่วไปรอบๆ ตัวที่เป็นปัญหา เช่น สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน สิ่งแวดล้อมรอบ บ้านนักเรียนเอง สิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่น ในโรงเรียนมีขยะ เยอะ มีเศษไม้ เศษหญ้า หรือวัสดุต่างๆ ที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ให้ประโยชน์ได้แล้ว แล้วคิดหาวิธีให้สามารถนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง

2. ให้สำรวจปัญหาที่เกิดจากอาชีพในท้องถิ่น

ในการประกอบอาชีพในชุมชนหรือท้องถิ่นว่ามีปัญหาเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง เช่น ปัญหาจากแมลงศัตรูพืช วัชพืชต่าง หาวิธีในการกำจัดศัตรูพืช วัชพืชต่าง ๆ หรือนำสิ่งเหล่านั้นนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือวิธีในการเพิ่มจำนวนผลผลิตของอาชีพต่างๆ หาวิธีในการลดค่าใช้จ่ายการการผลิต หาวิธีในการลดเวลา จำนวนต้นทุน ฯลฯ

3. สำรวจปัญหาของอาชีพเสริม

ในการสำรวจปัญหาจากการประกอบอาชีพเสริมของตัวเราหรือชุมชน โดยการหาวิธีในการเพิ่มปริมาณผลผลิต คุณภาพผลของผลผลิต หรือปรับปรุงวิธีการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การเลี้ยงปลาสวยงาม ให้คิดหาวิธีในการทำให้ปลามีสีสวย คิดหาวิธีคิดสูตรอาหาร คิดหาวิธีในการเพาะพันธุ์ปลา เป็นต้น

4. สำรวจความเชื่อของคนในท้องถิ่น

ลองสำรวจความเชื่อต่างๆ ของคนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีความเชื่อในเรื่องต่างๆ หรือที่เคยปฏิบัติสืบต่อๆ กันมา มาพิสูจน์หาข้อเท็จจริง ว่าที่คนในท้องถิ่นกระทำนั้นเป็นจริงหรือไม่ เช่น ความเชื่อในเรื่องฟันผุ มีสาเหตุมาจาก มีแมงกินฟันจริงหรือ ความเชื่อในการกินดินเค็ม ว่ามีสารให้ก่อประโยชน์ จริงหรือ ฯลฯ แล้วนำมาคิดหาแนวคิดในการทำโครงงาน

5. ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ ตำราทางวิทยาศาสตร์ หรือหนังสือพิมพ์

ในการที่จะได้หัวข้อของโครงงาน ที่ได้มามากอีกทางหนึ่งคือ การศึกษาหาความรู้จากหนังสือ หรือตำราที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ หรือหนังสือพิมพ์ ที่ได้นำเสนอเกี่ยวกับการทำโครงงาน ชึ่งเราจะนำแนวคิดต่างๆ  ที่ได้มาจากหนังสือพิมพ์ นำมาดัดแปลงหรือคิดเป็นหัวข้อโครงงานได้

6. ชม ฟัง รายการวิทยุ หรือโทรทัศน์

รายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์ ได้นำเสนอเกี่ยวกับการทำโครงงานของนักเรียน นักศึกษาต่างๆ ที่ได้จัดทำประสบความสำเร็จได้นำมาเสนอสู่สายตาบุคคลทั่วไป เช่น รายการคนไทยวันนี้ รายการเกษตร รายการดินดำน้ำชุ่ม รายการของกระทรวงเกษตรต่างๆ ดดยนำแนวคิดต่างๆ มาปรับปรุงเพิ่อคิดเป็นหัวข้อโครงงานได้

7. ศึกษาจากนิทรรศการ หรือโครงงานของผู้อื่น

ในการเข้าศึกษาดูงานจากนิทรรศการต่างๆ ตามหน่วยงานหรือสถาบันทางการศึกษา ได้จัดขึ้น เช่น ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ หรือหน่วยงานของทางราชการ หรือเอกชน จะมีการนำโครงงานประเภทต่างๆ เข้ามาประกวด หรือแข่งขัน  

8. สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้จากผู้รู้

สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้จากผู้รู้หรือครูอาจารย์ที่ปรึกษา ในเรื่องที่เราสนใจ เพื่อหาแนวความคิดกว้างๆ หรือวิธีในการตัดสินใจในการเลือกคิดทำหัวข้อโครงงาน

9. ประโยชน์ที่ได้รับ

โครงงานที่ทำควรเป็นโครงงานที่มีประโยชน์ทั้งต่อผู้ทำโครงงาน สังคม และประเทศชาติ โดยโครงงานนั้นควรจะสามารถควรจะสามารถนำไปพัฒนาและใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

https://campus.campus-star.com/variety/24472.html

Author

การเขียนข้อเสนอโครงงาน

          การเขียนข้อเสนอโครงงาน ให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 กำหนดขอบด้านซ้าย ด้านขวา บน และล่าง 1 นิ้ว พร้อมระบุเลขหน้า พิมพ์บนกระดาษขาว ขนาดมาตรฐาน A4 เข้าเล่มรายงานให้เรียบร้อยพร้อมปกหน้าและปกหลัง 
          ผู้เสนอโครงงานจะต้องกรอกข้อมูลในระบบออนไลน์ที่ http://www.nstda.or.th/sims/ โดยต้องมีรายละเอียด 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 หน้าปก และรายละเอียดโครงงาน และส่วนที่ 2 ประวัติผู้พัฒนาและอาจารย์ที่ปรึกษา ดังนี้

ส่วนที่ 1

1.1 หน้าปก ซึ่งระบุรายละเอียดต่างๆ ดังนี้ 

  • ชื่อโครงงาน ภาษาไทยและอังกฤษ
  • สาขาโครงงานที่เข้าประกวด
  • ข้อความ ชี้แจงว่าเป็นโครงงานต่อเนื่องหรือไม่ มีความต้องการพัฒนาต่อยอดผลงานหรือไม่ และเป็นโครงงานที่เคยได้รับรางวัลมาก่อนหรือไม่
  • ผู้พัฒนาโครงงาน (ในกรณีประเภททีม ให้ระบุหัวหน้าทีม) คำนำหน้า ชื่อ (นาย/นาง/นางสาว/เด็กชาย/เด็กหญิง) ชื่อ-นามสกุล วัน-เดือน-ปีเกิด ระดับการศึกษา สถานศึกษา สถานที่ติดต่อ (ที่บ้าน) โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ พร้อมลายเซ็น
  • อาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมลายเซ็น
  • ผู้บริหารโรงเรียน พร้อมลายเซ็น
  • และมีข้อความรับรองว่า “โครงงานนี้เป็นความคิดริเริ่มของผู้พัฒนาโครงงานและไม่ได้ลอกเลียนแบบมาจากผู้ใดข้าพเจ้ายินดีและรับรองที่จะเป็นผู้ดูแลให้คำปรึกษา และควบคุมการวิจัยโครงงาน ให้สมบูรณ์เรียบร้อยตามเจตนา” พร้อมลายมือชื่อของอาจารย์ที่ปรึกษา และลายมือชื่อหัวหน้าสถาบันการศึกษารับรอง

หมายเหตุ: มื่อหัวหน้าโครงการทำการกรอกข้อมูลโครงงานเรียบร้อยแล้ว ทำการเลือกเมนูสร้างปกข้อเสนอโครงการ ระบบ SIMS จะทำการ Generate หน้าปกโครงงานให้โดยอัตโนมัติ ให้น้อง Print หน้าปก และนำไปให้ผู้เกี่ยวข้องลงนาม จากนั้นจึงนำมาแนบรวมกับไฟล์ข้อเสนอโครงงาน ประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ตาม 1.2  

1.2 เนื้อหา ซึ่งระบุรายละเอียดต่างๆ ต่อไปนี้

  • บทนำ เป็นจุดเริ่มต้นซึ่งอธิบายถึงเหตุผลในการทำโครงงานและสิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงาน
  • ในกรณีที่เป็นโครงงานต่อเนื่อง ให้ระบุความแตกต่างระหว่างงานเดิมและงานที่พัฒนาขึ้นใหม่
  • ปัญหา (Problem or Question being addressed)
  • สมมติฐาน (Hypothesis) หรือ เป้าหมายของโครงงาน (Engineering Goals)
  • กระบวนการหรือขั้นตอนในการทำโครงงานอย่างละเอียด (Description in detail of method or procedures)
  • การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) วิธีการ/เทคนิคที่จะใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อที่จะตอบปัญหาหรือสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือ แผนการทดสอบการใช้งานจริงของต้นแบบที่พัฒนา
  • ประโยชน์และผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • บรรณานุกรม (Bibliography-Library and Internet Research) ระบุแหล่งอ้างอิงอย่างน้อย 5 แห่ง จากหนังสือ (นอกเหนือจากหนังสือประกอบการเรียนการสอนปกติ) บทความวิชาการ วารสารทางวิทยาศาสตร์ หรือ อินเทอร์เน็ต       
ส่วนที่ 2

      2.1 ประวัติของผู้พัฒนา (นักเรียน) คำนำหน้าชื่อ (นาย/นาง/นางสาว) ชื่อ-นามสกุล ชั้นปี โรงเรียน

และผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ หากผลงานมีการส่งเข้าร่วมการประกวด หรือ ขอรับทุนจากแหล่งอื่น ผู้พัฒนาและอาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องแจ้งให้ สวทช. ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย

      2.2 ประวัติ ประวัติอาจารย์ที่ปรึกษา คำนำหน้าชื่อ (นาย/นาง/นางสาว) ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง สังกัด สถานที่ทำงาน การศึกษา และความเชี่ยวชาญ

    หมายเหตุ 

    1. ที่ปรึกษา หมายถึง ครู/อาจารย์จากโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการ-ศึกษาต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน  หรือผู้ที่เป็นข้าราชการ และพนักงานองค์กรของรัฐ
    2. ที่ปรึกษาของแต่ละโครงงาน สามารถมีมากกว่า 1 ท่าน แต่ไม่เกิน 2 ท่าน แต่จะต้องระบุให้ชัดเจนว่าแต่ละท่านเป็นที่ปรึกษาด้านใด และท่านใดเป็นที่ปรึกษาหลักของโครงงาน

การจัดทำรายงานและรายงานฉบับสมบูรณ์

          การเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงงาน จัดเตรียมไฟล์รายงานโดยใช้ฟอนต์ TH SarabunPSk หรือ TH Sarabun New ตัวอักษรขนาด 16 นิ้ว กำหนดขอบด้านซ้าย ด้านขวา บน และล่าง 1 นิ้ว พร้อมระบุเลขหน้าให้เรียบร้อย

รายงาน/รายงานฉบับสมบูรณ์จะต้องประกอบด้วย รายละเอียดต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. บทคัดย่อ หลังจากทำโครงงานเสร็จ เขียนบทคัดย่อประมาณ ½ – 1 หน้า บทคัดย่อประกอบด้วย (1) วัตถุประสงค์ (2) กระบวนการทดลอง (3) ผลการทดลอง (4) การวิเคราะห์ผล (5) สรุปผล (6) การประยุกต์ใช้งาน (ถ้ามี) อาจจะอ้างอิงถึงงานที่ทำมาก่อนหน้านี้ได้ แต่บทคัดย่อควรเน้นงานที่ทำในปัจจุบันและไม่รวมกิตติกรรมประกาศ หรืองานวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษา หลังจากจัดทำบทคัดย่อเรียบร้อยให้นักเรียนนำข้อมูลบทคัดย่อไปอัฟเดทในส่วนบทคัดย่อในระบบ SIMS ภายในวันที่ 10 ม.ค. 2565 ก่อน 17.00 น.
2. รายงานฉบับสมบูรณ์
 รายงานฉบับสมบูรณ์ควรจัดเตรียมควบคู่กับสมุดบันทึกข้อมูลโครงงาน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง รายงานฉบับสมบูรณ์ช่วยในการจัดข้อมูลและลำดับความคิด  รายงานฉบับสมบูรณ์ ควรประกอบด้วย
1) หน้าปก ควรประกอบด้วย ชื่อโครงงาน (ภาษาไทยและอังกฤษ) รหัสโครงงาน สาขาโครงงาน ชื่อ-นามสกุลผู้พัฒนาโครงงาน ระดับการศึกษา สถานศึกษา สถานที่ติดต่อ (ที่บ้าน) โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์
หมายเหตุ: สามารถดูตัวอย่างหน้าปกโครงงาน ตามหัวข้อตัวอย่างหน้าปกโครงงานด้านล่าง
2) สารบัญ
3) บทคัดย่อ
4) วัตถุประสงค์โดยละเอียด
5) กระบวนการทดลอง บรรยายรายละเอียดกระบวนการที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลและการสังเกต รายงานควรละเอียดเพียงพอที่ผู้อื่นสามารถที่จะทำการทดลองซ้ำจากข้อมูลในรายงานได้ อาจเพิ่มเติมภาพถ่ายหรือภาพวาดของอุปกรณ์ที่ออกแบบเองก็ได้
6) ผลการทดลอง
7) การวิเคราะห์ผล เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในรายงาน ผลการทดลองและสรุปผลควรมาจากข้อมูลที่ได้อย่างมีเหตุมีผล  ละเอียดรอบคอบ  แสดงให้ผู้อ่านเห็นถึงลำดับความคิดและรู้ในสิ่งที่ท่านได้ทำ เปรียบเทียบผลการทดลองที่ได้จริงกับค่าทางทฤษฎี ข้อมูลที่มีการตีพิมพ์ ความเชื่อโดยทั่วไป หรือผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น อภิปรายถึงความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ข้อมูลมีการผันแปรอย่างไรบ้างในการทดลองที่เหมือนกันหลายๆ ครั้ง ผลการทดลองจะแตกต่างอย่างไรหากไม่ได้มีการควบคุมตัวแปรบางตัว จะทำการทดลองที่ต่างกันอย่างไรหากสามารถทำโครงงานใหม่อีกครั้ง การทดลองอื่นใดบ้างที่ควรทดสอบเพิ่มเติม
8) สรุปผล สรุปผลการทดลองโดยย่อ ระบุเฉพาะเจาะจงลงไป ไม่ควรเขียนแบบกว้างจนเกินไป หลีกเลี่ยงการพูดถึงสิ่งใหม่ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้
9) กิตติกรรมประกาศ ควรให้เกียรติและระบุชื่อผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในการทำโครงงาน รวมทั้งบุคคล บริษัท สถานศึกษาและสถาบันวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทุนสนับสนุนหรือวัสดุที่ได้รับ ทั้งนี้ หากผลงานมีการส่งเข้าร่วมการประกวด หรือ ขอรับทุนจากแหล่งอื่น ผู้พัฒนาและอาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องแจ้งให้เนคเทคทราบเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
10) บรรณานุกรม บรรณานุกรมหรือหนังสืออ้างอิง ควรระบุถึงแหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่ผลงานของตนเอง เช่น หนังสือ บทความในวารสารทางวิทยาศาสตร์หรืออื่นๆ อินเทอร์เน็ต โดยใช้การอ้างอิงที่ถูกต้องตามรูปแบบ