กล้ามเนื้อของปลาประกอบด้วย 2 ชนิด คือ

1. เมื่อกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับกระดูกสันหลังด้านใดด้านหนึ่งหดตัว (เริ่มจากส่วนหัวมาทางส่วนหาง) ทำให้เกิดการโบกพัดของครีบหาง(Caudal fin) ดันให้ตัวพุ่งไปข้างหน้าโดยมีครีบหลัง(Dorsal fin) ช่วยในการทรงตัวไม่ให้เสียทิศทาง

2. เมื่อกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับกระดูกสันหลังอีกด้านหนึ่งหดตัว (เริ่มจากส่วนหัวมาทางส่วนหาง) ก็จะมีผลเช่นเดียวกับ ข้อ 1

3. ครีบอก(Pectoral fin) และครีบตะโพก(Pelvic fin) ซึ่งเทียบไปกับขาหน้าและขาหลังของสัตว์บก จะทำหน้าที่ช่วยพยุงลำตัวปลา และช่วยให้เกิดการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งการเคลื่อนที่ของปลาเป็นรูปตัว S สลับไปสลับมาการที่ปลามีรูปร่างยาวแบน และมีครีบที่แบนบาง ทำให้ปลาเคลื่อนที่ไปในน้ำได้ทั้ง สามมิติ คือ สามารถ เคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือถอยหลังก็ได้ เลี้ยงซ้ายเลี้ยวขวาก็ได้ และขึ้นลงในแนวดิ่งก็ได้ ถ้าหากเคลื่อนที่ไปข้างหรือถอยหลังอย่างเดียว เป็นการเคลื่อนที่แบบมิติเดียว ถ้าหากมีเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาด้วย เป็นการเคลื่อนที่สองมิติ และถ้าหากมีการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งขึ้นลงไปพร้อมๆกันด้วย ก็จัดว่าเป็นการเคลื่อนที่แบบสามมิติ

           กระดูกจะเจริญขึ้นทางด้านยาวและด้านกว้าง กระดูกจะยาวขึ้นได้เฉพาะวัยยังเยาว์โดยกระดูกจะยังไม่แข็งไปทั้งหมดแต่จะมีบริเวณหนึ่ง คือ ตรงกลางระหว่าง diaphysis กับ epiphysis มาบรรจบกันจะมีกระดูกอ่อนแผ่นหนึ่งชื่อ epiphyseal cartilage กระดูกจะยาวขึ้นเรื่อย ๆ จนอายุครบ 18 ปี ในหญิง และอายุ 20 ปี ในชาย แล้วจะหยุดเจริญกลายเป็นกระดูกแข็ง ส่วนการขยายใหญ่ออกนั้นโดยเซลล์กระดูกที่เกิดใหม่งอกขึ้นได้ เซลล์ที่สร้างกระดูกนี้เรียกว่า osteoblast การทำงานโดยการดึงแคลเซียมไปจากเลือด โดยการทำงานอยู่ภายใต้อิทธิพลของวิตามินดี ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้นด้วยเรื่อย ๆ นอกจากเซลล์สร้างกระดูกแล้ว ยังมีเซลล์ทำงานตรงข้าม คือ เซลล์ละลายกระดูก (osteoclast) ทำให้แคลเซียมที่ไม่จำเป็นถูกดึงออกจากระดูกสู่เลือด การทำงานของเซลล์ทำงานภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมน parathormone จากต่อมไร้ท่อ คือพาราไทรอยด์

ระบบกล้ามเนื้อ(Muscular System) นอกจากเป็นโครงของร่างกายแล้ว กล้ามเนื้อมีความสำคัญเป็นอันดับแรกต่อการเคลื่อนไหว ว่ายน้ำของปลา กล้ามเนื้อของปลาไม่มีความสลับซับซ้อนเหมือนในสัตว์บก แต่มีต้นกำเนิดและโครงสร้างคล้ายกัน โดยแบ่งกล้ามเนื้อตามหน้าที่ได้ 3 ชนิด คือ


- กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ไม่อยู่ใต้การควบคุมของจิตใจ (Involuntary Muscle) ได้แก่ กล้ามเนื้อของท่อทางเดินอาหาร อวัยวะภายใน ถุงลม ระบบสืบพันธุ์และขับถ่าย ตาช่วยในการเคลื่อนไหวเลนส์ และระบบทางเดินโลหิต


- กล้ามเนื้อหัวใจ (Heart Muscle) เป็นกล้ามเนื้อลายที่ไม่ได้อยู่ใต้การควบคุมของจิตใจ


- กล้ามเนื้อลาย (Striated หรือ Skeleton Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับกระดูก อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ (Voluntary Muscle) ได้แก่ กล้ามเนื้อทั่วๆ ไป ซึ่งทำงานสัมพันธ์กับโครงกระดูก เช่น กล้ามเนื้อลำตัว จะมีการยืดหดสลับกันไปทำให้เกิดการโค้งงอของลำตัว มีผลทำให้ปลาเคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือถอยหลังเมื่อทำงานควบคู่กับครีบ


กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายปลา


1. กล้ามเนื้อลำตัว


เป็นกล้ามเนื้อลาย มีการจัดเรียงตัวกันเป็นตอนๆ เรียก ไมโอเมียร์ (Myomere) โดยแต่ละตอนมีเยื่อกั้นเรียก ไมโอเซพตัม (Myoseptum) กลุ่มของไมโอเมียร์เรียกไมโอโตม (Myotome) ถ้าตัดตามขวางของลำตัวจะพบว่าไมโอเมียร์เรียงซ้อนกันเป็นรูปกรวย แต่ถ้ามองทางด้านข้างเมื่อลอกเอาแผ่นหนังออกจะเห็นมัดกล้ามเนื้อมีลักษณะ เรียงตัวกันเป็นรูปซิกแซกจากหัวไปหาง การจัดเรียงตัวของกล้ามเนื้อลายในปลาปากกลมมีลักษณะเหมือนรูปนกบินตะแคงข้าง เรียกว่า ไซโคลสโตมิน (Cyclistomine) ส่วนการจัดเรียงตัวของกล้ามเนื้อในปลากระดูกอ่อนและปลากระดูกแข็ง เรียกว่า พิสซิน (Piscine) โดยมุมหักโค้งจะแหลมกว่าแบบแรก จำนวนมัดของไมโอเมียร์มักจะมีจำนวนเท่าๆ กับจำนวนก้างของกระดูกสันหลัง (Neural Spine)


กล้ามเนื้อของปลาประกอบด้วย 2 ชนิด คือ

ลักษณะการจัดเรียงตัวของมัดกล้ามเนื้อด้านข้างในปลา 3 กลุ่ม


กล้ามเนื้อด้านข้างลำตัวจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ซีก คือ กล้ามเนื้อด้านบน (Epaxial Muscle Mass) และกล้ามเนื้อด้านล่าง (Hypaxial Muscle Mass) โดยมีเยื่อกั้นกลางตามยาว (Horizontal Skeletogenous Septum) บริเวณระหว่างกล้ามเนื้อทั้งสองนี้อาจมีกล้ามเนื้อแดง (Dark Muscle หรือ Red Muscle) ปกคลุมอยู่ กล้ามเนื้อด้านบนตรงส่วนหลังอาจมีเยื่อกั้นตามยาวลำตัว (Dorsal Skeletogenous Septum) ซึ่งแบ่งกล้ามเนื้อด้านบนออกเป็นซีกซ้ายและขวา


กล้ามเนื้อของปลาประกอบด้วย 2 ชนิด คือ


นอกจากกล้ามเนื้อด้านบนและด้านล่าง ซึ่งถือเป็นกล้ามเนื้อชั้นนอกแล้วยังมีกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกลงไป (Deep Trunk Muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อส่วนน้อย ประกอบด้วยมัดกล้ามเนื้อขนาดเล็ก 2 มัด คือ


ก. ซูพราคารินาเลส (Supracarinales) เริ่มจากบริเวณกระดูกครีบอกทอดไปข้างบนตำแหน่งกลางหลังไปยังครีบหางใช้สำหรับงอตัวขึ้นข้างบน


ข. อินฟราคารินาเลส (Infracarinales) อยู่ทางด้านล่างตามความยาวลำตัว เริ่มจากคอหอยไปยังครีบหาง ใช้สำหรับงอตัวลงด้านล่างและเคลื่อนไหวกระดูกครีบท้องและครีบก้น


2. กล้ามเนื้อหัว


มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของขากรรไกร กระดูกกระพุ้งแก้ม และกระดูกเหงือก มีอยู่หลายมัด ซึ่งในปลาแต่ละชนิดจะมีกล้ามเนื้อไม่เหมือนกัน ในปลากระดูกแข็งมีอยู่หลายมัด ดังนี้


กล้ามเนื้อของปลาประกอบด้วย 2 ชนิด คือ


- แอ็ตดัคเตอร์ แมนดิบูลาริส (Adductor Mandibularis) เป็นมัดใหญ่ที่มีความสำคัญช่วยในการกัดกินอาหาร มีอยู่สองตอน คือ ส่วนเซพฟาลิค (Cephalic Portion) อยู่ที่แก้ม และส่วนแมนดิบูลาร์ (Mandibular Portion) อยู่ที่ขากรรไกรล่าง


- ไดเลเตอร์ โอเพอร์คูไล (Diliator Operculi) เป็นมัดที่อยู่เหนือ แอ็ตดัคเตอร์ แมนดิบูลาริส ขึ้นไป ทำหน้าที่ในการกางกระพุ้งแก้มออก


- ลีเวเตอร์ โอเพอร์คูไล (Levator Operculi) เป็นมัดที่อยู่เหนือไดเลเตอร์ โอเพอร์คูไล แต่อยู่ค่อนไปทางหาง ทำหน้าที่ในการหุบหรือปิดกระพุ้งแก้ม


- ลีเวเตอร์ อาร์คัส พาลาไทนี (Levator Arcus Palatini) แทรกอยู่ด้านหน้าระหว่างไดเลเตอร์ โอเพอร์คูไล กับส่วนเซพฟาลิคของแอ็คคัดเตอร์ แมนดิบูลาริส ทำหน้าที่ช่วยในการปิด-เปิดตา


- แอ็ตดัตเตอร์ อาร์คัส พาลาไทนี (Adductor Arcus Palatini) อยู่ภายในเบ้าตาติดกับเพดานปาก มีหน้าที่ช่วยดึงกระดูกกระพุ้งแก้ม และลดช่องว่างภายในช่องปากในการหายใจ


- แอ็ตดัคเตอร์ โอเพอร์คูไล (Adductor Operculi) อยู่ตอนบนของกระดูกกระพุ้งแก้มตรงด้านล่างของจุดสิ้นสุดของมัด ลีเวเตอร์ โอเพอร์คูไล มีหน้าที่ช่วยดึงกระดูกกระพุ้งแก้ม ลดช่องเหงือกระหว่างหายใจออก


3. กล้ามเนื้อครีบ


เป็นกล้ามเนื้อที่ทำให้ครีบพัดโบกไปในลักษณะต่างๆ ตามที่ปลาต้องการ โดยอาจทำให้ปลาเคลื่อนไหวไปข้างหน้าหรือทรงตัวนิ่งอยู่กับที่ก็ได้ แบ่งออกได้ดังนี้


3.1 กล้ามเนื้อครีบเดี่ยว เป็นกล้ามเนื้อที่ควบคุมครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้น โดยกล้ามเนื้อครีบหลังและครีบก้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังนี้


3.1.1 กล้ามเนื้อชั้นบน (Superficial Muscle) มักอยู่เป็นคู่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ


- โปรแทรกเตอร์ (Protractor Muscle) ทำหน้าที่ยกครีบให้ตั้งขึ้น


- รีแทรกเตอร์ (Retractor Muscle) ทำหน้าที่ดึงครีบให้หุบลง


- แลทเทอรอล อินคลินเนเตอร์ (Lateral Inclinator) ทำหน้าที่โค้งงอครีบ


3.1.2 กล้ามเนื้อชั้นล่าง (Internal Muscle)


เป็นชั้นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกลงไป พบที่ครีบหาง ประกอบด้วย


- ดอร์ซอล เฟลกเซอร์ (Dorsal Flexor) ทำหน้าที่งอและยกครีบขึ้น


- เวนทรอล เฟลกเซอร์ (Ventral Flexor) ทำหน้าที่หุบหรือลดครีบให้ต่ำลง


- อินเตอร์ฟิลาเมนต์ คอดาลิส (Interfilament Caudalis) ทำหน้าที่แผ่กางครีบออกและหุบครีบลงเข้ารูปเดิม


3.2 กล้ามเนื้อครีบคู่ อยู่ตรงบริเวณฐานของครีบอกและครีบท้อง มี 2 มัด คือ กล้ามเนื้อแอ็บดัคเตอร์ (Abductor Muscle) ช่วยในการพัดโพกครีบออกจากตัว และกล้ามเนื้อแอ็ดดัคเตอร์ (Adductor Muscle) ช่วยโบกครีบเข้าหาตัว


นอกจากกล้ามเนื้อดังกล่าวแล้ว บริเวณครีบท้องยังมีกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ อีกสองมัด มัดแรก อยู่หน้าครีบท้องไปทางด้านหัว เรียก โปรแทรกเตอร์ อีสซิไอ (Protractor Ischii) และมัดที่สองอยู่ด้านหลังครีบท้องไปทางรูทวารเรียก รีแทรกเตอร์ อีสซิไอ (Retractor Ischii) ส่วนครีบอกก็มีกล้ามเนื้ออีกสามมัดช่วยยึดกระดูกครีบอก (Pectoral Girdle) และช่วยในการเคลื่อนไหวครีบอกด้วย ได้แก่ แอ็ดดัคเตอร์ ซูเปอร์ฟิซียลิส (adductor Superficialis) แอ็ดดัคเตอร์ มีเดียลิส (Adductor Medialis) และแอ็ดดัคเตอร์ โปรฟันดัส (Adductor Profundus)


กล้ามเนื้อของก้านครีบ ก้านครีบแต่ละก้านจะมีกล้ามเนื้อช่วยยก กาง หรือหุบพับครีบลงสำหรับแต่ละก้านครีบอีกด้วย ได้แก่ กล้ามเนื้อ


- อีเรคเตอร์ (Erector Muscle) อยู่ด้านหน้าก้านครีบ ช่วยยกก้านครีบขึ้น


- ดีเพรสเซอร์ (Depressor Muscle) อยู่ด้านหลังก้านครีบ ช่วยหุบครีบลง


- อินคลิเนเตอร์ (Inclinator Muscle) อยู่ที่ก้างอินเตอร์นิวรอล (Inter Neural Spine) ของครีบหลัง หรือที่ก้างอินเตอร์ฮีมอล (Interhaemal Spine) ของครีบก้น

กล้ามเนื้อปลา มีอะไรบ้าง

กล้ามเนื้อปลาสามารถจาแนกออกเป็นชนิดของเส้นใยกล้ามเนื้อด้วยสีที่ปรากฏให้เห็น คือ กล้ามเนื้อ แดง (Red muscle) กล้ามเนื้อขาว (White muscle) และกล้ามเนื้อชมพู (Pink muscle) มีชั้นเนื้อเยื่อ Myoseptum คั่นระหว่างกลุ่มของกล้ามเนื้อ ไม่ปะปนกัน (ภาพที่1) และการทางานของกล้ามเนื้อแต่ละชนิด จะมีสิ่งเร้าที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ...

ปลามีการเคลื่อนที่อย่างไร

การเคลื่อนที่ของปลา เกิดจากการทำงานร่วมกันของโครงสร้างลำตัวส่วนต่าง ๆ กล่าวคือ เมื่อมีการเคลื่อนที่ กล้ามเนื้อยึดติดกับกระดูกสันหลังมีการหดและคลายตัว โดยการหดตัวจะเกิดขึ้นตรงข้ามกัน (antagonism) ของกล้ามเนื้อทั้งสองข้างของลำตัว และจะค่อย ๆ หดตัวจากส่วนหัวไปยังส่วนหางทำให้ลำตัวปลามีลักษณะโค้งไปมาคล้ายรูปตัวเอส (S) ขณะ ...

กล้ามเนื้อที่ลำตัวของปลามีกี่มัด

กล้ามเนื้อของปลามีขากรรไกรจะเป็นเป็นกล้ามเนื้อใหญ่ 2 มัด อยู่ด้านข้างลำตัว และแบ่งกั้นกลางอยู่ด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันตามขวาง ทางด้านบนมีกล้ามเนื้อคู่ที่เรียกว่า กล้ามเนื้ออีแพกเซียล(epaxial muscles) ส่วนด้านล่างมีกล้ามเนื้อคู่ที่เรียกว่า กล้ามเนื้อฮัยแพกเซียล(hypaxial muscles) และกล้ามเนื้อที่ทอดอยู่ใต้ผิวหนังเรียกว่า ...

โครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนไหวของปลาประกอบด้วยอะไรบ้าง

ครีบปลา (fin) เป็นอวัยวะซึ่งทำหน้าที่พยุงตัว และการเคลื่อนที่ของปลาไปในทิศทางต่างๆ แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ ครีบคู่ และ ครีบเดียว - ครีบคู่ จะอยู่ทางซ้ายและขวาของลำตัวปลา มี 2 ชุด คือ ครีบอก และครีบท้อง