ตัวอย่าง JSA งานเชื่อมไฟฟ้า

หลังเลิกงาน ภายหลังการเชื่อมเสร็จแล้ว จะต้องเคาะเอาสะแลค (ภาษาช่างจะเรียกว่าขี้เชื่อม) ออก หรือการเจียร เพื่อตกแต่งรอยเชื่อม กิจกรรมเหล่านิ้อาจทำให้เศษโลหะกระเด็นเข้าตาได้หากไม่ใส่แว่นนิรภัยป้องกันดวงตา รวมไปถึงสุขอนามัยส่วนบุคคล

ซึ่งแนะนำว่าให้ชำระล้างทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังเสร็จงาน และเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนกลับบ้าน และงดนำอาหาร หรือเครื่องดื่มทุกชนิดเข้ามารับประทาน หรือดื่มในบริเวณที่มีการทำงานเชื่อม

• ก่อนการตัด หรือเชื่อมโดยเฉพาะบริเวณที่อันตราย (Hazardous Zone) เช่น ใกล้กับบริเวณที่มีไอน้ำมัน หรือสารเคมีไวไฟ จะต้องมีใบอนุญาตทำงาน (Permit) มีการกั้นพื้นที่ทำงานชั่วคราว และปฏิบัตตามขั้นตอนและข้อกำหนเดที่ระบุในคู่มือการทำงาน หรือ จากการเรียนรู้ การอบรม

* แต่สำหรับในงานที่ผมรับผิดชอบอยู่ เนื่องจากเป็นงานก่อสร้าง และปรับปรุงในพื้นที่ที่บางครั้งมีไอน้ำมันอยู่ จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ เอกสาร และมาตรการต่างๆ มากมายมาใช้บังคับผู้รับเหมาและคนงานให้ปฏิบัตตามอย่างเคร่งครัด เนื่องจากถ้าผลาดขึ้นมา นั่นหมายถึงอันตรายต่อชีวิต และความสูญเสียอื่นๆ อีกมากมายมหาศาล

ทั้งนี้ในงานที่มีความเสี่ยงสูง แบบนี้ก่อนทำงานจะมีระบบเอกสารในการทำการประเมินความเสี่ยงตามแต่ละขั้นตอนการทำงาน ที่เราเรียกกันว่า JHA (Job Hazard Analysis) และมีการขอใบอนุญาตทำงาน และต้องมีการตรวจสอบหน้างาน เพื่อพิจารณาความปลอดภัยที่หน้างานเท่านั้นก่อนผู้ที่มีอำนาจในการพิจารณาความปลอดภัย จะเซ็นอนุญาตให้เริ่มการทำงานในแต่ละครั้ง

• เมื่อทำการเชื่อมหรือตัดบนที่สูง จะต้องระวังและป้องกันลูกไฟ หรือสะเก็ดไฟหล่นใส่ผู้ที่อยู่ด้านล่าง หรืออุปกรณ์ที่ไวไฟอยู่ด้านล่างหรือใกล้เคียงสำหรับงานที่ต้องตัด เชื่อม เจียร์บนที่สูงในบริเวณที่ห้ามเกิดประกายไฟ (hot work) จะต้องจัดให้มีผู้เฝ้าระวังประกายไฟด้านล่างอย่างน้อยหนึ่งคน หรือให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเดินตรวจตราด้านล่างบริเวณรอบๆที่กำลังทำการเชื่อม ตัด หรือเจียร์อยู่

• ให้ใช้ถาดชนิดที่เป็นโลหะไม่ติดไฟ หรือที่ไม่มีปฏิกริยากับความร้อน รองไว้ใกล้กับบริเวณที่เชื่อมหรือตัดเพื่อป้องกันสะเก็ดไฟ

• ให้ใช้วัสดุที่ไม่ติดไฟ คลุมอุปกรณ์ทางด้านล่างและพรมด้วยน้ำ และก่อนเริ่มจะต้องมีเครื่องดับเพลิงเตรียมไว้พร้อม ต้องมีฉากที่ทำจากวัสดุไม่ติดไฟ สำหรับป้องกันสะเก็ดลูกไฟ

• ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับงาน และมีคุณสมบัติสำหรับป้องกันสะเก็ดลูกไฟ

• ต้องสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว ที่สามารถป้องกันสะเก็ดลูกไฟ และไม่ลุกติดไฟง่ายต้องสวมถุงมือหนังชนิดที่ไม่เปิดปลายนิ้ว และ ต้องสวมรองเท้านิรภัยชนิดหุ้มข้อ

• เมื่อต้องทำงานเชื่อมหรืองานตัดบนที่สูงต้องดำเนินการภายใต้สภาพที่ปลอดภัย และใช้เข็มขัดนิรภัยแบบรัดลำตัวตลอดเวลา

• เครื่องเชื่อมโลหะแต่ละเครื่องต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน หรือสวิตซ์ตัดตอนไฟฟ้า เพื่อป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาด และห้ามใช้ลวดทองแดงมาใช้แทนฟิวส์ตะกั่วเด็ดขาด

• พื้นที่ทำงานเชื่อมต้องเป็นวัสดุทนไฟ พื้นผิวไม่ขรุขระ หรือมีน้ำขัง และต้องจัดให้มีแสงสว่าง และ การระบายอากาศที่ดีในบริเวณที่เชื่อมอย่างเพียงพอ และเหมาะสม

• ห้ามนำถังแก๊สเข้าไปวางใช้งานในสถานที่อับอากาศ หรือวางบนนั่งร้านเด็ดขาด

• เมื่อทำงานเชื่อม หรืองานตัดในบริเวณที่มีอากาศไม่เพียงพอในเวลานานๆ ต้องจัดให้มีการระบายอากาศที่ดี ในระหว่างการทำงาน ปริมาณออกซิเจนในอากาศต้องไม่น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ และต้องปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยการทำงาน

ที่ผมเขียนขึ้นมาข้างบนนี้เป็นตัวอย่างที่ผมปฏิบัตจริงที่หน้าไซต์งานของผม และใช้ในการจัดฝึกอบรมให้ผู้รับเหมาและคนงานเข้าใจและปฏิบัติตาม ซึ่งผมจะมีการสุ่มไปตรวจ Audit ที่ไซต์งานโดยที่ไม่ได้แจ้งให้ผู้รับเหมา หรือ ผู้ปฏิบัตงานทราบล่วงหน้า

และถ้าหากผมพบว่ามีการฝ่าฝืนกฏ ก็จะมีการสอบสวน หากพบว่าและผู้ปฏิบัติเจตนาฝ่าฝืน (ผ่านการอบรม และทราบในกฏระเบียบ และขั้นตอนในการทำงาน) ก็จะมีการลงโทษสถานหนัก แต่หากผู้ปฏิบัตไม่ได้มีเจตนาที่จะฝ่าฝืน แต่เป็นเพราะนายจ้างไม่เคยจัดการอบรม ไม่เคยจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสม และปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัตงาน ในกรณีนี้ ผมสั่งลงโทษที่บริษัทผู้รับเหมา และโฟน์แมน หรือผู้ควบคุมงานนะครับ ที่ปล่อยปะละเลย ไม่ดูแลความปลอดภัยให้กับลูกน้อง หรือคนงานในทีมของท่าน

?>

ตัวอย่าง JSA งานเชื่อมไฟฟ้า

อัพเดทวันที่ : 02 ม.ค. 2560

งานเชื่อม คือการใช้ความร้อนสูงหลอมเหลวโลหะ เพื่อเชื่อมต่อโลหะหรือตัดโลหะให้ออกจากกัน มักพบเห็นได้มากในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการก่อสร้าง ต่อเติม รวมไปถึงสถานประกอบกิจการต่างๆ เช่น ร้านประกอบเหล็ก บริษัทก่อสร้าง ในบทความนี้ทางพีดีเอสจะพาทุกท่านไปเรียนรู้อันตรายที่เกิดในงานเชื่อม เพื่อหาวิธีรับมือป้องกันอันตราย

อันตรายในงานเชื่อม
1.ฟูมและก๊าซ เกิดจากโลหะถูกเผาไหม้ และจากก๊าซเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ และด้วยความร้อนที่ร้อนมาก ทำให้เกิดไอระเหยของโลหะอยู่ในอากาศ ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อันตรายต่อปอด ทำให้เกิดการระคายเคือง
2.รังสี เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงมากในการเชื่อม ทำให้เกิดรังสีอินฟราเรด และรังสีอุลตราไวโอเลตขึ้น ทำให้กระจกตาไหม้ เยื่อเรตินาในตาไหม้ และยังทำให้มีโอกาสเป็นต้อกระจก
3.อันตรายจากสะเก็ดไฟที่กระเด็นโดนผิวหนัง ทำให้เป็นแผลผุพอง

วิธีการป้องกันอันตราย
1.ก่อการใช้อุปกรณ์เชื่อม ต้องผ่านการอบรม
2.สวมใส่ชุดป้องกันอันตราย ใส่ถุงมือกันความร้อน มีอุปกรณ์ปิดจมูก มีแว่นตา กระบังหน้า ที่ป้องกันอันตรายจากรังสีอุลตราไวโอเลต
3.วางชิ้นงานที่จะเชื่อมในระดับความสูงที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน
4.การเชื่อมในที่อับอากาศ ต้องระวังเป็นพิเศษ ดึงสายไฟออกทุกครั้ง
5.เมื่อเชื่อมชิ้นงานเสร็จสิ้น ต้องทำเครื่องหมายส่วนที่ร้อน เพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นๆเตะต้อง
6.เมื่อเชื่อมงานเสร็จ ต้องเก็บอุปกรณ์เข้าที่ อย่าวางทิ้งไว้

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.oshthai.org/attachments/article/180/180.pdf