วงเงิน บัตรเครดิตกับ วงเงิน สินเชื่อ

สมัครบัตรกดเงินสด

  • ข้อมูลบัตรกดเงินสด
  • สมัครบัตรกดเงินสดออนไลน์

บริการ

  • ตรวจสอบผลการสมัคร
  • บริการเบิกถอนเงินสด
  • การขอเพิ่มวงเงิน
  • บริการ Umay+ LINE Connect
  • บริการ Umay+ Mobile Application

ติดต่อเรา

  • ลูกค้าสัมพันธ์
  • ค้นหาสาขา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • ลงทะเบียน COVID
  • Update บัญชีธนาคาร สำหรับสั่งโอนเงินเข้าบัญชี

ดาวน์โหลด Umay+ Mobile Application

  • วงเงิน บัตรเครดิตกับ วงเงิน สินเชื่อ
  • วงเงิน บัตรเครดิตกับ วงเงิน สินเชื่อ

  • ทำไมต้อง ยูเมะพลัส
  • ข่าวสารและประชาสัมพันธ์
  • บทความ
  • วิดีโอ
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • วงเงิน บัตรเครดิตกับ วงเงิน สินเชื่อ
    วงเงิน บัตรเครดิตกับ วงเงิน สินเชื่อ
    วงเงิน บัตรเครดิตกับ วงเงิน สินเชื่อ
    วงเงิน บัตรเครดิตกับ วงเงิน สินเชื่อ

ติดต่อฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์

โทร.0 2695 0000

อาคาร รสา ทู ชั้น 10 เลขที่ 1818 ถนนเพชรบุรี แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

สมัครบัตรกดเงินสด

  • ข้อมูลบัตรกดเงินสด
  • สมัครบัตรกดเงินสดออนไลน์

ติดต่อเรา

  • ลูกค้าสัมพันธ์
  • ค้นหาสาขา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • ลงทะเบียน COVID
  • Update บัญชีธนาคาร สำหรับสั่งโอนเงินเข้าบัญชี
  • แผนผังเว็บไซต์
  • ระเบียบการเยี่ยมชมและใช้เว็ปไซต์
  • นโยบายคุกกี้
  • นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บริการ

  • ตรวจสอบผลการสมัคร
  • บริการเบิกถอนเงินสด
  • การขอเพิ่มวงเงิน
  • บริการ Umay+ LINE Connect
  • บริการ Umay+ Mobile Application
  • ทำไมต้อง ยูเมะพลัส
  • ข่าวสารและประชาสัมพันธ์
  • บทความ
  • วิดีโอ
  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • วงเงิน บัตรเครดิตกับ วงเงิน สินเชื่อ
    วงเงิน บัตรเครดิตกับ วงเงิน สินเชื่อ
    วงเงิน บัตรเครดิตกับ วงเงิน สินเชื่อ
    วงเงิน บัตรเครดิตกับ วงเงิน สินเชื่อ

ดาวน์โหลด Umay+ Mobile Application

  • วงเงิน บัตรเครดิตกับ วงเงิน สินเชื่อ
  • วงเงิน บัตรเครดิตกับ วงเงิน สินเชื่อ

ติดต่อฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์

โทร.0 2695 0000

อาคาร รสา ทู ชั้น 10 เลขที่ 1818 ถนนเพชรบุรี แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

EASY BUY Public Company Limited

  • แผนผังเว็บไซต์
  • ระเบียบการเยี่ยมชมและใช้เว็ปไซต์
  • นโยบายคุกกี้
  • นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

แนะนำ Web browser ที่เหมาะแก่การใช้งาน IE 11.0 ขึ้นไป, Chrome, Firefox, Safari

เมื่อมาตรการรัฐเปลี่ยนไป ผู้ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตต่าง ๆ ก็จำเป็นจะต้องวิ่งตามให้ทันตัวบทกฎหมายและเทคโนโลยีด้วย ทั้งรายได้ ยอดค่าใช้จ่าย รวมทั้งการจำกัดวงเงินมีรายละเอียดที่น่ารู้อย่างไร และสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร อย่ารอช้า มาติดตามไปด้วยกัน

หนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาแบงก์ชาติเคยออกมาตรการควบคุมการใช้บัตรเครดิตมาแล้วครั้งหนึ่ง โดยกำหนดให้คุณสมบัติของผู้สมัครบัตรเครดิตต้องมีรายได้ 15,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน ยอดชำระต่อรอบบัญชีไม่น้อยกว่า 10% ของยอดค้างชำระ และเพดานดอกเบี้ยรวมกับค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 20% ต่อปี เพื่อลดความเสี่ยงตัวเลขหนี้เสียสูงในธุรกิจบัตรเครดิต และคำนึงถึงอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรมกับผู้ถือบัตร

กาลเวลาผ่านไปตัวเลขทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปรับตัวลงไปพอสมควรทำให้ผู้ประกอบการบัตรเครดิตน่าจะมีกำไรส่วนต่างดอกเบี้ยมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้ยืมมาทำธุรกิจกับดอกเบี้ยเงินให้กู้ไปใช้บัตรเครดิต และที่สำคัญภาวะหนี้ครัวเรือนสูงจนน่าเป็นห่วงเกือบ 80% ของจีดีพี โดยคนไทยมีหนี้ครัวเรือนประมาณ 21 ล้านคน เฉลี่ยคนละ 150,000 บาทสูงติดอันดับ 3 ของเอเชีย-แปซิฟิก และในจำนวนนี้เป็นหนี้เสียประมาณ 3 ล้านคนหรือ 15% ดังนั้นจึงเป็นเวลาเหมาะสมที่แบงก์ชาติจะงัดมาตรการใหม่มาควบคุมการใช้บัตรเครดิต

ข้อมูลจากเครดิตบูโรพบว่า คนไทยเป็นหนี้เร็วตั้งแต่เริ่มต้นทำงานและก่อหนี้ยันเกษียณ เหตุผลเพราะมีสิ่งของที่อยากได้อยู่เต็มไปหมดแต่เก็บเงินไม่ทัน ต้องใช้บริการสินเชื่อหลากหลายประเภทเพื่อนำเงินอนาคตมาใช้ก่อนแล้วจึงค่อยทยอยจ่าย อันได้แก่ สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต เช่าซื้อรถยนต์/มอเตอร์ไซค์ และสินเชื่อบ้าน โดยกลุ่มที่น่าห่วงสุดคือ Gen Y ผู้ที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2523-2540 เพราะยับยั้งชั่งใจใช้เงินได้น้อยกว่าคนวัยอื่น ประกอบกับรายได้อยู่ในช่วงเริ่มต้นทำงานจึงน้อยกว่าคนวัยอื่นด้วย ทำให้กว่า 50% ของคนวัยนี้เป็นหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต ซึ่งสินเชื่อทั้งคู่เข้าถึงง่ายได้รับความนิยม แต่ถ้าใช้ไม่ระวังอาจจ่ายได้แค่เพียงยอดชำระขั้นต่ำต้องเสียดอกเบี้ยเยอะ หรือหากไม่มีเงินจ่ายต้องเสียประวัติกลายเป็นหนี้เสีย

มาตรการใหม่ที่แบงก์ชาติเพิ่งประกาศใช้เมื่อเดือนกันยายน 2560 ที่ผ่านมา คือ หั่นเพดานดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินสูงสุดจาก 20% เหลือ 18% ต่อปี และจำกัดวงเงินจากเดิมไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน เป็นไม่เกิน 1.5 - 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน ตามตาราง

 

รายได้ต่อเดือน วงเงินสูงสุด
15,000 – 29,999 บาท 1.5 เท่าของรายได้ต่อเดือน
30,000 – 49,999 บาท 3 เท่าของรายได้ต่อเดือน
50,000 บาทขึ้นไป 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน

โดยมาตรการใหม่เรื่องหั่นเพดานดอกเบี้ยมีผลบังคับใช้กับรายการใช้จ่ายหลังประกาศของผู้ถือบัตรทุกคน ส่วนมาตรการใหม่เรื่องจำกัดวงเงินมีผลบังคับใช้กับผู้ถือบัตรรายใหม่หลังประกาศเท่านั้น ดังนั้นผู้ถือบัตรก่อนประกาศก็ยังคงใช้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 เท่าได้เหมือนเดิม

ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนบัตรเครดิตเกือบ 20 ล้านบัตรแต่มีผู้ถือบัตรอยู่เพียง 6 ล้านกว่าคน ดังนั้นผู้ใช้จะถือบัตรเฉลี่ยคนละ 3 ใบ โดยหากจำแนกผู้ถือบัตรตามพฤติกรรมการชำระเงิน จะแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มหลัก ดังนี้

  • ผู้ถือบัตรที่มียอดใช้จ่าย และชำระเงินเต็มจำนวน (Transactor)
  • ผู้ถือบัตรที่มียอดใช้จ่าย แต่ชำระเงินเพียงบางส่วนหรือขั้นต่ำ 10% (Revolver)
  • ผู้ถือบัตรที่มียอดใช้จ่าย แต่ไม่ชำระตามกำหนด (Delinquency)
  • ผู้ถือบัตรที่ไม่มียอดใช้จ่าย (Inactive)

มาตรการใหม่ทั้งเรื่องหั่นเพดานดอกเบี้ยและจำกัดวงเงิน พุ่งเป้าไปที่กลุ่ม Gen Y เพราะมีสัดส่วนผู้ถือบัตรที่มียอดใช้จ่ายแต่ชำระเงินเพียงบางส่วนหรือขั้นต่ำ 10% (Revolver) อยู่เป็นจำนวนมากกว่าคนวัยอื่น ซึ่งบางส่วนจะแปรสภาพเป็นผู้ถือบัตรที่มียอดใช้จ่ายแต่ไม่ชำระตามกำหนด (Delinquency) หรือถึงขั้นเป็นหนี้เสียหากค้างชำระเกิน 90 วัน (Bad Debt) ซึ่งส่งผลให้ผู้ถือบัตรมีประวัติชำระเงินที่ไม่ดีในเครดิตบูโรและมีผลต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อต่าง ๆ ในอนาคต

วงเงิน บัตรเครดิตกับ วงเงิน สินเชื่อ

ผลกระทบทางบวก

  • ชะลอการก่อหนี้ฟุ่มเฟือยจากการจำกัดวงเงิน เดิมผู้ถือบัตรได้วงเงินสูงสุด 5 เท่าต่อบัตร และจากข้อมูลมีบัตรเฉลี่ยคนละ 3 ใบ แปลว่าวงเงินรวมทุกบัตรเครดิตสูงสุด 15 เท่าของรายได้ต่อเดือน หากใช้เพลินเต็มวงเงินอาจเกิดปัญหาจ่ายไม่ไหว ดังนั้นผู้ถือบัตรใหม่ที่มีรายได้น้อยกว่า 50,000 บาทต่อเดือนจะถูกจำกัดวงเงินรวมทุกบัตรเครดิตสูงสุด 4.5-9 เท่าของรายได้ต่อเดือน
  • ประหยัดดอกเบี้ยลงจากการหั่นเพดานดอกเบี้ยสูงสุด 20% เหลือ 18% ต่อปี ทำให้กลุ่มผู้ถือบัตรเครดิตที่เสียดอกเบี้ยมีเงินเหลือเก็บออมมากขึ้นหากไม่นำเงินไปใช้จ่ายอย่างอื่น พึงระลึกไว้ว่าการทำให้ฐานะมั่นคงมีเงินใช้ จุดเริ่มต้นมาจากการออมทีละเล็กทีละน้อยรวมกันจนได้เงินก้อนโต
  • ความสุขในชีวิตเพิ่มขึ้นจากการไม่เป็นหนี้จนจ่ายไม่ไหว ผมฟังประสบการณ์คนแบกหนี้ก้อนโตจนเกินกำลัง ทุกคนล้วนเครียดนอนไม่หลับ บางคนถึงขั้นคิดสั้น ดังนั้นการที่มีใครสักคนคอยดูแลไม่ให้เราใช้เงินอนาคตเกินตัวก็น่าจะดี หากใครคนนั้นดูอย่างเข้าใจปัญหาและทำอย่างรอบคอบ หรือเราเองก็อาจจะศึกษาเพิ่มตัวด้วยตนเองอย่างเช่น เทคนิคใช้บัตรเครดิตให้เกิดประโยชน์

ผลกระทบทางลบ

  • มองหาแหล่งเงินกู้ทางอื่น ผู้ถือบัตรใหม่บางคนอาจรู้สึกว่าวงเงินบัตรเครดิตที่ได้รับอนุมัติไม่พอใช้ ต้องไปหาแหล่งเงินกู้อื่นที่ยังไม่ถูกควบคุมมากนัก เช่น สินเชื่อจำนำทะเบียน สินเชื่อนอกระบบ เป็นต้น ซึ่งต้องยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราที่แพงมากขึ้น
  • ลดสิทธิประโยชน์ผู้ถือบัตร หากมองในฝั่งผู้ประกอบการบัตรเครดิต เดิมมีรายได้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 20% ต่อปี พอหักรายจ่ายต่าง ๆ สมมติว่าเหลือกำไร 5% เมื่อมาตรการใหม่มีผลบังคับใช้ รายได้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 18% ต่อปี พอหักรายจ่ายต่าง ๆ สมมติว่าเหลือกำไร 3% ซึ่งจะเห็นได้ว่ากำไรหายไปเกือบครึ่ง แน่นอนว่าผู้ประกอบการบัตรเครดิตย่อมต้องหาทางลดต้นทุน รวมถึงลดสิทธิประโยชน์บางอย่างออกไป
  • ลดจำนวนผู้ให้บริการบัตรเครดิตในระยะยาว ธุรกิจที่กำไรหดตัวลงย่อมไม่จูงใจให้รายใหม่เข้ามาในตลาด ส่วนรายเก่าบางรายที่ทำกำไรได้ไม่ดีก็อาจถอนตัว ซึ่งในระยะยาวผู้ถือบัตรได้รับผลกระทบจากการมีตัวเลือกบัตรเครดิตน้อยลง

วงเงินในบัตรเครดิต คืออะไร

วงเงินบัตรเครดิตเป็นวงเงินที่ท่านได้รับส าหรับการใช้ช าระค่าสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งเมื่อรวมกับยอดเงิน ค้างช าระของเดือนก่อนแล้ว ต้องไม่เกินวงเงินใช้จ่ายที่ธนาคารก าหนดให้ ▪ วงเงินบัตรเครดิตจะถูกลดยอดลง เท่ากับ ยอดคงค้างทั้งหมดที่เกิดขึ้น และยังไม่ได้ช าระคืนธนาคาร ▪ กรณีที่ท่านมีบัตรหลายใบ วงเงินรวมทุกบัตร หมายถึง ...

วงเงินสินเชื่อที่มีคืออะไร

ความรู้เกี่ยวกับสินเชื่อเบื้องต้นที่ควรมี คือ เรื่องวงเงินสินเชื่อ ซึ่งก็คือวงเงินสูงสุดที่ผู้กู้ได้รับอนุมัติจากทางธนาคาร โดยจะขึ้นอยู่กับฐานรายได้และหลักเกณฑ์การพิจารณาของธนาคารเป็นสำคัญ หลังจากที่ทางธนาคารอนุมัติสินเชื่อแล้ว ผู้กู้จะได้รับวงเงินในบัญชี ซึ่งสามารถเบิกถอนไปใช้งานได้ตามความต้องการภายในวงเงินที่ได้รับ

บัตรกดเงินสด บัตรเครดิต ต่างกันยังไง

ดอกเบี้ยถูกกว่าถอนเงินจากบัตรเครดิต เพราะบัตรเครดิตไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้ถอนเงินสดตั้งแต่แรก แม้ว่าเราจะถอนเงินสดจากบัตรเครดิตได้ แต่ด้วยค่าธรรมเนียมที่มีการเรียกเก็บทันที แถมยังเรียกเก็บ VAT 7% ของค่าธรรมเนียมอีก จึงทำให้ดอกเบี้ยจากการถอนเงินสดจากบัตรเครดิตมีอัตราที่ค่อนข้างสูง ซึ่งแตกต่างจากการใช้บัตรกดเงินสดที่ไม่ ...

การกู้สินเชื่อคืออะไร

สินเชื่อคืออะไรสินเชื่อคือการที่ “ผู้ขอ” มีโอกาสที่จะได้รับเงินก้อนมาใช้จ่ายกับเรื่องต่างๆ โดยการขอสินเชื่อส่วนมากนั้น มักจะเป็นการขอกับทางสถาบันทางการเงิน หรือธนาคารต่างๆ ตามระเบียบแบบแผนประเภทต่างๆ ที่เหมาะสมกับผู้ขอ