ผู้ ได้รับ ผล ประโยชน์ ต้อง จ่าย BPP

ผู้ ได้รับ ผล ประโยชน์ ต้อง จ่าย BPP

ผู้ ได้รับ ผล ประโยชน์ ต้อง จ่าย BPP

    ศาลฎีกา มีคำพิพากษาให้"บ้านปู" จ่ายค่าเสียหายในคดีโรงไฟฟ้าหงสาให้กลุ่ม"งานทวี" มูลค่า 1.5 พันลบ. พร้อมดอกเบี้ย 7.5%ต่อปี เหตุนำข้อมูลผลศึกษาไปใช้ประโยชน์ ส่วนค่าเสียโอกาส 6 หมื่นลบ.ไม่ต้องชำระ ด้านผู้บริหาร"บ้านปู"ประเมินค่าเสียหาย 2.7 พันลบ. หารจ่ายร่วมกับ BPP และ BANPU International เตรียมบันทึกในงบ Q1/61 ยันไม่กระทบธุรกิจ ด้านโบรกฯหั่นกำไร BANPU-BPP ปีนี้ลง 25% และ 15% ตามลำดับ


** ศาลสั่งชดใช้ 1.5 พันลบ.พร้อมดอกเบี้ย 7.5%/ปี รอดค่าเสียโอกาส

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลฎีกา มีคำพิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุธรณ์ ให้ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU ชดใช้ค่าเสียหาย 1,500 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี นับจากวันฟ้อง (ก.ค.50) จากคดี นายศิวะ งานทวี กับพวกฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย ข้อหาหลอกลวงให้เข้าร่วมทำสัญญาร่วมทุน เพื่อต้องการได้ข้อมูลสัมปทานเหมืองถ่านหิน และรายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ ที่เมืองหงสา สปป.ลาว
    โดยค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายจากการนำข้อมูลผลการศึกษาโครงการโรงไฟฟ้าหงสา 13 ฉบับไปใช้ แม้ทางฝ่าย BANPU จะยืนยันว่าเป็นข้อมูลที่ศึกษาเองทั้งหมด แต่ศาลฯมองว่าเป็นการต่อยอดจากข้อมูลเดิมของกลุ่ม “งานทวี”
    ในขณะที่ค่าเสียโอกาส 6 หมื่นล้านบาทตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ยืนยันตามศาลอุธรณ์ คือไม่ต้องชำระ
    โดยมีรายละเอียดการอ่านคำพิพากษาดังนี้
    1.กรณีโจทก์กล่าวหาจำเลยว่า เข้าร่วมทำสัญญาพัฒนาโครงการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล โดยไม่มีเจตนาเข้าทำโครงการจริง ศาลพิจารณาว่า จำเลยมีความสุจริตในการเข้าทำสัญญาและทำโครงการจริง 
    2.กรณีโจทก์กล่าวหาจำเลยว่า จำเลยยกเลิกสัญญากับผู้รับเหมาเพื่อให้โครงการล่าช้า อันเป็นเหตุให้รัฐบาลลาวยกเลิกสัมปทานกับโจทก์ ศาลพิจารณว่า จำเลยมีความาสุจริต ทำเพื่อประโยชน์ของโครงการ และรัฐบาลลาวมิได้ใช้เหตุนี้ในการยกเลิกสัมปทานกับโจทก์
    3.กรณีโจทก์กล่าวหาจำเลยว่า ยุยงรัฐบาลลาวให้ยกเลิกสัมปทานกับโจทก์ ศาลพิจารณาว่า จำเลยมีความสุจริต มิได้ยุยง การยกเลิกสัมปทานเป็นการตัดสินใจของรัฐบาลลาว เพื่อประโยชน์ของประชาชนลาว
    4.กรณีโจทก์กล่าวหาจำเลยว่า จำเลยใช้ข้อมูลโครงการของโจทก์ ศาลพิจารณาว่า เป็นการใช้ข้อมูลที่มีมูลค่าของโจทก์ จึงกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าใช้ข้อมูลเป็นจำนวนเงิน 1,500 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2550
    ความรับผิดชอบจ่ายเงินตามคำพิพากษาของศาลนั้น BANPU BPP และบ้านปู อินเตอร์เนชั่นแนล จะร่วมรับผิดชอบในจำนวนเท่าๆกัน

** หารจ่าย 3 บริษัท จ่อบันทึกในไตรมาส 1/61

    นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BANPU เผยเตรียมจ่ายเงินต้น 1,500 ล้านบาท รวมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี นับจากวันฟ้อง (3 ก.ค.50) คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 2,700 ล้านบาท ตามคำสั่งศาลฎีกาทันที 
    BANPU จะชำระเงินร่วมกับบริษัทในเครืออีก 2 แห่ง ได้แก่ บมจ.บ้านปู เพาเวอร์ (BPP)และ บ้านปู อินเตอร์เนชั่นแนลรายละ 900 ล้านบาท และจะบันทึกเข้ามาเป็นค่าใช้จ่ายพิเศษในไตรมาส 1/61

** ยันค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่กระทบธุรกิจ 

    นางสมฤดี กล่าวเพิ่มเติมว่า ยืนยันการจ่ายเงินค่าเสียหายจะไม่กระทบกับแผนการดำเนินงานและจะไม่มีการปรับประมาณการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากเงินชดเชยดังกล่าวถือว่าต่ำมาก เมื่อเทียบกับกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อม (EBITDA) ของทั้งกลุ่มบริษัทฯ ที่ทำได้กว่า 3.2 หมื่นล้านบาทต่อปี
    นอกจากนี้บริษัทไม่ได้ทำผิดธรรมาภิบาล และดำเนินธุรกิจอย่างสุจริตทั้งก่อนหน้าและหลังการเข้าร่วมพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าหงสา ส่วนประเด็นการใช้ข้อมูลของกลุ่ม "งานทวี" เป็นเพียงเรื่องเชิงเทคนิคและตีความคลาดเคลื่อนของทั้ง 2 บริษัท

** โบรกฯเห็นต่าง หั่นกำไร BANPU ปีนี้ลง 25% และลดกำไร BPP 15.7%

    นางสาวนลินรัตน์ กิตติกำพลรัตน์ ผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส (ASP) เผย ได้ปรับลดประมาณการกำไรปี 61 BANPU ลง 25.1% มาอยู่ที่ 7.4 พันล้านบาท ภายใต้สมมติฐานค่าชดใช้ที่ BANPU , BPP และ Banpu international จะร่วมรับผิดชอบในจำนวนเท่าๆกัน ตามคำพิพากษาของศาลฎีกา 1.5 พันล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% นับตั้งแต่วันที่ฟ้องร้องเดือน ก.ค. 50 เป็นระยะเวลารวม 10 ปี 9 เดือน คิดเป็นมูลค่าในส่วนของ BANPU ที่ราว 2.5 พันล้านบาท จะถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายพิเศษครั้งเดียวภายในปี 61 เนื่องจากก่อนหน้านี้ BANPU ไม่ได้มีการตั้งสำรองตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
    ถือเป็นโอกาสดีในการ "ซื้อสะสมลงทุน" มูลค่าพื้นฐาน ณ สิ้นปี 61 หลังจากรวมผลกระทบทั้งหมดแล้วอยู่ที่ 25.6 บาทต่อหุ้น ลดลงจากเดิม 26 บาท ซึ่งถือว่าราคาปัจจุบันยังอยู่ต่ำกว่าพื้นฐานมีนัยฯ ประกอบกับเป็นการปลดล๊อกคดีความที่ค้างคามาเป็นระยะกว่า 10 ปี ทำให้หุ้นมีการแปรผันตามพื้นฐานที่แท้จริงจากนี้ไป อีกทั้งล่าสุดประกาศปันผล 2H60 อัตราหุ้นละ 0.35 บาท (งวด 1H60 จ่าย 0.3 บาท) คิดเป็น DivYield ครึ่งปี 1.6% 
    ปัจจุบันราคาถ่านหินในตลาดโลกยืนอยู่ในระดับ 100 เหรียญฯต่อตัน และหากสามารถยืนต่อเนื่องได้ตลอดทั้งปี จะทำให้คาดราคาขายเฉลี่ยถ่านหินในปี 61 ของ BANPU มีโอกาสขึ้นไปแตะระกับ 80 เหรียญฯต่อตัน  ซึ่งสูงกว่าสมมติฐานของฝ่ายวิจัยที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยได้ทำการศึกษาผลกระทบหากราคาขายถ่านหินของ BANPU เพิ่มขึ้นทุกๆ 5 เหรียญฯต่อตัน จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้นราว 600 ล้านบาท และส่งผลให้ FV เพิ่มขึ้นราว 2.5-3 บาทต่อหุ้น

    นอกจากนี้ได้ปรับลดประมาณการกำไรปี 61 ของ บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด(BPP)ลง ภายใต้สมมติฐานค่าชดใช้ที่ BANPU , BPP และ Banpu international จะร่วมรับผิดชอบในจำนวนเท่าๆกัน คิดเป็นมูลค่าในส่วนของ BPP ที่ราว 900 ล้านบาท โดยจะถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายพิเศษครั้งเดียวภายในปี 61 และก่อนหน้านี้ BPP ไม่ได้มีการตั้งสำรองตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ส่งผลให้ประมาณการกำไรปี 61 ลดลง 15.7% จากเดิม มาอยู่ที่ 4.8 พันล้านบาท
    ประเมินมูลค่าพื้นฐานสิ้นปี 61 ใหม่ อิงวิธี DCF (WACC 6%, Terminal Value Growth 2%) ที่ 33.20 บาทต่อหุ้น เดิม 33.50 บาทต่อหุ้น ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” เนื่องจากแนวโน้มกำไรที่จะกลับมาเติบโตโดดเด่นในช่วง 1H61 รวมถึงปลดล๊อกคดีความที่ค้างคามาเป็นระยะกว่า 10 ปี อีกทั้งปัจจุบันยังมี upside เปิดกว้างกว่า 30.2%

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม

ผู้ ได้รับ ผล ประโยชน์ ต้อง จ่าย BPP

Refresh


ผู้ ได้รับ ผล ประโยชน์ ต้อง จ่าย BPP

เราใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากยิ่งขึ้น คุณสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้