10 ขั้น ตอน การทำโครงงาน อย่าง ง่าย

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

ขั้นตอนการทำโครงงาน

สุชาติ วงศ์สุวรรณ. ( 2542 : 13 – 18) ได้กล่าวว่า โครงงานเป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเสร็จสิ้นโครงงาน ซึ่งผู้เรียนต้องเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งสิ้น โดยมีครู อาจารย์ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา คอยให้คำแนะนำ เสนอแนะ และให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาในการดำเนินงานโครงงาน มีขั้นตอนที่สำคัญประกอบด้วย

ขั้นตอนที่ 1 การคิดและเลือกหัวข้อ

การดำเนินงานตามขั้นตอนนี้ เป็นการคิดหาหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน โดยผู้เรียนต้องตั้งต้นด้วยคำถามที่ว่า จะศึกษาอะไรทำไมต้องศึกษาเรื่องดังกล่าวสิ่งที่จะนำมากำหนดเป็นหัวข้อเรื่องโครงงาน จะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องต่าง ๆ ของผู้เขียนเอง ซึ่งเป็นผลจากการที่ผู้เรียนได้อ่านหนังสือ เอกสาร บทความ ยอมฟังความคิดเห็น การบรรยาย การสนทนา หรือจากการที่ได้ไปดูงานทัศนศึกษา ชมนิทรรศการ หรือสังเกตจากปรากฎการณ์ต่าง ๆ รอบข้างหัวเรื่องของโครงงาน ต้องเป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจง และชัดเจนว่า โครงงานนี้ทำอะไร และควรเน้นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว หรือ มีความคุ้นเคยกับเรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการศึกษาพอสมควร ที่จะทำให้ได้มาซึ่งคำตอบ

ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องการดำเนินงานตามขั้นตอนนี้ เป็นการดำเนินงานต่อจากขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องนี้ รวมไปถึงการขอคำปรึกษา หรือข้อมูลรายละเอียดอื่น ๆ จากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งการสำรวจวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆการดำเนินงานตามขั้นตอนนี้จะทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดต่าง ๆ ของเนื้อหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งทำให้เห็นถึงขอบข่ายของภาระงานที่จะดำเนินการของโครงงานที่จะทำผลที่ได้จากการดำเนินงานขั้นตอนนี้ จะช่วยทำให้ได้แนวคิดในการกำหนดขอบข่าย หรือเค้าโครงของเรื่องที่จะศึกษาชัดเจนว่าจะทำอะไรทำไมต้องทำต้องการให้เกิดอะไรทำอย่างไรใช้ทรัพยากรอะไร ทำกับใครเสนอผลอย่างไร

ขั้นตอนที่ 3 การเขียนเค้าโครงของโครงงานการดำเนินงานตามขั้นตอนนี้ เป็นการสร้างแผนที่มีความคิด เป็นการนำเอาภาพของงาน และภาพความสำเร็จของโครงงานที่วิเคราะห์ไว้มาจัดทำรายละเอียด เพื่อแสดงแนวคิด แผน และขั้นตอนการทำโครงงาน การดำเนินงานในขั้นนี้อาจใช้การระดมสมอง ถ้าเป็นการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้ผู้ร่วมงานและผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้มองเห็นภาระงานตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น รวมทั้งได้ทราบถึงบทบาทและระยะเวลาในการดำเนินงาน เมื่อเกิดความชัดเจนแล้วจึงนำเอามากำหนดเขียนเป็น เค้าโครงของโครงงาน

โดยทั่วไปเค้าโครงของโครงงาน จะประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ มีรายละเอียดดังตาราง ที่ 2.1

ตารางที่ 2.1 แสดงหัวข้อ / รายการ รายละเอียดที่ต้องระบุในการเขียนเค้าโครงของโครงงาน


หัวข้อ / รายการ

รายละเอียดที่ต้องระบุ

1. ชื่อโครงงาน

2. ชื่อผู้ทำโครงงาน

3. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน

4. ระยะเวลาดำเนินงาน

5. หลักการและเหตุผล

6. จุดหมาย/วัตถุประสงค์

7. สมมติฐานของการศึกษา

(ในกรณีที่เป็นโครงการทดลอง)

8. ขั้นตอนการดำเนินงาน

9. ปฏิบัติโครงงาน

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

11. เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม

ทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร

ผู้รับผิดชอบโครงงาน อาจเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มก็ได้

ครู อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีในท้องถิ่น

ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ควบคุมการทำโครงงานของผู้เรียน

ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น

สภาพปัจจุบันที่เป็นความต้องการ และความคาดหวังที่จะเกิดผล

สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงาน ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

ข้อตกลง/ข้อกำหนด/เงื่อนไข เพื่อเป็นแนวทางในการพิสูจน์ให้เป็นไปตามที่กำหนด

กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ วัน เวลา และกิจกรรมดำเนินการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในข้อ 8 ตั้งแต่เริ่มต้นจนแล้วเสร็จ

สภาพของผลที่ต้องการให้เกิด ทั้งที่เป็นผลผลิต

กระบวนการ และผลกระทบ

ชื่อเอกสาร ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในแผนการดำเนินงาน

ที่มา ( สุชาติ วงศ์สุวรรณ , 2542 : 15 )

ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติโครงงานการดำเนินงานตามขั้นตอนนี้ เป็นการดำเนินงานหลังจากที่โครงงานที่ได้รับความเห็นจากครู อาจารย์ที่ปรึกษา และได้รับการอนุมัติจากสถานศึกษาแล้ว ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ในเค้าโครงของโครงงาน และระหว่างการปฏิบัติงาน ผู้เรียนต้องปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงความประหยัด และความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนคำนึงถึงสภาพแวดล้อมด้วยในระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงงาน ต้องมีการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ไว้อย่างละเอียดว่า ทำอะไรได้ผลอย่างไร ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขอย่างไร การบันทึกข้อมูลดังกล่าวนี้ ต้องจัดทำอย่างเป็นระบบ ระเบียบ เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงการดำเนินงานในโอกาสต่อไปด้วย การปฏิบัติกิจกรรมตามที่ระบุไว้ในขั้นตอนดำเนินงานในโครงงาน ถือว่าเป็นการเรียนรู้เนื้อหา ฝึกทักษะต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในจุดประสงค์การเรียนรู้ และการปฏิบัติโครงงานควรใช้เวลาดำเนินการ ในสถานศึกษามากกว่าที่จะทำที่บ้าน

ขั้นตอนที่ 5 การเขียนรายงานการดำเนินงานตามขั้นตอนนี้ เป็นการสรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงงาน เพื่อให้ผู้อื่นได้ทราบแนวคิด วิธีดำเนินงาน ผลที่ได้รับตลอดจนข้อสรุป ข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานการเขียนรายงาน ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กระชัย ชัดเจน และครอบคลุมประเด็นสำคัญ ๆ ของโครงงานที่ปฏิบัติไปแล้ว โดยอาจเขียนในรูปของสรุปรายงานผล ซึ่งอาจประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ บทคัดย่อ บทนำ เอกสารที่เกี่ยวข้อง วิธีการดำเนินงาน ผลการศึกษา สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ และตารางที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนที่ 6 การแสดงผลงาน การดำเนินงานตามขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงงาน เป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงงานทั้งหมดมาเสนอให้ผู้อื่นได้ทราบ ซึ่งผลผลิตที่ได้จากการดำเนินโครงงานประเภทต่าง ๆ มีลักษณะเป็นเอกสาร รายงาน ชิ้นงาน แบบจำลอง ฯลฯ ตามประเภทของโครงงานที่ปฏิบัติการแสดงผลงาน ซึ่งเป็นการนำเอาผลการดำเนินงานมาเสนอนี้ สามารถจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ หรือทำเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ การจัดทำเป็นสื่อมัลติมีเดีย และอาจนำเสนอในรูปแบบของการแสดงผลงาน การนำเสนอด้วยวาจา รายงาน บรรยาย ฯลฯในการดำเนินงานตามขั้นตอนการทำโครงงานที่กล่าวมานี้ สามารถปรับให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติในแต่ละระดับในระดับขั้นต้น ๆ ควรมี ครู อาจารย์ที่ปรึกษา เป็นผู้คอยให้คำแนะนำช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด และการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนควรง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อนส่วนในระดับสูง ๆ ที่สามารถอ่านออกเขียนได้ ควรเน้นเรื่องของความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ความรับผิดชอบ การตัดสินใจ และการปฏิบัติ

จิราภรณ์ ศิริทวี (2542 : 35 ) ได้กำหนดขั้นตอนการทำโครงงานเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือหัวข้อที่ต้องการศึกษา

ขั้นที่ 2 กำหนดตัวแปร ตัวแปรที่ต้องการศึกษา เป็นตัวแปรต้น ผลที่ตามมาเป็นตัวแปรตาม และถ้ามีความจำเป็นต้องควบคุมตัวแปรเพื่อให้ข้อมูลน่าเชื่อถือ ตัวแปรนั้นคือตัวแปรควบคุม

ขั้นที่ 3 ออกแบบการทดลองหรือกำหนดวิธีการหรือแหล่งข้อมูลที่ต้องไปศึกษา

ขั้นที่ 4 ดำเนินการทดลองหรือศึกษาตามที่วางแผนเอาไว้ ถ้าเป็นโครงงานประเภททดลองต้องมีการทดลองหลายๆ ครั้ง (อย่างน้อย 3 ครั้ง ) เพื่อให้เกิดความแน่ใจก่อนนำผลที่ได้มาสรุป

ขั้นที่ 5 อภิปรายผล นำข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาประเมิน อภิปรายโดยการศึกษาจากเอกสาร หลักฐานอื่น ๆ มาประกอบว่ามีข้อแตกต่างกันเพราะอะไร

ขั้นที่ 6 นำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบรายงาน หรือจัดบอร์ดแสดงสิ่งที่ศึกษา หรือด้วยวาจา

สรุปได้ว่า การเรียนการสอนแบบโครงงาน มีขั้นตอนการทำโครงงานอย่างต่อเนื่อง โดยผู้เรียนต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง และมีครู-อาจารย์เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ เสนอแนะ ซึ่งผู้วิจัยมีขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นสำรวจรวบรวมข้อมูลและเลือกหัวข้อ ขั้นที่ 2 ขั้นวิเคราะห์และวางแผน ขั้นที่ 3 ขั้นดำเนินการตามแผนงานและเขียนรายงาน ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอโครงงานและประเมินผลโครงงานเพื่อประสบความสำเร็จของโครงงาน