จิตวิทยาการเรียนรู้ มีอะไรบ้าง

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จิตวิทยาการเรียนรู้ (อังกฤษ: Psychology of learning) หมายถึงจิตวิทยาที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ โดยการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องเกิดจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรหรือเกิดจากการฝึกฝน[1] ซึ่งกระบวนการเรียนรู้จะเกิดได้จากขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอนคือตั้งใจจะรู้ กำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อให้รู้ ลงมือปฏิบัติและได้รับผลประจักษ์[2] สำหรับทฤษฎีการเรียนรู้นั้นจะพยายามศึกษาว่ากระบวนการเรียนรู้นั้นมีลักษณะอย่างไร ในงานวิจัยส่วนใหญ่นั้นจะทำการศึกษาแบบพฤติกรรมนิยมแบบพุทธินิยมและแบบ self-regulated learning โดยมีจิตวิทยาทางสื่อเป็นแนวการศึกษาใหม่ที่เพิ่มเข้ามา เนื่องจากเทคโนโลยีมีบทบาทในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้

รายการอ้างอิง[แก้]

  1. เทวิน ศรีดาโคตร (20 January 2014). "จิตวิทยาการเรียนรู้ที่ใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอน" (PDF).
  2. "บทที่ 2 จิตวิทยาการเรียนรู้(Psychology of Learning)" (PDF). api.ning.com/. 20 January 2014.[ลิงก์เสีย]

การเรียนรู้ของมนุษย์อาจเกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของการศึกษา การพัฒนาส่วนบุคคล การเรียนการสอน หรือการฝึกฝน การเรียนรู้อาจมีการยึดเป้าหมายและอาจมีความจูงใจเป็นตัวช่วย การศึกษาว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไรเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาประสาทจิตวิทยา (neuropsychology) จิตวิทยาการศึกษา (educational psychology) ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) และศึกษาศาสตร์ (pedagogy) การเรียนรู้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ (habituation) หรือการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (classical conditioning) ซึ่งพบในสัตว์หลายชนิด หรือทำให้เกิดกิจกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างเช่นการเล่น ซึ่งพบได้เฉพาะในสัตว์ที่มีเชาวน์ปัญญา การเรียนรู้อาจก่อให้เกิดความตระหนักอย่างมีสำนึกหรือไม่มีสำนึกก็ได้

1. ความหมายของการเรียนรู้

การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ และอาจเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารสนเทศชนิดต่างๆ ผู้ประมวลทักษะของการเรียนรู้เป็นได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ และเครื่องจักรบางชนิด ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเวลามีแนวโน้มเป็นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (learning curve)

นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น

คิมเบิล (Kimble, 1964) “การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง”

ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard& Bower, 1981) “การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์”

ครอนบาค (Cronbach) “การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา”

พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster ‘s Third New International Dictionary) “การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน”

ประดินันท์ อุปรมัย (2540, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา (มนุษย์กับการเรียนรู้) : นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 15, หน้า 121) การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม

2. ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้

  1. มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic problem Solving) โดยอาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้วงจรของ Demming (PDCA : Plan, Do, Check, Action)
  2. มีการทดลองปฏิบัติ (Experimental) ในสิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อองค์การเสมอ โดยอาจจะเป็น Demonstration Project หรือเป็น Ongoing program
  3. มีการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต (Learning from their own experience) มีการบันทึกข้อมูลเป็น case study เพื่อให้สมาชิกในองค์การได้ศึกษาถึงความสำเร็จและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในอนาคต มีการแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์ของสมาชิก
  4. มีการเรียนรู้จากผู้อื่น (Learning from the Others) โดยการใช้การสัมภาษณ์ (Interview), การสังเกต (Observation) ฯลฯ
  5. มีการถ่ายทอดความรู้โดยการทำ Report, Demonstration, Training & Education, Job Rotation ฯลฯ

3. กระบวนการเรียนรู้

กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ความแตกต่างระหว่างบุคคลส่งผลให้ผู้เรียนมีวิธีการของตนเอง อันเกิดจากสภาวะแวดล้อม บุคลิกภาพ อารมณ์และสังคมของแต่ละบุคคล สิ่งที่ผู้เรียนได้รับการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่องทั้งในห้องเรียนและในชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการในการเรียนรู้ของตนเอง แบ่งได้ตามกลุ่มของผู้เรียนที่มีลักษณะและวิธีการที่เหมือนกันออกได้เป็นหลายแบบ แนวคิดในเรื่องระดับของกระบวนการในการเรียนรู้ที่ เกร็ก และล็อคฮาร์ท (Craik and Lockhart, 1972) ได้เสนอว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่มีหลายระดับ เราสามารถเรียนรู้และจำสิ่งต่าง ๆ ที่มีความหมายกับตัวเราได้ เพราะมีการเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการมากกว่าการกระตุ้นให้เรียนรู้ ความลึกของกระบวนการเรียนรู้เป็นความละเอียดของกระบวนการ การเรียนรู้แบบลึกจะทำให้เข้าใจได้ละเอียดและระลึกถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้มาก

แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างที่เรียนรู้จำเป็นต้องมีการเรียนรู้แบบลึกเสมอไป เพราะในการเรียนรู้บางเรื่องก็มีความต้องการเพียงแค่ ความรู้ ความจำความเข้าใจและการนำไปใช้ ในขณะที่ขั้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า ที่อยู่ในขั้นการเรียนรู้แบบลึก ก็อาจไม่มีความจำเป็น (Cox and Clark, 1998)

ระดับของกระบวนการ (Level of Process) ในการเรียนรู้ ได้มีการแบ่งระดับของกระบวนการเรียนรู้โดย วัทกินส์ (Watkins, 1983) ได้แยกไว้อย่างชัดเจน คือ กระบวนการเรียนรู้แบบลึก (Deeper processing) และกระบวนการเรียนรู้แบบตื้น (Surface processing) โดยกำหนดขอบเขตของงานที่ต้องเรียนรู้ แยกผู้เรียนออกได้เป็นสองกลุ่มคือ ผู้เรียนที่มีกระบวนการเรียนรู้แบบลึกคือ ผู้เรียนที่ตั้งใจที่จะเข้าใจและพยายามค้นหาถึงความหมายของสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ ส่วนผู้เรียนที่มีกระบวนการเรียนรู้แบบตื้นคือ ผู้เรียนที่ตั้งใจจะใช้เพียงการจำข้อมูลเท่านั้น

บิกกส์ และเทลเฟอร์ (Biggs and Telfer, 1987) ได้อธิบายความหมายของ กระบวนการเรียนรู้แบบลึก กับกระบวนการเรียนรู้แบบตื้นเอาไว้ว่า กระบวนการเรียนรู้แบบลึก เป็นการเรียนรู้ที่อาศัยแรงจูงใจภายใน (Intensive motivation) ในการทำงานที่ต้องใช้วิธีการที่เป็นเหตุเป็นผล โดยมีความพึงพอใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นการค้นหาอย่างมีความหมายโดยการอ่านอย่างมากและจนกว่าจะเข้าใจ มีความสัมพันธ์กับความรู้ที่เคยได้รับมาก่อน

ส่วนกระบวนการเรียนรู้แบบตื้น เป็นการเรียนรู้ที่อาศัยแรงจูงใจภายนอก (Extensive motivation) โดยที่ผู้เรียนจะมีการเรียนรู้ตามที่กำหนดให้หรือตามเป้าหมาย เป็นวิธีการเรียนที่จำกัดเป้าหมายที่เห็นว่าจำเป็น และใช้การจำสิ่งที่เรียนในชั้นตามปกติ การระลึกแต่เหตุผลที่ถูกต้องที่ได้จากการบรรยาย ผู้เรียนมีความเข้าใจเฉพาะที่ต้องการ ตามวัตถุประสงค์เฉพาะด้านที่จัดให้

ความแตกต่างระหว่างกระบวนการเรียนรู้แบบลึกและแบบตื้น ที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนคือ ความลึกของกระบวนการ ที่ผู้เรียนจะมีทักษะการเรียนรู้ต่างกัน ซึ่ง ฮวง และบอนเซน (Huang and Bonzon, 1995) ได้อธิบายเอาไว้ว่า กระบวนการเรียนรู้แบบลึก ผู้เรียนต้องค้นหาให้ชัดเจนว่ามีอะไรซ่อนอยู่ภายในตัวผู้เรียน มีกระบวนการ ลำดับขั้นและวิธีการคิด ที่นำไปสู่วิธีการในการปัญหา ขณะที่กระบวนการเรียนรู้แบบตื้น ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้อย่างกว้าง ๆ และได้ความเข้าใจตามที่ได้รับการอธิบายหรือบอกกล่าว

กระบวนการเรียนรู้แบบลึกเป็นความละเอียดของกระบวนการ เข้าถึงในรายละเอียดของเนื้อหาการเข้าถึงข้อมูลของกระบวนการเรียนรู้แบบลึกจึงกระทำได้มากกว่ากระบวนการเรียนรู้แบบตื้น การเข้าถึงข้อมูลจำนวนมากกระทำได้ดีในผู้เรียนที่มีกระบวนการเรียนรู้แบบลึก แต่ถ้าเนื้อหาที่เรียนรู้มีปริมาณมากและไม่มีความซับซ้อน ผู้ที่มีกระบวนเรียนรู้แบบลึกก็จะเสียเวลาในการค้นคว้ามาก และได้ข้อมูลที่ไม่จำเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนจึงยากที่จะทำให้เหมาะสมกับผู้เรียนที่มีกระบวนการเรียนรู้ลึก ขณะที่ผู้มีกระบวนการเรียนรู้ตื้นสามารถใช้วิธีการสอนในแบบใดก็ได้ เพราะผู้เรียนจะสนใจในเนื้อหากว้าง ๆ และจำในสิ่งที่จัดให้เป็นหลักโดยไม่ลงลึกไปในรายละเอียดของเนื้อหานั้น สเปนเซอร์ (Spensor, 1988) สรุปแนวคิดของทฤษฎีกระบวนการเรียนรู้ในแบบลึกและแบบตื้นว่า ทฤษฎีนี้สนับสนุนแนวคิดที่ว่า การที่คนเราจำและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างมีความหมายได้ เกิดจากการเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการมากกว่าการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ โดยกระบวนการจะมีหลายระดับตามสิ่งเร้าที่กระทำ

4. การเรียนรู้กับการเรียนการสอน

ทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ถูกรวบรวมเป็นองค์รวมเป็นชุดของหลักการต่าง ๆ เพื่อ อธิบายเหตุผลการได้มาขององค์ความรู้ การรักษาไว้และการเรียกใช้องค์ความรู้ในแต่ละบุคคลได้ อย่างไรทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ เปิดโอกาสให้ท่านกำหนดเบ้าหลอมผู้เรียนและกำหนดคำทำนายเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ด้วยตัวท่านเอง สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นแนวทางช่วยให้เราเลือกใช้เครื่องมือในการเรียนการสอน เทคนิค และวิธีการต่างๆ วิธีการที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ และทำให้นักเรียนบรรลุตามจุดประสงค์ในรายวิชาอย่างมีประสิทธิภาพโดยสมบูรณ์ พวกเราควรจะอภิปรายทฤษฎีการเรียนรู้ ทั้งสามทฤษฎีเหล่านี้ คือ พฤติกรรมนิยม, การประมวลผลสารสนเทศทางปัญญา, และการสร้างสรรค์ความรู้ ด้วยปัญญา (behaviorism, cognitive information Processing, and Constructivism)

หลักสูตรที่มีลักษณะขดลวดเป็นวง“spiral” ทำงานได้ดีสำหรับบางรายวิชา หรือระดับของโปรแกรม (หลักสูตร) ในรายวิชาหนึ่งอาจจะหมุนเวียนสลับไปมาหรือหมุนเป็นวงกลมตลอดแตกต่างกันเป็นระยะๆหรือเป็นช่วง ๆ หรือหมุนเวียนสลับทฤษฎีการเรียนรู้ในรายวิชา ตัวอย่างเช่นในรายวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน การเริ่มต้นของรายวิชานี้ ครูผู้สอนจัดการเรียนการสอนควรใช้รูปแบบพฤติกรรมนิยมและควรมีคำสั่งมาก ๆ เพราะว่าผู้เรียนยังไม่มีประสบการณ์เลย เมื่อผู้เรียนมีประสบการณ์บ้างแล้ว ผู้สอนสามารถขยับไปใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศทางปัญญาได้ใช้ อย่างเช่น การแก้ปัญหาและการจำแนกแยกแยะที่จะช่วยให้นักเรียนพัฒนาทักษะการคิดระดับสูง เราจะสามารถขยับไปยังแนว Constructivism และพัฒนาความก้าวหน้าในการแเก้ปัญหาที่สลับซับซ้อนได้ในโอกาสต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้สอนนำเสนอความคิดรวบยอดใหม่ในบทเรียนใหม่อีก ในโอกาสต่อไป เขาควรวกลับไปยังรูปแบบพฤติกรรมนิยมอีกครั้งในการสอนความคิดรวบยอดใหม่ การหมุนเวียนแบบนี้ กระทำไปอย่างต่อเนื่องไปตลอดทั้งรายวิชาหรือทั้งระดับโปรแกรม (หลักสูตร)

ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning)ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์ เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการและเงื่อนไขที่จะทาให้เกิดการเรียนรู้และตรวจสอบว่าพฤติกรรมของมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไรทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ แบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

4.1 ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)

ทฤษฎีนี้เห็นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response) ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ว่า “พฤติกรรมนิยม” (Behaviorism) ซึ่งเน้นเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่มองเห็น และสังเกตได้มากกว่ากระบวนการคิด และปฏิกิริยาภายในของผู้เรียนทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ ดังนี้

4.1.1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theories)

1) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical ConditioningTheories)อธิบายถึงการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับการ ตอบสนอง พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกี่ยวข้องมักจะเป็นพฤติกรรมที่เป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) หรือ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องอารมณ์ ความรู้สึก บุคคลสำคัญของทฤษฎีนี้ ได้แก่

1. Ivan P. Pavlov นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย (1849 – 1936) ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงระหว่างการตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามธรรมชาติที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus = UCS) และสิ่งเร้า ที่เป็นกลาง (NeutralStimulus) จนเกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าที่เป็นกลางให้กลายเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (ConditionedStimulus = CS) และการตอบสนองที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditioned Response = UCR) เป็นการตอบสนองที่มีเงื่อนไข (Conditioned Response = CR)

ลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นดังนี้

1) ก่อนการวางเงื่อนไข UCS (อาหาร) UCR (น้ำลายไหล) สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (เสียงกระดิ่ง) น้ำลายไม่ไหล

2) ขณะวางเงื่อนไข CS (เสียงกระดิ่ง) + UCS (อาหาร) UCR (น้ำลายไหล)

3) หลังการวางเงื่อนไข CS (เสียงกระดิ่ง) CR (น้าลายไหล) หลักการเกิดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น คือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข (CR) เกิดจากการนาเอาสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) มาเข้าคู่กับสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (UCS) ซ้ากันหลายๆ ครั้ง ต่อมาเพียงแต่ให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) เพียงอย่างเดียวก็มีผลทาให้เกิดการตอบสนองในแบบเดียวกันผลจากการทดลอง Pavlov

สรุปหลักเกณฑ์ของการเรียนรู้ได้ 4 ประการ คือ

1) การดับสูญหรือการลดภาวะ (Extinction) เมื่อให้ CR นานๆ โดยไม่ให้ UCS เลย การตอบสนองที่มีเงื่อนไข (CR) จะค่อยๆ ลดลงและหมดไป

2) การฟื้นกลับหรือการคืนสภาพ (Spontaneous Recovery) เมื่อเกิดการดับสูญของการตอบสนอง (Extinction) แล้วเว้นระยะการวางเงื่อนไขไปสักระยะหนึ่ง เมื่อให้ CS จะเกิด CR โดยอัตโนมัติ

3) การแผ่ขยาย หรือ การสรุปความ (Generalization) หลังจากเกิดการตอบสนองที่มีเงื่อนไข (CR) แล้ว เมื่อให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) ที่คล้ายคลึงกัน จะเกิดการตอบสนองแบบเดียวกัน

4) การจำแนกความแตกต่าง (Discrimination) เมื่อให้สิ่งเร้าใหม่ที่แตกต่างจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข จะมีการจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้า และมีการตอบสนองที่แตกต่างกัน

2. John B. Watson นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน (1878 -1958) ได้ทำการทดลองการวางเงื่อนไขทางอารมณ์กับเด็กชายอายุประมาณ 11 เดือน โดยใช้หลักการเดียวกับ Pavlov หลังการทดลองเขาสรุปหลักเกณฑ์การเรียนรู้ได้ ดังนี้วัตสัน ได้ทำการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว และขณะที่เด็กกำลังจะจับหนูขาว ก็ทำเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กจะกลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว ต่อมาทดลองให้นำหนูขาวมาให้เด็กดู โดยแม่จะกอดเด็กไว้ จากนั้นเด็กก็จะค่อย ๆ หายกลัวหนูขาวจากการทดลองดังกล่าว วัตสันสรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ ดังนี้

1) พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ

2) เมื่อสามารถทาให้เกิดพฤติกรรมใด ๆ ได้ ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้

ลักษณะของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

1. การตอบสนองเกิดจากสิ่งเร้า หรือสิ่งเร้าเป็นตัวดึงการตอบสนองมา

2. การตอบสนองเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ได้จงใจ

3. ให้ตัวเสริมแรงก่อน แล้วผู้เรียนจึงจะตอบสนอง เช่น ให้ผงเนื้อก่อนจึงจะมีน้ำลายไหล

4. รางวัลหรือตัวเสริมแรงไม่มีความจาเป็นต่อการวางเงื่อนไข

5. ไม่ต้องทาอะไรกับผู้เรียน เพียงแต่คอยจนกระทั่งมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจึงจะเกิดพฤติกรรม

6. เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาสะท้อนและอารมณ์ ซึ่งมีระบบประสาทอัตโนมัติเข้าไปเกี่ยวข้องในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล

การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน

1. ครูสามารถนาหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทาความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น วิชาที่เรียน กิจกรรม หรือครูผู้สอน เพราะเขาอาจได้รับการวางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็เป็นได้

2. ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน3.ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว ผิดหวัง และวิตกกังวลของผู้เรียนได้โดยการส่งเสริมให้กาลังใจในการเรียนและการทากิจกรรม ไม่คาดหวังผลเลิศจากผู้เรียน และหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์หรือลงโทษผู้เรียนอย่างรุนแรงจนเกิดการวางเงื่อนไขขึ้น กรณีที่ผู้เรียนเกิดความเครียด และวิตกกังวลมาก ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายความรู้สึกได้บ้างตามขอบเขตที่เหมาะสม

2) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory )

B.F. Skinnerการเรียนรู้ตามแนวคิดของสกินเนอร์ เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า จึงมีคนเรียกว่าเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ Type R นอกจากนี้สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง(Reinforcement) ว่ามีผลทาให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร ยิ่งขึ้นด้วย สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่าอัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทา คือ การเสริมแรง หรือการลงโทษทั้งทางบวกและทางลบทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinners OperantConditioning Theory) B.F. Skinner (1904 – 1990) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้ทาการทดลองด้านจิตวิทยาการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ที่มีการตอบสนองแบบแสดงการกระทา (Operant Behavior)สกินเนอร์ได้แบ่งพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ 2 แบบ คือ

1) Respondent Behavior พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การกระพริบตาน้าลายไหล หรือการเกิดอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ

2) Operant Behavior พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด หรือเลือกที่จะแสดงออกมา ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจาวัน เช่น กิน นอน พูดเดิน ทางาน ขับรถ ฯลฯ.การเรียนรู้ตามแนวคิดของสกินเนอร์ เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า จึงมีคนเรียกว่าเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ Type R นอกจากนี้สกินเนอร์ให้ความสาคัญต่อการเสริมแรง (Reinforcement)ว่ามีผลทาให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร ยิ่งขึ้นด้วย สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทา คือ การเสริมแรง หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำมีการนำหลักการมาประยุกต์ใช้ คือ

1. การเสริมแรงและการลงโทษ

1.1 การเสริมแรง (Reinforcement) คือการทาให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากการได้รับสิ่งเสริมแรง (Reinforce) ที่เหมาะสม การเสริมแรงมี 2 ทาง ได้แก่

1) การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement )เป็นการให้สิ่งเสริมแรงที่บุคคลพึงพอใจ มีผลทาให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น

2) การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement)เป็นการนาเอาสิ่งที่บุคคลไม่พึงพอใจออกไป มีผลทาให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น

1.2 การลงโทษ (Punishment) คือ การทาให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมลดลง การลงโทษมี 2 ทาง ได้แก่

1) การลงโทษทางบวก (Positive Punishment) เป็นการให้สิ่งเร้าที่บุคคลที่ไม่พึงพอใจ มีผลทาให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง

2) การลงโทษทางลบ (Negative Punishment) เป็นการนาสิ่งเร้าที่บุคคลพึงพอใจ หรือสิ่งเสริมแรงออกไป มีผลทาให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง

2. การปรับพฤติกรรมและการแต่งพฤติกรรม

2.1 การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มาเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยใช้หลักการเสริมแรงและการลงโทษการแต่งพฤติกรรม (Shaping Behavior) เป็นการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมใหม่ โดยใช้วิธีการเสริมแรงกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งเกิดพฤติกรรมตามต้องการ

3. บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Instruction) เป็นบทเรียนโปรแกรมที่นักการศึกษา หรือครูผู้สอนสร้างขึ้นประกอบด้วย เนื้อหา กิจกรรม คำถามและ คำเฉลย การสร้างบทเรียนโปรแกรมใช้หลักของ Skinner คือเมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรม จบ 1 บท จะมีคำถามยั่วยุให้ทดสอบความรู้ความสามารถ แล้วมีคำเฉลยเป็นแรงเสริมให้อยากเรียนบทต่อๆ ไปอีก

1.1.2 ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theories)

1) ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory) Edward L. Thorndike (1874 – 1949)

นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ผู้ได้ชื่อว่าเป็น”บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา” ขาเชื่อว่า “คนเราจะเลือกทาในสิ่งก่อให้เกิดความพึงพอใจและจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทาให้ไม่พึงพอใจ” จากการทดลองกับแมวเขาสรุปหลักการเรียนรู้ได้ว่า เมื่อเผชิญกับปัญหาสิ่งมีชีวิตจะเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก (Trial and Error) นอกจากนี้เขายังให้ความสำคัญกับการเสริมแรงว่าเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้นกฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์

1. กฎแห่งผล (Law of Effect) มีใจความสาคัญคือ ผลแห่งปฏิกิริยาตอบสนองใดที่เป็นที่น่าพอใจ อินทรีย์ย่อมกระทาปฏิกิริยานั้นซ้าอีกและผลของปฏิกิริยาใดไม่เป็นที่พอใจบุคคลจะหลีกเลี่ยงไม่ทาปฏิกิริยานั้นซ้ำอีก

2. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) มีใจความสาคัญ ๓ ประเด็น

2.1 ถ้าอินทรีย์พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วได้เรียน อินทรีย์จะเกิดความพอใจ

2.2 ถ้าอินทรีย์พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วไม่ได้เรียนจะเกิดความรำคาญใจ

2.3 ถ้าอินทรีย์ไม่พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วถูกบังคับให้เรียนจะเกิดความรำคาญใจ

3. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) มีใจความสำคัญคือ พฤติกรรมใดที่ได้มีโอกาสกระทาซ้ำบ่อยๆ และมีการปรับปรุงอยู่เสมอ ย่อมก่อให้เกิดความคล่องแคล่วชำนาญ สิ่งใดที่ทอดทิ้งไปนานย่อมกระทาได้ไม่ดีเหมือนเดิมหรืออาจทำให้ลืมได้

การนำหลักการมาประยุกต์ใช้

1. การสอนในชั้นเรียนครูควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน จัดแบ่งเนื้อหาเป็นลำดับเรียงจากง่ายไปยาก เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจติดตามบทเรียนอย่างต่อเนื่อง เนื้อหาที่เรียนควรมีประโยชน์ต่อชีวิตประจาวันของผู้เรียน

2. ก่อนเริ่มสอนผู้เรียนควรมีความพร้อมที่จะเรียน ผู้เรียนต้องมีวุฒิภาวะเพียงพอและไม่ตกอยู่ในสภาวะบางอย่าง เช่น ป่วย เหนื่อย ง่วง หรือ หิว จะทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพ

3. ครูควรจัดให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกฝนและทบทวนสิ่งที่เรียนไปแล้ว แต่ไม่ควรให้ทำซ้ำซากจนเกิดความเมื่อยล้าและเบื่อหน่าย

4. ครูควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพึงพอใจและรู้สึกประสบผลสำเร็จในการทากิจกรรม โดยครูต้องแจ้งผลการทำกิจกรรมให้ทราบ หากผู้เรียนทาได้ดีควรชมเชยหรือให้รางวัล หากมีข้อบกพร่องต้องชี้แจงเพื่อการปรับปรุงแก้ไข

2) ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่อง (S-R Contiguity Theory)

2.1) Edwin R. Guthrieนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้กล่าวย้ำถึงความสำคัญของความใกล้ชิดต่อเนื่องระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ถ้ามีการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดและแนบแน่นเพียงครั้งเดียวก็สามารถเกิดการเรียนรู้ได้ (One Trial Learning ) เช่น ประสบการณ์ชีวิตที่วิกฤตหรือรุนแรงบางอย่าง ได้แก่ การประสบอุบัติเหตุที่รุนแรง การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ฯลฯทฤษฎีการเรียนรู้ที่มองเห็นความสำคัญของกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวบุคคลในระหว่างการเรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าและการตอบสนอง นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่า พฤติกรรมหรือการตอบสนองใดๆ ที่บุคคลแสดงออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีสิ่งเร้าและการตอบสนอง ซึ่งหมายถึงการหยั่งเห็น (Insight) คือความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา โดยจัดระบบการรับรู้เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม

4.2 ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่มองเห็นความสำคัญของกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวบุคคลในระหว่างการเรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าและการตอบสนอง นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่า พฤติกรรมหรือการตอบสนองใดๆ ที่บุคคลแสดงออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีสิ่งเร้าและการตอบสนอง ซึ่งหมายถึงการหยั่งเห็น (Insight) คือความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา โดยการจัดระบบการรับรู้แล้วเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม

4.2.1 ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalts Theory) นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) ชาวเยอรมัน

ประกอบด้วย MaxWertheimer, Wolfgang Kohler และ Kurt Koftkaซึ่งมีความสนใจเกี่ยวกับการรับรู้ (Perception) การเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เก่าและใหม่ นำไปสู่กระบวนการคิดเพื่อการแก้ปัญหา (Insight)องค์ประกอบของการเรียนรู้ มี 2 ส่วน คือ

1) การรับรู้ (Perception) เป็นกระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัส ซึ่งจะเน้นความสำคัญของการรับรู้เป็นส่วนรวมที่สมบูรณ์มากกว่าการรับรู้ส่วนย่อยทีละส่วน

2) การหยั่งเห็น (Insight) เป็นการรู้แจ้ง เกิดความคิดความเข้าใจแวบเข้ามาทันทีทันใดขณะที่บุคคลกาลังเผชิญปัญหาและจัดระบบการรับรู้ ซึ่งเดวิส (Davis, 1965) ใช้คาว่า Aha experienceหลักของการหยั่งเห็นสรุปได้ดังนี้

2.1) การหยั่งเห็นขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา การหยั่งเห็นจะเกิดขึ้นได้ง่ายถ้ามีการรับรู้องค์ประกอบของปัญหาที่สัมพันธ์กัน บุคคลสามารถสร้างภาพในใจเกี่ยวกับขั้นตอนเหตุการณ์ หรือสภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพยายามหาคำตอบ

2.2) คำตอบที่เกิดขึ้นในใจถือว่าเป็นการหยั่งเห็น ถ้าสามารถแก้ปัญหาได้บุคคลจะนามาใช้ในโอกาสต่อไปอีก

2.3) คำตอบหรือการหยั่งเห็นที่เกิดขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ ใช้ในสถานการณ์ใหม่ได้

4.2.2 ทฤษฎีสนามของเลวิน Kurt Lewin นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน (1890 – 1947)

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้เช่นเดียวกับกลุ่มเกสตัลท์ ที่ว่าการเรียนรู้ เกิดขึ้นจากการจัดกระบวนการรับรู้ และกระบวนการคิดเพื่อการแก้ไขปัญหาแต่เขาได้นาเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาร่วมอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ เขาเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์แสดงออกมาอย่างมีพลังและทิศทาง (Field of Force) สิ่งที่อยู่ในความสนใจและต้องการจะมีพลังเป็นบวก ซึ่งเขาเรียกว่า Life space สิ่งใดที่อยู่นอกเหนือความสนใจจะมีพลังเป็นลบLewin กำหนดว่า สิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ จะมี 2 ชนิด คือ

1) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical environment)

2) สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา (Psychological environment) เป็นโลกแห่งการรับรู้ตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งอาจจะเหมือนหรือแตกต่างกับสภาพที่สังเกตเห็นโลก หมายถึง Lifespace นั่นเอง Life space ของบุคคลเป็นสิ่งเฉพาะตัว ความสำคัญที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน คือ ครูต้องหาวิธีทำให้ตัวครูเข้าไปอยู่ใน Life space ของผู้เรียนให้ได้

การนำหลักการทฤษฎีกลุ่มความรู้ ความเข้าใจ ไปประยุกต์ใช้

1) ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง และมีอิสระที่จะให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ทั้งที่ถูกและผิด เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล และเกิดการหยั่งเห็น

2) เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน โดยใช้แนวทางต่อไปนี้

2.1) เน้นความแตกต่าง

2.2) กระตุ้นให้มีการเดาและหาเหตุผล

2.3) กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม

2.4) กระตุ้นให้ใช้ความคิดอย่างรอบคอบ

2.5) กำหนดขอบเขตไม่ให้อภิปรายออกนอกประเด็น

3) การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน เนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน

4) คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน พยายามจัดกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์ได้ และควรจัดโอกาสให้ผู้เรียนรู้สึกประสบความสำเร็จด้วย

5) บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด จะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนมีความศรัทธาและครูจะสามารถเข้าไปอยู่ใน Life space ของผู้เรียนได้

4.2.3 ทฤษฎีปัญญาสังคม (Social Learning Theory) Albert Bandura (1962 – 1986) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน

เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าของตนเอง เดิมใช้ชื่อว่า “ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม” (Social LearningTheory) ต่อมาเขาได้เปลี่ยนชื่อทฤษฎีเพื่อความเหมาะสมเป็น “ทฤษฎีปัญญาสังคม” ทฤษฎีปัญญาสังคมเน้นหลักการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) เกิดจากการที่บุคคลสังเกตการกระทาของผู้อื่นแล้ว

พยายามเลียนแบบพฤติกรรมนั้น ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทางสังคมเราสามารถพบได้ในชีวิตประจาวัน เช่น การออกเสียง การขับรถยนต์ การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ เป็นต้นขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกต

1) ขั้นให้ความสนใจ (Attention Phase) ถ้าไม่มีขั้นตอนนี้ การเรียนรู้อาจจะไม่เกิดขึ้น เป็นขั้นตอน ที่ผู้เรียนให้ความสนใจต่อตัวแบบ (Modeling) ความสามารถ ความมีชื่อเสียง และคุณลักษณะเด่นของตัวแบบจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจ

2) ขั้นจำ (Retention Phase) เมื่อผู้เรียนสนใจพฤติกรรมของตัวแบบ จะบันทึกสิ่งที่สังเกตได้ไว้ในระบบความจำของตนเอง ซึ่งมักจะจดจาไว้เป็นจินตภาพเกี่ยวกับขั้นตอนการแสดงพฤติกรรม

3) ขั้นปฏิบัติ (Reproduction Phase) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนลองแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ ซึ่งจะส่งผลให้มีการตรวจสอบการเรียนรู้ที่ได้จดจาไว้

4) ขั้นจูงใจ (Motivation Phase) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นแสดงผลของการกระทำ (Consequence) จากการแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ ถ้าผลที่ตัวแบบเคยได้รับ (Vicarious Consequence) เป็นไปในทางบวก (Vicarious Reinforcement) ก็จะจูงใจให้ผู้เรียนอยากแสดงพฤติกรรมตามแบบ ถ้าเป็นไปในทางลบ (Vicarious Punishment) ผู้เรียนก็มักจะงดเว้นการแสดงพฤติกรรมนั้นๆ

หลักพื้นฐานของทฤษฎีปัญญาสังคม มี 3 ประการ คือ

1) กระบวนการเรียนรู้ต้องอาศัยทั้งกระบวนการทางปัญญา และทักษะการตัดสินใจของผู้เรียน

2) การเรียนรู้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ 3 ประการ ระหว่าง ตัวบุคคล (Person) สิ่งแวดล้อม (Environment) และพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งมีอิทธิพลต่อกันและกัน

3) ผลของการเรียนรู้กับการแสดงออกอาจจะแตกต่างกัน สิ่งที่เรียนรู้แล้วอาจไม่มีการแสดงออกก็ได้ เช่น ผลของการกระทา (Consequence) ด้านบวก เมื่อเรียนรู้แล้วจะเกิดการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ แต่ผลการกระทาด้านลบ อาจมีการเรียนรู้แต่ไม่มีการเลียนแบบ

การนำหลักการมาประยุกต์ใช้

1) ในห้องเรียนครูจะเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลมากที่สุด ครูควรคำนึงอยู่เสมอว่าการเรียนรู้โดยการสังเกตและเลียนแบบจะเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าครูจะไม่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ก็ตาม

2) การสอนแบบสาธิตปฏิบัติเป็นการสอนโดยใช้หลักการและขั้นตอนของทฤษฎีปัญญาสังคมทั้งสิ้น ครูต้องแสดงตัวอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องที่สุดเท่านั้น จึงจะมีประสิทธิภาพในการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ ความผิดพลาดของครูแม้ไม่ตั้งใจ ไม่ว่าครูจะพร่าบอกผู้เรียนว่าไม่ต้องสนใจจดจา แต่ก็ผ่านการสังเกตและการรับรู้ของผู้เรียนไปแล้ว

3) ตัวแบบในชั้นเรียนไม่ควรจากัดไว้ที่ครูเท่านั้น ควรใช้ผู้เรียนด้วยกันเป็นตัวแบบได้ในบางกรณี โดยธรรมชาติเพื่อนในชั้นเรียนย่อมมีอิทธิพลต่อการเลียนแบบสูงอยู่แล้ว ครูควรพยายามใช้ทักษะจูงใจให้ผู้เรียนสนใจและเลียนแบบเพื่อนที่มีพฤติกรรมที่ดี มากกว่าผู้ที่มีพฤติกรรมไม่ดี

สรุป

การทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้หมายถึง การทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือศักยภาพในตนเอง โดยให้การฝึกฝนหรือมีการจัดประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมให้กับผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ความแตกต่างระหว่างบุคคลส่งผลให้ผู้เรียนมีวิธีการของตนเอง อันเกิดจากสภาวะแวดล้อม บุคลิกภาพ อารมณ์และสังคมของแต่ละบุคคล สิ่งที่ผู้เรียนได้รับการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่องทั้งในห้องเรียนและในชีวิตประจำวันทฤษฎีการเรียนรู้ซึ่งมีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมากเช่นเดียวกัน เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์ เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และตรวจสอบว่าพฤติกรรมของมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ แบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)1) ทฤษฏีการเรียนรู้ตามแนวคิดเชื่อมโยงสัมพันธ์ ซึ่งเชื่อว่าการที่มนุษย์เกิดการเรียนรู้ เนื่องจากการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของ2) สิ่ง โดยถ้ามีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นจะมีอีกสิ่งหนึ่งตามมา 2ทฤษฏีการเรียนรู้ตามแนวคิดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งเชื่อว่าบุคคลต้องเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆก่อนจึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้สอนสามารถนำความรู้จากแนวคิดทฤษฏีต่างๆมาปรับใช้ในการเรียนการสอน เพื่อถ่ายทอดความรู้ ค่านิยม และทักษะให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


อ้างอิง

  1. ประดินันท์ อุปรมัย. (2540. ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา (มนุษย์กับการเรียนรู้). พิมพ์ครั้งที่ 15. นนทบุรี.
  2. กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2545 ). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอดิสัน เพรดโปรดักส์ จำกัด.
  3. จีรพันธ์ พูลพันธ์ และคำแก้ว ไกรสรพงษ์. (2543). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ . กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
  4. บุหงา วัฒนะ. (2536). การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่. พระนครศรีอยุธยา : วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา .
  5. อนุบาลนครศรีธรรมราช, โรงเรียน. (2554). การจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัยแบบมอนเตสซอรี่. นครศรีธรรมราช: ศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช ณ นครอุทิศ แบบมอนเตสซอรี่. (แผ่นปลิว)
  6. ประดินันท์ อุปรมัย. (2540). ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา (มนุษย์กับการเรียนรู้). พิมพ์ครั้งที่ 15. นนทบุรี.
  7. กุลยา ตันติผลาชีวะ (2545). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอดิสัน เพรดโปรดักส์ จำกัด.
  8. จีรพันธ์ พูลพันธ์ และคำแก้ว ไกรสรพงษ์. (2543). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
  9. บุหงา วัฒนะ. (2536). การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่. พระนครศรีอยุธยา : วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา .
  10. อนุบาลนครศรีธรรมราช, โรงเรียน . (2554). การจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัยแบบมอนเตสซอรี่. นครศรีธรรมราช: ศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช ณ นครอุทิศ แบบมอนเตสซอรี่. (แผ่นปลิว)

การเรียนรู้หมายถึงอะไร จิตวิทยา

การเรียนรู (Lrarning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ บุคคลอยางคอนขางถาวร อันเปนผลมาจากการฝกฝนหรือการมีประสบการณ พฤติกรรม เปลี่ยนแปลงที่ไมจัดวาเกิดจากการเรียนรู ไดแกพฤติกรรมที่เปนการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ

จิตวิทยาการเรียนรู้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด

จิตวิทยาการศึกษา คือ การศึกษาพฤติกรรมต่างๆ มนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเรียนการสอน โดยเน้นทำความเข้าใจพฤติกรรมการเรียนรู้ และการพัฒนาความสามารถของผู้เรียน แต่ละคน แต่ละช่วงวัยที่แตกต่างกัน รวมถึงการศึกษากรณีศึกษาพิเศษต่างๆ เช่น วิธีการเรียนรู้ของเด็กที่มีพรสวรรค์ วิธีการเรียนรู้ของเด็กพิการทางร่างกาย หรือ บกพร่อง ...

จิตวิทยาการเรียนรู้มีความสำคัญอย่างไร

ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน - ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน - ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล - ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ - ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน

ตัวอย่างการเรียนรู้คืออะไร

ยกตัวอย่างเช่น เรียนรู้จากการอ่านได้ดี อ่านครั้งเดียวก็จำได้, เรียนรู้จากการฟังได้ดีกว่า อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าหัว, เรียนรู้จากการจด เช่น อ่านแล้วสรุปบันทึก หรือฟังแล้วสรุปสาระสำคัญ หรือเรียนรู้จากการถ่ายทอดสิ่งที่รู้ให้คนอื่นฟัง (การพูด) เพราะบางคนตกผลึกความรู้ได้ดีขึ้นเมื่อได้บอกเล่าสิ่งที่รู้หรือได้เรียนรู้แก่ผู้อื่น