การ ชี้ขาด ข้อพิพาทแรงงาน คือ

การ ชี้ขาด ข้อพิพาทแรงงาน คือ
2012-03-28 15:23:03 ใน คำแนะนำนายจ้างลูกจ้าง »
การ ชี้ขาด ข้อพิพาทแรงงาน คือ
0
การ ชี้ขาด ข้อพิพาทแรงงาน คือ
22701

     ข้อพิพาทแรงงาน กับ ข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ 

         ปัจจุบันพนักงานลูกจ้างรู้จักเข้าใจกฎหมายแรงงานมากขึ้น จึงมีการลุกขึ้นยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง และเมื่อไม่สามารถตกลงกันได้  ก็มีการนัดหยุดงาน นัดประท้วง ขัดขวางการดำเนินกิจการของนายจ้าง      จนเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายและเลิกจ้างลูกจ้างในที่สุด  เพราะว่าทั้งสองฝ่ายยังไม่เข้าใจกฎหมายแรงงานอย่างถ่อมแท้

                   ดังนั้นเราต้องมาเข้าใจก่อนว่าข้อพิพาทแรงงาน คืออะไร

                   ข้อพิพาทแรงงาน  คือ  “  ข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง  ” 

            ลูกจ้างอ่านกันเพียงเท่านี้ และข้อพิพาทของตนตกลงกันไม่ได้ นัดหยุดงานเลย  อย่างงี้ไม่ถูกต้อง     เพราะว่ากฎหมายบัญญติขั้นตอนการเกิดข้อพิพาทและขั้นตอนการไกล่เกลี่ยไว้ดังนั้นต้องปฎิบัติตามกฎหมายให้ถูกต้องเสียก่อน  และเมื่อเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว ก็ถึงจะสามารถนัดหยุดงานได้

                    ดังนั้นต้องเริ่มตั้งแต่การเกิดข้อเรียกร้อง

                     ทุกสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คน ขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีข้อตกลงสภาพการจ้างเป็นหนังสือ และให้ถือว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ด้วย

                                        การยื่นข้อเรียกร้อง         

                       การยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวกฎหมากำหนดไว้ว่าต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ และให้ตั้งตัวแทนเข้าเจรจากันภายใน 3 วันนับแต่วันได้รับแจ้งข้อเรียกร้องแจ้งพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานไกล่เกลี่ย         

                          ในกรณีที่ไม่มีการเจรจากันภายในกำหนด  3  วันหรือมีการเจรจาแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด  กฎหมายถือว่าได้มีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น  และให้ฝ่ายที่ยื่นข้อเรียกร้องมีหน้าที่ทำหนังสือแจ้งต่อพนักงงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ภายใน 24  ชั่วโมง        

                               พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานก็จะดำเนินการเข้าไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ภายใน  5  วัน  ถ้าไม่อาจตกลงกันได้ภายใน  5 วัน ให้ถือว่าเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้   เมื่อถึงตอนนี้แหละใครจะนัดหยุดงานก็ไม่ผิดกฎหมายแล้ว แต่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมง       

                     ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การทำงานของลูกจ้างและข้อยกเว้นในระหว่างยื่นข้อเรียกร้อง  ไกล่เกลี่ย หรือชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การทำงานของลูกจ้าง เว้นแต่

                   1.ลูกจ้างทุจริต , กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

                   2.จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

                   3.ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง โดยนายจ้างว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่  กรณีร้ายแรงไม่จำต้องตักเตือน  

                     ข้อบังคับ หรือคำสั่งดังกล่าวต้องไม่เป็นการขัดขวางลูกจ้างดำเนินการเกี่ยวกับข้อเรียกร้องด้วย

                    4.ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา  3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร

                                  การตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน

                       แต่อย่ามั่วคิดนัดหยุดงานประท้วงนายจ้างล่ะ  ลูกจ้างและนายจ้างอาจตกลงกันตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานขึ้นเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานดังกล่าว  และภายใน  7 วันนับแต่วันทราบการตั้ง  ให้ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานทำเป็นหนังสือแจ้งสถานที่ เวลาให้ทั้งสองฝ่ายทราบ   เพื่อพิจารณาข้อพิพาทแรงงานดังกล่าว 

               ในเวลาระหว่างการชี้ขาดของผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ห้ามมิให้นายจ้างปิดงานและห้ามลูกจ้างนัดหยุดงาน      เมื่อทำคำชี้ขาดแล้วให้แจ้งคำชี้ขาดให้ทั้งสองฝ่ายทราบภายใน 3 วัน พร้อมปิดสำเนาคำชี้ขาดไว้ ณ สถานที่ที่ทำงานและผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานนำไปจดทะเบียนต่ออธิบดีแรงงานภายใน  15 วัน         

                          ส่วน กรณีที่เป็นกิจการที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเช่น การประปา การรถไฟ การไฟฟ้า ฯให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดข้อพิพาทและคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีเป็น ที่สุด