แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก active learning

“แนวทางการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)” ซึ่งในการประเมินคลิปตามวิทยฐานะระบบใหม่ ว PA ไฟล์วีดิทัศน์บันทึกการสอนนั้นจะต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน และสอดคล้องตามไฟล์แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีบทบาทในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา ตื่นตัว และมีความหมาย เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกนั้น จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการคิดวิเคราะห์ ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และผู้เรียนสามารถสื่อสารสะท้อนคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ โดยในการออกแบบกิจกรรมนั้น คุณครูสามารถเลือกเทคนิคการจัดการเรียนรู้ Active Learning ที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้สะท้อนมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดสอคดล้องกับธรรมชาติวิชาและผู้เรียน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน

บทบาทของคุณครู คุณครูเป็น Coach & Mentor คุณครูเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ (Motivation) ให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียนรู้ สนใจใคร่รู้ สร้างแรงจูงใจในการเรียน ฝึกให้นักเรียนมีทักษะในการพัฒนาสมรรถนะของตนเอง ซึ่งมีคุณครูที่เป็นผู้แนะนำ กระตุ้น อำนวยความสะดวก สร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วม และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ โดยออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิด ลงมือปฏิบัติ เชื่อมโยงความรู้ และค้นพบองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) นั้นมีหลักการและฐานแนวคิดมาจากพื้นฐานทฤษฎีการเรียนรู้การสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) โดยมีรูปแบบหรือเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ดี อาทิ

Concept Mapping

Think-pair-share

Collaborative learning group

STEM EDUCATION

GPAS 5 Steps

Problem based learning

Project based learning

Team based learning

Game based learning

Inquiry based learning

Brain based learning

Analysis to video

Research based learning

Student-led review sessions

Student debates

Analyze case studies

Write and produce a newsletter

Keeping journals or logs เป็นต้น

คุณครูเลือกรูปแบบหรือเทคนิคที่เหมาะสมไปใช้นะคะ แล้วศึกษาว่าเทคนิคนั้นมีขั้นตอนหรือกระบวนจัดกิจกรรมอย่างไรบ้าง… เพื่อสามารถนำไปเป็นกรอบขั้นตอนการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ในแผนการจัดการเรียนรู้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นค่ะ

ทั้งนี้ หากคุณครูสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกดังกล่าว…จะสามารถสะท้อนการจัดการเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับ 8 ตัวชี้วัด ของการประเมินคลิปในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะตามวิทยฐานะระบบใหม่ ว PA ซึ่งประกอบด้วย

(1) ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน

(2) ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่

(3) ผู้เรียนได้สร้างความรู้เองหรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้

(4) ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้

(5) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้

(6) ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้

(7) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม และ

ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเองเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญของการประเมินดังกล่าวที่สะท้อนความเป็นครู SMART ที่คุณครูทุกคนสามารถทำได้ “SMART TEACHING” นับเป็นหลักการสร้างนักเรียนในการเรียนรู้ในอนาคตใหม่แห่งศตวรรษที่ 21

ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า หรือสร้างสรรค์สิ่งต่างๆและพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ได้ร่วมอภิปรายให้ฝึกทักษะการสื่อสาร ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเป็น 70% การนำเสนอผลงานทางการเรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบัติในสภาพจริง มีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ต่างๆ จะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง 90%

รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learning) ครอบคลุมวิธีการจัดการเรียนรู้หลากหลายวิธี เช่น

– การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning)

– การจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning)

– การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)

– การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning)

– การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด (Thinking Based Leaming)

– การจัดการเรียนรู้การบริการ (Service Learning)

– การจัดการเรียนรู้จากการสืบค้น (Inquiry-Based Learning)

– การจัดการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ (Discovery Learning)

อย่างไรก็ตาม รูปแบบ วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เหล่านี้ มีพื้นฐานมาจากแนวคิดเดียวกัน คือให้ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทหลักในการเรียนรู้ของตนเอง

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีอะไรบ้าง

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) คือ การเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการ เรียนการสอน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง (Higher-Order Thinking) ด้วยการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า ไม่เพียงแต่เป็นผู้ฟัง ผู้เรียนต้องอ่าน เขียน ตั้งค าถาม และถาม อภิปรายร่วมกัน ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง โดย ...

แนวทางการจัดการเรียนรู้ มีอะไรบ้าง

วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning.
การจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ (Experiential Learning).
การสอนแบบโครงงาน (Project Based Learning).
การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning).
การสอนที่เน้นทักษะกระบวนการคิด (Thinking Based Learning).

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning คืออะไร

Active Learning จึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความ ...

บทบาทของนักเรียนในการเรียนรู้เชิงรุกคือข้อใด

สรุปภาพรวมแล้ว การเรียนเชิงรุก (Active Learning) ผู้เรียนสามารถที่จะสร้างองค์ความรู้และจัดระบบ การเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความ รับผิดชอบ ในขณะเดียวกันผู้สอนจะมีบทบาทเป็นเสมือนผู้อํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียน เป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง ...