ประชาคมอาเซียนให้ประโยชน์อะไร

ประการที่สอง การค้าระหว่างไทยกับประเทศอาเซียนจะคล่องและขยายตัวมากขึ้น กำแพงภาษีจะลดลงจนเกือบจะหมดไป เพราะ 10 ตลาดกลายเป็นตลาดเดียว ผู้ผลิตจะส่งสินค้าไปขายในตลาดนี้และขยับขยายธุรกิจของตนง่ายขึ้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็จะมีทางเลือกมากขึ้นราคาสินค้าจะถูกลง

ประการที่สาม ตลาดของเราจะใหญ่ขึ้น แทนที่จะเป็นตลาดของคน 67 ล้านคน ก็จะกลายเป็นตลาดของคน 590 ล้านคน ซึ่งจะทำให้ไทยกลายเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจ เพราะสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยสามารถส่งออกไปยังอีกเก้าประเทศได้ราวกับส่งไปขายต่างจังหวัด ซึ่งก็จะช่วยให้เราสามารถแข่งขันกับจีนและอินเดียในการดึงดูดการลงทุนได้มากขึ้น

ประการที่สี่ ความเป็นประชาคมจะทำให้มีการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารคมนาคมระหว่างกันเพื่อประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุน แต่ก็ยังผลพลอยได้ในแง่การไปมาหาสู่กัน ซึ่งก็จะช่วยให้คนในอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์กัน รู้จักกัน และสนิทแน่นแฟ้นกันมากขึ้น เป็นผลดีต่อสันติสุข ความเข้าใจอันดีและความร่วมมือกันโดยรวม นับเป็นผลทางสร้างสรรค์ในหลายมิติด้วยกัน

ประการที่ห้า โดยที่ ไทยตั้งอยู่ในจุดกึ่งกลางบนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่อาเซียน ประเทศไทยย่อมได้รับประโยชน์จากปริมาณการคมนาคมขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับจีน (และอินเดีย) มากยิ่งกว่าประเทศอื่นๆ บริษัทด้านขนส่ง คลังสินค้า ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ จะได้รับประโยชน์อย่างชัดเจน จริงอยู่ ประชาคมอาเซียนจะยังผลทั้งด้านบวกและลบต่อประเทศไทย ขึ้นอยู่กับพวกเราคนไทยจะเตรียมตัวอย่างไร แต่ผลทางบวกนั้นจะชัดเจน เป็นรูปธรรมและจับต้องได้

กลุ่มประเทศที่อยู่ในแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือที่เราเรียกกันอย่างติดปากว่า “อาเซียน” นั้นในอดีตแม้จะเป็นประเทศที่อยู่ใกล้เคียงกันทว่าการให้ความร่วมมือหรือการช่วยเหลือซึ่งกันและกันนั้นยังถือว่าไม่ค่อยมีมากนัก จนกระทั่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราได้ยินข่าวว่าประเทศในแถบอาเซียนมีการประชุมหารือและกำหนดกันว่าจะทำการรวมตัวกันเพื่อสร้างอาณาจักรหนึ่งทางเศรษฐกิจ เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เจริญรุดหน้าเทียบเท่ากับประเทศมหาอำนาจในทวีปเอเชีย นั่นจึงทำให้เกิด Asean Economic Community หรือแปลเป็นภาษาไทยก็คือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเมื่อมีการรวมตัวแล้วผลประโยชน์หรือข้อดีที่ประเทศแถบอาเซียนจะได้รับประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้

ประชาคมอาเซียนให้ประโยชน์อะไร

  1. ความพัฒนาขึ้นทางด้านของเศรษฐกิจ – แน่นอนว่าแค่ชื่อก็บอกอยู่แล้วในเรื่องของการพัฒนาทางด้านของเศรษฐกิจ การรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนจะช่วยให้พืชผลหรือว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดูมีราคามากขึ้น และที่สำคัญคือสามารถที่จะมีอำนาจในการต่อรองทางด้านของเศรษฐกิจกับนานาประเทศมากขึ้น ยกตัวอย่างง่ายๆ การที่ประเทศไทยต้องการจะขายข้าวแต่หากว่าใช้ในนามประเทศไทยความมีบารมีก็ดูจะไม่ค่อยเท่าไหร่ แต่ถ้าหากว่ามาในนามของประชาคมอาเซียนความเข้มแข็งหรือความแข็งแกร่งในการเจรจาต่อรองก็จะมีมากกว่า
  2. ความมั่นคงทางด้านการเมือง – ข้อดีในด้านต่อมาก็คือความปรองดองกันทางด้านการเมืองในแต่ละประเทศเพราะเมื่อมีการรวมตัวกันในแถบอาเซียนเท่ากับว่าความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองของประเทศในแถบนี้ก็จะมีความเชื่อมโยงกันได้ง่ายมากขึ้น เมื่อมีความเชื่อมโยงกันง่ายมากขึ้น การเจรจาต่อรองในด้านต่างๆ ก็จะทำอะไรได้ง่ายขึ้นด้วย นั่นทำให้การเมืองของแต่ละประเทศมีความมั่นคงมากขึ้น
  3. ด้านการท่องเที่ยว – อย่าลืมว่าประเทศในแถบอาเซียนนั้นถือเป็นประเทศที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นการที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มประชาคมอาเซียนแล้วการเดินทางของคนในแถบเดียวกันก็มีความง่ายดายมากขึ้น นั่นทำให้ความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นด้วย
  4. ความแข็งแกร่งในการต่อรองกับประเทศมหาอำนาจ – การรวมตัวเป็นปึกแผ่นย่อมดูมีความขลังและมีอำนาจในการเจรจาต่อรองด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตามกับประเทศมหาอำนาจของโลกมากขึ้นทำให้ประเทศในแถบอาเซียนมีการพัฒนามากขึ้นด้วย

จะเห็นได้ว่าการรวมตัวเป็นปึกแผ่นของประเทศแถบอาเซียนนั้นสามารถสร้างประโยชน์ในนานาประเทศมากมาย จึงไม่แปลกใจที่การรวมตัวครั้งนี้จะมีแต่ข้อดีและสร้างประโยชน์มากมายมหาศาลแบบนี้

          3. การจัดตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการตามแผนงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน   (ตามคำสั่ง กนศ. ที่ 1/2550  ลงวันที่  14  มิถุนายน  2550)  เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนงานและเตรียมการรองรับผลกระทบที่จะ เกิดขึ้นในการดำเนินงานไปสู่การเป็น AEC โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน

              ประการที่สี่ความเป็นประชาคมจะทำให้มีการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารคมนาคมระหว่างกันเพื่อประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุน แต่ก็ยังผลพลอยได้ในแง่การไปมาหาสู่กัน ซึ่งก็จะช่วยให้คนในอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์กัน รู้จักกัน และสนิทแน่นแฟ้นกันมากขึ้น เป็นผลดีต่อสันติสุข ความเข้าใจอันดีและความร่วมมือกันโดยรวม นับเป็นผลทางสร้างสรรค์ในหลายมิติด้วยกัน

ในช่วงต้นปี ค.ศ. ๒๐๒๐ ประชาคมโลกประสบกับวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด – ๑๙ ซึ่งเป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว (pandemic) จากรายงานขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization) พบว่า ภายในระยะเวลา ๓ เดือนนับตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. ๒๐๒๐ จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ค.ศ. ๒๐๒๐ ไวรัสโควิด – ๑๙ แพร่ระบาดไปใน ๒๐๔ ประเทศทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อ ๖๙๗,๒๔๔ ราย และเสียชีวิต ๓๓,๒๕๗ ราย ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของไวรัสดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public health emergency of international concern) มีผลให้ประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกต้องปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations) อย่างเคร่งครัดเพื่อการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ  ด้วยเหตุนี้ จึงนำมาซึ่งการใช้มาตรการของหลายประเทศเพื่อตอบสนองต่อการแพร่ระบาดที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง..