เพิ่มทอง1สลึงเป็น2สลึงราคาเท่าไร

วิธีคิดค่าส่วนต่างที่ต้องจ่ายเพิ่ม หลังต้องการเปลี่ยนสร้อยทองครึ่งสลึงเป็น 1 สลึง

Show

เชื่อว่าใครที่เคยซื้อทองคำไปแล้ว อยากเปลี่ยนน้ำหนักทองใหม่อาจมีข้อสงสัยว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหรือไม่ และจะมีวิธีคิดค่าเปลี่ยนทองคำอย่างไร Sanook Money มีข้อมูลดีๆ จาก Ausiris มาฝากกัน

เว็บไซต์ ausiris รายงานว่า การเปลี่ยนทองคำนั้นจะต้องทำความเข้าใจเรื่อง น้ำหนักทอง กันก่อน โดยมาตรฐานแล้ว ทอง 1 บาท จะมี 4 สลึง แปลงน้ำหนักเป็น กรัม จะได้ ทองรูปพรรณ หนัก 15.16 กรัม ทอง 1 สลึง หนัก 3.79 กรัม ทองครึ่งสลึง หนัก 1.89 กรัม เรื่องน้ำหนักทองจะมีผลต่อราคารับซื้อคืน เพราะร้านทองจะให้ราคาตามน้ำหนักที่ชั่งได้

การเปลี่ยนทองครึ่งสลึง เป็นทอง 1 สลึง คือการ เพิ่มน้ำหนักทอง วิธีเปลี่ยนนั้นจะเป็นการ ขายทองเก่า แล้วซื้อทองใหม่ ร้านทองจะคิดราคารับซื้อทองเก่าก่อน แล้วหักลบราคาทองใหม่ให้อีกที เช่น

ราคารับซื้อคืนทองคำแท่ง 20,000 บาท ดังนั้น ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณตามเกณฑ์ สคบ. จะอยู่ที่ 20,000 – 5% = 19,000 บาท

ขายสร้อยทองครึ่งสลึง (ทองเก่า) ราคา = 2,735 บาท ( 19,000 / 8 )

ส่วนการซื้อทองใหม่นั้น จะคิดราคาขายออกทองรูปพรรณโดยตรง เช่น สมมุติ ราคาขายทองรูปพรรณ 20,500 บาท

ซื้อสร้อยทอง 1 สลึง (ทองใหม่) ราคา = 5,125 บาท ( 20,500 / 4 )

ดังนั้น เมื่อร้านทองหักลบราคาทองเก่า,ใหม่แล้ว จะต้องจ่ายส่วนต่าง 2,390 บาท

ทั้งนี้ การขายทองเก่า จะได้ราคารับซื้อตามเกณฑ์ สคบ และจะไม่ได้ค่ากำเหน็จค่าแรงคืน ส่วน การซื้อทองใหม่ จะได้ราคาขายออกทองรูปพรรณ (ไม่ใช่ราคาขายออกทองแท่ง) และจะต้องจ่ายค่ากำเหน็จใหม่ ไม่มีการหักลบค่าแรงจากทองเก่าแต่อย่างใด

สรุป ต้องเพิ่มเงินในส่วน ราคาขายทองเก่า – ราคาซื้อทองใหม่ + ค่ากำเหน็จ

ทั้งนี้ ทองรูปพรรณ เป็นเครื่องประดับทองคำที่ใส่ในชีวิตประจำ มีโอกาสที่ทองจะชำรุด สร้อยขาด แหวนบุบ ตะขอหัก ฯลฯ ทำให้น้ำหนักทองขาดได้ มีผลต่อราคารับซื้อคืน แตกต่างจากทองคำแท่งที่จะมีบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มอย่างดี เวลาขายคืนก็มักจะค่อยโดนหักและได้ราคาดีกว่า

เพิ่มทอง ต้องจ่ายเงินเพิ่มเท่าไหร่ คำนวณอย่างไร

เพิ่มทอง คือการนำทองเก่าไปเปลี่ยนเป็นทองชิ้นใหม่ที่มีน้ำหนักมากกว่าเดิม ในกรณีนี้ท่านจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในหลายส่วน ซึ่งแน่นอนว่าต้องมากกว่าการเปลี่ยนลายทองธรรมดาๆอยู่แล้ว แต่จะเสียเท่าไหร่ วันนี้ห้างทองพรทวีจะมาแนะนำวิธีคำนวณค่าเพิ่มทองเบื้องต้นให้ท่านทราบกัน จะได้สามารถเตรียมเงินไปถูก ไม่ต้องไปยืนงงอยู่ที่ร้านว่าจะโดนร้านทองโขกหรือไม่ ดังนี้เลยค่ะ

กรณีน้ำหนักทองเก่าของท่านยังเต็มดี จะมีค่าใช้จ่ายในการเพิ่มทองอยู่ 2 ส่วนที่ท่านต้องโดนหักหรือจ่ายเพิ่ม

หากน้ำหนักทองของท่านยังเต็มมาตรฐานดีอยู่ ในการเปลี่ยนทองนั้นจะมีค่าใช้จ่าย 2 ส่วนที่ท่านจะต้องโดนหักหรือจ่ายเพิ่ม คือ

1. ค่าน้ำประสานทองหรือค่าหลอม หักจากราคารับซื้อ

เวลาที่ช่างทองทำการขึ้นรูปทองรูปพรรณ เค้าจะต้องมีการใช้น้ำประสานทองในการเชื่อมทองตามข้อต่อต่างๆ ซึ่งน้ำประสานทองนี้เองจะมีเปอร์เซ็นต์ทองต่ำกว่าเนื้อทองคำปกติ เพราะเราต้องการให้จุดเชื่อมต่อต่างๆมีความแข็งแรง ซึ่งโดยธรรมชาติของทองบริสุทธิ์แล้วเป็นโลหะที่นิ่มมาก จึงต้องใช้ธาตุผสมอื่นๆที่มีสมบัติด้านความแข็งแรงเข้ามาช่วยมากขึ้น ทำให้น้ำประสานทองมีเปอร์เซ็นต์ทองต่ำลงนั่นเองค่ะ

หลังจากที่มีการรับซื้อทองเก่า ทางร้านทองจะต้องทำการเผาทองทั้งเส้นเพื่อพิสูจน์ทองว่าเป็นของแท้หรือไม่ เป็นเหตุให้น้ำหนักทองลดลงจากบริเวณที่มีน้ำประสานทอง เนื่องจากธาตุผสมที่ไม่ใช่ทองจะถูกไฟไล่ออกไปนั่นเองค่ะ ซึ่งแน่นอนค่ะว่าทองรูปพรรณลายที่ยิ่งซับซ้อนใช้น้ำประสานทองมาก น้ำหนักก็จะลดลงมากเช่นกันค่ะ โดยทองน้ำหนักยิ่งมาก ก็จะยิ่งเสียค่าน้ำประสานทองมากขึ้นไปด้วยค่ะ และโดยส่วนใหญ่แล้วค่าน้ำประสานทองนี้ก็จะขึ้นอยู่ว่าร้านทองแต่ละร้านจะคิดเท่าไหร่ค่ะ

นอกจากนี้ การใช้งานทองรูปพรรณโดยทั่วไปแล้ว ย่อมที่จะมีคราบขี้ไคล คราบสบู่ ติดมากับเนื้อทอง รวมถึงการที่เนื้อทองคำมีน้ำหนักลดลงเนื่องจากการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการขูด เสียดสี สึกหรอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองที่ร้านทองนำมาพิจารณาร่วมกับน้ำหนักทองที่ชั่งได้จากทางลูกค้า เพราะในกระบวนการหลอมทองเพื่อขึ้นรูปทองรูปพรรณใหม่ สิ่งเหล่านี้ไม่นับเป็นน้ำหนักทองที่มีมูลค่า ในทางกลับกัน กระบวนการหลอมขึ้นรูปจะทำได้ยากมากขึ้นหากมีสิ่งเจือปนเหล่านี้ในปริมาณมาก เหตุนี้เองทำให้ “ค่าหลอม” หรือ “ค่าน้ำประสานทอง” ถูกนับเป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดราคารับซื้อทองรูปพรรณเก่าของท่านค่ะ

โดยปกติในการเปลี่ยนทอง ร้านทองจะคิดค่าน้ำประสานทองหรือค่าหลอมจะถูกคิดที่ไม่เกิน 5% ของราคารับซื้อวันนั้นค่ะ

ตัวอย่างที่ 1 หากทองเก่าของท่านหนัก 2 สลึง ราคารับซื้อทองคำแท่งต่อบาทวันนั้นอยู่ที่ 19,800 บาท ราคารับซื้อทองเก่าของท่านหลังหักค่าน้ำประสานทองหรือค่าหลอมจะอยู่ที่ประมาณ 9,405 บาท [(19,800-5%)/2 = 9,405] (โดยมีค่าหลอม 5% อยู่ที่ 495 บาท)

2. ค่าเนื้อทองของทองชิ้นใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากทองชิ้นเก่า + ค่ากำเหน็จทองชิ้นใหม่

ค่าเนื้อทอง ก็คือ น้ำหนักทองที่เพิ่มเป็นส่วนต่างจากทองชิ้นเก่านั่นเองค่ะ สามารถใช้ราคาขายออกทองคำแท่ง ณ วันนั้นแล้วคำนวณตามน้ำหนักที่เพิ่มได้เลย คือ

ทองครึ่งสลึง = ราคาขายออกทองคำแท่งวันนี้(ต่อบาท) หาร 8,

ทอง 1 สลึง = ราคาขายออกทองคำแท่งวันนี้(ต่อบาท) หาร 4,

ทอง 2 สลึง = ราคาขายออกทองคำแท่งวันนี้(ต่อบาท) หาร 2,

ทอง 1 บาท = ราคาขายออกทองคำแท่งวันนี้(ต่อบาท),

ทอง 2 บาท = ราคาขายออกทองคำแท่งวันนี้(ต่อบาท) คูณ 2, …

ตัวอย่างที่ 2 หากท่านต้องการเพิ่มทองจากทองเก่าหนัก 2 สลึง เป็น 3 สลึง ในวันที่ราคาขายออกทองคำแท่งอยู่ที่ 19900 บาท

กรณีนี้ก็คือท่านอยากเพิ่มเนื้อทอง 1 สลึง ดังนั้นจะต้องเพิ่มเงินในส่วนค่าเนื้อทอง = 19,900 / 4 = 4,975 บาท

ส่วน ค่ากำเหน็จ หรือที่ชอบเรียกกันว่าค่าลายนั่นแหละค่ะ แน่นอนค่ะว่าหากมีการขายออกทองชิ้นใหม่ก็ย่อมต้องมีการเสียค่ากำเหน็จเป็นค่าตัวของทองชิ้นนั้นๆเสมอนะคะ ซึ่งค่ากำเหน็จทองแต่ละเส้น แต่ละร้านก็ไม่เท่ากันนะคะ อันนี้เป็นหน้าที่ของท่านเองที่จะต้องเปรียบเทียบราคาของแต่ละร้านค่ะ หรือไม่ถ้าท่านเป็นนักใส่ทองรูปพรรณอยู่แล้ว ก็ใช้หลักการถูกใจถูกราคาเลยก็ได้ค่ะ คือเลือกลายที่ถูกใจในราคาที่คิดว่าสมเหตุสมผลก็ได้ค่ะ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ค่าเนื้อทองของทองชิ้นใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากทองชิ้นเก่า + ค่ากำเหน็จทองชิ้นใหม่ สามารถคำนวณรวมกันเป็นราคาทองชิ้นใหม่ได้เลย ดังตัวอย่างต่อไปนี้ค่ะ

ตัวอย่างที่ 3 หากท่านเพิ่มทองเป็น 3 สลึง ค่ากำเหน็จ 700 บาทราคาขายออกต่อบาทวันนั้นอยู่ที่ 19,900บาท ราคาขายออกทองเส้นใหม่หลังรวมค่ากำเหน็จจะอยู่ที่ 15,625 บาท [(19,900/4 *3)+700 = 15,625]

ค่าเพิ่มทองคือการจ่ายค่าส่วนต่างของราคารับซื้อทองเก่า และราคาทองชิ้นใหม่

ดังจะเห็นว่าค่าเพิ่มทองจะเป็นไปตามสูตรนี้ค่ะ

                        ค่าเพิ่มทอง = ราคาทองชิ้นใหม่ – ราคารับซื้อทองเก่า  

ราคาทองชิ้นใหม่ = [ราคาขายออกทองคำแท่งวันนี้ แล้วทำให้เป็นราคาตามน้ำหนักทองที่ท่านต้องการ + ค่ากำเหน็จทองชิ้นใหม่]

ราคารับซื้อทองเก่า = [(ราคารับซื้อทองคำแท่งต่อบาทวันนี้ – ค่าน้ำประสานทองหรือค่าหลอม 5%ของราคารับซื้อ) แล้วทำให้เป็นราคาตามน้ำหนักทองเก่าของท่าน]

ตัวอย่างที่ 3 หากท่านต้องการเพิ่มสร้อยคอทองคำน้ำหนัก 2 สลึง  เป็น 3 สลึง โดยค่ากำเหน็จเส้นใหม่อยู่ที่ 700 บาท ราคาขายออกต่อบาทวันนั้นอยู่ที่ 19,900บาท และราคารับซื้อทองคำแท่งต่อบาทในวันนั้นอยู่ที่ 19800 บาท

จากสูตร            ค่าเพิ่มทอง = ราคาทองชิ้นใหม่ – ราคารับซื้อทองเก่า  

ท่านก็จะต้องเพิ่มเงิน = 15,625 – 9,405 = 6,220 บาท (ดูวิธีคำนวณจากตัวอย่างที่ 1 และ2)

ตัวอย่างที่ 4 หากท่านต้องการเพิ่มสร้อยคอทองคำน้ำหนัก 2 สลึง เป็น 1 บาท โดยค่ากำเหน็จเส้นใหม่อยู่ที่ 800 บาท และราคารับซื้อทองคำแท่งต่อบาทในวันนั้นอยู่ที่ 19,800 บาท

จากสูตร            ค่าเปลี่ยนทอง = ราคาทองชิ้นใหม่ – ราคารับซื้อทองเก่า  

ราคาทองชิ้นใหม่ = [(19900)+800] = 20,700 บาท

ราคารับซื้อทองเก่า = [(19800-5%)/2] = 9,405 บาท (โดยมีค่าหลอม 5% อยู่ที่ 495 บาท)

ดังนั้นท่านต้องจ่ายค่าเพิ่มทอง 2 สลึงชิ้นนี้เป็น 1 บาท = 20,700 – 9,405 = 11,295 บาท นั่นเองค่ะ

  • หมายเหตุ ราคารับซื้อทองคำแท่งจะน้อยกว่าราคาขายออกอยู่ 100 บาทเสมอ

ตามตัวอย่างที่ 3 และ 4 ท่านจะเห็นว่าราคาส่วนต่างนั่นก็คือค่าน้ำประสานทองหรือค่าหลอมตามน้ำหนัก รวมกับค่าเนื้อทองที่เพิ่มขึ้นมา และรวมกับค่ากำเหน็จทองชิ้นใหม่โดยประมาณนั่นเองนะคะ 

กรณีน้ำหนักทองเก่าของท่านไม่เต็ม ค่าเนื้อทองที่หายไปท่านก็จะต้องโดนหักไปด้วย

ในกรณีที่น้ำหนักทองเก่าของท่านไม่เต็มมาตรฐานดี ท่านจะต้องโดนหักค่ารับซื้อทองเก่าตามน้ำหนักทองที่หายไปด้วยนะคะ

ตัวอย่างที่ 5 ทองเก่าของท่านเป็นทอง 1 บาท น้ำหนักตามมาตรฐานอยู่ที่ 15.20 กรัม แต่ทองเก่าของท่านเหลือน้ำหนักเพียง 15.00 กรัม ดังนั้นราคารับซื้อทองเก่าจะกลายเป็น = [(ราคารับซื้อทองคำแท่งต่อบาทวันนี้ – ค่าน้ำประสานทองหรือค่าหลอม 5%ของราคารับซื้อ) แล้วทำให้เป็นราคาตามน้ำหนักทองของท่าน]

เช่น ราคารับซื้อทองคำแท่งวันนั้นอยู่ที่บาทละ 19,800

ราคารับซื้อจากที่ควรจะได้ = (19,800 – 5%) = 18,810 บาท

ก็จะเหลือเพียง = (19,800 – 5%)/15.20*15.00 = 18,560 บาท นั่นเองค่ะ

ในกรณีนี้เมื่อนำราคาที่รับซื้อไปหักลบจากราคาทองชิ้นใหม่ ก็จะเห็นว่าท่านจะต้องจ่ายค่าเพิ่มทองเพิ่มจากราคาที่ต้องจ่ายปกติอีก 250 บาทเป็นค่านเื้อทองที่หายไปจากทองเก่าค่ะ ทราบแบบนี้แล้วท่านคงจะต้องดูแลรักษาทองคำอันมีค่าของท่านอย่างดีเลยใช่มั้ยคะ เพราะน้ำหนักทุกๆกรัมทุกๆเศษเสี่ยวก็คือเงินทั้งนั้นเลยค่ะ

จากบทความข้างต้นที่ห้างทองพรทวีนำเสนอไป น่าจะทำให้ท่านพอจะทราบราคาที่ท่านต้องจ่ายเพิ่มในกรณีเพิ่มน้ำหนักทองกันแล้วใช่ไหมคะ ฉะนั้นก็ขอให้ท่านคำนวณราคาทองเบื้องต้นก่อนเข้าร้านทองเพื่อไปเพิ่มทองทุกครั้งนะคะ แล้วท่านจะเลิกสงสัยว่าร้านทองโขกราคาท่านหรือไม่ และซื้อทองเพิ่มทองเปลี่ยนทองได้อย่างสบายใจค่ะ

ท่านสามารถเลือกชมสินค้า และเช็คราคาทองแบบวันต่อวัน ได้ที่อัลบั้มสินค้าของเราได้เลยค่ะ

*ลิขสิทธิ์ บทความโดย บริษัท ห้างทองพรทวี จำกัด ไม่อนุญาตให้ทำซ้ำ คัดลอก เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขส่วนหนึ่งส่วนใดของเนื้อหา

ทองคํา 1 บาทมีกี่สลึง

SPONSORED. เนื่องจากหน่วยชั่งตวงวัดของไทย แบ่งน้ำหนัก 1 บาท ออกเป็น 4 สลึง ดังนั้น น้ำหนักทอง 1 สลึง คิดจากน้ำหนักทอง 1 บาท นำมาหารด้วย 4. ทองแท่ง 1 สลึง จะต้องมีน้ำหนัก 3.811 กรัม ทองรูปพรรณ 1 สลึง จะต้องมีน้ำหนัก 3.79 กรัม

ทองคํา 2 สลึง หนัก กี่ กรัม

เพราะฉะนั้น หากมีความต้องการจะซื้อทองคำมากกว่า 1 บาท ก็ให้นำน้ำหนักไปคูณกับจำนวนบาท แต่หากต้องการซื้อทองคำที่มีน้ำหนักครึ่งหนึ่งของบาท จะเรียกว่า 2 สลึง จะมีทั้งรูปแบบที่เป็นจี้ ต่างหู สร้อย และน้ำหนักของทองคำแท่ง 2 สลึง จะเท่ากับ 7.622 กรัม ทองคำรูปพรรณ จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 7.58 กรัม

1 เฟื้องมีค่าเท่าไร

เฟื้อง เป็นหน่วยเงินของประเทศไทยในสมัยโบราณ มีค่าเท่ากับ 18 บาท หรือ 12 สลึง หรือ 14 มายน

1สลึ่งมีกี่สตางค์

สลึง เป็นหน่วยเงินของประเทศไทยในสมัยโบราณ มีค่าเท่ากับ 14 บาท ปัจจุบันใช้เป็นภาษาพูดหมายถึงเงินมูลค่า 25 สตางค์ หรือน้ำหนักทองคำ 25 สตางค์