การบันทึกบัญชีเบื้องต้น เดบิต เครดิต

📈📉หลักบัญชีคู่ “เดบิต” & “เครดิต”

การบันทึกบัญชีเบื้องต้น เดบิต เครดิต

ในการลงบัญชีจะมีสองคำหลักๆ คือ เดบิต กับ เครดิต

◾️เดบิต = ส่วนที่อยู่ด้านซ้าย ของบัญชี ใช้สำหรับบันทึกสินทรัพย์และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น มีอักษรย่อว่า (Dr.)

◾️เครดิต = ส่วนที่อยู่ด้านขวา ของบัญชี ใช้สำหรับบันทึกหนี้สินส่วนของเจ้าของ รายได้เพิ่มขึ้น มีอักษรย่อว่า (Cr.)

ตัวอย่างเช่น

ฝั่งซ้าย “ด้านเดบิต (Dr.)”

สินทรัพย์ + ค่าใช้จ่าย

รายการฝั่งนี้เพิ่มขึ้น เดบิต

รายการฝั่งนี้ลดลง เครดิต

ฝั่งขวา “ด้านเครดิต (Cr.)”

หนี้สิน+ส่วนของเจ้าของ+รายได้

รายการฝั่งนี้เพิ่มขึ้น เครดิต

รายการฝั่งนี้ลดลง เดบิต

🌟 เดบิต ต้องเท่ากับ เครดิต เสมอ

📊สนใจผู้ช่วยวางแผนโครงสร้างธุรกิจ วางแผนภาษีและเครื่องมือจัดการธุรกิจดิจิทัลที่ตอบโจทย์ ติดต่อ AccRevo ได้เลยค่า

.

☑️☑️สนใจทดลองใช้ระบบ AccRevo ☑️☑️

สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ทดลองใช้งานฟรี 30 วัน

คลิกที่ลิ้งค์เลยค่า >> https://bit.ly/2H8HqFE

➡️ติดตามข่าวสาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ID Line : @accrevo

Facebook : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล

Instagram : accrevo_ai

Youtube chanel : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล

โทร : 086-531-6211

Website : www.accrevo.com

คนที่ยังไม่รู้ข้อมูลเบื้องต้นของการทำบัญชีแล้วกระโดดมาอ่านเรื่องเดบิตเครดิตเลยอาจจะงงสักหน่อยนะ ฉะนั้นจะต้องเรียนรู้ตั้งแต่การรู้ว่าบัญชีคืออะไร มีแบบไหนบ้าง ซึ่งปัจจุบันนี้ก็จะมีการทำบัญชีอยู่ 2 แบบ คือเป็นบัญชีเดี่ยว (Single-entry bookkeeping system) และบัญชีคู่ (Double-entry bookkeeping system) ชวนอ่านและทำความรู้จักกับระบบบัญชีทั้งสองแบบนี้ก่อนเพื่อความเข้าใจมากขึ้นในการทำบัญชี

1. บัญชีเดี่ยว (Single-entry bookkeeping system)

ส่วนมากก็จะทำบัญชีแบบนี้กัน หลายคนก็คงจะรู้จักและคุ้นเคยกับการทำบัญชีเดี่ยวเป็นอย่างดีแล้ว เพราะว่ามันก็จะเหมือนการทำบัญชีรายรับรายจ่ายนั่นเอง เป็นการทำบัญชีที่ง่ายมาก ๆ แล้ว ซึ่งก็จะมีรายการเป็น วันที่ รายการ รายรับ รายจ่าย และคงเหลือ

ซึ่งการทำบัญชีแบบนี้ก็ยังไม่ต้องมีการคิดถึงเดบิตเครดิตกัน ส่วนมากร้านเล็ก ๆ จะนิยมใช้เพราะว่าไม่มีอะไรให้ต้องคิดวิเคราะห์เยอะแยะ แต่ว่าหากมีสินทรัพย์มาเกี่ยว หนี้สินมาพัวพันด้วยระบบบัญชีเดี่ยวนี้เริ่มจะไปต่อยากแล้ว ปัญหาก็จะตามมาว่าเราจะลงบัญชียังไง ฉะนั้นเลยจะต้องมีระบบบัญชีคู่ เพื่อมาแจกแจงรายการเหล่านี้

2. บัญชีคู่ (Double-entry bookkeeping system)

หากเป็นในรูปแบบของธุรกิจ เป็นกิจการ บริษัทใหญ่แล้วจะต้องทำบัญชีคู่ เพราะจะช่วยให้ลงรายการต่าง ๆ ได้ดีกว่า ละเอียดกว่า และในการลงรายการนั้นก็จะต้องย้อนกลับไปคิดถึงหมวดหมู่บัญชีทั้ง 5 ด้วย ซึ่งจะมี สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายรับ และ รายจ่าย เป็นต้น ซึ่งแต่ละหมวดก็ยังแตกย่อยออกไปได้อีกด้วย

จะทราบได้อย่างไรว่ารายการไหนอยู่ในหมวดบัญชีไหน เพราะว่าจะต้องรวมสิ่งที่เหมือนกันให้อยู่ในหมวดเดียวกัน ยกตัวอย่างในแต่ละหมวดบัญชีทั้ง 5 ดังนี้

  1. สินทรัพย์ เราก็รวมทุกอย่างที่มองแล้วมันคือสินทรัพย์ เช่น หุ้น ทอง ค่าเช่าล่วงหน้า อาคาร ที่ดิน เงินสด เงินในบัญชีธนาคาร ค่าประกันรถยนต์ เป็นต้น
  2. หนี้สิน สิ่งที่เรามองแล้วมันคือหนี้ก็เอามาลงในหมวดนี้เลย เช่น หนี้บัตรเครดิต เจ้าหนี้การค้า ภาษีค้างจ่าย เงินเดือนค้างจ่าย หนี้ยืมเพื่อนมา เป็นต้น
  3. ส่วนของเจ้าของ อะไรที่มาจากเจ้าของกิจการใช่หมดเลย เช่น เงินที่เจ้าของนำมาลงทุน เงินเจ้าของถอนไปใช้ กำไรสะสม เป็นต้น
  4. รายรับ ง่าย ๆ เลยสำหรับหมวดนี้ อะไรที่เป็นรายรับก็นับหมด เช่น ยอดขาย เงินเดือน ดอกเบี้ยรับ เป็นต้น
  5. รายจ่าย อะไรที่เป็นการจ่ายออกไปนับเป็นหมวดรายจ่ายหมดเลย แต่จะต้องเกี่ยวข้องกับกิจการด้วยนะ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าภาษีค่าเช่า เงินเดือนพนักงาน เป็นต้น

สำหรับการแตกย่อยในแต่ละหมวดนั้น ก็จะแตกไปเป็นรายการเลย ซึ่งในการแตกหมวดหมู่นั้นก็อยู่ที่ว่าทำบัญชีในมุมมองของใคร เช่น บัญชีสำหรับเจ้าของธุรกิจหรือสำหรับพนักงาน หมวดแยกเลยจะต่างกัน ยกตัวอย่างการแตกย่อยก็จะเป็น รายรับ : เงินเดือน หรือ รายรับ : ดอกเบี้ยเงินฝาก หรือรายรับอื่น ๆ อีก เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละเล่มนั้นต้องมีเดบิตเครดิตด้วย

ยกตัวอย่างการทำบัญชี

วันที่ 27/02/2564

คนรู้จักนำเงินมาฝากเราเอาไว้ 5,000 บาท

เกิดรายการดังนี้

สินทรัพย์เพิ่ม

หนี้สินเพิ่ม

Dr สินทรัพย์: เงินสด 5,000

Cr. หนี้สิน: เจ้าหนี้ (คนรู้จัก) 5,000

ลองมองดี ๆ มันอาจจะดูแปลก ๆ สักหน่อยเขาเอาเงินมาฝากที่เราแล้วเขาเป็นเจ้าหนี้เราได้อย่างเรา ซึ่งมันก็เหมือนกับที่ธนาคารมองเดบิตเครดิตเหมือนกับเรานำเงินไปฝากกับทางธนาคารแล้วเราก็กลายเป็นเจ้าหนี้ของธนาคาร พอเราใช้บัตรเดบิตธนาคารก็เป็นหนี้เราน้อยลงจะประมาณนี้เลยมีบัตรที่ชื่อว่าเดบิตเครดิต แต่ก็ย้ำอีกครั้งว่ามันไม่ได้เกี่ยวข้องกันเวลาทำบัญชีมันไม่เกี่ยวกับบัตรเหล่านี้นะ