ลืม ต่อดอก ร้านทอง 2 เดือน

ทนายความ “รัชพล” แนะ 10 ข้อควรรู้ก่อนจำนำทอง ต้องไถ่คืนภายในกำหนด หากปล่อยให้เลยสิทธิ์ถูกยึด

จากกรณีกระแสข่าวมีผู้นำทองไปจำนำกับร้านทอง แต่เมื่อจะไถ่คืนกลับถูกทางร้านบ่ายเบี่ยงนั้น (อ่านข่าวก่อนหน้า กรมการปกครอง ล้อมคอก เรียก 2 ฝ่ายเคลียร์ดราม่าไม่ให้ไถ่สร้อยทองคืน) ทางด้าน ทนายรัชพล ศิริสาคร เจ้าของเพจสายตรงกฎหมาย ได้ให้ข้อแนะนำทางกฎหมายเกี่ยวกับการจำนำทองไว้ 10 ข้อดังนี้ว่า

1. การจำนำทอง ที่โรงรับจำนำ จะเป็นการจำนำ ถ้าหลุดจำนำ จะเอาไปวางขายทอดตลาด เจ้าของยังมีโอกาสไถ่คืน

2. การจำนำทองที่ร้านทอง อาจเป็นการขายฝาก ขายฝากถ้าหลุดแล้วทองตกเป็นของร้านทันที ให้ดูเอกสารว่าเป็นจำนำหรือขายฝาก แต่ร้านทองส่วนใหญ่เป็นขายฝาก เพราะจะได้ยึดทองได้เลยไม่ต้องไปรอขายทอดตลาด เจ้าของถ้าอยากได้คืนอาจต้องซื้อคืนในราคาที่สูง

3. จำนำที่ร้านทองหรือโรงรับจำนำ มีผลต่างกันตามข้อ 1 และข้อ 2 เลือกเอาเอง แล้วแต่ความสะดวกและความไว้ใจ

4. เวลาไปไถ่ ถ้าร้านอ้างว่าไม่ว่าง ไม่อยู่ ไม่สบาย พ่อตาย ฯลฯ ถือเป็นความผิดของร้าน หากเกิดความเสียหาย ร้านต้องรับผิดชอบ ซึ่งผู้ไถ่สามารถไปติดต่อสำนักงานวางทรัพย์เพื่อวางเงินค่าไถ่ได้ ถือว่าได้ไถ่แล้ว ถ้าอยู่ในกำหนดก็จะไม่เกิดความเสียหาย

5. ในใบจำนำหรือใบขายฝาก ตรวจสอบดอกเบี้ยที่ตกลงกันให้ชัดเจน

6. ในใบจำนำหรือใบขายฝาก ตรวจสอบมูลค่าทองให้ชัดเจน ถ้าร้านทำทองหาย ร้านต้องรับผิดชอบตามมูลค่าทองที่ฝากไว้

7. ในใบจำนำหรือใบขายฝาก ตรวจดูกำหนดไถ่ให้ชัดเจน

8. ถ้าร้านทำทองหาย สามารถเรียกค่าเสียหายเป็นเงินสดได้ ไม่ต้องรอร้านทำทองมาทดแทน เดี๋ยวร้านจะดึงเกม กำหนดวันชดใช้ค่าเสียหายให้ชัดเจน

9. การจำนำหรือขายฝากกับเพื่อนกันเอง ควรทำสัญญาไว้ หรือเอาเอกสารมาเขียนเป็นหลักฐาน ลงรายละเอียดชัดเจน

10. ถ้าไปไถ่แล้วร้านไม่คืน รีบปรึกษาสำนักงานวางทรัพย์ หรือสถานีตำรวจ หรือผู้รู้กฎหมายโดยด่วน อย่าปล่อยให้เลยกำหนด เพราะอาจถูกยึดทองได้.

ห้างทอง เอ เอ เยาวราช มีบริการขายฝากทองหรือการจำนำทอง ซี่งทางร้านมีนโยบายการขายฝากที่เป็นจุดแข็งของทางร้าน คือ การคิดอัตราเรทขายฝากในราคาสูง และมีการคิดดอกเบี้ย ร้อยละ 2 บาท ต่อเดือน ถ้าจำนำไม่ถึงเดือนหรือไถ่ถอนสินค้าก่อนกำหนดทางร้าน จะคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน ซึ่งถือว่าเป็นการบริการที่ลูกค้าจะได้รับรับความพึงพอใจมากสุด


การขายฝากทอง จำนำทอง คืออะไร?

การขายฝากทองหรือที่เรียกกันว่าการจำนำทอง คือ การที่เจ้าของทองนำทองมาเป็นหลักค้ำประกัน โดยทางร้านจะมีการกำหนดอัตราขายฝากไว้ ส่วนการไถ่ถอนทองคืนจะสามารถไถ่ถอนได้ก่อนหรือเมื่อครบกำหนด ผู้ขายฝากทองจะต้องจ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน หรือจ่ายดอกเบี้ยเป็นรายวันหากจำนำไม่ถึงเดือน และหากไม่มาไถ่ถอนคืนหรือจ่ายดอกเบี้ย ทางร้านซึ่งเป็นผู้รับจำนำสามารถนำทองไปขายทอดตลาดได้ การจำนำทองจะมีดอกเบี้ยไม่สูงเหมือนบัตรเครดิตหรือสินเชื่ออื่นๆ จึงเป็นที่นิยมมาก

สำหรับผู้ที่สงสัยว่าการขายฝากทองต่างจากการขายทองอย่างไร เราขออธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ ดังนี้ การขายทองเป็นการนำทองที่เรามีอยู่ไปขายที่ร้านทอง โดยจะมีการหักราคาค่าสึกหรอ รวมถึงในกรณีที่เป็นทองรูปพรรณจะหักค่ากำเหน็จ กรณีที่เป็นทองคำแท่งจะหักค่าบล็อก ส่วนการขายฝากทองนั้นมีรูปแบบเหมือนการนำทรัพย์สินไปจำนำเพื่อเป็นหลักค้ำประกัน โดยต้องจ่ายดอกเบี้ยตามกำหนดทุกเดือนจนกว่าจะครบกำหนดไถ่ถอน แปลว่าทองยังคงเป็นทรัพย์สินของเราอยู่ แต่ถ้าไม่มาชำระเงินตามนัดหรือตามกำหนดไถ่ถอน ผู้รับขายฝากทองจะนำทองไปขายได้


ขั้นตอนการขายฝากทอง จำนำทอง

  • รับสินค้าจากลูกค้า นำไปชั่งน้ำหนัก และตรวจสอบสินค้า
  • ประเมินราคาขายฝากทอง
  • ตกลงทำสัญญาพร้อมแสดงบัตรประชาชน
  • ลูกค้ารับเงินพร้อมตั๋วจำนำสำหรับไถ่ถอนทองคืน

เงื่อนไขการขายฝากทอง จำนำทอง

  • ทางร้านรับฝากทองคำ 96.5% และ ทองคำ 99.99% ทุกชนิด
  • สัญญาขายฝากเป็นการนำทองมาขายฝากไว้กับทางร้าน โดยมีระยะเวลาที่กำหนดไถ่คืนสูงสุด 3 เดือน และสามารถขยายกำหนดเวลาไถ่ทองคืนได้
  • ผู้ขายฝากจะต้องชำระดอกเบี้ยตามกำหนดไว้ในสัญญา
  • ลูกค้าสามารถผ่อนชำระเงินต้นขั้นต่ำ 500 บาท
  • ในกรณีลูกค้าไม่สามารถมาชำระค่าดอกเบี้ยได้ตามกำหนด ทางร้านยืดระยะเวลาให้อีก 7 วัน
  • ทางร้านคิดดอกเบี้ยตามจำนวนวันที่ลูกค้ามาขายฝากจริง

ขั้นตอนการไถ่ถอนทองคืน

  • เตรียมตั๋วจำนำพร้อมบัตรประชาชนของลูกค้ามาที่หน้าร้านสาขาที่ลูกค้าใช้บริการ
  • ลูกค้าชำระดอกเบี้ยตามกำหนดไว้ในสัญญา
  • ลูกค้าตรวจสอบทองและรับทองคืนเงิน

เงื่อนไขการไถ่ถอนทองคืน

  • ลูกค้าต้องเตรียมตั๋วจำนำพร้อมบัตรประชาชนมาทุกครั้งที่มาไถ่ถอนทองคืน (ชื่อและบัตรต้องตรงกันทุกครั้ง)
  • หากไม่ได้นำบัตรประชาชนติดตัวมาด้วย ลูกค้าจะไม่สามารถไถ่ถอนทองคืนได้
  • ในกรณีที่ฝากบุคคลอื่นมาไถ่ถอนคืน ต้องนำบัตรประชาชนของบุคคลที่จะมาไถ่ถอนแทน พร้อมบัตรประชาชนของลูกค้าที่จำนำมาด้วยเท่านั้น
  • ทางร้านคิดอัตราดอกเบี้ยคิดร้อยละ 2 ต่อเดือน (31วัน) อัตราดอกเบี้ยรายวันขั้นต่ำ 1 วัน เท่ากับ 20 บาท ขึ้นอยู่ที่จำนวนเงินของลูกค้าที่ได้จำนำไป
  • ในกรณีไม่ถึงกำหนดไถ่ถอน ทางร้านจะคิดอัตราดอกเบี้ยตามวันจริง เช่น จำนำไว้ 5 วัน คิดดอกเบี้ยแค่ 5 วัน
  • ยอดเงินต้นสามารถเพิ่มได้ในกรณีที่คุณลูกค้าจำนำไว้และรับเงินไปไม่เต็มวงเงินจำนำที่ทางร้านกำหนด สามารถลดต้นได้ขั้นต่ำ 500 บาทขึ้นไป
  • ในกรณีตั๋วจำนำชำรุดหรือสูญหาย ลูกค้าต้องไปแจ้งความเพื่อนำใบแจ้งความมายืนยันตัวตนกับทางร้านเท่านั้น จึงจะสามารถดำเนินการไถ่ถอน ต่อดอกเบี้ย หรือขอใบตั๋วจำนำใหม่ให้ได้ตามกฎของทางร้าน

ลืม ต่อดอก ร้านทอง 2 เดือน

รบกวนทีค่ะใครพอทราบบ้างค่ะ ในกรณีที่เราเอาทองไปจำนำแล้วขาดส่งดอกเป็นเวลา4 เดือนกับอีก7วัน เรายังสมารถไถ่ถอนคืนได้หรือเปล่าค่ะ

2 ต.ค. 2558, 10:18

2 ต.ค. 2558, 10:20

Montree

ถ้าเจอร้านใจดีไม่มีปัญหา

2 ต.ค. 2558, 10:23

ขจรศักดิ์

อ่านข้อกำหนดข้างหลังดูแต่น่าจะได้นะ

2 ต.ค. 2558, 10:29

Pegarjoo

ทำไมไม่ไปถามร้านที่เอาทองไปจำนำคะ

2 ต.ค. 2558, 10:33

Attaporn

เบอร์โทรทางร้านก้อไม่มีเหรอครับ

2 ต.ค. 2558, 10:38

Nam

ลองติดต่อขอดูได้ที่ร้านคะว่ายังอยู่ไหม ?

2 ต.ค. 2558, 10:39

Katie

ที่บัตรที่โรงรับจำนำให้มา ไม่มีเบอโทรหรอคะ ถ้าไม่มี ก้ลองเอาชื่อร้านบนบัตรเสิร์ชกูเกิ้ลค่ะ

2 ต.ค. 2558, 10:40

May

โหย ขาดสี่เดือน ยากอยู่นะคะ

2 ต.ค. 2558, 10:47

Saintza

ไม่ได้ครับ ของผมเอาแหวนทองไปจำ ขาด 20 วัน ร้านบอก เอาไปหลอมใหม่แล้ว -..-" แต่ก็ลองไปถามดูครับ โชคดีของอาจยังอยู่

2 ต.ค. 2558, 10:57

Yammy

ไม่ได้แล้วค่ะ

2 ต.ค. 2558, 11:06

เบ้น

ลืมบอกไปค่ะจำที่โรงรับจำนำของสาราณุบาลค่ะหรือของรัฐค่ะเราคงมีสิทธิไถ่คืนได้หรือเปล่าค่ะ

2 ต.ค. 2558, 11:14

Pegarjoo

สรุป แทนที่คุณจะมามัวถามคนในนี้ เราว่า คุณหาเบอร์ในตั๋วจำนำ แล้วโทรไปถามให้เคลียร์เลยดีกว่า

2 ต.ค. 2558, 11:20

Eye

ของเราจำนำตรงแถวข้างโรงแรมสามชัย เขาให้4เดือนล่าช้าอิกเดือน รวมเป็น5 เดือน เลยไปวันเดียวก็ไม่ให้ค่ะ โดนมาแล้ว

2 ต.ค. 2558, 11:27

พรหมลักษณ์

ไปติดต่อด่วนเลย ถามในนี้ไม่ใช่เจ้าของร้าน คำตอบก็ไม่ได้อยู่ดี

2 ต.ค. 2558, 11:29

เรื่องเกียรติ

สวัสดีครับ. ถ้ารถเสียแนะนำอย่าเข้าร้า. ณรงค์แอร์. หน้าตลาดโรงกะถังนะครับ มันหว่ยแตกมาก. ซ่อมรถผมพังไปคันแล้วคับ. ช่วยแชร์บอกพี่น้อง เพื่อนๆ ศรีราชาด้วยครับ. ขอบคุณครับ

2 ต.ค. 2558, 11:30

พรหม'ลิขิต

อยูที่ตั๋วจำนำว่าลงไว้กี่เดือนถึงจะขาดส่ง

2 ต.ค. 2558, 11:56

Sujintar

ถ้าเป็นโรงรับจำนำ อีซี่ ของศรีราชาน่าจะได้อยู่นะค่ะ

2 ต.ค. 2558, 11:59

Napassanan

ตอนแรกน่าจะโอนเงินให้ญาติคุณไปต่อดอก ปล่อยไว้สี่เดือนคงต้องทำใจ

2 ต.ค. 2558, 12:05

Boong

ถ้าเป็นโรงรับจำนำวันเดียวเค้าก็ไม่ให้ค่ะ..แต่ลองโทรไปถามเค้าดูเผื่อเค้าให้ค่ะ

2 ต.ค. 2558, 12:10

ลุงตี๋

ต่อดอกของ สถานธนานุบาล 4 เดือนต่อ1ครั้ง นะครับ ไม่ต้องไปทุกเดือนครับ อีกอย่างเพิ่งไปต่อเมื่อ เดือน8 เดือน12ถึงจะได้ต่อิกทีนึงครับ แต่ถ้าไม่ต่อเลย คือ ครบกำหนดต่อแล้วไม่ดำเนินการ ก็จะยืดให้อีก 1 เดือนครับ รวมเป็น ไม่เกิน 5 เดือน

2 ต.ค. 2558, 12:11

Palida

ตามนี้เลยค่ะ

2 ต.ค. 2558, 12:26

เบ้น

ค่ะคือถ้าเราขาดส่งดอกนานติดต่อกันเกิน4แล้วประมานอีก7วันเรายังมีสิทธิที่จะไถ่คืนได้ไหมค่ะ

2 ต.ค. 2558, 12:28

Palida

ได้ค่ะ ไปเลย

2 ต.ค. 2558, 12:40

Yutthana

ได้ครับ ร้านทองส่วนใหญ่ไม่ต้องการยึดทองเราหรอกครับ

2 ต.ค. 2558, 15:16

Chatri

โทรไปถามร้านที่จำนำไว้สิคับ

2 ต.ค. 2558, 15:39

ทวิช

ต้องลองไปคุยกับทางร้านดูก่อนนะครับ

ต่อดอกร้านทองช้าได้กี่วัน

สัญญาขายฝากมีกำหนดระยะเวลาให้สามารถชำระดอกเบี้ยเพื่อต่อดอกหรือไถ่ถอนคืนได้ภายใน 2 เดือน

จํานําทอง เลยกําหนดได้กี่วัน

ตอบ : การขาดส่งดอกเบี้ยเกินระยะเวลา 4 เดือน 30 วัน ตาม พรบ.โรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 จะถือว่าทรัพย์ที่นำมาจำนำนั้นกลายเป็นทรัพย์หลุดเป็นสิทธิ์แก่โรงรับจำนำ โดยทั่วไป ท่านจะต้องทำการประมูล หรือซื้อคืน แต่ “โรงรับจำนำอีซี่มันนี่” ผ่อนผันให้ท่านมีโอกาสส่งดอกเบี้ยเพิ่มได้อีก 5 วัน นับแต่วันที่ตั๋วครบกำหนดระยะเวลา 4 เดือน 30 วัน

ทองหลุดจำนำกี่เดือน

ในกรณีนี้ ทางร้านทองจะออก “ตั๋วขายฝาก” ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ทองจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากหรือร้านทอง พร้อมทำข้อตกลงเรื่องระยะเวลาสิทธิของผู้ขายฝากที่สามารถไถ่คืนทองได้ ซึ่งโดยปกติระยะเวลาการไถ่ถอนจะอยู่ที่ 3 เดือน นอกจากนี้ การขายฝากจะยังมีการคิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.5-2% ต่อเดือนอีกด้วย และที่สำคัญ หากเจ้าของ ...

โรงรับจํานําเกินได้กี่วัน

เมื่อเกินกว่า 15 วันขึ้นไป จะคิดดอกเบี้ย หนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันที่ที่มาติดต่อครั้งที่แล้ว (หรือตามวันที่หน้าตั๋วจำนำใบที่เรามาติดต่อในครั้งล่าสุด) เช่น เรามาจำนำในวันที่ 1 มีนาคม 2563 ในวันที่ 5 มีนาคม 2563 เราต้องการมาไถ่ถอนของละ เราจะต้องเสียดอกเบี้ยเป็นเวลาครึ่งเดือน หรือ ในวันที่ 2 เมษายน 2563 เราต้องการมาส่ง ...