ตัวอย่าง การ เขียน โครงการ งาน วิจัย

14.5 �Ըա�����Ǻ��������� : ���Ըչ�Ẻ�ͺ������������ԡ�õͺ �¡������Ẻ�ǵ�� (��˹��ӹǹ �� �����дѺ����֡�� ��ҵ�ͧ��èӹǹ���ҧ�������) ����dz��ҹ (17-11) �ӹǹ 200 �ش �����龹ѡ�ҹ���ҹ (17-11) ᨡẺ�ͺ����������ԡ��������Ѻ��Ѻ�׹

หน่วยที่ 3

การเขียนโครงการวิจัย

เรียบเรียงโดย ผศ. พิพิษณ์ สิทธิศักดิ์

[email protected]

แบบ เสนอโครงการวิจัย (research project) หรือโครงร่างการวิจัย (Research Proposal) หมายถึง แบบแปลนหรือแผนในการแสวงหาความรู้ โดยแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความเป็นไปได้ในการดำเนินการวิจัย โดยสามารถดำเนินการให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายได้ ดังนั้น ก่อนที่นักวิจัยจะทำการวิจัย จะต้องมีการวางแผนงานเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการวิจัยไว้ล่วงหน้า สำหรับนักศึกษาที่ทำศิลปะนิพนธ์ระดับปริญญาตรี จะใช้คำว่า “เค้าโครงศิลปะนิพนธ์”

การเขียนโครงร่างการวิจัย (Research proposal) นอกจากจะทำให้ผู้วิจัยทราบขั้นตอนและรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนของการทำวิจัย แล้ว ยังใช้เป็นเครื่องมือในการนำเสนอขอรับการสนับสนุนหรือขอความเห็นชอบในการ อนุมัติให้ดำเนินการวิจัย เพื่อให้ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่า การวิจัยที่จะทำนั้นมีระเบียบวิธีการวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ในการทำวิจัยให้สำเร็จ และประโยชน์ สมควรได้รับการอนุมัติให้ทำการวิจัยได้ (ผศ.ดร.ถิรพงษ์ ถิรมนัส คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา)

โดยทั่วไปแต่ละหน่วยงานจะกำหนด แบบฟอร์มของแบบเสนอโครงการวิจัย ที่มีหัวข้อหรือองค์ประกอบมากน้อยแตกต่างกันไปแต่ละหน่วยงาน แต่ส่วนใหญ่จะมีคำชี้แจงประกอบการเขียน เพื่อให้นักวิจัยเขียนแบบเสนอโครงการวิจัยไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น นักวิจัยจึงต้องเขียนให้สอดคล้องกับคำชี้แจงหรือคำแนะและครอบคลุมหัวข้อ ต่างๆ อย่างครบถ้วน

การเขียนโครงการวิจัยมักนิยมเขียนแบบพรรณนา บรรยายให้เห็นถึงลักษณะของโครงการวิจัย ความเป็นมา กระบวนการวิจัย และการบริหารโครงการตั้งแต่ต้นจนเสร็จสิ้นโครงการ ตามลำดับหัวข้อของแบบเสนอโครงวิจัยแต่ละหน่วยงาน

ปัญหาในการเขียน โครงการวิจัยสำหรับนักวิจัยมือใหม่ หรือนักศึกษาที่ทำศิลปะนิพนธ์ คือ มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และระเบียบวิธีวิจัยยังไม่แน่นพอ รวมทั้งขาดทักษะและประสบการณ์ในการเขียนเชิงพรรณนา ทำให้ขยายความแต่ละหัวข้อหรือแต่ละประเด็นไม่กว้างขวางและครอบคลุมในสิ่งที่ ต้องการนำเสนอ นอกจากนี้ยังพบว่าขาดทักษะการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องและสละสลวย (สิน พันธุ์พินิจ 2553 : 338-340)

สิ่งสำคัญที่สุดในการเขียนโครงร่างการ วิจัยที่ดี ก็คือความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของผู้ที่จะการวิจัยว่าจะทำวิจัย เรื่องอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร จะใช้ระเบียบวิธีการศึกษาอะไรและอย่างไร และงานวิจัยนั้นมีประโยชน์อะไรบ้าง ซึ่งหากผู้ที่ทำวิจัยไม่มีความชัดเจนในเรื่องต่างๆเหล่านี้แล้ว ก็ยากที่จะเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่ดีได้ (คณะกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย) โครงร่างการวิจัย ควรมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้

1. ชื่อเรื่องวิจัย

2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย

3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (วัตถุประสงค์ของการศึกษา)

4. คำถามของการวิจัย

5. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

6. สมมติฐาน* และกรอบแนวความคิดในการวิจัย*

7. ขอบเขตของการวิจัย

8. การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย*

9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

10. ระเบียบวิธีวิจัย

11. ระยะเวลาในการดำเนินงาน

12. งบประมาณค่าใช้จ่ายในการวิจัย

13. บรรณานุกรม

14. ภาคผนวก*

15. ประวัติของผู้ดำเนินการวิจัย

* ไม่จำเป็นต้องมีทุกโครงการ

อย่าง ไรก็ตาม รูปแบบโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และเค้าโครงศิลปะนิพนธ์ของวิทยาลัยเพาะช่าง จะมีหัวข้อดังนี้