ตัวอย่าง เหตุผล ในการขอย้ายโรงเรียน

เหตุผลพอไหมที่จะย้ายโรงเรียน

ตั้งกระทู้ใหม่

สวัสดีค่ะ คือเราอยากจะย้ายโรงเรียนและไม่รู้ว่าเหตุผลที่จะย้ายมันดูสมควรไหม เลยมาปรึกษาเพื่อนๆ ชาวเด็กดีค่ะ ยาวหน่อยนะคะ ตอนนี้เราเรียนอยู่โรงเรียนนึงซึ่งเป็นโรงเรียนที่ไม่ได้อยู่ในจังหวัดบ้านเราค่ะหรือที่เรียกง่ายๆว่าเรียนโรงเรียต่างจังหวัดนั่นเอง ตั้งแต่ม.1 จนปัจจุบันม.4 ความจริงเราอยากจะไปต่อที่อื่นตั้งแต่เข้าม.4 แล้ว แต่มันมีเหตุจำเป็นนึงที่ทำให้เราต้องต่อม.4ที่เดิม แต่ตอนนี้เหตุจำเป็นนั้นไม่อยู่แล้ว และมีเรื่องราวอีกพอสมควรที่ทำให้เราอยากไปจากที่นี่ เรื่องแรกเลยนะคะคือไม่ค่อยโอเคกับสังคมที่โรงเรียนเลยเราพบเจอมาตั้งแต่ม.1จนตอนนี้มันเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มันคือสังคมเห็นแก่ตัว เด็กในโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นเด็กที่พ่อแม่มีฐานะหน่อยค่ะ ส่วนใหญ่จึงชอบทำอะไรตามใจไม่มีความเกรงใจคนอื่น และอีกอย่างค่ะคือโรงเรียนเราชอบสร้างภาพค่ะ คุณครูจะประกาศเสมอว่าเด็กคนไหนที่มีความประพฤติไม่เรียบร้อยจะไม่มีสิทธิ์ต่อในระดับต่อๆไป แต่ทุกครั้งเราจะเห็นเลยว่าเด็กพวกนั้นจะมาเรียนได้ต่อย่างหน้าตาเฉยและสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นอยู่เรื่อย เราก็พอรู้มาค่ะว่ามีการยัดเงิน เด็กพวกนี้มีเกรดเฉลี่ยไม่ถึงหนึ่งด้วยซ้ำมักมีเรื่องตบตี ชู้สาว ไม่มีมารยาทด้วยค่ะ และอีกอย่างใกล้ตัวเลยคือเพื่อนเราเองค่ะ เราไม่ได้มีปัญหากันแต่เราเบื่อกับบางอย่าง เบื่อความเห็นแก่ตัว เบื่อการชอบดูถูก เรื่องเห็นแก่ตัวนี่มีทุกคนเลยค่ะ เช่นเวลามีงานกลุ่มเราจะเป็นคนนำทำเสมอพอเพื่อนเห็นเราทำเค้าก็จะมีถามบ้างค่ะ ว่ามีไรให้ช่วยไหมพอเราให้งานไปเค้าก็จะทำแบบไม่ตั้งใจจนเราต้องมาทำใหม่ หรือที่หนักเลยคือจะไม่มีการถามเลย ปล่อยให้เราทำคนเดียว และสนุกเค้าเลยค่ะคือเราไม่ชอบพูดไม่อยากมีปัญหา เป็นอย่างนี้มาตลอด4ปีเลยค่ะ และไม่ได้เป็นเฉพาะกลุ่มเพื่อนที่เราเจอนะคะ กลุ่มอื่นเราก็เห็นว่าอย่างนั้น และอีกเหตุผลที่อยากจะย้ายคือลดค่าใช้จ่ายค่ะ เราเรียนที่นี่มีค่าใช้จ่ายเยอะมาก ทั้งที่เป็นโรงเรียนรัฐบาล แต่ค่าเทอมแพงกว่าโรงเรียนรัฐบาลทั่วไปสองเท่า มีการจ่ายนู่นนี่ตลอดเวลา ยิ่งช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ๆ จ่ายเป็น1000กว่าบาทต่ออาทิตเลย ไม่รวมค่ากินค่าใช้นะคะ และโรงเรียนไม่มีการทัศนศึกษาค่ะ ทั้งที่เราเห็นโรงเรียนรัฐบาลทั่วไปเค้าจะมีกันทุกๆปีเราก็งงค่ะ และในขณะนี้เราอยู่ม.4 เรายังต้องเรียนลูกเสือค่ะ แต่เป็นลูกเสืออากาศบังคับเรียนด้วย ค่าชุดก็แพงอยู่ค่ะ ไปเข้าค่ายก็ต้องจ่ายค่ารถค่ากินค่าที่พักเองอีกด้วย ซึ่งเราก็งงอีกว่าบังคับเราเรียนแล้วจะยังต้องจ่ายนู่นนี่อีกหรอ นี่เป็นปัญหาภายในโรงเรียนค่ะ ส่วนปัญหาส่วนตัวเราคืออยากลดค่าใช่จ่ายในบ้านคือเราต้องจ่ายค่ารถประมาณ4000บาทต่อเดือน เนื่องจากเราต้องไปรถประจำทางไม่มีรถประจำค่ะ ในตอนเช้ารถจะมาเร็วมากและถ้ารอรอบต่อไปก็จะไปเรียนสายค่ะ เราจะถึงโรงเรียนก่อนทุกคนทั้งโรงเรียนรวมถึงยามด้วยค่ะ และตอนเย็นแต่ละวันเราก็ต้องรอรถอย่างไร้จุดหมาย เราต้องนั่งรอรถวันนึงเป็นชม.ๆ กว่าจะถึงบ้านก็ 6โมง 6โมงกว่า เราท้อมากเลยค่ะ แต่ละวันกลับบ้านมาเราเหนื่อยมาก เข้าห้องทำการบ้านจนดึกก็นอนเลย แต่ละวันแทบไม่ได้คุยกับคนในบ้าน และหลายครั้งคนจะถามว่าทำไมไปเรียนถึงนู่นโรงเรียนในจังหวัดบ้านเราดีๆเยอะแยะ รู้สึกแย่เลยค่ะ และตอนนี้เราคิดว่าถ้าเราเลือกได้ที่จะไปเราควรจะไปไหมไปที่ที่สะดวกสบายกว่านี้

ขอบคุณที่อ่านจนจบค่ะ ขอบคุณจริงๆ

รายชื่อผู้ถูกใจกระทู้นี้ คน

เขียนย้ายอย่างไรให้ได้ย้าย สวสัดีครับวันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมมีเรื่องราวดีดีมานำเสนอให้ทุกท่านได้รับทราบเช่นเคยครับ โดยวันนี้ครูอัพเดตขออนุญาตนำเสนอบทความที่เป็นเหมาะสำหรับคุณครูที่ต้องการย้ายสถานศึกษา ซึ่งการย้ายสถานศึกษาของคุณครูก็ใกล้เข้ามาอีกวาระหนึ่งแล้ว ซึ่งโดยปกติการส่งคำร้องขอย้ายของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สพฐ.นั้น

ตัวอย่าง เหตุผล ในการขอย้ายโรงเรียน

จะเริ่มส่งคำร้องขอย้ายในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งสามารถส่งคำร้องขอย้ายได้เพียง 1 ครั้ง แต่จะสามารถพิจารณาอนุมัติย้ายได้ 2 รอบ ซึ่งตามกำหนดการจะมีการประกาศผลการย้ายข้าราชการครู รอบที่ 1 ช่วงเดือน เมษายน และ รอบที่ 2 ช่วงเดือน ตุลาคมของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงปิดภาคเรียนซึ่งจะทำให้คุณครูหรือโรงเรียนสามารถเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

โดยเมื่อเร็วๆนี้ครูอัพเดตดอทคอมก็ได้รับข้อความจากแฟนเพจfacebook ในประเด็นเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูที่จะต้องทำอย่างไรจึงจะมีสิทธิ์ในการย้าย ดังนั้นวันนี้ครูอัพเดตจึงขอนำเสนอบทความ 7 สิ่งที่คุณครูต้องทำ เพื่อให้มีโอกาสได้ย้าย มากขึ้น ( คุณครูเขียนย้ายอย่างไรให้ได้ย้าย ) ดังนี้ครับ

1. ตรวจสอบโรงเรียนที่มีตำแหน่งว่าง ในเขตพื้นที่การศึกษาปลายทางต้องการเขียนย้าย การเขียนย้ายจะโอกาสมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการระบุโรงเรียนที่ต้องการย้าย คิดง่ายๆครับ ถ้าโรงเรียนปลายทางมีตำแหน่งว่างสำหรับรับย้ายครู ผู้ที่เขียนย้ายย่อมมีโอกาสได้รับการพิจารณา แต่กลับกันถ้าเราระบุโรงเรียนโดยไม่ตรวจสอบตำแหน่งว่างโอกาสย้ายก็จะมีน้อยลงแน่นอนครับ

หมายเหตุ : ข้อมูลโรงเรียนที่มีตำแหน่งว่างนี้บางเขตพื้นที่อาจจะมีการประกาศข้อมูล แต่บางเขตอาจไม่ประกาศข้อมูล เราควรสอบถามข้อมูลในส่วนนี้จากกลุ่มบุคคล ของเขตพื้นที่การศึกษาที่ฯ ที่เราต้องการย้ายไปครับ

2. ตรวจสอบวิชาเอกที่แต่โรงเรียนรับย้าย

หลังจากที่ได้ตรวจสอบข้อมูลโรงเรียนที่มีตำแหน่งว่างแล้ว เราต้องมาตรวจสอบข้อมูลที่สำคัญอีกอย่างคือ ข้อมูลวิชาเอกที่ว่างของโรงเรียนปลายทางที่เราต้องการเขียนย้ายไป โดยปกติแล้วโรงเรียนปลายทางจะมีการระบุวิชาเอกที่ต้องการประมาณ 3 – 5 วิชาเอกโดยเรียงลำดับความสำคัญ ซึ่งมีกรณีตัวอย่างดังนี้

กรณีตัวอย่าง

โรงเรียนบ้านครูอัพเดต มีตำแหน่งว่างสำหรับรับย้าย 1 ตำแหน่ง โดยเรียงลำดับวิชาเอกไว้ดังนี้ 1. คณิตฯ 2.วิทย์ 3.ภาษาไทย 4.ภาษาอังกฤษ 5.คอมพิวเตอร์

การพิจารณาของกรรมการก็จะตรวจสอบไปที่ละลำดับความต้องการของโรงเรียน ว่ามีคนเขียนย้ายเข้ามาหรือไม่ ถ้าไม่มีจะพิจารณาลำดับถัดไปครับ ดังนั้นโรงเรียนนี้วิชาเอกที่ควรเขียนคือ คณิตฯ ครับ

3. เรียงลำดับโรงเรียน

จากข้อที่ 2 ได้แนะนำวิธีการเลือกโรงเรียนตามวิชาเอกไปแล้ว ทีนี้เราจะเรียงลำดับอย่างไรเป็นคำถามที่ตอบยากมาก เพราะโรงเรียนที่จะเลือกนั้นขึ้นอยู่กับคุณครูแต่ละท่าน ที่จะมาจัดเรียงลำดับ 3 โรงเรียน แต่ก็มีข้อแนะนำว่าควรเลือกระบุเฉาะโรงเรียนที่วิชาเอกหรือเราเป็นความต้องการของโรงเรียนอยู่ในลำดับแรก เพื่อให้มีโอกาสได้รับย้ายมากขึ้น และครูอัพเดตขอแนะนำเพิ่มเติมว่าถ้าคนที่ย้ายมาจากต่างเขตพื้นที่ฯ ควรระบุไว้ด้วยว่าโรงเรียนใดก้ได้ ในอำเภอ… ในเขตพื้นที่.. เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนโรงเรียนที่รับย้ายจากเดิมครับ

ส่วนคุณครูที่ต้องการย้ายในเขตพื้นที่ฯตนเองควรระบุโรงเรียนปลายทางให้ชัดเจน ในลำดับที่ 1-3 และ อาจจะระบุเพิ่มเติมว่าถ้าไม่ได้ตามโรงเรียนที่ระบุของระงับการย้าย ครับ

เรื่งราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครู : การย้ายข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2565

4. เขียนคำร้องขอย้าย

การเขียนคำร้องขอย้ายควรเขียนข้อมูลให้ครบตามแบบฟอร์ม และระบุข้อมูลเหตุผลในการย้ายให้ชัดเจนเพราะเหตุในการย้ายแต่ละข้อมีน้ำหนักคะแนนไม่เท่ากัน โดยเรียงลำดับดังนี้ 1.อยู่ร่วมคู่สมรส – ดูแลบิดามารดา >> 2.กลับภูมิลำเนา>> 3.อื่นๆ โดยปกติจะใช้เหตุผลที่มีน้ำหนักคะแนนมากที่สุด แต่ที่สำคัญต้องแนบเอกสารที่จำเป็น เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาก.พ.7

กรณีเหตุผลอยู่ร่วมคู่สมรส เพิ่ม>> สำเนาทะเบียนสมรส สำเนาบัตรคู่สมรส สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส

กรณีเหตุผลดูแลบิดามารดา>> สำเนาบัตรบิดามารดา สำเนาทะเบียนบ้านบิดามารดา

กรณีเหตุผลกลับภูมิลำเนา >> สำเนาทะเบียนบ้าน

กรณีเหตุผลอื่นๆเช่น เจ็บป่วย >> ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลของรัฐ

5. จัดทำเอกสารประกอบคำร้อขอย้าย

การจัดทำเอกสารประกอบคำร้องขอย้ายถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก คะแนนการประเมินจะอยู่ในส่วนนี้ทั้งหมดถ้าไม่มีเอกสารประกอบคำร้องขอย้ายชุดนี้ก็จะไม่มีคะแนนประเมินครับ ท่านสามารถอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้จากบทความนี้ครับ เกณฑ์การย้ายครู รายละเอียดคะแนนตัวชี้วัด สังกัด สพฐ. การย้ายกรณีปกติ ประจำปี พ.ศ.2565

6. จัดเตรียมคำร้องขอย้ายและเอกสารประกอบคำร้องขอย้าย ให้ตรงกับจำนวนเล่มที่เขตพื้นที่การศึกษาปลายทางระบุ

ก่อนที่คุณครูจะส่งคำร้องขอย้ายและเอกสารประกอบคำร้องขอย้ายคุณครูต้องตรวจสอบก่อนว่า เขตพื้นที่การศึกษาปลายทางต้องการเอกสารกี่ชุด โดยตรวจสอบจากประกาศของแต่ละเขต เพื่อตามเงื่อนไขที่เขตปลายทางระบุครับ

7. ดำเนินการจัดส่งเอกสาร ภายในเวลาที่กำหนด (ด้วยตนเอง)

การดำเนินการจัดส่งด้วยตัวเองถือเป็นการสร้างความมั่นใจในการส่งเอกสารว่าเราได้ส่งแล้วตามหน้าที่ บางเขตพื้นที่เจ้าหน้าที่เขตจะมีเอกสารให้คุณครูลงลายมือชื่อยืนยันการส่งคำร้องด้วยนะครับ เพื่อป้องกันเอกสารสูญหายครับ

อย่างไรก็ดีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก็อาจจะมีหลายปัจจัยที่ทำให้การย้ายของคุณครูยังไม่ได้รับพิจารณาให้ย้ายโรงเรียน ดังนั้นครูอัพเดตดอทคอมจึงขอเป็นกำลังใจให้คุณครูทุกท่านที่อยู่ไกลบ้าน ไกลครอบครัว ให้ได้รับการพิจารณาย้ายทุกท่านด้วยนะครับ

สำคัญที่สุดอย่าลืม : รับรองสำเนาเอกสารประกอบการย้ายทุกฉบับ

ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามข้อมูลนะครับ เราจะพยายามสรรหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาฝากคุณครูและผู้ที่สนใจด้านการศึกษาต่อไปครับ

คุณครูสามารถดาวน์โหลดคำร้องขอย้ายข้าราชการครูฯ ได้ที่ : แบบคำร้องขอย้ายครู และบุคลากรทางการศึกษา (กรณีปกติ) ปี พ.ศ.2565