ตัวอย่าง โครงการ project approach

Project Approach หรือการเรียนการสอนแบบให้เด็กมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็กรู้จักเรียนรู้ด้วยตัวเองกำลังเป็นที่นิยมในโรงเรียนทั่วโลก เพราะนำไปปรับใช้ได้กับทุกวิชา ซึ่งโรงเรียนหลายแห่งและนักการศึกษาจำนวนมากพบว่า การให้เด็กได้มีส่วนร่วมเป็นวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพมากที่ช่วยให้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น และช่วยเตรียมความพร้อมเด็กก่อนเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริง

ในบทความนี้ เราจะเจาะลึกถึงรายละเอียดของ Project Approach และทำความเข้าใจถึงวิธีการเรียนการสอนดังกล่าวว่านำไปปรับใช้กับเด็กๆ ได้อย่างไรบ้าง

การเรียนการสอนแบบ Project Approach คืออะไร

Project Approach เป็นกระบวนการสืบค้นเชิงลึกเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยมีนักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติและมีครูผู้สอนคอยแนะนำ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า นักเรียนย่อมเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อพวกเขารู้สึกสนใจและมีส่วนร่วมในหัวข้อที่พวกเขากำลังเรียนอยู่

นักเรียนในห้องจะได้ทำกิจกรรมร่วมกันโดยการเลือกหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตั้งคำถาม หรือหาวิธีแก้ปัญหาที่อาจต้องใช้เวลานานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน การมีส่วนร่วมนี้จะช่วยให้เด็กๆ พัฒนาทักษะะการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล ทักษะการติดต่อสื่อสาร และทักษะทางสังคม

การเรียนการสอนแบบ Project Approach มีหลักความเชื่อและแนวทางที่สำคัญอยู่หลายประการ ได้แก่

  • เด็กๆ เป็นนักเรียนมีความอยากรู้อยากเห็นและต้องการสำรวจโลกรอบๆ ตัวพวกเขาอยู่แล้วตั้งแต่เกิด
  • การเรียนเป็นกระบวนการที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่น และนักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อทำงานร่วมกับเพื่อนๆ
  • การเรียนควรเกี่ยวข้องกับความสนใจ ประสบการณ์ และตัวตนของนักเรียน
  • นักเรียนควรมีความกระตือรือร้นกับการเรียนมากกว่าการนั่งฟังสิ่งที่สอนในห้องเรียนเฉยๆ
  • นักเรียนควรได้รับการสนับสนุนให้ตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะจากทางไหน
  • การเรียนควรมีการผสมผสานข้ามสาขาวิชาและได้ใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย

ข้อดีของการเรียนการสอนแบบ Project Approach

ตัวอย่าง โครงการ project approach

การนำ Project Approach มาใช้ในห้องเรียนนั้น มีข้อดีหลายอย่างด้วยกัน ได้แก่

  1. ส่งเสริมการคิดแบบ Critical thinking : การทำงานร่วมกันในโครงการใดโครงการหนึ่ง จะทำให้นักเรียนรู้จักที่จะสื่อสารทางความคิดอย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักรับฟังเพื่อนในกลุ่ม และทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน
  2. เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ : นักเรียนจะได้รับการส่งเสริมให้รู้จักคิดนอกกรอบและพัฒนาวิธีการคิดแก้ไขปัญหาที่ไม่เหมือนใครตามแนวทางของตนเอง
  3. เสริมสร้างทักษะการสื่อสาร : การทำงานร่วมกันจะทำให้นักเรียนรู้จักที่จะสื่อสารความคิดของตนเองออกไปอย่างมีประสิทธิภาพ หัดรับฟังเพื่อนในกลุ่ม และทำงานร่วมกันเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายเดียวกัน
  4. กระตุ้นการพึ่งพาตนเอง : การเรียนการสอนแบบ Project Approach จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้สัมผัสกับความรู้สึกในการเป็นเจ้าของบทเรียนและมีความรับผิดชอบต่องานของตัวเอง
  5. เสริมสร้างทักษะทางสังคม : นักเรียนเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกัน เจรจาต่อรอง และประนีประนอมกับเพื่อนๆ ซึ่งเป็นทักษะที่มีประโยชน์ต่อชีวิตพวกเขาในทุกๆ ด้าน

โรงเรียนนานาชาติ D-PREP ประยุกต์ใช้ Project Approach ต่อกลยุทธ์การสอนและหลักสูตรของโรงเรียนอย่างไรบ้าง

ตัวอย่าง โครงการ project approach

ที่โรงเรียนนานาชาติบางนา D-PREP เราได้ประยุกต์ใช้การเรียนการสอนแบบ Project Approach ในหลายๆ วิธี หนึ่งในนั้นคือการให้ครูผู้สอนเลือกหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อให้นักเรียนได้ค้นหาข้อมูลเชิงลึก ตัวอย่างเช่น เมื่อนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรียนเกี่ยวกับศาสนาต่างๆ ในโลกนี้และตั้งคำถามว่าศาสนาส่งผลต่อวัฒนธรรมของผู้คนอย่างไรบ้าง

การเรียนจะเริ่มต้นโดย นักเรียนได้เรียนในห้องเกี่ยวกับความแตกต่างของศาสนา ลำดับต่อไป นักเรียนลงพื้นที่ด้วยตัวเองเพื่อไปสำรวจศาสนาสถานต่างๆ เช่น โบสถ์ วัด ซึ่งทำให้พวกเขาได้มีประสบการณ์ด้วยตัวเองว่าเมื่อได้เข้าไปในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นเป็นอย่างไรบ้าง ประสบการณ์เหล่านั้นช่วยให้เด็กๆ ได้ทราบถึงความรู้สึกของผู้ที่นับถือศาสนาแต่ละศาสนาที่แตกต่างกัน หลังจากนั้น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้มาบอกเล่าถึงประสบการณ์เหล่านั้นในทุกรายละเอียดที่พวกเขาเรียนรู้มาให้แก่ผู้ปกครองและแขกที่มาร่วมวันงานฉลองการเรียนรู้ของโรงเรียนได้ฟังกัน

อีกวิธีหนึ่งที่โรงเรียนนานาชาติ D-PREP นำการเรียนการสอนแบบ Project Approach มาประยุกต์ใช้ก็คือ การนำมาใช้กับวิชาที่นักเรียนต้องเรียนรู้โดยการตรวจสอบข้อสงสัยทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างของวิธีนี้ก็คือ การไปทัศนศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ล่าสุด ซึ่งพวกเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตสัตว์ทะเลอย่างละเอียด โดยการสำรวจสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ นักเรียนพบว่า อัตราการตายของแนวปะการังนั้นอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง

เพื่อทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น นักเรียนจึงได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาวิชาชีพ เช่น ดร.นันทริกา ชันซื่อ ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Zackery Rago นักชีววิทยาทางทะเลจากฮาวาย ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ว่าวิธีหนึ่งที่พวกเขาจะช่วยฟื้นฟูชีวิตของปะการังได้ก็คือด้วยการสร้างแหล่งอนุบาลปะการัง

การเรียนการสอนแบบ Project Approach ซึ่งนำมาใช้เพื่อเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าวสามารถสรุปอย่างเป็นทางการได้จากประสบการณ์ที่พวกเขาได้รับผ่านการไปทัศนศึกษาที่จังหวัดกระบี่ซึ่งเป็นสถานที่ที่พวกเขาได้สร้างแหล่งอนุบาลปะการังด้วยการสนับสนุนจาก Coralyfe ซึ่งเป็นองค์กรที่มีเป้าหมายในการฟื้นฟูสุขภาพของแนวปะการังท้องถิ่น การเรียนการสอนครั้งนี้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน และแหล่งอนุบาลปะการังของเด็กๆ นั้นอยู่ที่เกาะยาวาซัม ซึ่งเป็นเกาะที่พวกเขาหวังว่าแนวปะการังจะเติบโตเป็นบ้านที่ปลอดภัยของสัตว์ทะเลในจังหวัดกระบี่ต่อไป

ตัวอย่างกิจกรรมของการเรียนการสอนแบบ Project Approach ที่โรงเรียนนานาชาติ D-PREP

การเรียนการสอนแบบ Project Approach ของโรงเรียนนานาชาติ D-PREP แตกต่างกันไปตามระดับชั้นเรียน หนึ่งในกิจกรรมที่โดดเด่นของการเรียนการสอนแบบ Project Approach ของโรงเรียนเราคือ เมื่อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้เริ่มต้นเส้นทางการสำรวจเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความยากจนและหาคำตอบว่าทำไมจึงเกิดความยากจนขึ้น เป้าหมายของกิจกรรมนี้คือ การส่งเสริมความรู้สึกเห็นอกเห็นใจและเข้าใจผู้ที่ประสบปัญหาความยากจน และการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ให้ผลเชิงบวกต่อชุมชน

ส่วนหนึ่งของกิจกรรม นักเรียนได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ผู้ก่อตั้งมูลนิธิช่วยเหลือชุมชนกรุงเทพ องค์การที่ไม่แสวงหากำไรซึ่งช่วยเหลือคนไร้บ้านด้วยการบริจาคเงินและแจกจ่ายอาหาร การสัมภาษณ์ดังกล่าวทำให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาความยากจนจากผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ และได้รับทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของชุมชนที่เกิดจากความช่วยเหลือขององค์กร

นักเรียนได้รับแรงบันดาลใจจากการเรียนรู้และการทำงานของมูลนิธิช่วยเหลือชุมชนกรุงเทพ ทำให้พวกเขาตัดสินใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่นบ้างด้วยการบริจาคอาหารให้แก่ผู้ที่ขาดแคลน รวมทั้งผลักดันกิจกรรมให้พัฒนาไปสู่อีกขั้นด้วยการก่อตั้งองค์การไม่แสวงหากำไรของตนเองที่ชื่อว่า Fresh Hope Foundation ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยคนไร้บ้านในการเริ่มต้นชีวิตใหม่

โครงการของเด็กนักเรียนนอกจากการก่อตั้ง Fresh Hope Foundation ยังรวมถึงการจัดทำนิตยสารที่ชื่อว่า War and Peace ซึ่งจะบอกเล่าเกี่ยวกับเรื่องราวความขัดแย้งต่างๆ ที่คนในแต่ละสาขาอาชีพเคยประสบพบเจอมา นิตยสารดังกล่าวไม่ใช่เพียงแต่จะสร้างการรับรู้เกี่ยวกับความยากจน ผลกระทบจากความยากจนที่มีต่อชีวิตของผู้คนเท่านั้น แต่ยังมีเป้าหมายที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกต่อชุมชนของพวกเขาอีกด้วย

ตลอดระยะเวลาของกิจกรรมนี้ นักเรียนของโรงเรียนนานาชาติ D-PREP มีความเข้าใจที่ละเอียดลึกซึ้งเกี่ยวกับความยากจนมากขึ้น และได้ก่อให้เกิดการกระทำที่มีคุณค่าต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อชุมชน พวกเขาแสดงให้เห็นว่า แม้แต่คนอายุน้อยก็สามารถสร้างความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้ อีกทั้งได้ตระหนักว่า ความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาสังคมที่ซับซ้อนอย่างเช่น เรื่องความยากจน

Project Approach มีเรื่องอะไรบ้าง

Project Approach.

การพูดคุยอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่.

การศึกษานอกห้องเรียนและนอกสถานที่.

การนำเสนอประสบการณ์การเดิมของเด็กผ่าน การวาดภาพ การเขียน การใช้สัญลักษณ์และการเล่นบทบาทสมมุติ เป็นต้น.

โครงงาน Project Approach หมายถึงอะไร

Project Approach เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เด็กรูปแบบหนึ่ง ที่ให้โอกาสเด็กเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเด็ก โดยเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ ตั้งคำถามในสิ่งที่ยังต้องการเรียนรู้หาคำตอบ รวมทั้งดำเนินการวางแผนสำรวจ สืบค้น บันทึก คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้ได้มาซึ่ง ...

การเรียนรู้แบบโครงการ Project Approach สะท้อนการเรียนรู้ของเด็กอย่างไร

การเรียนการสอนแบบ Project Approach คืออะไร นักเรียนในห้องจะได้ทำกิจกรรมร่วมกันโดยการเลือกหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตั้งคำถาม หรือหาวิธีแก้ปัญหาที่อาจต้องใช้เวลานานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน การมีส่วนร่วมนี้จะช่วยให้เด็กๆ พัฒนาทักษะะการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล ทักษะการติดต่อสื่อสาร และทักษะทางสังคม

ขั้นตอนการเรียนรู้แบบโครงการ มีกี่ระยะ อะไรบ้าง

เป็นวิธีการสอนให้เด็กเลือกเรื่อง หรือหัวข้อของโครงการตามความสนใจของเด็ก ๆ โดยเฉพาะ คุณครูสามารถกำหนดขอบเขตตามพัฒนาการของเด็ก ๆ ผ่านกระบวนการ 3 ระยะ ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นโครงการ ขั้นพัฒนาโครงการ จนถึงการสรุปโครงการ ซึ่งจะช่วยให้คุณครูสามารถจัดระเบียบ ดูความก้าวหน้าของกิจกรรมตามการพัฒนาความสนใจของเด็ก และการมีส่วนร่วมกับ ...