ตัวอย่าง โครง งาน ระดับ ปฐมวัย เรื่อง ปลา

โครงงานพัฒนาวิชาการ

สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต

ระดับชั้นอนุบาล ๒

เรื่อง สำรวจปลาในบ่อเลี้ยงปลาของโรงเรียน

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน ( ทำไมหนูจึงทำโครงงานเรื่องนี้ )

หนูเรียนเรื่อง สัตว์น้ำ ในหน่วยที่ ๓๕ สัตว์น้ำหรรษา แล้วคุณครูถามหนูว่า เด็กๆรู้จักสัตว์น้ำไหมคะ ช่วยบอกคุณครูมาคนละอย่างค่ะ และเพื่อนๆในห้องส่วนใหญ่บอกชื่อปลาเยอะแยะเลยค่ะ หนูอยากรู้จักชื่อปลา แต่ละชนิดและจะได้เรียกชื่อที่ถูกต้องหนูจึงทำโครงงานเรื่องนี้ขึ้นมา ครับ/ค่ะ

วัตถุประสงค์ ( หนูจะทำอะไร )

๑.หนูจะไปสำรวจปลาในโรงเรียน

๒.หนูจะเรียกชื่อปลา

๓.หนูจะอธิบายลักษณะของปลา

๔.หนูจะบอกที่อยู่อาศัยของปลา

สื่อ/อุปกรณ์ ( หนูจะใช้อุปกรณ์อะไรบ้างในการทำโครงงาน )

๑.สีเทียน

๒.ดินสอ ยางลบ

๓.การะดาษวาดภาพ

๔.บ่อเลี้ยงปลา

วิธีดำเนินการศึกษา ( หนูจะทำอย่างไร )

๑.สำรวจปลาในบ่อเลี้ยงเลี้ยงปลาของโรงเรียนทุกบ่อ

๒.สอบถามข้อมูลชื่อปลาแต่ละชนิดจากการสังเกต กับคุณครู พงษ์กริช ชนะรบ

๓.นำเสนอชื่อปลาหน้าชั้นเรียน

๔.ระดมความคิดตกลงกันในกลุ่ม ใครจะวาดปลาอะไร

๕.วาดภาพปลาที่ถนัดและจำได้

๖.นำภาพที่วาดเสร็จแล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน

๗.สรุปชื่อปลา รูปร่างลักษณะของปลาแต่ละชนิด

ผลการศึกษา ( ได้ผลอย่างไร )

จากการศึกษา ผลปรากฏว่า ในบ่อเลี้ยงปลา มีปลาหลายชนิด เช่น ปลานิลตัวใหญ่สีดำใหญ่ ปลาแรดตัวใหญ่สีดำ ปลาดุกลำตัวยาวมีหนวด ปลาจาระเม็ดตัวใหญ่ ลำตัวแบนสีดำ ปลาช่อนลำตัวยาวมีเกล็ดสีดำ ปลาหมอตัวเล็กสีดำมีเกล็ดแข็ง ปลาทับทิมตัวใหญ่สีแดงออกสีส้ม

สรุป

ปลามีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามชนิดของปลา ปลามีลักษณะรูปร่างที่ไม่เหมือนกัน ปลาบางชนิดตัวเล็ก บางชนิดตัวใหญ่ สีผิวของปลาในบ่อส่วนใหญ่มีสีดำ และที่เห็นอีกตัวคือสีแดงออกส้ม ปลาบางชนิดลำตัวยาวมีหนวด แต่บางตัวไม่มีหนวด ปลาบางชนิดมีเกล็ดไว้ป้องกันอันตรายจากสัตว์อื่นๆ แต่บางจะมีสิ่งเล่านี้ที่เหมือนกันคือ ตา ปาก หัว หาง ลำตัว ครีบ

โครงงาน เรื่อง การอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุยเพื่อการค้า โดย นายธัญพิสิษฐ์ พ่วงพี นายนวพล ลูกอินทร์ นายกฤษณพงษ์ ปานสวัสดิ์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ พ.ศ. 2565

ใบรับรองโครงงาน วิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ เรื่อง : การอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุยเพื่อการค้า นามผู้จัดทำ 1. นายธัญพิสิษฐ์ พ่วงพี 2. นายนวพล ลูกอินทร์ 3. นายกฤษณพงษ์ปานสวัสดิ์ ได้รับพิจารณาเห็นชอบโดย ครูที่ปรึกษา ว่าที่ร้อยตรีหญิง........................... (ภิญญดา ฉายากุล) ครูที่ปรึกษาร่วม ..................................................... (นางสาวชนัญญา พุทธิป�ลันธน์) หัวหน้าแผนกวิชา ..................................................... (นางสาวอภิญญา ปานโชติ) รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ..................................................... (นางอรกัญญา วงศ์อาษา) ผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ..................................................... (นายไพรัตน์ ธุระธรรม) วันที่.......เดือน........................พ.ศ...............

โครงงาน เรื่อง การอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุยเพื่อการค้า โดย นายธัญพิสิษฐ์ พ่วงพี นายนวพล ลูกอินทร์ นายกฤษณพงษ์ ปานสวัสดิ์ เสนอ วิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ พ.ศ. 2565

ก บทคัดย่อ ธัญพิสิษฐ์ พ่วงพี นวพล ลูกอินทร์ กฤษณพงษ์ ปานสวัสดิ์การอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุเพื่อการค้า ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาประมง สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ครูที่ปรึกษา : ว่าที่ร้อยตรีหญิง ภิญญดา ฉายากุล และ นางสาวชนัญญา พุทธิป�ลันธน์ การอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุยเพื่อการค้า ณ โรงเพาะฟ�ก วิทยาลัยประมงชุมพรเขตร อุดมศักดิ์ตั้งแต่วันที่12 ธันวาคม 2565 ถึง 30 มกราคม พ.ศ. 2566 เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตโดย การชั่งน้ำหนักและวัดความยาว อัตราการรอดตาย อัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป�นเนื้อ และ ต้นทุน การผลิต ในการอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุย จำนวน 1,000 ตัว ในบ่อซีเมนต์ ปริมาตร 1.6 ตัน จำนวน 2 บ่อ เริ่มต้นการอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุย น้ำหนักเฉลี่ย 0.5 กรัม ความยาวเฉลี่ย 1.8 เซนติเมตร อนุบาลเป�น เวาล 7 สัปดาห์มีน้ำหนักเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 6.02กรัม ความยาวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.7 เซนติเมตร อัตราการรอด ตายร้อยละ 81.9 อัตราการแรกเปลี่ยนอาหารเป�นเนื้อ 1.30 ตลอดการดำเนินโครงงานมีต้นทุนการ ผลิตทั้งหมด 940 บาท จำหน่ายลูกปลาดุกบิ๊กอุยเป�นจำนวน 1,638 บาท ได้กำไรสุทธิ 698 บาท …………………………………… ว่าที่ร้อยตรีหญิง ……….………………… .……../…....../… (นายธัญพิสิษฐ์พ่วงพี ) (ภิญญดา ฉายากลุ) ........................................ ................................................. (นายนวพล ลูกอินทร์) (นางสาวชนัญญา พุทธิป�ลันธน์) ........................................... ครูที่ปรึกษา (นายกฤษณพงษ์ ปานสวัสดิ์) นักเรียน

ข คำนิยม การดำเนินโครงงานการอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุยเพื่อการค้าได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ขอขอบคุณ ว่าที่ร้อยตรีหญิงภิญญดา ฉายากุล และ นางสาวชนัญญา พุทธิป�ลันธน์ครูที่ปรึกษาโครงงาน ที่ได้ให้ คำแนะนำเทคนิคการดำเนินงาน การเขียนโครงงานให้ถูกต้อง ตรวจแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ในการจัด รูปเล่มโครงงาน ตลอดจนเอื้อเฟ��อวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน และขอขอบคุณครูประจำวิชา นางสาวอภิญญา ปานโชติ ที่ให้ความรู้และคำปรึกษาในการจัดทำโครงงาน ขอขอบคุณ นายไพรัตน์ ธุระธรรม ผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ที่เอื้อเฟ��อให้ใช้สถานที่ดำเนินงานและ อำนวยความสะดวกในการจัดทำโครงงาน อนึ่งคุณค่าและประโยชน์ที่พึงเกิดจากโครงงานการอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุยเพื่อการค้าเล่มนี้ ผู้จัดทำขอมอบแก่คณะครูอาจารย์ที่ได้ให้ความรู้แก่ผู้จัดทำโครงงานในครั้งนี้ นายธัญพิสิษฐ์ พ่วงพี นายนวพล ลูกอินทร์ นายกฤษณพงษ์ ปานสวัสดิ์

ค สารบัญ เรื่อง หน้า บทคัดย่อ ก คำนิยม ข สารบัญ ค สารบัญตาราง ง สารบัญภาพ จ บทที่ 1 บทนำ 1 บทที่ 2 แนวคิดในการดำเนินงาน 2 บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน 13 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน 15 บทที่ 5 สรุปผล ป�ญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข 16 เอกสารอ้างอิง 17 ภาคผนวก ก 18 ภาคผนวก ข 22

ง สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงาน 13 ตารางผนวกที่ 1. ข้อมูลการเจริญเติบโตของปลาดุกตลอดการดำเนินโครงงาน 19 2. ข้อมูลอัตราการรอดตายตลอดการดำเนินโครงงาน 19 2. ข้อมูลปริมาณอาหารในการอนุบาลปลาดุกและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป�นเนื้อ 20 3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตลอดการทำโครงงาน 20 4. รายรับจากการจำหน่ายปลาดุกตลอดการทำโครงงาน 21

จ สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 1. แผนผังการจัดกระบวนการเรียนรู้โครงงานวิชาชีพ 4 2. แผนผังรายวิชาที่บูรณาการนำความรู้มาใช้ในการทำโครงงานวิชาชีพ 5 ภาพผนวกที่ 1. ขอคำปรึกษาจากครูที่ปรึกษาโครงงาน 23 2. การเตรียมพื้นที่บริเวณบ่อเลี้ยง 23 3. ปล่อยลูกพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย 24 4. ให้อาหารปลาดุก 24 5. เปลี่ยนถ่ายน้ำทำความสะอาดบ่อ 25 6. การสุ่มเก็บข้อมูลน้ำหนักและวัดความยาวปลาดุก 25 7. การนิเทศและติดตามผลการดำเนินงาน 26 8. การจำหน่ายผลผลิตปลาดุก 26

1 บทที่ 1 บทนำ 1. หลักการและเหตุผล ปลาดุกบิ๊กอุยชื่อสามัญ Broadhead catfish/Gunther’s walking catfish ชื่อวิทยาศาสตร์ Clarias macrocephalus x Clarias gariepinus เป�นปลาน้ำจืดมีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาดุกด้าน แต่มีส่วนหัวยาวกว่าและแนว ระหว่างจะงอยปากถึงท้ายทอยเว้าและโค้งลาดด้านบนศรีษะขรุขระมอง จากด้านบนเป�นรูปสามเหลี่ยมลำตัวยาวครีบหลังและครีบก้นยาวลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลอมเหลือง และมีลายแต้มแบบลายหินอ่อนบนลำตัวแก้มและท้องจะมีสีจาง ปลาดุกบิ๊กอุยเป�นปลาที่สำคัญทางเศรษฐกิจและได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายเพราะ เนื้อปลามีรสชาติดีเลี้ยงง่ายโตเร็วและทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมสูงอีกทั้งสามารถนำมา ประกอบอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้ม ผัดฉ่า แกง ทอด ย่าง และสามารถนำมาแปรรูปเป�นผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้ปลาดุกได้ด้วยเช่น ปลาดุกรมควัน ปลาดุกแดดเดียวปลาดุกร้า เป�นต้น นอกจากนี้ปริมาณของ การเพาะเลี้ยงปลาดุกป� 2561 มีผลผลิต 109,689 ตัน ( อุทัยรัตน์, 2544 ) จึงมีความสนใจที่จะดำเนินโครงการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยเพื่อจำหน่ายซึ่งการเสริมสร้างทักษะ และความรู้การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยพร้อมสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคตและเผยแพร่สู่ ชุมชนและผู้ที่สนใจในอาชีพเลี้ยงปลาดุก 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อหาความรู้ทักษะและประสบการณ์ 2. เพื่อหารายได้ระหว่างเรียน 3. เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 3. เป้าหมาย 3.1 เชิงปริมาณ 3.1.1. ปล่อยลูกปลาดุกบิ๊กอุยขนาด 2 เซนติเมตร จำนวน 1,000 ตัว 3.1.2. ปลาดุกบิ๊กอุยมีอัตราการรอดตาย 80 % 3.2 เชิงคุณภาพ 3.2.1. ลูกปลาดุกบิ๊กอุยมีน้ำหนักดีเนื้อรสชาติอร่อย 3.2.2. ลูกปลาดุกบิ๊กอุยมีสุขภาพแข็งแรง

2 บทที่ 2 แนวคิดในการดำเนินงาน 1. รูปแบบการดำเนินงานโครงงานพัฒนาผู้เรียนโดยใช้โครงงานเป�นฐาน (Project-Based-Learning :PPL) 1.1 PBL MODEL ของแผนกวิชาประมง วิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่1 การขับเคลื่อนโครงงานอาชีพ (PBL) มี 5 ขั้นตอน 1. การประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจ 2. การปรับเปลี่ยนทัศนคติในการประกอบอาชีพเกษตรโดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 3. ศึกษารูปแบบการประกอบอาชีพเกษตรในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนโดยยึดหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4. วิเคราะห์และวางแผนจัดทำโครงงานอาชีพ 5. ดำเนินโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง จัดสัมมนานำเสนอและจัดทำ ส่วนที่2 ภารกิจของครูผู้จัดการบูรณาการ มี 5 ภารกิจ 1. การประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจกับครูในแผนกวิชาประมงรวมทั้งระดมหาแนวทางร่วมใน การดำเนินโครงงานอาชีพ 2. การปรับเปลี่ยนทัศนคติในการประกอบอาชีพเกษตรโดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 3. ร่วมวิเคราะห์ศึกษาความเป�นไปได้ของโครงงานอาชีพให้เหมาะสมกับบริบทโดยใช้ หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4. วิเคราะห์และวางแผนจัดทำโครงงานอาชีพ 5. ดำเนินโครงงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง จัดสัมนานำเสนอ ส่วนที่3 การพัฒนาทักษะของผู้เรียน มี 5 ระดับ 1. การเลียนแบบโดยมีผู้สอนควบคุม ( Imitation ) 2. การเลียนแบบได้เองโดยไม่มีผู้ควบคุม ( Manipulation ) 3. แม่นยำ ( Precision ) 4. การประยุกต์ ( Articulation ) 5. ปฏิบัติได้เป�นธรรมชาติของชีวิต ( Naturalization )

3 2. รูปแบบการดำเนินโครงการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้โครงงานเป�นฐาน (Project Based Learning. PBL) 1. การเรียนรู้วิชาการและวิชาชีพตามแผนการเรียนตามสาขางานที่เรียน 2. ครูผู้สอนวิชาชีพ เช่น รายวิชาโครงการผลิตสัตว์น้ำ 2 เสนอแนวคิดและหลักการที่ เกี่ยวข้องกับการทำโครงการในรูปแบบต่างๆและกระตุ้นให้นักเรียนเลือกแนวทางการประกอบอาชีพ ในสาขาที่เกี่ยวข้อง 3. ผู้เรียนเขียนโครงการและแผนธุรกิจ พร้อมขอคำแนะนำจากครูที่ปรึกษาโครงงาน และ พิจารณาความเป�นไปได้ของโครงงาน ความถูกต้อง ความพร้อมของสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ ก่อนเสนอโครงงานเพื่อขออนุมัติ 4. ดำเนินงานตามโครงงาน โดยมีครูที่ปรึกษาอำนวยความสะดวก สนับสนุนและช่วยเหลือ แนะนำ ช่วยแก้ป�ญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน 5. บันทึกข้อมูลการทำโครงงาน เช่น รายจ่าย รายรับ คำนวณกำไร - ขาดทุน เพื่อใช้ ประกอบในการประเมินผลความสำเร็จของโครงงาน 6. เขียนรายงานผลโครงงาน และเผยแพร่โครงงานในงานประชุมสัมมนาผลงานทางวิชาการ

4 ภาพที่ 1 แผนผังการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงการวิชาชีพ 1.ศึกษาข้อมูลความ ต้องการเพาะเลี้ยง ปลาดุกบิ้กอุย ให้คําปรึกษา วางแผนจัดทําโครงงาน ให้ความรู้เกี่ยวกับการ เขียนโครงงาน 3. ขออนุมัติโครงงาน สอบโครงร่าง ปรับปรุง แก้ไข 2. วางแผนโครงงาน กําหนดโครงงานเขียน โครงร่าง กรรมการพิจารณา ความเป�นไปได้เบื้องต้น กรรมการพิจารณา อนุมัติโครงงาน เสนอแนะให้ปรับตาม ความเหมาะสม กํากับติดตามการ ปฏิบัติงานให้ความ ช่วยเหลือ 5. สรุปโครงงาน/รายงาน ผล วิเคราะห์และสรุปผล รายงาน โครงงาน 4. ดำเนินงานตามแผน ปฏิบัติงานตามแผน ประเมินการปฏิบัติงาน สนับสนุน อำนวยความสะดวก ร่วมกับกรรมการพิจารณาประเมินผลการจัดทำ โครงงาน ผู้เรียน ครูที่ปรึกษาโครงการ ครูประจำวิชา

5 ภาพที่ 2 แผนผังแสดงรายวิชาที่เกี่ยวข้องในการทำโครงงาน วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ - การสืบค้นข้อมูลจากInternet - การจัดพิมพ์เอกสาร - การวิเคราะห์ข้อมูล - การใช้โปรแกรมใช้นำเสนอข้อมูล วิชาภาษาไทย -การเขียนเสนอโครงงาน - การนำเสนอโครงงาน - การเขียนรายงานโครงงาน - ทักษะการพูดในที่ชุมชน การผลิตอาหารสัตว์น้ำ - การเลี้ยงและดูแลอาหารสัตว์น้ำ -การทำอาหารสัตว์น้ำ - การจัดการคุณภาพน้ำ วิชาการจัดการธุรกิจเบื้องต้น - การคำนวณกำไร - ขาดทุน - หลักการวางแผนธุรกิจ -การใช้วงจรการบริหารงาคุณภาพ (PDCA ) - การจัดทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย วิชาคณิตศาสตร์ -การคำนวณอัตราการรอดตาย คำนวณขนาดบ่อเลี้ยงลูกพันธุ์ปลา โครงงานการอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุยเพื่อการค้า

6 3. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ชีววิทยาของปลาดุกบิ๊กอุย การจำแนกทางอนุกรมวิธานของปลาดุกบิ๊กอุย Phylum Chordata Class Actinopterygii Oder Siluriformes Family Clariidae Genus Clarias 3.1 ลักษณะทั่วไปของปลาดุกบิ๊กอุย ปลาดุกบิ๊กอุยเป�นปลาไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว ด้านข้างแบน หัวแบนลง กะโหลกท้าย ทอย บ้านและโค้งมน เงี่ยงที่ครีบหูมีฟ�นเลื่อยด้านนอกและ ด้านในครีบหลัง ครีบก้น ครีบหางแยกจากกัน ปลายครีบหางกลมมน มีหนวด 4 คู่ มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจอยู่บริเวณช่องเหงือกมีทรวดทรง คล้ายต้นไม้ เล็กๆ ลำตัวมีสีน้ำตาลจนดำถึงเข้มซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ( พิพัฒน์, 2559 ) 3.2 จำแนกเพศของปลาดุกบิ๊กอุย ความแตกต่างระหว่างเพศผู้กับเพศเมียได้ยาก เพราะมีรูปร่างลักษณะที่เหมือนกันมาก แต่ ปลา ชนิดนี้มีลักษณะของอวัยวะเพศแตกต่างกันระหว่างเพศผู้กับเพศเมียตรงที่ส่วนล่างของปลาใกล้ กับ ทวารโดยเมื่อจับปลาหงาย ท้องจะเห็นอวัยวะเพศได้อย่างชัดเจนอยู่ตรงส่วนล่างของทวาร ปลา เพศผู้มี ลักษณะเป�นติ่งเนื้อเรียวยาวและหลายแหลม ส่วนเพศเมียจะมีอวัยวะเป�นติ่งเนื้อค่อน ข้างกลม อยู่ทางตอน ใต้ทวารหนักและมีขนาดสั้นกว่า สำหรับในช่วงฤดูผสมพันธุ์อาจบอกลักษณะแตกต่างกัน ได้ โดยดูที่บริเวณ ลำตัวของปลา ปลาดุกอุยเพศเมีย จะมีส่วนท้องป่องออกมาทั้งสองข้างเมื่อมองดู จากด้านบน ส่วนปลา เพศผู้ จะมีลำตัวเรียวยาว ท้องไม่ป่องเหมือนปลาเพศเมีย (ยงยุธ, 2550) 3.3 การแพร่ขยายพันธุ์ 3.3.1.ปลาดุกบิ๊กอุยเป�นปลาที่มีอายุเจริญพันธุ์ค่อนข้างเร็วภายในระยะเวลา6เดือนก็ จะเจริญเติบโตเต็มวันซึ่งสามารถนำมาเพาะพันธุ์ได้สำหรับปลาดุกบิ๊กอุยในธรรมชาติจะเริ่มเพาะ ขยายพันธุ์ ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน รวมเป�นช่วงเวลาขยายพันธุ์ใน รอบป� เป�นเวลา 8 - 9 เดือน 3.3.2.ปลาดุกบิ๊กอุยป�นปลาที่เลือกคู่ใครคู่มัน เมื่อปลาดุกพร้อมวางไข่แล้วจะจับคู่กับ ปลา เพศผู้เพื่อการผสมพันธุ์ การวางไข่ในธรรมชาติแม่ปลาจะวางไข่ในหลุมโพรงหรือดินใต้น้ำ ปลาจะ ใช้ส่วน ลำตัวและหางกวาดเศษดินเศษโคลนออกจากหลุมจนหมดเหลือแต่ดินแข็งๆเพื่อที่จะให้

7 ไข่เกาะติดได้ไข่ปลาดุกบิ๊กอุยจะมีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ จำนวนไข่จะมีประมาณ 2,000 - 5,000 ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของแม่ปลา ปลาจะดูแลฟ�กไข่และเลี้ยงลูก ระยะหนึ่ง หากพบแหล่ง วางไข่ของปลาดุกบิ๊กอุยซึ่งสังเกตเห็นว่าพ่อแม่ปลาจะว่ายน้ำเข้าออกบริเวณ นั้นอยู่ระยะหนึ่งโดยมี พฤติกรรมเช่นเดียวกันกับปลาดุกด้าน ช่วง เวลาที่พบปลาชนิดนี้วางไข่ใน ธรรมชาติจะพบในฤดูฝน ฤดูน้ำ หลากหรือช่วงที่เปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ในบ่อ เนื่องจากปลาดุกบิ๊กอุยเป�น ปลาที่แข็งแรงทนทานกินอาหารง่ายเจริญเติบโตเร็วและอยู่รวมกันได้อย่างหนาแน่นเป�นปลาได้รับ ความนิยมจากผู้บริโภคจึงมีราคาแพงทำให้ มีการเพาะเลี้ยงเป�นอาชีพได้ดีในระดับหนึ่ง (กรมประมง, 2530) 3.4 การฟ�กไข่ ไข่ปลาดุกอุยเป�นไข่ติด ไข่ที่ดีควรมีลักษณะกลม มีน้ำตาลเข้ม ไข่ของปลาดุกเทศก็เป�นไข่ ติด เช่นเดียวกับปลาดุกอุย ไข่ที่ดีควรมีลักษณะ กลมและมีสีเขียวเข้มนำไข่ปลาดุกที่ได้รับการผสมกับ น้ำเชื้อแล้วไปฟ�ก โดยโรยไข่บนผ้ามุ่งเขียวเบอร์ 20 ที่ขึงตึงที่ระดับต่ำกว่าผิวน้ำประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร โดยระดับน้ำในบ่อที่ขึงผ้ามุ้งเขียวนั้นมีระดับน้ำลึกประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร เป�ดน้ำ ไหล ผ่านตลอดเวลาและควรมีเครื่องเพิ่มอากาศใส่ไว้ในบ่อกกไข่ ปลาด้วย ไข้ปลาดุกที่ได้รับการผสม จะพัฒนา และฟ�กเป�นตัวโดยใช้เวลาประมาณ 21 – 26 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 28 – 30 องศา เซลเซียสลูกปลาดุก ที่ฟ�กออก เป�นตัว จะหลุดลอดตาของมุ่งเขียวลงสู่พื้นก้นบ่อด้านล่าง หลังจากลูก ปลาหลุดลอดลงสู่พื้นก้น บ่อหมดแล้วจึงย้ายผ้ามุ่งเขียวที่ใช้ฟ�กไข่ออกจากบ่อฟ�กจะใช้ เวลา 6 – 8 ชั่วโมง ลูกปลาจะค่อย ๆ พัฒนา เจริญขึ้นเป�นลำดับจนมีอายุประมาณ 48 ชั่วโมง จึงเริ่มกินอาหารบ่อ เพาะฟ�กลูกปลาดุกควรมีหลังคาปก คลุมป้องกัน แสงแดดและน้ำฝนได้แม่ปลาขนาดประมาณ 1 กิโลกรัม จะได้ลูกปลาประมาณ 5,000 – 20,000 ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดแม่ปลา (สุรศักดิ์, 2540) 4. การอนุบาลลูกปลาดุกบิ๊กอุย ลูกปลาดุกที่ฟ�กออกเป�นตัวใหม่ ๆ จะใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัวเมื่อถุงไข่แดงที่ ติด มากับลูกปลายุบ ให้ไข่ไก่ต้มสุกเอาเฉพาะไข่แดง บดผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากิน 1 – 2 ครั้ง หลังจากนั้นจึงให้ลูกไรแดงเป�นอาหาร (ยุทธนา, 2561) 4.1การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อซีเมนต์ สามารถดูแลรักษาได้ง่ายขนาดของบ่อซีเมนต์ ควรมีขนาดประมาณ 2 – 5 ตารางเมตร ระดับ ความลึกของน้ำที่ใช้อนุบาลลึกประมาณ 15 – 30 เซนติเมตร การอนุบาลลูกปลาดุกที่มีขนาดเล็ก

8 (อายุ 3 วัน) ระยะแรกควรใส่น้ำในบ่ออนุบาลลึก ประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร เมื่อลูกปลามีขนาด ใหญ่ขึ้นจึงค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำ ให้สูงขึ้น การอนุบาลให้ ลูกปลาดุกมี ขนาด 2-3 เซนติเมตรจะใช้เวลาประมาณ 10 – 14 วัน น้ำที่ใช้ ใน การอนุบาลจะต้องเปลี่ยน ถ่ายทุกวัน เพื่อเร่งให้ลูกปลาดุกกินอาหารและมีการเจริญเติบโตดี อีกทั้ง เป�นการป้องกันการเน่าเสียของ น้ำด้วย 1 การอนุบาลลูก ปลาดุกจะปล่อยในอัตรา 3,000-5,000 ตัว/ ตรม. อาหารที่ใช้คือ ไรแดงเป�นหลัก ในบางครั้งอาจให้อาหารเสริมบ้าง เช่น ไข่ตุ๋นบดละเอียด เต้าหู้ อ่อนบด ละเอียด หรืออาจให้อาหารเร่งการ เจริญเติบโตซึ่งหากให้อาหารเสริมจะต้องระวังเกี่ยวกับ การย่อยของลุกปลาและการเน่าเสียของน้ำในบ่อ อนุบาลให้ดีด้วย (วีระพงศ์,2536 ) 4.2 การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อดิน บ่อดินที่ใช้อนุบาลลุกปลาดุกควรมีขนาด 200 – 800 ตรม. บ่อดินที่จะใช้อนุบาลจะต้องมี การกำจัด ศัตรูของลูกปลาก่อน และพื้นก้นบ่อควรเรียบ สะอาดปราศจากพืชพรรณไม้น้ำต่าง ๆ ควรมี ร่องขนาดกว้างประมาณ 0.5 – 1 เมตร ยาวจากหัวบ่อจรด ท้ายบ่อ และลึกจากระดับ พื้นก้นบ่อ ประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการรวบรวมลูกปลา และ ตรงปลายร่องควรมีแอ่งลึก มี พื้นที่ประมาณ 2 – 4 ตรม. เพื่อเป�น แหล่งรวบรวม ลูกปลาการอนุบาล ลูกปลาดุกในบ่อจะต้องเตรียม อาหารสำหรับลูกปลา โดยการเพาะไรแดงไว้ล่วงหน้าเพื่อเป�นอาหารให้แก่ ลูกปลาก่อน ที่จะปล่อยลูก ปลาดุกลงอนุบาลในบ่อ การอนุบาลในบ่อดินจะปล่อยในอัตรา 300 – 500 ตัว/ ตรม. การอนุบาลลูก ปลาให้เติบโตได้ขนาด 3 – 4 เซนติเมตรใช้เวลา ประมาณ 14 วัน แต่การอนุบาลลูก ปลาดุกในบ่อดิน นั้น สามารถควบคุมอัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดได้ยากกว่าการอนุบาลในบ่อซีเมนต์ (สุทธิชัย, 2550) 4.3 ป�ญหาในการอนุบาลลูกปลา น้ำเสียเกิดขึ้นจากการให้อาหารลูกปลามากเกินไปหาก ลูก ปลาป่วยให้ลดปริมาณอาหารลง30 – 500% ดูดตะกอนถ่ายน้ำแล้วค่อยๆ เติมน้ำใหม่หลังจากนั้นใช้ ยาปฏิชีวนะออกซีเตตร้าซัยคลิน แซ่ลูกปลาในอัตรา 10 – 20 กรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือในไตร ฟุราโชน 5 – 10 กรัม ต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร วันต่อๆมาใช้ยา ¾ เท่า ปลาจะลดจำนวนการตาย ภายใน 2 – 3 วัน ถ้าปลาตายเพิ่มขึ้น ควรกำจัดลูกปลาทิ้งไป เพื่อป้องกันการติดเชื้อ (อภิชาต, 2552) 5. การเลี้ยงปลาขนาดตลาด การเลี้ยงปลาดุกลูกผสมอุยเทศเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้นสามารถเลี้ยงได้ทั้งใน บ่อดินและบ่อซีเมนต์( มานพ , 2533 )

9 5.1 การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ควรปรับสภาพของน้ำในบ่อที่เลี้ยงให้มีสภาพเป�นกลางหรือ เป�นด่างเล็กน้อย แต่ต้อง แน่ใจว่าบ่อซีเมนต์จะต้อง หมดฤทธิ์ของปูน ระดับน้ำในบ่อเมื่อเริ่มปล่อยลูกปลา ขนาด 2 – 3 ชม. ควรมีความลึกประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร เมื่อลูกปลาเติบโตขึ้นค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำ ให้สูงขึ้น ตามลำดับ โดยเพิ่มระดับน้ำประมาณ 5 ชม./อาทิตย์ให้อาหารเม็ดประมาณ 3 – 7 เปอร์เซ็นต์ของ น้ำหนักตัวปลา โดยปล่อยปลาในอัตรา 50 – 70 ตัว/ ตรม. ปลาจะเติบโตได้ขนาดประมาณ 100 – 200 กรัม/ตัว ในระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 90 วัน อัตราการรอดประมาณ 80% ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยง สามารถให้ อาหารชนิดต่างๆ ทดแทนอาหารเม็ดได้ โดยใช้อาหารพวกไส้ไก่หรือปลาเป�ดผสมกับ เศษ อาหารก็ได้ แต่จำเป�นต้องถ่ายเทน้ำเพื่อป้องกันน้ำเสียกว่าการถ่ายเท น้ำเมื่อเลี้ยงด้วยอาหารเม็ด (พีระพล, 2563 ) 5.2 การเลี้ยงในบ่อดิน การเลี้ยงในบ่อดินนั้น จะต้องเตรียมบ่อตามหลักการเตรียมบ่อ เลี้ยงปลาทั่วๆ ไป ดังนี้ 1. จะต้องตากก้นบ่อให้แห้ง ปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด 2. ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพของดินโดยใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 60 – 100 กก./ ไร่ 3. ใส่ปุ่มคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลาในอัตราประมาณ 40 – 80 กก./ไร่ 4. นำน้ำเข้าบ่อโดยกรองไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำจนมีระดับน้ำลึก ลีก 30 – 40 ซม. หลังจากนั้นวันรุ่งขึ้นจึงปล่อยปลาและเพื่อให้ ลูกปลามีอาหารกินควรเติมไรแดงในอัตรา ประมาณ 5 กิโลกรัม เพื่อเป�นอาหารแก่ลูกปลาหลังจากนั้นจึงให้อาหารผสมแก่ลูกปลา ลูกปลาที่นำมา เลี้ยงควรตรวจ ดูว่ามีสภาพปกติ การปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำในถุงและ น้ำในบ่อ ให้เท่าๆกันก่อน โดยการแช่ถุงบรรจุลูกปลาในน้ำประมาณ 30 นาที จึงปล่อยลูกปลา เวลาที่ เหมาะสมใน การปล่อยลูกปลาควรเป�นตอนเย็นหรือตอนเช้าบ่ออื่นๆ ( พิพัฒน์, 2559 ) 6. ขั้นตอนการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย 6.1 อัตราปล่อยปลาดุกลูกผสม (บิ๊กอุย) ลูกปลาขนาด 2 – 3 ซม. ควรปล่อยในอัตรา ประมาณ 40 – 100 ตัว/ตรม. ซึ่งขึ้นอยู่กับ กรรมวิธี ในการเลี้ยง คือ ชนิดของอาการขนาดของบ่อและ ระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำซึ่งปกติทั่วๆไป อัตราปล่อยเลี้ยงประมาณ 50 ตัว/ตรม. และเพื่อป้องกันโรค ซึ่งอาจ จะติดมากับลูกปลา ใช้น้ำยา ฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยง อัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วน ในล้าน (3 ลิตร/น้ำ 100 ตัน)

10 ในวันที่ปล่อยลูกปลาไม่จำเป�นต้องให้ อาหาร ควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น(คู่มือการเลี้ยงปลาดุกในบ่อ ซีเมนต์,2555) 6.2 การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาดุกผสมลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลา ดุกมีขนาดเล็ก ( 2- 3 ซม. ) ควรให้อาหารผสมคลุก น้ำป��นเป�นก้อนให้ลูกปลากิน โดยให้กินวันละ 2 ครั้ง หว่านให้กินทั่วบ่อ โดยเฉพาะในบริเวณขอบบ่อ เมื่อลูกปลามีขนาดโตขึ้นความยาวประมาณ 5 – 7 ซม. สามารถฝ�กให้กิน อาหารเม็ดได้ หลังจากนั้นเมื่อปลาโตขึ้นจนมีความยาว 15 ซม.ขึ้นไป จะให้อาหารเม็ด เพียงอย่างเดียว หรืออาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น ปลาเป�ดผสมรำละเอียดอัตรา 9 : 1 หรือให้อาหารที่ ลดต้นทุน เช่น อาหารผสมบดจากส่วนผสมต่างๆเช่น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนมป�ง เศษเส้นหมี่ เศษเลือด หมู เลือดไก่ เศษเสี้ยว หรือเศษอาหารว่างๆเท่าที่สามารถหาได้นำมาบดรวมกินแล้วผสมให้ปลากินแต่การ ให้อาหารประเภทนี้จะต้องระวัง เรื่องคุณภาพของ น้ำในบ่อเลี้ยงให้ดี เมื่อเลี้ยงปลาได้ประมาณ 3 – 4 เดือนปลาจะมีขนาดประมาณ 200 -400 กรัม/ตัว ซึ่งผลผลิตที่ได้จะประมาณ 10 -14 ตัน/ไร่ อัตรารอดตายประมาณ 40 -70 % ( นฤมล, 2531 ) 6.3 การถ่ายเทน้ำ เมื่อตอนเริ่มเลี้ยงใหม่ๆระดับความลึกของน้ำในบ่อควรมีค่าประมาณ 30 – 40 ซม. เมื่อลูก ปลาเจริญเติบโตขึ้นในเดือน แรกจึงเพิ่มระดับน้ำสูงเป�นประมาณ 50 – 60 ซม. หลังจากย่างเข้าเดือน ที่สองควรเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น 10 ซม./อาทิตย์ จนระดับน้ำในบ่อมีความลึก 1.20 – 1.50 เมตร การ ถ่ายเทน้ำควรเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงผ่านไปประมาณ 1 เดือน โดยถ่ายน้ำประมาณ 20 % ของน้ำใน บ่อ 3 วัน/ครั้ง หรือถ้าน้ำในบ่ เริ่มเสียจะ ต้องถ่ายน้ำมากกว่าปกติ( ภานุ, 2538 ) 6.4 การป้องกันโรค การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจากป�ญหาคุณภาพของน้ำ ในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งอาจเกิด จากสาเหตุของการให้ อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้ โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมื่อปลาหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะ ปลาดุกลูกผสมมีนิสัย ชอบกินอาหารที่ให้ใหม่ โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีกก็จะคายหรือ สำรอกอาหารเก่าทิ้ง แล้วกินอาหารให้ใหม่อีกซึ่งปริมาณ อาหาร ที่ให้ไม่ควรเกิน 45% ของน้ำหนักตัวปลา ( ยุทธนา, 2555) 7. วิธีการป้องกันการเกิดโรคในปลาดุกลูกผสมที่เลี้ยง 7.1 ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา 7.2 ซื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค

11 7.3 หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและ แก้ไขโดยเร็ว 7.4 หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงแล้ว 3 – 4 วันควรสาดน้ำยาฟอร์มาลิน 2 – 3 ลิตร/ ปริมาตร น้ำ 100 ตัน และหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภาย นอกให้แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินใน อัตรา 4 – 5 ลิตร/ปริมาตรน้ำ 100 ตัน 7.5 เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอและอย่าให้อาหารจนเหลือ ( สุรเดช,2564) 8. โรคของปลาดุกเลี้ยง ในกรณีที่มีการป้องกันอย่างดีแล้วแต่ปลาก็ยังป่วยเป�นโรค ซึ่งมักจะแสดงอาการให้เห็น โดย แบ่งอาการของโรคเป�นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ 8.1 การติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะมีการตกเลือด มีแผลตามลำตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิก กกหูบวม ท้องบวมมีน้ำในช่องท้อง กินอาหารน้อยลงหรือไม่กินอาหาร ลอยตัว 8.2 อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลา จะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบ เป��อย จุดสีขาวตาม ลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติ เหงือกซีดว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ ตรง ทิศทาง 8.3 อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินบีกะโหลกร้าว บริเวณใต้ คางจะ มีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลงถ้าขาด วิตามินบีปลาจะว่ายน้ำตัวเกรงและชักกระตุก 8.4 อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็วกว่าปกติลอยหัวครีบ กร่อน เป��อย หนวดหงิก เหงือกซีดและบวม ลำตัวซีดไม่กิน อาหาร ท้องบวม มีแผลตามตัว อนึ่ง ในการรักษา โรคปลาควรจะได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจเลือกใช้ยาหรือสารเคมีสาเหตุของโรค ระยะ รักษา ค่าใช้จ่าย ในการรักษา ( พีระ, 2561) 9. แนวโน้มตลาด 9.1 ปลาดุกบิ๊กอุยเป�นปลาเลี้ยงง่ายเจริญเติบโตเร็วจึงมีเกษตรกรนิยมเลี้ยงเป�นจำนมาก ส่งผลให้ราคาปลาดุกไม่เคลื่อนไหวมากนัก 9.2 เนื่องจากอุปนิสัยของคนไทยซึ่งนิยมบริโภคเนื้อปลาอยู่แล้ว ถ้าสามารถลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้ราคาต่ำลงได้แล้วจะทำให้การบริโภค สูงขึ้น 9.3 ผลผลิตจากแหล่งน้ำธรรมชาติลดลงอันเนื่องมาจากแหล่งน้ำเสื่อมโทรมก็จะมีผลทำให้ มี การบริโภคปลาจากการเพาะเลี้ยงมากขึ้น

12 9.4 เมื่อมีการเลี้ยงแบบอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถควบคุมปริมาณและคุณภาพของปลาคุกได้ แล้วก็มีโอกาสในการแข่งขันในระดับต่าง ประเทศมากขึ้น 9.5 ในป�จจุบันมีการรณรงค์บริโภคอาหารโปรตีนจากเนื้อปลาเพราะให้โปรตีนสูงย่อยง่ายและ ยังมีราคา ( วัลลภ, 2547 )

บทที่3 วิธีการดำเนินงาน 1. ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. วางแผนการดำเนินงาน 2. ศึกษาข้อมูลการอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุย 2.1 ศึกษาหาข้อมูลการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย 2.2 ขอคำปรึกษาจากครูที่ปรึกษาโครงงาน 3. ประชุมเพื่อดำเนินตามโครงงาน 4. เขียนโครงงานอนุมัติการจัดทำโครงงานการอนุบาลดุกบิ๊กอุยเพื่อการค้า เขียนหลักการและเหตุผลของโครงงานการอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุย รวมถึงการอนุบาลการเลี้ยง ปลาดุกบิ๊กอุยและข้อมูลทั่วไปวัสดุอุปกรณ์ในการอนุบาลและการดำเนินงานสถานที่และระยะเวลาใน การดำเนินงานของโครงงานการอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุย 5. ดำเนินการตามโครงงาน 5.1 จัดเตรียมสถานที่ในการอนุบาลลูกปลาดุกบิ๊กอุยโดยการทำความสะอาดบริเวณ โรงเพาะฟ�ก 5.2 เตรียมบ่อซีเมนต์ขนาดกว้าง 150เซนติเมตร ยาว 400เซนติเมตร โดยการใช้ด่าง ทับทิมทำความสะอาดละตากบ่อก่อนจะนำลูกปลาดุกมาอนุบาล 5.3 เติมน้ำในบ่อซีเมนต์ขนาด กว้าง 150เซนติเมตร ยาว 400 เซนติเมตรเติมน้ำสูง ประมาณ 30 เซนติเมตร 5.4 นำลูกปลาดุกบิ๊กอุยขนาด 2 เซนติเมตร จำนวน 1,000 ตัว มาอนุบาล 5.5 ให้อาหาร 2 มื้อเป�นเวลาเช้า-เย็น อาหารที่ให้เป�นอาหารประหลาดดุกขนาดเล็ก 5.6 เก็บข้อมูลสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยชั่งน้ำหนักและวัดความยาว 5.7 จดบันทึกการเจริญเติบโตของลูกปลาดุกที่เพิ่มขึ้น เปอร์เซ็นต์อัตราการรอดตาย แลการเปลี่ยนอาหารเป�นเนื้อโดยใช้สูตรดังนี้ 5.7.1 น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น (Weight gain) Weight gain = น้ำหนักสุดท้าย - น้ำหนักเริ่มต้น 5.7.2 เปอร์เซ็นต์อัตราการรอด (%Survival)

14 %Survival = จำนวนสัตว์น้ำที่เหลือสิ้นสุดโครงการ x100 จำนวนสัตว์น้ำที่เริ่มปล่อยการทดลอง 5.7.3 อัตราการเปลี่ยนอาหารเป�นเนื้อ Feed conversion ratio, FCR FCR = ปริมาณอาหารที่กิน น้ำหนักสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้น 6. การจับจำหน่ายผลผลิตปลาดุกขนาด 5.5 เซนติเมตรให้เกษตรกรที่ต้องการ ในราคา 2 บาท 7. สรุปโครงงาน 2. ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 12ธันวาคม 2565 – 30 มกราคม 2566 3. สถานที่ดำเนินงาน ณ โรงเพาะฟ�ก วิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ 4. วัสดุอุปกรณ์ รายการ จำนวน เป�นเงิน หมายเหตุ 1.ลูกพันธ์ปลาดุกขนาด 2 เซนติเมตร 1,000 ตัว ตัวละ 20 สตางค์ 200 บาท 2.อาหารปลาดุกขนาดเม็ดเล็กจิ๋ว(ไฮเกรด) 3 ถุง ถุงละ 150 บาท 450 บาท 3.ยาเหลือง 1 ขวด ขวดละ 50 บาท 50 บาท 4.เกลือ 1 ถุง ถุงละ 20 บาท 20 บาท 5.แปรง 1 อัน อันละ 20 บาท 20 บาท 6.ชุดหัวทรายและสายออกซิเจน 4 ชุด ชุดละ20 บาท 80 บาท 7.กะละมัง 1 ลูก ลูกละ 20 บาท 20 บาท 8.สวิง 2 อัน อันละ 10 บาท 20 บาท 9.ถุงบรรจุและหนังยาง 1 ชุด ชุดละ 80 บาท 80 บาท รวมเป�นเงิน 940 บาท 5. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุย มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งสิ้น 940 บาท 6. แหล่งบประมาณ งบประมาณส่วนตัว

14 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน การจัดทำโครงงานการอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุยเพื่อการค้า ณ โรงเพาะฟ�ก วิทยาลัยประมง ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2565 - เดือน มกราคม 2566 เพื่อฝ�กทักษะอาชีพ หา รายได้ระหว่างเรียน และ เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของปลาดุกบิ๊กอุย 1.การเจริญเติบโตของลูกปลาคาร์ฟ จากการปล่อยลูกปลาดุกบิ๊กอุย ขนาด 2 เซนติเมตร จำนวน 1,000 ตัว สุ่มชั่งน้ำหนักและวัด ความยาวแรกปล่อยจำนวน 10 ตัว เฉลี่ยตัวละ 1.8 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย ตัวละ 0.5กรัม อนุบาล เป�นระยะเวลา 7สัปดาห์ ความยาวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5.5 เซนติเมตร และ น้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.52 กรัม (ตารางผนวกที่1) 2.อัตราการรอดตาย จากการอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุยจำนวน 1,000 ตัว เป�นระยะเวลา 7 สัปดาห์ มีปลาดุกบิ๊กอุย เหลือ จำนวน 819 ตัวคิดเป�นอัตราการรอดตาย เท่ากับ 81.9 % (ตารางผนวกที่2) 3. อัตราการเปลี่ยนอาหารเป�นเนื้อ ( Feed conversion ratio, FCR ) การอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุยเป�นระยะเวลา 7 สัปดาห์ ใช้อาหารทั้งหมด 6,440 กรัม ได้น้ำหนักเพิ่มขึ้น 6.02 กรัม อัตรา FCR = 1.30 (ตารางผนวกที่ 3)

16 บทที่ 5 สรุปผล ป�ญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ป�ญหา สรุปผล การอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุยเพื่อการค้า ณ โรงเพาะฟ�ก วิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ตั้งแต่วันที่ ธันวาคม 2565 ถึง 30 มกราคม พ.ศ. 2566 เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตโดยการชั่งน้ำหนัก และวัดความยาว อัตราการรอดตาย อัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป�นเนื้อ และ ต้นทุนการผลิตในการ อนุบาลปลาดุกบิ๊กอุย จำนวน 1,000 ตัว ในบ่อซีเมนต์ระยะเวลา 7 สัปดาห์ มีน้ำหนักเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 6.02กรัม ความยาวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.7 เซนติเมตร อัตราการรอดตายร้อยละ 81.9 อัตราการแรกเปลี่ยน อาหารเป�นเนื้อ 1.30 ตลอดการดำเนินโครงงานมีต้นทุนการผลิตทั้งหมด 940 บาท จำหน่ายลูกปลา ดุกบิ๊กอุยเป�นจำนวน 1,638 บาท ได้กำไรสุทธิ 698 บาท ป�ญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข 1. มีศัตรูปลาจำพวกนกกระยางหรือนกกาน้ำมากินลูกปลา แก้ไขโดย ใช้มุ้งไนล่อนป�ดบริเวณปากบ่อเพื่อป้องกันศัตรูปลา 2. ปลาเป�นโรค แก้ไขโดย นำปลาที่เป�นโรคแยกบ่อแล้วนำยาเหลืองใส่เพื่อรักษาปลา

17 เอกสารอ้างอิง กรมประมง. 2530. ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย. กรมประมง. กระทรวงเกษตรละสหกรณ์. พิมพ์โดยองค์การคุรุสภา. 154 หน้า. นฤมล สุขุมาสวิน. 2531. เพาะปลาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรมประมง. 31 หน้า. พิพัฒน์ อินทร์มาตย์. 2559. การเลี้ยงปลา. สำนักพิมพ์เกษตรสยาม. กรุงเทพฯ. พีระ แพงสุข. 2561. เกษตรกรเพาะพันธ์ปลาดุกบิ๊กอุย. ปราจีนบุรี. ภานุ เทวรัตน์มณีกุล. 2538. การอนุบาลลูกปลาดุกอุย. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 73 หน้า. มานพ ตั้งตรงไพโรจน์. 2533. บิ๊กอุยปลาเศรษฐกิจชนิดใหม่. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ ยงยุทธ ทักษิน และคณะ. 2550. การเพาะเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย. สำนักพัฒนาและถ่ายทอด เทคโนโลยีการประมง. กรุงเทพฯ. ยุทธนา กันฑพงษ์. 2556. การอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุย. ชุมพร. วีระพงศ์ วุฒิชัยพันธุ์ชัย. 2536. การเพาะพันธุ์ปลา. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ.194 หน้า. วัลลภ ยกสมาคม. 2547. การเลี้ยงปลาดุก. โครงการเกษตรชุมชน. กรุงเทพฯ. สรุศักดิ์ วงศ์กิตติเวชสกุล. 2540. หนังสือสารานุกลมปลาไทย. สำนักพิมพ์เอมซับพลาย. กรุงเทพฯ. สุทธิชัย ปทุมล่องทอง. 2550. ปลาเศรษฐกิจ. สำนักพิมพ์เกษตรสบามบุ๊ค. กรุงเทพฯ. สุรเดช ลัดคมขำ. 2559. การเลี้ยงปลาขนาดตลาด. เทคโนโลยีการประมง. ตรัง. อภิชาติ ศรีสะอาด. 2552. คู่มือการเพาะเลี้ยงปลา. สำนักพิมพ์พาคาอินเตอร์มีเดีย. กรุงเทพฯ. อุทัยรัตน์ ณ นคร. 2544 ปลาดุก. คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

18 ภาคผนวก ก

19 ตารางที่ 1 ข้อมูลการเจริญเติบโตของปลาดุกบิ๊กอุยตลอดการดำเนินโครงงาน ระยะเวลา (สัปดาห์) ความยาวเฉลี่ย (เซนติเมตร) น้ำหนักเฉลี่ย(กรัม) เริ่มเลี้ยง 1.8 0.50 1 2.4 1.12 2 3.0 1.82 3 3.3 2.60 4 4.0 3.46 5 4.4 4.40 6 5.2 5.42 7 5.5 6.52 ตารางที่ 2 ข้อมูลอัตราการรอดตายตลอดการดำเนินโครงงาน ระยะเวลา (วัน) อัตราการรอด จำนวน(ตัว) ร้อยละ(%) เริ่มเลี้ยง 1000 100 7 965 96.5 14 916 91.6 21 866 86.6 28 866 86.6 35 866 86.6 42 832 83.2 49 819 81.9

20 ตารางที่ 3 ข้อมูลปริมาณอาหารในการอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุยและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป�นเนื้อ ระยะเวลา (วัน) มื้อ เช้า (กรัม) มื้อเย็น (กรัม) รวมอาหาร/วัน (กรัม) รวมอาหาร/ สัปดาห์(กรัม) อัตรการเปลี่ยน อาหารเป�นเนื้อ (FCR) เริ่มเลี้ยง 40 40 80 560 0.90 7 45 45 90 630 0.94 14 50 50 100 700 0.98 21 55 55 110 770 1.04 28 60 60 120 840 1.03 35 65 65 130 910 1.03 42 70 70 140 980 1.25 49 75 75 150 1,050 - รวม 460 460 920 6,440 1.3 ตารางที่ 4 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตลอดการทำโครงงาน รายการ จำนวน เป�นเงิน(บาท) 1.ลูกพันธ์ปลาดุกขนาด 2 เซนติเมตร 1,000 ตัว ตัวละ 20 สตางค์ 200 2.อาหารปลาดุกขนาดเม็ดเล็กจิ๋ว(ไฮเกรด) 3 ถุง ถุงละ 150 บาท 450 3.ยาเหลือง 1 ขวด ขวดละ 50 บาท 50 4.เกลือ 1 ถุง ถุงละ 20 บาท 20 5.แปรง 1 อัน อันละ 20 บาท 20 6.ชุดหัวทรายและสายออกซิเจน 4 ชุด ชุดละ20 บาท 80 7.กะละมัง 1 ลูก ลูกละ 20 บาท 20 8.สวิง 2 อัน อันละ 10 บาท 20 9.ถุงบรรจุและหนังยาง 1 ชุด ชุดละ 80 บาท 80 รวมเป�นเงิน 940 บาท

21 ตารางที่ 5 รายรับจากการจำหน่ายปลาดุกบิ๊กอุยตลอดการดำเนินโครงงาน วัน/เดือน/ป� รายการ จำนวน (เงิน) หมายเหตุ 26/01/66 จำหน่ายปลาดุกบิ๊กอุยจำนวน 200 ตัว 400 บาท 27/01/66 จำหน่ายปลาดุกบิ๊กอุยจำนวน 300 ตัว 600 บาท 28/01/66 จำหน่ายปลาดุกบิ๊กอุยจำนวน 160 ตัว 320 บาท 29/01/66 จำหน่ายปลาดุกบิ๊กอุยจำนวน 100 ตัว 318 บาท รวมเป�นเงิน 1,638 บาท