ใบ งาน เรื่อง หน้าที่ชาวพุทธ ม. 6

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 ถ้านักเรียนปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดีก็จะทำให้พระพุทธศาสนาสามารถธำรงอยู่ได้ต่อไป

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ส 1.2 ม.3/2 ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมตามหลักศาสนาต่างๆตามที่กำหนด

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. นักเรียนสามารถบอกหน้าที่ของการเป็นศิษย์ที่ดีและครูที่ดีตามหลักทิศ 6 ได้

2. นักเรียนสามารถยกตัวอย่างการปฏิบัติตนเป็นศิษย์ที่ดีตามหลักทิศ 6 ได้

3. นักเรียนตระหนักในการปฏิบัติตนเป็นศิษย์ที่ดีตามหลักทิศ 6

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

  1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

  1.2 ถาม – ตอบ

  1.3 ทำใบงานที่ 16

2. เครื่องมือ

   2.1 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

   2.2 คำถาม

  2.3 ใบงานที่ 16

3. เกณฑ์

  3.1 ตอบคำถามถูกต้อง

  3.2 ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ขึ้นไป

ใบงานที่ 1.1
เรื่อง หน้าที่ชาวพุทธ

คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. หน้าที่สำคัญของพระภิกษุ คืออะไร

……………………………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………………………..

2. พระนักเทศน์ พระธรรมทูต พระธรรมจาริก พระวิทยากร พระวิปัสสนาจารย์ และพระนักพัฒนา
มีบทบาทสำคัญอย่างไร

……………………………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………………………..

3. ถ้านักเรียนมีลูกจ้างในบ้าน หรือมีผู้ทำหน้าที่บริการช่วยเหลือนักเรียนอยู่เสมอ นักเรียนควรปฏิบัติตนต่อ
เขาอย่างไร จึงจะสอดคล้องกับการปฏิบัติตนตามหลักทิศเบื้องล่างในทิศ 6

……………………………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………………………..

4. อุบาสกธรรม 7 ได้แก่อะไรบ้าง

……………………………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………………………..

5. ปัจจุบันนี้นักเรียนได้ปฏิบัติหน้าที่และบทบาทของอุบาสก อุบาสิกา อย่างเหมาะสมอย่างไรบ้าง

……………………………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………………………..

ใบงานที่ 1.1

เรื่อง  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

คำชี้แจง     ให้นักเรียนวิเคราะห์วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาตามหัวข้อที่กำหนด

ชื่อวันสำคัญ

ตรงกับวัน

หลักธรรม

คติธรรมที่เกี่ยวเนื่อง

แนวทางการปฏิบัติตนตามหลักธรรม

1. วันมาฆบูชา
2. วันวิสาขบูชา
3. วันอัฏฐมีบูชา
4. วันอาสาฬหบูชา

ชื่อวันสำคัญ

ตรงกับวัน

หลักธรรม

คติธรรมที่เกี่ยวเนื่อง

แนวทางการปฏิบัติตนตามหลักธรรม

5. วันธรรมสวนะ
6. วันเข้าพรรษา
7. วันออกพรรษา     และวันตักบาตร    เทโว

แบบประเมินบันทึกการฝึกปฏิบัติตนในการบริหารจิตตามหลักสติปัฏฐาน

ระหว่างวันที่………….เดือน……………………..พ.ศ……………ถึงวันที่…………เดือน………………………พ.ศ……………

ชื่อ…………………………………………………………………………..ชั้น……………………………..เลขที่………………………….

วัน เดือน ปี

รายการปฏิบัติ

ผลที่ได้รับ

ลายมือชื่อ

ผู้สังเกตพฤติกรรม

 1 มิ.ย. 52 ตัวอย่างทำสมาธิก่อนนอน 15 นาที

มีความกังวลบ้างแต่จิตใจสงบขึ้น

2 มิ.ย. 52 ทำสมาธิตอนตื่นนอนเช้า จิตใจสบาย

เกณฑ์การประเมิน

                                ปฏิบัติได้               20           ครั้งขึ้นไป             =             ดีมาก (4)

ปฏิบัติได้               15-19     ครั้ง                         =             ดี (3)

ปฏิบัติได้               10-14     ครั้ง                         =             พอใช้ (2)

ปฏิบัติได้ต่ำกว่า    10           ครั้ง                         =             ปรับปรุง (1)

ใบงานที่ 1.1

เรื่อง  ประโยชน์ของการบริหารจิต

ตอนที่ 1

คำชี้แจง     ให้นักเรียนเขียนแผนผังความคิด เรื่อง ประโยชน์ของการบริหารจิต

ประโยชน์ของ

การบริหารจิตในชีวิตประจำวัน

ตอนที่ 2

คำชี้แจง     ให้นักเรียนเขียนอธิบายหรือตอบคำถามในประเด็นที่กำหนด

1.  ผู้ที่บริหารจิตอย่างสม่ำเสมอ  จะส่งผลดีต่อบุคลิกภาพอย่างไร

2.  นักเรียนเล่าประสบการณ์ของตนที่เคยบริหารจิตและประโยชน์ที่ได้รับ

แบบประเมินบทความวิเคราะห์ เรื่อง การนำวิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ

และวิธีคิดแบบวิภัชชวาทไปใช้ในการดำเนินชีวิต

(ชิ้นงานที่ 7.2)

กลุ่มที่……………………..

สมาชิกของกลุ่ม                               1.      ………………………………….          2.      ………………………………….

3.      ………………………………….          4.      ………………………………….

5.      ………………………………….          6.      ………………………………….

ลำดับที่

รายการประเมิน

คุณภาพผลงาน

4

3

2

1

1

การคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ        

2

การคิดแบบวิภัชชวาท        

3

การเสนอแนวทางการนำวิธีคิดไปใช้ในการดำเนินชีวิต        

รวม

 

ลงชื่อ……………………………………………ผู้ประเมิน

                                                                                               …………../………………./…………….

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

ระดับคุณภาพ

11-12

9-10

6-8

ต่ำกว่า 6

ดีมาก

ดี

พอใช้

ปรับปรุง

ดีมาก                      =              4

ดี                             =              3

เกณฑ์การให้คะแนน

พอใช้                      =              2

ปรับปรุง                                =              1

ใบงานที่ 2.1

เรื่อง  คิดเป็น

คำชี้แจง     ให้นักเรียนอ่านข่าว แล้วตอบคำถามตามที่กำหนด

ข่าวที่ 1  เกมคอมพิวเตอร์

พ่อแม่หลายท่านอาจจะรู้สึกเป็นกังวลเวลาเห็นเด็กๆ หมกมุ่นอยู่กับเกมคอมพิวเตอร์  เพราะเกรงว่าลูกจะกลายเป็นเด็กติดเกมจนเป็นปัญหาในอนาคต

เรื่องนี้แก้ไขได้  หากวางกฎกติกาในการเล่นเกมอย่างชัดเจน  และหากเป็นไปได้พ่อแม่ควรคอยชี้แนะลูกอยู่ใกล้ๆ ด้วย

ความจริงแล้ว  เกมคอมพิวเตอร์มีประโยชน์มากมายสำหรับเด็ก  นิตยสารมาเธอร์ เบบี้ ฉบับเดือน ก.ค. รวบรวมมาฝาก  ดังนี้

1.  ฝึกการสังเกต  การตัดสินใจ

เนื้อหาของเกมจะมีการให้เปรียบเทียบ  แยกประเภท  หรือตัดสินใจอย่างรวดเร็ว  การจะเอาชนะหรือผ่านด่านต่างๆ ได้  ต้องใช้การคิดแก้ปัญหา  การสังเกต  และตัดสินใจอย่างรวดเร็ว      แม้จะเป็นสถานการณ์จำลอง

2.  ฝึกภาษา

เกมในปัจจุบันมีหลากหลายที่สนุกและให้ความรู้เรื่องศัพท์ไปพร้อมๆ กัน  รวมถึงการได้ออกเสียงชัดเจนและถูกต้อง  คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่ใกล้ๆ เพื่อสอนคำศัพท์ต่างๆ ไปด้วย

3.  เสริมสร้างจินตนาการ

ปัจจุบันมีเกมหลากหลายที่ให้เด็กๆ  ได้เลือกเติมแต่งสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง เช่น เกมจัดห้อง  แต่งตัวตุ๊กตา  สร้างสวนสนุก  หรือเกมสร้างเมืองจำลอง  เด็กจะได้สนุกและคิดฝันตามจินตนาการ

4.  เรียนรู้กติกา

เกมในกลุ่มกีฬา  เช่น  ฟุตบอล  เทนนิส  บาสเกตบอล  กอล์ฟ ฯลฯ  จะทำให้ผู้เล่นเข้าใจกฎ  กติกา  จึงจะเล่นได้  เป็นการปูพื้นฐานให้เด็กทำความรู้จักกับกีฬาประเภทนั้นๆ   และหากมีโอกาสคุณพ่อคุณแม่ก็ควรชวนลูกไปเล่นกีฬาที่เขาชอบจากเกม  อาจจะทำให้ลูกลืมกีฬาในจอคอมพิวเตอร์ไปเลยก็ได้

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด  ฉบับวันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คำถาม

1.  เกมคอมพิวเตอร์มีส่วนในการฝึกภาษาอย่างไร (วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ)

2.  เกมคอมพิวเตอร์มีผลต่อการเล่นกีฬาในเรื่องใด (วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ)

3.  การเล่นเกมคอมพิวเตอร์มีประโยชน์ หรือมีโทษ แยกตอบทีละประเด็น และสรุป (วิธีคิดแบบวิภัชชวาท)

ข่าวที่ 2  มัคคุเทศก์น้อยพาชมแห่เทียนเมืองอุบลฯ

กลุ่มเยาวชนโรงเรียนเทศบาลสองหนองบัว  จังหวัดอุบลราชธานี  เป็นกลุ่มมัคคุเทศก์น้อย  นำกลุ่มชาวต่างชาติท่องเที่ยวชมศิลปะและความงดงามของเทียนพรรษา เมืองอุบลราชธานี  และเล่าให้นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นให้มีความรู้เรื่อง งานประเพณีแห่เทียนพรรษา  ซึ่งถือว่าเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี

ชาวอุบลราชธานีทำต้นเทียนประกวดประชันความงาม  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 จนเมื่อปี พ.ศ. 2520  จังหวัดอุบลราชธานีจัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษาให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่  นอกจากจะแสดงออกถึงความยึดมั่นสืบสานงานบุญทางพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดของชาวเมืองอุบลราชธานีแล้ว  ยังเป็นงานที่แสดงออกถึงวิวัฒนาการด้านศิลปะของสกุลช่างเมืองอุบลราชธานีอีกด้วย  เนื่องจากบรรดาช่างศิลป์เมืองอุบลราชธานีที่มีอยู่มากมายหลากหลายแขนง  และผลิตงานด้านศิลปะอย่างต่อเนื่องตลอดมา  ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะร่วมสมัย  งานหัตถกรรมพื้นบ้าน  และงานก่อสร้างตกแต่งโบสถ์วิหารต่างๆ  จะใช้โอกาสในช่วงเทศกาลนี้กลับมาทดสอบ  ทดลองและประลองฝีมือเชิงช่างผ่านต้นเทียนพรรษา

ต้นเทียนพรรษาที่ประกวดในงานประเพณีแห่เทียน มี 2 ประเภท ได้แก่  ประเภทแกะสลัก  และประเภทติดพิมพ์  ซึ่งประเภทแกะสลักนั้น  วัดพระธาตุหนองบัว  ถือว่ามีชื่อเสียงอย่างยิ่งและได้รับรางวัลการันตีทุกปี

นอกจากความงามของประติมากรรมเทียนพรรษาประเภทแกะสลักของจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว  ยังมีต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ซึ่งวัดบูรพา  ถือว่าขึ้นชื่อด้านงานฝีมือที่ละเอียดอ่อนและได้รับรางวัลการันตีทุกปีด้วยเช่นกัน

คุณลุงแก้ว  อาจหาญ  ช่างฝีมือระดับชั้นครูแห่งวัดบูรพาเล่าว่า  “เสน่ห์ของต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์แห่งวัดบูรพาอยู่ที่ทุกคนในชุมชนสามารถมีส่วนร่วมได้  ทั้งการต้มเทียน  และสลักลวดลายต่างๆ ไปจนถึงการติดลวดลายบนเทียน”

จึงไม่น่าแปลกใจที่เราได้เห็นเยาวชนในชุมชนวัดบูรพา  ขะมักเขม้นกับการแกะลวดลายจากขี้ผึ้ง  ทั้งลายประจำยาม  ลายพนม  ลายกระจังรวน  ลายกาบบัว  ลายรักร้อย  และอีกหลากหลายลวดลาย  ที่สะท้อนความงามแบบไทยที่หาชาติใดเสมอเหมือน

งานนี้แม้แต่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ได้มาเยือนชุมชนแห่งนี้ยังอดไม่ได้ที่จะแสดงฝีมือและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของต้นเทียนพรรษาวัดบูรพา

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด  เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553

คำถาม

1.  การประกวดทำต้นเทียนของชาวอุบลราชธานี  ในชุมชนวัดบูรพา  มีการแกะลวดลายจากขี้ผึ้งเป็นลาย

อะไรบ้าง (วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ)

2.  ในข่าวนี้  แสดงถึงการมีส่วนร่วมของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดบ้าง (วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ)

3.  ประเพณีแห่เทียนพรรษา มีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยในด้านใดบ้าง อธิบาย (วิธีคิดแบบวิภัชชวาท)

ข่าวที่ 3  ชิงชัยฟิสิกส์โอลิมปิก

ออกเดินทางเป็นตัวแทนประเทศ เข้าร่วมชิงชัยฟิสิกส์โอลิมปิกวิชาการกันแล้ว ณ กรุง         ซาเกร็บ ประเทศโครเอเชีย ระหว่างวันที่ 17-25 ก.ค. หลังได้รับคัดเลือกจากสถาบันส่งเสริมการ        สอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งผลงานเมื่อปีที่แล้วที่เม็กซิโก เยาวชนไทยคว้ามาได้     1 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน

ปีนี้มาร่วมส่งแรงเชียร์เด็กไทยกันอีกครั้ง  เริ่มที่วี นายวีรภัทร พิทยครรชิต ชั้น ม.6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา บอกว่า ชื่นชอบฟิสิกส์ โดยเฉพาะด้านทฤษฎี เพราะเมื่อเห็นอะไรรอบตัวเกิดคำถามหรือข้อสงสัย เพียงแค่มีกระดาษและปากกาก็หาคำตอบได้ทุกที่ ทุกเวลา เนื่องจากฟิสิกส์ช่วยสร้างจินตนาการในการมองสิ่งต่างๆ

ส่วนเคล็ดลับการเรียน วีเผยว่า หากค้นพบว่าตัวเองชอบอะไร ฝันจะทำสิ่งใด อย่ามัวแต่คิดว่าจะทำขอให้ลงมือทำด้วยความตั้งใจ เมื่อผิดพลาดก็ควรปล่อยวางกับสิ่งที่ผ่านไป

เก่ง  นายนครินทร์  โลหิตศิริ  ชั้น ม.5  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา  เล่าว่า วิชาฟิสิกส์โดยเฉพาะทฤษฎีทำให้เราได้เห็นความสวยงามของธรรมชาติผ่านสมการอันเรียบง่ายทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจำเป็นต้องจินตนาการและทำความเข้าใจในปรากฏการณ์ต่างๆ อย่างลึกซึ้งจึงจะวิเคราะห์ออกมาได้

คุณครูวิทยาศาสตร์ควรสอนเด็กๆ ให้เข้าใจถึงแก่นและเนื้อหาสาระนั้นๆ โดยอาจมีการทดลองหรือนำปรากฏการณ์ที่เห็นได้ทั่วไป หรือน่าตื่นเต้นมากระตุ้นความสนใจเด็กจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น หรือเปลี่ยนความคิดมาชอบวิทยาศาสตร์ก็ได้

ตุลย์  นายชยากร  พงษ์ศิริ  ชั้น ม.5 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ บอกว่าสนุกกับการเรียนรู้ฟิสิกส์  โดยเฉพาะภาคปฏิบัติ  เพราะไม่น่าเบื่อ ชอบทำการทดลองต่างๆ จะพยายามเตรียมตัวให้พร้อมด้วยการฝึกฝนทำโจทย์บ่อยๆ รวมทั้งเตรียมด้านจิตใจด้วย ตุลย์มีหลักของตัวเองว่าตั้งใจเรียนในห้องเรียนให้ดีที่สุด เวลาว่างก็พักผ่อน ดูโทรทัศน์เหมือนเด็กทั่วไป

ปริ๊นซ์ นายอิสระพงศ์ เอกสินชล ชั้น ม.6 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ กล่าวว่า การเรียนในสิ่งที่ไม่ชอบนั้น ต่อให้ตั้งใจเรียนมากแค่ไหนก็คงไปได้ไม่ไกลนัก และคงไม่มีความสุข มีแต่จะเครียดและฝืนตัวเองเกินไป

สำหรับปริ๊นซ์ วิชาฟิสิกส์คือวิชาที่เขารักและสนุกกับการเรียน และต้องการเรียนรู้ในเนื้อหาที่ลึกซึ้งขึ้น การเข้าร่วมโครงการโอลิมปิกวิชาการทำให้มีโอกาสฝึกการปฏิบัติการ ฝึกการใช้เครื่องมือต่างๆ ทำให้ค้นพบว่าการปฏิบัติการก็น่าสนใจไม่น้อยกว่าทฤษฎี ตอนนี้จึงสนใจทั้งสองด้านเท่าๆ กัน และพัฒนาไปพร้อมกันด้วย

ใบงานเสริมที่ 1

เรื่อง  การคิดแบบโยนิโสมนสิการ : การคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ

คำชี้แจง     ให้นักเรียนจับคู่กัน แล้วผลัดกันเล่าประสบการณ์ของนักเรียนที่เคยนำวิธีคิดแบบแยกแยะ

องค์ประกอบไปประยุกต์ใช้ แล้วบันทึกข้อมูลลงในตารางที่กำหนด

ลำดับที่

เรื่องที่คิด/ประเด็นที่คิด

วิธีคิด

ผลที่ได้จากการคิด

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   

คำชี้แจง     1.  นักเรียนจับคู่กันและร่วมกันตอบคำถาม

2.      นักเรียนแต่ละคู่รวมกันเป็น 3 คู่ ตรวจสอบวิธีการคิดร่วมกันเป็นเอกฉันท์

คำถาม  

ถ้านักเรียนจะเลือกซื้อสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีราคาแพง  นักเรียนจะจำแนกวิธีการเลือกซื้อสินค้าอย่างไร  ที่จะทำให้ผู้ปกครองยินยอมให้ซื้อ

1.  จำแนกสภาวะที่เป็นจริง  ทีละด้าน  ทีละประเด็น

2.  จำแนกโดยส่วนประกอบ

3.  จำแนกลำดับขณะ

4.  จำแนกโดยสัมพันธ์กับเหตุปัจจัย

5.  จำแนกโดยเงื่อนไข

6.  จำแนกโดยการตอบปัญหา