ใบงาน การเขียนวิเคราะห์วิจารณ์ ม. 2

สื่อการเรียนการสอน การเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น

ระดับชั้น : ม.2   วิชา : ภาษาไทย

สื่อการเรียนการสอน ภาษาไทย ม.2 ชุดนี้
เรื่อง การเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น

- หลักการเขียนเบื้องต้น

- จุดมุ่งหมายของการเขียน

- ลักษณะงานเขียนที่ดี

- พื้นฐานการเป็นผู้เขียนที่ดี

- การใช้กระบวนการเขียนพัฒนางานเขียน

- หลักการวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียน

- ประเภทของบทความต่างๆ พร้อมตัวอย่าง


เป็นสื่อการเรียนการสอนที่นำมาจาก
โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย
(OTPC : One Tablet Per Child)

จัดทำโดยสำนักงานเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สื่อการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

สื่อการเรียน การสอนอื่นๆ

ใบงาน การเขียนวิเคราะห์วิจารณ์ ม. 2

ใบงาน การเขียนวิเคราะห์วิจารณ์ ม. 2

ใบงาน การเขียนวิเคราะห์วิจารณ์ ม. 2

ใบงาน การเขียนวิเคราะห์วิจารณ์ ม. 2

ใบงาน การเขียนวิเคราะห์วิจารณ์ ม. 2

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การอ่านเพื่อการวิเคราะห์วิจารณ์
      เป็นการอ่านเพื่อแยกแยะข้อความที่อ่านอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ทราบถึงโครงสร้าง องค์ประกอบ หลักการและเหตุผลของเรื่อง จนสรุปได้ว่าแต่ละส่วนเป็นอย่างไร สัมพันธ์กันอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
      การวิเคราะห์
            เป็นการหาคาตอบว่า ข้อความ บทความ ที่อ่านนั้นให้ความรู้เรื่องอะไรบ้าง ข้อเขียนแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพรวมและรายละเอียดของเรื่องที่อ่าน ช่วยให้เข้าใจเรื่องนั้นได้อย่างแท้จริง รวมทั้งช่วยพัฒนาสติปัญญา
      การวิจารณ์ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายไว้สองความหมาย คือ
             ความหมายที่ 1 เป็นการให้คาตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรม โดยผู้มีความรู้เชื่อถือได้ว่ามี
ความงาม ความไพเราะเพียงใดหรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น วิจารณ์ว่าหนังสือเล่มนี้สะท้อนปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล
            ความหมายที่ ๒ เป็นการติชมในความหมายโดยทั่วไปมักใช้คาว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น ผู้ชมมักวิพากษ์วิจารณ์ว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ดาเนินเรื่องช้าทาให้ผู้ชมเบื่อ เป็นต้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

อธิบายการวิเคราะห์วิจารณ์และประเมินเรื่องที่อ่านโดยใช้กลวิธีการเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจยิ่งขึ้น
อ่านวิเคราะห์ วิจารณ์เรื่องที่อ่านโดยใช้กระบวนการคิด

การวัดผลและประเมินผล

1. ใช้คำถาม

2. สังเกตพฤติกรรม

ปีการศึกษา 2564 / 1

ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

กลุ่มสาระ ภาษาไทย

หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พินิจคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม

ชั่วโมง การอ่านเพื่อวิเคราะห์ วิจารณ์

เรื่อง การอ่านเพื่อวิเคราะห์ วิจารณ์ 2 ส.ค. 64 (มีใบงานประกอบการสอน)

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

1. การแปลความ

    การอ่านที่มุ่งให้เกิดความเข้าใจกับเนื้อหา เริ่มจากการแปลคำหรือศัพท์ที่ไม่รู้ความหมาย หรือเป็นการแปลศัพท์จากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง การถอดคำประพันธ์ แปลความหมายรูปภาพ เครื่องหมายต่าง ๆ

2. การตีความ

    การอ่านที่พยายามหาสิ่งที่ซ้อนเร้นอยู่ในข้อเขียนหรืออากัปกิริยา ท่าทาง สีหน้า แววตา น้ำเสียง เพื่อทราบความหมายหรือเจตนาที่แท้จริงที่แฝงเร้นอยู่ ถ้าเป็นการสื่อความธรรมดาก็คงไม่ต้องตีความ แต่ถ้าอากัปกิริยาท่าทางกับคำพูดขัดแย้งกัน ผู้อ่านจะต้องค้นหาความจริง ว่าเจตนาที่จริงหมายถึงอะไรกันแน่ การตีความควรจะตีทความทั้งด้านเนื้อหาและด้านน้ำเสียงควบคู่กันไป

3. การขยายความ

    การนำรายละเอียดมาพูดหรืออธิบายเสริมความคิดหลักหรือประเด็นสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น อาจเป็นการให้ข้อมูลเพิ่มเติม ให้เหตุผล ยกตัวอย่างประกอบ หรือมีการเปรียบเทียบให้ได้เนื้อความกว้างขวางออกไป จนเป็นที่เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกหลักการตีความและประเมินคุณค่าการวิเคราะห์วิจารณ์ความเป็นไปได้ของเรื่อง

2. สามารถแปลความ ตีความ วิเคราะห์ วิจารณ์ บทกวีได้

3. สรุปความรู้และข้อคิดจากบทประพันธ์ได้