ปัจจัย ที่ ส่ง ผลต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ด้าน ภูมิศาสตร์

ปัจจัย ที่ ส่ง ผลต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ด้าน ภูมิศาสตร์

สมเด็จพระรามาธิบดีที่  1 (อู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีได้ผลสำเร็จ มีปัจจัยที่สำคัญ ดังนี้

1.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) เคยเป็นเจ้าเมืองใหญ่ที่มีกำลังไพร่พลมาก่อนประกอบกับทรงมีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองสูง เพราะมีเมืองสุพรรณภูมิและเมืองละโว้เป็นฐานอำนาจที่สำคัญในฐานะที่เป็นเมืองเครือญาติช่วยสนับสนุน

2.บริเวณที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยามีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก เพราะมีแม่น้ำสำคัญ 3 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศตะวันตกและทางทิศใต้ แม่น้ำลพบุรี ทางทิศเหนือ และแม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก ซึ่งแม่น้ำทั้ง 3 สายไหลมาบรรจบกันและล้อมรอบ ทำให้ราชธานีมีสภาพเป็นเกาะ การคมนาคมทั้งในและต่างประเทศสะดวกใกล้ทะเล และมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์ เพราะแม่น้ำล้อมรอบ ยากแก่การเข้าโจมตีของข้าศึก

3.ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาได้เปรียบว่าสุโขทัยทั้งทางด้านเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์เพราะอยู่ใกล้ปากแม่น้ำ จึงมีโอกาสติดต่อค้าขายตลอดจนซื้ออาวุธจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการติดต่อค้าขายกับจีนได้สะดวก

4.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ทรงใช้นโยบายทางการทูตทำไมตรีกับแคว้นใกล้เคียงโดยเฉพาะกับอาณาจักรขอม และอาณาจักรสุโขทัยที่เริ่มเสื่อมอำนาจลงเรื่อยๆ หลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นต้นมา

ปัจจัย ที่ ส่ง ผลต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ด้าน ภูมิศาสตร์

ปัจจัย ที่ ส่ง ผลต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ด้าน ภูมิศาสตร์

    

ปัจจัย ที่ ส่ง ผลต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ด้าน ภูมิศาสตร์

สภาพภูมิศาสตร์

                      

ปัจจัย ที่ ส่ง ผลต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ด้าน ภูมิศาสตร์

  ๓.๑  แผนผังพระนครศรีอยุธยาที่โธมัส วัลเนอิรา ชาวฝรั่งเศส จัดทำขึ้นพ.ศ. ๒๒๓๐ ในรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

การสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

พระเจ้าอู่ทองได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีใน พ.ศ. ๑๘๙๓ แล้วขึ้นเสวยราชย์เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์อู่ทองแห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีที่มีความเจริญรุ่งเรือง มั่นคง มั่งคั่ง และมีความยิ่งใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นานถึง ๔๑๗ ปี ด้วยมีปัจจัยสนับสนุนดังนี้

๑. ปัจจัยภายใน

•  กรุงศรีอยุธยามีภูมิสถานอันเหมาะสม คือ ที่ตั้งเมืองมีแม่น้ำล้อมรอบ ๓ ด้าน นับเป็นชัยภูมิที่ดีที่มั่นคง ป้องกันการโจมตีของข้าศึกได้

•  กรุงศรีอยุธยามีดินดีและน้ำท่าอุดมสมบูรณ์

•  กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบภาคกลาง มีลำน้ำสายต่างๆไหลผ่าน จึงสามารถควบคุมเส้นทางคมนาคม เส้นทางการค้า และเส้นทางยุทธศาสตร์ระหว่างรัฐที่อยู่เหนือขึ้นไปตอนในกับเมืองท่าชายฝั่งทะเลได้

๒. ปัจจัยภายนอก ในช่วงเวลานั้นเขมรหมดอิทธิพลที่เคยมีในดินแดนไทย จนกระทั่งไม่สามารถต้านทานกองทัพไทยที่เข้าไปตีเขมรได้

                                              

ปัจจัย ที่ ส่ง ผลต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ด้าน ภูมิศาสตร์

                                      ๓.๒ พระเจ้าอู่ทอง ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

พระนามพระมหากษัตริย์ของอยุธยา

๑. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)                                       ๑๘๙๓ - ๑๙๑๒

๒. สมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ ๑)                                                       ๑๙๑๒ - ๑๙๑๓

๓. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว)                            ๑๙๑๓ - ๑๙๓๑

๔. สมเด็จพระเจ้าทองลัน (เจ้าทองจันทร์)                                           ๑๙๓๑ - ๑๙๓๑

     สมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ ๒)                                                       ๑๙๓๑ - ๑๙๓๘

๕. สมเด็จพระรามราชาธิราช                                                              ๑๙๓๘ - ๑๙๕๒

๖. สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครินทราธิราช)                                    ๑๙๕๒ - ๑๙๖๗

๗. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)                             ๑๙๖๗ - ๑๙๙๑

๘. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ                                                           ๑๙๙๑ - ๒๐๓๑

๙. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓                                                      ๒๐๓๑ - ๒๐๓๔

๑๐. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  (พระเชษฐาธิราช)                             ๒๐๓๔ - ๒๐๗๒

๑๑. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (หน่อพุทธางกูร)                        ๒๐๗๒ - ๒๐๗๖

๑๒. พระรัษฎาธิราช                                                                          ๒๐๗๖ - ๒๐๗๗

๑๓. สมเด็จพระไชยราชาธิราช                                                          ๒๐๗๗ - ๒๐๘๙

๑๔. พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า)                                                           ๒๐๘๙ - ๒๐๙๑

        ขุนวรวงศาธิราช                                                                         ๒๐๙๑ - ๒๐๙๑

๑๕. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเทียรราชา)                                 ๒๐๙๑ - ๒๑๑๑

๑๖. สมเด็จพระมหินทราธิราช                                                           ๒๑๑๑ - ๒๑๑๒

๑๗. สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช                                                ๒๑๑๒ - ๒๑๓๓

๑๘. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช                                                      ๒๑๓๓ - ๒๑๔๘

๑๙. สมเด็จพระเอกาทศรถ                                                                ๒๑๔๘ - ๒๑๕๓

๒๐. พระศรีเสาวภาคย ์                                                                    ๒๑๕๓ - ๒๑๕๔

๒๑. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม                                                           ๒๑๕๔ - ๒๑๗๑

๒๒. สมเด็จพระเชษฐาธิราช                                                           ๒๑๗๑ - ๒๑๗๒

๒๓. พระอาทิตยวงศ์                                                                      ๒๑๗๒ - ๒๑๗๒

๒๔. สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง                                                    ๒๑๗๒ - ๒๑๙๙

๒๕. สมเด็จเจ้าฟ้าไชย                                                                      ๒๑๙๙ - ๒๑๙๙

๒๖. สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา                                                        ๒๑๙๙ - ๒๑๙๙ 

๒๗. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช                                                  ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑

๒๘. สมเด็จพระเพทราชา                                                             ๒๒๓๑ - ๒๒๔๖

๒๙. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ)                                 ๒๒๔๖ - ๒๒๕๑

๓๐. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ (พระเจ้าท้ายสระ)                         ๒๒๕๑ - ๒๒๗๕

๓๑. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ                                                 ๒๒๗๕ - ๒๓๐๑

๓๒. สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด)                                ๒๓๐๑ - ๒๓๐๑

๓๓. สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ)               ๒๓๐๑ - ๒๓๑๐

            

ปัจจัย ที่ ส่ง ผลต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ด้าน ภูมิศาสตร์

พัฒนาการของรัฐ

รัฐอยุธยามีพัฒนาการดังนี้

๑. สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๑๙๙๑)

๒. สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑ - ๒๐๓๑)

๓. สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ถึงการเสียกรุงครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๐๓๑ - ๒๑๓๓)

๔. สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. ๒๑๓๓ - ๒๑๕๓)

๕. สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๕๔ - ๒๒๓๑)

๖. สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. ๒๒๓๑ - ๒๓๑๐)

          

ปัจจัย ที่ ส่ง ผลต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ด้าน ภูมิศาสตร์

สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.๑๘๙๓ - ๑๙๙๑)

      ในสมัยนี้นักประวัติศาสตร์หลายท่านมองว่าพัฒนาการของอยุธยาในยุคแรกเป็นผล มาจากการแข่งขันทางการเมืองของสองราชวงศ์ คือ ราชวงศ์เชียงราย และราชวงศ์สุพรรณภูมิ ลักษณะทางการเมืองเช่นนี้ทำให้อยุธยาขากเอกภาพ จนในที่สุด ราชวงศ์ของสมเด็จพระเจ้าอู่ทองก็ถูกกำจัดลงในสมัยสมเด็จพระอินทราชา ทำให้ราชวงศ์สุพรรณภูมิมีอำนาจแต่เพียงราชวงศ์เดียว

เศรษฐกิจ : ในสมัยนี้มีการติดต่อสัมพันธ์ทางการค้ากับจีน ปรากฏหลักฐานในพงศาวดารว่า สมเด็จพระอินทราชา เมื่อครั้งเป็นเจ้าเมืองสุพรรณภูมิได้เสด็จไปเฝ้าจักรพรรดิจีนด้วยตนเอง เนื่องจากจีนเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ในขณะนั้น ราชวงศ์สุพรรณภูมิได้เล็งเห็นความสัมพันธ์ทางการทูตจึงส่งทูตไปเฝ้าจักรพรรดิจีนอย่างต่อเนื่อง และการที่จีนรีบทูตจากเจ้าเมืองใดก็เหมือนเป็นการรับรองว่าเจ้าเมืองนั้นได้รับสิทธิ ในการเป็นผู้ปกครองดินแดนนั้น

การเมืองการปกครอง

๑. ทิศตะวันออก ได้แก่ กัมพูชา และกลุ่มเมืองอิสระในที่ราบสูงโคราช คือ พิมาย พนมรุ้ง และเมืองพุทรา

๒. ทิศเหนือ ได้แก่ รัฐสุโขทัย

๓. ทิศใต้ ได้แก่ รัฐทางแหลมมลายู แคว้นนครศรีธรรมราช

๔. ทิศตะวันตก ได้แก่ หัวเมืองท่าเมืองฝั่งตะวันออก ประกอบด้วยทวาย มะริด และตะนาวศรี

รูปแบบกาาปกครอง ได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๔ เขต คือ :

๑. ราชธานี ได้แก่  กรุงศรีอยุธยาและบริเวณโดยรอบ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองโดยตรง มีกรมสำคัญ ๔ กรม คือ เวียง วัง คลัง นา ทำหน้สที่บริหาร กรมทั้ง ๔ นี้รวมเรียกว่า "จตุสดมภ์" แปลว่า "หลักทั้ง ๔"

๒. เมืองเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้กรุงศรีอยุธยา มีขุนนางไปปกครองและให้ขึ้นตรงต่อเมืองหลวง

๓. เมืองต่าง ๆ ในดินแดนแกนกลางของราชอาณาจักร มีฐานะเป็น "เมืองลูกหลวง" หรือ "เมืองหลานหลวง" เป็นเมืองใหญ่ที่มีความสำคัญต่ออาณาจักรราชธานีจะส่งพระราชโอรสหรือ เจ้านายชั้นสูงไปปกครอง

๔. เมืองประเทศราช มีเจ้าเมืองเดิมเป็นผู้ปกครอง และจะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้อยุธยา ตามระยะเวลาที่กำหนด

สภาพสังคม

ในสมัยอยุธยา คนในสังคมแบ่งเป็น ๕ กลุ่ม ได้แก่

๑. พระมหากษัตริย์ ทรงมีฐานนะเป็นเทพเจ้า หรือ "เทวราชา" ตามคติและอิทธิพลที่ได้รับจากขอมและอินเดีย

๒. มูลนาย มีทั้งชายและหญิง เป็นคนหลายกลุ่ม ตั้งแต่เจ้านาย เชื่อพระวงศ์ ขุนนาง

๓. พระสงฆ์ มีฐานะเป็นชนชั้นพิเศษเพราะเป็นผู้ให้ความรู้ ทั้งการศึกษาและการสืบทอด พระพุทธศาสนา

๔. ไพร่ หมายถึง ราษฎรทั้งหญิงและชายซึ่งถือว่าศักดินา ระหว่าง ๑๐-๒๕ ไร่ ถือเป็นคนส่วนใหญ่ ในสังคมอยุธยา

๕. ทาสหรือข้า ถือศักดินา ๕ ไร่ รับเป็นคนระดับล่างสุดของสังคม มีทั้งหญิงและชาย

                                                                                      

ปัจจัย ที่ ส่ง ผลต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ด้าน ภูมิศาสตร์

           

ปัจจัย ที่ ส่ง ผลต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ด้าน ภูมิศาสตร์