แผนการ สอน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร ป. 5

หน่วยการเรียนรู้ที่   เมื่อสารมีการเปลี่ยนแปลง

                                                                                                                                                            เวลา  5  ชั่วโมง

1.  มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

     ว 3.2          ป.6/1         ทดลองและอธิบายสมบัติของสารเมื่อสารเกิดการละลายและเปลี่ยนสถานะ

                   ป.6/2       วิเคราะห์และอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่และมีสมบัติเปลี่ยนแปลงไป

                   ป.6/3       อภิปรายการเปลี่ยนแปลงของสารที่ก่อให้เกิดผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

     ว 8.1       ป.6/1       ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่อง หรือสถานการณ์ที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ

                   ป.6/2       วางแผนการสังเกต เสนอการสำรวจ ตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้า และคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจ

                                 ตรวจสอบ

                   ป.6/3       เลือกอุปกรณ์ และวิธีการสำรวจตรวจสอบที่ถูกต้องเหมาะสมให้ได้ผลที่ครอบคลุมและเชื่อถือได้

                   ป.6/4       บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณและคุณภาพ วิเคราะห์ และตรวจสอบผลกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้ นำเสนอผลและข้อสรุป

                   ป.6/5       สร้างคำถามใหม่เพื่อการสำรวจตรวจสอบต่อไป

                   ป.6/6       แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อธิบาย ลงความเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

                   ป.6/7       บันทึกและอธิบายผลการสำรวจตรวจสอบตามความเป็นจริง มีเหตุผลและมีประจักษ์พยานอ้างอิง

2.  สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

     เมื่อสารเกิดการละลายหรือเปลี่ยนสถานะ จะยังคงแสดงสมบัติของสารเดิม แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีจะทำให้มีสารใหม่เกิดขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีมีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

3.  สาระการเรียนรู้

     3.1   สาระการเรียนรู้แกนกลาง

            1)เมื่อสารเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสารละลายหรือเปลี่ยนสถานะ สารแต่ละชนิดยังคงแสดงสมบัติของสารเดิม

         2) การเปลี่ยนแปลงทางเคมี หรือการเกิดปฏิกิริยาเคมี ทำให้มีสารใหม่เกิดขึ้นและสมบัติของสารจะเปลี่ยนแปลง

             ไปจากเดิม

         3) การเปลี่ยนแปลงของสาร ทั้งการละลาย การเปลี่ยนสถานะและการเกิดสารใหม่ต่างก็มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและ

             สิ่งแวดล้อม

    3.2   สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

         (พิจารณาตามหลักสูตรสถานศึกษา)

4.  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

     4.1   ความสามารถในการสื่อสาร

     4.2   ความสามารถในการคิด

            1) ทักษะการตั้งสมมติฐาน                                2) ทักษะการทดสอบสมมติฐาน      

         3) ทักษะการสำรวจค้นหา                                4) ทักษะการวิเคราะห์                          

         5) ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ           6) ทักษะการสรุปอ้างอิง

     4.3   ความสามารถในการแก้ปัญหา

     4.4   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

5.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์

    1. มีวินัย                   2. ใฝ่เรียนรู้                    3. มุ่งมั่นในการทำงาน                4. มีจิตวิทยาศาสตร์

6.  ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

     1. รายงานการทดลอง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร   (ชิ้นงานที่ 1)

    2. ทักษะการทดลอง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร   (ชิ้นงานที่ 2)

7.  การวัดและการประเมินผล

     7.1   การประเมินก่อนเรียน

            -   ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง เมื่อสารมีการเปลี่ยนแปลง

    7.2   การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

         1) ตรวจใบงานที่ 1.1 เรื่อง การเปลี่ยนสถานะและการละลายของสาร

         2) ตรวจแบบบันทึกการอ่าน

         3) ประเมินการนำเสนอผลงาน

         4) สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล

         5) สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

          6) สังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์

    7.3   การประเมินหลังเรียน

         -   ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง เมื่อสารมีการเปลี่ยนแปลง

    7.4   การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

         1) ตรวจรายงานการทดลอง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร

         2) สังเกตทักษะการทดลอง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร

8.  กิจกรรมการเรียนรู้

     Ü     นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง เมื่อสารมีการเปลี่ยนแปลง

เรื่องที่ 1   การเปลี่ยนแปลงของสาร                                                                              เวลา  1-2  ชั่วโมง

วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method : 5E)

ขั้นที่  1   กระตุ้นความสนใจ (Engagement)

    ครูนำภาพแสดงขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงของสาร 2 ชนิด มาให้นักเรียนดู แล้วตั้งคำถามถามนักเรียนเกี่ยวกับภาพ

ขั้นที่  2   สำรวจค้นหา (Exploration)

    ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ ให้แต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลง

ของสาร จากหนังสือเรียน

    Ÿ  ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการทดลอง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร ตามขั้นตอนที่กำหนด

ขั้นที่  3   อธิบายความรู้ (Explanation)

    สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันอธิบายผลการทดลองเรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร ภายในกลุ่ม

ขั้นที่  4   ขยายความเข้าใจ (Elaboration)

    นักเรียนร่วมกันอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะของสาร และการละลาย และทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง การเปลี่ยน

สถานะและการละลายของสาร

ขั้นที่ 5   ตรวจสอบผล (Evaluation)

    1. ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลสรุปการทดลองเรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร แล้วให้เพื่อนกลุ่มอื่นร่วมกันแสดงความคิดเห็นในส่วนที่แตกต่าง

    2. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบในใบงานที่ 1.1

เรื่องที่ 2   การเกิดปฏิกิริยาเคมี                                                                                                   เวลา  1  ชั่วโมง

วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์

ขั้นที่  1   กำหนดปัญหา

    1. ครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะและการละลายของสาร และตั้งประเด็นคำถามให้นักเรียนตอบ

    2. ครูกำหนดปัญหาให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม (กลุ่มเดิมจากเรื่องที่ 1) ร่วมกันศึกษาค้นคว้าข้อมูลว่า เมื่อสารเกิด   ปฏิกิริยาเคมี จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ขั้นที่  2   กำหนดสมมติฐาน

    นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันตั้งสมมติฐานหลายๆ ข้อ แล้วเลือกสมมติฐานที่อาจเป็นไปได้มาดำเนินการศึกษา

ขั้นที่  3   รวบรวมข้อมูล

    นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมี จากหนังสือเรียน

    Ÿ  ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการทดลอง เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีของสาร ตามขั้นตอนที่กำหนด

ขั้นที่  4   วิเคราะห์ข้อมูล

    1. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำผลการทดลองมาอภิปรายร่วมกันภายในกลุ่ม

    2. ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอผลการทดลองหน้าชั้นเรียน  แล้วให้เพื่อนกลุ่มอื่นช่วยแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมใน

        ส่วนที่แตกต่าง

ขั้นที่ 5   สรุปผลการศึกษา

    นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมี

เรื่องที่ 3   ผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสาร                                                         เวลา  1-2  ชั่วโมง

วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา (CIPPA Model)

ขั้นที่  1   ทบทวนความรู้เดิม

    ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารในลักษณะต่างๆ เพื่อทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน

ขั้นที่  2   แสวงหาความรู้ใหม่

    นักเรียนกลุ่มเดิม (จากเรื่องที่ 1) ร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง ผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสาร จากหนังสือเรียน

ขั้นที่  3   ศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม

    Ÿ  ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของสารในลักษณะต่างๆ ที่มีผลกระทบ

          ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม และบันทึกข้อมูล

ขั้นที่  4   แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม

    นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายความรู้เกี่ยวกับผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสาร ภายในกลุ่ม

ขั้นที่  5   สรุปและจัดระเบียบความรู้

    นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง ผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสาร

ขั้นที่  6   ปฏิบัติและ/หรือแสดงผลงาน

    ตัวแทนแต่ละกลุ่มผลัดกันออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน โดยครูคอยตรวจสอบความถูกต้อง

ขั้นที่  7   ประยุกต์ใช้ความรู้

    นักเรียนแต่ละคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่า นักเรียนมีวิธีการใช้สารอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต

และสิ่งแวดล้อม

     Ÿ  ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรวบรวมผลการทำกิจกรรมจากเรื่องที่ 1-3 มาจัดทำเป็นรูปเล่ม

          รายงาน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร โดยให้ครอบคลุมประเด็นตามที่กำหนด

      Ÿ  ครูประเมินทักษะการทดลอง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร จากเรื่องที่ 1 และ 2 โดยให้ครอบคลุมประเด็น

            ตามที่กำหนด

     Ü     นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่7 เรื่อง เมื่อสารมีการเปลี่ยนแปลง

9.  สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

     9.1   สื่อการเรียนรู้

         1) หนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ป.6

         2) บัตรภาพ แสดงขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงของสาร

         3) อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

         4) ใบงานที่ 1.1 เรื่อง การเปลี่ยนสถานะและการละลายของสาร

     9.2   แหล่งการเรียนรู้

         -   ห้องปฏิบัติการทดลอง

การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

แบบประเมินรายงานการทดลอง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร

(ชิ้นงานที่ 1)

รายการประเมิน

คำอธิบายระดับคุณภาพ/ระดับคะแนน

ดี (3)

พอใช้ (2)

ปรับปรุง (1)

1.   การอธิบายสมบัติของ

      สาร เมื่อเกิดการละลาย

      และเปลี่ยนสถานะ

อธิบายสมบัติของสารเมื่อเกิดการละลายและเปลี่ยนสถานะได้ถูกต้อง ชัดเจน ครบทั้ง

2 ประเด็น

อธิบายสมบัติของสารเมื่อเกิดการละลายและเปลี่ยนสถานะได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ และครบทั้ง 2 ประเด็น

อธิบายสมบัติของสารเมื่อเกิดการละลายและเปลี่ยนสถานะได้ถูกต้องเพียงประเด็นใดประเด็นหนึ่งเท่านั้น

2.   การอธิบายการ        เปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิด

      สารใหม่ และสมบัติของ

      สารใหม่

อธิบายการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ และสมบัติของ  สารใหม่ได้ถูกต้อง ชัดเจน

อธิบายการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ และสมบัติของ สารใหม่ได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่

อธิบายการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ได้ถูกต้อง

แต่อธิบายสมบัติของสารใหม่

ไม่ถูกต้อง

3.   การอธิบายการ        เปลี่ยนแปลงของสารที่

      ก่อให้เกิดผลต่อสิ่งมีชีวิต

      และสิ่งแวดล้อม

อธิบายและยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของสารที่ก่อให้เกิดผลต่อสิ่งมีชีวิตและ

สิ่งแวดล้อมได้ถูกต้อง ชัดเจน

ทั้ง 4 ข้อ

อธิบายและยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของสารที่ก่อให้เกิดผลต่อสิ่งมีชีวิตและ

สิ่งแวดล้อมได้ถูกต้อง ชัดเจน

2-3 ข้อ

อธิบายและยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของสารที่ก่อให้เกิดผลต่อสิ่งมีชีวิตและ

สิ่งแวดล้อมได้ถูกต้อง ชัดเจน

1 ข้อ

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

ระดับคุณภาพ

8 - 9

ดี

5 - 7

พอใช้

ต่ำกว่า 5

ปรับปรุง

การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

                     แบบประเมินทักษะการทดลอง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร         (ชิ้นงานที่ 2)

รายการประเมิน

คำอธิบายระดับคุณภาพ/ระดับคะแนน

ดี (3)

พอใช้ (2)

ปรับปรุง (1)

1.   การดำเนินการทดลอง

ปฏิบัติการทดลองได้ถูกต้อง เรียงตามลำดับขั้นตอน

ครบทุกการทดลอง

ปฏิบัติการทดลองได้ถูกต้อง

ครบทุกการทดลอง แต่มีข้อผิดพลาดบ้างบางขั้นตอน

ปฏิบัติการทดลองได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ และมีข้อผิดพลาดบ้างบางขั้นตอน

2.   การใช้วัสดุและอุปกรณ์

      ในการทดลอง

มีทักษะการใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการทดลอง มีความชำนาญ คล่องแคล่ว

มีทักษะการใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการทดลอง แต่ไม่ชำนาญ

ไม่มีทักษะการใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการทดลอง

3.   การบันทึกข้อมูล

บันทึกข้อมูลได้ครบถ้วนตามประเด็นที่กำหนด มีความเที่ยงตรงตามความเป็นจริง

บันทึกข้อมูลได้ตามประเด็นที่กำหนด มีจุดบกพร่องบ้าง

บางประเด็น มีความเที่ยงตรงตามความเป็นจริงเป็นส่วนใหญ่

บันทึกข้อมูลได้ตามประเด็นที่กำหนด มีจุดบกพร่องเป็น

ส่วนใหญ่ ไม่ค่อยตรงตามความเป็นจริง

4.   ความร่วมมือในการ

      ปฏิบัติกิจกรรม

มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้สมาชิกทุกคนอย่างชัดเจน และสมาชิกทุกคนปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้สมาชิกทุกคนอย่างชัดเจน และสมาชิก

ส่วนใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้สมาชิกทุกคน  แต่ไม่ชัดเจน และสมาชิก

ส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่

ที่ได้รับมอบหมาย

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

ระดับคุณภาพ

10 - 12

ดี

6 - 9

พอใช้

ต่ำกว่า 6

ปรับปรุง