ใบงานที่ 2.1 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงสําหรับประชาชน เฉลย

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

เศรษฐศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม

          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6                                     เวลาเรียน  6  ชั่วโมง

  มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

          ส 3.1          ม.6/2      ตระหนักถึงความสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อเศรษฐกิจสังคมของประเทศ

  สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

           ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญต่อการนำไปเป็นกรอบแนวทาง ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

Ž  สาระการเรียนรู้

    3.1  สาระการเรียนรู้แกนกลาง

          1)  การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัว

          2)  การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การค้าและบริการ

          3)  ปัญหาการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาโดยการศึกษาวิเคราะห์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ผ่านมา   

          4)  การพัฒนาประเทศที่นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับปัจจุบัน

          3.2   สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                     - 

  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

           4.1      ความสามารถในการสื่อสาร

           4.2      ความสามารถในการคิด

                        -    ทักษะการคิดวิเคราะห์

                        -    ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

                        -    ทักษะการคิดแก้ปัญหา

            4.3      ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

                        -    กระบวนการทำงานกลุ่ม

                        -    กระบวนการปฏิบัติ

   คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1.    ใฝ่เรียนรู้

2.    มุ่งมั่นในการทำงาน

3.    มีวินัย

4.    มีความซื่อสัตย์สุจริต

5.    ขยัน  อดทน

6.     พอประมาณ

  ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

            ป้ายนิเทศ  เรื่อง  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

   การวัดและการประเมินผล

         7.1   การประเมินก่อนเรียน

                        -    แบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

          7.2   การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้              

                        1)        ใบงานที่ 1.1 เรื่อง  โครงสร้างเศรษฐกิจไทย

                        2)        ใบงานที่ 1.2 เรื่อง  การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

                        3)        ใบงานที่ 2.1 เรื่อง  เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับประชาชน

                        4)        ใบงานที่ 2.2 เรื่อง  เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเกษตรกร

                        5)        ใบงานที่ 2.3 เรื่อง  เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับภาคอุตสาหกรรม การค้า และการบริการ

                        6)        สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

          7.3      การประเมินหลังเรียน

                        -    แบบทดสอบหลังเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

          7.4      การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

                        -   ประเมินป้ายนิเทศ เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิและสังคมของประเทศ

            แบบประเมินป้ายนิเทศ เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญ

ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 

รายการประเมิน

คำอธิบายระดับคุณภาพ/ระดับคะแนน

ดีมาก (4)

ดี (3)

พอใช้ (2)

ปรับปรุง (1)

1. การวิเคราะห์ผลดี

และปัญหาที่เกิดขึ้น

เมื่อสิ้นส

แผนพัฒนาฯ

แต่ละฉบับ

มีบทวิเคราะห์ผลดีและปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อสิ้นสดแผนพัฒนา ฯ จำนวน 6 - 8  ฉบับ พร้อมมีตัวอย่างประกอบที่เหมาะสม

มีบทวิเคราะห์ผลดีและปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อสิ้นสดแผนพัฒนา ฯ จำนวน 6 - 8  ฉบับ พร้อมมีตัวอย่างประกอบที่เหมาะสมเป็นส่วนใหญ่

มีบทวิเคราะห์ผลดีและปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อสิ้นสดแผนพัฒนา ฯ จำนวน 6 - 8  ฉบับ   พร้อมมีตัวอย่างประกอบที่เหมาะสมเป็นบางฉบับ

มีบทวิเคราะห์ผลดีและปัญหาที่เกิดขึ้เมื่อสิ้นสดแผนพัฒนา ฯ จำนวน 2 - 5 ฉบับ พร้อมมีตัวอย่างประกอบที่ถูกต้อง เหมาะสมเป็นบางฉบับ

2.  การวิเคราะห์แผนพัฒนาฯ      ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

มีบทวิเคราะห์แผนพัฒนาฉบับที่ 9 และ 10 ทีสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้องสมบรณ์ พร้อมมีตัวอย่างประกอบ         ที่เหมาะสม

มีบทวิเคราะห์แผนพัฒนาฉบับที่ 9 และ 10 ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้องเกือบสมบรณ์ พร้อมมีตัวอย่างประกอบที่เหมาะสม

มีบทวิเคราะห์แผนพัฒนาฉบับที่ 9 และ 10 ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้องเกือบสมบรณ์   พร้อมมีตัวอย่างประกอบเป็นบางตอน

มีบทวิเคราะห์แผนพัฒนาฉบับที่ 9 และ 10 ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้องบางส่วน    พร้อมมีตัวอย่างประกอบ  แต่ไม่เหมาะสม

3.  การเสนอแนวทางการประยกต์ใเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัว

มีกรณีตัวอย่างการประยกต์ใ้เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนิน ชีวิตองตนเองและครอบครัวที่เหมาะสม พร้อมการเสนอแนวทางการปฏิบัติจำนวน 3 เรื่องขึ้นไป

มีกรณีตัวอย่างการประยกต์ใ้เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนิน ชีวิตองตนเองและครอบครัวที่เหมาะสม พร้อมการเสนอแนวทางการปฏิบัติจำนวน 2 เรื่อง

มีกรณีตัวอย่างการประยกต์ใ้เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนิน ชีวิตองตนเองและครอบครัวที่เหมาะสม พร้อมการเสนอแนวทางการปฏิบัติจำนวน 1 เรื่อง

มีกรณีตัวอย่างการประยกต์ใ้เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตองตนเองและครอบครัว พร้อมทั้งเสนอแนวทางการปฏิบัติแต่ไม่ชัดเจน

รายการประเมิน

คำอธิบายระดับคุณภาพ/ระดับคะแนน

ดีมาก (4)

ดี (3)

พอใช้ (2)

ปรับปรุง (1)

4.  การเสนอแนวทางการประยกต์ใช้ เศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรตสาหกรรม การค้าและบริการ

มีกรณีตัวอย่างการประยกต์ใ้เศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตร อตสาหกรรม การค้าและบริการ พร้อมการเสนอแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมจำนวน 3 เรื่อง ึ้นไป

มีกรณีตัวอย่างการประยกต์ใ้เศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตร อตสาหกรรม การค้าและบริการ พร้อมการเสนอแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมจำนวน 2 เรื่อง

มีกรณีตัวอย่างการประยกต์ใ้เศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตร อตสาหกรรม การค้าและบริการ พร้อมการเสนอแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมจำนวน 1 เรื่อง

มีกรณีตัวอย่างการประยกต์ใ้เศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตร อตสาหกรรม การค้าและบริการ พร้อมการเสนอแนวทางการปฏิบัติ จำนวน 1 เรื่อง แต่ไม่ชัดเจน

5.  ความคิดริเริ่ม

    สร้างสรรค์ในการ

    จัดป้ายนิเทศ

ปแบบป้ายนิเทศสวยงาม แปลกใหม่ มีการเรียงลำดับข้อมูล      เื่อมโยงสัมพันธ์กัน

ปแบบป้ายนิเทศสวยงาม มีการเรียงลำดับ้อมลเื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นส่วนใหญ่

ปแบบป้ายนิเทศสวยงามเหมือนป้ายทั่วไป   มีการเรียงลำดับ ้อมลเื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นบางส่วน

ปแบบป้ายนิเทศ  ไม่สวยงาม  ้อมลเื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นบางส่วน

 กิจกรรมการเรียนรู้

 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

กิจกรรมที่ 1

การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย

วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคเล่าเรื่องรอบวง,  เทคนิคคู่คิดสี่สหาย วิธีสอนแบบบรรยาย

เวลา  3  ชั่วโมง

1. ให้นักเรียนเล่าประสบการณ์ความร้เดิมองนักเรียนที่เคยเรียนประวัติศาสตร์สมัยสทัยและสมัยอยธยาเป็นราธานีว่า สภาพเศรษฐกิจในสมัยนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร

2.  ครอธิบายเื่อมโยงความร้ให้นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างเศรษฐกิจองไทยก่อนการใ้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งาติ พ.ศ. 2498 - 2504  เปรียบเทียบกับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย      ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งาติในภาพรวม

3.   ครูแบ่งนักเรียนเป็นกล่ม กล่มละ 4 คน คละกันตามความสามาร คือ เก่ง ปานกลาง (ค่อน้างเก่ง)  ปานกลาง (ค่อน้างอ่อน) และอ่อน (แบ่งกล่ม ไว้ล่วงหน้า )

4.  นักเรียนแต่ละกล่มศึกษาความร้เรื่อง โครงสร้างเศรษฐกิจไทย จากหนังสือเรียนและร่วมกันอภิปรายประเด็นสำคัญองเรื่องที่ศึกษาจนมีความ เ้าใจัดเจน

5.  นักเรียนแต่ละกล่ม แบ่งออกเป็น 2 ค่ ให้แต่ละค่วยกันทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง โครงสร้างเศรษฐกิจไทย ดังนี้

-   ่ที่  1  ทำใบงานที่   1.1  ตอนที่ 1

-   ่ที่  2  ทำใบงานที่   1.1  ตอนที่ 2

     6.  นักเรียนแต่ละคู่ผลัดกันเล่าผลงานจากการทำใบงานที่ 1.1 ในตอนที่คู่ของตนรับผิดชอบ

     7.   ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบในใบงานที่ 1.1 และช่วยกันสรุปโครงสร้างเศรษฐกิจของไทย

           ก่อนการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

       8. ครูนำข่าวหรือข้อมูลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจองไทยในปัจจบันมาให้นักเรียนวิเคราะห์เกี่ยวกับผลดี
            ปัญหา
 และวิธีการพัฒนา  จากนั้นครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจถึงสภาพเศรษฐกิจองไทยว่า มีการ
            ปรับปร
เปลี่ยนแปลงเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 9. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ       จากหนังสือเรียน และจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ  ร่วมกันอภิปรายประเด็นสำคัญของเรื่องที่ศึกษา      และช่วยกันทำใบงานที่ 1.2 เรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยแบ่งหน้าที่กัน ดังนี้

                -  สมาชิกคนที่หนึ่งของกลุ่มเขียนคำตอบในหัวข้อของใบงานข้อที่หนึ่ง แล้วส่งต่อให้สมาชิก
 คนที่สอง

                -  สมาชิกคนที่สองของกลุ่มอ่านคำตอบของสมาชิกคนที่หนึ่ง ตรวจสอบความถูกต้องหรือ
  เขียนคำตอบเพิ่มเติม แล้วทำใบงานในข้อต่อไป

                -  สมาชิกคนต่อไปอ่านคำตอบของสมาชิกคนที่เขียนไว้  แล้วตรวจสอบความถูกต้องหรือเขียน
   คำตอบเพิ่มเติม แล้วทำใบงานในข้อต่อไป

                -  สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะได้มีโอกาสอ่านและเขียนคำตอบหมุนเวียนไปเรื่อย ๆ จนเสร็จ

        10. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบใบงานที่  1.2

        11.  นักเรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันเฉลยคำตอบในใบงาน ซึ่งอาจเป็นหัวข้อละ 1-2 กลุ่ม หมุนเวียนกันไป แล้วให้กลุ่มอื่นช่วยเพิ่มเติมในส่วนที่แตกต่างกันไป โดยมีครูเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง

        12.  ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่ละฉบับและผลที่ได้รับ

กิจกรรมที่ 2

การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้

ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

วิธีสอนตามแนววัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT 

วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการกลุ่ม

เวลา  3  ชั่วโมง

 ขั้นที่ 1        ขั้นสร้างคุณค่าและประสบการณ์ของสิ่งที่เรียน  ( พัฒนาสมองซีกขวา )

                    ครูให้นักเรียนรวมกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน นั่งล้อมวงผลัดกันเล่าความประทับใจในกิจกรรมหรือการกระทำของกลุ่มบุคคลที่แสดงว่า  ได้นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้  นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปประเด็นสำคัญของการเล่าเรื่องของสมาชิก แล้วนำมาเสนอต่อชั้นเรียน

  ขั้นที่ 2   ขั้นวิเคราะห์ประสบการณ์ (พัฒนาสมองซีกซ้าย)

                      ครูและนักเรียนช่วยกันคัดเลือกกิจกรรมหรือการกระทำของกลุ่มบุคคล  หรือชุมชนที่

    น่าสนใจ  แล้วอภิปรายร่วมกันถึงเหตุผลที่เลือกกิจกรรมหรือการกระทำดังกล่าว และกิจกรรม หรือการกระทำนั้นเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจ       พอเพียงอย่างไร

    ขั้นที่ 3    ขั้นปรับประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด  (พัฒนาสมองซีกขวา)

                 ● นักเรียนศึกษาความรู้ร่วมกันในเรื่องกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    และนำความรู้ที่ได้มาเชื่อมโยงกับความรู้เดิม แล้วร่วมกันสรุปเป็นความคิดรวบยอดถึง

                              แนวทางการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนา

                          เศรษฐกิจของประเทศ

     ขั้นที่ 4    ขั้นพัฒนาความคิดรวบยอดด้วยข้อมูล (พัฒนาสมองซีกซ้าย)

                    ● นักเรียนรวมกลุ่มตามความสมัครใจ กลุ่มละ 5-7 คน ศึกษาความรู้ เรื่องการพัฒนา
     เศรษฐกิจและสังคมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยศึกษาจากหนังสือเรียนและจาก  แหล่งการเรียนรู้

     ขั้นที่ 5    ขั้นลงมือปฏิบัติจากกรอบความคิดที่กำหนด ( พัฒนาสมองซีกซ้าย )

                            ● นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำกิจกรรมตามหัวข้อ ในใบงานที่กำหนด  ใบงานละ 2 กลุ่ม
            และผลัดกันนำเสนอต่อชั้นเรียน ดังนี้

                                                ใบงานที่ 2.1 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับประชาชน

                                                ใบงานที่ 2.2 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเกษตรกร

                                                ใบงานที่ 2.3 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับภาคอุตสาหกรรม การค้าและการบริการ

             ขั้นที่ 6  ขั้นสร้างชิ้นงานเพื่อสะท้อนความเป็นตนเอง (พัฒนาสมองซีกขวา )

                    ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนจัดป้ายนิเทศ เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจ
      พอเพียงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศ โดยให้
ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้

                                 1) การวิเคราะห์ผลดีและปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

                                      แห่งชาติแต่ละฉบับ

                                 2) การวิเคราะห์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่สอดคล้องกับหลักปรัชญา
                                      ของเศรษฐกิจพอเพียง

                                 3) การเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของตนเอง

                                      และครอบครัว

                                 4) การเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรกรรม
                                      อุตสาหกรรม การค้าและบริการ

 ขั้นที่ 7    ขั้นวิเคราะห์คุณค่าและการประยุกต์ใช้  (พัฒนาสมองซีกซ้าย )

                   นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ผลงานของตน ช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ปรับปรุงและพัฒนางานจนมีความถูกต้อง สมบูรณ์

 ขั้นที่ 8    ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้กับผู้อื่น (พัฒนาสมองซีกขวา)

                 ● นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานป้ายนิเทศ โดยให้กลุ่มอื่นหมุนเวียนกันมารับ และให้ข้อคิดหรือข้อเสนอแนะจากนั้นครูและนักเรียน   ช่วยกันสรุปข้อคิดที่ได้จากการศึกษาความรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย

          นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้       

            9.1   สื่อการเรียนรู้

                        1)    หนังสือเรียน  เศรษฐศาสตร์ ม.6

                        2)     หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม

                                (1)  กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. แนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงใน
              ชุมชนสำหรับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน
. กรุงเทพมหานคร : หจก. บางกอกบล๊อก, 2548.

                                (2)  สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรกษัตริย์นักพัฒนา.

              กรุงเทพมหานคร :ดอกเบี้ย, 2546.    

                                (3)  พอพันธ์ อุยยานนท์. พัฒนาการเศรษฐกิจไทย ในประมวลสาระชุดวิชาไทยศึกษา

              หน่วยที่ 3 สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี  :

               โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546.

                                (4)  รัตนา สายคณิต. การพัฒนาเศรษฐกิจ  ในเอกสารการสอนชุดวิชาสังคมศึกษา 3 :
               เศรษฐศาสตร์สำหรับครูหน่วยที่ 14  สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ 
               มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
นนทบุรี  : โรงพิมพ์หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช , 2546.

                                (5)  ศึกษาธิการ, กระทรวง และสำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน. ทฤษฎีใหม่ในหลวงชีวิต
                พอเพียง.
กรุงเทพมหานคร
: กระทรวงศึกษาธิการและร่วมด้วยช่วยกัน, 2544.
                
             (6)  สุนทร กุลวัฒนวรพงศ์. ตามรอยพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงทฤษฎีใหม่.
                กรุงเทพมหานคร
: ชมรมเด็ก,2544.

                                (7)  วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับปัญหาเศรษฐกิจของ

                ประเทศไทย.   กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์แสงดาว จำกัด,2550.

                                (8)  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. เศรษฐกิจพอเพียงคือ

                อะไร.   กรุงเทพมหานคร: มปพ, 2548.

                                (9)  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สรุปผลการสัมมนาการ
                 พัฒนากรอบแนวคิดและการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.
กรุงเทพมหานคร
: มปพ, 2547.

                          3)        เอกสารความรู้เพิ่มเติม              

                          4)        ใบงานที่ 1.1  เรื่อง  โครงสร้างเศรษฐกิจไทย

                          5)        ใบงานที่ 1.2  เรื่อง   การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

                          6)        ใบงานที่ 2.1  เรื่อง   เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับประชาชน

                          7)        ใบงานที่ 2.2  เรื่อง   เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเกษตรกร

                          8)        ใบงานที่ 2.3  เรื่อง   เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับภาคอุตสาหกรรม การค้า และการบริการ

            9.2      แหล่งการเรียนรู้

                        1)        ห้องสมุด

                        2)        แหล่งข้อมูลสารสนเทศ    

                                http://www.sufficiencyeconomy.org/

                                http://www.doae.go.th/report/SE/html/01.htm

                                http://www.inspect9.moe.go.th/economic_king80.htm

                                http://www. sufficiencyeconomy.panyathai.or.th/

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1

เศรษฐศาสตร์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6

เรื่อง  การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย

เวลา  3  ชั่วโมง

   สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

            หลักปรัญาองเศรษฐกิจพอเพียง มีความสำคัญต่อการนำไปใช้ในการแก้ปัญหาและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

   ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

            2.1   ตัวชี้วัด

                        ส 3.1      ม.4-6/2     ตระหนักถึงความสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคมองประเทศ

            2.2      จุดประสงค์การเรียนรู้

                        1)        วิเคราะห์สาระสำคัญองแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งาติฉบับต่าง ๆ ได้

                        2)        วิเคราะห์ปัญหาการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาได้

                        3)        วิเคราะห์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับปัจจบันที่แสดงึงเศรษฐกิจพอเพียงได้

Ž   สาระการเรียนรู้

            3.1      สาระการเรียนรู้แกนกลาง

                        1)        ปัญหาการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา โดยการศึกษาวิเคราะห์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

                                ฉบับที่ผ่านมา

                        2)        การพัฒนาประเทศที่นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใ้ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

                                และสังคมฉบับปัจจุบัน

            3.2   สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                        -

   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

            4.1      ความสามารถในการคิด

                            ทักษะการคิดวิเคราะห์

                        -      ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

            4.2      ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

                        -      กระบวนการทำงานกลุ่ม

   คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1.             ใฝ่เรียนรู้

2.             มุ่งมั่นในการทำงาน

3.     ขยัน อดทน

‘     กิจกรรมการเรียนรู้  

               (วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ :  เทคนิคเล่าเรื่องรอบวง, เทคนิคคู่คิดสี่สหาย

               วิธีสอนแบบบรรยาย )

                        Ÿ     นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

 ชั่วโมงที่ 1 

1.             ให้นักเรียนเล่าประสบการณ์ความรู้เดิมของนักเรียนที่เคยเรียนประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาเป็นราชธานี  ว่าสภาพเศรษฐกิจในสมัยนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งนักเรียนสามารถตอบได้หลากหลาย เช่น

-       อาชีพส่วนใหญ่ของประชากรคือการเพาะปลูกพืชเพื่อการดำรงชีวิต

-       ผลิตสิ่งของต่าง ๆ ประเภทหัตถกรรมที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ

-       ส่งสินค้าที่ผลิตเหลือใช้ไปขายยังต่างประเทศ

-       การค้าขายกับต่างประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองในสมัยอยุธยามากกว่าสมัยสุโขทัย

ฯลฯ

2.             ครูอธิบายเชื่อมโยงความรู้ให้นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยก่อนการใช้

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2398-2504 เปรียบเทียบกับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในภาพรวม

3.             ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ปานกลาง  (ค่อนข้างเก่ง)        

ปานกลาง (ค่อนข้างอ่อน) และอ่อน

4.             นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง โครงสร้างเศรษฐกิจไทย จากหนังสือเรียน และร่วมกันอภิปรายถึงประเด็นสำคัญของเรื่องที่ศึกษาจนมีความเข้าใจกระจ่างชัดเจน

5.             นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งออกเป็น 2 คู่ ให้แต่ละคู่ช่วยกันทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง โครงสร้าง

เศรษฐกิจไทย ดังนี้

                        -      คู่ที่ 1  ทำใบงานที่ 1.1 ตอนที่ 1

                        -      คู่ที่ 2  ทำใบงานที่ 1.1 ตอนที่ 2

                6.    นักเรียนแต่ละคู่ช่วยกันทบทวนผลงานที่ร่วมกันทำและตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคู่ผลัดกันเล่าความรู้จากการทำใบงานในส่วนที่คู่ของตนรับผิดชอบ และให้ผู้ที่ยังไม่เข้าใจได้ซักถามจนเข้าใจกระจ่างชัดเจน  ถ้ายังไม่เข้าใจให้ถามครูผู้สอน

               7.     ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบในใบงานที่ 1.1 เรื่อง โครงสร้างเศรษฐกิจไทย และช่วยกัน

                       สรุปโครงสร้างเศรษฐกิจไทยก่อนการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและโครงสร้าง
                     เศรษฐกิจไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

1.             ครูนำข่าวหรือข้อมูลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน เช่น

-       สินค้าด้านพืชผักผลไม้ของไทยเป็นที่ต้องการของประเทศในยุโรป และเอเชีย ทำให้เกษตรกร

         ไทยเพิ่มการผลิตมากขึ้น

-                   สินค้าส่งออกที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยจำนวนมาก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์

และส่วนประกอบรถยนต์  อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูป ข้าว

เหล็ก  เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก  เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง

2.             ครูตั้งคำถามถามนักเรียนในประเด็นต่อไปนี้

-       ข่าวที่นำเสนอนั้นส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างไรบ้าง

-       ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และมีแนวทางป้องกันแก้ไขอย่างไร

-       มีวิธีการที่จะพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ในข่าวข้อที่ 1 อย่างไรบ้าง เพื่อให้ส่งผลดีต่อสภาพความ

         เป็นอยู่ของประชาชน และประเทศชาติ

3.             ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่าผลดีที่เกิดขึ้นจากข้อมูลข่าวสารในข้อ 1 นั้น เนื่องจากการพัฒนา

ประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เริ่มจากแผนฉบับที่ 1- ฉบับที่ 10 ซึ่งเป็นแผน

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปัจจุบัน  ครูอธิบายสาระสำคัญในหัวข้อต่อไปนี้

-                   จุดเด่นและปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่

               ฉบับที่ 1-10

                      -        ปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ

                      -        เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

               4.   ครูให้นักเรียนกลุ่มเดิมในชั่วโมงที่ 1 ศึกษาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

                   สังคมแห่งชาติ  จากหนังสือเรียน และจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ

               5.   นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายประเด็นสำคัญของหัวข้อที่ศึกษาและช่วยกันทำใบงานที่ 1.2

                      เรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้

-                   สมาชิกคนที่หนึ่งของกลุ่ม เขียนคำตอบในหัวข้อของใบงานข้อที่หนึ่ง  แล้วส่งต่อให้สมาชิก

คนที่สองของกลุ่ม

-                   สมาชิกคนที่สองของกลุ่มอ่านคำตอบของสมาชิกคนที่หนึ่ง  ตรวจสอบความถูกต้องหรือเขียน

คำตอบเพิ่มเติม และทำใบงานในข้อต่อไป

-                   สมาชิกคนต่อไปอ่านคำตอบของสมาชิกที่เขียนไว้  แล้วตรวจสอบความถูกต้องหรือเขียน

คำตอบเพิ่มเติม และทำใบงานในข้อต่อไป

-                   สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะได้มีโอกาสอ่านและเขียนคำตอบหมุนเวียนไปเรื่อย ๆ จนเสร็จ

6.             นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง ความสมบูรณ์ของใบงานที่ 1.2

7.             ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันเฉลยคำตอบในใบงานซึ่งอาจจะเป็นหัวข้อละ 1-2 กลุ่ม หมุนเวียน

กันไป  แล้วให้กลุ่มอื่นช่วยเพิ่มเติมในส่วนที่แตกต่างกันไป โดยมีครูเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง         

8.             ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปการพัฒนาประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแต่ละฉบับ

และผลที่ได้รับ

’ การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.1

ใบงานที่ 1.1

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.2

ใบงานที่ 1.2

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

“  สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

            8.1   สื่อการเรียนรู้

                        1)    หนังสือเรียน  เศรษฐศาสตร์ ม. 4-ม.6

                        2)    หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม

                                (1)  กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. แนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงใน
                                  ชุมชนสำหรับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน
. กรุงเทพมหานคร : หจก. บางกอกบล๊อก, 2548.

                                (2)  สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริ.
กษัตริย์นักพัฒนา.
กรุงเทพมหานคร
: ดอกเบี้ย, 2546.    

                                (3)  พอพันธ์ อุยยานนท์. พัฒนาการเศรษฐกิจไทย ในประมวลสาระชุดวิชาไทยศึกษา

                                        หน่วยที่ 3 สาขาวิชาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี  :

                                      โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546.

                                (4)  รัตนา สายคณิต. การพัฒนาเศรษฐกิจ  ในเอกสารการสอนชุดวิชาสังคมศึกษา 3 :
                                     เศรษฐศาสตร์สำหรับครูหน่วยที่ 14  สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ 
                                     มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นนทบุรี  : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,
                                     2546.

                                (5)  ศึกษาธิการ, กระทรวง และสำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน. ทฤษฎีใหม่ในหลวงชีวิต
                                  พอเพียง.
กรุงเทพมหานคร
: กระทรวงศึกษาธิการและร่วมด้วยช่วยกัน, 2544.
                
             (6)  สุนทร กุลวัฒนวรพงศ์. ตามรอยพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงทฤษฎีใหม่.
                                  กรุงเทพมหานคร
: ชมรมเด็ก,2544.

                        3)        เอกสารความรู้เพิ่มเติม

                        4)        ใบงานที่ 1.1  เรื่อง  โครงสร้างเศรษฐกิจไทย

                        5)        ใบงานที่ 1.2  เรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

            8.2  แหล่งการเรียนรู้

                        1)    ห้องสมุด

                        2)    แหล่งข้อมูลสารสนเทศ 

                                http://www.sufficiencyeconomy.org/

                                http://www.doae.go.th/report/SE/html/01.htm

                                http://www.inspect9.moe.go.th/economic_king80.htm

                                http://www. sufficiencyeconomy.panyathai.or.th/

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509)
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510-2514)
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519)
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524)
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529)
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534)
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539)
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544)
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10(พ.ศ. 2550-2554)

สรุปสาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ฉบับที่ 8  (พ.ศ. 2540 - 2544)

1.  สถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมไทยในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา

      1)      สังคมไทยได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการพัฒนาเศรษฐกิจ ดังจะเห็นได้จากอัตราการขยายตัวอยู่ในระดับสูงโดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 7.8 ต่อปี รายได้ต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้นจาก 2,100 บาท ในปี

 2504 เป็น 68,000 บาท ในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้น 32 เท่าตัว  สัดส่วนคนยากจนของประเทศลดลงเหลือเพียงร้อยละ 13.7 ในปี 2535 เปรียบเทียบกับเป้าหมายร้อยละ 20 ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ฐานะการเงินการคลังของประเทศมีความมั่นคงและได้รับการยอมรับโดยทั่วไปจากนานาประเทศ ส่วนการลงทุนของภาครัฐในด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการพื้นฐานทางสังคมโดยต่อเนื่องนั้น ได้ทำให้คนไทยมีรายได้ ฐานะความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาโดยตลอด

      2)      ถึงแม้ว่าการพัฒนาประเทศจะบรรลุเป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็ตาม แต่กิจกรรมและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจก็ยังกระจุกตัวอยู่ในภาคมหานครและปริมณฑล รายได้ต่อหัวของคนไทยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังสูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศมาก โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีรายได้ต่อหัวต่ำที่สุดประมาณ 12 เท่า กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด 20 เปอร์เซ็นต์แรกมีสัดส่วนรายได้

เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 54 ในปี 2531 เป็นร้อยละ 59 ในปี 2535 ในขณะที่กลุ่มที่มีรายได้ 20 เปอร์เซ็นต์ต่ำสุด

มีสัดส่วนรายได้ลดลงจากร้อยละ 4.6 ในปี 2531 เหลือเพียงร้อยละ 3.9 ในปี 2535 ช่องว่างระหว่างรายได้และโอกาสที่ได้รับจากผลของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของ
คนไทยส่วนใหญ่และการพัฒนาประเทศในระยะยาว

      3)      ผลของการพัฒนาที่ผ่านมา ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ได้รับบริการโครงสร้างพื้นฐานและบริการพื้นฐานทางสังคมมากขึ้นในระดับที่น่าพอใจ กล่าวคือ ในปี 2537 ในหมู่บ้านชนบทมีไฟฟ้าใช้แล้วร้อยละ 97.7 มีน้ำสะอาดดื่มกินในระบบประปา สำหรับเขตเมืองในภูมิภาคมากกว่าร้อยละ 75 และร้อยละ 32 ในหมู่บ้านชนบท ในด้านคมนาคมขนส่งได้มีถนนเชื่อมต่อระหว่างจังหวัด อำเภอและตำบล คิดเป็นระยะทางรวมทั้งสิ้น 210,025 กิโลเมตร ซึ่งเป็นถนนในหมู่บ้านประมาณ 123,400 กิโลเมตร ในด้านการศึกษานั้นคนไทยในชนบทมีการศึกษาสูงขึ้น โดยมีอัตราเข้าเรียนในภาคบังคับถึงร้อยละ 97.7 ความสำเร็จของการพัฒนาด้านสาธารณสุขได้ทำให้อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยในปี 2537 เพิ่มขึ้นเป็น 67.6 ปี เปรียบเทียบกับปี 2533 ซึ่งคนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยเพียง 63 ปีเท่านั้น

      4)      การมุ่งเน้นการแข่งขันเพื่อสร้างความมั่งคั่งในด้านรายได้ ทำให้คนไทยและสังคมไทยมีความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมของคนในสังคม คือ การย่อหย่อนในศีลธรรม จริยธรรม ขาดระเบียบวินัย การเอารัดเอาเปรียบ ส่งผลให้วิถีชีวิตและค่านิยมดั้งเดิมที่ดีงามของไทยเริ่มจางหายไปพร้อมๆ กับการล่มสลายของสถาบันครอบครัว ชุมชน และวัฒนธรรมของท้องถิ่น นอกจากนี้สภาพบีบคั้นทางจิตใจของคนในสังคมเกิดจากความแออัดของชุมชนเมือง สภาวะแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลงซึ่งมากับกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจนั้น ได้ส่งผลให้ภาวะการเจ็บป่วยของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่โรคสมัยใหม่ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งการบาดเจ็บล้มตายจากอุบัติเหตุและอุบัติภัยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและรายได้ที่สูงขึ้น

      5)      การเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงเป็นลำดับ ในช่วง 2 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ป่าไม้ยังคงถูกทำลายลงถึงปีละ 1 ล้านไร่ ที่ดินทำกินถูกชะล้างพังทลาย คุณภาพของแม่น้ำ ลำคลองเปลี่ยนแปลงจนไม่สามารถจะนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไป สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลงทั้งในด้านคุณภาพของอากาศ ปริมาณฝุ่นละออง รวมทั้งเสียงในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองหลักในภูมิภาคนั้นได้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยโดยทั่วไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้การพัฒนาที่ไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนและการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมองข้ามการพัฒนาคุณค่าของความเป็นคน ละเลยภูมิปัญญา และวิถีชีวิตความเป็นอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไทย จะส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต

2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8

      เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในสังคม ช่วยแก้ปัญหาการพัฒนาที่ขาดความสมดุลคือ เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน และเพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์การพัฒนาที่พึงปรารถนาในระยะยาว การพัฒนาในระยะ 5 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของการพัฒนาไว้ดังนี้

      2.1    วัตถุประสงค์

                                (1)  เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคนทุกคนทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ให้มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ และสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง

                                (2)  เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้มีความมั่นคงและเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนให้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคน รวมทั้งให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมากยิ่งขึ้น

                                (3)  เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพมั่นคงและสมดุลเสริมสร้างโอกาสการพัฒนาศักยภาพของคนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาและได้รับผลจากการพัฒนาที่เป็นธรรม

                                (4)  เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์สามารถสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน

                                (5)  เพื่อปรับระบบบริหารจัดการ เปิดโอกาสให้องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศมากขึ้น

2.2 เป้าหมาย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การพัฒนาข้างต้น เห็นสมควรกำหนดเป้าหมายซึ่งจะเป็นเครื่องชี้วัดผลการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์หลักในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ไว้ ดังนี้

                                 (1)  เพิ่มปริมาณการเตรียมความพร้อมทุกด้านของเด็กปฐมวัย (0 - 5 ปี) อย่างมีคุณภาพ
                                (2)  เพิ่มคุณภาพการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะการขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 ปี   แก่เด็กในวัยเรียนทุกคน และการเตรียมการขยายการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น 12 ปี รวมทั้งให้มีการฝึกอบรมครูอาจารย์ทุกคนอย่างต่อเนื่อง
                              (3)  ยกระดับทักษะฝีมือและความรู้พื้นฐานให้แก่แรงงานในสถานประกอบการ โดยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกต่อกลุ่มแรงงานอายุ 25-45 ปี
                              (4)  ให้ผู้ด้อยโอกาสทุกประเภทได้รับโอกาสการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ และได้รับบริการพื้นฐานทางสังคมอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง
                              (5)  ลดอัตราการประสบอันตรายจากการทำงาน และลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะการจราจร การขนส่งวัตถุเคมีอันตราย และอัคคีภัยในอาคารสูง
                                (6)  รักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย โดยลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดให้อยู่ในระดับร้อยละ 3.4 ของผลผลิตรวมในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ต่อปี
                                (7)  ระดมการออมของภาคครัวเรือนให้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อยร้อยละ10 ของผลผลิตรวมใน  ปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 
                                (8)  ขยายปริมาณและเพิ่มคุณภาพของบริการโครงสร้างพื้นฐานสู่ภูมิภาคและชนบท
                                (9)  ลดสัดส่วนคนยากจนของประเทศให้น้อยกว่าร้อยละ 10 ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
                                (10)  อนุรักษ์และฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ไว้ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ของประเทศ   รวมทั้งรักษาพื้นที่ป่าชายเลนให้คงไว้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านไร่ในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
                                (11)  สร้างโอกาสและเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพเกษตรกรในรูปแบบของเกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน และวนเกษตร
                                (12)  เพิ่มการลงทุนในการควบคุมและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในเมือง ภูมิภาค และชนบท
3.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

                เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาดังกล่าว เห็นควรกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่สำคัญ  ดังนี้

            3.1   การพัฒนาศักยภาพของคน ประกอบด้วยการส่งเสริมให้ประเทศมีโครงสร้างประชากรที่เหมาะสม และมีการกระจายตัวของประชากรที่สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ของประเทศ การปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ด้านการพัฒนาจิตใจให้เกิดผลในทางปฏิบัติ การพัฒนาสติปัญญาและทักษะฝีมือแรงงานให้คนไทยทุกคนมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้นในกระบวนการผลิตและสามารถปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการพัฒนาสุขภาพและพลานามัยที่มุ่งเสริมสร้างโอกาสให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าและมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรค

                3.2 การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคน ประกอบด้วยแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวของชุมชน การสร้างโอกาสให้คน ครอบครัว ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองและสังคม การพัฒนาระบบความมั่นคงทางสังคมเพื่อสร้างหลักประกันด้านต่างๆ แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง การเสริมสร้างขีดความสามารถในระบบอำนวยความยุติธรรมและระบบความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่ประชาชน และการส่งเสริมให้วัฒนธรรมมีบทบาทในการพัฒนาคนและประเทศให้สมดุลและยั่งยืน

                3.3  การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบทเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง ประกอบด้วยแนวทางการกระจายโอกาสและความเจริญด้วยการพัฒนาพื้นที่ในภูมิภาค การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและการกระจายการพัฒนาด้วยการเพิ่มศักยภาพขององค์กรชุมชน การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และขยายเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน การเสริมสร้างโอกาสการพัฒนาเพื่อสร้างอาชีพและการมีงานทำด้วยการส่งเสริมบทบาทของภาคธุรกิจเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชน การกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจและบริการทางสังคม การแก้ไขปัญหาและรักษาสภาพแวดล้อมเมือง การบริหารจัดการงานพัฒนาในลักษณะพหุภาคี ทั้งในงานพัฒนาทั่วไปและในระดับพื้นที่

                3.4  การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต ประกอบด้วยแนวทางการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจให้เข้มแข็งและเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ การปรับโครงสร้างการผลิตให้เข้มแข็งเพื่อให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลกและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อเป็นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่ ชุมชน และบริการโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับคุณภาพชีวิต

                    3.5   การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยแนวทางการบริหารจัดการเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้มีความสมบูรณ์ เกิดความสมดุลต่อระบบนิเวศวิทยา รวมทั้งการดูแลรักษาสภาวะแวดล้อมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนและเป็นฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาว การจัดระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดการใช้ประโยชน์และควบคุมดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดสรรอย่างเป็นธรรม เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนอย่างแท้จริง รวมทั้งการบริหารจัดการเพื่อป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากธรรมชาติ

                   3.6   การพัฒนาประชารัฐ  เป็นการพัฒนาภาครัฐให้มีสมรรถนะและพันธกิจหลักในการเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถนะของคน ทำให้คนในสังคมเป็นพันธมิตรกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศซึ่งประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างหลักนิติธรรมในการบริหารรัฐกิจ การจัดการแก้ไขความขัดแย้งในสังคมด้วยสันติวิธี สนับสนุนให้ประชาชนทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะของภาครัฐ เพิ่มพูนประสิทธิผลและประสิทธิภาพภาครัฐด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ ตลอดจนการสร้างความต่อเนื่องในงานบริหารรัฐกิจ โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านนโยบายสาธารณะและการกำหนดระเบียบวาระแห่งชาติ

                      3.7  การบริหารจัดการเพื่อให้มีการนำแผนพัฒนาฯ ไปดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ประกอบด้วยแนวทางการแปลงแผนสู่การปฏิบัติด้วยระบบการจัดการในระดับพื้นที่ตามภารกิจของหน่วยราชการและการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในสังคม การพัฒนากลไกของรัฐในการปฏิบัติงาน การเร่งรัดพัฒนาระบบกฎหมายให้เป็นไปในแนวทางของระบบกฎหมายมหาชน เพื่อเอื้ออำนวยต่อการจัดให้มีกฎหมายรองรับแผนพัฒนาฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การปรับบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคีเพื่อการพัฒนา การเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานกลางในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ การพัฒนาสมรรถนะกลไกนอกภาครัฐ และการติดตามและประเมินผลโดยมีการจัดทำดัชนีชี้วัดผลของการพัฒนาแบบองค์รวม

4.  ลักษณะและการใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8

             4.1  แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นแผนชี้ทิศทางการพัฒนาประเทศทั้งในทศวรรษหน้า และในช่วง พ.ศ.2540-2544 ซึ่งเน้นการพัฒนาในลักษณะที่เป็นกระบวนการเพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาแบบแยกส่วนหรือตามรายสาขาเศรษฐกิจและสังคมมาเป็นแบบองค์รวม คือ การพัฒนาแบบรวมส่วนหรือบูรณาการที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ อันจะทำให้การพัฒนามีประสิทธิภาพ ความยั่งยืนและคนไทยทั้งหมดได้รับประโยชน์จากการพัฒนามากกว่าที่ผ่านมา

                4.2  ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาซึ่งกำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8  เป็นการชี้ทิศทางการพัฒนาตามวัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาประเทศในระยะยาว โดยไม่เน้นรายละเอียดของแนวทางการพัฒนาตามสาขาเศรษฐกิจและสังคม และมาตรการระยะสั้นซึ่งหน่วยงานปฏิบัติต้องดำเนินการตามปกติอยู่แล้ว ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องจะต้องนำยุทธศาสตร์และแนวทางทั้งหมดไปใช้เป็นกรอบกำหนดแผนงาน โครงการ และมาตรการ เพื่อให้มีการดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ รวมถึงการกำหนดให้มีเป้าหมายและโครงการที่จะทำให้เกิดผลต่อประชาชน มิใช่องค์กรของรัฐ หรือเป็นโครงการพัฒนาที่ประชาชนตัดสินใจหรือมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ

                4.3 การจัดทำแผนงานและโครงการพัฒนาตามยุทธศาสตร์  ควรจะต้องดำเนินการแบบองค์รวม คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกองค์กรจะต้องร่วมกันคิด ร่วมกันทำ มีการประสานการวิเคราะห์ โดยยึดหลักพื้นที่และภารกิจ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้รับผิดชอบเป็นกรอบในการจัดทำแผนงานและโครงการ แผนเงินและแผนคน โดยใช้ยุทธศาสตร์และแนวทางของแผนควบคู่ไปกับพื้นที่ เป็นเครื่องมือในการขอรับสนับสนุนด้านงบประมาณ ตลอดจนการติดตามประเมินผลประจำปี

                4.4  การติดตามประเมินผลความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จะต้องมีการสร้างดัชนีชี้วัดทั้งในระดับภาพรวมและแผนงานโครงการใน 5 ระดับ คือ

                                (1) ดัชนีชี้วัดผลกระทบขั้นสุดท้ายของการพัฒนา สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องชี้วัดผลความก้าวหน้าที่แท้จริงของการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวมในทุกๆ ด้าน ทั้งในด้านการพัฒนาคน สังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่าสามารถดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาประเทศที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาได้มากน้อยแค่ไหนเพียงใด

                                (2)  ดัชนีชี้วัดประสิทธิผลของการพัฒนาเฉพาะด้าน สร้างขึ้นเพื่อติดตามประเมินผลการพัฒนาในแต่ละด้านที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงความสำเร็จและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาในลักษณะผสมผสานระหว่างภารกิจกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย เพื่อจะนำไปใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการในแต่ละสาขาให้มีประสิทธิภาพ

                                (3) ดัชนีชี้วัดประสิทธิผลของยุทธศาสตร์การพัฒนา สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินผลความสำเร็จหรือความล้มเหลวของยุทธศาสตร์การพัฒนาที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8

                                (4)  ดัชนีชี้วัดประสิทธิผลขององค์กรที่ดำเนินงานพัฒนา สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องชี้วัดขีดความสามารถขององค์กรที่รับผิดชอบในการดำเนินงานแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติในทุกระดับตามแนวทางการประสานแผนงาน แผนเงิน และแผนคน ที่เน้นการกระจายอำนาจสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น และการประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพและผลงานขององค์กร ทั้งในด้านการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับคนในองค์กร การเพิ่มพูนประสิทธิภาพ การดำเนินงาน การสร้างระบบการติดตามประเมินผล เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานขององค์กรต่อไป

                                (5) ดัชนีชี้วัดสถานการณ์ที่เป็นจริงในด้านต่างๆ เป็นการรวบรวมข้อมูลเชิงสถิติหรือข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนาด้านต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือประสิทธิผลของการพัฒนาในระดับต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น

สรุปสาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ฉบับที่ 9  (พ.ศ. 2545 - 2549)

1. ความนำ

                แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (.. 25452549) เป็นแผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยยึดหลักทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่างๆ  ดังนี้

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน  ความเพียร    มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

                การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันของสังคมไทยใน 20 ปีข้างหน้า โดยนำความคิดของทุกภาคส่วนในสังคมทุกระดับ ตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับอนุภาค และระดับชาติ มาสังเคราะห์เชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบให้เกิดเป็น วิสัยทัศน์ร่วมที่สังคมไทยยอมรับร่วมกัน โดยคำนึงถึงภาพรวมการพัฒนาที่ผ่านมา สถานการณ์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่อนำไปสู่สังคมไทยที่พึงประสงค์ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและสร้างคุณค่าที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

                แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จึงเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ชี้กรอบทิศทางการพัฒนาประเทศ ในระยะปานกลาง ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาว และมีการดำเนินการต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ในด้านแนวคิดที่ยึด คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกมิติอย่างเป็นองค์รวม และให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างระบบบริหารจัดการภายในที่ดีให้เกิดขึ้นในทุกระดับ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มี คนเป็นศูนย์กลางได้อย่างแท้จริง

                จากการประเมินผลการพัฒนาในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการพัฒนาที่ขาดสมดุล โดยประสบความสำเร็จเฉพาะในเชิงปริมาณ แต่ขาดความสมดุลด้านคุณภาพ จุดอ่อนของการพัฒนาที่สำคัญ คือ ระบบบริหารทางเศรษฐกิจ การเมือง และราชการยังเป็นการรวมศูนย์อำนาจและขาดประสิทธิภาพ ระบบกฎหมายล้าสมัย นำไปสู่ปัญหาเรื้อรังของประเทศ คือ การทุจริตประพฤติมิชอบที่เกิดขึ้นทั้งในภาคราชการและในภาคธุรกิจเอกชน ขณะเดียวกันคุณภาพการศึกษาของคนไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ไม่สามารถปรับตัวรู้เท่าทันวิทยาการสมัยใหม่ ทั้งฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยอ่อนแอ ไม่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจยังด้อยประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ ความยากจน และความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงขึ้น ได้สร้างความขัดแย้งในสังคมมากขึ้น นอกจากนี้ความอ่อนแอของสังคมไทยที่ตกอยู่ในกระแสวัตถุนิยม ได้ก่อให้เกิดปัญหาทางศีลธรรมและปัญหาสังคมมากขึ้นด้วย

                อย่างไรก็ตาม การพัฒนาที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดทุนทางสังคมและทางเศรษฐกิจหลายประการ ซึ่งเป็น จุดแข็งของประเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนา กล่าวคือ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้วางพื้นฐานให้เกิดการปฏิรูปที่สำคัญทั้งทางสังคม การเมือง การบริหารภาครัฐ และการกระจายอำนาจ ขณะที่กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและพลังท้องถิ่นชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น สื่อต่างๆ มีเสรีภาพมากขึ้น เอื้อต่อการเติบโตของประชาธิปไตย การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย ทั้งจุดแข็งของฐานการผลิตภาคการเกษตรที่หลากหลาย มีศักยภาพเป็นแหล่งผลิตอาหารของโลก พร้อมทั้งมีธุรกิจบริการที่มีความเชี่ยวชาญ มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ และมีเอกลักษณ์ความเป็นไทยมีวัฒนธรรมที่เป็นจุดเด่น รวมทั้งมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สั่งสมเป็นปึกแผ่นและมีสถาบันหลักยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ซึ่งจะช่วยเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญในการลดความเสี่ยงจากกระแสโลกาภิวัตน์

                ขณะเดียวกันกระแสการเปลี่ยนแปลงหลักของโลกเป็นทั้ง โอกาสและภัยคุกคามต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้น มีการปรับระเบียบเศรษฐกิจใหม่ของโลกที่นำไปสู่กติกาการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศใหม่ และแนวโน้มการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคีที่มีอิทธิพลเพิ่มขึ้น รวมทั้งแนวโน้มการพัฒนาสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ที่มีเทคโนโลยีและการใช้ความรู้เป็นฐานการพัฒนา ทำให้ต้องเร่งเตรียมพร้อมทั้งการสร้างระบบ กลไก และพัฒนาคนให้สามารถปรับตัวอย่างรู้เท่าทันได้รวดเร็ว เพื่อคงสถานะการแข่งขันของประเทศและก้าวสู่ระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างเท่าทันโลกได้ต่อไป อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบางและมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวต่อเนื่อง และคาดว่าจะฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่ประมาณการไว้เดิม จะส่งผลต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจไทยซึ่งต้องปรับตัวให้ทัน ทั้งการเริ่มปรับฐานเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานรากถึงระดับมหภาค และการปรับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

                ภายใต้สถานการณ์และแนวโน้มในอนาคตที่จะมีผลต่อการพัฒนาประเทศดังกล่าว แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จึงเป็นแผนที่ดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศ ที่จำเป็นต้องเร่งรัดการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดสัมฤทธิ์ผลในทางปฏิบัติให้มากยิ่งขึ้น และมุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤต พร้อมทั้งวางรากฐานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง    มีเสถียรภาพ และมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น ขณะเดียวกัน จะต้องให้ความสำคัญลำดับสูงกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างสภาวะผู้นำร่วมกันในทุกระดับ ในอันที่จะสร้างพลังร่วมกันให้เกิดค่านิยมใหม่ในสังคม ที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการประเทศใหม่ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก

2. วิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ      

                การพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี มีจุดมุ่งหมายมุ่งเน้นการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เกิด การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสร้างค่านิยมร่วม ให้คนไทยตระหนักถึงความจำเป็นและปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด ทัศนคติ และกระบวนการทำงาน โดยยึด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทางให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการประเทศแนวใหม่ ที่มุ่งสู่ประสิทธิภาพและคุณภาพ และก้าวตามโลกได้อย่างรู้เท่าทัน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างคุณค่าที่ดีในสังคมไทยบนพื้นฐานของการอนุรักษ์วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของความเป็นไทย จึงได้กำหนดสภาพสังคมไทยที่พึงประสงค์ โดยมุ่งพัฒนาสู่ สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ ใน 3 ด้าน คือ

                สังคมคุณภาพ ที่ยึดหลักความสมดุล ความพอดี สามารถสร้างคนทุกคนให้เป็นคนดี คนเก่ง พร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม  มีวินัย  มีความรับผิดชอบ  มีจิตสำนึกสาธารณะ พึ่งตนเองได้ คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี   มีความสุข อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีเมืองและชุมชนน่าอยู่ มีระบบดี มีประสิทธิภาพ ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ มีความเข้มแข็งและแข่งขันได้ ได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบบการเมืองการปกครองโปร่งใส เป็นประชาธิปไตย ตรวจสอบได้ และมีความเป็นธรรมในสังคมไทย

                สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ที่เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนสามารถคิดเป็น ทำเป็น มีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต รู้เท่าทันโลก เพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง สามารถสั่งสมทุนทางปัญญา รักษาและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม

                สังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน ที่ดำรงไว้ซึ่งคุณธรรมและคุณค่าของเอกลักษณ์สังคมไทยที่พึ่งพาเกื้อกูลกัน รู้รัก สามัคคี มีจารีตประเพณีดีงาม มีความเอื้ออาทร รักภูมิใจในชาติและท้องถิ่น มีสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็ง ตลอดจนเครือข่ายชุมชนทั่วประเทศ

                ในการพัฒนาประเทศจะยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทางให้การพัฒนายึดทางสายกลาง อยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอดีและความพอประมาณอย่างมีเหตุผล นำไปสู่สังคมที่มีคุณภาพทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง สามารถพึ่งตนเอง มีภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันโลก คนไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาและรู้จักเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต เป็นคนดี มีคุณธรรมและซื่อสัตย์สุจริต อยู่ในสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สามารถรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่ไปกับการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ดำรงไว้ซึ่งคุณธรรมและคุณค่าทางสังคมไทยที่มีความสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน อันจะเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล มีคุณธรรมและยั่งยืน

                เพื่อก้าวสู่วิสัยทัศน์ร่วมของสังคมไทย จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการวาง บทบาทการพัฒนาประเทศในอนาคตอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับศักยภาพและบทบาททางเศรษฐกิจของพื้นที่ โดยคนในชุมชนมีส่วนร่วมที่จะวางรากฐานการพัฒนาเป็นสังคมและชุมชนที่เข้มแข็ง มีระบบบริหารจัดการที่ดีในทุกระดับ ขณะเดียวกันมีการใช้ศักยภาพด้านเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยที่ประนีประนอม เปิดกว้าง ในการพัฒนาเป็นแกนประสานการเจรจา เสริมสร้างสันติภาพในภูมิภาคและใช้ศักยภาพด้านการผลิตและบริการเพื่อเตรียมพัฒนาประเทศสู่ความเป็นฐานเศรษฐกิจของภูมิภาค โดยเฉพาะด้านการเกษตร การแปรรูปการเกษตรและอาหาร การเป็นฐานการท่องเที่ยวที่หลากหลาย และเป็นศูนย์กลางการศึกษาและวิทยาการที่เข้มแข็ง ควบคู่ไปกับการพัฒนาเป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค ด้านการขนส่งทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ รวมทั้งการสื่อสารโทรคมนาคมของภูมิภาค โดยอาศัยศักยภาพที่ได้เปรียบของพื้นที่เศรษฐกิจและโครงข่ายบริการพื้นฐานที่พัฒนาขึ้นแล้ว เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ก้าวตามโลกอย่างรู้เท่าทัน

3.  วัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9

                เพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของวิสัยทัศน์ร่วม ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสังคมไทยที่พึงประสงค์ในอนาคต แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (.. 2545-2549) จึงกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของการพัฒนาประเทศ ไว้ดังนี้

                3.1 วัตถุประสงค์

                            (1เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกัน สร้างความเข้มแข็งของภาคการเงิน ความมั่นคงและเสถียรภาพของฐานะการคลัง ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อให้เศรษฐกิจระดับฐานรากมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น ตลอดจนเพิ่มสมรรถนะของระบบเศรษฐกิจโดยรวมให้สามารถแข่งขันได้และก้าวทันเศรษฐกิจยุคใหม่

                            (2เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง  ยั่งยืน   สามารถพึ่งตนเองได้อย่างรู้เท่าทันโลก โดยการพัฒนาคุณภาพคน ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูประบบสุขภาพ สร้างระบบคุ้มครองความมั่นคงทางสังคม รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเครือข่ายชุมชน ให้เกิดการเชื่อมโยงการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน มีการดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสังคมไทย

                            (3เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ เป็นพื้นฐานให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เน้นการปฏิรูประบบบริหารจัดการภาครัฐ การบริหารจัดการที่ดีของภาคธุรกิจเอกชน การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนา การสร้างระบบการเมืองที่รับผิดชอบต่อสังคม และลดการทุจริตประพฤติมิชอบ

                            (4เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเองให้ได้รับโอกาสในการศึกษาและบริการทางสังคมอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับกลไกภาครัฐให้เอื้อต่อการแก้ปัญหา

                3.2      เป้าหมาย

                            (1เป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจมหภาคให้เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวอย่างมีคุณภาพและเสถียรภาพ โดยมีเป้าหมายให้เศรษฐกิจขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ 4-5 ต่อปี สามารถเพิ่มการจ้างงานใหม่ในประเทศได้ไม่ต่ำกว่า 230,000 คนต่อปี มีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี รักษาการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดให้คงอยู่เฉลี่ยประมาณร้อยละ 1-2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และรักษาทุนสำรองเงินตราต่างประเทศให้มีเสถียรภาพเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุน รวมทั้งปรับ

โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสมรรถนะภาคการผลิตให้แข่งขันได้ โดยให้การส่งออกขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ต่อปี ให้ผลิตภาพการผลิตรวมในภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.5 ต่อปี ผลิตภาพการผลิตรวมในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.5 ต่อปี และผลิตภาพของแรงงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว โดยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7-8 ต่อปี  และให้คนไทยท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี

                            (2เป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต ให้ประเทศไทยมีโครงสร้างประชากรที่สมดุล และขนาดครอบครัวที่เหมาะสม โดยรักษาแนวโน้มภาวะเจริญพันธุ์ของประชากรให้อยู่ในระดับทดแทนอย่างต่อเนื่อง คนไทยมีสุขภาพดี มีคุณภาพ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงมีคุณธรรม มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม ให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี ในปี 2549 ยกระดับการศึกษาของแรงงานไทยให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ในปี 2549 ขยายการประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และให้มีระบบการคุ้มครองทางสังคมที่สร้างหลักประกันแก่คนไทยทุกช่วงวัย ตลอดจนเพิ่มความเข้มแข็งให้ชุมชนและประชาสังคมและใช้กระบวนการชุมชนเข้มแข็งขับเคลื่อนให้เกิดการมีส่วนร่วมพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ รวมทั้งปรับระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและประชาชนมีส่วนร่วม

                            (3)      เป้าหมายการบริหารจัดการที่ดี  สร้างระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ มีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม ท้องถิ่นมีขีดความสามารถจัดเก็บรายได้สูงขึ้นและมีระบบสนับสนุนการกระจายอำนาจให้โปร่งใส มีระบบตรวจสอบด้วยการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็ง เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบเกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริง

                            (4)      เป้าหมายการลดความยากจน ให้มีการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจที่เอื้ออาทรต่อคนจน พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างศักยภาพให้คนจนเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกัน สามารถพึ่งตนเองได้ เพื่อลดสัดส่วนคนยากจนของประเทศให้อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 12 ของประชากรในปี 2549

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

                ภายใต้วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินงานในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นควรกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สนับสนุนและเชื่อมโยงกัน 3 กลุ่มยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ดังนี้

                กลุ่มที่หนึ่ง การสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม มีความสำคัญเป็นลำดับสูงสุด เน้นการปฏิรูปให้เกิดกลไกการบริหารจัดการที่ดี ทั้งในภาคการเมือง ภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนาประเทศที่มีประสิทธิภาพ  มีความโปร่งใส ให้มีความรับผิดชอบ สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญและเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้สังคมไทยพร้อมรับกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งจะช่วยป้องกันและขจัดปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประกอบด้วย

                (1)      ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการผลักดันให้ทุกยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนไปได้ โดยให้ความสำคัญกับ

                            (1.1การปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส โดยปรับโครงสร้าง ลดขนาด และปรับบทบาทให้สอดคล้องระบบราชการแนวใหม่ มีระบบข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มีเอกภาพ และเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกัน มีระบบการทำงานที่ลดความซ้ำซ้อน ระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนชาติ รวมทั้งปรับปรุงระบบกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสังคมทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่งเสริมการใช้กฎหมายคุ้มครองสิทธิประชาชน และสนับสนุนให้สื่อและประชาชนมีบทบาทตรวจสอบกระบวนการยุติธรรม

                            (1.2การกระจายภารกิจและความรับผิดชอบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างโปร่งใส โดยเตรียมความพร้อมและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควบคู่กับการเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคม

                            (1.3การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ทั้งในภาคการเมือง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยสร้างจิตสำนึกประชาชนมีส่วนร่วมรวจสอบและต่อต้านการทุจริตประพฤติมิชอบ รวมทั้งรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม

                            (1.4การพัฒนาและเสริมสร้างกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลทุกภาคส่วนในสังคม โดยสนับสนุนองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และสนับสนุนบทบาทสื่อในการตรวจสอบนักการเมืองและข้าราชการ เพื่อระบบการเมืองที่โปร่งใส สร้างจิตสำนึกของข้าราชการนักธุรกิจ และประชาชนให้มีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ

                            (1.5)       การเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดีของภาคเอกชน ให้มีความโปร่งใส            มีระบบการทำงานที่สามารถตรวจสอบได้ รักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน มีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ รวมทั้งสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภค

                            (1.6)       การเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน โดยสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องและมีคุณภาพให้เป็นภูมิคุ้มกัน อาศัยกระบวนการมีส่วนร่วม สร้างเครือข่ายชุมชน ให้สามารถพึ่งพาตนเอง ดูแลซึ่งกันและกัน ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้ดำเนินชีวิต โดยยึดทางสายกลาง ความพอเพียง
มีคุณธรรม มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่น เพื่อเป็นรากฐานที่ดีของสังคม

                กลุ่มที่สอง การเสริมสร้างฐานรากของสังคมให้เข้มแข็ง เป็นกลุ่มยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคน ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้เป็นแกนหลักของสังคมไทย มีการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาชนบทและเมือง รวมตลอดทั้งมีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้สามารถสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและการยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนไทยอยู่ดีมีสุขได้อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย

      (2ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและการคุ้มครองทางสังคม ให้ความสำคัญกับ

                            (2.1การพัฒนาคนให้มีคุณภาพและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง โดยปฏิรูประบบสุขภาพ ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เน้นการป้องกัน ปฏิรูปการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ ยกระดับทักษะฝีมือของคนไทยให้ได้มาตรฐานและสอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถคิดเป็น ทำเป็น รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีคุณธรรม มีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ

                            (2.2การส่งเสริมให้คนมีงานทำ โดยมุ่งสร้างผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวและผู้ประกอบการขนาดเล็ก กระจายโอกาสการมีงานทำในทุกๆพื้นที่ทั่วประเทศ ขยายการจ้างงานนอกภาคเกษตร และส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในต่างประเทศ เพื่อขยายตลาดแรงงานใหม่ๆ ให้แก่แรงงานไทย

                            (2.3การปรับปรุงระบบการคุ้มครองทางสังคมให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทั่วถึงและเป็นธรรม เพื่อสร้างหลักประกันแก่คนทุกช่วงวัย โดยเพิ่มประสิทธิภาพระบบหลักประกันสังคม เตรียมความพร้อมของท้องถิ่นในการร่วมรับผิดชอบการบริการทางสังคม ปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ปรับปรุงรูปแบบการคุ้มครองกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส

                            (2.4การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยปรับปรุงระบบบริหารจัดการให้มีเอกภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา เร่งบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยา ปราบปรามและดำเนินการทางกฎหมายอย่างจริงจัง ตลอดจนประสานความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อสกัดกั้นขบวนการผลิตและค้ายาเสพติด รวมทั้งปรับระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

                            (2.5การส่งเสริมบทบาทครอบครัว องค์กรทางศาสนา โรงเรียน ชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน อาสาสมัคร และสื่อมวลชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยส่งเสริมให้สถาบันครอบครัวมีความเข้มแข็งในการดูแลและพัฒนาสมาชิกในทุกด้าน สร้างและปลุกจิตสำนึกในความรักชาติและความเป็นไทยอย่างจริงจัง สนับสนุนบทบาทสถาบันทางสังคมต่างๆ ในการทำนุและพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาบุคลากรทางศาสนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาสื่อมวลชนทุกประเภทให้มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

      (3)      ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับ

                            (3.1การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ เน้นการพัฒนากระบวนการชุมชนเข้มแข็งให้เป็นฐานรากที่มั่นคงของสังคม มีการระดมพลังแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม มีการพัฒนาเมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ โดยสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต วิถีชีวิตของคนในเมืองและชุมชน ให้เกิดความสงบ สะดวก สะอาด ปลอดภัย และมีระเบียบวินัย รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ตลอดจนสร้างกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่อย่างต่อเนื่อง

                            (3.2การแก้ปัญหาความยากจนในชนบทและเมืองภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ที่มุ่งเน้นการปรับกระบวนทัศน์และการจัดการการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเป็นองค์รวม เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เน้นที่ตัวคนจนด้วยการพัฒนาศักยภาพเพิ่มขีดความสามารถให้คนจนก่อร่างสร้างตัวพึ่งตนเองมากขึ้น และพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เป็นปัญหาเชิงระบบและโครงสร้าง โดยมีการปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐ ปฏิรูปกฎหมาย และปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมไม่ขัดต่อกฎระเบียบ

                            (3.3การสร้างความเชื่อมโยงของการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างเกื้อกูล  เพื่อกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมให้เท่าเทียมกัน โดยสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก สร้างความมั่นคงทางรายได้ให้แก่คนในชนบท พัฒนาการรวมกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจเชื่อมโยงพื้นที่ชนบทและเมือง และส่งเสริมการพัฒนาให้สอดคล้องกับศักยภาพและบทบาททางเศรษฐกิจของพื้นที่ในระดับต่างๆ

                            (3.4การจัดการพื้นที่เชิงบูรณาการที่ยึดพื้นที่ภารกิจและการมีส่วนร่วม และเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีคนดีและระบบดี เพื่อรองรับการกระจายอำนาจ โดยปรับกลไกการจัดการพื้นที่และสร้างเครือข่าย เพื่อให้ทุกภาคส่วนในสังคมร่วมกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้

    (4)      ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับ

     (4.1การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเอื้อต่อการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ฟื้นฟู และการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ โดยปรับกลไกและกระบวนการจัดการเชิงบูรณาการที่เน้นการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของชาติ เพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายที่ประชาชนมีส่วนในการบริหารจัดการ และมีการจัดทำฐานข้อมูลระดับพื้นที่ เพื่อการติดตาม ตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ

     (4.2การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยคุ้มครองและกำหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และมีการใช้ประโยชน์ที่สอดคล้องกับสมรรถนะ จัดทำแผนหลักฟื้นฟูชายฝั่งและทะเลไทยให้คืนความอุดมสมบูรณ์ อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และฟื้นฟูทรัพยากรดินให้สามารถใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตร รวมทั้งส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด

    (4.3การอนุรักษ์ฟื้นฟูและรักษาสภาพแวดล้อมชุมชน ศิลปวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยว ให้เกื้อหนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชน โดยรักษาสภาพแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ศิลปกรรม โบราณคดี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และใช้ผังเมืองเป็นกลไกประสานการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง ให้เกิดความน่าอยู่และยั่งยืน

    (4.4การบริหารจัดการปัญหามลพิษอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาให้เมืองและชุมชนมีความน่าอยู่ โดยส่งเสริมการพัฒนาระบบกำจัดของเสียอันตรายที่เป็นที่ยอมรับของชุมชน บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและจริงจัง พัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงมาตรฐานจัดการมลพิษให้ได้มาตรฐานสากล

     กลุ่มที่สาม การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เข้าสู่สมดุลและยั่งยืน เป็นกลุ่มยุทธศาสตร์ที่เน้นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ที่มุ่งส่งเสริมให้ฐานเศรษฐกิจของประเทศแข็งแกร่งและขยายตัวได้อย่างมีคุณภาพ โดยปรับฐานเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานรากถึงระดับมหภาค และมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกอย่างรู้เท่าทัน บนพื้นฐานการพึ่งตนเอง และมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ควบคู่ไปกับการรักษาสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งระดับมหภาคและระดับสาขา รวมทั้งการสร้างความพร้อมและพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เน้นการพัฒนานวัตกรรมและการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม ประกอบด้วย

    (5ยุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม ให้ความสำคัญกับ

    (5.1การดำเนินนโยบายการเงินเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อวิกฤตเศรษฐกิจและช่วยกระจายความเจริญและสร้างความเป็นธรรม โดยการดูแลสภาพคล่องและรักษาเสถียรภาพด้านราคาและอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม สร้างความเข้มแข็งและระบบระวังภัยของภาคการเงิน ปรับปรุงการกำกับดูแลสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส และปรับปรุงบทบาทของภาคการเงินในการกระจายความเจริญและความเป็นธรรม ตลอดจนเพิ่มบทบาทของตลาดทุนเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและให้เป็นทางเลือกของแหล่งระดมทุนของประเทศ

    (5.2การดำเนินนโยบายการคลังและสร้างความมั่นคงของฐานะการคลังและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค โดยเพิ่มการใช้จ่ายและใช้มาตรการภาษีสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ รักษาวินัยทางการคลัง และบริหารหนี้สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ  บริหารรายได้รายจ่ายและทรัพย์สินของรัฐเพื่อความยั่งยืนฐานะการคลังในระยะยาว รวมทั้งส่งเสริมระบบการออมของประเทศ ตลอดจนกระจายอำนาจการคลังและถ่ายโอนภารกิจสู่ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม

     (5.3การเตรียมความพร้อมของเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศ ให้มีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยเน้นการสร้างความพร้อมในการเจรจาต่อรองทางการค้า และประสานกลไกความร่วมมือเพื่อการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศให้เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ

    (6ยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ความสำคัญกับ

     (6.1การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและการค้า เพื่อสร้างฐานการผลิตในประเทศให้เข้มแข็ง พึ่งพาตนเอง และสร้างภูมิคุ้มกันของระบบเศรษฐกิจ โดยพัฒนาคุณภาพคน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตและวิธีการผลิต ในการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างสมดุลระหว่างการผลิตกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระจายความเสี่ยงที่เกิดจากการเปิดเสรีการค้าและการลงทุน และเตรียมความพร้อมในการปรับตัวให้เข้ากับเศรษฐกิจยุคใหม่

    (6.2)   เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มสมรรถนะภาคการผลิตและบริการ โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ได้พัฒนาขึ้นแล้วให้คุ้มค่า และพัฒนาให้มีคุณภาพอยู่ในระดับมาตรฐาน

    (6.3)   การผลักดันขบวนการเพิ่มผลผลิตของประเทศ โดยการพัฒนากลไกในการเพิ่มผลผลิต ทั้งการพัฒนาเครือข่ายประสานความร่วมมือภาครัฐ เอกชน และประชาชน ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่างๆ

    (6.4)  การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และระบบสหกรณ์ ให้เป็นฐานรากที่เข้มแข็งในการสร้างรายได้ของประเทศ ตลอดจนเน้นความเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตและบริการอย่างเป็นระบบครบวงจร

    (6.5)   ปรับปรุงระบบเจรจาและความร่วมมือในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อสร้างเอกภาพในการเจรจาทางการค้า และเสริมสร้างอำนาจต่อรองของไทยในเวทีเศรษฐกิจการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเป็นการวางรากฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาว

    (6.6ส่งเสริมการค้าบริการที่มีศักยภาพเพื่อสร้างงานและกระจายรายได้ โดยพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มการจ้างงานและกระจายรายได้สู่ชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ และพัฒนาธุรกิจบริการที่มีศักยภาพใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่น ซึ่งรวมถึง วิถีชีวิต สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีพื้นบ้าน ตลอดจนการส่งเสริมไทยเที่ยวไทย และการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน

    (7ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความสำคัญกับ

      (7.1การประยุกต์ใช้และการพัฒนาเทคโนโลยี โดยเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในภาคการผลิต และสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาตามศักยภาพของคนไทย โดยสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงเทคโนโลยี เน้นการใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้า กระตุ้นการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีของตนเอง เพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

     (7.2การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์ การรู้เท่าทันโลก และการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้สามารถเลือก รับ ประยุกต์ใช้ และพัฒนาเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      (7.3การยกระดับการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการเผยแพร่องค์ความรู้และข่าวสาร ช่วยสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

     (7.4การบริหารการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มุ่งประสิทธิผล ให้นำไปประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ โดยกระตุ้นให้ภาคเอกชนเป็นผู้นำ ในขณะที่ภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนและนักวิชาการมีส่วนร่วม

5. ลำดับความสำคัญของการพัฒนา             

    ในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประเทศ ภายใต้ทรัพยากรภาครัฐที่มีอยู่จำกัด ซึ่งต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง มั่นคง และปรับฐานเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถขยายตัวต่อเนื่องในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ โดยมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

    5.1การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเร่งรัดการคลังด้านการใช้จ่ายของภาครัฐ นโยบายภาษี และนโยบายการเงินระยะสั้นที่เน้นการดูแลสภาพคล่องให้เพียงพอ และรักษาเสถียรภาพด้านราคาและอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนเกินไป ชะลอการไหลออกนอกประเทศของเงินทุน และรักษาการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ให้ลดลงมาก ตลอดทั้งการแก้ปัญหาและกระตุ้นการขยายตัวของภาคการผลิต โดยเฉพาะการส่งออก การท่องเที่ยว วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการอื่นๆ ที่มีศักยภาพ ควบคู่กับการฝึกอบรมทักษะฝีมือแรงงานให้สามารถสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างการผลิตและตลาดแรงงาน เพื่อเพิ่มการจ้างงานและขีดความสามารถในการหารายได้เงินตราต่างประเทศ

    5.2การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก เน้นพัฒนาธุรกิจชุมชนโดยส่งเสริมการระดมทุนในลักษณะกองทุนหมุนเวียน เพื่อการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการขยายโครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อบรรเทาปัญหาสภาพคล่อง ให้ความสำคัญกับการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่มีการพัฒนารูปแบบและคุณภาพได้มาตรฐาน มีเอกลักษณ์เฉพาะ รวมทั้งพัฒนาข้อมูลข่าวสารให้เข้าถึงชุมชนเพื่อการแปรรูปผลผลิต ตลอดจนเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านการตลาดและการกระจายผลผลิตที่เชื่อมโยงระหว่างตลาดท้องถิ่นสู่ตลาดระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และต่างประเทศ

  5.3การบรรเทาปัญหาสังคม โดยต้องเร่งป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเชิงรุกให้ครบวงจร พัฒนาระบบประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานควบคู่กับการสร้างงานรองรับ ขณะเดียวกันต้องมีการขยายขอบเขตการคุ้มครองแรงงานให้ครอบคลุมทั้งในและนอกระบบ ให้ความสำคัญกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ทั้งในภาครัฐ ภาคการเมือง และภาคเอกชนอย่างจริงจัง รวมทั้งปลุกจิตสำนึกให้เกิดความนิยมไทยและรักชาติอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง

    5.4การแก้ปัญหาความยากจน ที่มุ่งจัดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นองค์รวม เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เน้นที่ตัวคนจนและสภาพแวดล้อมที่เป็นปัญหาเชิงระบบและโครงสร้าง โดย

         (1)เสริมสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึงโดยการกระจายบริการศึกษา สาธารณสุขที่มีทางเลือกเหมาะกับวิถีชีวิตของคนยากจน และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งความรู้ แหล่งข้อมูลข่าวสาร

       (2)สร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพของคนยากจน ให้คนยากจนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน

       (3)พัฒนาโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคมเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตแก่คนยากจน โดยการปรับปรุงรูปแบบและแนวการดำเนินงานให้เข้าถึงกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสได้อย่างแท้จริง รวมทั้งจัดสวัสดิการสังคมที่สอดคล้องกับปัญหาและตรงกับความต้องการของคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสในแต่ละพื้นที่

     (4)พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งเพื่อสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้คนยากจนสามารถก่อร่างสร้างตัวและพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มเป็นองค์กรชุมชนเครือข่ายองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง ผ่านกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิดการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหาของตน ควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและเพิ่มรายได้ ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างครบวงจร สนับสนุนการรวมกลุ่มอาชีพ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเชื่อมโยงสู่ตลาดภายในและต่างประเทศได้

    (5)ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสให้คนยากจนโดยสนับสนุนให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขความยากจนที่มีความชัดเจนของกลุ่มเป้าหมายคนยากจนในแต่ละพื้นที่ มีมาตรการเฉพาะตามศักยภาพของกลุ่มคนยากจนในชนบทและในเมือง รวมทั้งให้มีการประสานแผนงานและปรับระบบการจัดสรรงบประมาณลงสู่กลุ่มเป้าหมายคนยากจนอย่างสอดคล้องกับสภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนมีการพัฒนาเครื่องชี้วัดความยากจนให้ถูกต้องและปรับได้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

    (6)เร่งปฏิรูปกฎหมายและปรับกฎระเบียบ ให้คนจนได้รับโอกาส สิทธิ และความเสมอภาคในด้านต่างๆ อาทิ สิทธิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร สิทธิการดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิการประกอบการจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิทธิการถือครองที่ดินสำหรับกลุ่มคนยากจนในภาคเกษตรที่ไร้ที่ทำกิน

6. การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ

     การแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติ จำเป็นต้องผนึกพลังร่วมจากทุกฝ่ายในสังคมในการปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์การพัฒนาใหม่ ทั้งด้านวิธีคิดและวิธีการทำงาน สามารถสร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือในการแปลงยุทธศาสตร์ และแนวทางการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย

    6.1เริ่มจากกระบวนการสร้างความเข้าใจในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปพร้อมกับการสร้างองค์ความรู้ สร้างสภาวะผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลง และขยายเป็นเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคีการพัฒนาอย่างกว้างขวาง จัดให้มีเวทีเรียนรู้ มีการรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์อย่างเป็นระบบในหลากหลายรูปแบบ

     6.2ต้องมีการบริหารยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 พร้อมกับจัดทำแผนการจัดสรรทรัพยากรภาครัฐ เพื่อชี้นำทิศทางการลงทุน ควบคู่ไปกับการจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันและสอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9

         (1)จัดทำแผนแม่บทหรือแผนหลัก ซึ่งมีลักษณะเป็นแผนเฉพาะเรื่องอย่างเป็นองค์รวม ที่ต้องอาศัยการประสานความร่วมมือระหว่างหลายหน่วยงานและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมดำเนินการอย่างมีบูรณาการ โดยมีระยะเวลาประมาณ 5 ปี

         (2)จัดทำแผนปฏิบัติการ ตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับท้องถิ่น ตลอดจนแผนปฏิบัติการระดับกระทรวง ทบวง กรม ที่มีการประสานงานในแนวราบระหว่างหน่วยงานและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภายใต้หลักการที่ยึดพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วม โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี มีรายละเอียดกรอบการลงทุน แผนงาน โครงการต่างๆ มีการจัดลำดับความสำคัญและมีแนวทางในการติดตามประเมินผล

     6.3 เร่งปรับปรุงกลไกและบทบาทของหน่วยงานกลาง ให้สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยปฏิบัติ และที่สำคัญที่สุดต้องมีการปรับระบบการจัดสรรงบประมาณที่เน้นผลสัมฤทธิ์ กระจายสู่ท้องถิ่นชุมชนอย่างสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ

    6.4ภาครัฐต้องสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ เพื่อลดความขัดแย้งในสังคม ขณะเดียวกันต้องพัฒนาระบบและกลไกติดตามประเมินผล สร้างดัชนีชี้วัดระดับต่างๆ ตลอดจนพัฒนาระบบฐานข้อมูล และโครงข่ายข้อมูลข่าวสารในทุกระดับ

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2

เศรษฐศาสตร์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

เรื่อง  การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

เวลา  3  ชั่วโมง

  สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

            การนำหลักปรัญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใ้ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งาติ

องประเทศ  ทำให้ทกภาคส่วนนำไปประยกต์ใ้ในการดำเนินีวิตองตนเอง  ครอบครัว  ภาคเกษตร อตสาหกรรม การค้าและบริการ

   ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

           2.1  ตัวชี้วัด

                        ส 3.1      ม.4-6/2        ตระหนักถึงความสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อเศรษฐกิจ  
                                                   สังคมของประเทศ

            2.จุดประสงค์การเรียนรู้

                        1)        วิเคราะห์แนวทางการประยกต์ใ้เศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินีวิตองตนเองและ

                                ครอบครัวได้

                       2)        วิเคราะห์แนวทางการประยกต์ใ้เศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตร อตสาหกรรม การค้า          

                           และการบริการได้

Ž   สาระการเรียนรู้

            3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง

                        1)        การประยกต์ใ้เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินีวิตองตนเองและครอบครัว

                        2)        การประยกต์ใ้เศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตร อตสาหกรรม การค้าและบริการ                                                                                               

           3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                   -

   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

            4.1ความสามารถในการสื่อสาร

            4.2ความสามารถในการคิด

                        -      ทักษะการคิดวิเคราะห์

                        -      ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

                        -      ทักษะการคิดแก้ปัญหา

            4.3ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

                        -      กระบวนการทำงานกลุ่ม

                        -      กระบวนการปฏิบัติ

   คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1.    ใฝ่เรียนรู้

2.    มุ่งมั่นในการทำงาน

3.    มีวินัย

4.     มีความซื่อสัตย์สุจริต

5.    ขยัน  อดทน

6.    พอประมาณ

กิจกรรมการเรียนรู้    

         (วิธีสอนตามแนววัฏจักรการเรียนรู้   4  MAT  วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการกลุ่ม)

ชั่วโมงที่ 1

            ขั้นที่ 1  ขั้นสร้างคุณค่าและประสบการณ์ของสิ่งที่เรียน ( พัฒนาสมองซีกขวา )

             1.1  ให้นักเรียนรวมกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน นั่งล้อมวงผลัดกันเล่าความประทับใจในกิจกรรมหรือการกระทำของกลุ่มบุคคลที่แสดงว่าได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้

             1.2  นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปประเด็นสำคัญจากการเล่าประสบการณ์ของสมาชิกในกลุ่ม

            ขั้นที่ 2   ขั้นวิเคราะห์ประสบการณ์ (พัฒนาสมองซีกซ้าย)

                            2.1  ครูและนักเรียนช่วยกันคัดเลือกกิจกรรมหรือการกระทำของกลุ่มบุคคล หรือชุมชน

                                      ที่น่าสนใจ และแสดงถึงการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้อย่าง

                                      ชัดเจน

                            2.2    นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายถึงเหตุผลของการคัดเลือกกิจกรรมหรือการกระทำของ

                                      กลุ่มบุคคลหรือชุมชน ในข้อ 2.1  ซึ่งนักเรียนอาจเชื่อมโยงให้เข้ากับทางสายกลาง

                                      เกี่ยวกับความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ภายใต้เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไข

                                      คุณธรรม

            ขั้นที่ 3   ขั้นปรับประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด  (พัฒนาสมองซีกขวา)

                              3.1    ครูให้นักเรียนศึกษาความรู้ร่วมกันในเรื่องกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                            3.2    นักเรียนนำข้อมูลความรู้ที่ได้มาเชื่อมโยงกับความรู้เดิม แล้วร่วมกันสรุปเป็นความคิดรวบยอดถึงแนวทางการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ชั่วโมงที่ 2-3

(กิจกรรมต่อเนื่องจากชั่วโมงที่ 1)

            ขั้นที่ 4  ขั้นพัฒนาความคิดรวบยอด ( พัฒนาสมองซีกซ้าย)

                            4.1    นักเรียนรวมกลุ่มตามความสมัครใจ กลุ่มละ 5-7 คน ศึกษาความรู้เรื่อง การพัฒนา

                                      เศรษฐกิจและสังคมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากหนังสือเรียน และแหล่ง

                                      การเรียนรู้

                            4.2    นักเรียนแต่ละกลุ่มนำความรู้ที่ได้ศึกษามาในข้อ 4.1 มาอภิปรายร่วมกันถึงประเด็น

                                      สำคัญ


           ขั้นที่ 5  ขั้นลงมือปฏิบัติจากกรอบแนวคิดที่กำหนด (พัฒนาสมองซีกซ้าย)

                            5.1    นักเรียนแต่ละกลุ่มนำความรู้และผลการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์มาเป็นพื้นฐานใน

                                      การหาข้อมูลข่าวสารจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ตามหัวข้อที่กำหนดในใบงาน โดยแบ่ง

                                      กันรับผิดชอบ  ดังนี้     

                                      -         กลุ่มที่ 1-2 ทำใบงานที่ 2.1 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับประชาชน                    

                                      -         กลุ่มที่ 3-4 ทำใบงานที่ 2.2 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเกษตรกร

                                      -         กลุ่มที่ 5-6 ทำใบงานที่ 2.3 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับภาคอุตสาหกรรม การค้า

                                                และการบริการ

                            5.2   นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูล   แล้วตอบคำถามตามหัวข้อที่กำหนดให้ในใบงานและตรวจสอบความถูกต้อง

           ขั้นที่ 6 ขั้นสร้างชิ้นงานเพื่อสะท้อนความเป็นตนเอง (พัฒนาสมองซีกขวา)

                            6.1    ครูมอบหมายชิ้นงานให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันจัดป้ายนิเทศ เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศโดยให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้

1) การวิเคราะห์ผลดีและปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่ละฉบับ

                       2)  การวิเคราะห์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                       3)  การเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของตนเอง และครอบครัว

                       4)  การเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตร อุตสาหกรรมการค้าและบริการ

                             6.2   นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมมือกันวางแผนและหาข้อมูล / ข่าวสาร จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆมาจัดป้ายนิเทศตามประเด็นที่กำหนดในข้อ 6.1 และร่วมมือกันทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย


           ขั้นที่ 7 ขั้นวิเคราะห์คุณค่าและการประยุกต์ใช้ ( พัฒนาสมองซีกซ้าย )

                            7.1    นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ผลงานของตน ช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นปรับปรุง และพัฒนางานจนมีความถูกต้องสมบูรณ์

           ขั้นที่ 8  ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้กับผู้อื่น (พัฒนาสมองซีกขวา)

                            8.1    นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานป้ายนิเทศ โดยให้กลุ่มอื่นหมุนเวียนกันมาชม และให้ข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะในแต่ละงาน

                            8.2    ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปข้อคิดที่ได้จากการศึกษาความรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกัน การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย

    การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 2.1

ใบงานที่ 2.1

ร้อยละ  60  ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 2.2

ใบงานที่ 2.2

ร้อยละ  60  ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 2.3

ใบงานที่ 2.3

ร้อยละ  60  ผ่านเกณฑ์

ประเมินป้ายนิเทศ เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

แบบประเมินป้ายนิเทศ เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญ

ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

ของประเทศ

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน

แบบทดสอบหลังเรียน

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

         8.1   สื่อการเรียนรู้

                    1)        หนังสือเรียน  เศรษฐศาสตร์ ม.4-ม.6

                    2)        หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม

                            (1)      กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. แนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงใน
                                  ชุมชนสำหรับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน
. กรุงเทพมหานคร : หจก. บางกอกบล๊อก, 2548.

                            (2)    สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริ.
                                  กษัตริย์นักพัฒนา.
กรุงเทพมหานคร
: ดอกเบี้ย, 2546.

                            (3)      ศึกษาธิการ, กระทรวง และสำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน. ทฤษฎีใหม่ในหลวงชีวิต
                                  พอเพียง.
กรุงเทพมหานคร
: กระทรวงศึกษาธิการและร่วมด้วยช่วยกัน, 2544.

                            (4)   สุนทร กุลวัฒนวรพงศ์. ตามรอยพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงทฤษฎีใหม่.
                                  กรุงเทพมหานคร
: ชมรมเด็ก,2544.

                            (5)      วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับปัญหาเศรษฐกิจของ

                                   ประเทศไทย.   กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์แสงดาว จำกัด,2550.

                            (6)     สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. เศรษฐกิจพอเพียงคือ

                                        อะไร.   กรุงเทพมหานคร: มปพ, 2548.

                             (7)  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สรุปผลการสัมมนาการ
                                 พัฒนากรอบแนวคิดและการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.
กรุงเทพมหานคร
:
                                มปพ, 2547.

                        3)    เอกสารความรู้เพิ่มเติม 

                        4)    ใบงานที่ 2.1 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับประชาชน

                        5)    ใบงานที่ 2.2 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเกษตรกร

                        6)    ใบงานที่ 2.3 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับภาคอุตสาหกรรม การค้า  และการบริการ

            8.2  แหล่งการเรียนรู้

                        1)    ห้องสมุด

                        2)    แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

                                http://www.sufficiencyeconomy.org/

                                http://www.doae.go.th/report/SE/html/01.htm

                                http://www.inspect9.moe.go.th/economic_king80.htm

                                http://www. sufficiencyeconomy.panyathai.or.th/