พระ มหา กษัตริย์ องค์ สุดท้าย แห่งราชวงศ์ บ้าน พลู หลวง และ แห่ง กรุงศรีอยุธยา คือ ใคร

 
พระ มหา กษัตริย์ องค์ สุดท้าย แห่งราชวงศ์ บ้าน พลู หลวง และ แห่ง กรุงศรีอยุธยา คือ ใคร
         ราชวงศ์บ้านพลูหลวง  เป็นชื่อราชวงศ์ลำดับที่ 5 แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ใน ปี พ.ศ. 2310 มีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ทั้งสิ้น 6 พระองค์ โดยเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ใน ปี พ.ศ. 2231 ถึงสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ใน ปี พ.ศ. 2310 รวมระยะเวลา 79 ปี
         เป็นชื่อราชวงศ์ลำดับที่ 5 แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ใน ปี พ.ศ. 2310 มีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ทั้งสิ้น 6 พระองค์ โดยเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ใน ปีพ.ศ. 2231 ถึงสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ใน ปี พ.ศ. 2310 รวมระยะเวลา 79 ปี
  1. สมเด็จพระเพทราชา - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2231 - พ.ศ. 2246 (15 ปี)
  2. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2246- พ.ศ. 2251 (6 ปี)
  3. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2251 - พ.ศ. 2275 (25 ปี)
  4. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2275 - พ.ศ. 2301 (26 ปี)
  5. สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2301 (2 เดือน)
  6. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2301 - ปี พ.ศ. 2310 (9 ปี)

         อาณาจักรอยุธยาภายใต้ราชวงศ์บ้านพลูหลวงอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ด้วยมีความขัดแย้งตลอดราชวงศ์ ผู้คนแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย เช่น การชิงราชสมบัติเมื่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ระหว่างพระโอรสของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่กินระยะเวลายาวนานถึง ๑ ปี หรือการช่วงชิงราชสมบัติมาจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งราชวงศ์ปราสาททอง เมื่อตอนต้นราชวงศ์ด้วย

พระ มหา กษัตริย์ องค์ สุดท้าย แห่งราชวงศ์ บ้าน พลู หลวง และ แห่ง กรุงศรีอยุธยา คือ ใคร

https://th.wikipedia.org/wiki/ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

พระ มหา กษัตริย์ องค์ สุดท้าย แห่งราชวงศ์ บ้าน พลู หลวง และ แห่ง กรุงศรีอยุธยา คือ ใคร

 
พระ มหา กษัตริย์ องค์ สุดท้าย แห่งราชวงศ์ บ้าน พลู หลวง และ แห่ง กรุงศรีอยุธยา คือ ใคร

ราชวงศ์บ้านพลูหลวง เป็นราชวงศ์ที่ 5 และเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองอาณาจักรอยุธยาก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2310 มีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ทั้งสิ้น 6 พระองค์ โดยเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเพทราชาในปี พ.ศ. 2231 ถึงสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ในปี พ.ศ. 2310 รวมระยะเวลา 79 ปี

โดยชื่อราชวงศ์พลูหลวงนี้ มาจากชื่อบ้านพลูหลวง หมู่บ้านในแขวงเมืองสุพรรณบุรี อันเป็นถิ่นกำเนิดเดิมของสมเด็จพระเพทราชา โดยลำดับพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีดังนี้

  1. สมเด็จพระเพทราชา - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2231 - พ.ศ. 2246 (15 ปี)
  2. สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (พระเจ้าเสือ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2251 (5 ปี)
  3. สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ (พระเจ้าท้ายสระ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2251 - พ.ศ. 2275 (24 ปี)
  4. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2275 - พ.ศ. 2301 (26 ปี)
  5. สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2301 (2 เดือน)
  6. สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2301 - พ.ศ. 2310 (9 ปี)

อาณาจักรอยุธยาภายใต้ราชวงศ์บ้านพลูหลวงอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ด้วยมีความขัดแย้งตลอดราชวงศ์ ผู้คนแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย เช่น การชิงราชสมบัติเมื่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ระหว่างพระโอรสของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่กินระยะเวลายาวนานถึง 1 ปี หรือการช่วงชิงราชสมบัติมาจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งราชวงศ์ปราสาททอง เมื่อตอนต้นราชวงศ์ด้วย ในช่วงปลายของราชวงศ์ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) ต้องเผชิญหน้ากับศึกภายนอกจากกองทัพอังวะจากราชวงศ์โกนบองซึ่งยกมาจากทางเหนือและใต้จนล้อมกรุงศรีอยุธยานาน 1 ปี 2 เดือนจนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาแตกในที่สุด เมื่อสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ทรงสวรรคตในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สองจึงถือว่าเป็นอันสิ้นสุดลงของราชวงศ์บ้านพลูหลวง

พบกับเรื่องราวของมหากาพย์บทความ 6 ตอนรวด ประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาฉบับรวบรัด โดยในตอนนี้จะพูดถึงเรื่องราวของราชวงศ์บ้านพลูหลวง อันเป็นราชวงศ์ที่ห้าและราชวงศ์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา

• บทความนี้จะนำเสนอในรูปแบบของไทม์ไลน์เวลา ดังนั้นในบางเหตุการณ์ที่มีความละเอียดซับซ้อน อาจจะไม่ได้ปรากฏอยู่ในไทม์ไลน์นี้

• เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ปีที่ใช้จะเป็นปีพุทธศักราช (พ.ศ.)

พ.ศ. 2246

พระเพทราชาสวรรคต หลวงสรศักดิ์ผู้เป็นโอรสบุญธรรมขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ

พันท้ายนรสิงห์ เรื่องราวของนายเรือผู้เคารพต่อกฎเกณฑ์บ้านเมือง ที่ได้ทูลขอให้พระเจ้าเสือสั่งประหารชีวิตตน ก็เกิดขึ้นในช่วงรัชกาลของพระเจ้าเสือนี้

-----

พ.ศ. 2251

พระเจ้าเสือสวรรคต พระเจ้าท้ายสระพระโอรสขึ้นครองราชย์

-----

พ.ศ. 2275

พระเจ้าท้ายสระสวรรคต โดยก่อนที่จะสวรรคต พระเจ้าท้ายสระได้ทรงมอบตำแหน่งพระมหาอุปราชให้กับเจ้าฟ้าอภัยผู้เป็นพระโอรส ซึ่งเป็นตำแหน่งของผู้ที่จะขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป

การที่เจ้าฟ้าอภัยได้เป็นพระมหาอุปราช ก็ได้สร้างความไม่พอใจให้กับเจ้าฟ้าพร ผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าท้ายสระ

ดังนั้นเจ้าฟ้าพรจึงทำศึกกับเจ้าฟ้าอภัยเพื่อแย่งชิงราชสมบัติ ผลสุดท้ายเจ้าฟ้าพรเป็นฝ่ายชนะ และได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในขณะที่เจ้าฟ้าอภัยก็ถูกสำเร็จโทษ

ในปี พ.ศ. 2292 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงส่งคณะสมณทูตเดินทางไปยังศรีลังกา เพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในศรัลังกา ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ จึงได้ประดิษฐานในศรีลังกานับแต่นั้นมา

-----

พ.ศ. 2301

พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสวรรคต เจ้าฟ้าอุทุมพรพระโอรสขึ้นครองราชย์

แต่พระเจ้าอุทุมพรก็ครองราชย์ได้ไม่ถึงเดือน ก็ทรงถวายราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าเอกทัศน์ ผู้เป็นพระเชษฐา แล้วจึงเสด็จออกผนวช (ชาวอยุธยาเรียกขานพระเจ้าอุทุมพรว่า ขุนหลวงหาวัด)

-----

พ.ศ. 2303

พระเจ้าอลองพญาแห่งอาณาจักรคองบองได้ทรงยกทัพล้อมกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าเอกทัศน์ได้ทูลขอให้พระเจ้าอุทุมพรลาผนวชเพื่อกลับมาทำศึกช่วยกรุงศรีอยุธยา

โดยพระเจ้าอุทุมพรก็ทรงสามารถช่วยขับไล่กองทัพพม่าให้ออกไปจากกรุงศรีอยุธยาได้ แต่เมื่อเสร็จศึกแล้ว พระเจ้าอุทุมพรก็ทรงออกผนวชอีกครั้งหนึ่ง เพื่อไม่ให้เกิดข้อขัดแย้งกับพระเจ้าเอกทัศน์

-----

พ.ศ. 2310

กรุงศรีอยุธยาถูกเผาทำลาย

พระเจ้ามังระโอรสของพระเจ้าอลองพญาทรงนำกองทัพบุกล้อมกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง

ผลสุดท้ายหลังจากที่กองทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาได้ราว 1 ปี 2 เดือน กรุงศรีอยุธยาก็ได้เสียเอกราชให้กับพม่าเป็นครั้งที่ 2

พระเจ้าเอกทัศน์ทรงสวรรคตขณะหลบหนีจากกองทัพพม่า ในขณะที่พระเจ้าอุทุมพรก็สวรรคตขณะถูกกองทัพพม่านำตัวไปที่กรุงอังวะ

อาณาจักรอยุธยาจึงถึงกาลล่มสลายลง หลังจากที่ครองอำนาจเป็นเวลารวมกันทั้งสิ้น 417 ปี

-----

อ้างอิง

- หนังสือประวัติศาสตร์ไทย สำนักพิมพ์ Torch

- หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 3

- https://www.renown-travel.com/historicalsites/ayutthaya/history.html

- https://www.britannica.com/place/Thailand/The-Ayutthayan-period-1351-1767

- https://en.m.wikipedia.org/wiki/Ayutthaya_Kingdom