ข้อ ใด ไม่ ปรากฏในอารยธรรมของชาวโรมัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สาธารณรัฐโรมัน

Rēs pūblica Rōmāna

509 ปีก่อนค.ศ.–27 ปีก่อนค.ศ.

ข้อ ใด ไม่ ปรากฏในอารยธรรมของชาวโรมัน

ตราแผ่นดิน

ข้อ ใด ไม่ ปรากฏในอารยธรรมของชาวโรมัน

อาณาเขตสาธารณรัฐโรมันยามที่จูเลียส ซีซาร์ถูกลอบสังหาร, 44 ปีก่อนค.ศ.

เมืองหลวงโรม
ภาษาทั่วไปละติน (ภาษาทางการ)
ศาสนา พหุเทวนิยมโรมัน
การปกครองสาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ
ยุคประวัติศาสตร์สมัยคลาสสิก

• การโค่นล้มซุแปร์บุส หลังเหตุข่มขืนกระทำชำเราลูเครเชีย

509 ปีก่อนค.ศ.

• จูเลียส ซีซาร์ประกาศตนเป็นผู้เผด็จการ

47 ปีก่อนค.ศ.

• ยุทธนาวีที่อักติอูง

2 กันยายน 31 ปีก่อนค.ศ.

• อ็อกตาวิอุสประกาศตนเป็นเอากุสตุส

16 มกราคม 27 ปีก่อนค.ศ.
พื้นที่
326 ปีก่อนค.ศ.[1]10,000 ตารางกิโลเมตร (3,900 ตารางไมล์)
200 ปีก่อนค.ศ.[1]360,000 ตารางกิโลเมตร (140,000 ตารางไมล์)
146 ปีก่อนค.ศ.[1]800,000 ตารางกิโลเมตร (310,000 ตารางไมล์)
100 ปีก่อนค.ศ.[1]1,200,000 ตารางกิโลเมตร (460,000 ตารางไมล์)
50 ปีก่อนค.ศ.[1]1,950,000 ตารางกิโลเมตร (750,000 ตารางไมล์)
ก่อนหน้า ถัดไป
ข้อ ใด ไม่ ปรากฏในอารยธรรมของชาวโรมัน
อาณาจักรโรมัน
จักรวรรดิโรมัน
ข้อ ใด ไม่ ปรากฏในอารยธรรมของชาวโรมัน

สาธารณรัฐโรมัน (ละติน: Rēs pūblica Rōmāna [ˈreːːs ˈpuː.blika roːˈmaːna]; อังกฤษ: Roman Republic) เป็นยุคสมัยของอารยธรรมโรมันโบราณขณะมีรัฐบาลเป็นสาธารณรัฐ เริ่มต้นจากการโค่นล้มราชาธิปไตยโรมัน ซึ่งมักถือว่าเมื่อราว 509 ปีก่อน ค.ศ. และแทนที่ด้วยรัฐบาลซึ่งนำโดยกงสุลสองคน ซึ่งพลเมืองเลือกตั้งทุกปีและได้รับคำแนะนำจากวุฒิสภา รัฐธรรมนูญที่ซับซ้อนค่อย ๆ ได้รับการพัฒนา โดยมีศูนย์กลางอยู่บนหลักการแบ่งแยกอำนาจและการตรวจสอบและถ่วงดุล ยกเว้นในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงของประเทศ ตำแหน่งราชการถูกจำกัดไว้ที่หนึ่งปี เพื่อที่ในทางทฤษฎีจะไม่มีปัจเจกบุคคลใดสามารถครอบงำพลเมืองได้

ในทางปฏิบัติ สังคมโรมันเป็นแบบลำดับชั้น[2][3] วิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโรมันได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการต่อสู้ระหว่างชนชั้นสูงผู้ถือครองที่ดินของโรม (พวกคณะพรรค) ผู้ซึ่งมีบรรพบุรุษย้อนไปตั้งแต่ประวัติศาสตร์ยุคต้นของอาณาจักรโรมัน กับชนชั้นไพร่ฟ้าประชาชน (พวกสามัญ) ที่มีจำนวนมากกว่ามาก เมื่อเวลาผ่านไป กฎหมายซึ่งให้สิทธิ์ขาดตำแหน่งสูงสุดของโรมแก่พวกคณะพรรคถูกยกเลิกหรือหย่อนลง ทำให้พวกสามัญเริ่มเข้ามาเรียกร้องสิทธิในอำนาจ บรรดาผู้นำของกรุงโรมได้พัฒนาประเพณีและศีลธรรมแข็งซึ่งต้องการบริการส่วนรวมและการอุปถัมภ์ในยามสันติและสงคราม หมายความว่า ความสำเร็จทางทหารและการเมืองเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ได้ ระหว่างสองศตวรรษแรก สาธารณรัฐโรมันได้ขยายตัวผ่านการพิชิตและพันธมิตรร่วมกัน จากอิตาลีตอนกลางเป็นทั้งคาบสมุทรอิตาลี เมื่อถึงศตวรรษต่อมา รวมถึงแอฟริกาเหนือ คาบสมุทรไอบีเรีย กรีซ และพื้นที่ซึ่งปัจจุบันเป็นฝรั่งเศสตอนใต้ อีกสองศตวรรษจากนั้น ใกล้ปลายศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล รวมถึงฝรั่งเศสปัจจุบันที่เหลือ และพื้นที่อีกมากในทางตะวันออก ถึงขณะนี้ แม้จะมีข้อจำกัดตามประเพณีและกฎหมายของสาธารณรัฐต่อการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองอย่างถาวรของบุคคล การเมืองโรมันถูกครอบงำโดยผู้นำโรมันไม่กี่คน พันธมิตรที่อึดอัดระหว่างพวกเขาถูกคั่นด้วยสงครามกลางเมืองเป็นระยะ

ผู้ชนะคนสุดท้ายในสงครามกลางเมืองเหล่านี้ อ็อกตาวิอุส (เอากุสตุส) ปฏิรูปสาธารณรัฐเป็นสมัยผู้นำ โดยตั้งตนเป็น "พลเมืองหมายเลขหนึ่ง" (princeps) ของโรม วุฒิสภายังคงประชุมและโต้วาทีกัน มีการเลือกตั้งพนักงานผู้ปกครองประจำปีดังก่อน แต่การตัดสินใจสุดท้ายในประเด็นนโยบาย การสงคราม การทูตและการแต่งตั้งเป็นเอกสิทธิ์ของ princeps ในฐานะ "ผู้เป็นเอกในบรรดาผู้เท่าเทียม" (หรือ imperator เนื่องจากการถืออำนาจสิทธิ์ขาด อันเป็นที่มาของคำว่า จักรพรรดิ) อำนาจของพระองค์เป็นแบบระบอบกษัตริย์ทุกอย่างเว้นแต่นามเท่านั้น และพระองค์ถืออำนาจไว้ตลอดชีพ ในนามของวุฒิสภาและประชาชนแห่งกรุงโรม สาธารณรัฐโรมันไม่เคยถูกฟื้นฟู แต่ก็ไม่เคยถูกล้มล้างเช่นกัน ดังนั้น เหตุการณ์อันเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิโรมันจึงยังเป็นประเด็นที่ต้องตีความต่อไป นักประวัติศาสตร์เสนอหลากหลายเหตุการณ์ เช่น การแต่งตั้งจูเลียส ซีซาร์เป็นผู้เผด็จการตลอดชีพเมื่อ 44 ปีก่อน ค.ศ., ความพ่ายแพ้ของมาร์ค แอนโทนีในยุทธนาวีที่อักติอูงเมื่อ 31 ก่อน ค.ศ. และการมอบอำนาจเต็มแก่ออกเตเวียน (ออกัสตัส) ของวุฒิสภาโรมันภายใต้ข้อตกลงแรกเมื่อ 27 ปีก่อน ค.ศ. เป็นเหตุการณ์นิยามการสิ้นสุดสาธารณรัฐ

โครงสร้างทางกฎหมายและนิติบัญญัติจำนวนมากของโรมยังพบเห็นได้ทั่วยุโรปและพื้นที่ส่วนอื่นของโลกโดยรัฐชาติสมัยใหม่และองค์การระหว่างประเทศ ภาษาละติน ภาษาของชาวโรมัน ส่งอิทธิพลต่อไวยากรณ์และคำศัพท์ทั่วบางส่วนของยุโรปและโลก

ประวัติศาสตร์[แก้]

ข้อ ใด ไม่ ปรากฏในอารยธรรมของชาวโรมัน

เหรียญเงินโรมันในปี 56 ก่อนคริสตกาล ด้านหน้าเป็นรูปเทพีไดแอนา ด้านหลังเป็นรูปแม่ทัพซุลลา

509 ปีก่อนคริสตกาล ลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ซุแปร์บุส กษัตริย์แห่งโรมคนสุดท้าย ได้ถูกรัฐประการโค่นอำนาจลง กรุงโรมได้สถาปนาการปกครองในระบอบสาธารณรัฐขึ้น และในอีก 16 ปีต่อมา กรุงโรมก็ประกาศเป็นพันธมิตรกับสันนิบาตละตินเพื่อต่อต้านอำนาจของกรีก แม้กรุงโรมจะร่วมมือกับพวกละตินในการทำสงครามกับกรีกหลายครั้งแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล สันนิบาตละตินซึ่งประกอบด้วย 30 ชนเผ่าที่ใช้ภาษาละตินแข็มแข็งขึ้นและกลายเป็นมหาอำนาจในคาบสมุทรอิตาลี การผงาดขึ้นมาของพวกละตินทำให้รัฐบาลกรุงโรมต้องหวาดระแวงต่อสหายเก่า ระหว่างปี 340-338 ก่อนค.ศ. กรุงโรมได้ทำสงครามกับสันนิบาตละตินและได้รับชัยชนะ รัฐบาลกรุงโรมได้ยุบสันนิบาตละตินทิ้ง

ด้วยการพยายามปกป้องอาณาเขตของตนจากเพื่อนบ้านและศัตรูผู้รุกราน ชาวโรมันได้ขยายอาณาเขตของสาธารณรัฐโรมันไปจนถึงดินแดนของชาวอีทรัสคันทางตอนเหนือ ตลอดจนดินแดนเกาะซิซิลีทางตอนใต้ซึ่งเคยถูกปกครองโดยกรีก กล่าวได้ว่าสาธารณรัฐโรมันในปี 270 ก่อนค.ศ. ได้ครอบครองดินแดนเกือบทุกส่วนของที่เป็นประเทศอิตาลีในปัจจุบัน เมื่อสาธารณรัฐโรมันเกิดความขัดแย้งกับชาวคาร์เธจในประเด็นเรื่องการค้าในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ก็เกิดเป็นสงครามครั้งใหญ่ขึ้นเรียกว่า "สงครามพิวนิก" ซึ่งได้กินระยะเวลายาวนานถึง 120 ปีระหว่างปี 264–146 ก่อนค.ศ. ชาวโรมันต้องเผชิญจากการรุกรานโดยกองทัพของฮันนิบาลที่พยายามบุกยึดดินแดนแถบอิตาลีโดยผ่านทางเทือกเขาแอลป์ แต่ต่อมาฮันนิบาลก็ยกทัพกลับแอฟริกาเหนือไป ในขณะเดียวกัน แม่ทัพโรมันนามว่าชิพิโอก็ได้ยกทัพไปตีกรุงคาร์เธจและได้รับชัยชนะ

ข้อ ใด ไม่ ปรากฏในอารยธรรมของชาวโรมัน

โรมันพิชิตกรุงคาร์เธจได้ในปี 146 ก่อนคริสตกาล

ในขณะที่โรมันต่อสู้กับคาร์เธจ การค้าที่เติบโตทำให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นคือพวกพ่อค้าวาณิชย์และผู้รับเหมางานของรัฐ เมื่อพวกนี้มีความมั่งคั้งขึ้นก็กลายเป็นคู่แข่งของสมาชิกวุฒิสภาและบรรดาเจ้าที่ดิน ชนชั้นใหม่นี้ถูกเรียกว่า อัศวิน หรือผู้ขี่ม้า เนื่องจากคนพวกนี้สามารถเข้าทำงานในกองทัพและได้เป็นทหารม้ามากกว่าทหารราบ โดยปกติพวกอัศวินนี้จะไม่สนใจการเมืองยกเว้ยในเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของตนเอง ชัยชนะทางการทหารและการติดต่อค้าขายกับโลกกรีก ทำให้ขุนนาง เจ้าที่ดิน และอัศวินของโรมันมีความเป็นอยู่ที่ร่ำรวยฟุ่มเฟือย ทำให้ช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยกว้างขึ้น จนในที่สุดก็กลายเป็นความไม่สงบซึ่งบั่นทอนเสถียรภาพการปกครองโรมัน

เกษตรกรรม[แก้]

ในระหว่างสงครามพิวนิกอันยาวนานนั้นเอง ก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางวัฒนธรรมและทางการเมืองในกรุงโรม อันเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความมั่งคั่งและความสำเร็จทางด้านการทหารของกรุงโรม เชื่อว่าเมื่อกรุงโรมพิชิตกรีกได้นั้น กรุงโรมค่อยๆตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางวัฒนธรรมของกรีก ทั้งความฟุ่มเฟือยและความเป็นปัจเจกนิยม สิ่งเหล่านี้ได้กัดกร่อนความเป็นอนุรักษนิยมและความเห็นแก่ส่วนรวมของชาวโรมัน การทำสงครามได้นำความมั่งคั่งและทาสจำนวนมากมาสู่สาธารณรัฐโรมันโดยเฉพาะแถบภาคกลางของอิตาลี ชาวโรมันได้นำระบบเกษตรกรรมแบบกรีกที่เรียกว่า "ลาติฟุนเดีย" มาใช้ ระบบลาติฟุนเดียเป็นระบบเกษตรกรรมเพื่อกำไร ผลิตผลหลักได้แก่ องุ่น (เพื่อผลิตไวน์), มะกอก (เพื่อผลิตน้ำมันมะกอก), ขนแกะ (เพื่อผลิตเครื่องนุ่งห่ม) เป็นต้น ระบบนี้ได้แปรเปลี่ยนผืนนาเล็กๆจำนวนมากทางใต้ของอิตาลีกลายเป็นผืนนาขนาดใหญ่ เกษตรกรรายย่อยต่างขายที่ดินของตนเองและอพยพเข้าสู่เมืองต่างๆ

การเมืองการปกครอง[แก้]

ข้อ ใด ไม่ ปรากฏในอารยธรรมของชาวโรมัน

Forum Romanum ศูนย์กลางการค้า วัฒนธรรม และการปกครองของกรุงโรมในอดีต

การปกครองในตอนต้นของสาธารณรัฐโรมัน อำนาจยังไม่ได้อยู่ในมือประชาชนอย่างแท้จริง อำนาจส่วนใหญ่ถูกผูกขาดโดยกลุ่มขุนนางและชนชั้นปกครอง ต่อมาจึงค่อยๆมีการขยายสิทธิทางการเมืองในโรมันให้กว้างขึ้น ทำให้ราษฎรส่วนใหญ่มีสิทธิมีเสียงในการปกครอง ซึ่งหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบสาธารณรัฐ พลเมืองโรมันสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ

  • พวกคณะพรรค (Particians): คือกลุ่มขุนนางซึ่งมีที่ดินเป็นของตนเอง มีฐานะร่ำรวยและมั่นคง คิดเป็นจำนวน 10% ของประชากร
  • พวกสามัญ (Plebeaus): คือสามัญชน ผู้ที่ประกอบอาชีพค้าขาย กรรมกร และเกษตรกรที่ยากจน คิดเป็นจำนวน 90% ของประชากร

หลังจากชาวโรมันขับไล่ชาวอีทรัสคันออกไปได้แล้ว พวกคณะพรรคก็กลายเป็นผู้มีอำนาจทางการเมืองโดยผูกขาดที่นั่งในวุฒิสภาและคณะกงสุล ในขณะที่พวกสามัญซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่แม้จะถูกจำกัดสิทธิในอำนาจรัฐแต่ก็ยังสามารถสะสมเงินทองได้ ในเวลาต่อมา เมื่อพวกสามัญมีฐานะร่ำรวยขึ้น ก็ได้รณรงค์เรียงร้องสิทธิทางการเมืองที่มากขึ้นในปี 494 ก่อนค.ศ. ซึ่งในระยะแรกนั้น พวกคณะพรรคก็ไม่ยินยอม ส่งผลให้พวกสามัญได้พากันอพยพจากกรุงโรมไปยังเนินเขาศักดิ์สิทธิ์เพื่อสร้างเมืองใหม่ขึ้นมา เมื่อพวกคณะพรรคทราบเรื่องก็ต่างตกใจเพราะต่างต้องพึ่งพาอาศัยกำลังพวกสามัญเป็นแรงงานและทหาร ส่งผลให้พวกคณะพรรคต้องยอมจัดตั้งสภาขึ้นมาอีกคณะหนึ่งสำหรับให้พวกสามัญคัดเลือกผู้แทนของตนมารักษาผลประโยชน์ ผู้แทนเหล่านี้เรียกว่า ทริบุนุส (ละติน: Tribunus)

นับแต่นั้นมา สาธารณรัฐโรมันจึงกลายเป็นประเทศที่ปกครองด้วยอำนาจสามฝ่ายได้แก่ วุฒิสภา, สภาสามัญ และคณะกงสุล ซึ่งองค์กรทั้งสามต่างระแวดระวังกันและคอยคานอำนาจกัน ทำให้ไม่มีองค์กรใดองค์กรหนึ่งมีอำนาจมากล้นเพียงฝ่ายเดียว

วุฒิสภา[แก้]

ข้อ ใด ไม่ ปรากฏในอารยธรรมของชาวโรมัน

ดูบทความหลักที่: วุฒิสภาโรมัน

วุฒิสภา (Senate) ประกอบด้วยสมาชิก 300 คนที่เลือกจากพวกคณะพรรค สมาชิกมีวาระดำรงตำแหน่งตลอดชีพ กงสุลที่หมดวาระจะได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยอัตโนมัติ วุฒิสภาดูแลด้านการคลัง การต่างประเทศ การสงคราม การยุติธรรม ผู้พิพากษาในคดีแพ่งจะถูกแต่งตั้งโดยสภานี้ วุฒิสภาโรมันได้ร่างกฎหมายโดยศึกษาจากกฎหมายโซลอนของกรีก แล้วปรับมาเป็นของโรมันที่เรียกว่า "กฎหมายสิบสองโต๊ะ" ซึ่งประกาศใช้ในปี 450 ก่อนค.ศ.

สภาสามัญ[แก้]

ข้อ ใด ไม่ ปรากฏในอารยธรรมของชาวโรมัน

สภาสามัญ (Plebeian Council) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนหนึ่งทั้งจากพวกคณะพรรคและพวกสามัญ สมาชิกสภานี้ถูกเรียกว่า ทริบุนุส (ละติน: Tribunus) สภานี้มีหน้าที่แต่งตั้งกงสุล เจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ความยินยอมหรือปฏิเสธกฎหมายที่เสนอโดยวุฒิสภา สภาสามัญมีอำนาจคัดค้านหรือออกคำสั่งหากมีการตรากฎหมายที่ขัดผลประโยชน์ สภาสามัญสามารถสั่งให้กฎหมายนั้นตกไปได้ ตำแหน่งทริบุนุสนี้ เริ่มแรกมีเพียง 2 คนก่อนที่ต่อมาจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 คน ถือเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญในการตรากฎหมาย หากผู้ใดทำร้ายทริบุนุสจะต้องโทษถึงตาย

คณะกงสุล[แก้]

กงสุล เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีจำนวนสองคน มีอำนาจเท่าเทียมกันโดยมีอำนาจเต็มทั้งในยามสงบและในยามสงคราม กงสุลเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดทั้งทางทหาร ตุลาการ ผู้ดำรงตำแหน่งกลสุลมาจากการสรรหาโดยวุฒิสภาและต้องได้รับการลงมติเลือกโดยสภาสามัญ มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละหนึ่งปี มีอำนาจยับยั้งซึ่งกันและกันได้ ทั้งนี้ในยามสงครามหรือยามฉุกเฉิน คณะกงสุลอาจมอบอำนาจให้แก่บุคคลเดียวโดยความยินยอมจากวุฒิสภา ผู้รับมอบอำนาจนี้ถูกเรียกว่า ผู้เผด็จการ (ละติน: magister populi) โดยจะอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 6 เดือน ผู้เผด็จการมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเฉกเช่นกงสุล

แม้ตำแหน่งกงสุลจะดูเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดในกองทัพ แต่การทำสงครามหรือเดินทัพจำเป็นต้องใช้เสบียงและยุทธปัจจัยมากมาย การจะจัดหามาได้นั้นก็ต้องอาศัยการสนับสนุนจากวุฒิสภา ในขณะที่สภาสามัญก็มีสิทธิคัดค้านวุฒิสภาได้

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Taagepera, Rein (1979). "Size and Duration of Empires: Growth–Decline Curves, 600 BC to 600 AD". Social Science History. Social Science History, Vol. 3, No. 3/4. 3 (3/4): 115–138 [125]. doi:10.2307/1170959. JSTOR 1170959.
  2. Gary Forsythe, A Critical History of Early Rome: From Prehistory to the First Punic War, p.368, University of California Press, 2006
  3. V. Henry T. Nguyen, Christian Identity in Corinth: A Comparative Study of 2 Corinthians, Epictetus and Valerius Maximums, p.24, Mohr Siebeck, 2008

อารยธรรมโรมัน มีอะไรบ้าง

อารยธรรมโรมัน จักรวรรดิโรมันปกครองคาบสมุทรอิตาลีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 ส่วนใหญ่รับวัฒนธรรมมาจากกรีกโบราณตั้งแต่สมัยอีทรัสกัน เป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองยิ่งใหญ่ มีอารยธรรมด้านต่างๆ มากมาย คือ : -.
วิหารและสุสาน.
สถานที่อาบน้ำสาธารณะ.
โรงมหรสพและสนามกีฬา.
โฟรุ่มและบาซิลิกา.
อาคารที่พักอาศัย.
สะพานและท่อส่งน้ำ.

อารยธรรมโรมันมีพื้นฐานมาจากอารยธรรมใด

อารยธรรมโรมัน เป็นอารยธรรมที่สืบเนื่องมาจากอารยธรรมกรีก โดยชาวอิทรัสกัน (Etruscan) ซึ่งมีถิ่นเดิมอยู่ในเอเชียไมเนอร์อพยพเข้าในแหลมอิตาลี นำเอาความเชื่อและศิลปวัฒนธรรมของกรีกเข้ามาด้วย ต่อมาบรรพบุรุษของชาวโรมันคือ ละติน ซึ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำไทเบอร์ (Tiber) ได้ขับไล่กษัตริย์อิทรัสกันออกไป ชาวละตินรวมตัว ...

ศูนย์กลางของอารยธรรมโรมันอยู่ที่ใด

อารยธรรมโรมันมีศูนย์กลางอยู่ที่แหลมอิตาลี เป็นอารยธรรมของพวกอินโด-ยูโรเปียนเผ่าละติน (Latin) ซึ่งอพยพจากทาง ตอนเหนือมาตั้งถิ่นฐานในแหลมอิตาลีประมาณ 1000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และเรียกตัวเองว่า "โรมัน" พวกโรมันได้ขยายอิทธพล เข้าครอบครองดินแดนที่เป็นศูนย์กลางความเจริญของอารยธรรมเฮลเลนิสติกซึ่งสลายเมื่อประมาณปี 146 ก่อน ...

มรดกของอารยธรรมโรมัน มีอะไรบ้าง

สิ่งที่โรมันได้สร้างไว้มีมากมายได้แก่การสร้างถนนในกรุงโรมและถนนเชื่อจักรวรรดิคือแอพเพนเวย์ที่สามารถติดต่ออย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็วได้ทุกฤดูกาลมีการสร้างท่อส่งน้ำวิศวกรรมโยธาประสบความสำเร็จในการทำคอนกรีตที่มีความคงทนแข็งแรงจากส่วนผสมจากทรายปูนซิลิกาหินที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ โรงอาบน้ำสาธารณะ