การนํา blockchain มาในงานอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ ธุรกิจอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

ปกติแล้วการโอนเงินระหว่างประเทศที่มีสกุลเงินแตกต่างกัน เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องทำธุรกรรมผ่านธนาคารตัวกลาง (Intermediary Bank) ซึ่งใช้เวลาดำเนินการค่อนข้างนาน เพื่อให้เกิดความถูกต้องและปลอดภัย แต่สำหรับในยุคดิจิทัล การโอนเงินระหว่างประเทศกำลังจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีและสะดวกขึ้น ด้วยเทคโนโลยี Blockchain นวัตกรรมที่เข้ามาตอบโจทย์คนยุคใหม่ในเรื่องความง่ายและรวดเร็วในการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์เพียงไม่กี่วินาที แม้จะไม่มีธนาคารตัวกลางแต่ยังคงความปลอดภัยเหมือนเดิม และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมจำนวนมากอย่างแต่ก่อน ดังนั้น การใช้ Blockchain ในไทยน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่จะช่วยขับเคลื่อนภาคธุรกิจยุคดิจิทัลได้ดีอย่างยิ่งครับ

การนํา blockchain มาในงานอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ ธุรกิจอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

Blockchain คืออะไร

แม้บล็อกเชน (Blockchain) จะเป็นศัพท์ใหม่ แต่น่าจะเริ่มคุ้นหูหลาย ๆ คนกันบ้างแล้ว โดยเฉพาะคนที่ติดตามเทคโนโลยีและธุรกรรมยุคดิจิทัล เพราะบล็อกเชนคือเทคโนโลยีตัวช่วยด้านความปลอดภัย (Security) และความน่าเชื่อถือ (Trust) ในการทำธุรกรรมการเงินโดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง เช่น การโอนเงินระหว่างประเทศของธุรกิจแบบ B2B (Business to Business) สามารถโอนโดยไม่ต้องแปลงสกุลเงินได้เลย บุคคลทั้งสองฝั่งสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ แม้บุคคลทั้งสองจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน บล็อกเชนจึงเหมาะแก่การนำไปประยุกต์ใช้กับการทำธุรกรรมออนไลน์ หรือ FinTech เช่น การรับ จ่าย โอน หรือวิเคราะห์ข้อมูลหุ้นเพื่อตัดสินใจลงทุนบนออนไลน์ ซึ่งมีทั้งความสะดวก ปลอดภัย รวดเร็ว และสำคัญที่สุด คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย

Show

Blockchain คือเทคโนโลยีว่าด้วยระบบการเก็บข้อมูล (Data Structure) ซึ่งไม่มีตัวกลาง แต่ข้อมูลที่ได้รับการปกป้องจะถูกแชร์และจัดเก็บเป็นสำเนาไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันเสมือนห่วงโซ่ (Chain) โดยทุกคนจะรับทราบร่วมกัน ว่าใครเป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลตัวจริง เมื่อมีการอัปเดตข้อมูลใด ๆ สำเนาข้อมูลในฐานเดียวกันก็จะอัปเดตตามไปด้วยทันที ทำให้การปลอมแปลงข้อมูลไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทุกคนต้องรับทราบและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลร่วมกันได้ อีกทั้งไม่มีระบบล่ม และภัยใด ๆ ก็ไม่อาจทำลายอุปกรณ์ในระบบได้พร้อมกัน เช่นเดียวกับการถูกแฮ็กข้อมูล ซึ่งต้องทำการแฮ็กทุกเครื่องในฐานเดียวกันพร้อม ๆ กัน หรืออย่างน้อยต้องแฮ็กเครื่องที่ถือสำเนาให้ได้มากกว่า 51% จึงจะแฮ็กได้สำเร็จ เทคโนโลยี Blockchain จึงนับว่ายอดเยี่ยมในแง่ของเครดิต นอกจากนี้ ยังเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามารองรับการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล เช่น บิทคอยน์ (Bitcoin) ฯลฯ ให้มีความปลอดภัยด้านข้อมูลมากยิ่งขึ้นด้วย

การนํา blockchain มาในงานอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ ธุรกิจอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

บล็อกเชน x กรุงศรี

Krungsri Blockchain Interledger คือ นวัตกรรม Blockchain ธนาคารไทยที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาร่วมมือกับ Ripple ในการให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนของ Ripple ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “Interledger” โดยสถาบันการเงินหรือธุรกิจที่นำ Blockchain มาใช้ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมกับ Ripple ซึ่งมีสถานะเหมือนกับ Consortium Blockchain ก่อน

  เมื่อปลายปี 2017 ทางธนาคารกรุงศรีฯ ได้ลองนำนวัตกรรม Krungsri Blockchain Interledger มาให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศสำหรับลูกค้ากลุ่มธุรกิจ ซึ่งถือเป็นลูกค้า Blockchain รายแรกของไทย ระหว่างบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) กับคู่ค้าในต่างประเทศของไออาร์พีซี ซึ่งมีผลตอบรับจากกลุ่มธุรกิจค่อนข้างดี

  กระทั่งล่าสุดทางกรุงศรีฯ ได้ประกาศถึงความสำเร็จอีกครั้ง เกี่ยวกับการนำร่องการโอนเงินระหว่างประเทศไทย-สิงคโปร์แบบเรียลไทม์ ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน Interledger ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก MUFG Bank (มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนลเชียล กรุ๊ป) สถาบันการเงินใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และธนาคาร Standard Chartered ประเทศสิงคโปร์ ตลอดจนได้รับการทดสอบระบบใช้งานนานถึง 9 เดือน ผ่าน Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เรียบร้อยแล้ว ว่าสามารถประหยัดต้นทุนได้ถึง 50% ทำให้เกิดสภาพคล่องด้านธุรกรรมการเงินของกลุ่มบริษัทในเครือ ตรวจสอบง่าย รวดเร็วเพียงไม่กี่วินาที และไม่ต้องเสี่ยงกับอัตราผันผวนของค่าเงิน ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นตัวอย่างการใช้ Blockchain ในไทยที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

  ซึ่งในอนาคตบล็อกเชนน่าจะเข้ามามีบทบาทตั้งแต่ระดับธุรกิจต่อธุรกิจ (B2B) และธุรกิจต่อลูกค้ากลุ่มผู้บริโภคทั่วไป (B2C : Business-to-Consumer) เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงิน ตลอดจนกระบวนการถอนเงินจาก Blockchain เข้าธนาคารมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่ง Krungsri Blockchain Interledger จะเป็นหนึ่งในบริการบล็อกเชนที่กลุ่มธุรกิจควรจับตามอง เพื่อการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างเท่าทันยุคดิจิทัล

  ขอบคุณข้อมูลจาก: aware.co.th , siamblockchain.com , blockchain.fish , techsauce.co

การนํา blockchain มาในงานอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ ธุรกิจอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง


การนํา blockchain มาในงานอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ ธุรกิจอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

โดย
คุณวรพจน์ ธาราศิริสกุล

:CTO บริษัท เจเวนเจอร์ส จำกัด
.

สวัสดีปีใหม่ 2020 ครับ ในปี 2019 ที่ผ่านมาเชื่อว่าพวกเราจะเคยได้ยินหลายคนพูดกันมากมายเกี่ยวกับการที่เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเข้ามาทำให้วิถีชีวิตของเราเปลี่ยนไป หรือที่เรียกว่า Technology Disruption และเทคโนโลยีบล็อกเชน ก็เป็นหนึ่งเทคโนโลยีที่คนพูดถึงกันมากมายว่า คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่จะมาเปลี่ยนโลกของเราได้

แต่หลายๆ คนก็ยังสงสัยและยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร จะมาเกี่ยวข้องกับชีวิตเรายังไง ปีใหม่นี้เลยอยากจะมาเล่าให้ฟังครับ
 

“บล็อกเชน” คือเทคโนโลยีเบื้องหลังของบิตคอยน์ (Bitcoin) เงินดิจิทัลที่โด่งดังนั่นเองครับ

“บิตคอยน์” คือเงินสกุลดิจิทัลเหรียญแรกของโลกที่ไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศใดประเทศหนึ่ง จุดสำคัญของบิตคอยน์ คือ คนเชื่อว่ามันจะไม่หายไป สามารถส่งต่อกันได้ และไม่มีใครที่จะมาแก้ไขตัวเลขในกระเป๋าดิจิทัลได้ จึงทำให้เกิดมูลค่าได้จริงตามอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งบล็อกเชนคือเทคโนโลยีที่ทำให้ความน่าเชื่อถือนี้เกิดขึ้นได้

Introduction to Blockchain

บล็อกเชน ถ้าแปลแบบตรงๆ บล็อก (Block) คือ การเก็บข้อมูลแบบนึงที่เก็บเป็นส่วนๆ และนำมาร้อยต่อกันเรื่อยๆ เหมือนโซ่คล้องกัน (Chain) โดยมีวิธีเข้ารหัสทางคอมพิวเตอร์เพื่อความปลอดภัย ที่ทำให้รู้ว่าข้อมูลถูกเก็บ ณ เวลาใด มีการแก้ไขหรือเปล่า โดยข้อมูลทั้งหมดจะส่งและกระจายเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่าย

ดังนั้น ข้อมูลที่ถูกเขียนลงไปแล้ว จึงมีความน่าเชือถือเพราะทุกคนในเครือข่ายจะเห็นการเปลี่ยนแปลงพร้อมๆ กัน ถ้าใครอยากจะแก้ไขก็มีทางเดียวคือต้องไปแก้ในเครื่องของทุกคนที่อยู่ในเครือข่ายนั้นๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นไปได้ยากมากเมื่อเครือข่ายนั้นๆ ใหญ่พอ
 

ดังนั้น เมื่อเรานำเอาบล็อกเชนมาใช้ในเงินดิจิทัล โดยเก็บข้อมูลจำนวนเงินที่ทุกคนมี จำนวนการโอนทุกครั้งของทุกๆ คน เข้าไปในบล็อกแต่ละบล็อกต่อกันไปเรื่อยๆ และกระจายไปให้ทุกคนรับรู้ ก็ทำให้เงินดิจิทัลนั้นมีความโปร่งใส ปลอดภัยจากการแก้ไขโดยคนใดคนหนึ่ง และที่สำคัญเมื่อเรากระจายไปให้ทุกคนแล้ว จึงลดความเสี่ยงว่าระบบจะล่มพร้อมกันทั้งหมดทำให้ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้หายไปได้ด้วย

บิตคอยน์ ที่มีเครือข่ายทั่วโลกจากการให้ผลตอบแทนแก่คนที่เข้ามาช่วยกันในเครือข่าย จึงเป็นเงินดิจิทัลที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถส่งเงินดิจิทัลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้กับใครก็ได้ในเครือข่ายในระยะเวลาอันสั้น เพียงแค่เก็บข้อมูลการโอนนั้นๆ ลงในบล็อก โดยไม่มีความจำเป็นต้องมีคนกลางอีกต่อไป

ที่สำคัญมีค่าธรรมเนียมการโอนหรือส่งเงินต่ำมากเมื่อเทียบกับการส่งเงินจริงในปัจจุบัน จากคุณสมบัติเหล่านี้นี่เองทำให้บิตคอยน์ประสบความสำเร็จในการทำให้คนทั่วโลกยอมรับ

หลังจากบิตคอยน์เกิดขึ้นพร้อมกับเทคโนโลยีบล็อกเชนที่สามารถแก้โจทย์หลายๆ ข้อที่ไม่เคยทำได้ทางเทคโนโลยีมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยของข้อมูลที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ความโปร่งใสของข้อมูลที่ทุกฝ่ายสามารถเห็นข้อมูลเดียวกันได้ การเพิ่มประสิทธิภาพในการลดคนกลาง ปัจจุบันบล็อกเชนจึงได้ถูกนำมาใช้ในหลายๆ รูปแบบ ในหลายๆ อุตสาหกรรม ไม่ได้จำกัดเพียงแค่เงินดิจิทัลเพียงอย่างเดียว

บล็อกเชน ถูกใช้ในหลายอุตสาหกรรมไม่ใช่แค่วงการเงินดิจิทัล

ธุรกิจการเงิน - ซึ่งเป็นธุรกิจแรกๆ ที่บล็อคเชนถูกพัฒนาขึ้นมาใช้ ตัวอย่างชัดๆ ก็คือ โครงการอินทนนท์ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะใช้บล็อกเชนมาแทนเครือข่ายบาทเน็ตที่ใช้ระหว่างธนาคาร หรือโครงการ JFIN ของทางเจมาร์ท (JMART) นำบล็อกเชนมาจัดการเรื่อง ข้อมูลลูกค้าและ Credit Score บนระบบกู้ยืมทางออนไลน์ เป็นโอกาสใหม่ของคนไทยส่วนใหญ่ที่ปัจจุบันยังไม่มีทางเลือกมากนักในการรับบริการทางการเงิน ต้องไปกู้เงินนอกระบบ หรือไปจนถึงการใช้ Token ในการระดมทุนต่างๆ ทั้ง ICO IEO หรือ STO ที่ได้เคยกล่าวมาในบทความก่อนหน้า

บทความที่เกี่ยวข้อง : เปรียบเทียบ ICO / STO / IEO กันแบบชัดชัด!

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ - ในหลายๆ ประเทศ เช่น มอลต้า อังกฤษ UAE มีการนำบล็อกเชนมาเก็บข้อมูลแทนโฉนด (Land Registry) หรือการนำบล็อกเชนมาช่วยในการแบ่งการเป็นเจ้าของ (Asset Tokenization)
 

ธุรกิจโรงพยาบาล - โครงการ Medrec ของทาง MIT หรือ SimplyVital นำบล็อกเชนมาเก็บข้อมูลการรักษาของคนไข้ เพิ่มความโปร่งใส และความปลอดภัย ซึ่งในเมืองไทยก็จะมีโครงการ Block M.D. ของบริษัท Smart Contract Thailand ที่ทำเรื่องนี้ หรือ FarmaTrust การนำบล็อกเชนมาช่วยตรวจสอบที่มาของยาแต่ละชนิด ป้องกันการปลอมแปลง

ธุรกิจค้าปลีก - Wallmart ได้มีโครงการนำข้อมูลอาหารที่ขายมาเก็บเพื่อดูสายการผลิตจากโรงงานมาถึงชั้นวางของ หรือ Singapore Airline ก็ได้นำบล็อกเชนมาใช้บน loyalty point KrisFlyer เพิ่มความน่าเชื่อถือ และสามารถแลกเปลี่ยนกันได้

ธุรกิจพลังงาน - Power Ledger ธุรกิจ Startup จากออสเตรเลีย ก็ได้ขยายมาที่เมืองไทยเพื่อพัฒนาการซื้อขายพลังงานแบบ Peer to peer โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน หรือ WePower บริษัทจาก Estonia ก็ทำเรื่องคล้ายๆ กันแต่เน้นไปทางพลังงานทดแทนเป็นหลัก

ธุรกิจการศึกษา - MIT Media Lab และประเทศมอลต้า ได้มีการออกปริญญาบัตร Certificate และก็ Transcript บนเทคโนโลยีบล็อกเชนเรียบร้อยแล้ว
 

นอกจากนี้ ยังมีการใช้บล็อกเชนในอีกหลายเรื่อง เช่น การจดสิทธิบัตร การทำ eVoting การตรวจสอบ การทำดิจิทัลไอดีแทนบัตรประชาชน ซึ่งการใช้งานเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ เพียงบางส่วน สำหรับการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้เพื่อนๆ เห็นภาพว่า บล็อกเชนได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และจะค่อยๆ เข้ามาในชีวิตของเรามากขึ้นเรื่อยๆ แบบที่เราไม่รู้ตัว

บทความต่อไป ผมจะสรุปแนวโน้มสำคัญของเทคโนโลยีบล็อกเชนและคริปโตเคอร์เรนซีในปี2020 นะครับ
 

สวัสดีปีใหม่ 2020 ครับ.

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม

การนํา blockchain มาในงานอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ ธุรกิจอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

Refresh


การนํา blockchain มาในงานอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ ธุรกิจอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

เราใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากยิ่งขึ้น คุณสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้

ข้อใดเป็นตัวอย่างการนำ Blockchain มาใช้งาน

การประยุกต์ใช้ Blockchain ยกตัวอย่างเช่น งานด้านธุรกรรมหรือสัญญา เช่น การเงินโดยสามารถใช้งานแทนเอกสารในรูปแบบเดิมๆได้เลย ปลอดภัย และลดค่าใช้จ่าย และในอุตสาหกรรมประกันภัย Blockchain จะเข้ามาช่วยเพิ่มความโปร่งใสและป้องกันปัญหาการทุจริตในวงการประกันภัย

Block chain คืออะไร มีการนํามาประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง

Blockchain คือเทคโนโลยีการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ หรือที่เรียกว่า Distributed Ledger Technology (DLT) ซึ่งเป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลที่ใช้หลักการ Cryptography ร่วมกับกลไก Consensus โดยข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบ Blockchain นั้นจะสามารถทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ยาก ช่วยเพิ่มความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของ ...

เทคโนโลยีพื้นฐานของบล็อกเชนประกอบด้วยอะไรบ้าง

โดยสรุป บล็อคเชน เทคโนโลยี เป็นการบันทึกบัญชีแยกประเภทแบบสาธารณะ ที่มีความปลอดภัยในระดับสูง ไม่มีใครสามารถควบคุมหรือปลอมแปลงได้ ซึ่งเทคโนโลยี บล็อคเชน นี้จะประกอบไปด้วยเทคโนโลยี 3 อย่างเข้าด้วยกัน 1) การเข้ารหัสลับ 2) เครือข่ายแบบ เพียร์ ทู เพียร์ (เครือข่ายที่ไม่มีเซิร์ฟเวอร์กลาง) 3) โปรแกรม หรือ โปรโตคอล สำหรับการให้ ...

Blockchain สามารถนํามาใช้ประโยชน์ในด้านใด

1. ลดข้อผิดพลาด ทำให้ Human error ลดลง เมื่อข้อมูลอยู่ใน Smart contracts. 2. มีการทำธุรกรรมและบันทึกผลได้แบบ Real time. 3. ลดเวลา ในการทำธุรกรรมการตรวจสอบ 4. ระบบตรวจสอบการทำธุรกรรมมีประสิทธิภาพ