จิตรกรรมฝาผนังสมัยสุโขทัยมีลักษณะเป็นอย่างไร

ชื่อภาพ ภาพแกะสลักลายเส้นบนเพดานผนังอุโมงค์วัดศรีชุม


จิตรกรรมฝาผนังสมัยสุโขทัยมีลักษณะเป็นอย่างไร

ศิลปะ :เป็นจิตรกรรมฝาผนัง สมัยสุโขทัย
อายุสมัย :ไม่ระบุพ.ศ.ที่ แต่คาดว่ามีอายุเกือบ 700 ปี 
พบที่ : วัดศรีชุม จ.สุโขทัย (สำริดที่วัดเสด็จ)

ลักษณะสำคัญ : มีการทำภาพแกะลายเบา แกะสลักบนหินเป็นลายเส้น  สลักเป็นเรื่องโคชานิยชาดก 
ถูกสำริดขึ้นที่วัดเสด็จ จิตรกรรมฝาผนังเรื่องโคชานิยชาดก จัดเป็น 1 ในศิลปะการแกะสลักลวดลายบนฝาผนังอุโมงค์ ซึ่งเก่าแก่และเลอะเลือนเกือบหมดแต่ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่โดยศาสตราจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700 ปี ถูกสลักขึ้นบนหินชนวน สลักภาพลายเส้นเป็นเรื่องในชาดกต่างๆ และยังมีอีกกว่า 50 ภาพ เรียงประดับต่อเนื่องกัน ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าเป็นงานจิตรกรรมไทยที่เก่าแก่ที่สุด

อ้างอิง : จังหวัดสุโขทัย.จิตรกรรมสมันสุโขทัย ด้านทัศนศิลป์ . ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2560, จาก  http://www.info.ru.ac.th/province/Sukhotai/art3.htm
               วิกิพีเดียร์.วัดศรีชุม(จังหวัดสุโขทัย).ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2560, จาก  https://th.wikipedia.org/wiki

เรียบเรียงโดย : AREEYA WONGPRACHASUK

รายละเอียด เผยแพร่เมื่อ: 30 เมษายน 2553 ฮิต: 68056

หน้าที่ 2 จาก 4

 ยุคสมัยของจิตรกรรมฝาผนัง

            จิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นโดยจิตรกรในประเทศไทย เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์  การเขียนจิตรกรรมมีวิวัฒนาการมาโดยตลอด จากความเรียบง่ายมาเป็นความสลับซับซ้อนของภาพ ซึ่งต้องอาศัยฝีมือของจิตรกรอย่างมาก
         จิตรกรรมที่ปรากฏในวัดต่างๆมีหลายประเภทเช่นเรื่องราวจากชาดก พุทธประวัติ  พระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา วิถีชีวิต ไตรภูมิ และวัฒนธรรมประเพณี  จะเขียนไว้ตามฝาผนังพระอุโบสถ พระวิหาร หรือภายในองค์พระเจดีย์เป็นต้น มีลักษณะพิเศษในการจัดวางภาพแบบเล่าเรื่องเป็นตอนๆตามผนังช่องหน้าต่างโดยรอบพระอุโบสถและวิหาร ผนังด้านหน้าพระประธานส่วนใหญ่นิยมเขียนภาพพุทธประวัติตอนมารผจญและผนังด้านหลังพระประธานเขียนภาพพุทธประวัติตอนเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และบางแห่งเขียนภาพไตรภูมิ(ประเสริฐ  ศีลรัตนา, สุนทรียะทางทัศนศิลป์, กรุงเทพ  ฯ :สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2542,หน้า 120) 

จิตรกรรมฝาผนังสมัยสุโขทัยมีลักษณะเป็นอย่างไร


           พระมหาอำพลได้สรุปงานจิตรกรรมไว้ว่า “จิตรกรรมฝาผนังที่จิตรกรไทยในสมัยโบราณได้สร้างสรรค์ไว้ตามผนังโบสถ์และวิหารของวัดต่างๆในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวในพระพุทธศาสนาเช่นเรื่องราวพุทธประวัติ ประวัติพระสาวกไตรภูมิกถา บาลีชาดก ซึ่งถือว่าเป็นวรรณกรรมอันทรงคุณค่าในทางพระพุทธศาสนา และเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่สร้างแรงบันดาลใจให้จิตรกรไทยใช้สร้างงานจิตรกรรมฝาผนังไว้ตามวัดต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (พระมหาอำพล   บุดดาสาร,การศึกษาวิเคราะห์พุทธปรัชญาและพุทธศิลป์จากภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องบาลีชาดกวัดเครือวัลย์วรวิหาร,วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาพุทธศาสนศึกษา  คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2546)     
             จิตรกรรมไทยในปัจจุบันมีหลายรูปแบบเช่นจิตรกรรมไทยประเพณี มีลักษณะเป็นแบบอุดมคติ คุณค่าอยู่ที่รูปแบบอันได้สัดส่วนสวยงาม อาภรณ์อันวิจิตร  การตัดเส้นที่ละเอียดประณีต มีการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมีระเบียบแบบแผน ซึ่งเกิดจากความพากเพียรและพลังแห่งความบันดาลใจ มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา นิยมวาดบนฝาผนังโบสถ์ วิหาร ศาลา และสมุดข่อย สร้างขึ้นเพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับเรื่องศาสนา ความเชื่อ (มัย  ตติยะ,สุนทรียภาพทางทัศนศิลป, กรุงเทพฯ:วาดศิลป์,2547, หน้า199)

การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมไทยในสมัยต่างๆ
สมัยสุโขทัย:รุ่งอรุณแห่งความสุข

             คำว่า “สุโขทัย” แปลว่า “รุ่งอรุณแห่งความสุข” หมายถึง เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตไทยที่เปี่ยมสุข เนื่องจากสุโขทัยเป็นราชธานีของไทยแห่งแรกในยุคประวัติศาสตร์ไทย มีการปกครองแบบ “พ่อปกครองลูก” ที่มีความร่มเย็นเป็นสุข มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ดังคำกล่าวว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว “ จึงนับว่าเป็นนิมิตรหมายอันดีในการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมส่วนรวมได้การปฏิรูปจิตรกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ 
 

จิตรกรรมฝาผนังสมัยสุโขทัยมีลักษณะเป็นอย่างไร


               งานจิตรกรรมในสมัยสุโขทัยที่ปรากฏหลักฐานตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน น้อยกว่างานประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ที่มีผลงานหลงเหลือมาจนถึงทุกวันนี้ ได้แก่ ภาพแกะสลักลายเส้นแบบเซาะร่องลึกบนแผ่นหินที่วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย และจากการศึกษาพบว่านิยมเขียนภาพลายเส้นดอกไม้ และลวดลายธรรมชาติ โดยใช้สีน้อยมาก ได้แก่ สีขาว สีดำ และสีแดง

ลายกนกอยุธยา
               ศิลปะอยุธยามีระยะเวลาสร้างสรรค์ที่ยาวนานถึง 417 ปี (พ.ศ. 1993-2310) และแผ่ความเจริญมาครองคลุมในภาคกลางของประเทศไทย มีงานจิตรกรรมที่นิยมเขียนลวดลายกระหนกที่มีความอ่อนช้อยงดงาม ทั้งกระหนกเปลว และกระหนกก้านขด และมีการประดิษฐ์ลายเครือเถาทั้งลายดอกพุดตาน ลายดอกบัว และผักกูด ลายรดน้ำที่มีชื่อเสียง และงดงามที่สุด คือลายบานประตูตู้พระธรรม วัดเชิงหวาย
               สำหรับจิตรกรรมฝาผนังนิยมเขียนด้วยสีฝุ่นด้วยเทคนิคปูนแห้ง แสดงถึงเรื่องราวตามความศรัทธาเชื่อถือทางพระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ เขียนเป็นภาพทิวทัศน์ที่สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ และธรรมชาติสภาพแวดล้อมที่เป็นบ้านเรือน แม่น้ำลำคลองในยุคสมัยนั้น ซึ่งจะมีคุณค่าอย่างสูงทั้งทางด้านความงาม ศิลปวัฒนธรรม และคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่แผงอยู่ในงานจิตรกรรม จึงมีการใช้สีเพิ่มขึ้นจากสมัยสุโขทัยอีกหลายสี เช่น สีเขียว สีม่วง และสีฟ้า เป็นต้น

จิตรกรรมฝาผนังสมัยสุโขทัยมีลักษณะเป็นอย่างไร


              ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ยังหลงเหลือให้เราได้เห็น ความวิจิตรสวยงามนั้นเป็นสกุลช่างของ กรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ จิตรกรรมฝาผนังในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นนั้น ปรากฏว่าถูกทำลายลงไปเสียมาก
              จิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม และสมบูรณ์ที่ยังหลงเหลือให้เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนมากอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งจิตรกรในสมัยต้นรัตนโกสินทร์นี้ เข้าใจว่าคงจะมีชีวิตอยู่ในสมัยอยุธยานั่นเอง หลังจากเสียกรุงแก่ข้าศึกแล้ว ก็คงดำเนินงานตามแบบที่ตนถนัดต่อมาในต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ข้อมูลจากหนังสือ พุทธประวัติจากจิตรกรรมฝาผนังไทย